ท่านฝึกละสังโยชน์ ๓ เพื่อเตรียมตัวเป็นโสดาบันอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์โง๋, 11 เมษายน 2017.

  1. ศิษย์โง๋

    ศิษย์โง๋ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +66
    ๑. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง *** ข้อมูลจาก wikipedia

    ๒. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    ๓. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ................ (ซึ่งรวมถึงความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย)

    โยคีนักปฏิบัติ มีวิธีการผนวกเอา สังโยชน์ทั้ง ๓ ข้อที่พระโสดาบันละได้แล้ว มาฝึก มาหัด มาปฏิบัติกันอย่างไร
    และผนวกกับการปฏิบัติสติปัฐฐาน ๔ และกองกรรมฐานต่างๆ อย่างไร

    ท่านฝึกละ สักกายทิฏฐิ อย่างไร ?
    ท่านฝึกละ วิจิกิจฉา อย่างไร ?
    ท่านฝึกละสีลัพพตปรามาส อย่างไร ?

    ท่านกำลังฝึกแบบใดอยู่ ฝึกละอะไรไปแล้วบ้าง ได้โปรดนำมาแชร์ให้ผู้อ่านรวมถึงเจ้าของกระทู้ได้เรียนรู้ เพื่อเป็นธรรมทาน ด้วยเถิด..... หรือท่านอาจจะแย้งว่า ไม่ต้องฝึก พอเป็นโสดาบันก็ละได้เอง หรืออย่างไร โปรดแสดงความคิดเห็นไว้ด้วยเถิด..........

    คริคริ^^

    1013330_1539816162999551_5309027407656578983_n.jpg
     
  2. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ยังไม่รู้จัก สังโยชน์ 3 ด้วยตนเอง ถ้ายังต้องเปิด wiki หาความหมายแล้วจะละได้อย่างไรหละครับ
    อุปมาเหมือน ตำรวจจะออกไปจับโจรแต่ไม่เคยเห็นหน้าโจร ไม่รู้ว่ารูปพรรณสัณฐานอย่างไร ได้ยินแต่คำบอก ไม่รู้จักลูกสมุน ไม่มีวิธีการอันฉลาด ก็ไม่มีทางจับได้

    ตามที่สดับฟังมา วิธีการ ไม่ใช่คาดหมายสังโยชน์ล่วงหน้า แต่ต้องสืบหาไปจาก กองกิเลส และต้องรู้จักได้โดยไม่อิงกับบัญญัติ แต่ต้องเป็นกิเลสที่พบเจอจริงจากการขุดคุ้ย

    การจะพิจารณาสังโยชน์ 3 จึงต้องศึกษากิเลสต่างๆ ว่ามันมีหน้าตาอย่างไร หาสมุทัยจนคลำไปถึง อนุสัย ทั้ง 3 ตัวได้ จึงจะเจอ อวิชชาที่บงการอนุสัยทั้ง 3 ตัว

    ต้องเจริญอริยมรรค เมื่อสติปัญญามีมากพอก็ย่อมดับอวิชชาในส่วนสังโยชน์ 3 ได้เอง อันเป็นส่วนผล ทำเหตุให้ถึงพร้อมย่อมเจอผลครับ
     
  3. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,708
    ค่าพลัง:
    +1,563
    ง่ายมาก
    3ข้อนั้นไม่ต้องทำทั้งหมด ทำแค่ข้อเดียวพอคือข้อ
    1 ละสักกายทิฐิให้ได้อีกสองข้อที่เหลือ จะตามมาเองทันทีครับ
     
