สิ่งที่พบเจอ เมื่อหลวงปู่จันทา ถาวโร จำพรรษาในวัดที่เป็นป่าช้าเก่า+ผจญผีโป่งที่ผาอีเมย

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 19 ธันวาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    ป่าช้า-no.7-1024x692.jpg
    สิ่งที่พบเจอ เมื่อหลวงปู่จันทา ถาวโร จำพรรษาในวัดที่เป็นป่าช้าเก่า

    นายพิชิต กิมขาว
    Published on Dec 17, 2017
    หลวงปู่จันทา ถาวโร ผจญผีโป่งที่ผาอีเมย

    เปรตพระ เปรตชี ทำผิดศีลต้องไปเกิดเป็นเปรตรับใช้กรรม

    PLODLOCK - ปลดล็อค
    Published on Sep 30, 2017
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2017
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    ป่าช้าน่าเที่ยว

    รวมเรื่องราวป่าช้าน่าไปเที่ยว (บรื๋อส์!!!) จากฝรั่งเศส เชค และญี่ปุ่น ตั้งแต่สุสานตระกูลโมเนต์ซึ่งสะท้อน ความสัมพันธ์อันแนบแน่น ซับซ้อนและอ่อนไหวของครอบครัว เพื่อนเก่า เมียรักไว้อย่างเต็มเปี่ยม ต่อด้วยป่าช้าหน้าค่ายกักกันชาวยิวยุคนาซีครองเมืองที่เก็บซ่อนเรื่องราวบีบหัวใจในอดีต ไปจนถึงป่าช้าสุดร่มรื่นกลางป่าสนบนยอดเขาในญี่ปุ่น ….ที่จะเปลี่ยนมุมมองความรู้สึกต่อป่าช้าของคุณไปอย่างสิ้นเชิง

    สุสานใกล้บ้านโมเนต์
    -no.2-1024x768.jpg

    ห่างจากกรุงปารีสไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 70 กม. มีหมู่บ้านเล็กๆที่คงไม่เป็นที่รู้จักสักเท่าไรหากไม่ได้มีบ้านและสวนของศิลปินใหญ่ระดับโลกอย่าง โคลด โมเนต์ ที่เขานั่งรถไฟตระเวนไปหาที่ลงหลักปักฐานนานกว่า 126 ปีมาแล้ว

    งานศิลปะตระกูลอิมเพรสชันนิสม์ของโมเนต์นั้นเป็นมรดกของชาติที่ฝรั่งเศสภาคภูมิใจขั้นสุด จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าบ้านและสวนของโมเนต์ รวมถึงหมู่บ้านจิแวร์นี (Giverny)จะได้รับการทำนุบำรุงดูแลให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เชิดหน้าชูตาอันดับต้นๆของประเทศ

    -no.3-1024x768.jpg

    ใครที่เป็นแฟนพันธุ์แท้โมเนต์แล้วละก็ เมื่อชมบ้านและสวนใหญ่โตของเขาจนสาแก่ใจแล้ว ก็มักจะเดินเลาะตามถนนเล็กๆในหมู่บ้านที่ลากผ่านหน้าบ้านศิลปินใหญ่ไปทางโบสถ์ประจำหมู่บ้าน ด้านหลังโบสถ์นั้นเป็นเนินเขาเตี้ยๆ ที่เต็มไปด้วยหลุมฝังศพลดหลั่นเรียงราย แต่หลุมที่ต้องมองหา หลบอยู่ในมุมด้านล่างก่อนขึ้นเนินนั้นเอง

    หลุมฝังศพของตระกูลโมเนต์เป็นเพียงพื้นที่สี่เหลี่ยมเล็กๆ มีไม้กางเขนใหญ่เป็นเสากลม หล่อด้วยซีเมนต์ ล้อมรอบด้วยพุ่มไม้ดอกไม้ประดับสมกับเป็นสุสานของศิลปินผู้รักสวน

    -no.4-1024x768.jpg

    สมาชิกในหลุมแห่งนี้นอกจาก โคลด โมเนต์ แล้ว ยังมีภรรยาคนที่สอง ชื่อ อลิซ , ลูกชายของโคลด 2 คน , ลูกสาวบุญธรรม(ลูกของอลิซ) 1 คน และเพื่อนรักของโคลดซึ่งเป็นสามีคนแรกของอลิซ(ไม่งงนะ?)

