ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒ ก่อนที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตจะมรณะภาพ….ท่านได้สั่งบรรดาคณะศิษย์ที่อยู่ใกล้ชิดท่านในขณะนั้น เช่น พระอาจารย์มหาบัว, ครูบาวัน ว่า : “ถ้าเราตายรีบพากันเผาโดยด่วนเน้อ ถ้าเผาแล้วจงส่งข่าวไปหาท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์และญาติของเรา ถ้าเอาเราไว้นานก็จุกจิกมาก ลูกๆ หลานๆ จะจุกๆ จิกๆ ขาดจากวิเวกจะมีแต่วิวุ่นและสัตว์ก็จะตายมากและพระองค์เจ้าก็ ๗ วันเท่านั้นถวายพระเพลิง ถึงกระนั้นมัลลกษัตริย์เขาก็เอาไฟไปถวายพระเพลิงตั้งแต่วันที่ ๓ แล้ว แต่ไฟไม่ติดถึง ๓ ครั้ง เพราะเทวดาบันดาลไม่ให้ไฟติด เพราะคอยพระมหากัสสปะกำลังเดินทางมาพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ นี้เราเป็นขี้เล็บขี้เท้าของพระองค์เจ้า เก็บเราเอาไว้ก็คอยพระมหากัสสะเหม็นเท่านั้น”

    -พ-ศ-๒๔๙๒-ก่อนที่ห.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “เราเกิดมามีอายุเท่านั้นเท่านี้ปี
    มันเป็นเรื่องที่แล้วมาแล้ว
    แต่เวลาข้างหน้ามันขึ้นอยู่กับลมหายใจ
    กำหนดแน่ไม่ได้
    เมื่อยังมีลมหายใจอยู่ก็อย่าประมาท
    พยายามทำจิตใจให้สำรวมระวัง
    เกิดปัญญาฟาดฟันกิเลสให้หมดไปสิ้นไปอยู่เสมอ”

    หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “เรื่องของโจร”

    ….มหาโจร หรือ โจรห้าร้อย นั้นก็ได้แก่ ขันธ์ห้าของเรา คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่มันคอยปล้นฆ่าและเบียดเบียนตัวเรา ตั้งแต่โลกียทรัพย์จนถึงอริยทรัพย์

    นอกจากนี้ยังมี โจรใต้ดิน อีกจำพวกหนึ่ง โจรชนิดนี้มันคอยแอบย่องมาเงียบๆ ไม่ใคร่รู้ตัว ได้แก่ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ อันเกิดจากสิ่งภายนอก ซึ่งถ้าใครหลงผิดเข้าแล้ว ก็ยากที่จะสละละวางเสียได้ จึงเป็นเหตุให้ทำลายความดีของตนเอง อันควรจะได้ทางจิตทางใจอีกส่วนหนึ่งเหมือนกัน.

    “ท่านพ่อลี ธมฺมธโร”

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “พูดมาก เสียมาก
    พูดน้อย เสียน้อย
    ไม่พูด ไม่เสีย
    นิ่งเสีย โพธิสัตว์

    ทุกสิ่งทุกอย่าง ในโลกนี้
    ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่
    ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่
    การสลายตัวทั้งสิ้น
    ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข
    ละได้ ย่อมสงบ”

    ~ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ~

    -เสียมาก.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ประเทศไทยคือเมืองพระโพธิสัตว์_เป็นดินแดนแห่งพุทธภูมิ

    เรื่อง “พระพุทธเจ้าเคยบำเพ็ญบารมี ๑๐ทัศ ที่ประเทศไทย”

    พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนี้ บำเพ็ญบารมีเกิดตายในเมืองไทยนี้มากนะ เมืองไทยจึงเป็นเมืองของโพธิสัตว์เกิดมาบำเพ็ญบารมี

    (เรื่องเล่าของ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม)
    (เล่าโดย หลวงปู่จาม มหาปุญโญ)

    หลวงปู่ตื้อยืนยัน พระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมี ๑๐ทัศ และเคยเสวยชาติในเมืองไทยหลายครั้งหลายสถานที่

    มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ สถานที่การบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และการเสวยชาติมาเกิดเพื่อบำเพ็ญบารมีในการก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้านั้น หลวงปู่ตื้อได้เคยเทศน์บอกเล่าไว้ดังนี้

    บารมี ๑๐ ทัศของพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน
    หลวงปู่ตื้อบอกไว้ว่า

    ๑. ทานบารมี พระเวสสันดร อยู่ที่มหาชัย จำปาศักดิ์
    ๒. ศีลบารมี พญานาคเผือกภูริทัตต์ อยู่อำเภอจอมทอง เชียงใหม่
    ๓. เนกขัมมบารมี เตมียะใบ้ อยู่เมืองพาราณสี
    ๔. ปัญญาบารมี มโหสถ กรุงเทวหะ
    ๕. วิริยบารมี มหาชนกตกน้ำ เป็นไทเงี้ยว
    ๖. ขันติบารมี จันทกุมาร เมืองญวน ตุมวังฟ้ารอน หาดตังเง้ชายง่วนเดี่ยว
    ๗. สัจจบารมี วิธุรบัณฑิต จังหวัดสุโขทัย
    ๘. อธิษฐานบารมี เนมิราช เมืองม่านอ่างวะหงสา
    ๙. เมตตาบารมี สุวรรณสาม จังหวัดอุตรดิตถ์
    ๑๐. อุเบกขาบารมี พรหมนารท กรุงกพิลพัสดุ์ อย่าสงสัย ด้วยเหตุนี้เองศาสนาพุทธยังย้ายมาอยู่เมืองไทยตั้งมั่นอยู่ได้

    • ชาติที่เป็นนกยูงทอง ก็อยู่วัดพระเจ้าน้ำโมง ท่าบ่อ
    • ชาติที่เป็นลิงเผือก ก็อยู่วัดหินหมากเป้ง
    • ชาติที่เป็นนกคุ่มเท่าดุมเกวียน ก็อยู่ธาตุพนม
    • ชาติที่เป็นกระต่ายให้ทานเนื้อ ก็อยู่วัดป่าห้วยทรายนี่

    หลายภพหลายชาติก็อยู่เมืองเหนือ พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนี้บำเพ็ญบารมีเกิดตายในเมืองไทยนี้มากนะ เมืองไทยจึงเป็นเมืองของโพธิสัตว์เกิดมาบำเพ็ญบารมี

    1508584205_441_ประเทศไทยคือเมืองพระโพ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ่วยกันสนับสนุนทนุบำรุง_โรงพยาบาลของพ่อ

    หากท่านใดมีจิตศรัทธาปรารถนาช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ เชิญบริจาคในมูลนิธิ “ศิริราชมูลนิธิ” เพื่อเป็นการต่อยอดแห่งการสร้างทานบารมี ที่จะเป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนให้เราชาวพุทธทั้งหลาย ข้ามพ้นฝั่งแห่งกองทุกข์ จนถึงแดนเกษมบรมสุข คือ พระนิพพาน ไปตลอดอนันตกาล

    ถ้าเราเป็นคนไทยด้วยชีวิตเลือดเนื้อและจิตวิญญาณ ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ คนละเล็กคนละน้อย งานใหญ่จึงจะสำเร็จเสร็จสิ้นลงได้ ถ้าเราตั้งใจจะทำความดี จงอย่าได้เกรงกลัวคนชั่วคนพาลตำหนิติฉินนินทา ขอให้พวกเราทำความดีได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา ให้เต็มสุดกำลังความสามารถ จึงจะสมชื่อสมนามว่า “เราเป็นชาวพุทธ”

    ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองที่ประเทศไทยได้
    เพราะคนไทยส่วนใหญ่มีนิสัยแห่งทานติดตัวมา
    คนไทยไม่เคยแล้งน้ำใจ เป็นนักเสียสละโดยอุปนิสัย

