มาดูสมเด็จกัน

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย wasabi san, 25 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915

    องค์นี้เป็นพิมพ์ขี่นกปางมารวิชัย (ฐานบัวชั้นเดียว)

    [​IMG] [​IMG]


    ในส่วนตัวผมว่าทรงพิมพ์ไม่ตรงตามแบบของหลวงพ่อปาน การเรียงของเม็ดบัวไม่เป็นระเบียบ ส่วนใครมีความคิดอื่น สามารถช่วยกันแสดงความคิดเห็นได้ครับ

    ส่วนประวัติ และส่วนผสม ผมคัดมาจากเวปอื่นให้นะครับ

    [​IMG]<o></o>
    ประวัติพระครูวิหารกิจจานุการ<o></o>
    พระครูวิหารกิจจานุการ หรือหลวงพ่อปาน โสนันโท เดิมชื่อ ปาน สุทธาวงษ์
    บิดาชื่อนายอาจ มารดาชื่อ นางอิ่ม เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ที่บ้านตำบลบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ได้รับการขนานนามว่า “ปาน”
    เนื่องจากตั้งแต่แรกเกิดท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวเป็นปานสีแดงที่นิ้วก้อยมือซ้ายตั้งแต่โคนถึงปลายนิ้ว
    เมื่ออายุ 21 ปี ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจ้อย วัดบ้านแพน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “โสนันโท” หลวงพ่อปาน ศึกษาร่ำเรียนวิทยาการกับหลวงพ่อสุ่น ทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรักษาโรคภัยไข่เจ็บตลอดจนผู้ที่ถูกคุณไสยจนแตกฉาน จากนั้นจึงออกธุดงค์ ในระหว่างนั้นท่านได้ศึกษาวิชาความรู้กับพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายๆ รูป อาทิตย์
    • หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.ปางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
    • หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดใหม่อัมพวา) อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรบุรี ศิษย์รุ่นพี่สำนักหลวงพ่อเนียม
    • อาจารย์จีน วัดเจ้าเจ็ด ด้านพระปริยัติธรรมและภาษาบาลี
    • พระอาจารย์เจิ่น สำนักวัดสระเกศ กรุงเทพฯ ด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระจนจบพระอภิธรรม 7 คัมภีร์
    นอกจากยังได้ศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณที่วัดสังเวชจนเชี่ยวชาญ หลังจากที่ท่านใช้เวลาในช่วงการศึกษาร่ำเรียนนานพอสมควรแก่เวลา

    [​IMG]<o></o>
    หลวงพ่อปานจึงเดินทางกลับบ้านเกิดมาจำพรรษาที่วัดบางนมโค ตั้งสำนักสอนภาษาบาลีและนักธรรม ริเริ่มการก่อสร้างศาสนวัตถุต่างๆ และพัฒนาวัดบางนมโค จนเจริญรุ่งเรืองจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ จากนั้นหลวงพ่อปานก็ได้ไปบูรณะปฏิสังขรณ์และก่อสร้างวัดทั้งหมดถึง 41 วัด มีการก่อสร้างโบสถ์ และศาสนวัตถุอื่นอีกมากมาย นับว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีบารมีสูงมากจึงสามารถสร้างถาวรวัตถุเพื่อสืบทอดพระศาสนาได้มากถึงเพียงนี้

    นอกเหนือจากการเป็นพระนักพัฒนาแล้วหลวงพ่อปาน ยังเป็นนักเทศน์ฝีปากเอกเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของบรรดาญาติโยมที่มารับฟังเทศน์ฟังธรรมยิ่งนัก ทางด้านการแพทย์ท่านก็สงเคราะห์รักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยหรือถูกคุณไสยต่างๆ ตามวิชาการแพทย์แผนโบราณที่ได้ร่ำเรียนมา ทั้งรักษาด้วยน้ำมนต์และรักษาด้วยสมุนไพร โดยมีการกำกับด้วยคาถาอาคมพลังจิตเพื่อให้เข้มขลัง

    หลวงพ่อปานได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาจากชีปะขาว เมื่อราวปี พ.ศ.2446 ระหว่างที่ท่านฝึกวิปัสสนากรรมฐานเพิ่มเติมที่ศาลาไว้ศพที่วัดบางนมโค ด้วยวิธีพิจารณา “อศุภกรรมฐาน” คือการพิจารณาศพคนตายเพื่อปลงสังขาร ชีปะขาวเดินเข้ามาหาและบอกกล่าวให้ท่านการสร้างพระพิมพ์รูปพระพุทธเจ้านั่งสมาธิ มีรูปสัตว์ 6 ชนิดอยู่ใต้ที่ประทับคือ ไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่น และนก โดยนิมิตเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ดังกล่าว พร้อมทั้งมีคาถากำกับในแต่ละชนิดมาด้วย นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นรูปแบบการสร้างพระพิมพ์ของหลวงพ่อปาน

    ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ท่านอาจารย์แจง ซึ่งเป็นฆราวาสได้เดินทางมาจากนครสวรรค์เพื่อกราบนมัสการหลวงพ่อปานด้วยความเลื่อมใสในกิตติคุณมีการถ่ายทอดวิชาซึ่งกันและกัน หลวงพ่อปานได้ศึกษาวิชาที่ว่าด้วยการปลุกเสกพระเครื่องและสร้างพระตามตำรา “พระร่วงเจ้า” ที่ได้รับสืบทอดมา ซึ่งเป็นต้นแบบการสร้างพระของหลวงพ่อปานที่สำคัญที่สุดคือ “ยันต์เกราะเพชร” ยอดของธงมหาพิชัยสงคราม ก็ได้รับการถ่ายทอดมาในคราวนี้เช่นกัน และท่านนำมาใช้ช่วยเหลือสงเคราะห์ชาวบ้านได้อย่างมากมายในโอกาสต่อมา หลวงพ่อปานได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศที่ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระครูพิเศษ ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2481 ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 8 สิริอายุรวม 63 ปี พรรษาที่ 42<o></o>

    วัดบางนมโคตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของลำน้ำแควน้อยซึ่งแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่า “วัดบางนมโค” นี้ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อครั้งพม่ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2310 ได้มาตั้งค่ายที่วัดสีกก กวาดต้อนผู้คนและวัวควายซึ่งมีมากในบริเวณนั้นมาใช้งาน จึง เรียกกันว่า “วังโค” หรือ “บ้านบางโค” ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น “บางนมโค” สืบมาจนปัจจุบัน ครั้งแรกตั้งเป็นชื่อตำบลแล้วนำมาใช้เป็นชื่อวัดในภายหลัง<o></o>
    การสร้างพระของหลวงพ่อปาน<o></o>
    ในปี พ.ศ.2446 นั้น หลวงพ่อปานดำริที่จะหาปัจจัยมาการดำเนินการปรับปรุงเสนาสนะภานในวัดบางนมโคและจะสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแทนองค์เดิมที่ชำรุดทรุดโทรม แล้วท่านก็ได้พบชีปะขาวและท่านอาจารย์แสงดังกล่าวมาแล้วท่านตัดสินใจสร้างพระเครื่องขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2450 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านอย่างเต็มที่ ผู้มีความรู้ทางช่างก็แกะแม่พิมพ์ถวาย บรรดาลูกศิษย์ก็ออกแสวงหาวัตถุมงคลต่างๆ มาให้ ทั้งว่านที่เป็นมงคลและมีสรรพคุณทางยา เกสรดอกไม้ที่เป็นมงคลนาม ดินขุยปูนา ตลอดจนพระพิมพ์โบราณที่ชำรุดแตกหัก เพื่อนำมาผสมเป็นเนื้อพระ พระพิมพ์ชุดนี้ศิลปะแม่พิมพ์ไม่สวยงามนักเนื่องจากเป็นช่างฝีมือชาวบ้าน เรียกกันว่า “พิมพ์โบราณ” สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2451 จำนวนการสร้างไม่มากนัก ผู้มีไว้บูชาก็หวงแหน จึงหาดูได้ยากยิ่งนัก จะมีเล่นหากันอยู่ก็คือ “พิมพ์ขี่เม่น” (สมัยก่อนเรียก “พิมพ์ขี่หมู” เพราะตัวเม่นมองดูคล้ายหมูมากว่า) และ “พิมพ์ขี่ไก่” ซึ่งจะมีขนาดเล็กและบางกว่าพิมพ์มาตรฐานมาก การอุดผงจะอุดขอบพระด้านล่าง และเนื้อขององค์พระค่อนข่างแกร่ง

    ต่อมาจึงจัดหาช่างฝีมือดีมาแกะแม่พิมพ์ใหม่ศิลปะแม่พิมพ์จึงสวยงามขึ้นมาก เราเรียกกันว่า “พิมพ์นิยม” หรือ “พิมพ์มาตรฐาน” สร้างแจกในปี พ.ศ.2460 พร้อมมีสลากกำกับวิธีการใช้พระให้ด้วยนับเป็นที่นิยมอย่างมากในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องในปัจจุบัน สนนราคาเป็นหลักแสนทีเดียวของทำเทียนเลียนแบบก็เยอะ หาดูของแท้ๆ ยาก เช่นกันนอกจาก “พระหลวงพ่อปาน” ซึ่งเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาแล้ว หลวงพ่อปานยังได้สร้างวัตถุมองคลอื่นๆ เพื่อแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาและพุทธศาสนิกชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่าอีกด้วย อาทิ ผ้ายันต์เกราะเพชร ลูกอม ตะกรุด และแหวนพระ<o></o>


    กรรมวิธีในการสร้างพระ

    หลวงพ่อปานท่านกล่าวว่า หัวใจสำคัญในการสร้างพระก็คือ “ผงวิเศษ” ที่บรรจุอยู่ในองค์พระการทำ “ผงวิเศษหัวใจสัตว์” จะกระทำในพระอุโบสถโดยนั่งสมาธิเขียนอักขระเลขยันต์หัวใจของสัตว์ต่างๆ ทั้ง 6 ชนิดที่หลวงพ่อปานเห็นมาในนิมิตแล้วลบผงวิเศษนี้ออกมา หัวใจนี้ท่านมิได้ถ่ายทอดให้กับผู้ใดเพราะถือเป็นวาสนาเฉพาะบุคคล มีหลวงพ่อปานเป็นคนแรกที่ทำได้และเป็นคนสุดท้ายไม่มีการสืบทอด การทำผงพระนี้ยากมากต้องมีสมาบัติ 8 รูป สัตว์ทั้ง 6 ชนิด คือ ไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่น และนก นั้น หากจะทำชนิดใดก็ต้องล็อกคาถาของสัตว์ชนิดนั้นมาทำผง เช่นจะทำพระขี่นก จะเอาผ้าขาวมาเสกให้เป็นนกแล้วกางปีกออก จะมีพระคาถาอยู่ในปีกแล้วล็อกพระคาถามาทำผง เมื่อได้ผงมาก็ต้องนั่งปลุกเสกในโบสถ์ อดข้าว 7 วัน 7 คืน ออกไปไหนไม่ได้เลยต้องเข้าสมาบัติตลอดขณะที่ปลุกเสกพระอยู่ในโบสถ์ จะมีการตั้งบาตรน้ำมนต์ไว้สี่มุม เวลาบริกรรมคาถาบรรดาคุณไสยต่างๆ ที่มีผู้กระทำมาในอากาศก็จะกระทบกับพระเวทย์ของหลวงพ่อปาน แล้วร่วงหล่นสู่บาตน้ำมนต์ มีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา ถือเป็นการตัดไม้ข่มนามพวกคุณไสย ผงวิเศษนี้จึงสามารถป้องกันคุณไสยได้

    ผงวิเศษสูตรที่ 2 หลวงพ่อปานท่านใช้ “ผงวิเศษจากยันต์เกราะเพชร” โดยตั้งสมาธิเขียนยันต์บนกระดานชนวน แล้วชักยันต์ขึ้นแล้วลบผงมา ต้องใช้ความพยายามและความอดทนอย่างสูงเพราะต้องใช้เวลายาวนานมากกว่าจะลบผงออกมาได้และต้องถูกต้องทุกขั้นตอนตามที่ตำราระบุไว้จึงจะมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์

    ผงวิเศษสูตรสุดท้ายคือ “ผงวิเศษ 5 ประการ” ประกอบด้วย ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงตรีนสิงเห และผงพระพุทธคุณ อันเป็นยอดของผงวิเศษที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังฯ หลวงปู่ภู วัดอินทร์ และพระปิลันทน์ วัดระฆังฯ ใช้เป็นส่วนผสมในเนื้อมวลสารของพระเครื่องที่ท่านสร้าง อันทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

    หลวงพ่อปานใช้เวลาทำอยู่ตลอดพรรษาจนมีจำนวนมากพอผงวิเศษที่ได้มาทั้งหมดนี้ นับเป็นผงที่มีพุทธคุณเอกอนันต์ใช้งานสารพัดอย่างเป็นเลิศเรียกว่าเป็น “กฤตยาคมแฝด” ที่พระพิมพ์อื่นๆ ไม่มีขั้นตอนการสร้างองค์พระหลวงพ่อปานจะนำดินขุยปูและดินนวลหรือดินเหนียวในทุ่งนาที่ขุดลงไปค่อนข้างลึกเพื่อให้ได้เนื้อดินที่ละเอียดซึ่งชาวบ้านหามาให้นั้น มากรองบดและนวด ให้เนื้อดินเหนียวและเนียน จากนั้นแบ่งออกเป็นก้อนเล็กๆ นำไปกดกับแม่พิมพ์พระที่เตรียมไว้วิธีการนำพระออกจากแม่พิมพ์ของหลวงพ่อปานก็แตกต่างจากพระคณาจารย์ท่านอื่น คือจะใช้ไม้ไผ่เหลาให้ปลายแหลมๆ แล้วเสียบที่ด้านบนเศียรพระงัดพระออกจากพิมพ์ ซึ่งจะเกิดเป็น “ร” เพื่อบรรจุ “ผงวิเศษ”

