เรื่องเด่น “เน้นที่ปฏิบัติ ไม่อธิบายธรรมมาก เพราะจะกลายเป็นสัญญา”

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 12 กันยายน 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    ลป-มั่น-พลังจิต.jpg

    เรื่อง “เน้นที่ปฏิบัติ ไม่อธิบายธรรมมาก เพราะจะกลายเป็นสัญญา”
    (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สอนกรรมฐาน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ)


    หลวงปู่มั่นนั้น เวลาแนะนำสั่งสอนศิษย์ ท่านไม่ค่อยอธิบายธรรมะให้พิสดารมากนัก โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าอธิบายไปมากผู้ปฏิบัติมักไปติดคำพูดกลายเป็นสัญญา ต้องปฏิบัติให้รู้ให้เกิดแก่จิตแก่ใจของตนเอง จึงจะรู้ได้ว่า คำว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร คำว่าสุขนั้นเป็นอย่างไร คำว่าพุทธะ ธรรมะ สังฆะนั้นมีความหมายเป็นอย่างไร สมาธิอย่างหยาบเป็นอย่างไร สมาธิอย่างละเอียดเป็นอย่างไร ?

    ปัญญาที่เกิดจากปัญญาเป็นอย่างไร ปัญญาเกิดจากภาวนาเป็นอย่างไร เหล่านี้ผู้ปฏิบัติต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น ในตนของตนจึงจะรู้ ถ้ามัวถือเอาแต่คำอธิบาย ของครูอาจารย์แล้วจิตก็จะติดอยู่ในสัญญา ไม่ก้าวหน้าในการภาวนา เพราะเหตุนั้น จึงไม่อธิบายให้พิศดารมากมาย แนะนำให้รู้ทางแล้วต้องทำเอง เมื่อเกิดความขัดข้องจึงมารับคำแนะนำอีกครั้งหนึ่ง การปฏิบัติเช่นนี้เป็นผลดีแก่ศิษย์ผู้มุ่งปฏิวัติ เพื่ออรรถ เพื่อธรรมอย่างแท้จริง

    ดังนั้นการบำเพ็ญสมาธิภาวนาในพรรษานั้นจึงได้เร่งความเพียรอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ได้รับความเยือกเย็น ทางด้านจิตใจมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพราะความเพียร เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลวงปู่มั่น เป็นตัวอย่างในการทำความเพียร โดยปกติ องค์ท่านจะทำความเพียรประจำอิริยาบถ ไม่ว่าท่านจะอยู่ในอิริยาบถใดๆ ต้องอยู่ด้วยภาวนาทั้งสิ้น เรื่องนี้ท่านย้ำเตือนเสมอ

    ไม่ให้ศิษย์ประมาทละความเพียร เราอยู่ร่วมกับท่าน ต้องเอาองค์ท่านเป็นตัวอย่าง ถึงแม้จะทำไม่ได้อย่างท่าน แต่ก็เป็นศิษย์ที่มีครู มีแบบแผน มีแบบอย่าง มีตัวอย่างเป็นทางดำเนิน



    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  2. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    เน้นที่ปฏิบัติ ไม่อธิบายธรรมมาก เพราะจะกลายเป็นสัญญา
    เน้นที่ปฏิบัติ ไม่อธิบายธรรมมาก เพราะจะกลายเป็นสัญญา
    เน้นที่ปฏิบัติ ไม่อธิบายธรรมมาก เพราะจะกลายเป็นสัญญา


    จริงที่สุดครับ




     
  3. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    ฟุ้งซ่าน ขาดสติอยู่กับปัจจุบัน ธรรมจึงยังไม่ปรากฏ

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
    .
    .
    หรือพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็น
    ธรรมเป็นเหตุเกิด (แห่งลมหายใจ) ในกายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับ (แห่ง
    ลมหายใจ) ในกายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับ
    (แห่งลมหายใจ) ในกายอยู่
    หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘กายมีอยู’ ก็เพียงเพื่ออาศัย
    เจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่น
    อะไร ๆ ในโลก
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สัญญา (Perception) ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์นั้นๆได้