    1508587866_883_ช่วยกันสนับสนุนทนุบำรุ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “อย่างผมเองผมก็ไม่ไหว ผมเคยคิดว่าใครจะให้ผมเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และก็ทำงานอย่าง
    พระองค์ ให้ผมวันละ ๑๐ ล้าน ผมไม่เอา วันละ ๑๐ ล้านนะครับ ไม่ใช่เดือนละ ๑๐ ล้าน
    นี่ผมไม่เอาหรอก ที่ไม่เอาเพราะอะไร เพราะว่าผมทำไม่ได้” คำกล่าว พระมหาวีระ ถาวีโร
    (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    -ผ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “ผู้เบียดเบียนเขา แม้จะได้สิ่งที่มุ่งไว้
    แต่ผลที่แท้จริงอันจักเกิดจากกรรม
    คือการเบียดเบียนที่ได้ประกอบการทำลงไปนั้น
    จักเป็นทุกข์เป็นโทษแก่ผู้กระทำ
    อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    กรรมนั้นให้ผลสัตย์ซื่อนัก
    เหมือนผลของยาพิษร้ายแรง
    กรรมนั้นเมื่อทำแล้ว
    ก็เหมือนดื่มยาพิษร้ายแรงเข้าไปแล้ว
    จักไม่เกิดผลร้ายแก่ชีวิตและร่างกาย
    ย่อมไม่มี ย่อมเป็นไปไม่ได้
    ถ้าเป็นกรรมดีก็จักให้ผลดี
    ถ้าเป็นกรรมชั่วก็จักให้ผลชั่ว

    เราเป็นพุทธศาสนิกนับถือพุทธศาสนา
    พึงมีปัญญาเชื่อให้จริงจัง ถูกต้อง
    ในเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมเถิด
    จักเป็นสิริมงคล เป็นความสวัสดีแก่ตนเอง”

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    -แม้จะไ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ได้ว่าไว้ในเรื่องของการทำบุญว่า…..”อันการบุญการกุศลที่เราประกอบกระทำอย่างเรามาทอดผ้าป่า ทอดกฐิน สำเร็จแล้วบุญมันอยู่ที่ใจ บุญอยู่ที่ใจ ถ้าใจไม่ภาวนาก็มองไม่เห็นชัด คือมองเห็นแต่ว่ารายเสีย เราไม่มองเห็นรายได้

    แต่ถ้าผู้ภาวนาประกอบในจิตในใจ ให้จิตใจสงบระงับ จะมองเห็นได้ทั้งรายรับและรายจ่าย รายได้ รายได้ รายที่ได้มามันอยู่ตรงไหนก็รู้ด้วยตนเอง คือเมื่อคนเราทำบุญทำทานเสร็จแล้วมันเป็นความสุขใจ แม้รายกายจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยหิวบ้างเป็นธรรมดาของรูปขันธ์แต่จิตใจมันดี ได้ใจเสียสละ ได้ใจปล่อยใจวาง ได้ใจเย็นใจสบาย ใจร้อนไม่ค่อยมี มีแต่ใจสบาย เรียกว่าบุญ

    บุญนั้นเมื่อเราทำมันก็มีความทุกข์เหมือนกัน แต่ว่าเมื่อผลที่จะได้มาในปัจจุบันต่อไปข้างหน้านั้นเป็นผลความสุข ความสุขนั้นเราไม่ต้องไปหาที่อื่น มันมีอยู่ในกาย วาจา จิต ของคนเรา

    ท่านว่าบุญนั้นเหมือนกับเงาติดตัวคนเราไปทุกเวลา วันไหน ถ้ามีแดดก็จะเห็นเงาตัวเอง ร่างกายยืนเงาก็ยืน ร่ายกายเดินเงาก็เดิน ร่างกายนั่งเงาก็นั่ง ร่างกายนอนเงาก็นอน ติดตามเหมือนเงาตามตัว ท่านว่าอย่างนั้น ถึงกระนั้นความเชื่อของคนเรามันก็มองไม่เห็น แต่ว่าสิ่งเหล่านั้น เมื่อมาถึงตัวเราถถ้ามันเป็นความสุขเล็กๆ น้อยๆ มันก็กำหนดไม่ได้ แต่มันเป็นความสุขใหญ่ขึ้นมานั้นแหละ มันก็มองเห็น”

    -พุทธาจาโร-ได้.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    น้อมรำลึก ๒๓ ตุลาคม “วันปิยมหาราช” ๑๐๗ ปี แห่งการสวรรคต

    เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่ เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช หรือ พระพุทธเจ้าหลวง

    เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพตามราชประเพณีแล้ว ครั้งเมื่อบรรจบอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายตามราชประเพณี โดยเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวออกประดิษฐาน บนพระแท่นนพปฎลมหา-เศวตฉัตร และเชิญพระพุทธรูปปางประจำพระชนมวารประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือพระที่นั่งอนันตสมาคม ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า “วันปิยมหาราช” และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ

    เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเดชะกุศลผลบุญแห่งข้าพระพุทธเจ้าที่ได้สร้างบำเพ็ญมาด้วยทาน ศีล ภาวนา ด้วยกาย วาจา ใจ ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมบุญอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านพระปิยมหาราช และขอเดชะอำนาจบารมีของพระพุทธเจ้าหลวงโปรดคุ้มครองปกปักษ์รักษาองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระบรมราชินีนาถ และพระบรมสานุวงศ์ อีกทั้งประเทศชาติให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากภัยมารผจญ ขอพวกฉ้อราษฎร์กลืนกินประเทศอยู่นี้ ให้มลายหายสิ้นไปด้วยเทอญ

    ด้วยเกล้ากระหม่อมขอเดชะฯ ; ท่องถิ่นธรรม พระกัมมัฏฐาน

    ภาพซ้าย : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวง ร.๕ เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา จึงทรงลาผนวชเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๑๖ ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นเวลา ๑๕ วัน ในภาพ ขณะพระองค์ประทับยืน ณ พระพุทธรัตนสถานมณฑิราราม ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน

    ภาพขวา : รูปถ่ายเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ ทรงผนวช (ประทับซ้ายสุด)
    ฉาย ณ พระพุทธรัตนสถานมนทิราราม ในพระบรมมหาราชวัง พ.ศ.๒๔๑๖
    จากซ้ายไปขวา
    ๑. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ๒. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร
    ๓. พระสุคุณคณาภรณ์ (นิ่ม)
    ๔. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    ๕. พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จันทรังสี)
    ๖. สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ)
    ๗. พระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต)
    ๘. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี)
    ๙. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)

    “พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่ ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ณ พระตำหนักเดิมตรงพระที่นั่งสมมติเทวราชอุบัติ ในหมู่หนึ่งของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงมีพระนามชั้นเดิมว่า ” เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ” ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว สำหรับ ประดับหัวจุกของเด็กไทยโบราณี

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในจำนวนพระราชโอรส ธิดาทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ ในราชวงศ์จักรี ขณะพระชันษา ๙ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรกาศ ตรงกับ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อมาอีก ๔ ปี ก็ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ต่อมาใน ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงกำกับราชการ ในกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมทหารบกวังหน้า ในช่วงซึ่งพระองค์ได้ ตามเสด็จพระราชบิดา เพื่อทอดพระเนตร สุริยปราคา ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิด ประชวรด้วยไข้ป่า อย่างแรงทั้งสองพระองค์ และในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ พระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสู่ สวรรคตใน ในขณะซึ่งเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีพระชนมายุเพียง ๑๕ ปีกับ ๑๐ วัน ทั้งยังทรงประชวรด้วยไข้ป่าอย่างหนัก เกือบจะสิ้นพระชันษาด้วย ได้รับให้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ในวันเดียวกัน แต่ด้วยที่วัยพระองค์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเสนาบดี

    “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นพระภิกษุ”

    พุทธศักราช ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ ทรงผนวชแล้วเสด็จประทับ ณ พระพุทธรัตนสถานมณฑราราม ในพระบรมหาราชวังชั้นใน ทรงเชิญเสด็จสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระราชปัธยาจารย์ และนิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่วัดต่าง ๆ เข้าไปอยู่ด้วยพอครบคณะสงฆ์ ครั้งทรงผนวชได้ ๑๕ วัน จึงทรงลาผนวชแล้วทรงรับพระบรมราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง

    “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา”