    ดังนั้นขนาดและรูปทรงของรูจะไม่มีมาตรฐานแน่นอน ใหญ่บ้างเล็กบ้าง ยาวบ้างสั้นบ้าง หรือเหลี่ยมบ้างกลมบ้าง แล้วหลวงพ่อก็จะนำพระที่กดพิมพ์เรียบร้อยไปบรรจุในบาตรจำนวนพอสมควร นำมาสุมด้วยแกลบจุดไฟเผาจนพระสุกแดงได้ที่จึงลาไปออก ปล่อยไว้ให้เย็นแล้วจึงนำมาบรรจุ “ผงวิเศษ” ลงในรูจนเต็ม ใช้ซีเมนต์ผสมปิดทับอีกทีหนึ่งเมื่อแห้งจะทนทานมาก บริเวณที่อุดนี้จะเป็นสีเทาของซีเมนต์ผสมกับสีขาวของผงวิเศษทุกองค์ อันเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งพิธีปลุกเสกพระทำในพระอุโบสถ หลวงพ่อปานท่านจะตั้งบายศรีราชวัตรฉัตรธง หัวหมู ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เมื่อปลุกเสกครบไตรมาส

    หลวงพ่อจะย้ายกลับมาปลุกเสกที่กุฎิของท่านต่อทุกคืนจนถึงวันไหว้ครูประจำปีของท่าน แล้วจะตั้งพิธีเหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่ง ท่านกล่าวว่า “ต้องอาราธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระปัจเจกะพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยสาวกทุกองค์ ตลอดจนพระพรหม เทวดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย การชุมนุมบวงสรวงเช่นนี้ประเดี๋ยวก็เสร็จไม่ต้องถึงสามเดือนอย่างที่แล้วมา จงจำไว้ว่าการจะปลุกเสกพระหรือผ้ายันต์อะไรก็ตาม ถ้าจะอาศัยอำนาจของเราอย่างเดียวไม่ช้าก็เสื่อม เราน่ะมันดีแคไหน การทำตัวเป็นคนเก่งน่ะมันใช้ไม่ได้ มันต้องให้พระท่านเก่ง พระพุทธท่านเก่ง พระธรรมท่านเก่ง พระสงฆ์ท่านเก่ง เทวดาท่านเก่ง พระพรหมท่านเก่ง ท่านมาช่วยทำประเดี๋ยวเดียวก็เสร็จดีกว่าเราทำตั้งพันปีเราต้องการให้ท่านช่วยอะไรก็บอกไป ของที่ทำจะคุ้มครองผู้คนทั้งบ้านทั้งเมืองได้ทุกคนถ้าหากพระก็ดี พระพรหมก็ดี เทวดาก็ดี ท่านช่วยคุ้มครองให้ ท่านก็มองเห็นถนัด คุ้มครองได้ถนัดและจำไว้อย่างหนึ่งว่า ถ้านำของนั้นไปใช้ในทางทุจริตคิดมิชอบก็ไม่มีอะไรจะคุ้มครองได้ ที่เป็นคนเลวอยู่แล้วก็ช่วยพยุงให้เลวน้อยหน่อย ต้องช่วยตัวเองด้วยไม่ใช่จะคอยพึ่งผ้ายันต์หรือพระ ถ้าดีอยู่แล้วก็ช่วยให้ดียิ่งขึ้น นี่เป็นกฎของอำนาจพระพุทธบารมี พระธรรมบารมี พระสังฆบารมี ตลอดจนพระพรหมและเทวดาทั้งหลาย...<o>

    </o>
    <o>

    </o>
    วิธีสังเกตพระหลวงพ่อปาน

    พุทธลักษณะ
    พระหลวงพ่อปานเป็นพระทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเจียนมุมทั้ง 4 ด้าน ส่วนบนเป็นพระพุทธรูปนั่งแสดงปางสมาธิอยู่เหนือฐานบัลลังก์ก็มี ฐานเขียงก็มีฐานผสมก็มี รูปกลีบบัวมีทั้งชั้นเดียว 2 ชั้น บัวเม็ด และบัวตุ่มด้านข้างพระประธานทั้ง 2 ข้าง จะมีอักขระขอมตัวนูนข้างละ 2 ตัว คือ มะ อะ อุ อุ อันเป็นยอดพระคาถาหัวใจพระไตรปิฎก “ตรีเพชร” มีอานุภาพทางป้องกันอันตรายและคงกระพันชาตรี

    ส่วนด้านล่างไต้ฐานขององค์พระลงมาเป็นรูปสัตว์พาหนะ 6 ชนิด คือ ไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่น และนก ในลักษณะแบกฐานขององค์พระปฏิมาเหาะเหินสู่เบื้องบน จะสังเกตได้จากเท้าของสัตว์หรือครีบของปลาจะจรดขอบล่างขององค์พระพอดี<o>

    </o>
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]<o>

    </o>
    สีขององค์พระ<o>

    </o>
    เนื่องจากพระหลวงพ่อปานเป็นพระเนื้อดินเผาสีขององค์พระพื้นๆ ก็คือ สีอิฐ หรือสีหม้อใหม่ แต่ที่พบเห็นสีจะค่อนข้างซีดจนถึงออกเป็นสีชมพูอ่อนๆ

    เนื่องด้วยองค์พระผ่านกาลเวลาและการใช้การสัมผัสมายาวนาน สีจึงซีดจางลงเรื่อยๆเนื้อขององค์พระเนื้อดินที่นำมาสร้าง “พระหลวงพ่อปาน” เป็นดิน ขุยปูและดินนวลตามทุ่งนา มีความละเอียดปานกลางเนื้อขององค์พระจะมีลักษณะดังนี้

    • มีเม็ดทรายเล็กๆ อยู่ทั่วผิวขององค์พระทุกองค์มากน้อยแตกต่างกันไป เม็ดทรายเม็ดใหญ่ปะปนอยู่น้อยมากเนื่องจากหลวงพ่อปานให้นำดินขุยปูมาร่อนในตะแกรงก่อนสำหรับพระที่ไม่ผ่านการใช้เม็ดทรายเล็กๆ จะโผล่เสมอผิวแบบไม่เต็มเม็ดมากนัก แต่ถ้าพระที่ผ่านการใช้มานานจนเกิดการเสียพื้นผิวไป เม็ดทรายเล็กๆ นี้ก็จะโผล่ขึ้นมาเต็มเม็ดเสมอผิดขององค์พระ และจะมีเม็ดทรายบางส่วนที่จมอยู่ใต้ผิวกลายเป็นแงมุมดันเนื้อขององค์พระให้นูนเป็นตุ่มแหลมเล็กๆ อยู่ทั่วองค์พระ ต้องใช้แว่นขยายส่องดูโดยเฉพาะพระที่ไม่ผ่านการใช้เลยจะสังเกตเห็นได้ชัดเราเรียกว่า “ร่องรอยสาก”