    สัญญา เป็นความรู้จำพวกหนึ่ง หมายถึง การหมายรู้ หรือกำหนดรู้อาการของอารมณ์ เช่น ลักษณะทรวดทรง สี สัณฐาน ฯลฯ ตลอดจนชื่อเรียก และสมมติบัญญัติต่างๆว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา ทุ้ม แหลม อ้วน ผอม โต๊ะ ปากกา หมู หมา ปลา แมว คน เขา เรา ท่านเป็นต้น

    การหมายรู้หรือกำหนดรู้นี้ อาศัยการเทียบเคียงระหว่างประสบการณ์หรือความรู้เก่ากับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่ ถ้าประสบการณ์ใหม่ตรงกับประสบการณ์เก่า เช่น พบเห็นคนหรือสิ่งของที่เคยรู้จักแล้ว ได้ยินเสียงที่เคยได้ยินแล้ว ดังตัวอย่าง นาย ก. รู้จักนายเขียว ต่อมาอีกเดือนหนึ่ง นาย ก. เห็นนายเขียว อีก และรู้ว่าคนที่เขาเห็นนั้นคือนายเขียว อย่างนี้เรียกว่าจำได้

    ถ้าประสบการณ์ใหม่ไม่ตรงกับประสบการณ์เก่า เราย่อมนำเอาประสบการณ์หรือความรู้เก่าที่มีอยู่แล้วนั่นเอง มาเทียบเคียงว่าเหมือนกันและไม่ เหมือนในส่วนไหน อย่างไร แล้วหมายรู้สิ่งนั้นตามคำบอกเล่าหรือ ตามที่ตนกำหนดเอาว่า เป็นนั่น เป็นนี่ ไม่ใช่นั่น ไม่ ใช่นี่ อย่างนี้ เรียกว่า กำหนดหมาย หรือ หมายรู้

    การหมายรู้เช่นนี้ย่อมมีหลายชั้น หมายรู้ไปตามความตกลงอันเนื่องด้วยความรู้สามัญบ้าง เช่น ว่า เขียว ขาว เหลือง แดง เป็นต้น ตามนิยมของโลก ของสังคม ของวัฒนธรรม ประเพณี เป็นต้นบ้าง เช่นว่า อย่างนี้สุภาพ อย่างนั้นสวยงาม อย่างนั้น ถูกธรรมเนียม อย่างนี้ผิดธรรมเนียม เป็นต้น ตามนิยมปรุงแต่ง จำเพาะตนบ้าง เช่นว่า อย่างนี้สวย อย่างนั้นน่าชม อย่างนี้น่าหมั่นไส้ เป็นต้น

    หมายรู้สองชั้น (แบบสัญลักษณ์) บ้าง เช่นว่า สีเขียวแดง หมายถึง มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เสียงระฆังสองครั้งหมายถึงการกินอาหาร ตลอดจนตามการศึกษา อบรม ในทางธรรม เช่น หมายรู้่ในภาวะที่ไม่เที่ยง หมาย รู้ในภาวะที่เป็นอนัตตา เป็นต้น มีทั้งความหมายรู้สามัญและความหมายรู้ที่ละเอียดซับซ้อน (คือสัมพันธ์กับขันธ์อื่นมากขึ้น) มีทั้งหมายรู้เกี่ยวกับรูปธรรม และหมายรู้เกี่ยวกับนามธรรม

    คำแปล สัญญาว่า จำได้ กำหนดได้ หมายรู้ กำหนดหมาย จำหมาย สำคัญหมาย ล้วนแสดงแง่ต่างๆ แห่งความหมายของกองสัญญานี้ทั้งสิ้น