    ๑.ด้านวิชาการ

    พ.ศ. ๒๔๓๑ โปรดเกล้าฯให้ ชำระและพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย นับเป็นครั้งแรกที่พระไตรปิฎก ได้รับการจัดพิมพ์ขึ้น ด้วยทรงพระราชดำริว่า เดิมพระไตรปิฎกเขียนด้วยอักษรขอมในใบลาน อ่านยาก ทำได้ช้า สิ้นเปลืองเงินทองและไม่ถูกต้องตรงกันทุกฉบับ ด้วยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทั้งฝ่ายพระสงฆ์และฆราวาสร่วมดำเนินการ ชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับอักษรไทยขึ้น ให้ทันวันฉลองราชสมบัติครบ ๒๕ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๓๖

    ในการนี้ได้พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน ๑,๐๐๐ ชั่ง จัดพิมพ์พระไตรปิฎกจำนวน ๑,๐๐๐ จบๆ ละ ๓๙ เล่ม โปรดเกล้าฯ พระราชทานไปยังพระอารามหลวงทั่วประเทศ ตลอดจนสถานศึกษาในต่างประเทศด้วย แห่งละหนึ่งจบ ภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้จำหน่ายแก่ประชาชนในราคาจบละ ๒ ชั่ง และพระราชทานแก่ชาวต่างประเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ เป็นผลให้พระไตรปิฎก แพร่หลายมากขึ้นภายในประเทศ ทำให้พระสงฆ์และสามเณรตลอดจนผู้สนใจได้อาศัยพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ด้วยอักษรไทยศึกษาเล่าเรียนมาจนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งยังเป็นที่รู้จักกันดีขึ้นในต่างประเทศทั่วโลกเรื่อยมาจนทุกวันนี้ นับเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญแพร่หลายประการหนึ่ง นอกจากรัชกาลที่ ๕ จะทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทยแล้ว ยังได้โปรดเกล้าฯ ดำเนินการโดยวิธีอื่น ๆ ด้วย คือ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอพุทธศาสนสังคหะขึ้นที่วัดเบญจมบพิตร สำหรับเป็นที่เก็บรวบรวมพระไตรปิฎกและหนังสืออื่น ๆ ในพระพุทธศาสนา ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรและผู้สนใจ

    ได้โปรดเกล้าฯ ให้แต่งหนังสือที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในหลายลักษณะด้วยกัน ได้แก่ หนังสือเบญจศีลและเบญจธรรม หนังสือเทศนา หนังสือสวดมนต์ หนังสือธรรมจักษุ และหนังสือชาดกต่าง ๆ เป็นผลให้ประชาชนได้เรียนรู้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ส่วนพระสงฆ์และสามเณรก็มีคู่มือสำหรับใช้เทศนาและบทสวดมนต์ที่เป็นแบบฉบับเดียวกัน จึงทำให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น

    นอกจากนี้รัชกาลที่ ๕ ได้ พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ในการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับอักษรพม่าที่ทางโรงพิมพ์ฮันทาวดีแห่งเมืองร่างกุ้งขอมาด้วย จึงนับได้ว่าการที่รัชกาลที่ ๕ ทรงดำเนินการในลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญอยู่ในประเทศไทยจนกระทั่งทุกวันนี้

    ๒.ด้านการเผยแพร่

    การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๕ ไปยังต่างประเทศมิได้มีเฉพาะการพระราชทานพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ด้วยอักษรไทยเท่านั้น แต่ได้เสด็จไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดียด้วยพระองค์เอง ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการเสด็จประพาสอินเดียทำให้บรรดานักค้นคว้าซึ่งศึกษาโบราณคดี ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาพากันหันไปสนใจสืบสวนค้นคว้าทางประเทศอินเดียแทนที่ได้เคยศึกษากันมาแต่ทางประเทศลังกา จึงมีผลให้ความรู้ความเห็นของคนไทยในด้านโบราณคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนากว้างขวางขึ้นโดยลำดับเรื่อยมาจนทุกวันนี้

    นอกจากนี้รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยแบ่งพระบรมสารีริกธาตุที่รัฐบาลอินเดียทูนเกล้าฯ ถวาย โดยให้พระยาสุขุมนัยวินิตออกไปรับถึงประเทศอินเดีย พระราชทานแก่ประเทศพม่า ลังกา ญี่ปุ่น และรุสเซีย เป็นผลให้พระพุทธศาสนิกชนในประเทศเหล่านั้นเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น ส่วนที่เหลือจากพระราชทานก็โปรดเกล้าฯให้บรรจุไว้ในพระเจดีย์ภูเขาทองที่วัดสระเกศ ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยสักการะและนมัสการมาจนทุกวันนี้

    ๓.ด้านการศึกษาของคณะสงฆ์

    ในด้านการาส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมขึ้นตามวัดต่างๆ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุและสามเณร ได้ทรงกำหนดให้มีการสอบไล่พระปริยัติธรรมเป็นประจำทุกปี ทรงส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุตินิกาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงขึ้นสองแห่ง คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ มหามกุฎราชวิทยาลัย เพื่อเป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและธรรมยุตินิกายตามลำดับ ในระยะแรกการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสถาบันทั้งสองประสบกับปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง โดยเฉพาะลักษณะการเรียนการสอนและวิธีการสอบ แต่ในที่สุด พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ได้ทรงดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    ซึ่งในปัจจุบันสถาบันทั้งสองยังคงเป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ทั้งสองนิกาย ดังนั้น การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ นอกจากจะทำให้การศึกษาของพระสงฆ์เจริญขึ้นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้การศึกษาของชาติเจริญขึ้นด้วย เพราะรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นตามวัดทั้งในกรุงและหัวเมือง โดยมีพระภิกษุเป็นครูสอน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดทั้งในกรุงและหัวเมืองจำนวนมากมาย เพื่อใช้เป็นแหล่งสืบอายุพระพุทธศาสนาและใช้เป็นสถานศึกษา

    แต่การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงมุ่งหวังให้พระสงฆ์มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษาของชาตินั้น มีอุปสรรคอยู่บ้างในระยะแรก จึงทำให้งานด้านการศึกษาของราษฎรเจริญก้าวหน้าช้ากว่าที่ควรจะเป็น แต่ต่อมาอุปสรรคต่าง ๆ ก็หมดสิ้นไปหลังจากรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ ดังนั้น การจัดการศึกษาขึ้นตามวัด โดยมีพระภิกษุเป็นครูสอนนั้น นับเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญแพร่หลาย และเป็นการวางรากฐานการศึกษาโรงเรียนหัวเมือง ในปัจจุบันด้วย

    ๔.ด้านการปกครองคณะสงฆ์

    ในด้านการจัดสังฆมณฑล ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดสังฆมณฑลให้เป็นระเบียบเรียบร้อยทั่วพระราชอาณาจักร การตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ขึ้นในครั้งนั้น แสดงให้เห็นถึงพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ ๕ ในการนำหลักการสมัยใหม่มาใช้กับการปกครองคณะสงฆ์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน กล่าวคือ มอบอำนาจบริหารให้แก่มหาเถรสมาคมในอันที่จะปกครองตัดสินข้อขัดแย้ง และเป็นองค์ปรึกษาแก่สังฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร ส่วน การปกครองคณะสงฆ์ให้จัดอนุโลมตามวิธีการปกครองพระราชอาณาจักร คือ มีเจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง และอธิการหมวด บังคับบัญชาในมณฑล เมือง แขวง ตำบล และวัด ขึ้นตรงต่อกันโดยลำดับ

