เรื่องเด่น หลวงพ่อวิริยังค์ สอนฝึกพลังจิตให้กล้าแกร่งรับพลังบุญ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สรวงพิมาน, 23 พฤษภาคม 2017.

  1. สรวงพิมาน

    สรวงพิมาน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2017
    โพสต์:
    326
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +267
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 พฤษภาคม 2017
  2. สรวงพิมาน

    สรวงพิมาน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2017
    โพสต์:
    326
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +267
    rzmeditation21.jpg
     
  3. สรวงพิมาน

    สรวงพิมาน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2017
    โพสต์:
    326
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +267
    rzmeditation8.jpg
     
  4. สรวงพิมาน

    สรวงพิมาน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2017
    โพสต์:
    326
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +267
    ก่อนจะเดินจงกรม และ นั่งสมาธิ จะต้องหาฐานที่ตั้งของจิตก่อน.....

    - ฐานจิต คือ ที่อยู่ของจิต เช่น สมมุติว่าเรานำความรู้สึกมาใว้ที่หน้าผาก จิต (ตัวรู้) จะอยู่ที่หน้าผาก และหน้าผาก คือฐานที่ตั้งของจิต ถ้านำความรู้สึกมาอยู่ที่สะดือ จิตก็อยู่ที่สะดือ

    - เวลาฝึกสมาธิ เราจะพยายามให้จิตอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ไม่ส่ายแส่ไปไหน

    - ดังนั้นจึงต้องหาฐานจิตที่กำหนดง่ายที่สุดสำหรับแต่ละคน

    - พระอาจารย์หลวงพ่อแนะนำฐานที่ตั้งของจิตใว้ 3 ที่ คือ

    1. หน้าผาก

    2. หัวใจ หรือ หัวอกด้านซ้าย

    3. สะดือ

    %E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B421.png

    วิธีหาฐานจิต

    1.หลับตา

    2.ทดสอบกำหนดจิตไปไว้ที่จุดใดจุดหนึ่งใน 3 จุด แล้วหาว่าจุดไหน กำหนดไปง่ายสุด สบายที่สุด สำหรับบางท่าน เมื่อกำหนดจิตไปไว้ที่ฐานได้แล้ว จะมีความรู้สึกเหมือนมีอะไร เบาๆ มาแตะหรือกดเบาๆ

    (การกำหนดจิต คือ การนึก หรือเอาความรู้สึกของเรา ไว้ที่ตรงนั้น)


    3.เลือกฐานจิตที่ดีที่สุดไว้ 1 ฐาน สำหรับเวลาทำสมาธิ

    4.เวลาเดินจงกรม หรือนั่งสมาธิ ควรจะกำหนดจิตไปไว้ที่ฐานจิต พยายามไม่ให้จิตส่ายแส่ไปไหน จากนั้น นึกคำบริกรรม พุทโธ เพื่อช่วยกรองอารมณ์

    จิตเป็นหนึ่ง คือ กุญแจของการทำสมาธิ การบริกรรม จะทำให้จิตเป็นหนึ่ง


    ยิ่งจิตเป็นหนึ่งได้มากเท่าไร ก็จะเป็นสมาธิมากเท่านั้น ยิ่งเป็นสมาธิมาก จิตจะผลิตพลังจิตมาก

    หลายคนชอบคิดว่า การฝึกสมาธิ จิตจะต้องนิ่งสงบ พอเดินจงกรม หรือ นั่งสมาธิแล้ว จิตไม่สงบก็เลิกทำ แต่จริงๆ แล้ว จิตไม่สงบ เป็นเรื่องปกติของทุกคน แค่นึกพุทโธได้ ก็เริ่มเป็นสมาธิแล้ว

    ดังนั้น ระหว่างเดินจงกรม หรือ นั่งสมาธิ ถ้าจิตไม่สงบ ก็นึกพุทโธต่อไป จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด

    ★★ การเดินจงกรม เป็นการฝึกสมาธิตื้น ส่วนการนั่งสมาธิ เป็นการฝึกสมาธิลึก ทั้ง 2 จะต้องทำควบคู่กัน การฝึกสมาธิถึงจะสมบูรณ์ ★★

    zen1.jpg

    การเดินจงกรม


    1. กำหนดเส้นทางเดินจงกรม (ทางเดินยาวประมาณ 3 - 6 เมตร)

    2. ยืนที่จุดเริ่มต้นทางเดินจงกรม จากนั้น พนมมือ แล้วกล่าวคำอธิษฐานเดินจงกรม ว่า.....

    ” เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พุทโธ พุทโธ พุทโธ สาธุ ”


    3. ใช้มือขวาจับมือซ้าย ห้อยมือสบาย ไม่เกร็ง

    4. กำหนดจิตไว้ที่ฐานจิต ตามองทางเดินจงกรม ไกลกว่าตัวประมาณ 1.5 - 2 เมตร (ไม่ควรหลับตาเดินจงกรม)

    5. เริ่มบริกรรมอยู่ในใจ โดยนึกพุทโธไปที่ฐานจิต พยายามอย่าให้จิตส่ายแส่ไปที่อื่น หรือ นำความรู้สึกเหมือนกดลงไปที่ฐานจิต ไม่แรง และ เบาจนเกินไป

    พร้อมทั้ง บริกรรม พุทโธ ไปที่ฐาน นึกพุทโธ อย่างมีสติ อย่านึกแบบนกแก้วนกขุนทอง พร้อมก้าวเท้าขวาเดิน ตามด้วยเท้าซ้าย ไม่เร็ว หรือช้าจนเกินไป

    ไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไร ก็ฝึกสมาธิด้วยวิธีนี้ได้ทั้งสิ้น และไม่จำเป็นต้องบริกรรม พุทโธ จะบริกรรมด้วยคำอะไรก็ได้

    6. เมื่อเดินสุดทางจงกรม ให้ค่อยๆ หมุนตัวกลับทางขวา ยืนทรงตัวตรง แล้วจึงเริ่มก้าวด้วยเท้าขวา เหมือนตอนเริ่มต้น

    7. เมื่อครบตามเวลาที่กำหนด ให้แผ่เมตตุตาในใจ ว่า.....

    ”สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด สาธุ”

    [​IMG]


    วิธีนั่งสมาธิ

    1. นั่งขาขวาทับขาซ้าย ตั้งกายตรงอย่างสบายๆ

    2. พนมมือระหว่างอก แล้วกล่าวคำอธิษฐานสมาธิ ว่า.....

    ”ข้าพเจ้า ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ จงมาดลบันดาล ให้เจ้าของข้าพเจ้า

    จงรวมลงเป็นสมาธิ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ
    พุทโธ พุทโธ”


    3. เอามือลงวางบนตัก มือขวาทับมือซ้าย หลับตาเบาๆ จากนั้น บริกรรม พุทโธ พุทโธ ในใจจนกว่า จะเลิกตามเวลาที่กำหนด

    - ทุกครั้งที่นั่งสมาธิ ให้ตั้งคำถามตัวเองว่า ใครคือผู้รู้ 1 ครั้ง หลังจากบริกรรมไปได้ซักพัก จากนั้น บริกรรมต่อไป

    - อาการต่างๆ เช่น จิตสงบ เยือกเย็นสบาย ผ่องใส เบาปลอดโปร่ง มีแสงเกิด หรือมีรูปภาพต่างๆ ระยิบระยับ รู้สึกเหมือนตัวหาย ลืมหายใจ พุ่งลอย เมื่อเกิดขึ้น ต้องหยุดคำบริกรรม

    แล้วกำหนดจิตใว้ที่รู้ คือ รู้ตรงไหนก็ตั้งใว้ตรงนั้น ถ้าเมื่อไร มีอารมณ์กลับมาคิดอีก ก็ให้กลับมาบริกรรมใหม่

    4. หลังจากนั้น ให้ตั้งใจสวดแผ่เมตตาพิเศษ ดังนี้.....

