มรรค ๘ ทางสายกลาง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ฐสิษฐ์929, 18 กรกฎาคม 2013.

  1. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844

    หลวงปู่สาวกโลกอุดรแสดงถึงทางที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ๓ ประการ
    ๑.กามสุขัลลิกานุโยค หมายถึงกาม กามตัวนี้หลวงปู่แสดงว่าเป็นกามระหว่างชายกับหญิง กามอันเป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน แผ่ลูกขยายหลาน กามนี้เป็นอธิบดีอารมณ์ใหญ่ กามอื่นก็เป็นกามแต่เป็นองค์ประกอบของกามตัวนี้ ภิกษุไม่ควรดำเนิน
    ๒.อัตตกิลมถานุโยค หมายถึงการทรมารร่างกายให้เหน็ดเหนื่อยเปล่า เช่นว่านอนเหล็ก นอนหลาว อดอาหาร เป็นต้น เช่นนี้ ภิกษุไม่ควรดำเนิน
    ๓.มรรค ๘ หมายถึงการทรมารทางจิต โดยมีองค์ประกอบ ๘ ประการ หลอมรวมลงที่สติ เพ่งจี้ต่อสู้กับจิตกับความคิด เป็นธรรมทวนกระแส ธรรมชาติของจิตนั้นจะท่องเที่ยวไป การเพ่งจี้นี้จะทำให้จิตดับ ไม่เคลื่อนอีกต่อไป ตรงนี้เป็นทางสายกลางแต่ไม่ได้หมายว่าจะไม่ทุกข์นะ หากไม่เห็นทุกข์ก็ไม่เห็นอริยสัจจ์ การทรมารทางจิตนี้ทุกข์กว่าอัตตกิลมถานุโยคชนิดหลายร้อยเท่า พันทวี ดังนั้นผู้ที่จะปฏิบัติจึงมีการถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา เป็นหนทางที่ภิกษุควรดำเนิน
    เจริญในธรรม
     
  2. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    คำว่า มรรค หมายถึง การใช้ชีวิต จะต้องกินความตั้งแต่
    สัมมาทิฎฐิ เป็นต้นทาง
    และ สัมมาสมาธิ เป็นที่สุด
    ครบทุกองค์นะครับ ขาดองค์ใดองค์หนึ่ง จะก่อให้เกิดกิเลสได้
    อริยมรรค จะต้อง มองทั้งหมดตั้งแต่ตื่นนอนแต่เช้า ไปจนถึง การหลับ ว่า ตัวเรานี้ กินอยู่ หลับ นอน คิด อ่าน พูด ทำ อะไรบ้าง ที่เป็นข้าศึกต่อธรรม อะไรบ้างเป็นข้าศึกกับกิเลส
    แล้ว ศึกษาวิถีของตน ให้เอื้อต่อธรรม และ ละกิเลส
    จึงเรียกว่า รู้มรรค
    เมื่อจิตสงบเพราะวิถีทางตาม มรรค นั้น จนถึงที่สุดขององค์สมาธิ เรียกว่า รู้ผล

    แล้วจะรู้ว่า จิตแบบใดควรแก่การงาน จิตแบบใดไม่ควร เพราะรู้มรรค รู้ผลนี้เอง
     
  3. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ที่คุณว่ามาปฏิบัติธรรมอย่างไรครับ แต่ละจุดแต่ละอย่างเกิดขึ้นตอนไหน อย่างไรครับ
    ที่ผมปฏิบัติอยู่ไม่ว่าจะเป็นมรรค๘ ปฏิปัฏฐาน๔ อินทรีย์๕ พละ๕ โพชชงค์๗ ฌานสมาบัติ๙ วิปัสนาญาณ๙ วิสุทธิ๗ การปฏิบัติเป็นอย่างกันทั้งหมด
    แต่คำอธิบายนั้น มีคำอธิบายออกไปหลายนัย ซึ่งตรงนี้เป็นปัญญาบารมีของพระพุทธองค์ที่พระองค์ทรงสั่งสอนหลายคน หลายกลุ่ม หลายเหล่า ซึ่งมีปัญญาบารมีแตกต่างกันครับ
    เป็นที่รู้กันดีว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจจ์สี่ พระองค์ก็ได้ตรัสรู้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น การปฏิบัติก็มีเพียงแบบเดียวเท่านั้น แต่พระองค์สามารถอธิบายเรื่องเดียวออกเป็นหลายนัยเท่านั้น
    เจริญในธรรมครับ
     
