นิพพานธาตุ มีคุณสมบัติอย่างไร สามารถเป็นตัวผู้รู้ได้หรือไม่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Prasit5000, 16 กุมภาพันธ์ 2017.

  1. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ดังนั้น....ให้มามองที่ประเด็นที่ว่า.....มันไม่ไช่ความจริงของเรา
    ดีกว่าจะไปมองตรงประเด็นที่ว่า เขาด่าเรา เขาเยาะเย้ยเรา เขาถากถางเรา หรือ ทำให้เราไม่ชอบนะ ไม่พอใจนะ หงุดหงิดนะ โกรธนะ ...ตรงนี้ควรจะมองข้ามไป ดูว่า ตัวเราเป็นจริงตามที่คนอื่นกล่าวหรือไม่...ตรงนี้น่าจะช่วยได้มากกว่า การวางเฉย...นะครับ

    เพราะบางคน เขาว่าเราจริงตามจริง.โกรธในใจ...ก็วางเฉย ซะงั้น
    หรือไม่จริง โกรธในใจ แล้ววางเฉย....

    มันอาจเป็นสิ่งที่ ...ไม่ได้ทำให้ตัวตนเกิดการพัฒนา ก็ได้นะครับ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ตะเอง.............[ เรียกแบบห่างๆ จึงต้องใช้ระยางที่ยาวที่สุดสกิดด้วย ]

    ตะเอง เค้ามี ฟามจี จะบ่ แหละ

    ตะเอง จะฟังม้าย ว่าพรือ!?
     
  3. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ระยางของแก แขนรึขา อะไรยาวกว่ากัน...ฟะ...ขาแน่ๆ
    ม่ายยยยยยยย.............ฟัง
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    รุ ดะ งาย อะ

    ว่า จะ บ่ ว่า "........................." อึ้งเลย ดีนะ ผ่านวันที่ 14 ก.พ. มาแระ
     
  5. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    คุณวรณ์นิ ลองทำดูก่อน ได้ผลอย่างไรแล้วมาบอกด้วยแล้วกัน
     
  6. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +228

    .....ผมพูดให้คนที่เขาคุยกับผมฟัง เขาเข้าใจ จะมีคนเข้าใจหรือไม่ ช่างเถอะ ไอคิวของแต่ละคนไม่เท่ากัน อย่าคิดว่าผมเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของคุณ ผมไม่ต่ำถึงขนาดนั้นหรอก กากไป

    .....นิสัยหาเรื่อง คงเมายาละมั้ง
     
  7. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +228
    ....เท่าที่ผมอ่าน ท่านมาโพสแสดงความคิดเห็น ทำให้ได้ความรู้อย่างมากว่า แต่ละคนมีความคิดและเข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างไร

    .....คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ไม่มีนิพพานธาตุในตัวเรา

    ....มีบางคนคิดว่า นิพพานธาตุ ไม่มีในปุถุชน แต่สามารถมีได้ในคนที่ได้อบรมภาวนาจนถึงที่สุดแล้ว ตัวจิต จะกลายไปเป็นตัวนิพพาน

    ....บางท่านคิดว่า นิพพาน ใน จิต เจตสิค รูป นิพพาน นั้น นิพพาน เป็นแค่สภาพ หรือสภาวะเท่านั้น

    .....ถึงกระนั้นก็ตาม จะมีผมคนเดียว ที่คิดว่า นิพพานธาตุ เป็นนามธาตุที่อยู่ในร่างกายของเราทุกคน

    ....คุณ ณฉัตร ค้านว่า สัมปชัญญะ กับ ญาณ ไม่ใช่กริยาของ นิพพานธาตุ

    ....คุณ ณฉัตร น่าจะเป็นคนเดียวที่ ไม่เชื่อแต่ไม่กล่าวว่าร้ายผม ขอบคุณครับ

    ....ส่วนผม เชื่อว่า ญาณ กับสัมปชัญญะ คือกริยาของนิพพานธาตุ เพราะว่า ทั้งสองล้วน มีความหมายว่า เป็นการรับรู้

