เรื่องเด่น คนที่เป็นทายาทรับผลกรรม.. (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 22 มิถุนายน 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    คนที่เป็นทายาทรับผลกรรม.. (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

    สมเด็จพระญาณสังวร.jpg

    คนส่วนมากยังมีความเชื่อว่ามีผู้ดลบันดาล เช่น ดลบันดาลให้เกิดภัย ดลบันดาลให้เกิดโชคลาภ เป็นต้น แต่ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงว่า คนมีกรรมเป็นของตน จะมีสุขหรือทุกเพราะกรรม ก็เปลี่ยนให้คนมากลัวกรรมกันอีก เช่นเดียวกับที่เคยกลัวผู้ดลบันดาล เมื่อคิดถึงก็คิดเห็นไปคล้ายกับเป็นตัวทุกข์มืด ๆ อะไรอย่างหนึ่งที่น่าสะพรึงกลัว ผู้เงือดเงื้อจะลงโทษ กรรมจึงคล้ายผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกเข้าใจในทางร้ายอยู่เสมอ เมื่อได้ดีมีสุขก็กลับกล่าวว่าเป็นบุญบารมี กรรมจึงไม่มาเกี่ยวในทางดีตามความเข้าใจของคนทั่วไป นอกจากนี้ คนจะทำอะไรในปัจจุบันก็ไม่ได้นึกถึงกรรม เพราะเห็นว่ากรรม ไม่เกี่ยว กรรมจึงกลายเป็นอดีตที่น่ากลัว ที่คอยจะให้ทุกข์เมื่อไรก็ไม่รู้ ซึ่งไม่สามารถจะป้องกันได้เท่านั้น ดูก็เป็นเคราะห์กรรมของกรรมยิ่งนักที่ถูกคนเข้าใจไปเช่นนี้ อันที่จริงพระพุทธศาสนาได้สอนให้คนเข้าใจในกรรมเช่นนี้ไม่ ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม เป็นทาสของกรรม หรืออยู่ใต้อำนาจกรรม แต่สอนให้รู้จักกรรม ให้มีอำนาจเหนือกรรม ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน “กรรม” คือ กาลอะไรทุกอย่างที่คนทำอยู่ทุกเวลา ประกอบด้วยเจตนา คือ ความจงใจ ทุกคนจะทำอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไร ย่อมมีเจตนา คือ ความจงใจนำอยู่ก่อนเสมอ และในวันหนึ่งก็ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องพูดอย่างนั้นอย่างนี้ ไปตามที่ตนเองจงใจจะพูด จะทำ จะคิด นี่แหละคือกรรม
    วันหนึ่ง ๆ จึงทำกรรมมากมายหลายอย่าง หลีกกรรมไม่พ้น พระพุทธศาสนาสอนเรื่องกรรม หลักใหญ่ก็มุ่งให้พิจารณาให้รู้จักปัจจุบันกรรมของตนนี้แหละว่า “อะไรดีอะไรชั่ว อะไรควรไม่ควร
    เพื่อที่จะได้เว้นกรรมที่ชั่วที่ไม่ควร เพื่อที่จะทำกรรมที่ดีที่ควร” และพระพุทธเจ้ายังได้ตรัสไว้ว่า “บุคคลสามารถจะละกรรมที่ชั่วทำกรรมที่ดีได้” จึงได้ตรัสสอนไว้ให้ละกรรมที่ชั่ว ทำกรรมที่ดี ถ้าไม่เช่นนั้นก็ไม่ตรัสสอนไว้ และการละกรรมชั่วทำกรรมดีถ้าให้เกิดโทษทุกข์ ก็จะไม่ตรัสไว้อย่างนี้ แต่เพราะให้เกิดประโยชน์สุข จึงตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระพุทธโอวาทนี้แสดงว่า คนมีอำนาจเหนือกรรม อาจควบคุมกรรมของตนได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าต้องควบคุมจิตเจตนาของตนได้ด้วย โดยตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในธรรม เช่น เมตตา สติ ปัญญา สัจจาธิษฐาน เป็นต้น อันเป็นส่วนจิตและศีล อันหมายถึง ตั้งเจตนาเว้นการที่ควรเว้น ทำการที่ควรทำในขอบเขตอันควร

