หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย guawn, 28 กรกฎาคม 2008.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE class=a4 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=680 background=../../images/bg01.gif><TBODY><TR><TD vAlign=top>[SIZE=+1]ประวัติวัติย่อของ[/SIZE]
    [SIZE=+1]หลวงพ่ออุปัชฌาย์ไปล่ ฉนทสโร[/SIZE]
    อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี
    โดย ผู้ใหญ่แก้ว


    <TABLE class=a4 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="14%" align=middle><TABLE class=a4 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>หลวงพ่ออุปัชฌาย์ไปล่ ฉนทสโร</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top width="86%"><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=800><TBODY><TR><TD width=395>เหรียญหล่อ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
    </TD><TD width=10></TD><TD width=395></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=3>เหรียญหล่อ หลวงพ่อไปล่ ฉันทสโร วัดกำแพง เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เป็นเหรียญหล่อที่มีพระพุทธคุณสูง โดยเฉพาะในด้านคงกระพันชาตรีเป็นที่ยอมรับของวงการ และเป็นเหรียญหล่อที่มีค่านิยมสูงสุดเหรียญหนึ่งในปัจจุบัน
    </TD></TR><TR><TD width=395> </TD><TD width=10> </TD><TD width=395> </TD></TR><TR><TD width=395 colSpan=3>ประวัติหลวงพ่อไปล่
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=395>หลวงพ่อไปล่ ท่านเป็นชาวบางขุนเทียน เกิดในรัชกาลที่ 4 เมื่อพุทธศักราช 2403 ในสกุลทองเหลือ พื้นเพเป็นชาวบ้านตำบลบางบอนใต้ เขตบางขุนเทียน เป็นบุตรของนายเหลือและนางทอง มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน 5 คน
    ในเยาว์วัยได้เรียนหนังสือไทยและหนังสือขอมกับอาจารย์ทัด วัดสิงห์ เมื่อเป็นฆราวาสท่านเป็นคนมีร่างกายแข็งแรง มีจิตใจกล้าหาญ เป็นคนกว้างขวาง มีสมัครพรรคพวกมาก ซึ่งในยุคนั้นบ้านบางบอนเป็นดินแดนของนักเลงหัวไม้ เวลามีงานวัดยกพวกตีกันเป็นประจำ นายไปล่จึงนับว่าเป็นลูกพี่ของคนในหมู่บ้านนั้น
    ท่านอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดกำแพง เมื่อพุทธศักราช 2426 อายุ 23 ปี อาจารย์ทัด วัดสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อดิษฐ์ วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า “ฉันทสโร”
    </TD><TD width=10></TD><TD vAlign=top width=395>หลวงพ่อไปล่เมื่อวัยหนุ่ม ท่านมีความสนใจในทางวิชาอาคม โดยได้เดินทางไปเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น เรียนทางคงกระพันชาตรีกับพระอาจารย์คง เรียนวิชาผูกหุ่นพยนต์กับหลวงพ่อหรุ่น วัดบางปลา เรียนทางเมตตามหานิยมกับหลวงพ่อพ่วง วัดกก เรียนทางสักยันต์คงกระพันกับหลวงพ่อดิษฐ์ วัดกำแพง