    ......การรับรู้ ถ้าไม่ใช่จิต แล้วจะเป็นการรับรู้ของอะไรเล่า ก็ต้องเป็นการรับรู้ของธาตุรู้อีกตัว

    ......การที่มีความเห็นตรง ย่อมจำเป็นต่อการภาวนา ถ้าเห็นว่า มีแค่จิต เป็นตัวผู้รู้ ท่านจะคิดว่า สัมปชัญญะ เป็นความรู้ของใคร
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    คำว่า รูป กับ นาม ในบาลีกล่าวในเชิงของ เซท

    รูป เปนสภาวะธรรมใดๆ ที่ทำกิจ รู้ ไม่ได้

    นาม เปนสภาวะธรรมใดๆ ที่ทำกิจ รู้

    ถ้าเรียนแบบ จับคำศัพท์

    อะไรเปน สภาพรู้ที่ไม่ใช่จิต เหมาเข่งเปน นิพพาน

    นี่แปลว่า พูดภาษาคน ไม่รู้เรื่อง
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    การจะตรวจว่า นิพพานธาตุ มีไหม

    เขาให้ดูที่เหตุ เหตุคือ สิ้นตัณหา อุปทาน ไหม

    ถ้าใช้เหตุ พิจารณา คนที่สิ้นตัณหา อุปทาน
    ยังจะต้องถามไหมว่า นิพพานธาตุ อยู่ไหน

    หากจิตมันขยับ จะบัญญัติ ให้เหนลงไปเลย
    นั่นแหละ ตัณหา อุปทาน ยังมี นิพพานธาตุเปน
    อันไม่ต้องไปหา เหตุไม่มี ผลจะเอาจากไหน
     
  10. คนไทยใครก้ได้

    คนไทยใครก้ได้ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +8
    ใครก้ได้ช่วยสรุปได้ไหมครับ เอาแบบง่ายๆ เหมือนคำจำกัดความสั้นๆ ตกลงว่า นิพพานธาตุ เป็นอย่างไรคืออะไร อยากรู้ขริงๆ
     
  11. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    ขอcopy paste ให้อ่านครับ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระ
    อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
     
  12. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ธาตุ

    โดยทั่วไป

    เมื่อเอ่ยถึง คำว่า “ธาตุ” คนทั่วไปจะนึกถึงลักษณะของสสารที่เป็นก้อน ที่สามารถจับต้องได้
    หรือ อย่างน้อยที่สุด เมื่อพูดถึง “ธาตุ” จะต้องตรวจสอบได้ว่า มีธาตุ ที่อ้างอยู่นี้ อยู่ในโลกนี้จริงๆ

    ในทางศาสนา

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    ได้ให้ความหมายของคำว่า “ธาตุ” ว่า

    ธาตุ คือ สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย
    __________________________________________________________

    มังคละมุนีวิจารณ์

    ในความเข้าใจโดยส่วนตัว ของผมเอง ผมเข้าใจว่า
    คำว่า “ธาตุ” หมายถึง การทรงไว้ซึ่ง ลักษณะเฉพาะ ของสิ่งนั้นๆ
    เช่น
    ๑. ลักษณะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ เรียกว่า ธาตุดิน
    ๒. ลักษณะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกว่า ธาตุน้ำ
    ๓. ลักษณะที่ทำให้ร้อน เรียกว่า ธาตุไฟ
    ๔. ลักษณะที่ทำให้เคลื่อนไหว เรียกว่า ธาตุลม
    ๕. ลักษณะที่ว่าง เรียกว่า อากาสธาตุ หรือ ธาตุว่าง
    ๖. ลักษณะที่รู้แจ้งอารมณ์ วิญญาณธาตุ หรือ ธาตุรู้