    • กรรมวิธีการเผาองค์พระของหลวงพ่อปานนั้นใช้แกลบมาสุมไฟตอนเผา ทำให้สภาพเนื้อขององค์พระจะมี “ร่องรอยแกลบ” แต่ไม่มากนักเนื่องจากองค์พระใส่ไว้ในบาตรแล้วจึงนำมาสุมไฟสภาพของเนื้อพระที่มีเม็ดทรายเล็กๆ ผสมอยู่เช่นนี้เรียกกันว่า “พระเนื้อแกร่ง” คือ มีเนื้อที่แข็งและแน่นที่สุด ดูจากลักษณะภายนอกจะปรากฏพระเนื้อละเอียดคล้ายเป็นเนื้อดินล้วนๆ แลดูนุ่มนวลแต่ชั้นในก็ต้องมีเม็ดทรายเล็กๆ อยู่โดยทั่วไป บางพิมพ์ที่เป็นพิมพ์หลักๆ เรียกได้ว่า “พระเนื้อพิเศษ” องค์พระจะมีสีคล้ายๆ น้ำตาลปี๊บ พื้นผิวพระค่อนข้างแกร่งทีเดียว ส่วนใหญ่พบในพระหลวงพ่อปานพิมพ์ขี่ปลาเสือ<o>

    </o>
    [​IMG]<o>:p></o>:p>
    รอยอุดผงวิเศษ<o>

    </o>
    รอยอุดผงวิเศษตามสภาพเดิมตอนสร้างพระ จะเป็นสีเทาของซีเมนต์ผสมกับสีขาวของผงวิเศษ ซึ่งนับเป็นสภาพที่สมบูรณ์และงดงามมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ได้พระไปจะนำไปรักษาโรคบ้างหรือแคะเอาผงวิเศษออกมาตามแต่จะนำไปใช้อย่างไร จึงหารอยอุดผงวิเศษที่คงสภาพเดิมๆ ยากมากในปัจจุบัน<o>

    </o>
    ยันต์ข้างพระประธาน<o>

    </o>
    พระหลวงพ่อปาน พิมพ์มาตรฐาน ซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.2460 จะมีลักษณะยันต์ข้างพระประธานแบ่งออกเป็น 5 แบบหลักๆ คือ

    1. ยันต์ตั้ง ยันต์นี้จะอยู่ด้านบนขององค์พระด้านซ้ายมืออ่านจากบนลงล่าง “อุ มะ” ด้านขาวมืออ่าน จากบนลงล่าง “อุ อะ” ยันต์แบบนี้จะพบมากที่สุด

    2. ยันต์แถวเดียว ยันต์นี้จะอยู่ในแนวนอนทั้งด้านซ้ายและด้านขวา แวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องจึงเรียกกันว่า ยันต์แถวเดียว ด้านซ้ายมืออ่านว่า “มะ อะ” ด้านขวามืออ่านว่า “ อุ อะ”

    3. ยันต์กลับ เหตุเป็นเพราะช่างแกะแม่พิมพ์ตัวยันต์กลับด้าน มักพบยันต์แบบนี้ในพระหลวงพ่อปาน พิมพ์ขี่หนุมานใหญ่และพิมพ์ขี่ปลาจีน

    4. ยันต์ผสม ลักษณะจะเป็นยันต์ตั้งและยันนอนผสมกัน พบเห็นกันในพระหลวงพ่อปานพิมพ์ขี่ปลาหมอ ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นนัก ยันต์แถวนอนด้านซ้ายอ่านว่า “มะ อะ” ด้านขวาอ่านว่า “อุ อะ” ส่วนยันต์ตั้งจะอ่านว่า “อุ อะ” และ “มะ อุ”

    5. ยันต์แถวตั้งพิเศษ ยันต์แบบนี้เป็นแบบเดียวกับยันต์ตั้ง แถวซ้ายอ่านว่า “มะ อุ” พบเห็นในพระหลวงพ่อปาน พิมพ์ขี่ครุฑกลางอุล่าง

    ส่วนอีกแบบหนึ่งตัว “อุ” กลับขึ้นด้านบน ด้านซ้ายจึงอ่านว่า “อุ อะ” และด้านขวาอ่านว่า “อุ มะ” อย่างไรก็ตาม ยันต์บนองค์หลวงพ่อปาน พิมพ์มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นยันต์ในรูปแบบใดก็คือ หัวใจ พระไตปิฎก “ตรีเพชร” อันมีตัว “มะ อะ อุ” นั่นเอง<o>

    </o>
    ลักษณะพิมพ์ทรง<o>

    </o>
    พระหลวงพ่อปาน พิมพ์มาตรฐาน หรือพิมพ์นิยม ซึ่งเป็นที่นิยมเล่นหากันในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง นั้น แบ่งแยกเป็นพิมพ์หลักๆ ได้ทั้งหมด 6 พิมพ์ ตามชนิดของสัตว์ในนิมิตทั้ง 6 ชนิด คือ พิมพ์ขี่ไก่ พิมพ์ขี่ครุฑ พิมพ์ขี่หนุมาน พิมพ์ขี่ปลา พิมพ์ขี่เม่น และพิมพ์ขี่นก ในปัจจุบันบางท่านกล่าวว่า “ขี่” เป็นภาษาที่ไม่สุภาพให้เปลี่ยนเป็น “ทรง” แทน

    พิมพ์หลักๆ ของพระหลวงพ่อปานทั้ง 6 พิมพ์นี้ยังแยกย่อยออกเป็นพิมพ์ต่างๆ อีกค่อนข้างมากที ตัวอย่างเช่น

    <o>

    </o>
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]<o>

    </o>
    1.พิมพ์ขี่ไก่ มีอาทิ
    • พิมพ์ขี่ไก่หางพวง ได้รับการยอมรับให้เป็นพิมพ์นิยมอันดับหนึ่ง องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานเม็ดบัวชั้นเดียว ตัวไก่จะใหญ่ มีหางเป็นพุ่มลูกนัยตาคมชัดสวยงาม เป็นพิมพ์ที่หาดูไดยาก
    • พิมพ์ขี่ไก่หางรวม องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวลักษณะเป็นกลุ่มยาว แยกไม่ออกว่าเป็น 2 หรือ 3 ชั้น ตัวไกคล้ายกระจับที่นำมาต้มรับประทาน ด้านล่างจะมีเส้นขนเป็นเส้นๆ ปรากฏชัดเจน
    • พิมพ์ขี่ไก่หาง 3 เส้น องค์พระประธานประทับนั่งบน ฐานบัวเม็ดแถวเดียว ตัวไก่มีหงอนลักษณะคล้ายอยู่ในท่านั่งหางเป็น 3 เส้น
    • พิมพ์ขี่ไก่หาง 4 เส้น หรือพิมพ์ขี่ไก่หางแฉก
    • พิมพ์ขี่ไก่ หาง 4 เส้น บัว 2 ชั้น ตรงหางไก่จะมี 2 เส้นสั้น 2 เส้นยาวและค่อนข้างโค้ง
    • พิมพ์ขี่ไก่ยันต์แถวเดียว
    • พิมพ์ขี่ไก่หาง 5 เส้นเป็นต้น