  4. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ธรรมที่พระพุทธองค์ ตรัสรู้นั้นคือ อริยสัจสี่ ดังนั้นสาวกที่รู้แจ้งเห็นจริงตามพระองค์ ก็ต้องรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจสี่นี้ครับ การรู้แจ้งเห็นจริงในองค์ธรรมทั้ง4 นั้น ต้องอาศัยองค์ธรรมในการปฏิบัติ อันได้แก่ อิทธิบาท4 มหาสติปัฏฐาน 4 โพชฌงค์ อย่างที่คุณกล่าวมานั้นแหละครับ แต่ว่า องค์ธรรมแต่ละอย่าง นั้นหาได้เป็นอย่างเดียวกันไม่ แต่ในการปฏิบัตินั้นก็ไม่ได้จำแนกแยกย่อยไป แต่อยู่ในวิธีปฏิบัติในตัว ดังที่คุณเข้าใจนั้นก็ถูกครับ เพียงแต่ว่า คุณปฏิบัติจนได้ปัญญาหยั่งลงใน อริยสัจหรือยังหละครับ
    และองค์ธรรมที่สนับสนุนนั้นคุณทำได้ดีและละเอียดเพียงใด ลองสำรวจตนเองได้นี่ครับว่า สมาธิถึงฌาณนั้น คุณแจ้งแค่ไหนในฌาณ ปัญญาญาณคุณแจ้งแค่ไหน
    ที่สำคัญคือ นับต่อไปนี้คุณพึ่งตนเองไปจนถึงนิพพานโดยลำพังด้วยตัวคุณได้หรือยัง
    เห็นหนทางที่ชัดเจนหรือยังครับ

    ส่วนแต่ละจุดเป็นอย่างไรนั้นคุณลองหยิบยกสภาวะธรรมใดๆก็ได้สักหนึ่งอย่างมาสนทนากันก็ได้
     
  5. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ไม่ใช่ความเข้าใจแต่ผมกำลังปฏิบัติอยู่ครับและผมก็เชื่อตามที่หลวงปู่สอนและตามสภาวะของการปฏิบัติของผมเอง
    ผมมาชี้ทางแก่ผู้ไม่รู้ทาง ฟังดูท่านเป็นผู้รู้ทางมั่นแม่นแน่นหนา ผมมั่นใจว่าผมปฏิบัติถูกต้องถูกทางแล้วครับ ธรรมผมก็อธิบายได้แทบทุกแง่ทุกมุมนั้นละ มันก็แค่นั้นถ้าหากว่าไม่มีคนฟังครับ
    การสนทนาธรรมของผมก็จบไปนานแล้วครับ ปัจจุบันแค่ตอบปัญหาธรรมแก่ผู้สงสัย กับการสอบถามแก้อารมณ์กรรมฐานกับพระอาจารย์เท่านั้น
    การโพสต์ของผมมุ่งประเด็นไปยังผู้ที่ปฏิบัติมาสุดทางของเขาแล้ว ไม่มีทางจะไปต่อแล้ว สำหรับท่านผมขอยกย่องท่านในฐานะผู้มีความรู้อันยิ่งในธรรม ขอให้ท่านจงเจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2013
  6. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    ผมแน่ใจว่าสิ่งที่กล่าวทุกเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมาจากเรื่องเดียวกันทั้งนั้น คือ เรื่องทุกกับการดับทุกข์ เพียงแต่อธิยายไว้คนหละแง่มุมเท่านั้น เพราะมนุษย์เราปัญญาและบารมีไม่เท่ากัน พระพุทธองค์จึงทรงตรัสสอนไว้ทุกแง่มุม เพื่อประโนชน์แก่เหล่าเวไนยสัตว์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2013
  7. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    เหล่าพระอรหันต์พุทธสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ย่อมไม่นอกแนวหลายสาย การปฏบัติย่อมไปในทิศทางเดียวกัน การบรรลุธรรมเป็นอรหันตผลย่อมเหมือนกัน
     