    และเมื่อจะกล่าวให้ครอบคลุมที่สุด ก็ จะเหลือเพียงแค่ ๒ธาตุเท่านั้น คือ

    ๑.สังขตธาตุ (สัง-ขะ-ตะ-ทาด) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ-เป็น ธาตุที่มีความเปลี่ยนแปลง
    ๒.อสังขตธาตุ (อะ-สัง-ขะ-ตะ-ทาด) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ-เป็น ธาตุที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลง

    แล้วเมื่อเอา จิต เจตสิก รูป นิพพาน นิยามลงใน สังขตธาตุ และ อสังขตธาตุ แล้วจะได้ว่า

    จิต เจตสิก รูป เป็น สังขตธาตุ
    นิพพาน เป็น อสังขตธาตุ

    สรุปคำว่า "ธาตุ" หมายถึง การทรงไว้ซึ่ง ลักษณะเฉพาะ ของสิ่งนั้นๆ

    แถมอีกนิด...
    พระผู้เฒ่า แถวบ้านผม ท่านเคยเทศน์ไว้ว่า “เพ่งอารมณ์เป็นสมถะ เพ่งธรรมลักษณะเป็นวิปัสสนา

    ________________________ จบเรื่องธาตุ ________________________
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2017
  13. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +228
    ....โพสหลังๆ นี้มีเนื้อหาความหมายน่าอ่านดีครับ

    ....ผมจะยกตัวอย่าง อุปมานะครับ เช่น นาก เป็นส่วนประสมระหว่าง ทองคำ ทองแดง และเงิน ถ้าถามว่า ถ้าเรามีนาก แล้วนากคือทองใช่หรือไม่ คำตอบไม่มีทอง มันเป็นนาก

    .....เช่นกัน ถ้านิพพานธาตุ ถูกโยงกับ ตัวจิตด้วย กิเลสสังโยชน์ ถามว่า มันเป็นนิพพานธาตุหรือไม่ คำตอบก็บอกว่ายังไม่ใช่ มันเป็นแค่ นามธาตุอันหนี่งที่ถูกโยงกับขันธ์ห้า

    .....ถ้า เราเอานากมาแยกธาตุ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ได้ ทอง ทองแดง เงิน ทีนี้เราก็จะ มีคนถามว่า เรามีธาตุทองใหม่ ก็ตอบว่ามี

    .....ถ้าเราเอาการตรัสรู้มาตัด กิเลสสังโยชน์ให้ขาด ตัว นิพพานธาตุ ก็แยกออกมา จากขันธ์ห้า (จิตอยู่ในขันธ์ห้านี้ด้วย) แล้วเราก็จะตอบว่า นี้แหละนิพพานธาตุ

    ....เหมือนที่คุณณฉัตร ยกพระสูตรมาอธิบาย พระอรหันต์ นั้นแหละมีนิพพานธาตุ ส่วนของเรามีแต่มันยังเรียกไม่ได้มันผสมกันอยู่
     
  14. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +228

    ....ดีมากเลยที่ยกพระสูตรมา
    .....ขณะพระอรหันต์ยังไม่มรณภาพ เรียกว่าท่านเหล่านั้นมี สอุปทิเสสนิพพาน
    .....ขณะพระอรหันต์ ดับขันธ์มรณภาพแล้ว จะยังคงเหลือ อนุปาทิเสสนิพพาน

    .....ผมเข้าใจพระสูตรนี้ว่าอย่างนี้ถูกหรือไม่ ถ้าไม่ถูก ที่ถูกเป็นอย่างไร

    .....ถ้าผมเข้าใจถูก ถามว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้น มาจากอะไร คงไม่ได้มาจากจิตแน่นอน

    ....ถ้าเราคิดว่า นิพพานธาตุ ไม่มีในตัวบุคคลแต่ละคนแล้ว พระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตแล้วจะเอา อนุปาทิเสสนิพพานมาจากใหน