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    2. พิมพขี่ครุฑ “ครุฑ” ในตำนานศาสนาพราหมณ์ถือกันว่าเป็นเจ้าแห่งนก เป็นสัตว์ที่มีอำนาจมากการแกะแม่พิมพ์สวยงดงามอ่อนช้อยมากมีอาทิ
    • พิมพ์ขี่ครุฑใหญ่ องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานเส้นเดียว ตัวครุฑมีขนาดใหญ่กว่าพิมพ์อื่นๆ มีลักษณะคล้ายครุฑหลวงของทางราชการ
    • พิมพ์ขี่ครุฑผีเสื้อ องค์พระประทับนั่งบนฐานเม็ดบัว 2 ชั้น ปีกเป็นเส้นพลิ้วปลายแหลมลักษณะคล้ายๆ ผีเสื้อมาก
    • พิมพ์ขี่ครุฑเล็ก องค์พระประทับนั่งบนฐาน ตัวครุฑคล้ายกำลังกำหมัด ปีกโค้งปลายแหลม

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]<o>

    </o>
    3. พิมพ์ขี่หนุมาน ลักษณะการแกะแม่พิมพ์สวยงามไม่แพ้พิมพ์ขี่ครุฑ แสดงถึงความประณีตบรรจงของช่าง สื่อให้เห็นความอลังการ ความเข้มขลังของ “หนุมาน” ซึ่งหมายถึงพญาลิงผู้มีอิทธิฤทธิ์ มีอาทิ
    • พิมพ์ขี่หนุมานใหญ่ รายละเอียดต่างๆ ขององค์พระคมชัดงดงาม หนุมานแสดงอาการแบกประคองพระประธานสมส่วนเป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น
    • พิมพ์ขี่หนุมานหาวเป็นดาวเดือน หนุมาน จะอยู่ในอาการเหินหาว ชายผ้ายาว มองดูเข้มขลังไปอีกแบบ พิมพ์นี้ไม่คอยพบเห็นมากนัก สนนราค่าค่อนข้างสูง
    • พิมพ์หนุมานแบกแท่น หนุมานแสดงท่าเหาะเหิน มือ 2 ข้างแบกแท่นอาสนะฐาน 3 ชั้นไว้จุดสังเกตยันต์บนองค์พระประธานเป็นแนวตั้ง
    • พิมพ์หนุมานแบกแท่นยันต์แถวเดียวลักษณะอาการเดียวกับพิมพ์ขี่หนุมานแบกแท่น แต่ยันต์บนองค์พระเป็นยันต์แบบแถวเดียว

    <o>

    </o>
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]<o>

    </o>
    4. พิมพ์ขี่ปลา มีอาทิ
    • พิมพ์ขี่ปลาเสือ องค์พระประธานจะค่อนข้างอวบอ้วน ลักษณะคล้ายนั่งอยู่ในพาน พระเกศคล้ายหมวกฤาษี อักขระยันต์เป็นตัวใหญ่หนาและนูนสูง ตัวปลาแผ่กางครีบและหาง หันหัวไปทางต้านขวาของพระประธาน
    • พิมพ์ขี่ปลากัด องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ตัวปลาแผ่ครีบและหางตลอดจนตะเกียบใต้ท้อง หันหัวไปทางด้านซ้ายขององค์พระ
    • พิมพ์ขี่ปลาจีน พระพิมพ์นี้รายละเอียดเส้นแสงกลมกลืนสวยงาม ทั้งตัวปลา ครีบ และหางตลอดจนเส้นอักขระยันต์ จุดสังเกตสำคัญคือ จะมีซุ้มครอบแก้วล้อมรอบองค์พระประธาน และการตัดขอบส่วน มักติดชิดเส้นซ้อมครอบแก้ว ทำให้อักขระตัว “อุ” ทั้ง 2 ข้างปรากฏเด่นชัด
    • พิมพ์ขี่ปลาหมอ เป็นพิมพ์ที่ค่อนข้างหาดูได้ยากพิมพ์หนึ่ง มีทั้งแบบยันต์กลับและ
    ยันต์ผสม


    <o>

    </o>
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]<o>

    </o>
    5. พิมพ์ขี่เม่น มีอาทิ
    • พิมพ์ขี่เม่นบัว 2 ชั้น 7 จุด ตัวเม่นจะค่อนข้างอวบอ้วน องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวเม็ด 2 ชั้น นับได้แถวละ 7 จุด
    • พิมพ์ขี่เม่นบัว 2 ชั้น 8 จุด พิมพ์นี้ตัวเม่นจะผอม องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวเม็ด 2 ชั้น นัดได้แถวละ 8 จุด
    • พิมพ์ขี่เม่นฐานบัวโค้ง องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวซึ่งเรียงเป็นเม็ดรองรับองค์พระได้อย่างงดงาม
    • พิมพ์ขี่เม่นฐานชั้นเดียว องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวเม็ด มีเส้นขีดเชื่อมคร่อมเม็ดบัว ตัวเม่นอยู่ในอาการย่างก้าวเดิน
    นอกจากนี้ยังมีพิมพ์ขี่เม่นมังกร, พิมพ์ขี่เม่นกระโดด, พิมพ์ขี่เม่นเล็ก, พิมพ์ขี่เม่นหัวกลับ ฯลฯ


    <o>

    </o>
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]<o>

    </o>

    6. พิมพ์ขี่นก มีอาทิ
    • พิมพ์ขี่นกปางมารวิชัย (ฐานบัวชั้นเดียว) องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัว 9 เม็ดมีเส้นขีดใต้ฐาน
    • พิมพ์ขี่นกฐานสามชั้น องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานเขียง 3 ชั้น
    • พิมพ์ขี่นกฐานบัวหรือเรียกกันว่า “บัวฟันปลา” ลักษณะบัวจะเป็นเส้นขีดผสม
    • พิมพ์ขี่นกฐานสายบัว พิมพ์นี้หาดูค่อนข้างยาก จุดสังเกตที่ใต้พระเพลาของพระ
    ประธานจะมีเส้นยาวสยายลงมาจรดฐานบัวเหนือตัวนก และตัวนกค่อนข้างจะผอมกว่าพิมพ์อื่นๆ<o>:p></o>

    พุทธคุณ<o>

    </o>
    ด้วย “ผงวิเศษ 3 สูตร” ตามที่กล่าวไปแล้วกอปรกับบารมีธรรมอันสูงส่งของหลวงพ่อปานพระหลวงพ่อปาน จึงเป็นเลิศด้วยพุทธคุณเอนกอนันต์สารพัดอย่าง