    หากสงสัยว่าไปไงมาไง สามีเก่ากับสามีใหม่ของอลิซจึงได้มาฝังร่างอยู่ข้างเคียงกันได้ ก็ต้องย้อนไปสืบประวัติครอบครัวของโมเนต์กันอย่างละเอียดสักหน่อย…

    -no.5-1024x683.jpg

    โคลด โมเนต์มีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากชื่อ คามิลล์ มีเพื่อนรักเป็นเศรษฐีเจ้าของห้างสรรพสินค้าในปารีส คือ ครอบครัวสามี-ภรรยา ชื่อ เออร์เนส กับ อลิซ แต่แล้วก็เกิดเหตุพลิกผันการณ์กลับเป็นว่าเอาเข้าจริงเออร์เนสก็ไม่ได้มีเงินทองมหาศาลอะไรสักเท่าไหร่ ห้างสรรพสินค้าของเขาล้มละลาย เออร์เนสอับอายจนต้องแทรกแผ่นดินปารีสหนีไปอยู่ประเทศอื่น ทิ้งอลิซกับลูก 6 คนให้เผชิญชีวิตกันต่อไปเอง โมเนต์กับคามิลล์จึงรับเอาอลิซและลูกๆเข้ามาอยู่ร่วมบ้านด้วย

    แต่หลังจากคามิลล์คลอดลูกชายได้ไม่นาน เธอก็เสียชีวิตด้วยโรควัณโรค อลิซจึงทำหน้าที่ดูแลโมเนต์ รวมถึงลูกๆของเขา และลูกๆของเธอเองนับแต่นั้น ต่อมาเมื่อได้ข่าวว่าเออร์เนสเพื่อนรักเสียชีวิตลง โมเนต์จึงนำร่างของเขากลับมาฝังที่สุสานแห่งนี้ แล้วจึงแต่งงานกับอลิซให้เป็นเรื่องเป็นราว และเมื่ออลิซเสียชีวิตลงใน 20 ปีต่อมา…ก็ได้ฝังร่างไว้ใกล้ๆกับเออร์เนส จนกระทั่งเวลานั้นของโมเนต์มาถึง เขาคงอยากอยู่ใกล้ๆคนที่เขารักมากกว่าที่อื่นใดในโลก

    ป่าช้าหน้าค่ายเทเรซิน
    -no.6-e1511964376361-692x1024.jpg

    ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคนาซีครองยุโรป ได้เปลี่ยนเมืองเทเรซิน (Terezin) ของสาธารณรัฐเชคทั้งเมืองให้กลายเป็นคุกคุมขังนักโทษการเมือง และยึดพื้นที่ในป้อมปราการประจำเมืองเป็นค่ายกักกันชาวยิว

    สุสานฝังศพประมาณหนึ่งพันหลุมเรียงรายเป็นแถวแนว เต็มพื้นที่กว้างหน้าค่ายกักกันฯแห่งเทเรซินที่มีประติมากรรมดวงดาว 6 แฉกขนาดยักษ์ (Star of David) สัญลักษณ์ของชาวยิวประดับอยู่อย่างโดดเด่น บ่งบอกจำนวนคนยิวที่ถูกสังหารแต่เพียงคร่าวๆเท่านั้น

    -no.1--1024x692.jpg

    คนที่มาเที่ยวชมค่ายกักกันแห่งเทเรซินจะต้องเดินไปตามถนนแคบๆร่มรื่นที่ลากผ่านสุสานนี้ที่นำไปสู่ประตูค่ายลายแถบขาวสลับดำ ในตอนแรกที่เดินผ่านเข้าไป อาจยังไม่รู้สึกอะไรนัก แต่เมื่อได้เข้าไปเห็นอดีตห้องขัง แดนประหาร อุโมงค์ลำเลียงนักโทษฯลฯ ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้เป็นอนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์แล้ว ขากลับออกมาทางประตูลายขาวสลับดำบานนั้น…สุสานนับพันหลุมกลับมีเรื่องราวและความหมายลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก

    สุสานป่าสนบนยอดเขาโคยะ
    -no.7-1024x692.jpg

    โคยะซัง(Koyasan)หรือเขาโคยะที่ต้องนั่งรถไฟจากเมืองโอซาก้ากว่า 1 ชั่วโมง 40 นาที แล้วยังต้องนั่งรถรางขึ้นเขาต่ออีกทีนี้ เป็นเมืองขนาด 10 กว่าตารางกิโลเมตรเท่านั้น แถมยังมีแต่วัด นับได้ 117 วัด เรียกว่าเป็น ‘เมืองวัด’ ได้เต็มปาก

    สถานที่สำคัญที่สุดบนยอดเขานี้ คือ ป่าช้าโบราณขนาดใหญ่ มีหลุมศพของพระและชาวบ้านในแถบนี้ทั้งที่เรียงรายและทับถมกันอยู่ราว 2 แสนหลุม!!
    ที่แปลกก็คือ โคยะซังเป็นเมืองท่องเที่ยวเต็มรูปแบบเสียด้วยสิ ยืนยันได้ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่หลั่งไหลขึ้นมาเที่ยวทั้งด้วยประจำทางและรถส่วนตัวในวันหยุดสุดสัปดาห์ ทุกคนมุ่งหน้าไปที่ไฮไลท์ของเมือง คือ ป่าช้าโบราณของวัดโอคุโนะ

    -no.8-768x1024.jpg

    การเดินท่องไปในสุสานกลางพื้นที่ป่าสนซีดาร์อายุนับร้อยๆปีให้ความรู้สึกสงบ…สบาย เย็นกาย เย็นใจ มากกว่าน่ากลัวขนหัวลุก ทางเดินโล่งสะอาดยาว 2 กม.นำไปสู่ท้ายป่าช้าอันเป็นที่ตั้งของวัดสำคัญซึ่งเป็นที่เก็บศพของท่านโกโบไดจิ…พระผู้ก่อตั้งนิกายชินกอนขึ้นในญี่ปุ่นเมื่อ 1,000 กว่าปีก่อนนั่นเอง

    สถานที่ใดๆในโลก ขอเพียงมี ‘เรื่องราว’(Story)น่าสนใจขยายความบรรจุอยู่ในตัว ย่อมดึงดูดผู้มาเยือนได้เสมอ แม้ว่าสถานที่นั้นจะดูหน้าตาธรรมดา หรือต่อให้เป็นป่าช้าก็ตาม

    และแม้จะมีสถานภาพ ‘แหล่งท่องเที่ยว’ ก็ไม่จำเป็นว่า จะต้องเป็นที่ที่มีความเอะอะอึกทึกเพื่อเรียกร้องความความสนใจเสมอไป บางทีบรรยากาศสงบงาม เรียบง่าย แต่ทว่าตรึงใจผู้คนด้วยเรื่องราวเฉพาะตัวที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเล่าขาน กลับทำให้สถานที่นั้นๆมีคุณค่าน่าเที่ยวและบอกต่อ มากกว่าจะเป็นเพียงฉากถ่ายรูปสวยๆ

    นี่เป็นข้อสังเกตหนึ่งที่ไม่อยากให้การจัดการท่องเที่ยวของไทยหลงลืมหรือมองข้ามไป

    ขอบพระคุณที่มา :- https://roo-young.com/archives/425
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    ............. wat-don21.jpg
    ย้อนรอย “ป่าช้าวัดดอน” ป่าช้าในตำนาน

    พูดถึงเรื่องสยองขวัญที่เกี่ยวกับป่าช้าขึ้นมา ถ้าบอกว่าให้นึกถึงชื่อป่าช้าที่ใครๆ ก็เคยได้ยินชื่อคุ้นหูมายาวนาน ก็ต้องที่นี่เลย….. “ป่าช้าวัดดอน” สถานที่ที่คนกลัวผีในประเทศนี้ได้ยินกันมานานนักแล้ว ที่นี่คือสุสานหรือป่าช้าที่ใครๆ ก็ยกนิ้วให้ในเรื่องของความเฮี้ยน