    พูดเพื่อให้เข้าใจอย่างง่ายๆ สัญญาก็คือกระบวนการเรียกเก็บ รวบรวม และสั่งสมข้อมูลของการเรียนรู้ และวัตถุดิบสำหรับความคิดนั่นเอง


    สัญญา เกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมาก แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีโทษมิใช่น้อย เพราะมนุษย์จะยึดติดตามสัญญา ทำให้สัญญากลายเป็นเครื่องกีดกั้นกำบังตนเอง และห่อหุ้มคลุมตัวสภาวะไว้ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ที่อยู่ลึกลงไป

    สัญญา แยกออกคร่าวๆ เป็น ๒ ระดับ คือ สัญญาอย่างสามัญ ซึ่งกำหนดหมายอาการของอารมณ์ที่เกิดขึ้นหรือเป็นไป อยู่ตามปกติธรรมดาของมัน อย่างหนึ่ง และสัญญาสืบทอด หรือสัญญาอย่างซับซ้อน ที่บางคราวก็ใช้คำเรียกให้ต่างออกไป เฉพาะอย่างยิ่ง "ปปัญจสัญญา" อันหมายถึงสัญญาเนื่องด้วยอารมณ์ที่คิดปรุงแต่งขึ้นให้ซับซ้อนพิสดาร ด้วยแรงผลักดันของตัณหา มานะ และทิฏฐิ ซึ่งเป็นสังขารชั้นนำฝ่ายร้าย อีกอย่างหนึ่ง

    การแยกเช่นนี้ จะช่วยให้มองเห็นความหมายของสัญญาที่กำลังแสดงบทบาทอยู่ พร้อมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสัญญา กับ ขันธ์อื่นภายในกระบวนธรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

    ...............

    - คัมภีร์ชั้นอรรถกถาแสดงลักษณะหน้าที่ เป็นต้น ของสัญญาไว้ว่า สัญญา มีลักษณะจำเพาะคือสัญชานน์ (จำได้, รู้จัก) มีหน้าที่ทำเครื่องหมายไว้เป็นปัจจัยแห่งการจำได้ (หรือรู้จัก) ต่อไปว่า "นั่นคือสิ่งนั้น" เหมือนดังช่างไม้ เป็นต้น ทำเครื่องหมายไว้ที่วัสดุมีตัวไม้เป็นอาทิ มีผลปราก คือ เกิดความยึดถือไปตามเครื่องหมายที่กำหนดเอาไว้ เหมือนพวกคนตาบอดคลำช้าง ยึดถือไปตามเครื่องหมายที่ตนจับได้ (ว่าช้างเป็นอย่างนั้นๆ) มีปทัฏฐาน คือ อารมณ์ตามที่ปรากฏ เหมือนลูกเนื้อเห็นหุ่นคนที่ผูกด้วยมัดหญ้า สำคัญหมายว่าเป็นคนจริงๆ (วิสุทธิมัคค์ 3/35) ถ้าเทียบกับหลักจิตวิทยาฝ่ายตะวันตก สัญญาจะครอบคลุมเรื่อง perception, conception และ recognition (แต่ไม่ใช่ memory ทั้งหมด)
     
  5. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    กำลังคิดที่จะตั้งกระทู้เล่าประสบการณ์การปฏิบัติ
    แต่ก็กังวลเกรงว่าจะเป็นการอวดอุตริ อวดคุณวิเศษ
    รวมถึงไม่แน่ใจว่าเล่าไปแล้วจะได้ประโยชน์
    หรือเกิดผลเสียตามมา

    ก็เลยได้แค่คิด ชั่งน้ำหนัก แต่ยังไม่ทำอะไร
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ก็ เก็บไว้จิฮับ อย่าให้มัน ถีบ มันดัน ก็แล้วกัน