    ทั้งได้กำหนดหน้าที่แต่ละตำแหน่งไว้โดยละเอียดชัดแจ้ง เป็นอำนาจถอดถอน บำรุงรักษา สั่งสอนกุลบุตร ตลอดจนเผยแผ่ศาสนา ทำให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ เกิดเอกภาพทางบริหาร ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันและสอดคล้องกับการจัดรูปการปกครองของฝ่ายพระราชอาณาจักรในสมัยนั้น มอบอำนาจบริหารให้แก่มหาเถรสมาคม ในอันที่จะปกคอรงตัดสินข้อขัดแย้งและเป็นองค์ปรึกษาแก่สังฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร ส่วนการปกครองคณะสงฆ์ให้จัดอนุโลมตามวิธีการปกครองพระราชอาณาจักร คือ มีเจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง และอธิการหมวด บังคับบัญชาในมณฑล เมือง แขวง ตำบล และวัด ขึ้นตรงต่อกันโดยลำดับ ทั้งได้กำหนดหน้าที่แต่ละตำแหน่งไว้โดยละเอียดชัดแจ้ง เป็นอำนาจถอดถอน บำรุงรักษา สั่งสอนกุลบุตร ตลอดจนเผยแผ่ศาสนา ทำให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ เกิดเอกภาพทางบริหาร ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันและสอดคล้องกับการจัดรูปการปกครองของฝ่ายพระราชอาณาจักรในสมัยนั้น

    การที่พระราชบัญญัติกำหนดให้พระสงฆ์ตั้งแต่ชั้นเจ้าอาวาสขึ้นมา จนถึงระดับสูงสุดมีหน้าที่ในการบำรุงการศึกษานั้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงเห็นคุณค่าของการศึกษาในวัด ซึ่งนับเป็นการวางรากฐานการศึกษาของชาติในระยะต่อมา และในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ยังได้กำหนดการวางระเบียบการเก็บผลประโยชน์ ของพระอารามให้เป็นหลักฐาน โดยรัฐเข้ามามีบทบาทควบคุมอย่างใกล้ชิดด้วย ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของวัดมั่นคงขึ้น สำหรับด้านความประพฤติของพระสงฆ์ ทรงให้ออกประกาศต่าง ๆ เพื่อให้พระสงฆ์ตั้งอยู่ในพระวินัยบัญญัติ จะได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน

    และโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวง ธรรมการทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับงานด้านพระศาสนา แม้ในปัจจุบันกระทรวงนี้ก็ยังมีหน่วยงานรับผิดชอบงานด้านพระศาสนาอยู่ นอกจากนี้ พระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๕ ยังได้ทรงแสดงออกให้เห็นได้จากการบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสต่าง ๆ เช่น เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐิน ทรงบาตรและสดับพระธรรมเทศนา เป็นต้น ทรงแต่งตั้งสมณศักดิ์พร้อมกันพระราชทานนิตยภัตแก่พระสงฆ์ด้วย

    ผลจากการที่รัชกาลที่ ๕ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาดังกล่าวแล้ว ทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศในด้านต่างๆ คือ ด้านการคณะสงฆ์ จากการที่โปรดให้ตราพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๔๕ ทำให้พระสงฆ์ได้ปกครองกันเองภายใต้การบริหารงานของมหาเถรสมาคม ทำให้การปกครองสังฆมณฑล เป็นแบบแผนเดียวกันทั้งประเทศ ซึ่งแนวปฏิบัติดังกล่าวยังคงใช้ปฏิบัติมาจนทุกวันนี้

    ส่วนการส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ ทั้งการตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย และโรงเรียนพระ
    ปริยัติธรรมตามวัด ตลอดจนการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย รวมทั้งการโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมพระไตรปิฎกและหาฉบับที่ขาดหายเพิ่มเติม สิ่งเหล่านี้ช่วยทำให้การศึกษาของพระสงฆ์และประชาชนเจริญขึ้น เพราะในสมัยนั้นพระสงฆ์ทำหน้าที่สอนหนังสือให้แก่ประชาชนในโรงเรียนวัดที่รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น จึงส่งผลให้การปรับปรุงประเทศของรัชกาลที่ ๕ ประสบความสำเร็จเพราะทำให้หาคนเข้ารับราชการได้มากขึ้น ทั้งยังเกิดช่องทางที่พวกไพร่บ้านพลเมืองจะได้เลื่อนฐานะทางสังคมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สังคมไทย แต่ผลดังกล่าวนับเป็นการปลูกฝังค่านิยมของคนให้นิยมยึดอาชีพรับราชการเรื่อยมาจนทุกวันนี้

    การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๕ ยังมีผลทำให้พระสงฆ์มีบทบาททางสังคมมากขึ้น จึงส่งผลให้สภาพสังคมดีขึ้นด้วย เพราะประชาชนได้เรียนรู้หลักธรรมจากพระสงฆ์เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้เป็นคนดี และยังทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าต่างก็เป็นพุทธศาสนิกชน ย่อมก่อให้เกิดเอกภาพในสังคมไทย นับเป็นผลดีแก่ประเทศอย่างมากในภาวะที่เผชิญกับภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก

    อนึ่ง การกำหนดให้มีมรรคนายกประจำวัดต่างๆ ทำหน้าที่จัดการผลประโยชน์วัดเช่น ค่าเช่าที่ มีผลทำให้สภาพทางเศรษฐกิจของฝ่ายศาสนจักรมั่นคงขึ้น และผลพลอยได้จากการติดต่อกับต่างประเทศทางด้านศาสนา เช่น การเดินทางไปรับพระบรมสารีริกธาตุของพระยาสุขุมนัยวินิต ที่ประเทศอินเดีย ก็ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของประชาชนและประเทศเช่นกัน โดยเฉพาะการจัดการชลประทาน ซึ่งได้นำมาใช้ปรับปรุงในประเทศ ส่วนการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่ประเทศต่าง ๆ ตลอดจนการพระราชทานพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์เป็นอักษรไทยไปยังนานาประเทศทั่วโลก นับเป็นผลดีต่อประเทศและวงการพระพุทธศาสนา เพราะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมั่นคงขึ้น พระพุทธศาสนาก็เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก

    ส่วนการสร้างวัด บูรณะและปฏิสังขรณ์วัด ก็เป็นผลดีเพราะถือเป็นการผดุงศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมของชาติ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าสืบมาจนทุกวันนี้ เช่น สถาปัตยกรรมการก่อสร้างตามแบบศิลปะไทยที่วัดเบญจมบพิตร และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ซึ่งใช้ศิลปะการก่อสร้างแบบตะวันตก และวัดยังเป็นศูนย์รวมของประชาชนในด้านต่าง ๆ ตลอดจนเป็นแหล่งสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา

    การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๕ นอกจากจะทำให้เกิดผลดีแก่ประเทศในด้านต่างๆ แล้ว ยังก่อให้เกิดผลดีแก่รัชกาลที่ ๕ ในส่วนพระองค์ด้วย ทำให้ฐานะทางการเมืองของพระองค์มั่นคงขึ้น เพราะประชาชนต่างให้ความจงรักภักดีในฐานะที่ทรงปฏิบัติพระองค์ตั้งมั่งอยู่ในหลักทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร สังคหวัตถุ และทรงเป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภกอย่างแท้จริง จึงทำให้การปกครองในสมัยของพระองค์ดำเนินไปอย่างราบรื่น ส่งผลให้การปรับปรุงประเทศของพระองค์ประสบความสำเร็จ และยังสามารถรักษาความเป็นเอกราชของประเทศจากภัยคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตกไว้ได้

    จึงสรุปได้ว่า ผลจากการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๕ นั้น เป็นประโยชน์ต่อการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองการปกครองของพระองค์ให้มั่นคงด้วยประการหนึ่ง

    การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในลักษณะต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะประสบอุปสรรคอยู่บ้าง แต่โดยส่วนรวมแล้ว ผลจากการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพระองค์ นับเป็นประโยชน์ต่อประเทศทั้งฝ่ายคณะสงฆ์ ฆราวาสและพระองค์เอง จุดเด่นประการสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านนั้นๆ ประสบความสำเร็จในที่สุดนั้นสืบเนื่องจากการที่ทรงได้รับความช่วยเหลืออย่างดียิ่งจากฝ่ายพระสงฆ์ เจ้านาย ข้าราชการ ตลอดจนประชาชน บุคคลสำคัญที่ช่วยให้งานด้านนี้ของรัชกาลที่ ๕ ประสบความสำเร็จและเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก ก็คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ประกอบกับรัชกาลที่ ๕ ทรงเอาพระทัยใส่และติดตามผลเรื่อยมา จึงส่งผลให้พระพุทธศาสนาเจริญสืบทอดมาจนทุกวันนี้ฯ

