กรรมที่เกิดจากเงินที่เขาฝากเราไปทำบุญ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย โยมแถวหลัง, 27 เมษายน 2016.

  1. โยมแถวหลัง

    โยมแถวหลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +854
    กรรมที่เกิดจากเงินที่เขาฝากเราไปทำบุญ

    เรื่องนี้ไม่ได้เกิดกับผมแต่เป็นปัญหาที่ผมรู้สึกสงสัยมานานแล้ว ....
    ปัจจุบันวิธีการทำบุญของคนส่วนใหญ่คือการฝากญาตธรรมไปร่วมบุญ เป็นสะพานบุญ ให้เพราะตนเองไม่มีโอกาสได้ไป หรืออาจจะเป็นการแจกซองผ้าป่ากฐินที่บอกบุญให้ใส่ซองแล้วเจ้าภาพกฐินผ้าป่านำไปถวายวัดให้ มีกรณีต้องพิจารณาเกี่ยวกับเงิน ว่าการกระทำต่อไปนี้ผิด ถูก หรือเป็นบาปอย่างไร บ้าง

    กรณีที่ 1 ผู้ฝากเงินทำบุญ โทรบอกจำนวนเงิน แต่โอนเงินให้ไม่ทันกำหนดการ ให้ผู้ถวายเอาเงินส่วนตัวสำรองออกให้ก่อน เขาจะได้รับบุญส่วนนี้ไหมครับ

    กรณีที่ 2 มีผู้ฝากเงินไปทำบุญ เช่น ผ้าป่า กฐิน อยู่ระหว่างการบอกบุญ แต่ยังไม่ถึงกำหนดการถวาย ผู้รวบรวมนำเงินนั้นไปสำรองใช้ก่อน แล้วพอถึงกำหนดถวายก็เอาเงินของตนเองเท่ากับจำนวนที่ใช้ไปมาเติมคืนให้ ถือว่าเป็นบาปไหมครับ

    กรณีที่ 3 ตอนบอกบุญบอกว่าจะนำเงินนี้ไปถวายเพื่อวัตถุประสงค์หนึ่ง แต่เมื่อไปถึงวัดที่จะถวายพบว่าวัดมีความจำเป็นเร่งด่วนในอีกเรื่องหนึ่ง เจ้าภาพจึงเปลี่ยนใจถวายเพื่อความจำเป็นเร่งด่วนนั้น เป็นบาปไหมครับ

    ผมคิดว่าเป็นปัญหาที่หลายคนคงสงสัย และเป็นสิ่งที่ทุกคนควรรู้เลยขออนุญาตตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นกันครับ ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 เมษายน 2016
  2. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    1 ใครทำใครได้ ทำเท่าไหร่ได้เท่านั้น ถ้าโอนเงินให้ช้า ก็ได้บุญช้าด้วย โอนเมื่อไหร่ส่งเมื่อไหร่เขาได้รับเมื่อไหร่ก็ได้บุญเมื่อนั้น

    2 เอาเงินทำบุญไปหมุน ก่อนถึงเวลาทำบุญ แม้จะไม่บาปเพราะเรานำเงินที่เขาทำบุญมาเราก็ได้ทำคืนให้เขาครบตามนั้น แต่ปัญหาคือ มันเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะไม่ควร และมีความสุ่มเสี่ยง ต่อการทำบาปหรือผิดเจตนาและผิดจำนวนเงินที่ต้องทำบุญให้เขา ไม่ควรทำเช่นนี้จะสั่งสมกลายเป็นนิสัย เมื่อทำเช่นนี้มากๆเข้า ย่อมเกิดกิเลสและทำบาปได้ในที่สุดครับ

    3 เป็นบาปเพราะผิดเจตนาของผู้ตั้งใจ เมื่อเขาตั้งใจทำบุญอย่างไร เราต้องทำตามนั้นไม่สามารถบิดพริ้วเปลี่ยนแปลงได้ เพราะเขาเจตนาและพอใจอย่างนั้นเอาไว้แล้ว
    เพราะการทำบุญ คนบางคนอาจทำบุญใหญ่ๆมาเยอะบางโอกาสก็อยากทำบุญเล็กน้อยๆที่ตนยังไม่เคยทำก็อาจเป็นได้ เราไม่มีทางเข้าใจเจตนาเหตุผลของเขาหรอกว่าเขามีเหตุผลอย่างไรนั่นเองครับ สาธุ
     
