สัมมาสมาธิ - มิจฉาสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนกรรม, 19 สิงหาคม 2013.

  1. ผ่อนกรรม

    ผ่อนกรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +400
    สัมมาสมาธิ

    คือ สมาธิในอริยมรรค ความสงบนิ่งในสมาธินี้ แม้จิตจะมี

    ความสงบนิ่งแน่วแน่เฉียดฌาน จะมีความสุข

    ที่ละเอียดปรานีต จิตเบา กายเบา มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว

    (เอกัคคตารมณ์ )

    แต่ในจิตนั้นจะมีความรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ลมหายใจเข้าแผ่วเบา

    ที่ละเอียดก็รู้ ลมหายใจออกละเอียดแผ่วเบาก็รู้ ลมหายใจออกสั้นก็รู้

    ลมหายใจเข้าสั้นก็รู้ มีความเฉลียวฉลาดอยู่ในตัว อย่างนี้เราเรียกว่า

    สมาธิในอริยมรรค ใช้ปัญญาพิจารณาธรรม หาความจริง

    เพื่อขจัดกิเลสให้หมดไป

    มิจฉาสมาธิ

    คือ สมาธิในฌาน เมื่อจิตสงบนิ่งในฌานจะมีอารมณ์

    ( เอกัคคตารมณ์ )

    จะสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์เดียว จะมีความสุขที่ละเอียดประณีต

    ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าก็ไม่รู้ตัว เหมือนกับลมหายใจไม่มี จิตจะนิ่งอยู่

    เฉยๆ ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น จะนั่งสมาธิอยู่ในลักษณะนั้นทั้งคืนก็ได้

    สมาธิประเภทนี้ ทำให้การปฏิบัติธรรมไมก้าวหน้า เพราะไม่มีความรู้ตัว

    จะว่าหลับอยู่ในฉานก็ไม่ใช่ สมาธิในฌานนี้ไม่ก่อให้เกิดปัญญา โอกาส

    การเข้าสู่มรรค ผล ไม่มีเลย

    ในการทำสมาธิให้สงบนั้น จะมีอาการที่จิตสงบน้อยบ้าง จิต

    สงบนานบ้าง นั่นเป็นอาการสงบในสมาธิระดับต่างๆ ก่อนที่จะเริ่ม

    ทำภาวนาสมาธิ เรามาทำความเข้าใจกับสมาธิในระดับต่างๆ ดังนี้

    ขณิกสมาธิ

    เป็นสมาธิที่จิตทรงฉานอยู่ในความสงบ ในระยะเวลาสั้นๆ

    คือ จิตสงบแล้วก็คลายออกจากสมาธิ แล้วจิตก็สงบอีก

    แล้วก็คลายออก เป็นอย่างนี้ คือ “จิตสงบมีอารมณ์เดียว”

    (เอกัคคตารมณ์) “เพียงชั่วขณะ”

    แล้วคลายออกเป็นเช่นนี้บ่อยครั้งไม่ต่อเนื่อง ถ้าทำจิตใจ

    ให้สงบในระดับนี้อานิสงส์ก็เกิดขึ้นแล้ว ถ้าหากเสียชีวิตในช่วงขณะนั้น

    ด้วยอานิสงส์จะส่งผลให้ผู้ปฏบัติไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ ๑

