ขออนุญาตสอบถามพี่ๆและเพื่อนๆนักปฏิบัติทุกท่านครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย rattanasak, 26 ธันวาคม 2017.

  1. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +164
    ก็เลยไม่มีใครพูดถึงประเด็นเจ้าของกระทู้เลย...
    ขอถามอีกนิดครับ แล้วเวลาคุณเพ่งกระดูกนี่ คุณต้องภาวนาอะไรหรือเปล่า ลมหายใจต้องโฟกัสหรือเปล่า... หรือจิตเพ่งกระดูกส่วนต่างๆของร่างกายอย่างเดียว...
     
  2. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,490
    ค่าพลัง:
    +2,363
    ขออนุญาตถามนะครับท่าน มันใช่ความรู้สึกหน่วงที่อยู่กลางจิตหรือเปล่าครับ ที่พอเวลาส่งจิตไปไหนถ้ารู้อย่างเดียวมันจะไม่เกิดกริยาจิตแต่ถ้าเอาสมาธิเข้าไปจับด้วยจะแน่นใช่ไหมครับนี่ผมเข้าใจถูกไหมครับ ถ้าไม่ใช่ขอท่านโปรดสอนข้าพเจ้าด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
  3. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +164
    ขอผมมั่วมั่ง 55..

    สมาธิมันจะเข้าไปจับได้ยังไงครับ มันเป็นจิตคุณที่เข้าไปเกลือกกลั่วกับตัวกิเลส ตัณหาต่างหาก จึงทำให้เกิดความรู้สึกแน่นขึ้นมา... เมื่อจิตคุณเข้าไปจับตัวกิเลสตัณหานี้ จิตคุณก็จะเกิดการปรุงแต่ง แล้วก็จับกิเลสตัณหานั้นๆ ขึ้นมาเป็นอารมณ์... ถ้าคุณฝึกสมาธิมาดี ในระหว่างนี้คุณสามารถใช้สติกำกับ ดึงจิตออกมาจากการเกลือกกลั่วกับกิเลส ตัณหาได้ แต่ก็จะยากนิสนึง เพราะจิตได้เข้าไปจับกิเลสตัณหานั้นเป็นอารมณ์แล้ว..

    มั่วเอา...
     
  4. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,490
    ค่าพลัง:
    +2,363
    ขอบคุณที่แนะนำครับ เดี๋ยวไปทดลองแล้วจะมาบอกผลครับ
     
  5. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,490
    ค่าพลัง:
    +2,363
    *คำว่าสมาธิที่ผมหมายถึงคือการดึงจิตไปจับเป็นกายนะครับ จากผลการทดลองนะครับมันไม่แน่นแล้วละครับแต่มันยังมีมวลจิตที่เบาบางอยู่นะครับ แต่มันยังไม่ใช่ความรู้สึกที่ผมจับได้ในจิตน่ะสิครับอันนั้นไอ้ที่อยู่ในกลางจิตมันเป็น ขอใช้ศัพท์วัยรุ่นนะครับเนื่องจากผมยังเด็กอยู่ มันเป็นฟีลลิ่งแบบ space นะครับคือมันว่างผมอธิบายไม่ถูกเหมือนกัน ซึ่งที่ผมถามท่านคนไทยไปเพราะผมไม่มั่นใจว่ามันคืออัตตาจิตแบบที่ท่านธรรมชาติบอกหรือเปล่าด้วยแหละครับ เพราะผมปฏิบัติอย่างเดียวไม่เกทศัพท์ทางธรรมครับกว่าจะเข้าใจหลายๆท่านต้องไปเปิดกูเกิลดูคำแปลมาด้วยแหละครับ และถ้าผมเข้าใจถูกคำว่าอัตตาจิตคือจิตไปยึดกับบางสิ่งเป็นกาย ดังนั้นตรงที่ผมรู้สึกได้ก็ไม่น่าจะใช่อัตตาจิตนั่นแหละครับท่านพินิจ
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    วิธีเจริญจิตภาวนา ดูจิต ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล บิดาแห่งการภาวนา ดูจิต

    วิธีเจริญจิตภาวนา

    ตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    1.เริ่มต้นด้วยอิริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก

    รักษาจิตให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม

    ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุธโธปรากฏชัดที่สุดนี้ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอนต้องอยู่ภายในกายแน่

    เมื่อกำหนดถูก และพุธโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อน่าให้ขาดสายได้

    ดังนั้นในการนึก พุธโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุธโธจะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ


    2.ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์ทิ้งไป


    3.อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไป ก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิมรักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ

    ระวังจิตไม่ให้คิดถึงเรื่องภายนอกสังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖

    4.อารมณ์ความนึกคิดต่างๆก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหาก จากเวทนาของรูปกาย

    5.จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไป

    มรรคปฏิปทา นั้น จะต้องอยู่ใน มรรคจิต เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆนานาเลย


    *************************************************************************

    วิธีเจริญจิตภาวนา ของหลวงปู่ดูลย์ สอนไว้ชัดเจนครับ.