    556000013013701.jpe

    ที่ว่าคนมีอำนาจเหนือกรรมปัจจุบัน ด้วยการควบคุมจิตเจตนาให้เว้นหรือทำกรรมอะไรก็ได้นั้น ถ้าพูดเพียงเท่านี้ก็ดูไม่มีปัญหา แต่ถ้าพูดถึงกรรมอดีตที่จะส่งผลให้ในปัจจุบัน ก็เกิดปัญหาขึ้นอีกสำหรับผู้ที่เชื่อในอดีตชาติว่า กรรมที่ทำให้ในอดีตชาติจะส่งผลให้ในชาตินี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น จึงกลัวอำนาจของกรรมอดีต เหมือนอย่างกลัวอำนาจมืดที่จะมาทำร้ายเอาแน่ ในเรื่องนี้พระพุทธศาสนาแสดงไว้อย่างไรสมควรจะพิจารณา ประการแรก พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเป็นทายาทรับผลกรรมที่ตนได้ทำไว้แล้ว ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาข้อมาติกา คือแม่บท ไม่มีผิดเหมือนอย่างที่คำโบรารณว่า “กำปั้นทุบดิน” แต่ยังมีกฎประกอบอีกหลายข้อเหมือนอย่างดินที่ทุบนั้น ยังมีปัญหาต่อไปอีกหลายข้อว่า ดินที่ตรงไหน เป็นต้น เมื่อกล่าวว่าดินแล้วก็คลุมไปทั้งโลก คำว่ากรรมก็ฉันนั้นคลุมไปทั้งหมด
    เพราะคนทุกคนทำกรรมต่าง ๆ ซับซ้อนกันมากมายเหลือเกิน กรรมอันไหนจะให้ผลเมื่อไร จึงมีกฎแบ่งกรรมออกไปอีก สรุปลงว่า กรรมหนักหรือกรรมที่ทำบ่อย ๆ ให้ผลก่อนกรรมที่เบากว่า หรือที่ทำไม่บ่อยนัก คนเรานั้นทำมาทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว จึงมีสุขบ้างทุกบ้างสลับกันไป ผู้ที่มีสุขมากก็เพราะกรรมหนัก หรือกรรมที่ทำบ่อย ๆ ฝ่ายดีกำลังให้ผล ผู้ที่มีทุกข์มากก็ตรงกันข้าม และในปัจจุบันนี้ใครก็ตามมีความไม่ประมาท ประกอบกรรมที่ดีอย่างหนักหรือบ่อย ๆ กรรมดังกล่าวนี้จะสนองผลให้ก่อน กรรมชั่วในอดีตหากได้ทำไว้ ถ้าเบากว่าก็ไม่มีโอกาสให้ผล ฉะนั้น ผู้ที่ทำกรรมดีมากอยู่เสมอ ๆ จึงไม่ต้องกลัวกรรมชั่วในอดีต หากจะมีกุศลของตัวจะชูช่วยให้มีความสุขความเจริญสืบไป และถ้าแผ่เมตตาจิตอยู่เนือง ๆ ก็จะระงับคู่เวรในอดีตได้อีกด้วย ระงับได้ตลอดถึงปัจจุบัน ทั้งเมื่อได้ดำเนินในมรรคมีองค์ 8 ของพระพุทธเจ้าเพื่อความสิ้นทุกข์ ก็จะดำเนินเข้าสู่ทางที่พ้นจากกรรมเวรทั้งสิ้น
    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ตัณหาเป็นกรรม สมุทัยคือ เหตุให้เกิดกรรม มรรคเป็นทางดับกรรม ฉะนั้น จึงไม่ต้องกลัวอดีต แต่ให้ระวังปัจจุบันกรรม และระวังใจ ตั้งใจให้มั่นไว้ในธรรม ธรรมก็จะรักษาให้มีความสวัสดีทุกกาลทุกสถาน”