    ถ้ามัน ถีบ มันดัน มันทยาน ต้องบอกไหมว่า อะไรกุมบังเหียน

    ทีนี้ จะเล่าก็เล่าได้ แต่ต้องมีลูกจบ

    ลูกจบง่ายๆ ก็มักจะกล่าวกันว่า "ทำเอง รู้เอง(คนเดียว)"
    ของมันเป็น สามัญสำหรับคนฝึก

    ลูกจบแบบ ค..........วาย ( อย่าอ่านให้ติดกันนะ ถ้าอ่านติด
    กัน ปรับตก การรู้เห็น สัญญา ว่ามีธรรมชาติเกิดดับ ไวอย่างพยับแดด)

    ลูกจบแบบ ค..........วาย ก็จะพูดว่า เล่าไปงั้นๆ

    คือ เล่าแบบไม่รู้ประโยชน์ในการ ระบุว่า "ทำเอง รู้เอง(คนเดียว)"

    ทีนี้ ถ้าจบแบบชั้นสูง ก็ตรงที่ มีลูกจบ"ทำเอง รู้เอง(คนเดียว)"
    หากรู้ชัด ก็จะ เห็นสภาวะ " ทิ้งตัว เม้มปาก แล้วนั่งลง"

    เห็นสภาวะ " เม้มปาก แล้วนั่งลง" ได้ชัดๆ ค่อยเล่า
    ซึ่งพอโดนย้อนแย้งจะไม่เกิดการ เห็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้
    จนจิตสั่นไหว เหมือนมีคนมาทวงเอาทรัพย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2017
  7. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    ที่คิดคือ....

    ถึงเล่าไป แชร์ไป ก็ไม่ช่วยให้คนส่วนใหญ่เข้าใจหรือรับรู้อยู่ดี ประโยชน์น้อย
    .
    .
    เข้ากับหัวกระทู้นี้พอดี ไปปฏิบัติ และประจักษ์แจ้งด้วยตัวเองกันเถอะ


    ถึงไม่ได้อะไร ก็ยังได้ความสงบจากสมาธิ ที่เงินหาซื้อสุขแบบนี้ไม่ได้

    The End......(สู้ต่อไปทาเคชิ)

    ขอบคุณธรรมะดีจาก จขกท ครับ
     
  8. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    เห็นด้วยตามบทความที่นำมาลงครับ
    แต่การอ่านหาใช่ว่าไม่มีประโยชน์ครับ
    เพราะใช้เป็นแนวทางเดินให้จิตได้อยู่
    เพียงแต่ว่า มันจะกลายเป็นสัญญาได้ง่าย
    หากว่า ตัวจิตยังแยกความคิดที่เกิดจากจิตของตนเอง
    ออกจากตัวจิตยังไม่ได้ครับ
    แต่หากว่าอ่านแล้ว เข้าใจสภาวะของตัวอักษรได้
    และกิริยาของจิตตนเอง เป็นไปอย่างที่ตัวอักษรได้
    บันทึกไว้ ก็จะเกิดประโยชน์กับตัวเองได้เช่นกัน

    อย่างว่า พุทธศาสนเป็นศาสนาที่ได้มาจากการปฏิบัติ
    ก่อนที่จะรวบรวมมาเป็นตำรา
    และกว่าจะมาเป็นตำรา จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
    ก็ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า เป็นคำสอนที่
    มาจากผู้เป็นเลิศทั้ง ๓ ภพโดยตรงครับ
    แม้มักจะชอบอ้างกันก็ตาม
    แต่ก็ไม่มีใครเกิดท่าน จริงไหมครับ
    ดังนั้น จึงเป็นเหตุที่บอกได้ว่า ไม่ว่าตำรา
    หรือการปฏิบัติ เราจึงยึดอะไรไม่ได้เลย...