    บรรลุสมาธิในที่สุด (พุทโธ จน จิต เป็นสมาธิ กาย กับ จิต แยกจากกันเป็นเบื้องต้น ของผู้ ดูจิต นั้นเองครับ)


    สิ่งสำคัญ ของ การพิจารณาธรรม คือ จิต ต้องเป็น สมาธิ ก่อน เป็นเบื้องต้น ของผู้ ปฏิบัติ ดูจิต ตามแนวทางตามหลักคำสอนของหลวงปู่ดูลย์



    สรุปย่อพิมพ์มาจากหนังสือ “อตุโลรำลึก จิต คือ พุทธะ”

    ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ฉบับนี้ “อตุโลรำลึก จิต คือ พุทธะ ” (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑)
     
  7. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,490
    ค่าพลัง:
    +2,363
    ขอบคุณครับท่าน saber จะเก็บไว้อ่านครับแต่ที่ผมทดลองส่งจิตออกไปข้างนอกเพราะเป็นการทดลองว่า ตัว space ที่ผมกำลังดูอยู่ในกลางจิตมันเป็นตัวส่งจิตออกไปหรือไม่นั่นแหละครับ เพราะผมไม่มั่นใจว่าใช่ไหม ผมเลยได้ทดลองส่งจิตออกไปโดยจับเป็นกายเลยเพื่อจะได้เห็นง่ายๆแต่พอลองใช้แค่สติแบบที่คุณพินิจกล่าวแล้ว เมื่อส่งจิตออกไปโดยไม่จับเป็นกายมันก็ยังเป็นคลื่นจิตที่ฟุ้งอยู่ดีครับ ผมเลยอยากรู้ว่าตัว space ที่ผมรู้นั้นมันใช่ตัวที่ท่านไทบอกไหมหรือว่ามันไม่ใช่นั่นเองแหละครับ เพราะก่อนหน้านี้ผมก็เคยได้ทดลองโดยการคิดอะไรสักอย่างเพื่อจะหาที่มาของมันเมื่อความคิดจากจิตที่มันไปรวมตัวตรงหัวนั้นผมก็เลยเอาจิตไปจับเพื่อมาย้อนดูว่ามันเกิดมาจากตรงไหนแล้วผมก็พบว่าเมื่อคิดอะไร ไอ้พื้นที่ในจิตมันจะเกิดความดันและมันจะไปรวมกับตัว space และเกิดเป็นความคิดขึ้น
    ปล.จิตกับกายที่ผมว่าคือ เมื่อจิตไปจับกับสิ่งใดจึงยึดเป็นกายนั่นแหละครับ
     
  8. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    จิตจะเข้าใจสภาวะคำสอน ของ ลป. ดุ.. ได้
    อาจจะต้องอาศัยการเข้าสู่ปัญญาญานได้บ้าง
    คือ เห็นทั้งตัว ผู้ดู จิต ผู้รู้ ว่าเป็นคนละตัว
    และเป็นกระบวนการปรุงแต่งอย่างหนึ่งอยู่
    เพราะหนักสมถะแม้เห็นจิตจากผู้ดู
    แต่จะเข้าใจว่าจิตเป็นผู้รู้และไม่เห็นตัวผู้รู้

    และถ้าหนักวิปัสสนา จะไม่เห็นผู้ดู
    และเข้าใจว่าจิตเป็นผู้ดูแต่จะเห็นผู้รู้

    สองส่วนนี้ต้องหาความเป็นกลางเอาเอง
    ยกตัวอย่างง่ายๆ


    เช่น เห็นภาพนามธรรมภาพหนึ่งไม่ว่าภาพอะไร
    อาจจะต้องเข้าใจได้ก่อนว่า ภาพนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
    ดับได้อย่างไร เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นๆได้ไหม
    ทำไมถึงเกิด เหตุที่เกิดขึ้นได้มาจากไหน อะไรประมาณนี้