    “สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ, อะเวรา สุขะ ชีวิโน ขอให้สัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีเวรต่อกันและกัน

    จงเป็นผู้ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อเถิด กะตัง ปุญญัง ผะลัง มัยหัง , สัพเพ ภาคี
    ภะวันตุ เต

    ขอให้สัตว์ทั้งสิ้นนั้น จงเป็นผู้มีส่วนได้เสวยผลบุญ อันที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนั้น เทอญ”


    .....................................................................................................................................

    http://www.yuzuhealthy.com/14885273/ฝึกสมาธิเพื่อเพิ่มพลังจิต
     
  5. สรวงพิมาน

    สรวงพิมาน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2017
    โพสต์:
    326
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +267
    จุดประสงค์ของการทำสมาธิ

    - เพื่อผลิต และ สะสมพลังจิต ไม่ใช่เพื่อความสุข ความสบาย หรือ ความซาบซ่าน

    - ถ้าเปรียบเทียบการทำสมาธิ กับการรับประทานอาหารแล้ว จุดประสงค์ของการรับประทานอาหาร เพื่อต้องการสารอาหาร และ พลังงาน ส่วนความอร่อย เป็นแค่ผลพลอยได้

    - ความสุข ความสบาย ความเอิบอิ่ม ความซาบซ่านฯ เป็นเพียงผลพลอยได้จากการทำสมาธิเท่านั้น เพราะอาการเหล่านั้น คือ อาการหนึ่งเวลาเข้าฌาน

    - ถ้าเปรียบเทียบพลังจิต กับเงินแล้ว การฝึกสมาธิ เปรียบเสมือนการทำงานหาเงิน

    nature-landscape-starry-night-milky-way-galaxy-sea-coast-720P-wallpaper.jpg

    พลังงานที่ได้จากการทำสมาธิ

    พลังจิตที่สร้างขึ้นจากการทำสมาธิในแต่ละครั้ง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

    1. พลังจิตสะสมไม่สูญสลายตัว (ประมาณ 60 % ของพลังจิตที่สร้างขึ้น)

    2. พลังจิตสำหรับการใช้งาน (ประมาณ 40 % ของพลังจิตที่สร้างขึ้น)

    ความสำคัญของพลังงาน

    - เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ต้องใช้พลังงาน

    - เมื่อใดพลังงานใก้ลหมด ร่างกายจะทำงานได้ไม่สมประกอบ

    - และเมื่อใดพลังงานหมด จะมีชีวิตอยู่ต่อไม่ได้

    - พลังจิต เป็นพลังงานรูปหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์มาก

    - เมื่อมีพลังจิตเพียงพอ จะสามารถดำเนินวิปัสสนา ให้เกิดวิปัสสนาญาณได้

    พลังงานจะสูญเสียไป ได้จากอะไรบ้าง?

    - จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำงาน ออกกำลังกาย ขับถ่าย ย่อยอาหาร ฯ

    - การใช้ความคิดในการทำงานต่างๆ

    - นั่งสมาธิเข้าอรูปฌาน (5-8)

    - การดำเนินวิปัสสนาในฌาน

    ................................................................................................................................

    http://www.yuzuhealthy.com/14885273/ฝึกสมาธิเพื่อเพิ่มพลังจิต
     
  6. ครูเรือง

    ครูเรือง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2010
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +686
    การศึกษาธรรมะนี้ ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในช่วงกลาง และไพเราะในปั้นปลาย
    ภาษาธรรมะนี้ เป็นภาษาปฏิบัติ ไม่ใช่ภาษาพูด ไม่ใช่ภาษาเขียน ขออนุโมทนา สาธุ ครับ
     
  7. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    อนุโมทนาสาธุค่ะ

    การหยุดคิด คือ การสะสมพลังจิต
    การใช้ความคิด คือ การใช้พลังงานของจิต

    ยิ่งคิดด้วยอารมณ์ ยิ่งสูญเสียพลังจิตมาก
    การมีสมาธิ เป็นการผลิตพลังจิต
    พลังจิตยิ่งมีมากเท่าไหร่
    พลังการหลุดพ้นยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2017
  8. สรวงพิมาน

    สรวงพิมาน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2017
    โพสต์:
    326
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +267
     
  9. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ถ้าฐานของจิตในร่างกายจะคือ
    ต่ำแหน่งที่จิตเรามันเเกิดครับ
    (เกิดคือเมื่อมีอะไรมาปรุงร่วม)

