ขอคำแนะนำการเจริญพรหมวิหาร 4

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-กาล, 1 ธันวาคม 2014.

  1. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    พรหมวิหาร 4 เป็นกรรมฐานที่ผมคิดว่าควรจะฝึกเอาไว้มากๆ แต่ผมกลับไม่รู้ว่าควรจะฝึกในรูปแบบไหนดี ว่าไงดี ถ้าหากผมคิดจะแผ่เมตตาก็ทำปกติหลังสวดมนต์เสร็จ แต่ก็ไม่เกิดผลที่จะทำให้จิตใจอ่อนโยนลงเท่าไหร่นัก อีกอย่างเท่าที่เคยอ่านมา พรหมวิหาร 4 จะช่วยกำกับใจเราให้รักษาศีล 5 ได้ง่าย แล้วยังผลให้คุณธรรมดีที่เคยมีอยู่ในใจยังรักษาง่ายอยู่ ที่ไม่เคยมีก็จะเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ฌาณที่ได้ก็จะไม่เสื่อมด้วย เลยทำให้รู้สึกว่าน่าศึกษามาเสริมคุณธรรมเอามากๆ ท่านผู้รู้ท่านใดที่มีใจเมตตา ช่วยสงเคราะห์เป็นธรรมทานให้ด้วยครับ ขออนุโมทนาล่วงหน้านะครับ
     
  2. lovepyou

    lovepyou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2008
    โพสต์:
    540
    ค่าพลัง:
    +974
    เวลาคุณแผ่เมตตาหลังสวดนี้คุณทำยังไงบ้างหรือครับ?
     
  3. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +3,090
    พรหมวิหาร มีเมตตา กรุณา มุทิตา ช่วยเสริมในเรื่องศีล
    เมตตาทำให้สงสาร กรุณาทำให้รู้จักการให้ มุทิตาเป็นกำลังใจให้หมั่นในการทำความดี
    ส่วนอุเบกขา ช่วยเสริมในเรื่องการภาวนา เสริมเรื่องของสมาธิ เรื่องของฌานโดยตรง เพราะอารมณ์สุดท้ายของฌานคืออุเบกขา
    แต่เป็นอุเบกขาต่อรูปธรรมหรือนามธรรมที่ต่างกัน
    อุเบกขาในชีวิตประจำวัน คือการปล่อยวางจากเหตุปัจจัยภายนอกที่ทำให้ทุกข์
    อุเบกขาในฌาน คือการปล่อยวางเหตุปัจจัยภายใน ( ตาหูจมูกลิ้นกายใจ )

    เมื่อรู้จักพรหมวิหารครบถ้วน จะฝึกอย่างไร
    ที่นี้อธิบายในมุมมองของบุคคลทั่วๆไปทีีไม่ใคร่จะมีพรหมวิหารเท่าที่ควร
    วิธีฝึกให้มีเมตตา คือ ต้องฝึกการมองมุมของเขา คือเอาใจเขามาใส่ใจเรา เปรียบกับเราเป็นเขา จะรู้สึกอย่างไร ต้องการอะไร มองในมุมเหตุผลของเขา หากเราเข้าใจเหตุผลของเขา เราจะรู้สึกอย่างเขาได้ และความเมตตาสงสารจะบังเกิด

    กรุณา คือการให้ การเอื้อเฝื้อ ทำได้ยากสำหรับผู้ตระหนี่ ซึ่งมีมากในโลกนี้
    ผู้ตระหนี่ได้ง่ายเสียยาก ชอบอ้างว่ารู้ค่าของเงิน การสละทรัพย์หรือการให้ทานจึงทำได้ยากมากสำหรับบุคคลเหล่านี้ วิธีแก้ไข ต้องเริ่มจากสร้างเมตตาในข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว และเมื่อบังเกิดความสงสาร ความกรุณาจะเริ่มมา จังหวะที่ชั่งใจว่าจะให้หรือไม่ให้ จะสละหรือไม่สละ ให้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ลดความรักสบายแก่ตน ยอมสละความสุขสบายส่วนตนเพื่อบำบัดทุกข์ให้แก่คนที่ลำบากจริงๆ เมื่อมีโอกาส ( คือพานพบกับผู้ตกยากจริงๆไม่ใช่มิจฉาชีพ และก็ไม่ใช่กับพระที่อยู่สบาย กินเป็นราชา ) ก็ให้ชั่งใจบ่อยๆ เอาชนะความตระหนี่ในตนเองให้ได้