    พูดง่ายๆว่า ต้องทิ้งการเห็นให้เป็น แล้วมาค่อยๆเพิ่ม
    การสังเกตุเอา

    ลป.ท่านนี้ ได้รับการยอมรับ จากพุทธฯหรือที่เกี่ยวข้อง
    กับพุทธฯเกือบทุกสาย
    เรื่องจิต การกำเนิดจิต กำเนิดจักรวาล
    อ่านได้ ไม่ผิดหวัง
    จิตเข้าใจสภาวะได้หรือไม่ได้ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ๕๕๕
     
  9. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    พอมาอ่านที่ท่าน nopphakan โพสต์ว่า "เห็นทั้งตัว ผู้ดู จิต ผู้รู้ ว่าเป็นคนละตัว และเป็นกระบวนการปรุงแต่งอย่างหนึ่งอยู่" อันนี้พอเข้าใจครับ เมื่อวานตอบท่านธรรมชาติตกไปอยู่คำหนึ่งความหมายอาจเปลี่ยน ดังนั้นจะมาเพิ่มเพียงแค่คำเดียวคือคำว่า หลง ตรงสีแดงๆนั่นแหละครับ

    แต่ที่สำคัญอีกอย่าง ตัวนั้นเขาจะไม่พูดว่าเป็นอะไรกัน เพราะพูดปุ๊บมันจะกลายเป็นอัตตา ก่ออัตตาขึ้นมาทันที เหมือนอย่างที่กล่าวเฉียดๆอยู่นี้ก็เหมือนกันก็เป็นอัตตาได้ ถ้ามีความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมา หลงพลาดพลั้งรู้เท่าทันสำเหนียกไปตามเหตุปัจจัยไปตามวาระครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2018
  10. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ ในกรณีของผมและกลุ่มฝึก ตัวสั่งการ เป็นตัวเจตนา

    +++ ในกลุ่มพวกเรา "เห็น" ได้ในสภาพของ "กิริยาจิต" การเห็นเป็นลักษณะ "รู้จนกลายเป็นเห็น"

    +++ ตรงนี้เป็นส่วนของกลุ่มพวกเรา ไม่เกี่ยวกับ "ท่านอื่น" ที่จะ "เห็น" อย่างไร ก็เป็นเรื่องของท่าน ไม่เกี่ยวกับพวกเรา
    +++ ส่วนของพวกเรา "ไอ้ตัวนี้" มันไม่สามารถได้ใจ และ มีอิทธิพลกับพวกเรา ได้เลย

    +++ ดังนั้น "ไอ้ตัวนี้" ของท่าน "เป็นส่วนของท่านเอง ที่มันได้ใจ" ไม่ใช่ ส่วนของพวกเรา
    +++ ท่าน "ไม่เห็น" ก็เป็น "ส่วนของท่าน" ไม่ใช่ส่วนของพวกเรา

    +++ หากมัน "ใช้ท่าน" ก็เป็น ภาระของท่านเอง ไม่ใช่ภาระของพวกเรา

    +++ ส่วนของพวกเรา "เห็น และ มันไม่มีอิทธิพลอะไร เหนือพวกเรา" ตรงนี้เป็นส่วนของพวกเรา

    +++ พวกเรา "ใช้มัน" แต่มัน ไม่สามารถใช้เราได้ ตรงนี้เป็น "ของใครของมัน"
    +++ คำพูดของท่าน เป็นส่วนของตัวท่านเอง ไม่ใช่ส่วนของพวกเรา

    +++ ในส่วนของพวกเรา "ตัวมันเองนั่นแหละ คือ ทุกข์ตัวจริง (ทุกข์สัจจะ)" มันไม่ใช่เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัยสัจจะ)

    +++ เติมคำว่า "หลง" ตรงนี้

    +++ ดังนั้นในกลุ่มฝึกของพวกเรา "ไม่มีใคร กล้า หลงตัวมันหรอก" ทุกคนต้องการ "กำจัดมัน" ไม่ให้เหลือต่างหาก


    +++ การเห็นของพวกเรา เป็นการ "เห็นทุกข์" ตรงกันกับ "จิตเห็นจิต เป็น มรรค"

    +++ ดังนั้น "การเห็น" ของพวกเรา ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ "การเห็น" ของท่าน