    ส่วนการย้ายจิตไปอยู่ในร่างกาย
    สามารถไปอยู่ในต่ำแหน่งไหนๆได้หมด
    แต่ละตำ่แหน่งให้ผลต่างกันครับ
    แต่จะไปแป๊กได้ในระดับฌาน ๑
    แต่ถ้าทำบ่อยๆ ก็จะเกิดเป็นกำลัง
    สมาธิสะสมในระดับใช้งานได้เพียง
    พอต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
    และเพียงพอที่จะแยกรูปแยกนาม
    และเดินปัญญาได้ครับ.
    ส่วนตัวเคยฟังท่านสัมภาษณ์
    เข้าใจว่า กำลังจิตที่ท่านสื่อ
    ทางกิริยาหมายถึง การนำผลของ
    สมาธิที่ได้จากการไปจดจ่อในตำ่แหน่ง
    ใดๆก็ตาม เป็นระยะเวลาหนึ่งจนเกิด
    เป็นสมาธิสะสมเพียงพอที่จะนำมาใช้
    งานในขีวิตประจำวันได้ครับ
    ซึ่งยังมีการเสื่อมได้ครับ

    ส่วนสมาธิใช้งานที่แท้จริงต้องเป็นสมาธิ
    ที่ไม่ใช่วิธีการใดๆเข้าไปกระทำครับ

    ส่วนกำลังจิตนั้นคือ ตัวจิตที่มีกำลัง
    จากการออกกำลังกายให้ตัวจิต
    หรือปั่นปฎิภาคนิมิตในระดับสูงได้มาก่อน
    ซึ่งจะทำให้จิตทำอะไรที่พิเศษได้ครับ

    ส่วนการจะทำได้แค่ในนั้น ขึ้นอยู่กับกำลัง
    สมาธิใช้งาน(กำลังสมาธิใช้งานได้)

    กำลังจิตไม่เสื่อมตามสภาพร่างกายนะครับ
    กำลังสมาธิใช้งานยังไงก็เสื่อมได้ถ้ายังติด
    วิธีการและถ้าไม่รู้จักปล่อยวางครับ

    และสมาธิจะพัฒนาถึงระดับสูง
    จนเกิดเป็นกำลังจิตทำอะไรพิเศษไม่ได้
    ถ้ายังมีการย้ายจิต((กำหนดไปยังต่ำแหน่งที่ไม่ใช่ฐานหรือต่ำแหน่งที่จิตมันเกิดครับ))

    ปล อย่าหลงประเด็นนะครับ ท่านสอนทางกิริยาคือ การนำสมาธิสะสมที่ได้จากแนวทางฝึกของท่าน เพื่อนำสมาธิสะสมที่ได้มาใช้งานครับ แต่ท่านจะเรียกว่ากำลังจิตก็แล้วแต่ท่านจะเรียกครับ ให้ดูเจตนาครับ

    และกำลังระดับนี้เพียงพอที่จะเดินปัญญาได้

    แต่การนำไปสู่การหลุดพ้นได้เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ ยังต้องว่าด้วยปัญญาและปัญญานญานอีกครับถึงจะพ้นได้ อย่าหลงประเด็นนะครับ

    ทางกิริยากำลังจิต
    คือตัวจิตที่ทำอะไรพิเศษได้ครับ
    ซึ่งสัมพันธ์กับกำลังสมาธิสะสม
    ยังไม่เกิดปัญญาเพื่อการหลุดพ้นนะครับ

    จะเกิดปัญญาหลุดพ้นต้องระดับปัญญาญาน
    ซึ่งต้องมีกำลังสมาธิสะสม หรือจะมีกำลังจิตก็ได้ หรือสองอย่างก็ได้ และต้องมาเดินปัญญาจนกระทั่งเกิดปัญญาญานครับ

    ดูตัวอย่างพระมหาฤาษีที่เคยเป็น
    อาจารย์สอนสมาธิก่อนเจ้าชาย
    จะเป็นพระพุทธฯเทียบเคียงดูครับ

    ไม่งั้นเราะจะหลงได้ว่า
    แค่เรามีกำลังสมาธิ
    สะสมใช้งานได้ หรือแค่มีกำลังจิต
    เราจะหลุดพ้นได้แล้วครับ
    มันมีอะไรๆมากกว่านี้อยู่ครับ
    พึ่งพิจารณาให้ดีๆครับ
     
  10. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    พลังจิต พลังของจิต จิตที่มีพลังงานสูง
    จิตที่มีพลังจิตสูง คือจิตที่เบาบางจากกิเลส
    ที่สามารถพาตนเองไปสู่ชั้นภพภูมิที่สูงที่สุดได้(ประมาณนี้ค่ะ)
    หรือสามารถพาตนเองดีดลอยตัวไปในชั้นบรรยากาศโลกที่สูงสุดได้