    ท่านสามารถสวดปาติโมกข์ได้ตั้งแต่บวชได้พรรษาที่สอง ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตบางขุนเทียน และเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือของผู้คนในละแวกบางขุนเทียนเป็นอย่างมาก จนถึงมรณะภาพเมื่อพุทธศักราช 2489 (จากการสอบถามจากพระครูเกษมธรรมาภินันท์ เจ้าอาวาสวัดกำแพงองค์ปัจจุบัน เมื่อวันที่ 8 ก.ค.50)
    </TD></TR><TR><TD width=395> </TD><TD width=10> </TD><TD width=395> </TD></TR><TR><TD width=395 colSpan=3>เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=395>หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ได้สร้างเหรียญหล่อโบราณซึ่งวงการนิยมแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ คือ
    1. เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ มี 2 แบบ
    1.1 เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ เนื้อฝาบาตรหรือเนื้อทองเหลือง พิมพ์มาตรฐาน
    1.2 เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ เนื้อสัมฤทธิ์ พิมพ์ชาวบ้าน
    รูปลักษณ์เหรียญ
    ด้านหน้า เป็นรูปพระสงฆ์ (ไม่มีเกศ) นั่งขัดสมาธิราบบนฐานชั้นเดียว รูปเหรียญเป็นเหรียญหล่อทรงจอบ มีเส้นโค้งนูนโดยรอบเหรียญ 2 เส้น ให้รายละเอียดบนใบหน้า เช่น หู ตา จมูก ปาก ชัดพอประมาณ ครองจีวรเห็นรัดประคดชัดเจน ด้านบนเหรียญมีหูหล่อในตัวซึ่งทำทีละอัน ขนาดจึงไม่เท่ากัน
    ด้านหลัง มีอักษรไทย นูนสูง เขียนว่า “ที่ระฤก ๒๔๗๘“
    เนื้อ ทองเหลือง (ฝาบาตร) สัมฤทธิ์ เนื้อขันลงหิน
    2. เหรียญหล่อ พิมพ์รูปไข่ มี 2 เนื้อ คือ
    2.1 เหรียญหล่อรูปไข่ เนื้อสัมฤทธิ์
    2.2 เหรียญหล่อรูปไข่ เนื้อทองเหลืองหรือเนื้อฝาบาตร
    รูปลักษณ์เหรียญ
    ด้านหน้า เป็นรูปพระสงฆ์ (ไม่มีเกศ) นั่งขัดสมาธิราบบนฐานเขียงคล้ายกับเหรียญจอบใหญ่ เห็นหน้าสังฆาฏิและรัดปะคดชัดเจน รูปทรงเหรียญเป็นรูปไข่ มีหู หล่อในตัวด้านบน
    ด้านหลัง มีอักษรไทย เขียนว่า “ที่ระฤก ๒๔๗๘“
    3. เหรียญหล่อ ทรงเสมา เนื้อสัมฤทธิ์ (มีพบน้อยมาก)
    รูปลักษณ์เหรียญ
    ด้านหน้า เป็นรูปพระสงฆ์ (หลวงพ่อไปล่) อยู่ในกรอบรูปเสมา มีห่วงหล่อในตัวด้านบน
    </TD><TD width=10></TD><TD vAlign=top width=395>ด้านหลัง มีแบบหลังเรียบ และแบบหลังมีอักษรไทย (ดูภาพประกอบ)
    เนื้อ สัมฤทธิ์ (แบบเหรียญรูปไข่)
    4. เหรียญหล่อทรงห้าเหลี่ยม รูปพระพุทธ เนื้อสัมฤทธิ์ (รุ่นล้างป่าช้า)
    รูปลักษณ์เหรียญ
    ด้านหน้า มีรูปพระพุทธประทับนั่ง ปางมารวิชัย บนฐานบัวสองชั้น อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว มีหูหล่อในตัว
    ด้านหลัง มีอักษรขอม แปลเป็นภาษาไทยว่า “สุคโต” และมีตัว “อุ” ด้านบน
    เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ และเหรียญหล่อรูปไข่ สร้างในปีเดียวกันคือในปีพุทธศักราช 2478 ในวาระที่ท่านอายุครบ 75 ปี แม้การสร้างอยู่ในปีเดียวกัน แต่เล่ากันว่ามีการหล่อหลายวาระ ตามความต้องการของลูกศิษย์ที่มาให้ช่างหล่อให้ เล่ากันว่าช่างหล่อเป็นน้องชายแท้ ๆ ของหลวงพ่อ หากมีลูกศิษย์นำเนื้อโลหะอะไรมาให้หล่อ ช่างก็จะหล่อให้ตามความประสงค์ และหลวงพ่อจะปลุกเสกให้เป็นคราว ๆ ไป (ข้อมูลนี้ได้มาจาก คุณบัณฑิต กรกนก)