    ป่าช้าหรือสุสานวัดดอนแห่งนี้ มีพื้นที่มากกว่า 150 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตสาทร บริเวณซอยเจริญกรุง 57 เชื่อมต่อจนถึงเซ็นต์หลุยส์ ซอย 3 ที่นี่มีเรื่องผีหลอกวิญญาณหลอนมาเล่าต่อให้ได้ยินอยู่หลายเรื่อง อย่างเรื่องที่เล่ากันว่า หากใครขับรถผ่านเข้ามาบริเวณนี้ก็มักจะมีคนเห็นว่า เข้ามาคนเดียวแต่ขากลับออกไปสองคน หรือมากกว่าสองคน แล้วแต่ละคนก็มีสภาพกะรุ่งกะริ่งไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าไหร่ ดังนั้นในสมัยก่อนเวลาใครโบกแท็กซี่ให้เข้ามาส่งแถวๆ นี้ โชเฟอร์ก็มักจะส่ายหัวปฎิเสธกันเป็นแถว

    wat-don5.jpg

    ต้นเหตุของความเฮี้ยนนั้นก็เพราะว่า ป่าช้าวัดดอนแห่งนี้อยู่ในความดูแลของ 3 องค์กร คือ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย มูลนิธิปอเต็กตึ้ง และสมาคมไหหลำด่านเกเต้ จึงมีศพถูกฝังอยู่บริเวณนี้มากกว่าหมื่นศพ ทั้งศพที่ฝังในลักษณะของฮวงซุ้ย ศพที่บรรจุเฉพาะอัฐิ และศพไร้ญาติที่ส่วนใหญ่เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุต่างๆ หรือที่เรียกว่า “ตายโหง” มารวมกันไว้ นั่นจึงทำให้ความน่ากลัวของป่าช้าแห่งนี้ทวีความหลอนมากยิ่งขึ้น แต่ต่อมามีความพยายามจะทำให้พื้นที่ย่านนี้ลดทอนความน่าสะพรึงลง จึงได้เปลี่ยนชื่อป่าช้าวัดดอนมาเป็น “วัดบรมสถล” และปรับปรุงทัศนียภาพ ซะใหม่ ภายใต้การดูแลของสามองค์กรดังกล่าว

    อรุโณทัย เกริกไกรแพทย์ สัปเหร่อร่างท้วมวัยเลยครึ่งอายุคน ผู้ที่เกิดและเติบโตมาในชุมชนวัดดอน เล่าถึงบรรยากาศย้อนหลังเมื่อหลายสิบปีก่อน สมัยป่าช้าวัดดอนยังคงความน่าสะพรึงกลัว และซ่อนเรื่องราวเร้นลับในโลกของความเชื่อเรื่องภูต ผี วิญญาณ อันฝังรากลึกมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ “คนเค้าเจอกันบ่อยไป ยิ่งแท็กซี่นะใครโบกบอกให้มาส่งวัดดอน ไม่มีใครกล้ามาหรอก กลัวมีเพื่อนกลับออกไปด้วย พวกแท็กซี่เข้ามาส่งผู้โดยสารสิ เจอกันประจำ คนแถวนี้เค้าเห็นนั่งข้างคนขับเลย” สัปเหร่อกล่าว

    wat-don8.jpg

    สมัย 50 ปีก่อนโน้น ย่านสาทร ยานนาวา บางรัก ยังคงเป็นป่ารกไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่มากนัก เมื่อมีศพไร้ญาติที่ตายโหง(ประสบอุบัติเหตุต่างๆ) ก็จะนำมาฝังรวมๆ กันในพื้นที่ตรงนี้ ต่อมาเมื่อมีเรื่องโจษขานถึงความน่าสะพรึงกลัวยิ่งมีการต่อเติมเสริมแต่งความหลอนเข้าไปอีก ก็ยิ่งทำให้ผู้คนไม่กล้าเยื้องกรายมาใกล้ย่านนี้โดยไม่จำเป็น ประกอบกับศพที่นำมาฝังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้มีการทำพิธีล้างป่าช้าขึ้น และมีการขยายเมืองเกิดขึ้นตามมา ปัจจุบันที่นี่จึงเหลือไว้แต่เรื่องเล่าความหลังอันน่าขวัญผวาที่เริ่มจางหายไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา

    วันนี้ภาพของป่าช้าอันน่ากลัวของวัดดอน ที่มีความเจริญทางสังคมเข้ามาทำให้ภาพป่าช้าที่น่ากลัว แปรเปลี่ยนกลายเป็นสวนสวยท่ามกลางพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ที่ใช้ออกกำลังกาย ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ มีลานกีฬา และโรงเรียน รวมถึงชุมชนที่กำลังขยายตัวไปเรื่อยๆ

    wat-don4.jpg

    ปัจจุบันนี้นอกจากมีการล้างป่าช้าทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับดวงวิญญาณเหล่านั้นไปหลายครั้งแล้ว บริเวณใกล้เคียงกับป่าช้ายังมีทางด่วนตัดผ่านและเป็นจุดขึ้นลงทางด่วนเชื่อมต่อกับถนนสาทร ถนนจันทน์ ผลจากการขยายเมืองและพัฒนาพื้นที่ตรงนี้จึงทำให้มีการปรับปรุงสภาพป่าช้าบริเวณโดยรอบ เป็นโครงการ “สวนสวยในป่าช้า” หรือ “สวนสวยสมาคมแต้จิ๋ว” โดยมีการปรับปรุงป่าช้าวัดดอนบางส่วนเพื่อใช้เป็นสวนสาธารณะให้คนได้เข้าไปออกกำลังกาย ผนวกกับปัจจุบันนี้ไม่มีการนำศพเข้าไปฝังในป่าช้าวัดดอนอีกแล้ว ทำให้บรรยากาศความเงียบสงัดที่ชวนให้ขนหัวลุกลดน้อยลงไป กลายเป็นความคึกคักเต็มไปด้วยผู้คนที่มาออกกำลังกายกันขวักไขว่ทุกวัน….เรียกว่า วิ่งจ๊อกกิ้งในสวนท่ามกลางหลุมฝังศพเลยก็ว่าได้

    ทำให้ที่นี่ถือเป็น “สวนสาธารณะที่แปลกที่สุดในโลก” แห่งหนึ่ง เพราะขณะที่คนมาวิ่งจ๊อกกิ้งหรือเดินออกกำลัง ก็จะได้ชมทิวทัศน์ข้างทางเป็นฮวงซุ้ยที่ตั้งเรียงรายเป็นทิวแถว….ออกกำลังไปก็จะได้ปลงสังขาร เกิด-แก่-เจ็บ-ตายไปด้วยซะเลย เข้าท่าดีเหมือนกันนะ!!

    By การ์ลิค เดอะ วิธช์
    ขอบพระคุณที่มา :- http://www.bkkvariety.com/417
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า
    carabao-Pridi_Panomyong_%28Scholar%29121.jpg

