อารัมมณูปนิชฌาน และ ลักขณูปนิชฌาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย 1000lert, 7 มกราคม 2010.

  1. 1000lert

    1000lert เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +143
    ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็น
    เรื่อง ความแตกต่างระหว่าง
    อารัมมณูปนิชฌาน และ ลักขณูปนิชฌาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2013
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ฌานนฺติ ทุวิธํ ฌานํ อารมฺมณูปนิชฺฌานํ ลกฺขณูปนิชฺฌานนฺติ
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ตตฺถ อฏฺฐ สมาปตฺติโย ปฐวีกสิณาทิอารมฺมณํ อุปนิชฺฌายนฺตีติ อารมฺมณูปนิชฺฌานนฺติ สงฺขยํ คตา
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    วิปสฺสนามคฺคผลานิ ปน ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ตตฺถ วิปสฺสนาอนิจฺจาทิลกฺขณสฺส อุปนิชฺฌานโต ลกฺขณูปนิชฺฌาน
    <O:p></O:p>
    วิปสฺสนาย กตกิจฺจสฺส มคฺเคน อิชฺฌนโต มคฺโต ลกฺขณูปนิชฺฌาน
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ผลํ ปน นิโรธสจฺจํ ตถลกฺขณํ อุปนิชฺฌายตีติ ลกฺขณูปนิชฌานํ นาม
    <O:p></O:p>
    <O:p>พระอภิธรรมปิฎก ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค</O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p>ลองอ่านดูครับ ผมก็ทราบแค่ว่าทั้งสองนั้นต่างกันอยู่เยอะเลยทีเดียวครับ</O:p>
    <O:p>อนุโมทนาสาธุธรรมครับ
    </O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มกราคม 2010
  3. Mikas

    Mikas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +342
    อารัมมณูปนิชฌาน หมายถึงการอบรมสมถภาวนาซึ่งเป็นการเพ่งอารมณ์ เช่น เพ่ง
    อารมณ์ของกสิณ เป็นต้นจนได้สมาบัติ 8 เป็นอารัมมณูปนิชฌาน(การเพ่งอารมณ์)ซึ่ง
    ไม่ใช่การเพ่งพิจารณาหรือการรู้ลักษณะของสภาพธรรม

    ลักขณูปนิชฌาน หมายถึงการเพ่งพิจารณาลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง นั่นคือ
    ต้องเป็นปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นการพิจารณาลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นต้น
    ลักขณูปนิชฌานจะรวมถึงวิปัสสนาญาณที่พิจารณาลักษณะที่เป็นไตรลักษณ์และขณะ
    ที่เป็นมรรคจิตก็เป็นลักขณูปนิชฌาน เพราะสำเร็จกิจหน้าที่ของการพิจาณาลักษณะ
    ของสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง ก็ด้วยมรรคจิตและลักขณูปนิชฌาน ยังหมายถึงผลจิตด้วย
    เพราะเพ่งพิจารณาลักษณของสภาพธรรมคือพระนิพพานอันเป็นลักษณะที่แท้จริงครับ

    สรุปคือลักขณูปนิชฌาน หมายถึงวิปัสสนาญาณ มรรคจิตและผลจิตด้วยครับ

    เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ.....อารัมมณูปนิชฌาน-ลักขณูปนิชฌาน

    ที่มาจาก ลักขณูปนิชฌาน ครับ
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    อารัมมณูปนิชฌาน และ ลักขณูปนิชฌาน ทราบว่าการแบ่งอย่างนี้เกิดขึ้นในคัมภีร์ชั้นหลัง ไม่มีอยู่ในบาลี......
     
  5. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +3,776
    ความคิดเห็นของผมก็คือ ทำให้มันได้ทั้งสองอย่างก็พอ
    อย่าไปคิดมาก เพราะจะเกินบาลี
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663


    ข้อมูลนี้อย่าได้อ้างว่ามาจากพระอภิธรรมปิฏกเลยครับ ความจริงแล้วมาจากอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ ซึ่งเป็นผลงานของพระอนุรุทธาจารย์ ... ในเนื้อความบอกชัดว่ามาจาก อัฏฐสาลินีอรรถกถา ....

    ถามความน่าเชื่อถือว่าเชื่อถือได้ไม ก็ตอบว่าเชื่อถือได้อยู่ แต่เชื่อถือได้ในคัมภีร์อันดับชั้นที่ ๒ รองจากบาลี ที่เป็นอันดับชั้นที่ ๑ คือพุทธพจน์โดยตรง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2013
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ฌาน 2 (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ - meditation; scrutiny; examination)
    1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 - object-scrutinizing Jhana)
    2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)

    วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
    มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
    ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
    ฌานที่แบ่งเป็น 2 อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา.


    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ภาษาบาลี คืออะไร

    [​IMG]

    ภาษาบาลี โดยคำว่า "บาลี" มาจากคำว่า "ปาลี" ซึ่งวิเคราะห์มาจาก ปาล ธาตุ ในความรักษา ลง ณี ปัจจัยๆ ที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย มีรูปวิเคราะห์ว่า พุทธวจนํ ปาเลตีติ ปาลี แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใดย่อมรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ เพราะเหตุนั้น ภาษานั้นชื่อว่า ปาลี แปลโดยอรรถว่า "ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ"



    คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้จารึกไว้ในพระคัมภีร์ต่างๆ ด้วยภาษาบาลีซึ่งสามารถแบ่งลำดับชั้นของคัมภีร์ต่างๆ ได้ดังนี้