    ส่วนเหรียญหล่อทรงเสมาและเหรียญหล่อรูป 5 เหลี่ยม ไม่แน่ชัดว่าสร้างในปีใด การแจกเหรียญนั้นบางท่านเล่าว่าเหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ท่านไว้แจกผู้ชาย เหรียญหล่อรูปไข่ไว้แจกสตรี ส่วนเหรียญทรงเสมาเนื้อสัมฤทธิ์สำหรับแจกเด็ก
    เหรียญ 5 เหลี่ยม เนื้อสัมฤทธิ์ (รุ่นล้างป่าช้า) กล่าวกันว่าสร้างในวาระที่ท่านปฏิสังขรณ์ป่าช้าวัดกำแพง ซึ่งชำรุดเสียหายจากภาวะน้ำท่วม คงจะมอบให้กับผู้มาช่วยซ่อมแซมบูรณะป่าช้า
    อย่างไรก็ดี ตามที่ได้สอบถามจากคนที่ทันยุคหลวงพ่อไหล่ หลวงพ่อไปล่ไม่เคยสร้างวัตถุมงคลเพื่อแลกกับปัจจัยในการสร้างถาวรวัตถุ ส่วนใหญ่เป็นการให้เปล่า ๆ จำนวนเหรียญที่สร้างรวมกันมีจำนวนไม่มากนัก น่าจะอยู่ในจำนวนหลักร้อย ไม่ถึงพันเหรียญ
    </TD></TR><TR><TD width=395> </TD><TD width=10> </TD><TD width=395> </TD></TR><TR><TD width=395 colSpan=3>พระพุทธคุณ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=395>ผู้เขียนเคยได้ฟังมาจากนักเล่นพระรุ่นเก่าคือ คุณสมควร คุณาบุตร (ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว) เล่าว่าตอนเป็นเด็กเคยพบกับหลวงพ่อไปล่ ในตอนนั้นไปช้อนปลากัดแถววัดกำแพง มีพระภิกษุรูปหนึ่งเดินเข้ามาถามว่า “ทำอะไร?” ท่านจึงตอบว่า “กำลังช้อนปลากัด” พระภิกษุองค์นั้นได้พูดว่า “ปลากัดที่นี่หนังเหนียว” คุณสมควรมาทราบในภายหลังว่าพระภิกษุองค์นั้นคือหลวงพ่อไปล่ สมภารวัดกำแพงในขณะนั้น
    ยังมีเรื่องอีกเรื่องหนึ่ง จากคุณเป็งย้ง ตลาดพลู ได้เล่าว่า มีพ่อค้าปลาคนหนึ่งมาจากบางบอน (ชื่อนายประเสริฐ) นำปลามาขายเป็นประจำทุกอาทิตย์ ตัว “นายเสริฐ” สร้อยสายสร้อยทองเส้นใหญ่ เห็นได้สะดุดตา เมื่อมาเป็นประจำ ผู้คนจึงจำได้และรู้วัน-เวลาที่มา วันหนึ่งมีคนร้ายสองคนมาดักจี้ด้วยปืน
    </TD><TD width=10></TD><TD vAlign=top width=395>แกไม่ยอมถอดสร้อยให้และขัดขืน คนร้ายได้ยิงออกมาสองนัดแต่ยิงไม่ออก แกจึงเอามีดสำหรับทำปลาจะเข้าไปฟัน คนร้ายเห็นท่าไม่ดี รีบหนีข้ามคลองไป เรื่องนี้มีชาวตลาดพลูรู้เห็นกันอยู่มาก ปรากฏว่าพระที่อยู่ในสายสร้อยก็คือเหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
    พระพุทธคุณของเหรียญหล่อของหลวงพ่อไปล่ท่านจึงขึ้นชื่อในเรื่องมหาอุดคงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม เป็นที่นิยมของผู้คนในย่านบางบอน บางขุนเทียน มีเรื่องเล่าขานกันอยู่มาก ว่ากันว่าหากคนวัดกำแพงมีเหรียญวัดหนังแล้ว ถ้าใครมีเหรียญหลวงพ่อไปล่ไปขอแลกเขาจะยอมแลกทันที ที่เป็นความนิยมของเหรียญหลวงพ่อไปล่ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TR></TBODY>
    </TR></TBODY></TABLE>ประวัติ หลวงพ่อไปล่ ฉันทสโร วัดกำแพง