    “พระราชกรณียกิจที่สำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

    ๑. การเลิกทาส
    เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่า มีทาสในแผ่นดินเป็นจำนวนมาก และลูกทาสในเรือนเบี้ยจะสืบต่อการเป็นทาสไปจนรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต พระองค์จึงทรงมีพระทัยแน่วแน่ว่า จะต้องเลิกทาสให้สำเร็จ แม้จะเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะทาสมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ อีกทั้งเจ้านายที่เป็นใหญ่ในสมัยนั้นมักมีข้ารับใช้ เมื่อไม่มีทาส บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่พอใจและก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นเหมือนกับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศมาแล้ว

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ หรือสมเด็จพระปิยมหาราชจึงตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๑๗ ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ มีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.๒๔๑๑ ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี และพอครบอายุ ๒๑ ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง จากนั้นใน พ.ศ.๒๔๔๘ จึงได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า “พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.๑๒๔” (พ.ศ.๒๔๔๘) เลิกลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่ต้องเป็นทาสอีกต่อไป และการซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ ๔ บาท จนกว่าจะหมด

    “..ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน ในเวลาเพียง ๓๐ ปีเศษ ทาสในเมืองไทยก็หมดไปโดยไม่เกิดการนองเลือดเหมือนกับประเทศอื่นๆ..”

    ๒. การปฏิรูประบบราชการ

    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกัน จากเดิมมี ๖ กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงลาโหม, กระทรวงนครบาล, กระทรวงวัง, กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตราธิการ ได้เพิ่มอีก ๔ กระทรวง รวมเป็น ๑๐ กระทรวง ได้แก่ กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ และการศึกษา, กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่างๆ , กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง และกระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ

    ๓.การสาธารณูปโภค

    การประปา ทรงให้กักเก็บน้ำจากแม่น้ำเชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี และขุดคลองเพื่อส่งน้ำเข้ามายังสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำประปาขึ้นในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๒

    การคมนาคม วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา แต่ทรงเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาก่อน จึงนับว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นทางรถไฟแห่งแรกของไทย

    นอกจากนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพาน และถนนอีกมากมาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น และโปรดให้ขุดคลองต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางคมนาคม และส่งเสริมการเพาะปลูก

    การสาธารณสุขเนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที สมเด็จพระปิยมหาราชจึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๒๐๐ ชั่ง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลศิริราช” เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๑

    การไฟฟ้า สมเด็จพระปิยมหาราชพระองค์ทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่งานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๓

    การไปรษณีย์ โปรดให้เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๒๔ รวมอยู่ในกรมโทรเลข ซึ่งได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๑๒ โดยโทรเลขสายแรกคือ ระหว่างจังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) กับจังหวัดสมุทรปราการ

    ๔. การเสด็จประพาส

    สมเด็จพระปิยมหาราชทรงเสด็จประพาส การเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอันหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยหลังจากเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้เสด็จประพาสยุโรป ๒ ครั้ง ในปี พ.ศ.๒๔๔๐ ครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ.๒๔๕๐ อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ในยุโรป ตลอดจนประเทศฝรั่งเศสด้วย อีกทั้งยังได้ทรงเลือกสรรเอาแบบแผนขนบธรรมเนียมอันดีในดินแดนเหล่านั้นมาปรับปรุงในประเทศให้เจริญขึ้น

    ในการเสด็จประพาสครั้งแรกนี้ ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาตลอดระยะทางถึงสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชหัตถเลขานี้ต่อมาได้รวมเป็นหนังสือเล่มชื่อ “พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน” ให้ความรู้อย่างมากมายเกี่ยวแก่สถานที่ต่างๆ ที่เสด็จไป

    ส่วนภายในประเทศ ก็ทรงถือว่าการเสด็จประพาสในที่ต่างๆ เป็นการตรวจตราสารทุกข์สุขดิบของราษฎรได้เป็นอย่างดี พระองค์จึงได้ทรงปลอมแปลงพระองค์ไปกับเจ้านายและข้าราชการ โดยเสด็จฯ ทางเรือมาดแจวไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ เพื่อแวะเยี่ยมเยียนตามบ้านราษฎร ซึ่งเรียกกันว่า “ประพาสต้น” ซึ่งได้เสด็จ ๒ ครั้ง คือในปี พ.ศ.๒๔๔๗ และในปี พ.ศ.๒๔๔๙ อีกครั้งหนึ่ง

    ๕. การศึกษา

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงโปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ “โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก” ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ” ต่อมาโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก คือ “โรงเรียนวัดมหรรณพาราม” และในที่สุดได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๕ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาและการศาสนา

    ๖. การปกป้องประเทศจากการสงครามและเสียดินแดน

    เนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมได้แผ่อิทธิพลเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ปรีชาสามารถอย่างสุดพระกำลังที่จะรักษาประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์ ถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนบางส่วนไปก็ตาม โดยดินแดนที่ต้องเสียให้กับต่างชาติ ได้แก่

    พ.ศ.๒๔๓๑ เสียดินแดนในแคว้นสิบสองจุไทย
    พ.ศ.๒๔๓๖ เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ให้ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีไว้
    พ.ศ.๒๔๔๗ เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี แต่ฝรั่งเศสได้ยึดตราดไว้แทน
    พ.ศ.๒๔๔๙ เสียดินแดนที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับตราด และเกาะทั้งหลาย แต่การเสียดินแดนครั้งสุดท้ายนี้ไทยก็ได้ประโยชน์อยู่บ้าง คือฝรั่งเศสยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ยอมให้ศาลไทยมีสิทธิที่จะชำระคดีใดๆ ที่เกิดขึ้นแก่ชาวฝรั่งเศส ไม่ต้องไปขึ้นศาลกงสุลเหมือนแต่ก่อน

    ส่วนทางด้านอังกฤษ ประเทศไทยได้เปิดการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ รวมถึงเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตด้วย ใน พ.ศ.๒๔๕๔ อังกฤษจึงยอมตกลงให้ชาวอังกฤษ หรือคนในบังคับอังกฤษมาขึ้นศาลไทย และยอมให้ไทยกู้เงินจากอังกฤษ เพื่อนำมาใช้สร้างทางรถไฟสายใต้จากกรุงเทพฯ ถึงสิงคโปร์ เพื่อตอบแทนประโยชน์ที่อังกฤษเอื้อเฟื้อ ทางฝ่ายไทยยอมยกรัฐกลันตัน ตรังกานูและไทยบุรี ให้แก่สหรัฐมลายูของอังกฤษ

    ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่งคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ หรือวันปิยมหาราชในปัจจุบันนี้ รวมพระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา ทรงครองสิริราชสมบัติมานานถึง ๔๒ ปี

    “วัดประจำรัชกาลที่ ๕ ”

    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๒ โดยมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นณรงคหริรักษ์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล) เป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและยุโรป คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง และมีมหาสีมาอันเป็นเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักร ๘ เสา ตั้งเป็นสีมาที่กำแพง ๘ ทิศ “ราชบพิธ” หมายถึง พระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินสร้าง “สถิตมหาสีมาราม” หมายถึง พระอารามซึ่งมีมหาเสมาหรือเสมาใหญ่

    พระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ส่วนหนึ่งบรรจุที่ใต้ฐานพระพุทธอังคีรสในพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เพราะได้ทรงตั้งใจก่อสร้างไว้อย่างสวยงาม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม นับเป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล

    เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเดชะกุศลผลบุญแห่งข้าพระพุทธเจ้าที่ได้สร้างบำเพ็ญมาด้วยทาน ศีล ภาวนา ด้วยกาย วาจา ใจ ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมบุญอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านพระปิยมหาราช และขอเดชะอำนาจบารมีของพระพุทธเจ้าหลวงโปรดคุ้มครองปกปักษ์รักษาองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระบรมราชินีนาถ และพระบรมสานุวงศ์ อีกทั้งประเทศชาติให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากภัยมารผจญ ขอพวกฉ้อราษฎร์กลืนกินประเทศอยู่ขณะนี้ จงมลายหายสิ้นไปด้วยเทอญ