    +++ ที่ผม "ไม่ได้บอกคุณ rattanasak" เพราะผมต้องการให้ คุณ rattanasak เห็น "มัน" ด้วยตนเอง (หากทำ)

    +++ ดังนั้นผม "ไม่ได้ลืม" อย่างที่ท่าน กล่าวมาตั้งแต่ต้น
    +++ ในกลุ่มฝึกของพวกเรา "ฟันธง" ได้เต็ม ๆ ว่า "ตรงจุด ถูกที่"

    +++ แต่การเห็น ของท่านว่า ตรงหรือไม่ เป็นส่วนของตัวท่านเอง พวกเราไม่ก้าวก่ายกับ "การมองไม่เห็น" ของท่าน
    +++ มันไม่ใช่วิธีการ "ของท่าน" ตรงนี้เป็น ส่วนของท่าน พวกเรา "ไม่เกี่ยว"

    +++ พวกเรา "พิสูจน์" กันจนชัดเจนแล้วว่า "ใช่" ตรงนี้เป็นส่วนของพวกเรา ไม่ใช่ส่วนของท่าน

    +++ ดังนั้น หากท่านจะหา ก็คงต้อง หาด้วยวิธีการของท่านเอาเอง
    +++ ตรงนี้ เป็นส่วน "ความคิด" ของท่าน ไม่ใช่ส่วน "ความจริง" ของพวกเรา

    +++ ในเมื่อ ท่าน ยังไม่สามารถพิสูจน์ด้วย "วิธีการทำ" ได้ ท่านก็ต้อง หาต่อไป
    +++ ในกลุ่มของพวกเรา "ได้ การพ้นออกไปจาก ความเป็นตน"

    +++ และความเป็นตน คือ "ทุกข์ในสภาวะของมันเองอยู่แล้ว ในตัวมันเอง" ตรงนี้รู้ชัด ในกลุ่มฝึก ที่ผมฝึกให้

    +++ ส่วนการ "พิสูจน์แล้ว ไม่ได้อะไรเลย" ตรงนี้เป็นส่วนของท่าน ไม่ใช่ส่วนของพวกเรา และ พวกเราได้อริยะสัจจ 4 ครบ
    +++ ตรงนี้เป็น "ความคิด" ในส่วนของท่าน พวกเราไม่เกี่ยว
    +++ ตรงนี้ เป็นส่วนของท่าน พวกเราไม่เกี่ยว และพวกเรา "ไม่สนใจในเรื่อง พิสูจน์แบบท่าน รวมทั้งการพ้นทุกข์แบบของท่าน ทั้ง ๆ ที่ท่าน ยังไม่เห็น ตัวทุกข์"
    +++ ตรงนี้เป็นส่วนของท่าน ท่านจะใกล้หรือไม่ใกล้ เป็นเรื่องของท่านเอาเอง ไม่เกี่ยวกับพวกเรา
    +++ ตรงนี้เป็น "แบบคาดการณ์เอาเอง" ในส่วนของท่าน เพราะ ท่าน ยังไม่เห็น "อัตตา/อนัตตา" พวกเราไม่เกี่ยว

    +++ พวกเราฝึกโดย "ไม่มีการเดาสุ่ม" ตามแบบของท่าน ดังนั้น ตรงนี้เป็นเรื่อง "ตัวใครตัวมัน"
    +++ ใช่ครับ ผมเห็นด้วย พวกเรา "ไม่ใช้การ คาดเดาแบบท่าน" ดังนั้นท่านคาดเดาพวกเรา "ยังไงก็ไม่มีทางถูกหรอกครับ"
    +++ ขออภัยเช่นกันครับ ผมก็ "ตรงไปตรงมา" เหมือนกัน
     