    เมื่อครั้งที่ "หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง" และ "หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง" ยังมีชีวิตอยู่ เป็นที่ล่วงรู้ถึงกิตติศัพท์ของท่านทั้งสองว่า "สุดยอด" สมัยนั้นใครมีเหรียญวัดหนัง จะไม่กล้าแหยมกับคนที่แขวนเหรียญวัดกำแพง เจอกันครั้งใดก็กินกันไม่ลง เพราะ "เหนียว" ทั้งคู่ ประสบการณ์ของเหรียญทั้งสองวัดเด่นชัดในเรื่องคงกระพันชาตรี เป็นที่นิยมของนักเลงจริงในยุคนั้น เล่าขานกันว่า ขนาดโดนรุม 10 ต่อ 1 ยังรอดมาได้ ทั้งมีด ไม้ กระบอง ลูกซองปืนพก ไม่มีเลือดตกยางออกให้ได้เห็นแม้แต่น้อย

    [​IMG]ด้วยพุทธคุณอันลือลั่น และประสบการณ์อันลือเลื่องจึงทำให้เหรียญของท่านทั้งสองเป็นที่หมายปองของนักเลงพระ ส่งผลให้ราคาค่านิยมสูงขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งปัจจุบันต้องพูดกันที่ "หลักแสน" ซึ่งถือว่าคุ้มค่าเพราะว่ารูปแบบของเหรียญทั้งสองสำนักคงความเป็นเอกลักษณ์ที่งดงามด้านศิลปะที่คนรุ่นใหม่ไม่อาจเลียนแบบได้

    หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ชื่อเสียงอาจจะดังกว่าหลวงพ่อไปล่ เพราะเหรียญของท่านติดอันดับ "ท็อปไฟว์" ชุดเบญจภาคีเหรียญ แต่เรื่องเวทวิทยาคมต้องบอกว่า "ข่ม" กันไม่ลง ชาวบางขุนเทียนและคนฝั่งธนบุรียกนิ้วให้ว่า "ไม่ธรรมดา" ทั้งคู่ โดยเหรียญของหลวงพ่อไปล่นั้นมีคำขวัญว่า "มีเหรียญหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ใครจะมาฆ่าแกงก็ไม่ต้องกลัว ถึงไหนถึงกัน คงกระพันชาตรีดีนักแล"

    พระเทพสิทธินายก (หลวงพ่อเลียบ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร เทเวศร์ และวัดเลา ซึ่งเป็นศิษย์อุปัชฌาย์องค์เดียวกัน เคยกำชับพวกนักเลงว่า อย่าไปเล่นกับท่านวัดกำแพงนะ ท่านเป็นคนจริง อย่าไปทำแหยให้ท่านเห็นเป็นอันขาด อาจจะหมดลายไปเลยทีเดียว

    ชื่อเสียงของท่านโด่งดังถึงขั้นถูกบรรจุเป็นคำขวัญของเขตบางขุนเทียนคือ "หลวงพ่อไปล่วัดกำแพง แหล่งเกษตรกรรม วัฒนธรรมมอญบางกระดี่ พื้นที่ทะเลกรุงเทพฯ"

    "หลวงพ่อไปล่" เกิดวันอังคาร เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2403 มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านหมู่ที่ 6 ต.บางบอนใต้ อ.บางขุนเทียน จ.ธนบุรี เป็นบุตร นายเหลือ นางทอง นามสกุล "ทองเหลือ" ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เมื่ออายุ 8 ขวบ ได้ไปศึกษาหนังสือไทยและขอมกับหลวงพ่อทัต วัดสิงห์ ท่านเป็นคนมีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญ ทรหดอดทน มีเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านบางบอนใต้เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่ กัดปลา ข้องอ้อย เป็นต้น เวลาวัดมีงานมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

    ตัวท่านถูกพรรคพวกยกย่องให้เป็นลูกพี่ ทำให้บิดามารดาเกรงว่าจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล จึงขอร้องให้บวชพระให้สักหนึ่งพรรษา ท่านก็ไม่ขัดโดยเข้าอุปสมบทที่วัด กำแพง มี หลวงพ่อทัต วัดสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อดิษฐ์ วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า "ฉันทสโร" หลังบวชแล้วท่านได้สนใจศึกษาทางธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง
    หลังจากบวชแล้ว "หลวงพ่อไปล่ ฉันทสโร" อยู่จำพรรษาที่วัดกำแพง กรุงเทพฯ ศึกษาพระธรรมวินัย ท่องบทสวดมนต์จนจบทุกบททุกคัมภีร์ จดจำได้แม่นยำ และเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ครบหนึ่งพรรษาแล้วเลยไม่ยอมสึก พอพรรษาที่ 2 ก็พยายามจนท่องพระปาฏิโมกข์ได้ และขอถ่ายทอดวิชาด้านกรรมฐานและวิปัสสนาธุระกับพระอุปัชฌายะและคู่สวดซึ่งล้วนแต่เชี่ยวชาญทางนี้