    ด้วยเกล้ากระหม่อมขอเดชะฯ ; ท่องถิ่นธรรม พระกัมมัฏฐาน

    _/_ _/_ _/_

    -๒๓-ตุลาคม-วันป.jpg
    น้อมรำลึก ๒๓ ตุลาคม “วันปิยมหาราช” ๑๐๗ ปี แห่งการสวรรคต

    เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่ เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช หรือ พระพุทธเจ้าหลวง

    เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพตามราชประเพณีแล้ว ครั้งเมื่อบรรจบอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายตามราชประเพณี โดยเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวออกประดิษฐาน บนพระแท่นนพปฎลมหา-เศวตฉัตร และเชิญพระพุทธรูปปางประจำพระชนมวารประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือพระที่นั่งอนันตสมาคม ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า “วันปิยมหาราช” และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ

    เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเดชะกุศลผลบุญแห่งข้าพระพุทธเจ้าที่ได้สร้างบำเพ็ญมาด้วยทาน ศีล ภาวนา ด้วยกาย วาจา ใจ ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมบุญอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านพระปิยมหาราช และขอเดชะอำนาจบารมีของพระพุทธเจ้าหลวงโปรดคุ้มครองปกปักษ์รักษาองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระบรมราชินีนาถ และพระบรมสานุวงศ์ อีกทั้งประเทศชาติให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากภัยมารผจญ ขอพวกฉ้อราษฎร์กลืนกินประเทศอยู่นี้ ให้มลายหายสิ้นไปด้วยเทอญ

    ด้วยเกล้ากระหม่อมขอเดชะฯ ; ท่องถิ่นธรรม พระกัมมัฏฐาน

    ภาพซ้าย : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวง ร.๕ เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา จึงทรงลาผนวชเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๑๖ ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นเวลา ๑๕ วัน ในภาพ ขณะพระองค์ประทับยืน ณ พระพุทธรัตนสถานมณฑิราราม ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน

    ภาพขวา : รูปถ่ายเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ ทรงผนวช (ประทับซ้ายสุด)
    ฉาย ณ พระพุทธรัตนสถานมนทิราราม ในพระบรมมหาราชวัง พ.ศ.๒๔๑๖
    จากซ้ายไปขวา
    ๑. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ๒. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร
    ๓. พระสุคุณคณาภรณ์ (นิ่ม)
    ๔. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    ๕. พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จันทรังสี)
    ๖. สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ)
    ๗. พระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต)
    ๘. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี)
    ๙. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)

    “พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่ ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ณ พระตำหนักเดิมตรงพระที่นั่งสมมติเทวราชอุบัติ ในหมู่หนึ่งของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงมีพระนามชั้นเดิมว่า ” เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ” ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว สำหรับ ประดับหัวจุกของเด็กไทยโบราณี

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในจำนวนพระราชโอรส ธิดาทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ ในราชวงศ์จักรี ขณะพระชันษา ๙ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรกาศ ตรงกับ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อมาอีก ๔ ปี ก็ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ต่อมาใน ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงกำกับราชการ ในกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมทหารบกวังหน้า ในช่วงซึ่งพระองค์ได้ ตามเสด็จพระราชบิดา เพื่อทอดพระเนตร สุริยปราคา ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิด ประชวรด้วยไข้ป่า อย่างแรงทั้งสองพระองค์ และในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ พระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสู่ สวรรคตใน ในขณะซึ่งเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีพระชนมายุเพียง ๑๕ ปีกับ ๑๐ วัน ทั้งยังทรงประชวรด้วยไข้ป่าอย่างหนัก เกือบจะสิ้นพระชันษาด้วย ได้รับให้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ในวันเดียวกัน แต่ด้วยที่วัยพระองค์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเสนาบดี

    “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นพระภิกษุ”

    พุทธศักราช ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ ทรงผนวชแล้วเสด็จประทับ ณ พระพุทธรัตนสถานมณฑราราม ในพระบรมหาราชวังชั้นใน ทรงเชิญเสด็จสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระราชปัธยาจารย์ และนิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่วัดต่าง ๆ เข้าไปอยู่ด้วยพอครบคณะสงฆ์ ครั้งทรงผนวชได้ ๑๕ วัน จึงทรงลาผนวชแล้วทรงรับพระบรมราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง

    “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา”

    ๑.ด้านวิชาการ

    พ.ศ. ๒๔๓๑ โปรดเกล้าฯให้ ชำระและพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย นับเป็นครั้งแรกที่พระไตรปิฎก ได้รับการจัดพิมพ์ขึ้น ด้วยทรงพระราชดำริว่า เดิมพระไตรปิฎกเขียนด้วยอักษรขอมในใบลาน อ่านยาก ทำได้ช้า สิ้นเปลืองเงินทองและไม่ถูกต้องตรงกันทุกฉบับ ด้วยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทั้งฝ่ายพระสงฆ์และฆราวาสร่วมดำเนินการ ชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับอักษรไทยขึ้น ให้ทันวันฉลองราชสมบัติครบ ๒๕ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๓๖

    ในการนี้ได้พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน ๑,๐๐๐ ชั่ง จัดพิมพ์พระไตรปิฎกจำนวน ๑,๐๐๐ จบๆ ละ ๓๙ เล่ม โปรดเกล้าฯ พระราชทานไปยังพระอารามหลวงทั่วประเทศ ตลอดจนสถานศึกษาในต่างประเทศด้วย แห่งละหนึ่งจบ ภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้จำหน่ายแก่ประชาชนในราคาจบละ ๒ ชั่ง และพระราชทานแก่ชาวต่างประเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ เป็นผลให้พระไตรปิฎก แพร่หลายมากขึ้นภายในประเทศ ทำให้พระสงฆ์และสามเณรตลอดจนผู้สนใจได้อาศัยพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ด้วยอักษรไทยศึกษาเล่าเรียนมาจนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งยังเป็นที่รู้จักกันดีขึ้นในต่างประเทศทั่วโลกเรื่อยมาจนทุกวันนี้ นับเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญแพร่หลายประการหนึ่ง นอกจากรัชกาลที่ ๕ จะทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทยแล้ว ยังได้โปรดเกล้าฯ ดำเนินการโดยวิธีอื่น ๆ ด้วย คือ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอพุทธศาสนสังคหะขึ้นที่วัดเบญจมบพิตร สำหรับเป็นที่เก็บรวบรวมพระไตรปิฎกและหนังสืออื่น ๆ ในพระพุทธศาสนา ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรและผู้สนใจ

    ได้โปรดเกล้าฯ ให้แต่งหนังสือที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในหลายลักษณะด้วยกัน ได้แก่ หนังสือเบญจศีลและเบญจธรรม หนังสือเทศนา หนังสือสวดมนต์ หนังสือธรรมจักษุ และหนังสือชาดกต่าง ๆ เป็นผลให้ประชาชนได้เรียนรู้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ส่วนพระสงฆ์และสามเณรก็มีคู่มือสำหรับใช้เทศนาและบทสวดมนต์ที่เป็นแบบฉบับเดียวกัน จึงทำให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น

    นอกจากนี้รัชกาลที่ ๕ ได้ พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ในการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับอักษรพม่าที่ทางโรงพิมพ์ฮันทาวดีแห่งเมืองร่างกุ้งขอมาด้วย จึงนับได้ว่าการที่รัชกาลที่ ๕ ทรงดำเนินการในลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญอยู่ในประเทศไทยจนกระทั่งทุกวันนี้

    ๒.ด้านการเผยแพร่

    การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๕ ไปยังต่างประเทศมิได้มีเฉพาะการพระราชทานพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ด้วยอักษรไทยเท่านั้น แต่ได้เสด็จไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดียด้วยพระองค์เอง ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการเสด็จประพาสอินเดียทำให้บรรดานักค้นคว้าซึ่งศึกษาโบราณคดี ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาพากันหันไปสนใจสืบสวนค้นคว้าทางประเทศอินเดียแทนที่ได้เคยศึกษากันมาแต่ทางประเทศลังกา จึงมีผลให้ความรู้ความเห็นของคนไทยในด้านโบราณคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนากว้างขวางขึ้นโดยลำดับเรื่อยมาจนทุกวันนี้