    ขั้นตอนการทำน้ำมนต์<o>

    </o>
    ขั้นตอนการทำน้ำมนต์
    • เตรียมอุปกรณ์ดอกไม้ ธูป เทียน สำหรับบูชา และขันน้ำสะอาดเพื่อทำน้ำมนต์
    • วางพระหลวงพ่อปาน พิมพ์หนึ่งพิมพ์ใด วางบนฝ่ามือตั้งจิตให้มั่นมีความศรัทธาเชื่อถือในคุณวิเศษขององค์พระอย่างเต็มเปี่ยม จากนั้นท่องคาถาหลวงพ่อปาน
    เอหิสรรพ พุทธานุภาเวนะ เอหิสรรพ ธัมมานุ ภาเวนะ เอหิสรรพ สังฆานุภาเวนะ
    พุทธัง อาราธนานัง ประสิทธิ ธัมมัง อาราธนานัง ประสิทธิ สังฆัง อาราธนานัง ประสิทธิอิทธิฤทธิ์ พุทธนิมิตตัง ขออำนาจคุณพระรัตนและพระเครื่องหลวงพ่อปานอันศักดิ์สิทธิ์จงดลบันดาลให้น้ำพระพุทธมนต์นี้ใช้ทำประโยชน์รักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่คนป่วยให้หายโดยเร็ววันด้วยเถิด
    • เมื่ออธิษฐานเสร็จก็นำพระหลวงพ่อปานแช่ลงไปในขันน้ำที่เตรียมไว้
    • ว่าพระคาถาข้างต้นอีก 3 จบ พร้อมกับถือเทียนที่จุดบูชาพระอยู่เอียงให้น้ำตาเทียนหยดลงไปในขันน้ำ กลั้นใจเป่าน้ำในขัน 3 ครั้ง คุณวิเศษของน้ำพระพุทธมนต์และองค์พระ
    • เป็นพระหมอรักษาโรคและคุณไสยได้ ผู้ใดได้ไปครอบครองบูชา แม้จะเป็นโรคอะไรก็ให้นำพระใส่ลงในขันน้ำแล้วอาราธนาทำน้ำมนต์
    โดยขออำนาจบารมีพระพุทธเจ้าและสัตว์พาหนะ เช่นถ้าพระหลวงพ่อปาน พิมพ์ขี่หนุมานให้ออกชื่อ “หนุมาน” ทำน้ำมนต์ “ว่า 3 จบแล้วใช้รดได้
    • ถูกพิษสัตว์กัดต่อยให้เอาพระจุ่มน้ำอาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าและสัตว์พาหนะให้ดูดพิษนั้นออกให้หมด เอาหลังพระแปะลงไป หันเศียรพระขึ้นไปทางศีรษะเรา แม้จะถูกกัดที่ข้อเท้าก็สามารถแปะได้ มือแปะแล้วพระจะเริ่มดูดพิษ ขณะที่พิษยังไม่หมดพระจะติดแน่นจะเดินเหินไปที่ไหนก็ไม่หลุด แต่ต้องระวังให้ดีเพราะตอนพระดูดพิษหมดแล้วจะหลุดออกง่ายๆ
    • ใช้ในทางการค้าขาย ทำนา ทำสวนใช้น้ำมนต์ประพรมสินค้า เมล็ดพันธุ์พืช ฯลฯ
    • ใช้ในทางเมตตามหานิยมและสะเดาะเคราะห์ล้างอาถรรพ์ ลูกจ้าง ข้าราชการ บุคคลทั่วไป ใช้ดื่มอาบน้ำมนต์ เป่า-ประพรมศีรษะ ไม่ว่าจะใช้คุณวิเศษของน้ำพระพุทธมนต์และหลวงพ่อปานในทางใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือการตั้งจิตให้มั่น เชื่อถือศรัทธาในองค์พระแล้วตั้งจิตอธิษฐานก็จะสมฤทธิ์ผลทุกประการ<o>

    </o>
    [​IMG][​IMG]<o>

    </o>
    พระคาถา “ยันต์เกราะเพชร”<o>

    </o>
    พระคาถา “ยันต์เกราะเพชร”
    ๑. อิระชาคะตะระสา (เรียกว่า กระทู้เจ็ดแบก)
    ๒. ติหังจะโตโรถินัง (เรียกว่า ฝนแสนห่า)
    ๓. ปีสัมระโลปุสัตพุท (เรียกว่า นารายณ์เกลื่อนสมุทร)
    ๔. โสมานะกะริถาโต (เรียกว่า นารายณ์ถอดการถ่ายทองจากจักร)
    ๕. ภะสัมสัมวิสะเทภะ (เรียกว่า นารายณ์ขว้างจักรตรึงไตรภพ)
    ๖. คะพุททะปันทูทัมวะคะ (เรียกว่า นารายณ์พลิกแผ่นดิน)
    ๗. วาโธโนอะมะมะวา (เรียกว่า ตวาดฟ้าป่าพิมพานต์)
    ๘. อะวิสุนุสานุสติ (เรียกว่า นารายณ์แปลงรูป) “ยันต์เกราะเพชร” นี้เป็นอิติปิโสต้นห้อง
    เขียนจากบนลงล่าง แล้วชักเป็นยันต์เรียกสูตรตามเส้นที่เขาชักไป เป็นยันต์ป้องกันการกระทำ การกลั่นแกล้งจากคนอื่น หากผู้ใดทำเข้ามาก็จะย้อนสะท้อนกลับไปหาตัวผู้นั้น หลวงพ่อปานท่านปลุก “ยันต์เกราะเพชร” ได้ดีมาก ท่านจะเป่าเฉพาะวันเสาร์ห้าไม่ว่าเป็นเดือนอะไรก็ตามที่วันเสาร์ตรงกับ ๕ ค่ำ เพราะเป็นวันยกครูของท่านและถือกันว่าเป็นฤกษ์ดีในการทำพิธีเกี่ยวกับเรื่องไสยศาสตร์ เวลาท่านจะเป่าให้ใคร ท่านจะเขียนยันต์ใส่กระดานดำไว้แล้วยืนอยู่ข้างหลังให้ทุกคนจุดธูปเทียนแล้วภาวนา “พุทโธ” หญิงมีครรภ์ให้จุดธูป ๑ ดอกแทนลูก แล้วท่านก็เป่า
    เวลาเป่ายันต์เข้าตัวจะรู้สึกหนักที่ศีรษะหรือคันที่หน้า เรียกว่ายันต์เข้าจับตัวแล้ว ผู้ที่เข้าพิธีต้องนั่งสมาธิหลับตานึกถึงภาพยันต์เกราะเพชรสถิตที่หน้าผากไว้ เมื่อได้รับการเป่า “ยันต์เกราะเพชร” แล้วยันต์จะเข้าไปติดอยู่ที่กระดูกหน้าผากของทุกคน และทุกคนต้องประกอบแต่คุณงามความดี สมาทานศิล 5 อย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะข้อ 2 และ ข้อ 5 คือห้ามลักทรัพย์ และห้ามดื่มสุราและของเมา หากละเมิดยันต์ก็จะเสื่อมและไม่สามารถเป่าซ้ำอีกได้<o>

    </o>
    <o>ขออนุโมทนาในข้อมูลทั้งหมด ที่ท่านได้บรรยายเป็นบทความ นับเป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากในการศึกษา และอนุรักษ์พระเครื่องของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