    เมื่อทำความเมตตา ยังกรุณาให้เกิด มุทิตาจะมาเองโดยไม่ต้องฝึก หากเราได้ช่วยเหลือใครสักคนด้วยความจริงใจ แล้วเขาพ้นสภาพความลำบากนั้นๆได้ ไม่ว่าใครย่อมเกิดความยินดี เกิดมุทิตาจิต

    อุเบกขา เป็นส่วนที่ยากที่สุด เพราะต้องสู้กับความไม่ได้ดั่งใจ เช่น โดนกระทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ หรือโดนลักขโมยของ หรือรักคนที่ไม่รักตอบ เราจะสู้กับความโกรธ ความอาฆาตในจิตใจ แล้วเปลี่ยนเป็นการอโหสิได้หรือไม่ จะอภัยให้คนผิดได้ลงหรือไม่ ต้องชั่งใจ และทำไม่ได้หากไม่มีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นที่ตั้งมาก่อน แม้แต่การที่เราอยากจะช่วยใครสักคน แต่เขาไม่รับน้ำใจ หรือเราไม่สามารถช่วยเขาได้ เราก็ต้องอุเบกขา ปล่อยวางจากความเมตตา กรุณา ที่มีต่อเขาให้ได้ มิฉะนั้นธรรมดีจะกลายเป็นเหตุแห่งทุกข์ อุเบกขาคือวิธีการปกป้องรักษาใจของเราให้ห่างจากความทุกข์นั่นเอง

    อุเบกขาในองค์ฌาน หากเราได้ยินแล้วตามรู้ เห็นนิมิตแล้วตามเห็น จิตมันก็ไม่สงบ ไม่อยู่นิ่ง ไม่ได้พักผ่อน มันก็ไม่ถึงฌานที่สมบูรณ์ อุเบกขาในฌานคือการเพิกต่อธรรมทั้งปวง ไม่ผวงกับกายที่ตั้งอยู่ ไม่ห่วงเสียง ไม่สนสัมผัส ไม่ข้องใจกับนิมิต ไม่เกรงกลัวต่อความรู้สึกต่างๆที่เกิด เช่น อาการคล้านคนจะตาย ฯลฯ เมื่ออุเบกขาสำเร็จ จะพบความสงบ เมื่อพบความสงบหนทางพ้นทุกข์ที่แท้จริงก็อยู่ไม่ไกล ถึงตอนนั้นไม่ว่าใคร ก็จะรู้เองในเส้นทางปฏิบัติต่อไป จริงๆอาจจะต้องบอกว่า ไม่ต้องปฏิบัติอีกเลยด้วยซ้ำ ปัญญาในสมาธิ ปัญญาในฌานของแต่ละบุคคลจะเป็นตัวตัดสิน
     
  4. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เวลาว่างก็ทำอานาปานสติอยู่เสมอ ใช้สติตามลมหายใจเข้า-ออก และเวลาปฏิบัติธรรมก็หมั่นทำสมาธิ ทำสม่ำเสมอ จะช่วยให้จิตเป็นสุข มีภูมิต้านทานอารมณ์ไม่พอใจ และเป็นฐานของภาคปัญญา ลองทำความเข้าใจบทอนัตตะลักขณะสูตรนะครับ ให้ทำความเข้าใจว่าขันธ์ 5 เป็นอนัตตาอย่างไร
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    [​IMG]
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    " พรหมวิหาร4 " สำหรับ พระพุทธศาสนา จะเอาไว้เป็น
    ไม้ตาย ไม่สุดท้ายแก่พวก " เดียรถีย์ทุกประเภท " ( พุทธวัจนะ ....มีสรุปเอาไว้ประมาณนี้ )

    คำว่า " เดียรถีย์ " หากฟังเอาตาม ศัพท์สมัยใหม่ จะเห็นเป็น คำด่า ส่อเสียด

    จริงๆ มันเป็น คำที่พระพุทธองค์ กำหนดด้วยสมาธิ เลือกใช้ และ เป็นคำที่
    บริสุทธิเท่าที่จะบริสุทธิได้ ไม่ใช่คำด่า ส่อเสียด

    อันนี้ ก็ลอง วางใจรับ คำของศาสดาไปใช้ ให้ระวังรับคำ ไทย ไปใช้


    คำว่า เดียรถีย์ แปลง่ายๆ คือ จ้าวสำนัก จะปรัชญา อภิปรัชญา ลัทธิ ศาสนาใดๆ
    ก็เรียกว่า เดียรถีย์ หมด ..... ซึ่งก็หมายถึง พวกเดินทางผิดติดตาย