    .....พระอรหันต์ เมื่อตายแล้ว แน่นอน ยังเหลือนิพพานธาตุ ใครไม่เชื่อแต่ผมเชื่อ
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    คุงปะสิ ต้องเอาสองโพส มาพินาร่วม

    โพสแรก ระบุว่า ปุถุชนมี อรหันต์ก้มี

    โพสที่สอง ระบุว่า ตายแล้ว! เชื่อเอาว่าเหลือ
    แค่กลับตัด ปุถุชนดื้อๆ

    ถ้าเอา สองโพสมา พินา

    ใช่หรือไม่ ที่ปุถุชนไม่เหลือ ทั้งๆที่ มี
    ก้เพราะ

    ปุถุชน ใช้เชื่อ ใช้การตีความ ไม่ได้
    ปฏิบัติทำฌาณ เพื่อการมี ธรรมจักษุ ในการเห็น จะจะ แบบ อรหัง(ผู้ไกลกิเลส อุปทาน เชื่อเอา)
     
  16. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ : ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ : เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    ผมตัดเฉพาะที่ไม่ตรงกันมาบทนี้ เพื่อพิจารณา

    ความจริงบทนี้ ผมอ่านหลายรอบก็ยังไม่เข้าใจเหมือนกัน เพราะคำว่า อินทรีย์ ๕ ในบทนี้ คือ อะไร

    เพราะอินทรีย์ มีอธิบายถึง อินทรีย์ ๒๒ เป็นรูป ๗ เป็นนาม ๑๔ เป็นทั้งรูปทั้งนาม ๑ (ชีวิตินทรีย์) ถ้าอินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็ยิ่งอ่านแล้วยิ่งงง แต่ถ้าหมายถึง จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ก็ยังแปลกใจตรงที่คำว่า อินทรียสังวร หมายถึง การสำรวมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งนับได้ ๖ ไม่ใช่ ๕ คือ ขาด "ใจ"

    เหตุใดพระสุตรในส่วนที่กล่าวถึง สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ จึงกล่าวแต่ อินทรีย์ ๕ และไม่กล่าวถึง อินทรีย์อื่นที่เหลือ คือ อิตถินทรีย์(ความเป็นหญิง) ปริสินทรีย์(ความเป็นชาย) ชีวิตินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ มนินทรีย์
    สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (ปัญญาที่เกิดร่วมกับโสตาปัตติมัคคจิต) อัญญินทรีย์ (ปัญญาที่เกิดร่วมกับโสตาปัตติผลจิต ถึง อรหัตตมัคคจิต) อัญญาตาวินทรีย์ (ปัญญาที่เกิดร่วมกับอรหัตตผลจิต)

    เหตุใดพระสุตรในส่วนที่กล่าวถึง อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ จึงไม่กล่าวถึง อินทรีย์ ๕ แต่กล่าวถึง เวทนา

    ผมได้พยายามหาอ่านก็ไม่ได้มีใครเขียนอธิบายไว้ ที่มีให้อ่านก็เป็นแต่โต้แย้งกันว่า พระสูตรนี้ หมายถึง พระอรหันต์ที่ดับขันธ์ กับพระอรหันต์ที่ไม่ดับขันธ์ หรือจะหมายถึง พระอรหันต์ที่ยังไม่ดับขันธ์ แต่แบ่งเป็นประเภทที่ยังรับรู้เวทนา กับประเภทที่เวทนาจะไม่เกิดขึ้นแล้ว

    ซึ่งการแปลความพระสูตรนี้ที่แตกต่างกัน จะมีผลต่อความเห็นของ จขกท โดยเฉพาะที่ จขกท พูดว่า "ถ้าเราคิดว่า นิพพานธาตุ ไม่มีในตัวบุคคลแต่ละคนแล้ว พระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตแล้วจะเอา อนุปาทิเสสนิพพานมาจากใหน"