    553000019452201.jpg

    Y12722631-1.jpg

    แหล่งที่มา: กรรม พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    จาก “พระพุทธศาสนา และการนับถือพระพุทธศาสนา”
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=29053


    ---------------
    ที่มา
    https://www.nananaru.net/?p=4028

     
  2. กายสงบ ใจสบาย

    กายสงบ ใจสบาย พระคาถาเงินล้าน ศักดิ์สิทธิ์จริง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +18
    กรรมมีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี
    บุคคลสามารถจะละกรรมที่ชั่ว แล้วทำกรรมที่ดีได้
    พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนไว้ให้ละกรรมที่ชั่ว ทำกรรมที่ดี

    สาธุ สาธุ สษธุ ครับ
     
  3. ดาวศุกร์

    ดาวศุกร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    171
    ค่าพลัง:
    +554
    ไม่เห็นมีประโยคที่บอกว่า "คนที่เป็นทายาทรับผลกรรม" ในพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ ท่านเลยครับ มีแต่คำว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของตน ใครทำกรรมใดไว้ ก็ต้องได้รับผลของกรรมนั้น ไม่ใช่ให้คนอื่นรับผลแทนเหมือนพรามห์มเอาแพะไปบูชายัญเพื่อให้แพะรับบาปกรรมที่ตนเองเคยทำไว้

    กรุณาแก้ไขหัวข้อที่บิดเบือนเนื้อหาของพระนิพนธ์ก็จะเป็นกุศลกรรมนะตรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2017
  4. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
  5. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    คำว่า "คนที่เป็นทายาทรับผลกรรม" หมายความว่า เช่น
    นาย A เคยสร้างกรรมฆ่าคนตายมาในอดีต
    มาในชาตินี้ นาย A โดนนาย B ฆ่าตาย เพราะผลกรรมที่ตนเคยทำมา
    ส่วนนาย B ก็กลายเป็นทายาทกรรมของนายนาย A
    คือนาย B ก็จะต้องโดนฆ่าตายเช่นเดียวกับนาย A ต่อไป

    สรุปคือ นาย A สร้างกรรม
    ผลกรรมของนาย A ส่งผลให้นาย B มาทำกับนาย A บ้าง
    เนื่องจากกรรมของ นาย A และ นาย B จึงทำให้กรรมชักนำให้ทั้งสองมาเจอกัน
    เมื่อเจอกันแล้ว กรรมของทั้งสองได้บีบบังคับให้นาย B ทำกรรมกับนาย A
    นาย B จึงเป็นทายาทกรรมของนาย A คือ ต้องได้รับผลกรรมนั้นแบบเดียวกับนาย A ต่อไป

    นี้คือความหมายของคำว่า "คนที่เป็นทายาทรับผลกรรม" ครับ
    ไม่ได้หมายความว่าใครทำกรรมแล้วคนอื่นรับแทน
     
  6. ดาวศุกร์

    ดาวศุกร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    171
    ค่าพลัง:
    +554
    เข้าใจผิดแล้วครับ ลองไปอ่านในพระไตรปิฎก หรือ อรรถกถาในพระไตรปิฎกดูได้ครับ

    ส่่วนนาย A เคยทำนาย B ไม่จำเป็นว่าชาติหน้า นาย B จะต้องไปทำนาย A บ้าง แต่สิ่งที่นาย A จะได้รับ คือ ผลของกรรม (วิบาก) เข่น ชาตินี้ฆ่าปลา ผลของกรรมที่ได้รับ คือ อายุสั้น ไม่ใช่ว่าปลาจะต้องเกิดมาฆ่าเราบ้าง ผลของกรรม (วิบาก) ที่ได้รับนั้น หนักเบาขึ้นอยู่กับความหนักเบาของกรรมที่ทำ พระพุทธเจ้าท่านได้จำแนกและอธิบายไว้แล้ว ในพระไตรปิฎกก็มีปรากฏอยู่ครับ สามารถศึกษาหาอ่านได้
     