  3. วรรรวี

    วรรรวี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +65
    1.ได้ครับ
    2.ถ้าเอาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ กรรมหนี้สงฆ์ และกรรมย้ายฐานเจดีย์ ถ้าระหว่างที่เอาไปใช้คนที่เอาไปใช้เกิดตายก่อน ก็ลงนรกไปเลย แต่ถ้าถึงกำหนดเวลาเอามาคืนให้ ก็จะไม่มีกรรม
    3.ถ้าเราเอาเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ติดกรรมย้ายฐานเจดีย์ ครับ เพราะคนให้ฝากเงินกับเราไปทำบุญ เค้าให้เราไปทำให้ถูกตามวัตถุประสงค์ของบุญนั้นๆ เราไม่มีสิทธิ์เอาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ถ้าเราเอาไปใช้ผิด ก็จะมีทั้งกรรมหนี้สงฆ์ และกรรมย้ายฐานเจดีย์ ยิ่งถ้ากรรมย้ายฐานเจดีย์ บุญที่เค้าฝากไปทำนั้นๆ ปิดไปแล้ว สำเร็จไปแล้ว ไม่มีอีก ชาตินี้ทั้งชาติ ก็แก้กรรมย้ายฐานเจดีย์ไม่ได้
     
  4. วรรรวี

    วรรรวี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +65
    "โทษของเรื่องการย้ายเจดีย์"
    พอดีได้อ่านพบ คิดว่ามีประโยชน์มาก สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ครับ
    ถาม : ผมได้นำพระเครื่องวัตถุมงคลที่มีอยู่
    ไปเปิดประมูล โดยตั้งหัวข้อประมูลดังนี้ "ประมูลเพื่อสะสมยอดเงิน
    ไปทำบุญกับวัดท่าขนุน ๑๐๐%" ต่อมาได้ทำการประมูลหลายครั้ง
    เมื่อสะสมเงินได้จำนวน ๕,๐๐๐ บาท จึงได้ร่วมทำบุญสร้างพระพุทธรูปทองคำ
    โดยได้ร่วมจองตะกรุดมหาสะท้อน รุ่น ๕ วัดท่าขนุน จำนวน ๑ ดอก
    เพื่อความมั่นใจ จึงขอเรียนถามว่า ตะกรุดนี้จะเป็นของใคร
    ระหว่างผมกับผู้ร่วมประมูลครับ ?
    ตอบ : ถือว่าฉ้อโกง มีโทษเท่าย้ายเจดีย์ เพราะว่าเขาตั้งใจทำบุญ
    ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่ทำบุญให้ไปบูชาตะกรุด
    ถาม : สร้างพระแล้ว...(ไม่ได้ยิน)...แก้ไขอย่างไร ?
    ตอบ : คงแก้ไม่ได้แล้วเพราะสร้างเสร็จไปแล้วนี่ เหลืออย่างเดียวก็คือ หาทางชำระหนี้สงฆ์เอาก็แล้วกัน เพียงแต่ว่าโทษย้ายเจดีย์โดนไปเต็ม ๆ แล้ว
    ถาม : ถ้าสร้างพระหน้าตัก ๔ ศอกแทน จะแก้ได้ไหมครับ ?
    ตอบ : แก้ได้ไม่หมด ส่วนที่เป็นหนี้สงฆ์แก้ได้ แต่ส่วนที่เป็นโทษการย้ายเจดีย์
    ที่เราเอาเงินเขาไปทำอย่างอื่นนั้น แก้ไม่ได้
    ถาม : โทษย้ายเจดีย์ปรับเฉพาะพระหรือฆราวาสด้วยครับ ?
    ตอบ : ใครทำก็โดนทั้งนั้น
