เรื่องเด่น พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า “ปาฏิหาริย์มีจริง แต่แบบไหนละที่ดีต่อชาวพุทธ” ท่านเจ้าพระคุณประยุทธ์!!! เมตตาเฉลยไว้

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 21 กรกฎาคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    ป. อ. ปยุตฺโต-พลังจิต-1.jpg


    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้เคยบรรยายธรรมในหนังสือ "คำถามสำหรับชาวพุทธ (สำรวจตัวเองก่อนปฏิบัติธรรม)" เพื่อเป็นแนวทางที่ถูกต้องในเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสเกี่ยวกับ “ปาฏิหาริย์” ในรูปแบบต่างๆ ว่าเป็นเช่นไร และแบบไหนจึงเรียกปาฏิหาริย์ที่เป็นแบบที่แท้จริง น่านับถือมากที่สุด สมควรยกย่องเรียนแบบอย่างยิ่ง ปาฏิหาริย์นั้นพระพุทธเจ้าสอนไว้ว่ามี ๓ อย่าง คือ

    ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นปาฏิหาริย์ในเรื่องฤทธิ์ คือการแสดงฤทธิ์หรือความเป็นผู้วิเศษ ดลบันดาลอะไรต่าง ๆ เหาะเหินเดินอากาศ หูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น

    ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือการทายใจได้ ทายใจโยมได้ว่า อ้อโยมกำลังคิดเรื่องนี้ โยมกำลังคิดว่าหลังจากฟังธรรมนี้แล้วจะไปโน่น หรือว่าฟังองค์แสดงธรรมแล้ว คิดต่อองค์แสดงธรรมว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อะไรทำนองนี้ คือทายใจได้อันนี้เรียกว่าอาเทศนาปาฏิหาริย์

    ๓. อนุศาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือคำสอนที่เป็นอัศจรรย์ คำสอนที่แสดงความจริงให้ผู้ที่ฟังรู้เข้าใจ มองเห็นความจริงเป็นอัศจรรย์ แล้วก็สามารถนำประพฤติปฏิบัติตามได้ผลจริงเป็นอัศจรรย์ อันนี้คือให้โยมเกิดปัญญา รู้ความจริง

    ปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ อย่างนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญอย่างไหนบ้างหรือไม่ หรือว่ายกย่องทั้งหมดเลย

    230204-1-2.jpg

    คำตอบคือ ไม่ทั้งหมด พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญปาฏิหาริย์ ๒ อย่างแรก คือ อิทธิปาฏิหาริย์ การแสดงฤทธิ์ และอาเทศนา ปาฏิหาริย์การทายใจได้ แต่สรรเสริญข้อที่ ๓ ได้แก่ อนุศาสนีปาฏิหาริย์ คือคำสอนที่ให้รู้ความจริง เกิดปัญญาได้เป็นอัศจรรย์ อันนี้สำคัญ

    ชาวพุทธต้องรู้จักปาฏิหาริย์ ๓ นี้ แล้วก็ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างไร พระองค์สอนไว้ว่าพระองค์ไม่ได้ยกย่องสรรเสริญปาฏิหาริย์ ๒ อย่างแรก ทรงสรรเสริญแต่ข้อที่ ๓ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ อ้าว ใครแสดงฤทธิ์ได้ก็เก่งมากนะซิ ทำไมพระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญล่ะ แล้วเราก็ได้ยินเรื่องราวนี่ว่าพระพุทธเจ้าก็มีฤทธิ์เหมือนกัน เอ! เป็นเพราะอะไร ก็ลองมาดูกัน

    เอาง่าย ๆ ๒ ข้อแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับฤทธิ์ เนื่องกับความสามารถพิเศษทางจิต เราก็แยกระหว่างข้อ ๑-๒ เป็นพวกหนึ่ง กับข้อ ๓ เป็นพวกหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญข้อที่ ๓ ก็เป็นอันว่า ข้อที่ ๑-๒ นี่เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าไม่ยกย่อง ทีนี้ทำไมพระพุทธเจ้าถึงไม่ยกย่องปาฏิหาริย์ ๒ อย่างแรก

    เราจะมองเห็นความแตกต่างระหว่างปาฏิหาริย์ ๒ แบบนี้ ปาฏิหาริย์ประเภทฤทธิ์นี่เวลาแสดงไปแล้ว คนที่ดูที่ฟังเป็นอย่างไร คนที่ดูที่ฟัง พอดูและฟังเสร็จแล้วก็งงไปเลย งงงัน ก็มองว่าท่านผู้แสดงนี้เก่งใช่ไหม แต่ตัวโยมเองน่ะ ได้อะไรบ้าง? มีอะไรเปลี่ยนแปลง? ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ก็อยู่เท่าเดิม แต่อาจจะแย่ลง เพราะว่างงใช่ไหม