  11. rattanasak

    rattanasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    414
    ค่าพลัง:
    +616
    ตอบพี่ pinit47 นะครับ ในขณะที่เพ่งกระดูก ลมหายใจไม่ได้โฟกัสและไม่ได้ภาวนาอะไรเลยครับ สติ(ความรู้สึก)ไปจับตรงจุดต่างๆ เช่น กระดูกฝ่ามือกระดูกนิ้วมีกี่ชิ้น ก้อเอาสติกำกับไว้ตรงจุดนั้นและก้อไล่ไปตามกระดูกแต่ละชิ้น แต่พอหายใจเข้าออก มันก้อรู้ตรงลมหายใจ แล้วก้อไปกำหนดจิตตรงจุดของกระดูกต่อไปครับ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จิตจะดิ่งลึกไปเรือ่ยๆ ผมไม่สามารถอธิบายสภาวะธรรมได้นะครับ พอจิตดิ่งไปเรื่อยๆเมือไปนับกระดูกที่ฝ่าเท้า คราวนี้ฝ่าเท้าไม่มี ไปน้ับกระดูกขา ขาก้อไม่มี ไปนับกระดูกเอว เอวก้อไม่มี นับกระดูกซี่โครง ก้อไม่มี นี่ละครับ ที่ผมบอกว่ามันหายไปล่ะครับ เลยต้องถอนออกไป พุทโธ ครับ
     
  12. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    ดูดีๆนะครับ ที่ท่านตอบมามันมีความหวงแหนอยู่นะครับ "พวกเรา กลุ่มพวกเรา ส่วนของพวกเรา ส่วนของท่าน" อะไรพวกนี้ มันแสดงความหวงแหนมีอาณาเขตอาณาจักรส่วนตัวอยู่ ส่วนเรื่องการเอาจิตไปเป็นตัวกระทำโน่นนี่นั่นสลายคลายต่างๆ ที่ท่านว่ามาว่าเป็นจิตเห็นจิตอันนี้ก็ควรเป็นข้อสังเกตอีกว่า มันคือจิตเห็นจิตหรือว่าเอาจิตเที่ยวแสวงหาจิตคงต้องพิจารณากันดีๆ ครับ ข้อสังเกตพวกนี้ ถ้าไม่ปิดกั้นตัวเองไปเสียก่อน ความเห็นอะไรที่ผิดๆมามันจะคลายได้เหมือนกัน ผมเพียงชี้บางประเด็นให้ท่านเป็นข้อสังเกต เพื่อจะเป็นประโยชน์ดังท่านเคยเปิดโอกาสให้ไว้ และก็น่าจะพอเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมบ้างด้วย ก็ช่วยชี้จุดสังเกตกันไปครับ
     
  13. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +164
    ตอนที่คุณเพ่งกระดูกที่ต่างๆจนไม่มีแล้ว... คุณเคยลองอยู่ในความไม่นั้นดูไหมครับ... กล่าวคือ..เมื่อเพ่งกระดูกที่ต่างๆจนถึงความไม่มี ก็ให้มีสติอยู่ในความไม่มีนั้น ไม่ต้องไปเพ่งหากระดูกต่อ... พอซักพัก สังเกตุดูว่ามีอาการปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านของจิตไหม... ถ้าไม่มี มีแต่ความสงบ ก็น่าจะมาถูกทางแล้วครับ

    อ่อสังเกตุดูด้วยครับว่าลมหายใจละเอียดหรือหยาบขนาดไหน หรือไม่มีแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2018
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อันนี้ ผมแปลกใจนะครับ

    ตามปรกติที่ผมเคยอ่านเคยฟังมา

    การเพ่งกระดูก ถ้าต้องการเป็น สมถะ ก็คือจับภาพ ไม่ให้ภาพหาย นะครับ ก็คือ กระดูกจะอยู่ตลอดไม่หายไปไหน เพ่งไปเรื่อยๆ ไม่ได้หายไปไหน

    ถ้าเป็นการวิปัสสนา ก็คือ ให้พิจารณากระดูกนั้นๆ กระดูกก็อยู่เหมือนเดิม ไม่ได้ทำให้หายไป ครับ

    ก็เลยไม่เข้าใจว่า ไม่มี ไม่มี นี่ อะไรไม่มี ความรู้สึกที่เราไปจับ หรือว่า ภาพกระดูกที่ดูจำมาจากรูปภาพ แล้วมาใช้กับตัวเอง

    เอาเป็นว่า ไม่เคยได้ยินว่าหาย หรือมีบทความ มีเทศน์ที่ไหนสอน ช่วยแนะนำลิ้งให้อ่านทีคับ
     
  15. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +164
    อันนี้ผมว่า จริงๆที่ จขกท บอกว่าไม่ได้โฟกัสที่ลมหายใจ อาจจะคลาดเคลื่อนไปหน่อย...เพราะทุกกรรมฐานนั่นมี อานาปานสติ เป็นฐานอยู่แล้ว เมื่อจิตเข้าสู่ความสงบ จิตอาจจะละการเพ่งเองโดยอัตโนมัติ...