    ดังนั้น

    คนสำเร็จ ฌาณ บรรลุเจโตสมาธิ ยอดเยี่ยมขนาดไหน หากยังมี อาสวะ ก็เรียกว่า ติด

    ทีนี้ ติดเนี่ยะ จะไม่รู้ว่าติด ..วิธีแก้จิต คือ เอาทุกข์ให้กำหนดรู้

    ดังนั้น

    บรรลุเจตโสาธิมาเก่งขนาดไหน เอา " พรหมวิหาร " ไปกระแซะ ถ้าคนๆนั้น
    สนใจ ใส่ใจธรรม ที่เป็นเรื่อง " โลกุตระ " พ้นโลก ไม่ใช่ บุ้ยใบ้ เบือนหน้าหนี

    พอเอา " พรหมวิหาร " ให้สมาทาน ก็จะ ไอ้หย๋า จิตตนยังรักสุขเกลียดทุกข์ อยู่เลย

    สรุป

    เวลาไหน เหมาะแก่การเจริญ " พรหมวิหาร "

    ก็จะบอกว่า เวลาที่เกิด " มิจฉาทิฏฐิ " ตกไปข้าง " รักสุขเกลียดทุกข์ " ก็เวลา
    นั้นแหละ ให้เจริญพรหมวิหาร

    ที่นี้ มันเป็นการแก้จิต ที่ติดโลก ...... ไม่พ้นโลก

    ถ้าไป เจริญพรหมวิหาร แล้ว โลกจ๊ะโลกจ๋า ลูกจ๊ะลูกจ๋า อันนี้ คนละเรื่องแล้ว
    ไม่ใช่การ กำหนดรู้ทุกข์แล้ว เป็นเรื่อง อ้างพรหมวิหารเพื่อหลอกรับประทาน หลอก
    กินตับ ตับ ตับ ชาวบ้าน เฉยๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2014
  7. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    สัมพันธภาพของ ศีล สมาธิ ฌาน และ พรหมวิหาร

    +++ ทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกัน เรื่องหนึ่งเป็น "เหตุ" ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเป็น "ผล" ตรงนี้ ว่ากันโดย "คุณสมบัติทางจิตโดยตรง" (ไม่เกี่ยวกับ "การปรุงเมตตา" ซึ่งเป็น กามาวจร)

    +++ พรหมวิหาร 4 เป็น "ผลลัพธ์ และ เนื้อหา" จากการฝึก ไม่ใช่ "เหตุ และ รูปแบบ" ในการฝึก

    +++ หากคุณ เน้นที่ "รูปแบบของพรหมวิหาร 4" สิ่งที่คุณจะได้ตามมาเป็นผลลัพธ์คือ "การปรุง พรหมวิหาร" ซึ่งเป็นเรื่องใน "กามาวจร"

    +++ มัน "เป็นเช่นนั้น" เพราะมันยังเป็น "การปรุงเมตตา ในกามาวจรอยู่"

    +++ จริง ๆ แล้ว "พรหมวิหาร 4" คือ "อพรหมะจริยา" ซึ่งเป็น "ศีล 8" ขึ้นไป ไม่กลับมายัง "ศีล 5" ซึ่งเป็นศีลของ "กามาวจร" อีกแล้ว

    ++++ ศีลของ "กามาวจร" จะต้องรู้ก่อนว่า "อะไรเรียกว่า กามาวจร"

    +++ "กามาวจร" คือ "เหล่าสรรพสัตว์" ที่ยังต้อง 1. "เสพรูปทางตา" 2. "เสพเสียงทางหู" 3. "เสพกลิ่นทางจมูก" 4. "เสพรสชาติทางลิ้น" 5. "เสพความสบายทางกาย" ที่เรียกกันว่า "กามคุณ 5" นั่นเอง

    +++ ดังนั้น "กาเมสุมิจฉาจารา" หมายถึง "การไม่เบียดเบียนกันทาง กามคุณ 5" การ "ถือศีล" ตรงนี้ให้ "บริสุทธิ์" ทำได้เพียงทางเดียวคือ "สังวรณ์ อายตนะ 6" เท่านั้น ซึ่งรวมถึง "การไม่ปรุง คิด เบียดเบียนใครทาง กามคุณ 5" อีกด้วย ตรงนี้คือ "ศีลบริสุทธิ์" ของศีล 5 ซึ่งจะตรงกับ "ศีลข้อเดียวของ หลวงปู่มั่น คือ รักษาใจ" และ "จิตส่งออกคือ สมุทัย ของหลวงปู่ดูลย์"

    +++ ณ ขณะใดที่ "สังวรณ์ อายตนะ 6" ใด้สมบูรณ์ "อพรหมะจริยา" ก็จะ "เป็นมาเอง โดยอัตโนมัติ" โดยไม่ต้อง "ไปวิ่งหาจากที่อื่นอีก" และตรงนี้เท่านั้น ที่จะข้ามจาก "หมวดศีล เข้าสู่ หมวดสมาธิ" ที่เรียกว่า "ศีล สมาธิ ส่วน ปัญญา จะตามมาทีหลัง หลังจากเริ่มเห็น ขันธ์ แล้ว"