    อธิบายเพิ่มเติมลักษณะเปรียบเทียบค่ะ

    พลังจิตจึงไม่ใช่ของการมีสมาธิอย่างเดียว
    พลังจิต หมายถึง จิตที่มีพลังงานสูง
    จิตที่มีพลังงานสูงได้จึงหมายถึงจิตที่เบาบางจากกิเลส

    หรือ หมายถึง จิตที่มีกำลังในการฝ่าฟันกับกิเลสนะคะ
     
  11. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    เด่วอ่านที่เขียนให้ฟังดูก่อนนะครับ
    เพื่อจะเข้าใจหรือเห็นมุมมองอะไรมากขึ้น
    ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์นะครับ

    จิตที่พลังจิตสูง คือ จิตที่ได้รับการฝึกฝนมา
    อย่างน้อยต้องปั่นปฎิภาคนิมิตได้ในกำลัง
    สมาธิระดับสูงมาก่อนครับ แต่ไม่ได้เป็นตัวยืนยันว่า
    จิตที่มีพลังจิตสูงนี้ จะเบาบางจากกิเลสนะครับ....
    แต่ความสามารถทำอะไรได้ พิเศษบางอย่างได้
    (ย้ำว่าบางอย่าง)
    เป็นตัวชี้วัดระดับกิเลสที่เบาบางได้


    ไม่งั้นเราจะไม่ได้ยิน เรื่อง การใช้กำลังจิตในทางที่ผิดๆ
    เช่น ทำคุณไสย์ เล่นของ ฯลฯ เข้าใจนะครับ....
    และจะไม่พบว่า พวกที่อ้างตัวว่ามีความสามารถพิเศษ
    มีกำลังจิตอะไรเหล่านั้นบางท่าน
    ถึงได้ มีทั้ง ลาภ ทั้งยศ ทั้งสุข
    ทั้งสรรเสริญ เข้าใจนะครับ

    คำว่า กิเลส จะอธิบายให้ฟังอย่างนี้นะครับ
    ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ พวกนี้ไม่ใช่กิเลส
    แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วภายนอกเป็นปกติครับ
    แต่ตัว โทสะ โมหะ โลภะ ที่อยู่ภายในจิตเรานั้น
    (ซึ่งเราจำเป็นต้องมาเดินปัญญาเพื่อคลายพวกนี้ออก)
    ที่มันจะไปดึง เอา ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ จากภายนอก
    เข้ามาจนกลายเป็นตัวเรา ตัวนี้คือ กิเลส นะครับ

    ดังนั้น สมาธิสะสมใช้งานได้จริง กำลังจิตสะสมใช้งานได้จริง
    เป็นเสมือนเพียงกองกำลัง ที่เราจะใช้ต่อสู้ เพื่อไม่ใช้
    จิตเรามันไปดึง ลาภ ยส สุข สรรเสริญเข้ามาเท่านั้นครับ
    ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องมีครับ......

    แต่มันไม่ได้บอกได้ว่า ถ้าเรามีทั้งสมาธิ ทั้ง กำลังจิต
    ตัวจิตเรามันจะเบาบางจากกิเลสได้ครับ

    เพียงแต่ว่า ในระดับสมาธิใช้งานได้จริงหรือในระดับ
    กำลังจิตใช้งานได้จริง ประเภทที่ไม่มีเสื่อม(ย้ำว่าไม่เสื่อม
    และไม่ขึ้นอยู่กับร่างกายนั้น) การพัฒนาของสมาธิ
    และกำลังจิตจะเป็นไปตามลำดับ ขึ้นอยู่กับว่า
    ตัวจิตนั้นๆ สามารถที่จะตัดตัว โทสะ โมหะ โลภะ ที่มี
    อยู่ในจิต ที่จะไปดึงเอา ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ
    ได้มากน้อยแค่ไหน จนกระทั้ง จิตคลายตัวได้ชั่วขณะ
    (คือ จิตไม่เกาะกับอะไรเลย และขยายตัวเอง ไม่เป็นวงกลม)
    ก็จะมีการพัฒนาสมาธิกำลังจิตได้ของมันเอง
    ตามแต่ระยะเวลาที่จิตคลายตัวเองได้