    คำที่ จขกท ว่า พระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตแล้วจะเอา อนุปาทิเสสนิพพานมาจากไหน ก็เป็นอันว่าตั้งคำถามไม่ถูก เพราะถ้า นิพพานธาตุ ทั้ง ๒ ประการ มีความหมายที่ถูกต้องว่า เป็นธาตุที่พระอรหันต์ที่ยังไม่ดับขันธ์ (ภาษาชาวบ้าน คือ ยังไม่ตาย) เท่านั้น ไม่ได้พูดถึง สภาวะหลังดับขันธ์ของพระอรหันต์แต่อย่างใด

    ส่วนประเด็นที่ จขกท กล่าวว่า "ถ้าเราคิดว่า นิพพานธาตุ ไม่มีในตัวบุคคลแต่ละคนแล้ว พระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตแล้วจะเอา อนุปาทิเสสนิพพานมาจากใหน" นั้น เห็นว่า ลองตั้งคำถามในอีกมุมว่า ถ้าเราคิดว่า ธรรม ชื่อว่า เมตตา มีในตัวบุคคลแต่ละคนแล้ว เหตุใดบุคคลที่สิ้นชีวิตแล้ว ธรรมที่ชื่อว่า เมตตา ไม่นำพาบุคคลนั้นไปสู่สุคติได้ แต่ปล่อยให้โทสะ โมหะ โลภะพาบุคคลลงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เสีย ชื่อว่า ธรรม ที่ชื่อว่า เมตตามีในตัวบุคคลแต่ละคนแล้ว จะเป็นประโยคที่มีความหมายอันใดกัน

    นอกจากนี้ ที่ จขกท ว่า พระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตแล้วจะเอา อนุปาทิเสสนิพพานมาจากใหน
    ขอให้ จขกท พิจารณา ตรงนี้
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุง
    แต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว
    อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออก
    ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึง
    ปรากฏในโลกนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็น
    แล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัด
    ออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว
    จึงปรากฏ ฯ"

    ถ้า จขกท เห็นว่า ธรรมชาติที่เกิด คือ รูป จิต เจตสิก มีอยู่พร้อมกับ ธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว หรือนิพพานธาตุ มันไม่ขัดธรรมชาติไปรึครับ เหมือนท่านตอบคำถามแบบฟิสิกค์กลศาสตร์ควอนตัม แมวของชโรดิงเจอร์มันทั้งตายและไม่ตายในเวลาเดียวกัน ได้หรือไม่ เพราะยังไง ความจริงก็จะปรากฎเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ แมวตาย หรือไม่ตาย ไม่ใช่ทั้งเป็นและตายในเวลาเดียวกันในขณะเดียวกัน
     
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    เอา ตรงนี้เลย คุณ ณฉัตร

    สังเกต การเข้าไปบัญญัติ

    การเข้าไปบัญญัต มันจะเหมือน ตาข่าย

    ถ้า พยายามเข้าไปบัญญัติ มันจะพาไป ระบุว่าตาย ไม่ตาย และ ตายก็ไม่ใช่ไม่ตายก็ไม่ใช่

    ให้ยก ออกมาเห็นห่างๆ รวมเลย เรียกว่า " อาการเข้าไปบัญญัติ "

    ภาษาโบราณบางทีใช้คำว่า " เข้าไปส่วนสุด "

    " อาการเข้าไปบัญญัติ " เป็น สภาวะธรรมอย่างหนึ่ง เกิดที่จิต ดับที่จิต ให้สังเกตยกเป็น สภาวะธรรม

    ถ้าเห็นได้ ให้พิจารณาลงไปเลยว่า ขันธ์5ยังปรากฏในจิต อุปทานย่อมเกิด
    เมื่ออุปทานเกิด ทิฏฐิย่อมเกิด เมื่อทิฏฐิเกิด จิตย่อมเข้าไปส่วนสุด และ
    เข้าไปบัญญัติ