    +++ ณ ขณะใดที่ "สังวรณ์ อายตนะ 6" ใด้สมบูรณ์จน "อพรหมะจริยา" มีมาเอง ตรงนั้นก็จะเรียกได้ว่า "จิตทรงฌาน" ไปในตัวและ "การนึกคิดปรุงแต่ง" ทั้งหลายย่อม "หยุดลง" เป็นธรรมดา

    +++ หลังจาก "การนึกคิดปรุงแต่ง" ทั้งหลาย "หยุดลง" แล้ว ก็จะสามารถ "ฝึก กรรม-ฐาน" ได้สะดวก หาก "รู้-อยู่-ลมหายใจ" ตรงนี้จะเป็น "อานาปานสติ" และหาก "รู้-อยู่-กาย" ตรงนี้จะเป็น "กายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" ถ้าหากว่า "รู้-อยู่-รู้สึกตัว" ตรงนี้จะเป็น "เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน"

    +++ ยามใดที่สามารถ "ทรงฌาน 1-4" ได้และหากมี "สติ" ที่ละเอียดเพียงพอ ก็จะรู้ "ความสัมพันธ์ระหว่าง ฌานกับพรหมวิหาร" ได้โดยไม่ยาก รวมทั้ง "ล่วงรู้ระดับของ ภพภูมิ ที่เป็นของจริง" และไม่ใช่ "ภพภูมิแบบชนิด ปรุงแต่ง" ที่สามารถ shopping ได้ตามกระทู้ทั่วไปได้โดยไม่ยาก ที่จะสังเกตุได้ว่า "ของปลอม" อยู่ตรงไหน

    +++ ดังนั้นให้เข้าใจเสียก่อนว่า "มหาสติปัฏฐาน 4" อย่างแท้จริงและถูกต้องนั้น "เป็นฌาน" อยู่ในตัวไปเรียบร้อยแล้ว และไม่ต้องไปแสวงหา "ชาน-ยาน" อะไรข้างนอกอีก เพราะหากทำเช่นนั้น ก็เท่ากับ "หลุด" ออกไปจาก "การฝึก" ทั้งมวลโดยปริยาย และย่อมตกลงไปใน "ภวังค์จรณะ ที่เป็นของ กามาวจร ซึ่งไม่มี ฌาน เป็นองค์ประกอบ" แต่อย่างใดทั้งสิ้น

    +++ ตรงนี้จะ "ถูกต้อง" ได้ ก็ต่อเมื่อ "ทำความเข้าใจ และ เดินจิตได้" ตามที่กล่าวมาแล้ว ข้างบนนี้