    ถาม : สองคนก็เกี่ยงกันว่าหน้าที่ใคร
    ตอบ : ปล่อย..เดี๋ยวลงข้างล่างก็รู้เอง..!
    ถาม : ถ้าเขาใส่ซองปัจจัยร่วมบวชพระ หรือร่วมเป็นเจ้าภาพบวชพระ
    แล้วเราเอาปัจจัยนั้นไปจ่ายค่าอาหาร ค่าน้ำ ให้กับแขกที่มาร่วมงาน
    จะได้ไหมครับ ?
    ตอบ : ปรับโทษเท่าย้ายเจดีย์
    ถาม : ก็เป็นเรื่องของงานบวชเหมือนกันนี่ครับ ?
    ตอบ : ทำกี่ครั้งก็ย้ายเท่านั้นครั้ง เขาตั้งใจบวชพระไม่ได้ตั้งใจเลี้ยงคน..!
    ฉะนั้น..เอาให้ชัดเจน ถ้าเขาบอกว่าเงินช่วยงาน ให้เราทำอะไรก็ได้
    แต่ถ้าเขาบอกว่าเงินบวชพระ อย่าเอาไปใช้ผิดงานเป็นอันขาด
    ถาม : แล้วเงินบวชพระส่วนนี้ควรจะถวายให้กับพระใหม่ กับวัด
    กับพระอุปัชฌาย์พระคู่สวดอย่างนี้หรือครับ ?
    ตอบ : อะไรที่เกี่ยวข้องกับการบวชทำไปเถอะ แต่ว่าอย่าให้หลุด
    ไปจากการบวช
    ถาม : โต๊ะจีนนี่ไม่เกี่ยวใช่ไหมครับ ?
    ตอบ : บอกแล้วว่าบวชพระ ไม่ได้เลี้ยงคน
    ถาม : ตอนสร้างพระปัจเจก เขาเอาซองไปเรี่ยไร เพื่อนเขาแต่ละสาย
    ก็เอาซองไปอีก ทีนี้เขาก็โทรมาบอกว่าเงินอยู่กับเขาหมื่นสอง
    แล้วเขาก็ยังไม่โอนเงินมาเสียที จะทำอย่างไรคะ ?
    ตอบ : ตามไปทวงสิจ๊ะ เรื่องของเงิน ถ้าหากว่าเขาระบุเจตนาแล้ว
    จะอย่างไรต้องทำให้เขาอย่างนั้นจ้ะ เพราะว่าคนเขาตั้งใจอธิษฐานมาแล้ว
    ถ้าหากทำผิดเจตนา ท่านปรับโทษเท่าย้ายเจดีย์ มีสิทธิ์ลงอเวจีแน่นอน
    ถาม : ตามทวงก็ไม่รู้จะไปตามที่ไหน ?
    ตอบ : ไม่ต้องหนักใจจ้ะ พระยายมท่านรู้อย่างแน่นอน
    ถาม : การนำปัจจัยจากบาตรวิระทะโย โอนไปร่วมทำบุญในลักษณะ
    ที่เป็นสายบุญหรือกองบุญ ทั้งในกรณีที่กระผมเป็นผู้นำสายบุญเอง
    และการที่กระผมไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสายบุญกับบุคคลอื่นนั้น
    เป็นสิ่งที่ทำได้หรือไม่ครับ ? และถือว่าการร่วมบุญในลักษณะนี้ จะได้อานิสงส์เฉกเช่นเดียวกับการนำปัจจัยจากบาตรวิระทะโย ไปร่วมทำบุญในวิหารทาน ธรรมทาน และสังฆทาน ตามที่หลวงพ่อฤๅษีลิงดำได้เมตตาชี้แนะไว้หรือไม่ครับ ?
    ตอบ : ต้องดูว่าตอนที่เขาหยอดบาตรตั้งใจจะทำอะไร ถ้าตั้งใจไว้แล้ว
    ทำผิดประเภท ก็เจอโทษย้ายเจดีย์อีก
    ถาม : ถ้าเราสร้างวัตถุมงคล หรือให้ประมูลวัตถุมงคล เพื่อนำเงินไปทอดกฐิน