    </o>
    ทีมา : web กรุสยาม<o>

    </o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2010
  2. Kawinpun

    Kawinpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +991

    เข้าใจผิดกันไปใหญ่แล้วครับพี่

    พระที่ลงไม่ใช่ของผมนะครับ ผมเอามาเป็นตัวอย่างให้ดูครับ - -'

    ผมลงที่มาไว้ด้านล่างภาพ :cool:

    ผมมีแต่แบบนี้ครับ (สงสัยจะไม่แท้อยู่เหมือนกัน เปิดมาเห็นพี่ XL เข้าใจผิด เลยไปถ่ายมา สององค์ แถมพระกรุอื่นด้วย) แหะ แหะ รบกวนพี่ๆช่วยดูด้วยนะครับ ถ้า save รูปไปดูจะเห็นเลยว่าเพิ่งถ่ายมาสดๆ ^^~

    ปล. คราบขาวนั่นคราบน้ำอบครับ :boo:

    อิอิอิอิ ถ่ายลวกๆ ขออภัยด้วยนะครับ พระอาจจะไม่สวย ไม่ถูกใจพี่ๆนัก อนุโมทนาครับ

    เดี๋ยวผมไปอธิษฐาน พระสมเด็จจากพี่บุพนิมิตร ต่อก่อน .... ปุตะกาโม ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2012
  3. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ขอให้พวกเราชาวพุทธ ไปวัดทำบุญสร้างกุศล เพื่อระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
    ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ

    ๑. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
    ๒. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
    ๓. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ ๔๕ ปี พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
    นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖ ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
     
  4. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    พระซุ้มกอขนมเปี๊ย กำแพงเพชร

    คุณKawinpun และทุกคน เอามาให้ศีกษาพระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ กำแพงเพชร

    [​IMG]
    พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ กำแพงเพชร



    อนุโมทนาทุกคน อย่าลืมไปทำบุญกันนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2010
  5. พ่อเลี้ยง2

    พ่อเลี้ยง2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +838
    พระซุ้มกอของคุณกวินพันธ์สวยจริง(แอบเก็บของดีไว้อีกแล้ว)
     
  6. Kawinpun

    Kawinpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +991
    สงสัย พี่วาซาบิ จะว่าไม่ผ่านนะครับ - -'

    ไม่เป็นไรครับ คุณพี่พ่อเลี้ยง ^^~ เราผลัดกันชม ผลัดกันแสดงความคิดเห็นครับ

    องค์ทางซ้ายมือ องค์แรกนั่น พระเลี่ยงหม้อ นะครับ ส่วนตัวแล้วผมเองก็ไม่ค่อยแน่ใจนัก แต่ก็เก็บไว้ครับ เพราะเจ้าของเก่าท่านก็เสียไปแล้ว (เป็นนายตำรวจใหญ่ท่านหนึ่ง) คาดว่าท่านเอามาสรงน้ำทุกเทศกาล ผมรับมาก็ไม่กล้าล้าง - -'
     
  7. พ่อเลี้ยง2

    พ่อเลี้ยง2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +838
    ความคิดเห็นย่อมแตกต่างได้เพราะผมคิดว่าพระซุ้มกอองค์นั้นน่าจะผ่านน้ำมันจันทร์มา
    คนสมัยก่อนบางท่านหยอดน้ำมันจันทร์ด้วยความเชื่อแบบเดียวกับสรงน้ำพระ

     
  8. Kawinpun

    Kawinpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +991
    ที่จริงผมยังมีสมเด็จ กับพระอื่นๆ อีกหลายองค์เลย กลัวเอาของ 100 เมตร มาลงเดี๋ยวพี่ๆจะเบื่อกันซะก่อน ฮ่าฮ่า

    ขอบคุณพี่วาซาบิ กับคุณพี่พ่อเลี้ยง มากนะครับ ^^
     
  9. หมูทะเล

    หมูทะเล ผู้ใดทำใจให้เป็นกลางได้ ผู้นั้นปราศจากทุกข์ทั้งปวง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,184
    เห็นเพื่อนสมาชิกนำพระซุ้มกอมาให้ชมกัน...ขอแจมด้วยนะครับซุ้มกอของท่านวาซาบิเนื้อมันส์ดีครับแต่ว่านดอกมะขามมากมายปานนั้นจริงๆหรือเปล่าครับพระซุ้มกอของท่านกวินเหมือนท่านพ่อเลี้ยงว่าไว้เนื้อฉ่ำดีแต่องค์นี้ไม่ปรากฏว่านดอกมะขามเลย...เนื้อพระซุ้มกอไม่ว่าพิมพ์ใดเนื้อเมื่อโดนสัมผัสจะขึ้นมันตามธรรมชาติ...
    ผมนำพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกนกมาให้ท่านสมาชิกติชมวิจารณ์กันครับ พระองค์นี้คงถูกเครื่องกรอฟันมาเพื่อจะปลอกผิวหรือแค่ดูเนื้อ...พระจึงออกมาลักษณะนี้ เนื้อละเอียด..ออกแดง...ตรงรูกลมใต้ฐานตรงกลางรูจะมีติ่งเล็กๆคล้ายขั้วของรังแตนติดอยู่..ติชมกันครับท่านวาซาบิ..ท่านxlmen นอกจากภูมิฯของพระสมเด็จแล้ว..ผมว่าพระซุ้มกอก็คงไม่น้อยหน้าเช่นกัน...ติชมกันครับ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. Kawinpun

    Kawinpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +991
    เดี๋ยวจะหลุดหัวข้อ ..... นึกอยู่นาน ถ้าไม่เอารูปพระที่มีลง จะเป็นการผิดคำพูดที่ให้ไว้กับเจ้าของเดิมทั้งหลาย - -'

    ทยอยๆมาลง ให้พี่ๆชม และวิจารณ์กันนะครับ (พระไม่สวย ทนดูหน่อยนะครับ ส่วนองค์ไหนดูเข้าท่า อยากชมชัดๆ ชม หน้า-หลัง-ข้าง เดี๋ยวถ่ายเพิ่มให้ครับ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2012
  11. Kawinpun

    Kawinpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +991
    มีองค์ไหนพอจะเข้ามั่งมั๊ยครับ ^^
    หรือว่า 100 เมตรหมด .... :'(
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2012
  12. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    [​IMG] [​IMG]


    องค์นี้ไม่ใช่ครับ เนื้อมวลสารความเก่าผมว่ายังไม่ใช่เนื้อของพระซุ้มกอ ส่วนพิมพ์นี้มีตำหนิหลายจุดให้ดู แต่พระที่โพสต์มาผิดตำหนิพิมพ์ครับ
     
  13. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    [​IMG] องค์นี้ไม่ดีครับ ผิวลักษณ์นี้เหมือนขัดด้วยใบตอง
    [​IMG] ลองไปหาข้อมูลของหลวงปู่หินดู ท่านเคยสร้างเนื้อคล้ายอย่างนี้ครับ
    [​IMG] ถ้าองค์นี้แท้ น่าจะเป็นพระเกจิครับ
    [​IMG] พระสมเด็จประจำปีนักษัตร์ องค์อย่างนี้เคยเห็น แต่ผมว่าไม่น่าเล่น
    [​IMG] พระไม่แท้ ทรงพิมพ์เป็นพระยุคหลัง ผิดเนื้อ
    [​IMG] พระใหม่ไม่ทราบที่
     
  14. Kawinpun

    Kawinpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +991
    ขอบคุณมากครับผม :'(

    องค์นี้พระที่ไหนครับพี่ ?