    +++ ผมวางไว้ให้แล้ว ส่วนคุณจะ "ทำ" ได้แค่ไหน ก็ลองพยายามดู นะครับ
     
  8. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    ขอบพระคุณทุกท่านที่อุตส่าสละเวลามาตอบปัญหาคาใจของผม เพราะสิ่งที่ผมถามเป็นปัญหาคาใจมาค่อนข้างนาน ทุกความคิดเห็นที่ส่งมานั้นล้วนเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติของผมจริงๆครับ ไม่ใช่เป็นการถามเพื่อสิ่งอื่นใดแน่นอน เพราะทุกวันนี้ผมยังคงใช้หลัก ทาน ศีล และภาวนาของคฤหัสอยู่เป็นประจำแม้จะยังไม่เต็มร้อยเลยซะทีเดียว แต่ก็พยายามรักษาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะนึกทันตามอารมณ์ของจิต ส่วนเรื่องพรหมวิหาร 4 นี่ ที่จริงผมกำลังคิดอยู่ว่าจะนำมาพิจารณาคล้ายๆกับการเจริญอนุสติทั้ง 10 ข้อนี้เหมาะสมหรือไม่อย่างไร หรือควรจะฝึกปฏิบัติทางใจขณะที่ใช้ในชีวิตประจำวันดีควบคู่กับการฝึกสติปัฏฐานอันนี้ดีหรือไม่ แต่พอได้อ่านความคิดเห็นของทุกท่านที่เข้ามาแล้วจึงพอจะเข้าใจแล้วว่า จริงๆแล้วพรหมวิหาร 4 เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากจิตที่สงบ และจะเกิดขึ้นได้ง่ายหากได้ฝึกวิปัสนาญาณ เช่นนี้ผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ และสิ่งควรปฏิบัติต่อเนื่องไปนั้นคือการฝึกสติระลึกให้ได้บ่อยครั้งที่สุดเท่าที่เราจะระลึกทั้ง เช่นนั้นจะทำให้ครองอารมณ์สงบนิ่งจากนิวรณ์ได้ง่ายขึ้น เช่นนี้ถูกต้องไหมครับ แน่นอนนี่คือคำถาม แต่ผมก็เข้าใจว่าหลายๆท่านคงพยายามจะบอกว่าฝึกเองย่อมรู้เองเช่นนั้นสินะครับ จะอย่างไรก็ดีผมก็ขออนุโมทณากับทุกท่านที่อุตส่าเผื่อแผ่ความรู้จากทั้งประสบการณ์และความรู้สื่อออกมาเป็นตัวอักษรให้ผมและหลายๆคนในที่นี้ได้เข้ามาอ่าน ขอบคุณจากใจจริงครับ
    ส่วนคำถามที่ว่าผมเวลาผมแผ่เมตตาหลังการสวดมนต์นี่ผมทำยังไงบ้าง ผมทำตามหนังสือครับ เป็นหนังสือสวดมนต์ที่มีคำสมาทานกรรมฐานที่ได้จากศูนย์ปฏิบัติธรรมมานะครับ ที่จริงคงเรียกหนังสือไม่ได้เพราะเป็นกระดาษเพียงแผ่นเดียว แต่ผมก็อ่านและสวดตามนั้นมาตลอด จึงทำให้ผมรู้สึกว่าจิตใจในการแผ่เมตตาจากอ่านอ่านสวดไม่ได้ทำให้จิตใจเราอ่อนโยนลงกว่าเดิมเท่าใดนัก ขอบอกนะครับว่านี่เป็นเพียงความรู้สึกส่วนตัว ที่อาจเป็นเพราะผมยังไม่ได้สื่ออารมณ์ตามตัวอักษรก็ได้ เอาเป็นว่าจะพยายามลองปรับเปลี่ยนจากการท่องจำเป็นพิจารณาความหมายตามตัวอักษรไปด้วยอาจจะมีผลมากกว่านี้ก็ได้ จะยังไงก็ขอขอบคุณนะครับที่อุตส่าห์ถาม ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปทุกท่านเลยนะครับ
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    เรียนธรรม อย่าวาดภาพนักปฏิบัติเป็นพระเจ้า ทำดีนิด ทำดีหน่อย จะเอามาอวดศักดา
    มันจะทำให้ คลาดเคลื่อนแบบ ฝ่าเท้ากับหลังมือ อึ๊ชชชช !!!


    คุณปรารภความเพียรว่า เริ่มจาก " ทาน "


    ทาน รหัสพ่อรหัสแม่แต่ไหนแต่ไรมา จะกระทำทาน มันต้องเล็งเห็น " สรรพสัตว์ " ผสม
    อยู่ในจิต ส่งเป็น เจตสิกที่เรียกว่า " กริยาทาน "

    ดังนั้น พรหมวิหาร4 ไม่ใช่ อารมณ์โง่ๆ ที่เกิดหลังจาก วิปัสสนา

    แต่มันเป็น อารมณ์สามัญ ติดโลก

    ตราบใดยังเจริญ พรหมวิหาร4 แล้วจิตไหลเข้าไปเสพสุข ทุกข์ น้ำตาเล็ดน้ำตาไหล
    อยากอุ้มสัตว์ แรกๆก็อุ้ม ( แต่มันเป็นกามวิตกอย่างหนึ่ง ดังนั้น หลังจากนั้นไม่นาน จะโดด
    ไปกิน ตับ ตับ ตับ เขา ) หรือแม้แต่ แสร้งทำเฉย

    นั่นมันจะเป็น เจตสิกธรรม ที่ใช้พิสูจน์ว่า ไม่พ้นโลก หรือ เหนือโลกเป็นอริยะ


    พรหมวิหาร จึงเป็น ไม้ตาย สำหรับ พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ พวกที่เป็น เดียรถีย

    ทั้งนี้เพราะ

    1. กรณีที่ ภาวนาไม่ทันแล้ว ภาวนาไม่ขึ้นแล้ว เพราะ เอาแต่ ตั้งตนเป็น พระเจ้า ลูกจ๊ะ
    ลูกจ๋า พ่อมาแว้ววววว อย่างน้อย มันก็ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ปล่อยให้โง่อย่างมีประโยชน์
    ดีกว่า โง่แล้วเป็นอาหารของเต่าปลา