    ผู้แต่ง พระยาอุปกิตศิลปะสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)
    ลักษณะคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อย ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลอนสุภาพ เพียงแต่ขึ้นต้นด้วยเอ๋ย ลงท้ายด้วยเอย ๑ บทมี ๘ วรรค
    คุณค่า เนื้อหาแสดงสัจธรรมของชีวิตด้วยถ้อยคำภาษาที่สละสลวย
    ที่มาของเรื่อง
    กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้ามาจากบทกวีนิพนธ์เรื่องElegy Writen in a Country Churchyardของทอมมัส เกรย์ (Thomas Gray)กวีอังกฤษผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่18
    *Elegyหมายถึงโคลงที่กล่าวไว้อาลัย หรือคร่ำครวญถึงผู้ที่จากไป โดยพระยาอุปกิตศิลปะสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้ประพันธ์จากต้นฉบับแปลของเสฐียรโกเศศ เป็นกลอนดอกสร้อยจำนวน33บท
    ประวัติผู้แต่ง
    พระยา อุปกิตศิลปสารเกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๒๒ ถึงแก่กรรมวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ และมอบศพให้แก่การศึกษาวิชาแพทย์นับว่าท่านเป็นครูอย่างแท้จริง
    ศึกษาภาษาไทยเบื้องต้นที่วัดบางประทุนนอกธนบุรีและวัดประยูรวงศาวาสบวชเป็น สามเณรและพระภิกษุที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบได้เปรียญ ๖ ประโยคและศึกษาวิชาครูด้วยเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทย ภาษาบาลี และวรรณคดีโบราณ เคยเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษาสำคัญหลายแห่งนามปากกาของ พระยาอุปกิตศิลปสาร ที่รู้จักกันมาก เช่น อ.น.ก. อุนิกา อนึก คำชูชีพ ม.ห.น. เป็นต้น เกียรติคุณพิเศษของพระยาอุปกิตศิลปสาร มีดังนี้
    -เป็นคนแรกที่บัญญัติคำทักทายเมื่อแรกพบกันว่า "สวัสดี" ซึ่งแปลว่า สะดวก สบายดี เพราะแต่ก่อนนี้แรกพบกัน คนไทยไม่มีระเบียบในการใช้คำทักทาย
    -เป็นนักประพันธ์ไทยคนแรกที่อุทิศโครงกระดูกให้แก่มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์คือศิริราช โดยกล่าวว่า "ฉันเป็นครูตายแล้วขอเป็นครูต่อไป"
    -เป็น คนแรกที่แต่งตำรา "สยามไวยากรณ์" หรือตำราไวยากรณ์ไทย ได้สำเร็จบริบูรณ์คือมีทั้ง อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ และฉันทลักษณ์ โดยอาศัยเค้าโครงเก่าของกรมวิชาการ และไวยากรณ์อังกฤษเป็นหลัก
    ผลงาน

    1. สยามไวยากรณ์ (ตำราไวยากรณ์ 4 เล่ม ได้แก่ อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์

    2. สงครามภารตคำกลอน

    3. ชุมนุมนิพนธ์ อ.น.ก.

    4. คำประพันธ์บางเรื่อง

    5. คำประพันธ์โคลงสลับกาพย์

    6. บทความและปาฐกถาต่างๆ เกี่ยวกับวรรณคดีและการใช้ภาษา



    ขอบพระคุณที่มา : http://writer.dek-d.com/Writer/story/view.php?id=367666

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2017
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    เรื่อง ที่ 1 กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า
    กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

    ผู้แต่ง : พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)

    ลักษณะคำประพันธ์ : กลอนดอกสร้อย

    ที่มาของเรื่อง : กวีนิพนธ์เรื่อง Elegy Written in a Country Churchyard ของ ทอมัส เกรย์ (Thomas gray) กวีที่มีชื่อเสียง มีชีวิตอยู่ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 th.jpg



    ลักษณะคำประพันธ์

    1111.jpg

    คุณค่าของคำประพันธ์

    1. รูปแบบ (ฉันทลักษณ์) เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหา เพราะกลอนดอกสร้อยจดจำได้ง่าย และ มีคติสอนใจ

    2. การใช้ภาษา ใช้คำสั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย สื่อความหมายชัดเจน

    3. มีสัมผัสงดงามไพเราะ ใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ (สัทพจน์) และเล่นคำ เล่นเสียงสัมผัสสระสัมผัสอักษร

    จุดประสงค์ของการแต่ง

    1. ชี้ให้เห็นความเป็นอนิจจังของชีวิต สอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต

    2. คุณค่าด้านเนื้อหาอยู่ที่การมุ่งแสดงความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ว่า “ไม่มีผู้ใดหลีกหนีความตายได้”

    3. แสดงความรู้สึกยกย่องชีวิตอันสงบ เรียบง่ายและความสุขอันเกิดจากความสันโดษ เป็นการให้คติธรรมอันทรงคุณค่าแก่การดำเนินชีวิต