    นอกจากนี้รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยแบ่งพระบรมสารีริกธาตุที่รัฐบาลอินเดียทูนเกล้าฯ ถวาย โดยให้พระยาสุขุมนัยวินิตออกไปรับถึงประเทศอินเดีย พระราชทานแก่ประเทศพม่า ลังกา ญี่ปุ่น และรุสเซีย เป็นผลให้พระพุทธศาสนิกชนในประเทศเหล่านั้นเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น ส่วนที่เหลือจากพระราชทานก็โปรดเกล้าฯให้บรรจุไว้ในพระเจดีย์ภูเขาทองที่วัดสระเกศ ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยสักการะและนมัสการมาจนทุกวันนี้

    ๓.ด้านการศึกษาของคณะสงฆ์

    ในด้านการาส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมขึ้นตามวัดต่างๆ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุและสามเณร ได้ทรงกำหนดให้มีการสอบไล่พระปริยัติธรรมเป็นประจำทุกปี ทรงส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุตินิกาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงขึ้นสองแห่ง คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ มหามกุฎราชวิทยาลัย เพื่อเป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและธรรมยุตินิกายตามลำดับ ในระยะแรกการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสถาบันทั้งสองประสบกับปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง โดยเฉพาะลักษณะการเรียนการสอนและวิธีการสอบ แต่ในที่สุด พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ได้ทรงดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    ซึ่งในปัจจุบันสถาบันทั้งสองยังคงเป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ทั้งสองนิกาย ดังนั้น การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ นอกจากจะทำให้การศึกษาของพระสงฆ์เจริญขึ้นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้การศึกษาของชาติเจริญขึ้นด้วย เพราะรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นตามวัดทั้งในกรุงและหัวเมือง โดยมีพระภิกษุเป็นครูสอน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดทั้งในกรุงและหัวเมืองจำนวนมากมาย เพื่อใช้เป็นแหล่งสืบอายุพระพุทธศาสนาและใช้เป็นสถานศึกษา

    แต่การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงมุ่งหวังให้พระสงฆ์มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษาของชาตินั้น มีอุปสรรคอยู่บ้างในระยะแรก จึงทำให้งานด้านการศึกษาของราษฎรเจริญก้าวหน้าช้ากว่าที่ควรจะเป็น แต่ต่อมาอุปสรรคต่าง ๆ ก็หมดสิ้นไปหลังจากรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ ดังนั้น การจัดการศึกษาขึ้นตามวัด โดยมีพระภิกษุเป็นครูสอนนั้น…
     
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “นักปราชญ์ทั้งหลายท่านย่อมสรรเสริญถึงเรื่องทาน มีคนอันธพาลเท่านั้นที่ไม่สรรเสริญ ทั้งๆที่ตนเองก็รับทานอยู่ แต่ไม่รู้จักคุณค่าของการทำทาน”
    “ความเมตตาปรารถนาหวังดี อันนั้นได้ชื่อว่าให้ทานโดยแท้ เขาทำทาน ปรารถนาหวังดีแก่เรา เราแผ่เมตตาถึงเขา ก็เรียกว่าให้ทาน” หลวงปู่เทสก์

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ๒๔ ตุลาคม น้อมรำลึก ๔ ปี แห่งการสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    “..ทุกชีวิตมีเวลาจำกัด อย่างมากไม่เกินร้อยปีก็จะต้องละร่างนี้ ละโลกนี้ไป อย่าผลัดวันประกันพรุ่งที่จะทำความดี เพราะถ้าสายเกินไปเมื่อไร ก็ตนเองนั่นแหละ จะต้องได้เสวยผลของการไม่กระทำกรรมดี ไม่มีผู้ใดอื่นจะรับผลของความดีความชั่วที่ตนเองทำไว้ เจ้าตัวเองเท่านั้น จักเป็นผู้รับผลของความดีความชั่วที่ตนทำ..” พระธรรมคำสอนสมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

    พระชาติภูมิ พระองค์ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๖ เวลาประมาณ ๐๔.๐๐ น. เศษ (นับอย่างปัจจุบันเป็นวันที่ ๔ ตุลาคม) ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู ณ ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

    ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ในปี พ.ศ.๒๔๖๙ ขณะมีพระชันษาได้ ๑๔ ปี ณ วัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี โดยมี พระเทพมงคลรังษี (พระอาจารย์ดี พุทธฺโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์

    ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๖ ณ วัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี โดยมี พระครูอดุลยสมณกิจ (หลวงพ่อวัดเหนือ) เป็นพระอุปัชฌาย์

    ทรงญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๖ ศกเดียวกัน (สมัยนั้นขึ้น พ.ศ. ใหม่เดือนเมษายน ฉะนั้น เดือนมิถุนายน จึงเป็นต้นปี เดือนกุมภาพันธ์ เป็นปลายปี) ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

    ได้รับพระราชทานสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในลำดับที่ ๑๙ ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดทางการปกครองของคณะสงฆ์ และทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒

    ขอน้อมนำพระปฏิปทาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ไว้เป็นแบบอย่างสำหรับพระภิกษุสงฆ์ ทั้งลูกศิษย์หลานศิษย์ในยุคปัจจุบัน ควรใคร่ควรน้อมนำพระปฏิปทาของพระองค์ท่านไปปฏิบัติ ถึงไม่ได้มาก ก็ขออย่าให้น้อยต่ำอย่างฆราวาสวิสัย…

    “…ความเป็นผู้สำรวมระวังในพระวินัย หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ ก็คือ ความเคร่งครัดในพระวินัย พระปฏิปทาข้อนี้ย่อมเป็นที่ปรากฏต่อสายตาของคนทั่วไปผู้ได้เคยพบเห็นเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นต้นว่า ทรงเป็นผู้สงบนิ่ง พูดน้อย ไม่ว่าประทับในที่ใด ทรงอยู่ในพระอาการสำรวมเสมอ
    ความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างเรียบง่าย แม้ที่อยู่อาศัยก็ไม่โปรดให้ประดับตกแต่ง ทรงเตือนภิกษุสามเณรอยู่เสมอว่า “พระเณรไม่ควรอยู่อย่างหรูหรา”

    พระปฏิปทาข้อนี้ที่ปรากฏอย่างชัดเจนอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ทรงสะสม วัตถุสิ่งของที่มีผู้ถวายมา ก็ทรงแจกจ่ายต่อไปตามโอกาส ครั้งหนึ่ง มีผู้แสดงความประสงค์จะถวายรถยนต์สำหรับทรง ใช้สอยประจำพระองค์ เพื่อความสะดวกในการที่จะเสด็จไปทรงปฏิบัติภารกิจในที่ต่าง ๆ ส่วนพระองค์ พระองค์ก็ตอบเขาไปว่า “ไม่รู้จะเอาเก็บไว้ที่ไหน” จึงเป็นอันว่าไม่ทรงรับถวาย

    ในวโรกาสทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชนมายุ ๘๐ พรรษา หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ทูลถวาย จตุปัจจัยร่วมบำเพ็ญพระกุศล ๗ ล้านบาท เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงอนุโมทนา ขอบคุณหลวงพ่อคูณ แล้วตรัสกับหลวงพ่อคูณว่า “ขอถวายคืนร่วมทำบุญกับหลวงพ่อ ด้วยก็แล้วกัน” ก็เป็นอันว่า ทรงรับถวายแล้วก็ถวายคืนกลับไป