    2. กรณีสำคัญตัวว่าเป็น อริยะ เมื่อ เจริญพรหมวิหาร แล้ว เห็นจิตไหลไปเสพ เมาในเจตสิก
    " เมตตา " มันจะเป็น ตัวธรรม ที่เตือนให้ทราบว่า ไม่ได้ สามัญผลใดๆ แล้ว เพียรภาวนา
    ไม่ประมาทในธรรม
     
  10. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    ขอบคุณครับคุณนิวรณ์ ที่มาเตือนสติ ผมจะพยายามเตือนตนเอาไว้ให้มาก อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2014
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    งง ไหม

    เน้นนะว่า อย่าไป สาระวน อยู่กับการ วาดภาพเป็นนักปฏิบัติ

    ตะกี้ ยกตัวอย่าง เมตตาเจตสิก มีเจือในจิตที่กระทำกริยาทาน ปรกติ

    ดังนั้น ทำทาน หรือ ทำจาคะ สำเร็จ หนึ่งครั้ง นั่นจิตพอกพูลไปด้วย " พรหมวิหาร " ไม่รู้
    เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ พรหมวิหารธรรมมันเกิดแล้ว แต่ เป็นการ มีแล้ว ที่ จบลงไปแล้ว
    เป็น อดีตอารมณ์ทันที เว้นแต่จะหน่วงมาระลึก เป็น จาคานุสติ ก็จะเกิด ปิติ ห้อมล้อม
    จิต ทำทานบาทเดียว แต่สามารถระลึกซ้ำให้เกิด จิตพรหมวิหารเป็นล้านๆ

    โดยไม่ต้องไปโง่ เสียเงินเกินกว่า บาทเดียว

    ทีนี้ ฟังให้ดีๆ นะ

    พระพุทธศาสนา เป็น ศาสนาที่ตรัสถึง " เหตุ " และ ชี้การดับไปของ "เหตุ" เหล่านั้น

    ลองไปหาอ่านดูนะ เหตุ ของ ฌาณ8 คืออะไร

    ใช่ไหม ที่ทำทานนี่แหละ ทำทานอย่างเดิมเลย กริยาของทาน องค์ประกอบของทาน
    เหมือนเดิมทุกอย่าง ดูภายนอกเหมือนกันหมด

    แต่คน ฉลาดในเหตุเนี่ยะ เขาแค่ วางจิตของการทำทานว่า " เพื่อตบแต่งจิต ให้สดใส
    ให้ผ่องแผ้ว ไม่ง่วง "

    ด้วยเหตุของการทำทาน และ วางจิตว่า เพื่อตบแต่งจิต ไม่ใช่เพื่อ อวดว่ากูทำทาน กูทำดี
    กูรวย กูเก่ง อะไร ทำไปงั้นๆ เพียงเพื่อให้ จิตมันไม่หมอง

    ด้วยเหตุเพียงแค่นี้ อันนี้คือ เหตุของ ฌาณ8 เกิด และ ดับ

    พุดให้ตรงภาษาธรรมคือ เป็นไปเพื่อสวรรคิ์ชั้น ปรนิมวัสวัตตี ( ผู้สำเร็จฌาณ8 โดย
    ง่าย และ ไม่เอา มีการประกอบ ฌาณ8 จำนวนมาก รวดเร็ว แต่เพื่อให้มันเกิด ดับ ไปตบ
    แต่งสิ่งที่เรียกว่า จิต )

    นะ

    ถ้าเข้าใจ การเกิดขึ้นของฌาณ8 พระพุทธองค์ตรัสชี้แล้ว ทำง่ายๆ โดยอาศัย การทำทาน
    และ พระพุทธองค์ก็ตรัสถึงการดับไปของเหตุเหล่านั้น มีปรกติสอนอย่างนี้

    ดังนั้น คนในศาสนาพุทธ จะไม่ร้องโหวกเหวก อวดสิ่งที่เป็น อดีต ว่า " กูได้ฌาณ "

    เขามีแต่ ชำนาญในเหตุ และประกอบเหตุเหล่านั้น และ เพื่อระลึก ตามเห็น ความเกิด
    ความดับ สำรอกความเมาว่า กูได้ กูมี กูแน่ กูหนึ่ง
     
  12. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    อนุโมทนาครับท่าน อธิบายได้ดีเลยทีเดียว เข้าใจง่ายและเหมาแก่การปฏิบัติมาก เพื่อเป็นไปในที่สุดแห่งการดับ มิใช่นำมาเพื่ออวดอ้างกัน ขอบคุณครับสำหรับคำอธิบายเช่นนี้
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ถ้าไม่ งง