  7. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    ที่คุณพูดมาก็ถูกครับ ที่ว่านาย B ไม่จำเป็นจะต้องไปทำกับนาย A บ้าง

    แต่ที่ผมอธิบายก็คือ คำว่า "คนที่เป็นทายาทรับผลกรรม"
    ที่เจ้าของกระทู้เขาเขียนนั้น หมายถึง
    คนที่ไปทำกรรมกับคนอื่นไว้ แล้วตนเองก็จะต้องได้รับผลกรรมนั้น ๆ ไปนั่นเอง
    ก็เปรียบได้กับการเป็นทายาทกรรมของคนที่ตนเองเคยไปทำเขาไว้
    คือเป็นผู้รับมรดกกรรมนั่นเอง เขาเลยเรียกสั้น ๆ ว่า "คนที่เป็นทายาทรับผลกรรม"

    ส่วนตัวอย่างที่ว่ามานั้น
    ถ้านาย A ฆ่าปลา ผลกรรมคือ ตกนรกได้
    พ้นจากนรกแล้ว ต้องการเกิดเป็นปลาให้คนอื่นฆ่าเท่ากับจำนวนปลาที่ตนเองฆ่าไป
    หากมาเกิดเป็นคน กรรมนั้นจะส่งผลทำให้เจ็บป่วย และมีอายุสั้น
    ส่วนปลาที่โดนนาย A ฆ่านั้น อาจจะกลับมาฆ่านาย A คืน หรือไม่ก็ได้
    ถ้าปลานั้นไม่ได้เป็นผู้กลับมาฆ่านาย A กรรมก็จะจัดสรรให้คนอื่นที่มีกรรมคล้ายกันมาทำแทน
    และผลกรรม ก็อาจจะส่งผลในชาติหน้า หรือ อีกหลาย ๆ ชาติก็ได้
    แล้วแต่ความหนักเบา และเจตนาว่าตั้งใจทำหรือไม่
     
  8. ดาวศุกร์

    ดาวศุกร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    171
    ค่าพลัง:
    +554
    คำที่ตกหล่นทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดได้ คำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ บริสุทธิ์ บริบูรณ์แล้วสิ้นเชิง การตัดบางประโยคไป ทำให้เข้าใจผิดได้

    "เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม" => ตัวเราเองที่เป็นทายาทของกรรมนั้น)

    "คนที่เป็นทายาทรับผลของกรรม" => อ่านแล้วจะเข้าใจว่าผู้ที่เป็นทายาทสืบเชื้อสายจากเรา รับผลของกรรม

    ส่วนตัวอย่างที่คุณและผมอ้างกันขึ้นมานั้นเป็นความคิดเห็นของเราผู้เป็นปุถุชน ความเข้าใจเรื่องกรรมมีมาก่อนพุทธศาสนาจะกำเนิด แต่ไม่มีใครรู้อย่างถูกต้อง พระพุทธเจ้า หรือผู้ที่มีญาณวิสัยเหมือนพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรู้ในเรื่องของกรรมอย่างถ่องแท้

    เรื่องของกรรม เป็น 1 ในอจินไตย ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าไม่ควรนำมาคิด ผมเข้าใจแล้วว่าทำไมเวลามีคนมาถามพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องกรรม (หรือเรื่องที่เป็นอจินไตยอย่างอื่น) บางครั้งพระองค์จะทรงนิ่ง ไม่ตอบ เพราะตอบไปก็ไม่เกิดประโยชน์สำหรับปุถุชนที่ไม่มีญาณวิสัย ดังนั้น ผมขอจบการโพสต์แต่เพียงแค่นี้ดีกว่าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...