  4. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    โดยธรรมชาติ บ่อน้ำจะไม่วิ่งไล่ไปตามหาควาย มีแต่ควายที่จะสัญจรมาหาบ่อน้ำ
    มากินเสร็จแล้วก็ไป พอหิวใหม่ก็กลับมากินใหม่ บ่อน้ำไม่ได้ไปดักจับ หรือ สกัดกั้น
    หรือ รอไปเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ หรือ ตามไปทวงในสิ่งที่ควายเก็บเกี่ยวไป
    ควายกินน้ำเป็นเหตุ ควายไปฉี่ในสถานที่ต่างๆเป็นผล หากแสวงหาไปตามทวงก็เป็นการ
    ย้ายแหล่งไปตามที่ควายไปฉี่ทิ้งไว้

    บ่อน้ำ เปรียบเสมือน จิต
    ควาย เปรียบเสมือน อวิชชา
     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ค่อยๆเป็นค่อยๆไปตามความเป็นจริงของจิตครับ
    อย่าไปตั้งใจหรืออย่าไปเอาความรู้ทางสมมติเข้ามา
    สำหรับเรื่องพวกนี้ครับ การตั้งใจหรือเอาความรู้ทางสมมุติ
    เข้ามาไม่ใช่ว่าไม่ดีนะครับ แต่ว่าเพราะว่าทางกิริยาของจิต
    มันจะมีตัวเราไป
    ปิดกั้นตัวเราเองนั่นคือปิดกั้นใจเราครับ


    ให้เปลี่ยนความตั้งใจตรงนี้ มาเป็นการเจริญสติในชีวิตประจำวัน
    เพื่อสร้างเครื่องมือตัวหนึ่งให้เกิด คือ สติทางธรรมครับ
    เพื่อที่จะ คอยควบคุมความคิด ควบคุมพฤติกรรมของจิตเรา
    ให้มันคลายจาก ความคิดที่เกิดจากจิต(ความคิดที่เราสามารถกำหนดได้)
    และคลายจากความคิดที่ผุดขึ้นมาอย่างไม่ได้ตั้งใจ(ส่วนใหญ่เป็นความคิดจากอดีต)
    คลายในที่นี้คือ ไม่ไปปรุงร่วมกับมัน หรือไปเล่นตามมันครับ
    พอจิตคลายใจจากตรงนี้ได้ จนมีความเป็นกลาง คือไม่มีความคิดจากจิต
    ไม่มีความคิดผุดที่ขึ้นมาและเราไม่ได้ปรุงร่วมแล้ว เราถึงปล่อยให้จิต
    เค้ารับรู้ตามความเป็นจริง ณ เวลาปัจจุบันนั้นๆ (จะพิจารณาก็ได้
    แต่ต้องเข้าถึงสภาวะที่จิตเป็นกลางและวางอารมย์เป็นคือ
    เห็นกิเลสตัวที่เรายังอ่อนจากกำลังสติทางธรรมครับ)
    จนจิตเค้าไม่ยึด ถือมั่น จากเรื่องต่างๆเหล่านั้นครับ

    โดยต้องมีความต่อเนื่องและมีสัจจะตรงนี้รวมทั้งความพยายามก่อนนะครับ
    จนกระทั่ง จิตเห็นว่า เรื่องนั้นๆเป็นเหตุแห่งทุกข์ ตัวจิต
    ถึงจะคลายจากการยึดมั่นถือมั่นได้ครับ
    ที่เจ้าของกระทู้ถามน่าจะถึงประมาณนี้.....



    ส่วนระดับโปรซีรีย์ทั้งหลาย
    ที่ตัดกายได้จริงๆนั่นเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลครับ
    ซึ่งสำหรับส่วนตัวจะยอมรับท่านเหล่านี้
    แต่ที่พบส่วนมาก ที่บอกไม่กลัว พาเข้าป่าช้าตอนดึกๆก็จะหงอ
    หรือไม่เจอปืนของจริงจ่อศรีษะก็ตัวหดทุกราย
    ที่เห็นสำเร็จมา ส่วนมากจะเป็นห่มเหลืองที่เจอ
    แบบของจริงๆในป่าครับ ส่วนมากแบบเราๆ
    แค่เจอในนิมิตในฝัน นอกจากจะกลัวแล้ว
    ยังยึดเป็นจริงเป็นจังอีก ดังนั้นจิตใครตัดได้
    จริงๆยอมรับครับ
    ทดสอบง่ายๆ ลองไปขูดหินปูนดูครับ
    ดูว่า จิตสามารถทิ้งกายได้ ซักกี่วินาทีครับ
    ไม่ต้องเอาแบบที่ผ่าตัดแบบไม่ฉีดยาชาแบบห่มเหลือง
    ที่ท่านทำได้ครับ เอาเบสิคตรงนี้
    จะรู้ตัวเองได้ดีครับ