    ซึ่งการที่จิตจะคลายตัวได้ เราต้องเริ่มที่ปัญญาทางธรรมก่อน
    ที่จะตัด สิ่งต่างๆภายนอกเหล่านั้นให้ได้ ย้ำว่าตัดได้
    แต่สิ่งต่างๆภายนอกก็จะยังมาเรื่อยๆ เพราะมันมีของมันเป็น
    ปกติครับ...ดังนั้น นอกจากปัญญาทางธรรม สมาธิ หรือ
    ถ้าใครมีกำลังจิตมันจะยังไม่พอครับ
    (ในอดีตเราจึงพบว่า ต่อให้ยอดนักสมาธิ
    นักกำลังจิต ไม่ได้ประกันว่า ท่านนั้นจะกิเลสเบาบาง
    หรือว่าท่านนั้นจะหลุดพ้นได้ครับ)
    มันต้องไปถึง ปัญญาญาน ที่จะรู้และเข้าใจ กระบวนการ
    เกิดของ สิ่งต่างๆภายนอกเหล่านั้น ที่เราเคยดึงมันเข้ามา
    จนเป็นกิเลส จนจิตเห็นว่า ภายนอกเหล่านั้น ทำให้จิต
    เป็นทุกข์ เป็นสาเหตุของทุกข์ จนกระทั้งจิตมันไม่อยากเกิด
    เราถึงจะมีโอกาศพ้นได้ครับ


    ปล. ถามมาสมาธิสะสมใช้งานได้จริง
    กำลังจิต มีประโยชน์ไหม มีประโยชน์หมดนั่นแระครับ
    แต่เราควรใช้ มันเพื่อให้เป็นไปเพื่อการ ละ คลาย วาง
    ตัว โทสะ โมหะ โลภะ ที่จะไปดึงเอาลาภ ยศ สุข สรรเสริญ
    จากภายนอกเข้ามาครับ. พูดให้ดูหล่อๆก็คือ
    ใช้เพื่อเป็นฐานในการนำไปสู่การหลุดพ้น
    หลุดพ้นคือ หลุดพ้น จากการไปยึดเอาสิ่ง
    ต่างๆ ที่เป็นเชื้อที่ส่งผลให้จิตเราต้อง
    เวียนว่ายตายเกิดอีกนั่นเอง.......

    ปล.จิตมีกระบวนการเกิด ๕ ขั้นตอน
    คือ ๑.เป็นวงกลมและออกนอกกาย
    ๒.เป็นวงกลมและอยู่ในกายได้
    ๓.กำลังเป็นวงกลม
    ๔.หมุนคล้ายก้นหอย
    ๕.กำลังผุดขึ้นมา
    พวกนี้เห็นได้จากการเจริญสติครับ
    แต่ถ้าอายุมาก ผ่านการทำงานมาแล้ว
    ภูมิต้านทานจิต มีมากกว่าปกติ
    ท่านจะไม่เห็น ข้อที่ ๔ และ ๕ ซึ่งเป็นเรื่องปกติครับ
    ดังนั้น ถ้ามาพูดเรื่องฐานที่จิตเกิด ท่านจะไม่เข้าใจ...
    จะงงๆหรืออาจสัมผัส ฐานของจิตที่ลิ้นปี่ไม่ได้
    และไม่สามารถสัมผัส การเต้นตุ๊บๆตรงนี้ได้
    ซึ่งเป็นเรื่องปกติครับ

    เข้าใจหรือยังว่า ทำไม หลวงพ่อ ท่าน ถึงต้องมีการ
    กำหนดฐานของจิตก่อน...
    เข้าใจที่สื่อนะครับ ( ^_^)
     
  12. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ พลังจิตตามสภาวะธรรม จริง ๆ แล้ว มันคือ "พลังงานที่ทำให้ วิญญาณขันธ์ ดำรงค์อยู่" นั่นแหละ