    ยกเห็นตัวนี้เข้ามา เรียกว่า อุธัจจะ มันขวางไว้ กำหนดรู้บ่อยๆ ไม่ห้าม

    สักพักจะเห็นได้ถึง สภาพผ่องใสก่อนเกิดทิฏฐิ กับ สภาพเกิดทิฏฐิแล้วมันเคลือบ
    ครอบงำจิต ภพเกิด ความเป็นสัตว์จะเกิด

    ทิฏฐิบางตัวเป็นอดีตบ้าง อนาคตบ้าง พอมันย้อมติดจิต สภาพจิตจะเคลื่อน
    ไปสู่ กริยาความเป็นสัตว์ ขึ้นมา

    พอเห็นตรงนี้ก็จะ อ๋อ ทำไมต้องสำรวมอินทรีย์5 ก็พอ

    ส่วนอินทรีย22เป็นเรื่องของ พวกมีอนุโลมญาณบางอย่าง ซึ่งก็คือ สภาพติด
    ข้องบางอย่าง ของพวกที่ภาวนาแบบละเอียดละออ ซึ่งไม่ได้เกิดจากการ
    ดำริจะเป็น แต่มันเป็นไปโดยปัจจัยการบางอย่างมันมีในจิต ก็ เมตตานั่นแหละ
    มหากรุณานั่นแหละ มันรั้งเอาไว้ แทนที่จะ อินทรีย5ก็พอแล้ว
     
  18. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    คุณ ณฉัตร.....อินทรีย์5...คือ...กาย..(ตาหูจมูกลิ้นกาย)....ซึ่งเวทนายังมีอยู่ ตั้งอยู่ ได้

    แต่...ความสิ้นไปแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ...มันสิ้นไปที่ใจ....และเวทนา มันก็ไม่สามารถไปมี ไปตั้งอยู่ที่ใจได้....

    ...
    เขา แยกแยะ รู้กระจ่าง แจ่มแจ้ง กัน แบบนี้ครับ...
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    อาสัย อำนาจ ที่กด like แปลว่า ยังอนุโลมตามได้อยู่

    ก็ขอพูดให้ ยิ่งๆ ขึ้นไปว่า

    จิตที่เป็นสุญญตา เปิดเผย ไม่มีนอก ไม่มีใน จะพร้อมกระทบ ผัสสะ จากขันธ์ภายนอก

    เมื่อขันธ์ภายนอก กระทบจิตที่เป็นธรรม อาการเข้าไปบัญญัติ จะ ก่อตัวขึ้น เป็น
    อาการที่เรียกว่า แสดงธรรมเทศนา [ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ ไม่มีใคร(อนุโลมใช้ ใคร ตามภาษาบัญญัติ เพื่อการสื่อสาร) เอาไปด้วยได้ เพราะเป็น ของกลาง ของโลก ]

    ดังนั้น

    ธรรม ไหลออกจาก เหตุ ส่วนไหน

    ถ้าบอกว่า จากจิตที่เป็นสุญญตา นี่ก็จะเรียกว่า พวกธรรมลามก

    เพราะจริงๆ อาหารที่เป็นผัสสะ ให้ธรรมไหลออก ยังเป็น วาสนาให้เกิด ชีวตินทรีย์
    มาจาก ขันธ์5 ในแว้นแคว้น

    นิพพานจึงชื่อว่า มีอยู่ตลอดเวลา แต่ที่ไม่เห็น เพราะ ไม่กำหนดรู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2017
  20. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    นิพพาน ...ไม่เห็น...เพราะไม่รู้...จะไม่ต้องไปกำหนดรู้ บ้าบออะไรเลย....
    ไม่เห็น ก็คือ ไม่รู้....เมื่อไม่เห็นแล้วจะไปกำหนดรู้ตรงไหน....

    นิพพาน ต้องเห็นคือต้องรู้....เมื่อเห็นแล้ว รู้แล้ว...ก็ไม่ต้องกำหนด..อะไรเลย

    เ..ฮ้อ
     

แชร์หน้านี้

Loading...