    ตรงนี้เล่าให้ฟังเฉยๆนะครับดวงจิตที่จะเป็นระดับโสฯอะไรได้
    ต้องเริ่มจากการเป็นผู้ฟังที่ดีก่อนนะครับ
    ถ้ายัง คิด วิเคราะห์ แยกแยะ วิจารณ์ นำการปฏิบัติก่อนที่
    ดวงจิตนั้นๆจะเข้าถึงสภาวะนั้นๆได้ก่อน
    ประกันได้ว่า ชาตินี้อีกนานครับ


    และทางปฏิบัติกิริยาของจิตคือ จะเป็นดวงจิตที่สามารถคลายตัวเองได้
    โดยธรรมชาติ ในเวลาใช้ชีวิตและลืมตาปกติครับ
    กิริยา คล้ายๆตอนทำบุญ คล้ายๆนะครับแต่ไม่ใช่ เพราะนั่น
    มีบุญเป็นตัวนำ ให้จิตคลายตัว คือมีตัวกระทำอยู่
    แต่มันจะมีอะไรมากกว่า คือ จิตจะแยก นามธรรมที่เป็นฝ่ายอารมย์ได้
    แยกและรู้กิริยาต่างๆของจิตได้ ว่าอะไรเป็นความคิดจากจิต
    อะไรเป็นความคิดที่ผุดขึ้นมาไม่ได้ตั้งใจ จิตกระเพื่อม จิตเกิด
    จิตสงบ จิตวาง เป็นอย่างไร และเข้าถึง สภาวะ
    ที่จิตเป็นกลางคือ คือสภาวะที่แม้มันมีแต่ไม่ไปปรุงร่วม
    ซึ่งสามารถที่จะเริ่มเดินปัญญาได้
    (ย้าว่าเริ่มเดินปัญญานะครับ)
    โดยไม่ใช่ สมาธิ ตบะ กำลังจิต ฯลฯ
    หรืออะไรเข้าไปกระทำนะครับ

    ปล.ท้ายสุด ย้ำว่าแค่เล่าให้ฟังนะครับ
    '' จิตต้องเป็นไปของมันเองนะครับ
    ไม่ใช่ไปทำให้มันเป็น
    ไม่ว่าระดับไหนๆ''
     
  6. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ขอแย้งสักนิดนะครับ
    สักกายทิฎฐิ ไม่น่าจะเกี่ยวกับเรื่อง กลัวปืนหรือกลัวผีหรือกลัวขูดหินปูนนะครับ

    การจะเข้าใจสักกายทิฎฐินั้น ก็ต้องพิจารณาจากคนทั่วไปว่า คิดถึงตัวตนอย่างไร
    เดิมทีคนทั่วไป ไม่ว่าฝรั่ง แขก จีน ไทย ลาว ย่อมมีความ เจ็บ ความปวด ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ทุกคนนั้นคิดว่า ตัวตนรูปกาย (body) นั้นมีอาการดังกล่าว ดังเช่น ฝรั่งคิดว่าสมองเป็นผู้สั่งการ แบบนี้คือ เป็นสักกายทิฎฐิ หรือ มองว่าสิ่งต่างๆเกิดขึ้นกับร่างกายนี้