    1. พระไตรปิฏก เป็นหลักฐานชั้นหนึ่ง เรียกว่า บาลี
    2. คำอธิบายพระไตรปิฏกเป็นหลักฐานชั้นสอง เรียกว่า อรรถกถา หรือ วัณณนา
    3. คำอธิบายอรรถกถา เป็นหลักฐานชั้นสาม เรียกว่า ฎีกา
    4. คำอธิบายฏีกา เป็นหลักฐานชั้นสี่ เรียกว่า อนุฏีกา
    5. นอกจากนี้ ยังมีหนังสือที่แต่งขึ้นภายหลังเป็นทำนองอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ หนังสือประเภทนี้ เรียกว่า “ทีปนี” หรือ “ทีปิกา” หรือ “ปทีปิกา” และหนังสือที่อธิบายเรื่องปลีกย่อยต่างๆ ที่มีในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา หนังสือประเภทนี้ เรียกว่า “โยชนา” หนังสือทั้งสองประเภทนี้จัดเป็นคัมภีร์อรรถกถา เราจะเห็นได้ว่า หลักคำสอนที่อยู่ในคัมภีร์เหล่านี้ คำสอนที่อยู่ในพระไตรปิฏกเป็นหลักฐานสำคัญที่สุด เพราะเป็นหลักฐานชั้นแรกสุด คำสอนที่อยู่ในพระไตรปิฏกนั้นมีถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ โดยจัดแบ่งเป็น 3 หมวด คือ

    [​IMG]

    หมวดที่ 1 พระ วินัย ว่าด้วยเรื่อง ระเบียบ กฎ ข้อบังคับควบคุมกิริยา มารยาท ของภิกษุสงฆ์ มีทั้งข้อห้ามและข้ออนุญาต ทั้งนี้
    เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหมู่สงฆ์ มี 21,000 พระธรรมขันธ์

    หมวดที่ 2 พระสูตร ว่าด้วยเรื่องราว นิทาน ประวัติศาสตร์ ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนและทรงสนทนากับบุคคลทั้งหลายอันเกี่ยวกับชาดกต่างๆ ที่ทรงสอนเปรียบเทียบเป็นอุปมาอุปไมย เป็นต้น มี 21,000 พระธรรมขันธ์ และ

    หมวดที่ 3 พระอภิธรรมว่าด้วยธรรมขั้นสูง คือ ว่าด้วยเรื่องเฉพาะคำสอนที่เป็นแก่น เป็นปรมัตถ์ ในรูปปรัชญาล้วนๆ มี 42,000 พระธรรมขันธ์


    คำสอนทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์นั้น เรียกว่า “ธรรมวินัย” ธรรมวินัยเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดของชาวพุทธ เพราะถือเป็นสิ่งแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังพุทธพจน์ที่ตรัสกับพระอานนท์ก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า “ดูก่อน อานนท์ ธรรมวินัยอันใดที่เราบัญญัติไว้แล้ว แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมะและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว” ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า พระไตรปิฏกเป็นคัมภีร์ที่สำคัญมากที่สุดของชาวพุทธ


    พระไตรปิฏกแต่เดิมเป็นภาษาบาลีซึ่ง เป็นภาษาที่มีในมัชฌิมประเทศที่เรียกว่า แคว้นมคธ ในครั้งพุทธกาล ต่อมาพุทธศาสนาแพร่หลายไปในนานาประเทศที่ใช้ภาษาอื่น ประเทศต่างๆ เหล่านั้น มีทิเบตและจีนเป็นต้น ได้แปลพระไตรปิฏกจากภาษาบาลีเป็นภาษาของตน เพื่อประสงค์ที่จะให้เรียนรู้ได้ง่าย จะได้มีคนเลื่อมใสศรัทธามาก ครั้นไม่มีใครเล่าเรียนพระไตรปิฏก ต่อมาก็ค่อยๆ สูญสิ้นไป สิ้นหลักฐานที่จะสอบสวนพระธรรมวินัยให้ถ่องแท้ได้ ลัทธิศาสนาในประเทศฝ่ายเหนือเหล่านั้นก็แปรผันวิปลาสไป

    [​IMG]

    แต่ส่วนประเทศฝ่ายใต้มี ลังกา พม่า ไทย ลาว และ เขมร ประเทศเหล่านี้คิดเห็นมาแต่เดิมว่า ถ้าแปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาอื่นโดยทิ้งของเดิมเสียแล้ว พระธรรมวินัยก็คงคลาดเคลื่อน จึงรักษาพระไตรปิฏกไว้ในเป็นภาษาบาลี การเล่าเรียนคันถธุระก็ต้องเรียนภาษาบาลีให้ เข้าใจเสียชั้นหนึ่งก่อนแล้ว จึงเรียนพระธรรมวินัยในพระไตรปิฏกต่อไป ด้วยเหตุนี้เองประเทศฝ่ายใต้จึงสามารถรักษาลัทธิศาสนาตามหลักธรรมวินัย ยั่งยืนมาได้ การศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี นอกจากจะเป็นการศึกษาหลักธรรมคำสั่งสอนแล้วยังได้ชื่อว่า เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาไว้อีกด้วย โดยเฉพาะการศึกษาภาษาบาลี เพราะถ้าไม่รู้ภาษาบาลีแล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดสามารถรู้และเข้าใจพระพุทธวจนะในพระไตรปิฏก ถ้าขาดความรู้เรื่องพระไตรปิฏกแล้ว พระพุทธศาสนาก็จะต้องเสื่อมสูญไปด้วย

    ภาษาบาลี สันสกฤตคืออะไร ศึกษาไปเพื่ออะไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...