    อันนี้เดาเอา...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2018
  16. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ แบ่งเป็น 4 ส่วนเพื่อความชัดเจน น่าจะพอใช้ได้นะ
    1.
    +++ ตามความคุ้นเคยของคุณ มันดูเหมือนเป็น "การแบ่งพวก" แต่ของผม "เป็นการแยกประเด็น" ให้เห็นชัดเจน ไม่ใช่ "แยกพวก แต่ แยกประเด็น"

    +++ การ "ชี้ประเด็น" ตรงนี้ของผม เป็นการ "แยกเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ของ สาธารณชน" ว่า "ส่วนไหน เป็น ส่วนไหน"

    +++ การพิมพ์ของคุณ เป็นแบบมือถือ เวลาอ่านจะ "ติดกันเป็นพรืด" ทำให้ "แยกประเด็นได้ยาก" ดังนั้นผมจึง "แยกส่วนออก" ไม่งั้น "ตาลาย" แน่

    +++ การแยกส่วนจึงแยกเป็น "ส่วนของคุณ และ ส่วนของผม/กลุ่ม" จากนั้นจึง "เทียบให้เห็น ในแต่ละกรณี" เพื่อความชัดเจน
    2.
    2.1
    +++ 1 เจตนา ใน 1 กิริยาจิต "เป็นการเดินจิต" ไม่มีส่วนของ นิวรณ์ 5
    2.2
    +++ เป็น "สติเห็นจิต" ตรงนี้คือ "สภาวะรู้ เห็น ตัวดู" คือ มหาสติปัฏฐาน ส่วนของ "เวทนาจิต"
    2.3
    +++ เป็นในข้อ 2.2
    2.4
    +++ ไม่มีการปิดกั้นใด ๆ อะไรที่เป็นประโยชน์ ผมเก็บไว้หมด

    +++ ความเห็นผิด ๆ เกิดจากการ "คิดเอาเอง" จากอิทธิพลของ นิวรณ์ 5

    +++ ส่วนของผม "ตัดการคิดเอาเอง ฟุ้งซ่าน" ออกได้ตั้งแรกแรกเริ่ม

    +++ ผลลัพธ์ที่ออกมา เป็นการปฏิบัติที่ ไม่มีนิวรณ์ 5 เข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้น

    +++ การเห็นของผม เป็น "ปรากฏการณ์" ไม่ใช่ "ความคิดเห็น"

    +++ ดังนั้น "ปรากฏการณ์" ไม่มีอะไรผิด มีแต่ "มันเป็นอย่างที่มันเป็น" เท่านั้น
    3.
    +++ ให้คุณลอง "สังเกต" อีกทีว่า เห็นประโยชน์ และจุดต่าง ๆ ตามประเด็น เป็นข้อ ๆ ที่ผมชี้ไว้ด้วยมั้ย
    4.
    +++ สังเกตุออกหรือเปล่าว่า การโพสท์ของผมเป็นแบบ Instruction Manual (recipe) ไม่ใช่แบบ Text Book (food science)

    +++ ลองสังเกตุดูด้วย นะครับ
     
  17. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    ถ้าท่านเห็นโดยความเป็นกิริยาจิตผมก็ไม่มีข้อโต้แย้งครับเพราะส่วนตัวก็มองว่าเป็นไปตามเหตุปัจจัยเช่นนั้นเองเหมือนกัน ..กัมมะปัจจะโย วิปากะปัจจะโย อาหาระปัจจะโย อินทริยะปัจจะโย ฌานะปัจจะโย.. ที่สุดเมื่อเหตุปัจจัยใดปรากฏ ความหลงในสังขารเหล่านั้นจะมีกันไปแค่ไหน กระแสโลก กระแสธรรม พ้นเจตนาทิฏฐิจึงบริสุทธิ์ สิ้นสงสัย เห็นมรรคเห็นทางกันต่อไปโดยลำดับครับ
     
  18. rattanasak

    rattanasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    414
    ค่าพลัง:
    +616
    ตอบพี่ pinit417 นะครับ ผมไม่ได้ไปต่อหลังจากนั้นล่ะครับ(หมายถึงกระดูกมันหายไปช่วงเอว) พอมันไม่มีตัวยึด เกิดความกลัวจึงต้องหันกลับไปจับลมหายใจต่อ แต่ว่าจะลองทดสอบดูนะครับว่า ถ้าไม่มีอะไรกำหนดแล้วอยู่นิ่งๆจะไปไหนต่อ ขอบพระคุณมากครับ
     