    ผู้ที่ละสักกายทิฎฐิ ก็ต้องมีความเห็นใหม่ เปลี่ยนไปจากเดิม คือ สรรพทุกข์ สรรพโศก นั้นไม่ใช่กายนี้ แต่เป็นอาการของจิตที่แสดงอาการ และอาการนั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
    ซึ่งทัศนคตินี้ จะต้องเกิดขึ้นเมื่อมี มหาสติ มหาปัญญา เห็นจิตของตนแล้ว ดังที่หลวงปู่ดูลย์กล่าวว่า จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง คือ มรรค

    ทีนี้ ที่คิดว่าการกลัวปืน กลัวผี หรือ กลัวขูดหินปูน นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ในพระอริยบุคคล ซึ่งอาการนี้น่าจะเป็นเรื่องของ วิภวตัณหา คือ ไม่อยากให้สิ่งที่ไม่ดีเกิดกับตน ทำให้ท่านต้องหลีก ต้องหนี ไม่ใช่เพราะกลัวแบบปุถุชน แต่หลบภัยก็มีครับ คนไม่กลัวปืน ไม่กลัวผี และไม่กลัวการขูดหินปูน นั้น คนกล้าบ้าบิ่นก็สามารถทำได้ ดังเช่น ทหารญี่ปุ่นขับคามิกาเซชนกับเรือรบ หรือ ซามูไรกระทำฮาราคีรีคว้านท้องตน หรือ มือระเบิดพลีชีพ

    ลองพิจารณาว่า แม้แต่พระมหาโมคคัลลานะที่ท่านดับกิเลสทิ้งไปทั้งหมดแล้ว ก็ยังเหาะหลบหนีโจรที่จะมาทุบทำร้ายท่าน อันไม่ได้เกิดจากตัณหาเสียด้วยซ้ำไป
     
  7. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ทีนี้มาดูว่า ผลของการละความเห็น สักกายทิฎฐิ ไปแล้วนั้น เกิดผลอะไรที่ตามมา

    การละสักกายทิฎฐินั้น เนื่องจากเป็นการมองสภาวะที่เกิดขึ้นกับตนในระดับจิต
    ทำให้รู้ให้เห็นใน สภาวะไตรลักษณ์ ได้ชัดเจนว่า จิตดวงต่างๆที่เป็นสภาวะนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่น เมื่อทุกขเวทนาเกิด เจ้าของเห็นว่า ทุกขเวทนา นั้นเป็นเพียงสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เพราะอวิชชาจึงยึดเหนี่ยวไว้เป็น เวทนาของเรา
    เมื่อทราบดังนี้ ก็ปล่อยจิตดวงเวทนานั้น เวทนานั้นย่อมดับลงไปในทันใด ด้วยอำนาจของไตรลักษณ์

    เมื่อเจ้าของละได้เช่นนี้บ่อยๆ ย่อมเกิดสภาวะแจ้ง และชำนาญในการปล่อยจิตของตนเป็นอิสระ เมื่อนั้นย่อมเกิดศรัทธาว่า สภาวะธรรมใดๆที่เกิดขึ้นกับตัวเรานี้ ย่อมเป็นไปตามอำนาจแบบนี้ทั้งหมด เจ้าของก็หมดสงสัยว่า ตัวเรานี้เป็นอะไร อะไรเกิดขึ้นกับเรา เราจะเป็นอะไรต่อไป นี่จึงกลายเป็นว่า ละวิจิกิจฉา ได้เป็นผลที่ตามมา

    เมื่อเจ้าของ ละวิจิกิจฉา ได้ว่า สภาวะต่างๆที่ปรากฎกับเรา ย่อมเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป
    เมื่อเราทุกข์ เราก็ต้องปล่อยสภาวะทุกข์ เจ้าของจึงสามารถดับที่เหตุได้ตามที่ องค์พระสัพพัญญูทรงสอน คือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงสอนเหตุและให้ดับที่เหตุนั้น อันเป็นคาถาของพระอัสสชิ ที่สอนให้พระสารีบุตร ดวงตาเห็นธรรมบรรลุพระโสดาบัน เมื่อเจ้าของเห็นธรรมตามนี้แล้ว ย่อมดับทุกข์ได้ตรงจุด ไม่เดินหาวิธีการดับทุกข์อื่นๆ เมื่อนั้น สีลพตรปรามาส หรือ การถือข้อวัตรแบบลูบคลำ ย่อมอันตรธานไป