    ด้านพุทธาคมได้เรียนวิชาเมตตามหานิยม เช่น ผง 108 ขี้ผึ้งสีปากจากหลวงพ่อพ่วง วัดกก เรียนทางคงกระพันชาตรี ทำผ้าประเจียดแดงกับหลวงพ่อดิษฐ์ วัดกำแพง นอก จากนี้ ยังได้ไปขอเรียนวิชาไสย ศาสตร์เวทมนตร์ เช่น วิชาผูกหุ่นพยนต์จากหลวงพ่อคง อาจารย์รุกขมูลธุดงค์ จนมีวิชากล้าแข็ง

    [​IMG]แม้ท่านเก่งขนาดไหนแต่ไม่เคยคุยโอ้อวด ชอบดำรงตนแบบสมถะ ไม่ทะเยอทะยานในลาภยศ มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ กวาดกุฏิเอง ของส่วนตัวทำเอง ไม่เคยใช้ให้ใครทำ ขยันในการทำวัตรสวดมนต์เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยชอบความมีระเบียบเรียบร้อย

    "หลวงพ่อเลียบ วัดเลา" เคยสนับสนุนให้ท่านได้สมณศักดิ์เป็นพระครู ท่านกลับพูดเป็นคำคมว่า ฉันไม่อยากเป็น"ครูพระ"หรอก สอนตัวเองก็พอใจแล้ว เพราะการเป็น"พระครู" หมายถึงต้องเป็นครูสอนพระ นั่นเพราะท่านไม่ได้หวังเป็นใหญ่เป็นโตอะไร ไม่สนใจเรื่องยศช้างขุนนางพระตามคำกล่าวของคนโบราณ ส่วนตำแหน่งสมภารท่านก็ไม่เคยสนใจ แต่ขัดชาวบ้านไม่ได้ก็จำเป็นต้องรับ ใครมีลูกหลานส่วนใหญ่จะมาให้ท่านบวช เพราะเลื่อมใสศรัทธาในจริยาวัตรและอยากได้ของขลังของดีจากท่าน

    ปี พ.ศ.2478 คณะศิษยานุศิษย์ร่วมกันบำเพ็ญกุศลฉลองอายุให้ท่าน ในงานนี้ได้ออกเหรียญรูปท่านเต็มองค์ห่มลดไหล่สมาธิ เป็นเหรียญหล่อทำรูปคล้ายจอบ ด้านหลังเหรียญมีอักษรไทยว่า "ที่ระฤก ๒๔๗๘" วันเทเหรียญปรากฏว่า สายสิญจน์ ในพิธีตกลงมาถูกเทียนชัยจี้อยู่จนหมดเวลาพิธี ปรากฏว่าสายสิญจน์ไม่ไหม้เป็นที่น่าตื่นเต้น เพราะขณะนั้นท่านนั่งปรกบริกรรมด้วยจิตเป็นสมาธิแน่วแน่

    ท่านชอบเสกเดี่ยว ไม่ค่อยไปร่วมพิธีกับใคร โดยกล่าวเป็นนัยว่า การไปรวมกันไม่รู้ว่าใครจะแน่ สู้เดี่ยวไม่ได้ และเหตุที่สร้างเหรียญรูปจอบ ก็เพราะจอบเป็นสัญลักษณ์เครื่องมือสำคัญในการเพาะปลูก ชาวสวนชาวนาต้องพึ่งจอบ ซึ่งเหรียญรุ่นนี้มีประสบ การณ์มาก ใครที่รับแจกไปห้อยคอสมัยนั้นรับประกันเรื่องความเหนียว มีดหรือปืนไม่ระคายผิวหนัง ถึงขนาดที่ว่าแมลงวันไม่ได้กินเลือด
    วัตถุมงคลของ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง กรุงเทพฯ นอกจากเหรียญจอบยอดนิยมแล้ว ยังมีเหรียญรูปไข่ สร้างเนื้อสัมฤทธิ์ และทองเหลืองฝาบาตร ที่ต้องทำเป็นเหรียญหล่อท่านบอกว่าพิธีเข้มข้นกว่าเหรียญปั๊มมาก และเหรียญรุ่นนี้ก็มีประสบการณ์ดังมาก