    เดิมยังไม่งง พอดูท่านผู้แสดงฤทธิ์เสร็จก็งงไปเลย งงนี้ต้องระวัง ขออภัยเดี๋ยวจะกลายเป็นโง่ไป ก็คือเป็นโมหะ กลายเป็นว่าพอดูท่านแสดงฤทธิ์เสร็จตัวเองกลับมีโมหะมากขึ้น ไปดีที่ไหน? ก็ไปดีที่คนแสดง คนแสดงก็เด่นยิ่งขึ้น ตกลงเราก็ต้องไปหวังพึ่งท่านผู้แสดงฤทธิ์อยู่เรื่อย ไม่เป็นอันทำอะไรแล้ว คอยรอหวังผลว่าท่านจะทำอะไรให้

    230204-3-1.jpg

    ทีนี้เรามาดูอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ข้อที่พระพุทธเจ้ายกย่อง

    คนฟังแล้วเป็นอย่างไรมีอะไรเกิดขึ้นบ้างมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นไหม? เปลี่ยนแปลงแล้วได้อะไร พอแสดงอนุศาสนีปาฏิหาริย์เสร็จ อะไรเกิดขึ้นในใจผู้ฟัง? ปัญญาเกิดขึ้น พอปัญญาเกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างไร? ก็เป็นของผู้เอง ผู้ที่ฟัง เมื่อปัญญาเกิดแล้ว ปัญญาก็อยู่กับตัว ไปไหนก็พาปัญญาไปด้วย ใช่ไหม

    คราวนี้ไม่ต้องมามัวรอตามฟังผู้ที่แสดงปาฏิหาริย์ เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้คือผู้ฟัง ส่วนผู้ที่แสดงอยู่แล้วท่านก็แสดงของท่านไป ท่านไม่ได้เพิ่มอะไร ท่านรู้อยู่แล้ว ท่านก็มีความชำนาญมากขึ้นในสิ่งที่แสดง แต่ว่าผู้ฟังสิได้จริง ๆ แล้วก็เป็นอิสระ คือได้ฟังแล้วก็รู้ก็เข้าใจเป็นปัญญาของตัว ท่านผู้แสดงให้เห็นความจริงอะไร ผู้ฟังก็ได้เห็นความจริงนั้น ผู้ฟังก็เป็นอิสระแก่ตัวเอง เพราะผู้แสดงได้เห็นอะไรผู้ฟังก็ได้เห็นความจริงอันนั้น ผู้แสดงทำอะไรได้ ผู้ฟังรู้แล้วก็ทำอันนั้นได้เองด้วยแล้วก็จบ

    เพราะฉะนั้นผู้ฟังเป็นอิสระ ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในใจผู้ฟัง ผลได้เกิดขึ้นแก่ผู้ฟังคือปัญญาเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าจึงสรรเสริญแต่อนุศาสนีปาฏิหาริย์


    ------------
    จากหนังสือ "คำถามสำหรับชาวพุทธ (สำรวจตัวเองก่อนปฏิบัติธรรม)"

    Download: http://www.watnyanaves.net/th/book_detail/101

    ข่าวโดย : กิตติ ทีนิวส์ / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์


    ------------------
    http://www.tnews.co.th/index.php/contents/302620
     
  2. mrmos

    mrmos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,190
    ค่าพลัง:
    +1,095
    sa162.jpg
     
  3. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
  4. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    สำหรับคนที่ยังสงสัยในเรื่องนี้อยู่นะครับ

    คนที่จะแสดงฤทธิ์ได้ ต้องมีสมาธิมาก
    คนที่มีสมาธิมาก ก็เหมือนกับ คนที่มีเงิน มีอำนาจมาก

    คนหนึ่งมีสมาธิมาก แล้วคนอื่นที่ได้เห็นได้ฟังได้ประโยชน์อะไร?
    คนหนึ่งมีเงินมาก แล้วคนอื่นที่ได้ยินได้ฟังได้ประโยชน์อะไร?

    ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า อย่างน้อยมีเงินมากก็ย่อมดีกว่ามีเงินน้อย สมาธิก็เหมือนกัน


    แล้วการที่คนเราจะมีปัญญาสามารถรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ ก็ต้องมีสมาธิที่สูงในระดับหนึ่งก่อน ไม่งั้นความรู้ที่ได้ฟังมาก็จะเป็นเพียงแต่สัญญาเท่านั้น ต่อเมื่อมีสมาธิที่สูงถึงระดับหนึ่งแล้ว ความรู้ที่ได้รับมานั้นจึงจะเป็นปัญญา ที่สามารถทำลายกิเลสในใจตนเองได้

    การที่จะมีฤทธิ์ได้ ก็แสดงว่าคนนั้นต้องมีสมาธิที่สูงในระดับหนึ่งเท่านั้นจึงจะทำได้
    การที่จะมีปัญญาทำลายกิเลสในใจตนเองได้ ต้องอาศัยสมาธิที่สูงในระดับหนึ่งขึ้นไปเท่านั้นจึงจะทำได้เช่นกัน

    ฉะนั้นการมีสมาธิที่สูงมากย่อมเป็นผลดีอย่างแน่นอน ส่วนจะใช้ไปในทางฤทธิ์เดชหรือปัญญา หรือใช้ไปทั้งสองทางก็แล้วแต่คนว่าจะเลือกไปทางไหน
     

แชร์หน้านี้

Loading...