  19. rattanasak

    rattanasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    414
    ค่าพลัง:
    +616
    ตอบพี่ Saber นะครับ ตอนผมบวชปีเมือปี 49 ผมก้อเพิ่งมาหัดพิจารณาโครงกระดูกที่วัดนี่หล่ะครับ แต่ไม่ได้พิจารณาตามภาพที่เห็น แต่ใข้จำว่ากระดุกของร่างกายมีกี่ชิ้นอะไรบ้างแล้วก้อกำหนดจิตไปในแต่ละจุดบนร่ายกายเราเอง ข้อดีที่ผมคิดคือจิตมันไม่คิดออกไปไหน มันอยู่กับการเพ่งในแต่ละจุดอ่ะครับ ส่วนตรงที่พี่ saber ถามว่าอะไรไม่มีนั้น คิดว่าจะเป็นความรู้สึกที่เราไปจับตามกระดูกแต่ละจุดๆครับ ตอนแรกมันจับความรู้สึกได้ แต่พอมันละเอียดขึ้นๆ มันจะไม่สามารถจับความรู้สึกของกระดูกต่างๆได้ครับ ส่วนเรื่องตำรา หรือ เทป ไม่มีแน่นอนเลย เพราะเป้นการสอนแบบตัวต่อตัวอ่ะครับ แต่ถ้ามันผิดวิธีในการปฏิบัติ ขอให้พี่ช่วยแนะทางที่ถูกที่ควรด้วยครับ
     
  20. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    ขอแสดงความคิดเห็นนิดนึงนะ แอบอ่านมานานละ

    เคยได้ยินคำว่า ปฏิบัติสบายบรรลุเร็ว-ช้า ปฏิบัติลำบากบรรลุช้า-เร็ว อะไรแบบนี้ไหม

    ปฏิบัติสบายบรรลุเร็วคือการเจริญอานาปานุสติ แล้วบรรลุฌาน 1 2 3 4 แล้วอินทรีย์แก่กล้าก็บรรลุ
    ปฏิบัติสบายบรรลุช้าคือการเจริญอานานุสติ แล้วบรรลุฌาน 1 2 3 4 แล้วอินทรีย์อ่อนบรรลุช้า

    ปฏิบัติลำบาก บรรลุเร็วคือเป็นผู้มีปกติเห็นความไม่งามในร่างกาย ปฏิกูลในอาหาร ความไม่เที่ยงในสังขาร มรณาสัญญาเป็นสิ่งที่เข้าไปตั้งอาศัย อินทรีย์แก่กล้าบรรลุเร็ว
    ปฏิบัติลำบาก บรรลุช้า ก็เช่นกัน อินทรีย์อ่อน บรรลุช้า


    ทีนี้ ก็พิจารณาหนทางของตัวเองดู ว่าเข้า gap ในข้อไหน ปฏิบัติสบาย หรือ ปฏิบัติลำบาก ส่วนบรรลุเร็ว-ช้า ตอนนี้ยังไม่บรรลุ ไม่ต้องไปคิด

    อนึ่ง อานาปานสติ ขณะที่เจริญอยู่ ไม่ต้องไปพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เลือด กระดูก น้ำหนอง ๆลๆ แค่อยู่กับลม ก็คือการเจริญ สมถะและวิปัสสนาในตัวมันเองอยู่แล้ว
    ตรงนี้มีอธิบายไว้ในกลายกระทู้แล้ว หลายท่านก็ยกพระสูตร หรือความเห็นออกมาให้อ่านจนมากมายแล้ว (กระทู้ข้างๆก็ยังมี)

    ดังนั้นการพิจารณาอะไรต่างๆเหล่านี้ ควรมาทำนอกสมาธิ เวลาเจริญสมาธิก็ให้เต็มที่กับมันไป นอกสมาธิในชีวิตประจำวัน อยากพิจารณาอะไร"ทำไปเลย" สมควรอย่างยิ่ง

    อย่าลืมว่าเราใช้เวลาลืมตามากกว่าหลับตา ดังนั้นใช้แบ่งเวลาทั้งสองส่วนให้ควรแก่งานของมัน งานหลับตาก็ควรแก่งานของมัน งานลืมตาก็ทำให้เหมาะสมกับมัน


    ฝากไว้เป็นข้อคิด
     

แชร์หน้านี้

Loading...