    เจ้าของนั้นพิจารณาทั้ง 3 ข้อด้วยปัญญา รู้แจ้งแทงตลอดว่า อวิชชาส่วนนี้ดับไปแล้ว ความโง่ทั้ง 3 ส่วนไม่เกิดขึ้นกับเราอีก นั่นแหละครับจึง เรียกว่า ละสังโยชน์ 3 ได้
     
  8. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ให้เป็นธรรมชาติน่ะครับ คือรู้ตามความเป็นจริงให้ได้บ่อยๆ ไม่ต้องไปทำอะไรมาก แต่บางทีมันเผลอ พอเผลอนี่ จิตก็วิ่งเกิดตามความคิดไปทั่วแล้ว ปรุงเป็นดีเป็นร้ายไปทั่ว แล้วก็ยังยึดไว้อีกเสียด้วย อย่างนั้นเมื่อกลับมามีสติระลึกได้ เผลอก็รู้ว่าเผลอไป เมื่อกี๊เผลอไปแล้ว ก็คือรู้ตามความเป็นจริงต่อ ทำพูดคิด รู้ตามความเป็นจริงไปเรื่อยครับ ต่อไปก็จะค่อยๆ เข้าใจในพฤติของจิตของความคิดมากขึ้นไปเอง (จะค่อยๆเห็นทุกข์ที่แท้จริงนั่นแหละครับ)

    ทีนี้มันก็มีเรื่องของความไม่ประมาทเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเหมือนกัน การดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทนี้ก็เป็นพื้นฐานสำคัญ จะเจริญจิตตภาวนาได้ราบรื่น ไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ก็อยู่ที่หลักการดำเนินชีวิตนี้เหมือนกัน ศีลกับสมาธิจึงเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ
     
  9. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้าเท่าที่สังเกตตัวเองอยู่ทุกวันนี้นะครับ คล้ายๆ แต่ไม่ค่อยเหมือนกัน (ไม่ได้ว่าๆ ตัวเองเป็นอะไรนะครับ ตัดทิ้งไปเลย) เวลาเวทนาเกิด แล้วไม่ทันในเวทนา ก็จะปรุงเป็นเย็นเป็นร้อนเป็นสุขเป็นทุกข์เป็นร้ายเป็นดีอะไรไปทั่วนะครับ พอทันก็ไม่ไปคิดไปปรุงต่อ ว่าร้อนว่าเย็นสุขทุกข์อะไร เลิกคิดเลยครับ คือไอ้นี่มันคือเราคิดไปเองทั้งหมด ความโง่มันอยู่ตรงนี้แหละครับ

    ถ้าว่ามันร้อน มันจะใช่ร้อนจริงๆ เหรอ ถ้าว่ามันเย็น มันจะใช่เย็นจริงๆ เหรอ เอาอะไรมาตัดสินว่าร้อนว่าเย็นล่ะครับ นอกจากเอาข้อมูลเก่า ความเชื่อของตัวเอง สัญญาเดิมๆ ของตัวเองมาตัดสินทั้งนั้น ความจริงเป็นยังไงไม่รู้ ดังนั้นจึงเลิกคิดครับ คิดไปก็หลงปรุงไปเองหลงคิดไปเองทั้งนั้น มันก็มีแค่นี้ พอรู้ทันผมก็เลิกคิดเลิกอุปทาน เห็นอยู่เท่านี้แหละครับ อย่างอื่นก็อย่าไปสร้างปัญหาก็พอ ใช้ชีวิตอย่าประมาท ถ้าโง่ก็เจ็บให้พอ รู้จักยอมรับความจริงครับ :D
     