    คำขวัญของเหรียญมีว่า "มีเหรียญหลวงพ่อไปล่วัดกำแพงใครจะมาฆ่าแกงก็ไม่ต้องกลัว ถึงไหนถึงกันคงกระพันชาตรีดีนักแล"

    ต่อมาในงานล้างป่าช้าวัดกำแพง ท่านได้ออกเหรียญเป็นรูปพระพุทธ เนื้อโลหะทองเหลือง เรียกว่า "รุ่นล้างป่าช้า" ใช้ได้ผล มีคนนิยมมากเช่นกัน การแจกเหรียญของท่านไม่กะเกณฑ์ในเรื่องเงินทอง ใครจะทำบุญก็ทำ ใครจะมาขอฟรีท่านก็แจกให้

    หลวงพ่อไปล่ท่านมีกระแสจิตกล้าแข็ง คราวหนึ่งเจ้าคุณพระพุทธพยากรณ์ (เจริญ อุปวิกาโส) วัดอัปสรสวรรค์ (วัดหมู) ศิษย์เอกองค์หนึ่งของพระภาวนาโกศลเถร (หลวงปู่เอี่ยม) วัดหนัง ได้มานิมนต์ให้ไปนั่งปรกในงานหล่อพระ ท่านบอกว่าให้บอกเวลามาว่าพิธีจะเริ่มเมื่อไหร่ แล้วท่านก็นั่งทำสมาธิอยู่ที่กุฏิ โดยไม่ต้องเดินทางมาถึงวัด พอถึงเวลาปลุกเสก พระอาจารย์ที่นิมนต์มาจะเห็นร่างหลวงพ่อไปล่ปรากฏนั่งสมาธิอยู่ในพิธีด้วย เรื่องนี้เป็นที่โจษจันกันทั่วไป

    ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ลูกศิษย์คนหนึ่งถูกเกณฑ์ไปร่วมรบได้มาขอของดีจากท่านเพื่อเอาไปคุ้มครองตัว ท่านได้เสกก้อนหินข้างทางรถไฟให้หนึ่งก้อน ศิษย์คนนั้นเห็นแล้วจะไม่เอาก็เกรงท่านจะว่า จึงนำหินก้อนนั้นถักลวดแขวนคอติดตัวไปสนามรบ ปรากฏว่าไม่เคยมีอันตรายและไม่เคยป่วยไข้ ปืนในสนามรบยิงมาเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเลย

    หลวงพ่อไปล่ มรณภาพด้วยอาการอันสงบเมื่ออายุ 79 พรรษา 59 มีคนเล่าว่าแม้จะมรณภาพไปแล้ว หนังก็ยังเหนียว พวกสัปเหร่อเอามีดตบแต่งศพก็เฉือนไม่เข้า ต้องจุดธูปจุดเทียนบอกกล่าวขอขมา แม้กระนั้นก็ยังเฉือนไม่เข้า และศพก็แห้งไปเฉยๆ ไม่มีกลิ่นเน่าเหม็น ทั้งนี้ เพราะท่านรักษาศีลบริสุทธิ์นั่นเอง

    ในวันเผาศพมีผู้คนไปร่วมงานกันมากมายหลายจังหวัด ทั้ง คนใหญ่คนโต คนธรรมดาสามัญหลายชั้นวรรณะ และท่านได้แสดงอภินิหารให้เป็นที่ประจักษ์ โดยพวกศิษย์ได้นำพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ดอกไม้เพลิงมาจุด ปรากฏว่าด้านหมดเนื่องจากท่านไม่ชอบเสียงอึกทึกครึกโครม แต่พองานเลิกได้นำมาจุดใหม่ เกิดดังสนั่นหวั่นไหว กลายเป็นเรื่องเล่าขานมาจนทุกวันนี้