    แต่ในประกาศเราไม่ได้แจ้งให้เขาทราบว่า จะนำเงินทั้งหมดทุกบาททุกสตางค์ไปทอดกฐิน เมื่อได้เงินมาแล้วเรานำเงินไปทอดกฐินแค่บางส่วนเท่านั้น เพราะถือว่ายังไม่ได้บอกว่าจะนำเงินทั้งหมดไปทอดกฐิน จึงเป็นสิทธิ์ของตนเองจะนำเงินไปทอดกฐินเท่าใดก็ได้ ในกรณีนี้เราจะมีโทษไหมครับ ? ถ้าผู้ร่วมบุญมีความตั้งใจว่าเงินที่ทำบุญมาทั้งหมดของเขาเป็นบริวารกฐิน ครับ
    ตอบ : ขอให้กิเลสจงเจริญ..! ระยะนี้มีคนทำบ่อย โดยเฉพาะในเว็บพลังจิต
    ประกาศให้บูชาวัตถุมงคลวัดท่าขนุน บางชิ้นราคาหลายหมื่นแต่มาทำบุญตรงนี้ ๑๐๐ บาท เขาประกาศว่า “ให้บูชาเพื่อเอาเงินไปทำบุญกับวัดท่าขนุน” ลักษณะอย่างนี้เล่นข้อหาฉ้อโกงได้ไหม ?
    ถาม : ได้ครับ
    ตอบ : ถ้าหากว่าทางโลกมือกฎหมายเขายืนยันว่า เล่นข้อหาฉ้อโกงได้
    ส่วนในทางธรรมนี่กิเลสจงเจริญ เสียท่าความโลภไปแล้ว ถ้าเขาตั้งใจทำบุญทั้งหมดยิ่งซวยหนักเข้าไปใหญ่ มีโทษเท่ากับย้ายเจดีย์ เอาของไประหว่างกึ่งกลางสงฆ์
    ถาม : แล้วประเภทว่าเขามีดอกจันนิดหนึ่งเขียนว่า
    *รายได้ส่วนหนึ่งหักไปทำบุญ แต่ไม่ได้บอกว่าทำเท่าไร ?
    ตอบ : มีหลายรายที่ทำแบบนี้
    ถาม : อย่างนี้โดนไหมครับ ?
    ตอบ : ถ้าเขาบอกเอาไว้ก็ไม่เป็นไร แต่ควรที่จะให้เห็นอย่างชัดเจน
    ไม่อย่างนั้นก็มีเจตนาหลอกลวงเช่นกัน
    ถาม : กระผมเคยกระทำการย้ายเจดีย์มาหลายรอบ
    เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อยากทราบว่ากระผมจะมีวิธีแก้ไขความผิด
    ที่แล้วมาได้อย่างไรครับ ?
    ตอบ : ย้ายที่วัดไหนก็ไปย้ายคืนซะ..!
    ถาม : มีโยมคนหนึ่งเขาไปคุยกับคนแก่คนหนึ่ง คนแก่คนนั้นบอกว่า
    เคยถวายเพลครูบาศรีวิชัย เลยอยากทำบุญถวายเพลครูบาศรีวิชัยบ้าง
    เขาเลยให้เงินไป บอกว่าขอร่วมบุญถวายเพลครั้งนั้นด้วย ไม่ทราบว่า
    โยมคนนั้น จะได้อานิสงส์ถวายเพลครูบาศรีวิชัยไหมครับ ?
    ตอบ : อาจจะลงนรกก็ได้ เพราะเขาเจตนาถวายครูบาศรีวิชัย
    แต่เป็นอดีตไปแล้ว ที่เขาให้มาแล้วเราจะรับไว้ได้ก็คืออนาคตที่จะต้องไปทำ
    แต่ถ้ารับมาแล้วอนาคตจะไปทำ ก็มีข้อแม้ด้วยว่าห้ามตายก่อน ไม่อย่างนั้น
    เราก็ซวยอีกเหมือนกัน
    ถาม : สมมติว่าผมไปทำบุญมาห้าพันบาท แล้วผมก็มาบอกเพื่อน ๆ
    แล้วเขาก็ร่วมทำกันมา ?
    ตอบ : เขาเจาะจงถวายครูบาที่มรณภาพไปแล้ว คุณไปขุดครูบาขึ้นมา
    รับเพลได้ก็เอาสิ..!
    ถาม : ถ้าเกิดว่าผมไปทำกฐินผ้าป่า แล้วคนอยากได้บุญ