    เดี๋ยวพี่วาซาบิรอแป๊ปนะครับ เดี๋ยวไปขุดกรุก่อนครับ

    ผมถ่ายใส่ไฟทางเดียว นะครับ เลยดูเงาๆ มันๆกว่าปกติจากทางขวาขององค์พระ

    ถ่ายมาใหม่ละครับ มีมาเพิ่มด้วยครับ ^^

    มีแต่พระ 100 เมตร ทำใจหน่อยนะครับ :boo:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2012
  15. บุพนิมิต

    บุพนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +7,034
    คุณกวินพัน...สู้ๆครับ
    "ลิขิตฟ้า...ลือจะสู้มานะตน" ยืมคำท่านขงเบ้งมาเชียร์ครับ
     
  16. บุพนิมิต

    บุพนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +7,034
    เจอพระกรุกำแพงฯทีไร...ให้อดนึกถึงท่าน cc192 ไม่ได้...หายเงียบไปเลยนะครับ
    วันนี้เอาพระในสร้อยคอของผู้เฒ่าที่บ้านมาให้เพื่อนๆสมาชิกกระทู้ได้วิจารณ์กัน และเพื่อเป็นความรู้ครับ...มีอยู่สององค์ผมส่องแล้วติดใจ...ลองช่วยกันวิเคราะห์หน่อยนะครับ อนุโมทนาครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01418.jpg
      DSC01418.jpg
      ขนาดไฟล์:
      156.7 KB
      เปิดดู:
      169
    • DSC01420.jpg
      DSC01420.jpg
      ขนาดไฟล์:
      171.3 KB
      เปิดดู:
      276
    • DSC01422.jpg
      DSC01422.jpg
      ขนาดไฟล์:
      203.5 KB
      เปิดดู:
      175
    • DSC01424.jpg
      DSC01424.jpg
      ขนาดไฟล์:
      177.6 KB
      เปิดดู:
      162
    • DSC01426.jpg
      DSC01426.jpg
      ขนาดไฟล์:
      194.1 KB
      เปิดดู:
      211
    • DSC01429.jpg
      DSC01429.jpg
      ขนาดไฟล์:
      166.8 KB
      เปิดดู:
      163
    • DSC01427.jpg
      DSC01427.jpg
      ขนาดไฟล์:
      193.9 KB
      เปิดดู:
      247
    • DSC01428.jpg
      DSC01428.jpg
      ขนาดไฟล์:
      173.1 KB
      เปิดดู:
      296
  17. Kawinpun

    Kawinpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +991
    อรุณสวัสครับพี่บุพนิมิตร และพี่ๆทุกท่าน

    ซุ้มกอนี่ ในกรณีพิมพ์ขนมเปี๊ยะ ถ้าจำไม่ผิด แบ่งเป็น 3 พิมพ์ ขึ้นทั้งหมด 7 กรุครับ ส่วนเรื่องพระสมเด็จ ผมเลิกแล้วครับ ผมเชื่อว่า ท่านจะมาหาเองครับตามแรงอธิฐานจิต หากเราหมั่นทำบุญ รักษาศีล พระสององค์ของพี่ด้านบนนี่ พอมีข้อมูลเพิ่มมั๊ยครับ

    ผมเชื่อว่าพระทุกองค์มีเทวดารักษาอยู่ เมื่อเจ้าของเก่าสิ้นบุญแล้ว พระท่านก็จะตามหาเจ้าของใหม่เอง - -'
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2010
  18. บุพนิมิต

    บุพนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +7,034
    องค์แรก...เดาว่าเป็นกำแพงกลีบบัวครับ (พิมพ์ 2 หน้าด้วยครับ) เนื้อกำแพงฯแท้ ซึ้ง งามตาดีครับ
    องค์สอง...ขนมเปี๊ยะดำๆ (อิอิอิ) คราบไคร สุดซึ้ง...ไม่แพ้องค์แรก

    ของพ่อตา...จริงๆแล้วผมต้องการดูสมเด็จหลวงพ่อพยุง วัดบัญลังก์ ที่อยู่ในพวงสร้องพวงนี้มากกว่า (สิบกว่าองค์) แต่พ่อส่องมาเจอสององค์นี้...ใจสั่นครับ จะมีวาสนาไกลขนาดนั้นเชียวหรือเรา (นึกในใจ อิอิอิ)

    สอบถามที่มา...แกบอกว่าได้มาจากหลวงปู่ทอง วัดตรีบุญญาราม (มรณะภาพไปแล้ว) พ่อตาผมกับหลวปู่ทองท่านสนิทกัน...ศึกษาตำราพรหมชาติจากหลวงปู่ทองด้วย

    รอท่าน wsb ท่าน cc192 มาช่วยวิเคราะห์ไขความกระจ่างน่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2010
  19. บุพนิมิต

    บุพนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +7,034
    ท่านกวินพันครับ

    ในฐานะที่ผมเป็นปราชญ์ด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ (strategic management) ผมขออนุญาตเสนอ แนวคิด 3 แนวคิดดังนี้

    1. สมปรารถนาในทุกสิ่ง...ด้วยการหยุดนี่ง (เล่าจื้อ...ปรมาจารย์แห่งเต๋า)
    2. น้อมตามฟ้าเป็นสุข...ฝืนลิขิตฟ้าเป็นทุกข์ (สุมาเต็กโช...ปราชญ์เต๋าผู้เล้นกาย)
    3. ลิขิตฟ้า...หรือจะสู้มานะตน (ขงเบ้ง...มังกรสะท้านฟ้าแห่งเต๋า)

    ในทางการบริหารองค์กร...ต้องยึดแนวคิดที่ 3 ครับ เพราะกำไร...คงไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ต้องลงมือทำด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ด้วยสภาพการแข่งขันที่รุนแรงดุจพายุร้ายโหมกระหน่ำอย่างไม่มีวันหยุด
    ส่วนสองแนวคิดแรก...เอาไว้ปลอบใจตัวเอง (อิอิอิ)

    อย่าหยุดครับ...ถ้ายังไม่ได้ดังฝัน (สู้ๆครับ)
     
  20. Kawinpun

    Kawinpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +991
    นิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว ฮ่าฮ่า

    เดี๋ยวจะหา จีบ เอาจากในนี้แหละครับ :boo:

    ยังมีอีกหลายองค์ เดี๋ยวทยอยเอาลงครับ กลัวแต่จะเบื่อกันซะก่อนมากกว่า ส่วนใหญ่มีแต่ พระ 100 เมตร ส่วน 2 องค์ที่พี่ลง ผมไม่เคยเห็นเลยครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...