    แม้แต่กระดูกขี้เถ้าก็ถูกยื้อแย่งกันอุตลุดจนไม่มีเหลือ ก็เพราะเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์โดยแท้ สำหรับคาถาที่ หลวงพ่อไปล่ท่านภาวนาเป็นประจำคือ "คาถากำแพงแก้ว 7 ประการ" ท่องว่า "พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สัตตะระตะมะปะการัง อัมมหากัง สะระณังคัจฉามิ สุสุละละโสโส นะโมพุทธายะ พุทโธพระบังธัมโมพระบัง สังโฆพระบัง"

    ให้ภาวนาก่อนนอนทุกคืน คุ้มภัยอันตรายได้ดี พวกศัตรูทำอะไรไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2011
  2. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <CENTER></CENTER>พระเหรียญหล่อ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง เหรียญจอบรุ่นแรกปี 2478
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2008
  3. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    พระเหรียญหล่อ เหรียญหล่อ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
    [​IMG]
     
  4. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    พระเหรียญหล่อ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง เหรียญจอบรุ่นสอง เนื้อเงิน
    [​IMG]
     
  5. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    พระเหรียญหล่อ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง เหรียญจอบรุ่นสอง เนื้อโลหะผสม
    [​IMG]
     
  6. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    พระเหรียญหล่อ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง เหรียญจอบรุ่นสอง เนื้อทองคำ
    [​IMG]
     
  7. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    เหรียญหล่อ หลวงพ่อไปล่ พิมพ์จอบ วัดกำแพง
    [​IMG]
     
  8. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง เหรียญรูปไข่รุ่นแรกปี 2478
    [​IMG]

    พระเหรียญหล่อ เหรียญหล่อ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
    [​IMG]


    หล่อ เหรียญหล่อ หลวงพ่อไปล่ พิมพ์รูปไข่ วัดกำแพง
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2008
  9. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    เหรียญหล่อ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง รุ่นล้างป่าช้า
    [​IMG]
     
  10. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    พระเหรียญหล่อ เหรียญหล่อพิมพ์เสมา หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
    [​IMG]
     
  11. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ไปล่ วัดกำแพง เหรียญจอบรุ่นสอง เนื้อหล่อบรรจุอัฐิ เนื้อชชาร์ปรถไฟ
    [​IMG]
     
  12. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    หลวงพ่อไปล่ ฉันทสโร วัดกำแพง กรุงเทพฯ
    [​IMG]
     
  13. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    รูปพ่อไปล่ เป็นสติ๊กเกอร์ติดรถ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    [​IMG]
     
  15. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    หลวงพ่อไปล่เป็นพระอีกรูปที่ผมนับถือมากอีกองค์หนึ่ง ต้องขอเผยแพร่อีกครั้งครับ
     
  16. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    องค์นี้ของผมเองครับ พ่อผมรับมาจากพระอาจารย์ชุก เจ้าอาวาสในสมัยนั้นเมื่อปี 2514
    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG06~49.JPG
      IMG06~49.JPG
      ขนาดไฟล์:
      66.8 KB
      เปิดดู:
      23,679
    • IMG06~50.JPG
      IMG06~50.JPG
      ขนาดไฟล์:
      70.7 KB
      เปิดดู:
      24,341
  17. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    คำขวัญของเหรียญมีว่า
    มีเหรียญหลวงพ่อไปล่วัดกำแพงใครจะมาฆ่าแกงก็ไม่ต้องกลัว ถึงไหนถึงกันคงกระพันชาตรีดีนักแล
     
  18. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,793
    หลวงพ่อไปล่ รุ่น 1 วัดกำแพง มท.1 เฉลิมคล้ององค์เดียวครับ
     
  19. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    จะไม่เดี่ยวได้ไงครับ ประสบการณ์ดีขนาดนั้น ท่านจึงนับถือมาก
     
  20. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,793
    องค์นี้ของผมเองครับ พ่อผมรับมาจากพระอาจารย์ชุก เจ้าอาวาสในสมัยนั้นเมื่อปี 2514
    [​IMG][​IMG]

    ไม่ทราบว่าองค์นี้ ใช่รุ่นแรกไหมครับ ถ้ารุ่นแรก สภาพสวยมากๆครับ ชอบมากๆพระหล่อโบราณ หลวงพ่อไปล่ สุดยอดของความคงกระพันชาตรีครับประสบการณ์ มีมากมาย เป็นวาสนาบุญตา บุญใจครับที่ใครได้มีครอบครอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...