    ยังพอ รับไหว ว่า อะไรมันจะง่ายปานนั้น

    ก็ฟังต่อ เรื่อง การฉลาดในการหน่วง

    พระพุทธองค์ตรัสชี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ " บางพวกชำนาญในการโคจรจิต แต่ไม่ฉลาดอยู่ บางพวกฉลาดอยู่ ฯลฯ "


    ตรงนี้หมายถึง ภิกษุ หรือ คนที่ทำสิกขาในพระพุทธศาสนา ทุกรูปทุกนาม ฉลาดในการโคจร
    จิต ฉลาดในเหตุของจิต ถ้วนทั้งหมด อะไรที่เป็นโลกียะ ก็ต้องทราบทั้งหมด

    แต่บางคน ก็หน่วงเพื่ออยู่ เพื่อเสพเป็นวิหาร เพื่อให้เป็น สมาบัติได้ ( โดยใช้ สติ )

    แต่บางคน ก็ไม่หน่วง เอาแต่ โคจรทราบทั่วถึงเป็นผัสสะ ธรรมใดเกิดที่ใด ก็ตามเห็น
    การดับไป ณ จุดๆนั้น ไปติดๆ แค่นี้ก็เป็นวิหารธรรม ที่เรียกว่า สุญญคารวิหารได้ ( จะสะอาด
    กว่า พรหมวิหาร เพราะ พรหมวิหารจะมี เมตตาเจตสิก เป็นความหมองของจิต )

    แต่...ใดๆก็ตาม ที่ทำให้จิตมีองค์ประกอบ หรือ อาสวะ สาสสวะ ภวสวะ หากยกสิกขา
    บทตามเห็นความเกิดดับ มีอาสวะโคจรก็เพียงเพื่ออาศัยระลึก มันก็เป็น ความฉลาด
    ของคนในศาสนาพุทธ

    ถ้าเป็นคนนอกศาสนา โคจรฌาณอะไรก็แล้วแต่ ก็ ไม่มีสามัญผล แต่อย่างใด
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471

    ดีๆ กล่าวแบบนี้แปลว่า

    เป็นผู้ ทำจิตให้ตั้งตรง ได้

    ให้ยก การเห็น กริยาจิต การยกจิตให้ตั้งตรง นี้เป็นสิ่งเกิด ดับ ไว้ด้วย

    ยกเก่งๆ งานจบไว
     
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    กรรมฐานสี่สิบกอง เปลี่ยนไปทุกวัน จะหาความก้าวหน้าได้อย่างไร ?​


    ถาม : กรรมฐานสี่สิบกอง ที่เราเลือกมาปฏิบัติครั้งแรก ถ้าทำไป ๆ แล้วรู้สึกว่ายังไม่ไปไหน แล้วเปลี่ยนกองถือว่าเป็นการโลเลหรือเปล่าครับ ?
    ตอบ : ไม่ใช่โลเล แต่จะเหมือนกับที่เคยเปรียบว่า ขุดบ่อแต่ไม่ได้น้ำ สมมติมีน้ำอยู่ในระดับ ๑๐ วา พอขุดไป ๆ ถึง ๕ วา ไม่ถึงตาน้ำสักที เราก็ย้ายที่ไปขุดใหม่ เท่ากับเราเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่

    ถาม : ถ้าเลือกมาสัก ๒ กองแล้วทำ
    ตอบ : ๒ กองที่คุณเลือก หรือกองเดียวที่คุณเลือก ให้เป็นอานาปานสติไว้ก่อน ๑ กอง ซึ่งกองอื่นเลือกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออก กรรมฐานทุกกองไปไม่รอด

    ถาม : แล้วถ้าวันหนึ่งจับภาพพระ อีกวันหนึ่งจับกสิณ
    ตอบ : เจริญแน่..! ทำแบบนั้นอีกกี่ชาติก็ได้แค่ทำ..!

    ถาม : เปลี่ยนไปทุกวัน
    ตอบ : ชาติหน้าตอนเย็น ๆ อาจจะได้..!

    ถาม : ถ้าทำอย่างนี้ชาติหน้าตอนเย็น ๆ จะได้หรือครับ ?
    ตอบ : ถ้าวันนี้คุณจับกสิณ แล้วคุณก็เลิก..ปล่อย ถ้าสมาธิคลายตัวก็ไหลตามกิเลส พอรุ่งขึ้นแทนที่คุณจะมาจับกสิณเพื่อว่ายทวนกิเลสต่อ แต่คุณไปจับอีกกองหนึ่ง แล้วคุณก็ปล่อยและก็ไหลตามไป พออีกวันคุณก็กลับไปทำอีกกอง

    ลองนึกดูก็แล้วกัน คนไหลตามกิเลสไปสองวัน แล้วว่ายกลับมา จะหาความก้าวหน้าได้อย่างไร ? ขาดทุนสะสมไปเรื่อย รอวันล้มละลาย..!