    เขาก็ร่วมใส่ซองมาภายหลัง แล้วเงินนั้นเยอะกว่าที่ผมทำไป ?
    ตอบ : คุณก็หัวโตคนเดียว ทำได้ไม่เกินที่จำนวนที่เราทำไปเท่านั้น
    เพราะเท่ากับว่าตัดแบ่งส่วนของเราไป
    ถาม : แต่เราไม่ได้เอามาใช้ส่วนตัวนะครับ ?
    ตอบ : ไม่ได้ใช้ก็ต้องทำกฐินตามนั้นให้เขา แล้วถ้าเขาเจาะจงวัดมา
    ก็ยิ่งซวยหนักอีก เราไปถวายวัดอื่นก็เท่ากับย้ายเจดีย์
    ถาม : ถ้าเราทำแล้วเรารายงานผลเขาไป ?
    ตอบ : รายงานผลไม่ได้แปลว่าจะพ้นโทษ สำคัญที่ว่าทำถูกหรือทำไม่ถูก
    เราขโมยของแล้วรายงานตำรวจว่า “ฉันขโมยนะจ๊ะ” ตำรวจเขาคงจะปล่อยเราหรอก
    ถาม : ผมทอดไปแล้ว แต่เขาเอามาถวายทีหลังเอง ?
    ตอบ : นั่นเป็นปัญหาของคุณ ไม่ได้เกี่ยวกับอาตมา
    ไปแก้ไขกันเอาเองก็แล้วกัน
    ถาม : การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเพื่อร่วมบุญ เช่น สร้างพระ
    หรือวิหารทานต่าง ๆ เจ้าของบัญชีไม่สามารถนำเงินไปทำบุญตามที่เจ้าของบัญชีประกาศไว้ตามจุดมุ่ง หมายของคนโอนเงิน จะเป็นหนี้สงฆ์หรือไม่ครับ ?
    ตอบ : ถ้าไม่สามารถทำได้ อันดับแรกเป็นหนี้สงฆ์ก่อน
    อันดับที่สอง ถ้าไม่สามารถทำได้อย่างที่ประกาศไว้ แล้วเอาไปทำอีกอย่างหนึ่ง
    อันนี้ปรับโทษย้ายเจดีย์ด้วย เพราะฉะนั้น..เรื่องอย่างนี้ ถ้าไม่มั่นใจในศักยภาพ
    ของตัวเอง อย่าพยายามไปแตะเป็นอันขาด ถ้ามั่นใจเมื่อไรแล้วค่อยทำ
    ถาม : การที่เอาเงินทำบุญผู้อื่นไปทำให้เขาผิดประเภท
    สามารถสร้างพระชำระหนี้สงฆ์ได้ไหมคะ ?
    ตอบ : คนละโทษกัน โทษติดหนี้สงฆ์จึงจะสร้างพระชำระหนี้สงฆ์
    ส่วนโทษย้ายเจดีย์หมายถึงว่าทำบุญให้เขาผิดประเภท แก้กันไม่ได้
    ถาม : ไม่มีทางเลยหรือครับ ?
    ตอบ : ไม่มี
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม
    หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    วัดท่าขนุน จังหวัดกาญจนบุรี

    ที่มา https://www.facebook.com/photo.php?fbid=514793928696536&set=gm.437703226414539&type=3&theater
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2016
  5. Wanna Hoysin

    Wanna Hoysin สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +0
    กำลังหาคำตอบอยู่พอดี### ขอบพระคุณมากๆค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...