    +++ "พลังงานที่ทำให้ วิญญาณขันธ์ ดำรงค์อยู่" นั้น คือ ธรรมารมณ์
    +++ ตามอาการของมัน "จิตที่มีพลังงานสูง คือ จิตที่มีอาการของ ธรรมารมณ์ ควบแน่น" (ตรงนี้ เป็น ความจริง)
    +++ อาการตามความเป็นจริง คือ "จิตที่มี สติเป็นองค์ประกอบสูง คือจิตที่เบาบางจากกิเลส"
    +++ "จิตที่มีสติเป็นองค์ประกอบสูง ย่อมเบาบางจากกิเลส" และอาการของ "จิตเบา" จะสามารถพาตนเองดีดลอยตัวไปในชั้นบรรยากาศโลกที่สูงสุดได้ (พลังจิตที่เป็น ธรรมารมณ์ควบแน่น ไม่สามารถที่จะ "สัมปะยุตติ์" กับตัวเนื้อของ อวกาศธาตุ ได้)
    +++ สมาธิ คือ "อาการตั้งมั่น" ไม่ว่าจะเป็นของ "จิต หรือ สติ" ก็ตาม
    +++ พลังจิต หมายถึง จิตที่มี ธรรมารมณ์ ควบแน่นสูง (ธรรมารมณ์ ในยามควบแน่น นับว่าเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง เทียบเคียงกับลักษณะของ พายุหมุน ได้)
    +++ ตามความเป็นจริง "จิตที่มี สติเป็นพี่เลี้ยงได้ จึงจะเป็นจิตที่เบาบางจากกิเลส"
    +++ ตามความเป็นจริง "จิตที่มีกำลังในการฝ่าฟันกับกิเลส" คือ "จิตที่มี สติ เป็นพี่เลี้ยงอยู่ตลอดเวลาที่ ฟ่าฟันกับกิเลส" นั่นเอง


    +++ หากคุณรู้จัก "พลังจิต ตามความเป็นจริง" รวมถึง ปรากฏการณ์ในการ "ก่อตัวของพลังจิต" มาก่อน

    +++ ก็ให้คุณลอง "พิจารณาเทียบเคียง การใช้ภาษา" ระหว่าง ของคุณกับของผมว่า "ณ อาการเดียวกัน แต่ ใช้ภาษาต่างกัน" นั้น ผลลัพธ์ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อ พุทธศาสนิกชนในวงกว้าง นั้น จะเป็นอย่างไร นะครับ
     
  13. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    รูปภาพที่นำมาประกอบ อาจทำให้ผู่อ่านเข้าใจผิดได้ว่า พระอาจารย์หลวงพ่อ ท่านสอนให้นั่งแบบนี้ ควรหารูปภาพที่ถูกต้องจะเหมาะสมกว่าครับ ขออนุโมทนาครับ
     
  14. สรวงพิมาน

    สรวงพิมาน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2017
    โพสต์:
    326
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +267


    ภาพประกอบนำมาจาก http://www.yuzuhealthy.com/14885273/ฝึกสมาธิเพื่อเพิ่มพลังจิต

    ผู้จัดทำ website ต้นฉบับ คงมีเหตุผลของตนเอง จึงนำภาพดังกล่าวมาใช้ ทางด้านเจ้าของกระทู้ เป็นผู้นำมาเผยแพร่อีกต่อหนึ่ง ไม่ใช่ผู้จัดทำ website ต้นฉบับ หากมีข้อท้วงติงประการใด โปรดติดต่อไปยัง ผู้จัดทำ website ต้นฉบับ ที่ www.yuzuhealthy.com หรือ line id : yuzuhealthy
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2017
  15. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +708
    สาธุครับ
     
  16. สรวงพิมาน

    สรวงพิมาน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2017
    โพสต์:
    326
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +267
    สมาธิขั้นสุดยอด




    พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาเดียว ที่สอนให้คนละกิเลสทั้งหมด เพื่อความสุขในระยะยาว ศีล สมาธิและปัญญา ล้วนแต่เป็นเครื่องมือในการละกิเลส

    คนเราเดือดร้อนเพราะกิเลส พอกิเลสทั้งหมด ถูกนำออกไปจากใจได้ ความสุขก็ตามมา

    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ท่านอธิบายว่า...เมื่อฝึกสมาธิขั้นสุดยอดแล้วจะได้ความสุข เรียกว่า ความสุขที่ไม่อิงอามิส

    เมื่อฝึกสมาธิอย่างจริงจังแล้ว ความสงสัยจะหมดไป จะเลิกยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไร้สาระ เลิกดูหนัง ดูละคร เลิกคบเพื่อนที่ไม่ดี เลิกอบายมุข ฯ
    แต่จะมุ่งสมาคมกับกัลยาณมิตร ที่ฝึกสมาธิอยู่ด้วยกัน
    ................................................................................................................

    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
     

แชร์หน้านี้

Loading...