  8. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ความถึงพร้อมแห่งธรรม

    การปฏิบัติธรรมหากมีหลายแบบเพื่อเจริญธรรมแต่ละอย่าง จะเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ถึงพร้อมทุกธรรมเพราะเหตุสมมุติว่า คุณเจริญธรรมธรรมหนึ่งสมบูรณ์แล้วเปลี่ยนไปเจริญธรรมแบบอื่นเพื่อธรรมอื่น ธรรมเดิมก็ดับไป เพราะเหตุให้เกิดธรรมนั้นดับ ธรรมที่เจริญซึ่งเป็นผลก็ย่อมดับ จะให้ถึงพร้อมครบทุกธรรมจึงเป็นไปไม่ได้
    หากปฏิบัติเพียงอย่างเดียว ความถึงพร้อมของธรรมจะเกิดขึ้นได้ เพราะต่อเนื่องซึ่งกันและกันตลอดเวลา
    ฌานสมาบัติเป็นธรรมปฏิบัติเพียงอย่างเดียว เมื่อปฏิบัติโดยต่อเนื่อง ย่อมจะถึงพร้อมทุกธรรมได้
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2013
  9. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,135
    พระบรมศาสดา ทรงหลุดพ้นจากบ่วงกิเลสโดยสิ้นเชิงด้วยวิธีการปฎิบัติธรรมเพื่ออบรมจิตและพัฒนาปัญญา หลักธรรมในพระพุทธศาสนาจึงเป็นวิถีทางอบรมจิตและพัฒนาปัญญา ภายใต้ศักยภาพของมนุษย์เพื่อดำเนินไปสู่ความพ้นทุกข์ โดยไม่ขึ้นอยู่กับดวงชะตาหรืออำนาจเหนือมนุษย์ใดๆ

    หลักธรรมของพระพุทธองค์จึงเปรียบดั่งอัญมณีทรงค่าที่ควรแก่การชื่นชมสนใจ และโพธิปักขิยธรรมอันนำไปสู่หนทางแห่งการตรัสรู้ก็นับเข้าในธรรมเหล่านั้น ซึ่งประกอบด้วย ๗ หมวด ๓๗ ประการ และจัดว่าเป็นแนวปฎิบัติที่บริบูรณ์เพื่อความดับทุกข์ กล่าวโดยย่อคือ

    ๑. สติปัฏฐาน ๔ ว่าด้วยการเจริญสติรับรู้สภาวธรรมปัจจุบันในกองรูป เวทนา จิต และสภาวธรรม เพื่อขจัดความผูกพันด้วยตัณหาและความยึดมั่นด้วยทิฏฐิ
    ๒. สัมมัปปธาน ๔ ว่าด้วยความเพียรชอบเพื่อละอกุศลเก่า ไม่ทำอกุศลใหม่ ทำกุศลใหม่และเพิ่มพูนกุศลเก่า
    ๓. อิทธิบาท ๔ ว่าด้วยธรรมที่นำทางสู่ความสำเร็จ อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา
    ๔. อินทรีย์ ๕ ว่าด้วยธรรมที่เป็นใหญ่ปกครองธรรมอย่างอื่นได้คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
    ๕. พละ ๕ ว่าด้วยธรรมที่มีกำลัง สามารถครอบงำธรรมที่ตรงกันข้าม มีศรัทธาเป็นต้น
    ๖. โพชฌงค์ ๗ ว่าด้วยธรรมอันเป็นองค์ประกอบเพื่อความรู้แจ้งได้แก่ สติ ธรรมวิจัย วิริยะ ปิติ ปัสสิทธิ สมาธิ และอุเบกขา
    ๗. อริยมรรค ๘ ว่าด้วยหนทางอันประเสริฐ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

    พอจะทราบทฤษฎีหลักธรรมที่เป็นหนทางดับทุกข์..แต่ภาคปฏิบัตินั้นไม่ถึงไหนเลยค่ะ..ความเพียรยังมีไม่พอและไม่รู้ว่าจะสำเร็จสักข้อไหมนะคะนี่ ^^
     
  10. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ปฏิบัติอย่างไรครับ ผมอาจช่วยแนะนำได้ ทฤษฎีก็มาจากปฏิบัติครับ คนส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจปฏิบัติ ความจริงเวลาที่จะปฏิบัติมีกันทั้งนั้น คุณปฏิบัติก็ดีแล้วนี่ครับ
    เจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...