    เพราะท้ายสุดเมื่อปฏิบัติแล้วก็ต้องวาง
    เพราะท้ายสุดเมื่อรู้ตำราแล้ว พอจะมาปฏิบัติ
    ก็ต้องวางตำราอีกเช่นกัน ไม่งั้นก็จะกลาย
    เป็นสัญญาเหมือนที่บทความได้นำมาลงครับ

    ถ้าเราคิดอะไรไม่ออก ว่าจะต้องปฏิบัติมากกว่า
    หรือจะต้องตำราไว้ก่อน หรือจะต้องทั้งสองอย่าง
    ก็ให้มาดูว่า เราอ่านแล้ว เราปฏิบัติแล้ว
    มันส่งผลอย่างไรกับตัวจิตเราครับ

    มาดูว่า ตัวโมหะ โทสะ โมหะ ที่อยู่ในจิตเรา
    ที่มันจะไปดึง พวกลาภ ยศ สุข สรรเสริญจาก
    ภายนอกเข้ามาจนกลายเป็นกิเลส
    ของเรามันน้อยลงไปหรือไม่

    เพราะทางพุทธศาสนา ปฏิบัติแล้ว
    มันต้องไม่มี มันต้องคลายครับ
    ที่คลายคือ โทสะ โมหะ โลภะ
    ในใจเรา มันละ มันคลายที่จะไป
    ดึงสิ่งต่างๆภายนอกเข้ามาได้
    มากน้อยแค่ไหน....ดูตรงนี้ครับ......

    อย่าไปมัวเสียเวลา ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างเดียว
    อ่านอย่างเดียว หรือ ปฎิบัติมากกว่าอ่าน
    หรืออ่านเป็นหลักเทียบปฏิบัติอะไรเลย
    เพราะเหตุและปัจจัยแต่ละคนไม่เหมือนกัน

    ให้มาดูว่า เราปฏิบัติแล้วอ่านแล้ว
    ใจเรามันพัฒนาอย่างไรตรงนี้
    สำคัญกว่าครับ
     
  9. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    ก็แวะเวียนมาเรื่อยๆครับ เว็บธรรมมะมีอยู่ไม่กี่ที่ แต่ละที่ก็ต่างสไตล์กันไป
     
  10. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    ถ้า ลวกเพ่ ศิษย์ไม่โง จะเห็นควรในการ สาธยายธรรม อย่าปิดกั้น การบรรลุธรรม
    ของตนเอง และ อย่าปิดกันการบรรลุธรรมของคนอื่น

    ปล. ผู้หมุน "ธรรมจักร" คือ ตถาคต .......อย่า สำคัญตนว่าเป็น ผู้ปกโปรด


    ปกโปรดไม่ปกโปรดอะไร ไม่ได้มายด์ดอก

    ศิษ์ย์(โง่)หรือครูก็มีสิ่งที่ผิดแปลก แตกต่างกันอยู่โดยธรรมชาติเป็นเรื่องปกติ. ไม่เหมือนกันตรงที่ "กำลังใจ".
    กำลังใจมากก็ยินดีสอน น้อมรับคำเสียดแทง บารมีเยอะ.

    ที่จะสื่อก็คือ. ตำรามันก็เขียนมาตรงๆ. มันก็ถูกนั่นแหละ. แต่สื่อABC fox CNN. ทั้งหลายก็เอาไปตีความใส่สี ตีใข่ ตีความตำราเอาตามใจตน. จนตำรามันชักจะผิดเพี้ยน. เห็นแล้วก็ได้แต่เอิ่ม....

    แต่บางคนเห็นแล้วก็ชื่นใจ. ยังตีความ ชี้แจง แยะแนวได้ถูกตามตำรา


    ผมก็บ่นไปงั้นๆแหละ. เอาไว้ถ้าอยากจะเขียน คงต้องขอเวลาเรียบเรียง. แต่ถ้าคิดที่อยากจะเล่าจริง. ก็คงได้บันเทิง. และเปิดหูเปิดตาคนอ่านได้แน่ๆ.

    ก็หวังว่ายังงั้น.........


    ปล ขอบคุณครับที่ให่ข้อคิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กันยายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...