    จาตุมหาราชิกา ถ้าหากจิตขณะนั้นยังยึดในไตรสรณคมน์

    คือระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง

    ก็ไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นที่ ๒ คือ ดาวดึงส์

    อุปจารสมาธิ

    เป็นสมาธิที่จิตทรงฌานอยู่ในความสงบที่จิต เป็นเอกัคคตรมณ์

    มีความสงบสุขอันละเอียดปรานีต สุขุมลุ่มลึก ลมหายใจละเอียด

    แผ่วเบา แต่รู้ว่ายังมีอยู่ ลมหายใจเข้าลมหายใจออกที่แผ่วเบา

    จิตก็รูว่า ลมหายใจเข้าลมหายใจออก แม้จะมีเสียงมารบกวน

    มากระทบหู เมื่อหูสัมผัสเสียงก็รู้ว่ามีเสียง

    แต่เสียงนั้นไม่ได้สร้างความรำคาญให้แต่อย่างใด

    จิตก็ยังมีความสงบ เป็นสมาธิที่มีคุณอย่างยิ่ง

    ในการใช้ปัญญาพิจารณา

    อัปปณาสมาธิ

    เป็นผลสืบเนื่องมาจากอุปจารสมาธิ เมื่อเจริญสมาธิต่อไป

    จิตจะเข้าสู่ความสงบละเอียดลึกลงได้อีก มีแต่ความสุขอันปรานีต

    ลมหายใจเข้าลมหายใจออกแผ่วเบาจนหายไป เหมือนกับไม่มีลม

    หายใจ มีแต่ความว่างเปล่า จิตจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น

    เหมือนตัวลอยขึ้น เหลือเพียงแต่ปลายจมูกลอยอยู่

    ไม่มีความรู้สึกนึกคิดอะไรเลย ทรงฌานอยู่อย่างสงบนิ่ง

    เกิดนิมิตเห็นแสงสีต่างๆ บางครั้งมีลำแสงพุ่งออกไป

    จากหน้าผากตรงจุดกึ่งกลางระหว่างคิ้ว แสงสว่างจ้าแล้ว

    หายไป บางครั้งเห็นแสงสีเป็นประกายหลากสีต่างๆ

    เหมือนดอกไม้ไฟเป็นต้น จิตจะมีความสุขอย่างมาก

    เป็นความสุขที่หาอะไรมาเปรียบเทียบมิได้เลย

    ผู้เขียนได้จัดทำแผนผังการเจริญสมาธิว่าเดินจากจุดไหน

    ไปสิ้นสุด ณ จุดใด โดยสรุปมาจากการได้ลงมือ

    ทำสมาธิอย่างจริงจังที่เคยปฏิบัติมา ที่สำคัญยิ่ง

    ผู้ปฏบัติจะต้องมาทำความเข้าใจกับองค์ประกอบร่วม

    ของสมาธิ

    องค์ธรรมของสมาธิปรกอบด้วย

    วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา และอุเบกขา

    เวลาลงมือปฏิบัติจะได้เข้าใจ

    วิตก คือการยกหัวข้อธรรม หรือยกเอาเหตุ

    ขึ้นมากำหนดในการภาวนา ในที่นี้ผู้เขียนจะได้ยกเอา

    เหตุหรือข้อธรรมมาให้จิตกำหนด คือ อานาปานสติ

    ด้วยการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ไว้ที่ปลายจมูก

    วิจาร คือการเอาใจจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้า

    ลมหายใจออกไว้ที่ปลายจมูก

    เมื่อลมหายใจเข้าเราก็รู้อยู่ว่าลมหายใจเข้า

    พยายามเอาใจจดจ่อไว้ มิให้จิตส่ายเซออกไปภายนอก

    จิตจะคลอเคลียอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก

    ปิติ คือความอิ่มเอมใจที่เกิดจากความสงบ

    และความสุขที่เกิดอันเป็นผลเนื่องมาจาก

    วิตก และวิจาร เมื่อจิตสงบปิติก็เกิดขึ้น

    สุข คือความเบิกบานใจ อันเกิดมาจากปิติ

    แต่เป็นความสุขที่เหนือกว่าปิติ

    เป็นความสุขที่ซาบซ่านฉ่ำใจไปทั่วสรรพางค์กาย

    เพราะความสุขที่เกิดจากสมาธิ

    เป็นความสุขที่เยือกเย็นสุขุมลุ่มลึก

    เอกัคคตา คือมีอารมณ์เพียงหนึ่งเดียว

    เมื่อจิตเกิดความสุขอันละเอียดเยือกเย็น

    เป็นความสุขดื่มด่ำ จนจิตมีความสงบนิ่ง

    เป็นเอกัคคตารมณ์ แล้วก็มีอุเบกขาเกิดขึ้น

    ในการอธิบายการเจริญสมาธิ

    จะมีเรื่องฌานเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงขออธิบายพอสังเขป

    ฌาน

    ถ้ากล่าวถึงฌานมันเป็นเรื่องของสมาธิ

    คือภาวะที่จิตมีสมาธิอยู่ด้วย เป็นองค์ประกอบแกน ดังนั้น

    ฌานจึงมีการวัดระดับได้ จะเป็นฌานระดับไหนก็ตาม

    เราจะดูที่จิตว่าจิตในขณะนั้นมีองค์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

    องค์ประกอบก็คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา

    ฌานแบ่งออกเป็น ๔ ฌาน จะสังเกตเห็นว่าฌานที่สูงขึ้นไป

    จิตยิ่งมีความละเอียดประณีตสูงขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน

    ระวังอย่าไปสับสนกับคำว่า ญาณ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในเรื่องปัญญา

    ฌาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับสมาธิเท่านั้น คือจะต้องมีสมาธิจึงจะได้ฌาน

    หรืออาจะกล่าวได้ว่า สมาธิเป็น แกน ของฌาน

    ญาณ คือความรู้ ปรีชาหยั่งรู้ ญาณเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ เจริญวิปัสสนา

    “สมาธิในอริยมรรค ความสงบนิ่งในสมาธินี้ แม้จิตจะมีความสงบนิ่ง

    แน่วแน่ เฉียดฌาน จะมีความสุข ที่ละเอียดประณีต จิตเบา กายเบา

    มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว (เอกัคคตารมณ์) แต่ในจิตนั้น

    จะมีความรู้สึกตัว อยู่ตลอดเวลา ใช้ปัญญาพิจารณาธรรม

    หาความจริง เพื่อขจัดกิเลสให้หมดไป”


    คัดจากหนังสือ : ทางพ้นทุกข์ โดยปิยพงศ์ ปิยพงศ์วิวัฒน์

    ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ธรรมใดที่ท่านถึงแล้วข้าพเจ้าขอถึงด้วย _/l\_
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  2. ผ่อนกรรม

    ผ่อนกรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +400
    พึงสังเกตว่าไม่มีคำว่าสติเลย แต่!

    ดูที่คำว่า “ความรู้สึกตัว อยู่ตลอดเวลา”

    เพราะ นี่ล่ะคือ สติ สัมปชัญญะที่เราฝึกกัน

    มันสำคัญมากนะ ^^

    ถ้าพอมีประโยชน์บ้าง ช่วยเผยแผ่ไปอย่าได้หวงธรรม

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เรามาฟรีๆ

    เป็นของฟรีที่ไม่สามารถเอาเงินไปซื้อได้เลยนะจะบอกให้ ^^

    มีแผนที่แล้ว ทำกาย ใจ ให้พร้อมออกเดินทางไปด้วยกันนะ

    เราทุกคนมีที่หมายเดียวกัน แต่อาจถึงต่างกันอันนี้ล่ะ

    ความสามารถเฉพาะตัว เป็นปัตจัตตัง นะ ^^

    ปล. มีรูปเดี๋ยวมาลงจ่ะ^^
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  3. สภา

    สภา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    สาธุครับ
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    สมาธิใช้งานได้จริงนั้นมีเสื่อมหรือไม่เสื่อม
    และพัฒนาขึ้นหรือถอยหลังลง หลัก
    ง่ายๆในการสังเกตุว่าเป็นสัมมา
    หรือมิจฉาครับ
    ไม่ว่าจะใช้งานด้านไหนนะครับ
    เพราะกิริยาระหว่างทาง
    มันไม่แตกต่างกันครับ
    และทำให้หลงได้ง่าย
    และชี้วัดได้ยาก
    ปล ต้องใช้งานได้จริงก่อนครับ
    ถึงจะพอเข้าใจได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...