    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเตือนภิกษุสามเณรอยู่เสมอว่า “เป็นพระต้องจน” และไม่เพียง แต่ทรงสอนผู้อื่นเท่านั้น แม้พระองค์เองก็ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นพระที่จนเหมือนกัน ครั้งหนึ่ง หลังจากทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้วไม่นานนักศิษย์ใกล้ชิดคนหนึ่ง มากราบทูลว่า “ขณะนี้วัด………ที่เมืองกาญจนบุรี กำลังสร้างสะพานข้ามแม้น้ำ เกือบจะเสร็จแล้ว ยังขาดเงินอีกราว ๗-๘ แสนบาท อยากกราบทูลใต้ฝ่าพระบาทเสด็จไปโปรดสักครั้ง สะพาน จะได้เสร็จเร็ว ๆ ไม่ทราบว่าใต้ฝ่าพระบาทจะพอมีเวลาเสด็จได้หรือไม่ กระหม่อม” เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ตรัสตอบว่า “เวลาน่ะพอมี แต่เงินตั้งแสนจะเอาที่ไหน เพราะพระไม่มีอาชีพการงานไม่มี รายได้เหมือนชาวบ้าน แล้วแต่เขาจะให้”

    พระปฏิปทาของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ในฐานะที่ทรงเป็นพระรูปหนึ่ง จึงเป็นที่น่าประทับใจ เป็นพระปฏิปทาที่ควรแก่การยึดถือเป็นแบบอย่าง”

    “..ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้ก็สำคัญนัก เป็นรอยต่อ เป็นทางแยก จะไปสูงไปต่ำ จะไปดี ไปร้าย เลือกได้ในชีวิตนี้เท่านั้น พึงสำนึกข้อนี้ให้จงดี แล้วจงเลือกเถิด แล้วเลือกให้ดีเถิด..”

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ ตรงกับวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกา สิริพระชนมายุ ๑๐๐ พระชันษา ๒๑ วัน

    _/_ _/_ _/_

    -ตุลาคม-น้อมรำลึก-๔-ปี-แ.jpg
    ๒๔ ตุลาคม น้อมรำลึก ๔ ปี แห่งการสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    “..ทุกชีวิตมีเวลาจำกัด อย่างมากไม่เกินร้อยปีก็จะต้องละร่างนี้ ละโลกนี้ไป อย่าผลัดวันประกันพรุ่งที่จะทำความดี เพราะถ้าสายเกินไปเมื่อไร ก็ตนเองนั่นแหละ จะต้องได้เสวยผลของการไม่กระทำกรรมดี ไม่มีผู้ใดอื่นจะรับผลของความดีความชั่วที่ตนเองทำไว้ เจ้าตัวเองเท่านั้น จักเป็นผู้รับผลของความดีความชั่วที่ตนทำ..” พระธรรมคำสอนสมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

    พระชาติภูมิ พระองค์ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๖ เวลาประมาณ ๐๔.๐๐ น. เศษ (นับอย่างปัจจุบันเป็นวันที่ ๔ ตุลาคม) ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู ณ ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

    ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ในปี พ.ศ.๒๔๖๙ ขณะมีพระชันษาได้ ๑๔ ปี ณ วัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี โดยมี พระเทพมงคลรังษี (พระอาจารย์ดี พุทธฺโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์

    ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๖ ณ วัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี โดยมี พระครูอดุลยสมณกิจ (หลวงพ่อวัดเหนือ) เป็นพระอุปัชฌาย์

    ทรงญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๖ ศกเดียวกัน (สมัยนั้นขึ้น พ.ศ. ใหม่เดือนเมษายน ฉะนั้น เดือนมิถุนายน จึงเป็นต้นปี เดือนกุมภาพันธ์ เป็นปลายปี) ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

    ได้รับพระราชทานสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในลำดับที่ ๑๙ ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดทางการปกครองของคณะสงฆ์ และทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒

    ขอน้อมนำพระปฏิปทาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ไว้เป็นแบบอย่างสำหรับพระภิกษุสงฆ์ ทั้งลูกศิษย์หลานศิษย์ในยุคปัจจุบัน ควรใคร่ควรน้อมนำพระปฏิปทาของพระองค์ท่านไปปฏิบัติ ถึงไม่ได้มาก ก็ขออย่าให้น้อยต่ำอย่างฆราวาสวิสัย…

    “…ความเป็นผู้สำรวมระวังในพระวินัย หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ ก็คือ ความเคร่งครัดในพระวินัย พระปฏิปทาข้อนี้ย่อมเป็นที่ปรากฏต่อสายตาของคนทั่วไปผู้ได้เคยพบเห็นเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นต้นว่า ทรงเป็นผู้สงบนิ่ง พูดน้อย ไม่ว่าประทับในที่ใด ทรงอยู่ในพระอาการสำรวมเสมอ
    ความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างเรียบง่าย แม้ที่อยู่อาศัยก็ไม่โปรดให้ประดับตกแต่ง ทรงเตือนภิกษุสามเณรอยู่เสมอว่า “พระเณรไม่ควรอยู่อย่างหรูหรา”

    พระปฏิปทาข้อนี้ที่ปรากฏอย่างชัดเจนอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ทรงสะสม วัตถุสิ่งของที่มีผู้ถวายมา ก็ทรงแจกจ่ายต่อไปตามโอกาส ครั้งหนึ่ง มีผู้แสดงความประสงค์จะถวายรถยนต์สำหรับทรง ใช้สอยประจำพระองค์ เพื่อความสะดวกในการที่จะเสด็จไปทรงปฏิบัติภารกิจในที่ต่าง ๆ ส่วนพระองค์ พระองค์ก็ตอบเขาไปว่า “ไม่รู้จะเอาเก็บไว้ที่ไหน” จึงเป็นอันว่าไม่ทรงรับถวาย

    ในวโรกาสทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชนมายุ ๘๐ พรรษา หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ทูลถวาย จตุปัจจัยร่วมบำเพ็ญพระกุศล ๗ ล้านบาท เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงอนุโมทนา ขอบคุณหลวงพ่อคูณ แล้วตรัสกับหลวงพ่อคูณว่า “ขอถวายคืนร่วมทำบุญกับหลวงพ่อ ด้วยก็แล้วกัน” ก็เป็นอันว่า ทรงรับถวายแล้วก็ถวายคืนกลับไป

    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเตือนภิกษุสามเณรอยู่เสมอว่า “เป็นพระต้องจน” และไม่เพียง แต่ทรงสอนผู้อื่นเท่านั้น แม้พระองค์เองก็ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นพระที่จนเหมือนกัน ครั้งหนึ่ง หลังจากทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้วไม่นานนักศิษย์ใกล้ชิดคนหนึ่ง มากราบทูลว่า “ขณะนี้วัด………ที่เมืองกาญจนบุรี กำลังสร้างสะพานข้ามแม้น้ำ เกือบจะเสร็จแล้ว ยังขาดเงินอีกราว ๗-๘ แสนบาท อยากกราบทูลใต้ฝ่าพระบาทเสด็จไปโปรดสักครั้ง สะพาน จะได้เสร็จเร็ว ๆ ไม่ทราบว่าใต้ฝ่าพระบาทจะพอมีเวลาเสด็จได้หรือไม่ กระหม่อม” เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ตรัสตอบว่า “เวลาน่ะพอมี แต่เงินตั้งแสนจะเอาที่ไหน เพราะพระไม่มีอาชีพการงานไม่มี รายได้เหมือนชาวบ้าน แล้วแต่เขาจะให้”

    พระปฏิปทาของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ในฐานะที่ทรงเป็นพระรูปหนึ่ง จึงเป็นที่น่าประทับใจ เป็นพระปฏิปทาที่ควรแก่การยึดถือเป็นแบบอย่าง”

    “..ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้ก็สำคัญนัก เป็นรอยต่อ เป็นทางแยก จะไปสูงไปต่ำ จะไปดี ไปร้าย เลือกได้ในชีวิตนี้เท่านั้น พึงสำนึกข้อนี้ให้จงดี แล้วจงเลือกเถิด แล้วเลือกให้ดีเถิด..”

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ ตรงกับวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกา สิริพระชนมายุ ๑๐๐ พระชันษา ๒๑ วัน

    _/_ _/_ _/_

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    พระพุทธศาสนามิได้มองในแง่ร้ายหรือแง่ดีทั้งสองแต่อย่างเดียวแต่มองในแง่ของสัจจะคือความจริงซึ่งต้องใช้ปัญญาและจิตใจที่บริสุทธิ์ประกอบกันพิจารณา

    สมเด็จพระสังฆราช

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...