    ถาม : แล้วถ้าทำทุกวัน อย่างละกองวันละชั่วโมงละครับ ?
    ตอบ : ๒๔ ชั่วโมงยังไม่รอดเลย..!

    ตอนนี้ค่าแรง ๒๕๐ บาท ก็ตีเสียว่าชั่วโมงหนึ่ง ๑๐ บาท สิบบาทพอกินไหม ? กินซาละเปาลูกหนึ่งก็หมดเงินแล้ว

    เรื่องของการปฏิบัติ เลือกกรรมฐานกองใดกองหนึ่งแล้วทำให้ถึงที่สุดไปเลย ถ้าหากถึงที่สุดแล้วกองอื่นจะเป็นของง่ายเพราะกำลังที่ใช้เท่ากัน เปลี่ยนแค่วิธีการนิดเดียว เพราะฉะนั้น..อย่าหลายใจ กรรมฐานไม่ใช่วิชาทางโลก ที่จะได้สะสมหน่วยกิตได้ เขาต้องการความจดจ่อต่อเนื่องตลอด คุณไปสะสมหน่วยกิตก็ได้เหมือนกัน ได้แค่ในส่วนอานิสงส์ที่เป็นกุศลกรรม แต่ความสำเร็จมาถึงยาก



    รวมธรรมะจากพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ)

     
  16. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ไม่โกรธ ผูกโกรธ ผูกพยาบาท
    รู้จักให้อภัย ไม่อิจฉา ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
    ยอมรับตามความเป็นจริงได้
    นี่แหละ คือการเจริญพรหมวิหาร ๔
     
  17. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    ขอโทษครับท่าน saber หากทำให้ท่านต้องคิดแบบนั้น ที่จริงผมยังคงฝึกอานานสติอยู่เช่นเคยเป็นปกติ แต่ที่ผมถามเนื่องเพราะบางช่วงเวลาที่เราไม่อาจทำให้จิตใจสงบลงได้จนรู้ถึงตอ้นแห่งลม ท่ามกลางแห่งลม และเบื้องปลายแห่งลม ก็จำเป็นต้องอาศัยความคิดก่อนเป็นล่องนำทางใช่หรือไม่ท่าน นั่นจึงเป็นเหตุสงสัย ว่าจะมีไหมแนวทางฝฝึกพรหมวิหาร 4 เพื่อเกลาจิตใจให้อ่อนโยนขึ้น และเป็นแนวทางเสริมการปฏิบัติในด้านที่เราพึงปฏิบัติต่อ ทั้งต้องขอขอบคุณท่านที่เตือนสติเอาเช่นกัน เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้นอาจทำให้ผมเลอะเลือนมากไปจริงๆก็ได้ ขอบคุณครับสำหรับคำเตือนและคำสอนดีๆจากหลวงพ่อ
     
  18. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    ขอบคุณท่าน Tboon ที่ช่วยอธิบายขยายความตามจริงที่ควรเก็บเอาไว้ปฏิบัติ เพราะหากไม่รู้แล้วย่อมหาหนทางเดินต่อไปได้ยาก อนุโมทนาครับ
     
  19. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    ขอบคุณท่า tsukino2012 ที่ช่วยอธิบายเหตุและผลที่พึงได้จากการฝึกพิจารณาพรหมวิหาร 4 คำอธิบายที่ท่านกล่าวออกมาย่อมยังผลให้ผู้ที่ไม่รุ้ได้รู้และเข้าใจถึงอานิสงค์อันพึงมีพึงได้จากการเจริญพรมหมวิหาร ขอบคุณครับกับความรู้ทีท่านได้มอบให้ อนุโมทนครับ
     
  20. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    ขอบคุณท่าน ธรรมชาติ ที่อุตส่ามองเห็นในสิ่งที่ผมยังไม่เห็นและมองข้ามไปจนอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างนิวรณ์ในจิตได้ ผล และเหตุ คือสิ่งที่ศาสนาเราสอนให้เข้าใจ และ หากรู้เหตุ ก็พึงดับเหตุ แล้วผลที่ควรจะเกิดก้จะไม่เกิด อย่าพึงแสวงหา ยาน ภายนอกแต่พึงรีกษาตน ระวังตนจากทางด้านอายตนะต่างๆ สมควรแล้วครับ เป็นทั้งคำเตือนและคำแนะนำที่ยังผลที่เป็นประโยชน์แก่การระวังตนอย่างยิ่ง
     

แชร์หน้านี้

Loading...