  10. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    การจะละกิเลศนั้นไม่ใช่การหักห้ามใจจากสิ่งที่เราชอบใจ จิตที่พัฒนาสูงขึ้นเรื่อยๆ จะพอใจกับสุขที่ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่สุขจากกาม หรือสุขทางกายที่ทำให้เรายึดติดกับร่างกาย ไปสู่สุขทางใจ สุขจากความสงบ การพัฒนาจิตให้สูงขึ้นนี้เร่งรัดไม่ได้ อย่างปฏิเสธความสุขอย่างหยาบทั้งที่เรายังพอใจกับมันอยู่ ก็จะทำไม่ได้นาน จะต้องเห็นโทษของมันเมื่อเปรียบเทียบกับความสุขที่สูงขึ้นไป การเห็นโทษนี่ต้องคอยสังเกตคอยพิจารณาตามจริงไปเร่งรัดไม่ได้ ระหว่างนี้ก็แสวงหาสุขที่ละเอียดขึ้น เหมือนเสื้อพอได้ใส่หลายๆ ตัว หลายๆ แบบก็รู้ตัวไหนเหมาะกับเรา ตัวไหนไม่เหมาะ จะต้องรู้ทั้งในระดับจิตสำนึก และจิตไร้สำนึก
     
  11. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ก็จริงนะครับ ไม่ใช่ปฏิเสธไม่เอาอะไรหักห้ามใจลูกเดียว เวลาเจอความทุกข์เล่นงานนั่นแหละ ถึงจะมาสังเกตรู้ที เห็นความหลงจมแช่ในเวทนาไหนอยู่ พอรู้ก็คือละ ความหนักใจมันหาย ความเบาใจย่อมปรากฎแทนเป็นธรรมดา แบกถือของหนักๆ อะไรไว้จนเมื่อย พอวางทำไมจะไม่รู้สึกสบายขึ้น มันเป็นธรรมดา เบากายเบาใจแล้วก็แล้วกันไป เกิดดับ กลับมารู้ในความปกติต่อไป จะเพลินหรือจะอะไรค่อยๆ ดูกันต่อไป อยู่กับปัจจุบันไป
     
  12. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    คิดว่า คุณ Tboon ปล่อยความคิดได้ แต่ยังปล่อยจิตไม่ได้ครับ
    เพราะอาจจะยังขาดมหาสติปัฎฐานในส่วนของจิตตานุปัสสนา
     
  13. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ธรรมะ คือ รู้ และ ปล่อย ได้
    ไม่ใช่การทำใจให้ยอมรับทุกข์ แบบหมดทางสู้ ปลงตก
    แต่รู้ทุกข์ และชนะทุกข์ ด้วยการปล่อยระดับจิตครับ

    ประเด็นอยู่ตรงที่ว่า คนปกติทั่วไปไม่ได้สนใจไปถึงระดับจิต จึงไม่รู้ว่าเห็นจิตอย่างไร จะปล่อยจิตอย่างไร จิตนี้คือตัวรู้ เข้าไปรู้เวทนา ก็ปล่อยไม่รู้เวทนาได้ เข้าไปรู้ส่วนใดก็ปล่อยส่วนนั้นได้ แต่เพราะไม่เคยฝึกจึงไม่สามารถทำได้ครับ
     
  14. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    "ปล่อยจิต" เป็นคำที่น่าสนใจ แต่ตอนนี้ผมคงต้องปล่อยความน่าสนใจนี้ไปก่อน เพราะทุกข์ตรงนี้ยังไม่ทันเกิดหรือยังไม่ทันเห็นก็ได้ครับ
     
  15. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    ต้องพิจารณาให้เห็นโทษกับแสวงหาสุขที่ละเอียดขึ้นไปครับ

    ดูกรมหานาม ถ้าแม้ว่า อริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ แต่อริยสาวก นั้นเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอจะ ยังเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามไม่ได้ก่อน แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเธอก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่า นั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามเป็นแท้. ดูกรมหานาม แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศล ธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามมิได้ก่อน แต่เมื่อใด เราเล็งเห็น ด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และ กุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม.
     
  16. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ไม่เป็นไรครับ ก็แลกเปลี่ยนความเห็นกันได้ครับ
    จริงๆแล้ว ทุกข์เกิดที่จิตตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น อารมณ์ที่ดองอยู่ นิวรณ์ที่ค้างอยู่ในจิต เวทนาที่ค้างอยู่ สิ่งเหล่านี้ไม่ดับ เพราะคนทั่วไปยึดไว้ ประกอบกับ ทางของอวิชชาที่สร้างมา ทำให้เจ้าของไม่ได้ปล่อยครับ
     
  17. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้าจริงๆ ไม่ได้มีจิตแต่แรกล่ะครับ หมายถึงจิตมีด้วยความมีเหตุปัจจัย ถ้าหมดเหตุปัจจัยจิตก็ไม่มี ยกเป็นส่วนของอสังขตธรรมไปตรงนั้น คือจุดนี้คงต้องทำความเห็นให้ถูกตรงเสียหน่อยก่อน เอาเรื่องวิปลาส ๔ มาจับ
     
  18. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    เราไม่ได้ไปถึงตรงนั้นด้วยความคิดหรอกครับ เพราะอวิชชาบังทั้งความคิด บังทั้งจิตอยู่ แม้เราจะบอกว่า ทำความเห็นให้ถูก แต่เป็นความเห็นที่จินตนาการไปครับ ไม่ใช่เกิดจากความเห็นสภาวะจริง
     
  19. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    สาธุครับ ถ้าในความเข้าใจผมก็คือว่า ละด้วยเพราะมีปัญญาเห็นชอบแล้ว จึงทรงปฏิญาณได้ ถ้าละแบบขาดปัญญามันก็ละไปแบบแห้งแล้งแบบอดอยากไปเฉยๆ น่ะครับ :p
     
  20. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ก็จริงครับ ต้องเห็นมาก่อนแล้ว จึงจะรู้ ผมมองว่า ระดับการเรียนธรรมจะมีอยู่ 2 ระดับ คือระดับที่ต้องอาศัยพุทธโอวาท พุทธดำรัส (หรือจะว่าพุทธวจนก็ได้) นำทางเป็นแผนที่มาก่อนครับ

    กับระดับที่เป็นไปเองแล้ว ส่วนนี้ตำราวิชาการอะไรไม่ต้องใช้แล้ว เรียนจากประสบการณ์จริง ตรงไปตรงมาเลย พวกหลังนี่คือพวกสิ้นสงสัย รู้ทางชัดแล้ว มีแต่เดินไปให้ถึงจุดหมายปลายทางอย่างเดียว พวกนี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยตำรามาประคับประคองความเชื่ออีก เป็นพวกศรัทธามั่นคงร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นบางทีเราเห็นบางคนบอกไม่ต้องเอาตำรามาพูดกัน ก็อาจจะหมายความว่า เขาเป็นกลุ่มหลังนี้ หรือไม่ก็ด้วยมีครูบาอาจารย์คอยประคับประคองอยู่แล้ว และถึงยังไงก็ต้องปล่อยให้เดินเองอยู่ดี

    ดังนั้นวิชาการก็ควรจะเอามาใช้ได้บ้างเป็นการนำทาง เป็นแผนที่เบื้องต้นครับ อย่างครูบาอาจารย์ท่านทวนสอบศิษย์ท่านจะรู้เลยว่าศิษย์อยู่ตรงไหน มีความเห็นชอบเป็นสัมมาทิฏฐิจริงๆ หรือยัง ปล่อยให้เดินเองได้แล้วหรือยัง
     

แชร์หน้านี้

Loading...