    เนื้อเรื่องย่อ

    ในเวลาเย็นใกล้ค่ำชายผู้หนึ่งเข้าไปนั่งอยู่ในวัดชนบทแห่งหนึ่งที่มีแต่ความเงียบสงบ เมื่อได้ยินเสียงระฆังย่ำบอกเวลาใกล้ค่ำ เขาเห็นชาวนาพากันจูงวัวควายเดินทางกลับบ้าน เมื่อสิ้นแสงตะวันได้ยินเสียงหรีดหริ่งเรไรและเสียงเกราะในคอกสัตว์ นำแสกที่จับอยู่บนหอระฆังก็ส่งเสียงร้อง ณ บริเวณโคนต้นโพธิ์ ต้นไทรนั้นเอง มีหลุมฝังศพต่าง ๆ อยู่มากมาย ความเงียบสงบและความวิเวกก่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในสัจธรรมของชีวิต ท่านผู้นั้นจึงรำพึงรำพันออกมาเป็นบทกวีว่า แม้ผู้ดีมีจน นาย ไพร่ นักรบ กษัตริย์ ต่างก็มีจุดจบคือความตายเหมือนกัน

    เนื้อเรื่องของกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า คัดมาให้นักเรียนศึกษาจำนวน 21 บท จากทั้งหมด 33 บท

    กถามุข

    ดังได้ยินมา สมัยหนึ่ง ผู้มีชื่อต้องการความวิเวก, เข้าไปนั่งอยู่ ณ ที่สงัด ในวัดชนบท เวลาตะวันรอนๆ จนเสียงระฆังย่ำบอกสิ้นเวลาวัน ฝูงโคกระบือ และ พวกชาวนาพากันกลับที่อยู่เป็นหมู่ๆ เมื่อสิ้นแสงตะวันแล้ว ได้ยินแต่เสียงจิ้งหรีดเรไรกับเสียงเกราะในคอกสัตว์ นกแสกจับอยู่บนหอระฆังก็ร้องส่งสำเนียง ณ ที่นั้นมีต้นไทรต้นโพธิ์สูงใหญ่ ใต้ต้นล้วนมีเนินหญ้า กล่าวคือที่ฝังศพต่างๆ อันแลเห็นด้วยเดือนฉาย ศพในที่เช่นนั้นก็เป็นศพชาวไร่ชาวนานั่นเอง ผู้นั้นมีความรู้สึกเยือกเย็น แล้วรำพึงในหมู่ศพ จึงเขียนความในใจออกมากันดังนี้

    ถอดคำประพันธ์บทที่ 1
    ๑. วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่ง! ย่ำค่ำระฆังขาน
    ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาล ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน
    ชาวนาเหนื่อยอ่อนต่างจรกลับ ตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน
    ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมณฑล และทิ้งตนตูเปลี่ยวอยู่เดียว เอย.


    เสียงระฆังตีย่ำดังหง่างเหง่ง มาทำให้เกิดความวังเวงใจยิ่งนัก ในขณะที่ฝูงควายก็เคลื่อนจากท้องทุ่งลาเวลากลางวันเพื่อมุ่งกลับยังถิ่นที่อยู่ของมัน ฝ่ายพวกชาวนาทั้งหลายรู้สึกเหนื่อยอ่อนจากการทำงาน ต่างก็พากันกลับถิ่นพำนักของตนเมื่อตะวันลับขอบฟ้าก็ไม่มีแสงสว่าง ทำให้ท้องทุ่งมืดไปทั่วบริเวณและทิ้งให้ข้าพเจ้าเปล่าเปลี่ยวอยู่แต่เพียงผู้เดียว

    ถอดคำประพันธ์บทที่ 2
    ๒. ยามเอ๋ยยามนี้ ปถพีมืดมัวทั่วสถาน
    อากาศเย็นเยือกหนาวคราววิกาล สงัดปานป่าใหญ่ไร้สำเนียง
    มีก็แต่เสียงจังหรีดกระกรีดกริ่ง! เรไรหริ่ง! ร้องขรมระงมเสียง
    คอกควายวัวรัวเกราะเปาะแปะ ! เพียง รู้ว่าเสียงเกราะแว่วแผ่วแผ่ว เอย.

    ยามนี้แผ่นดินมืดไปทั่ว อากาศเย็นยะเยือกหนาว เพราะเป็นเวลากลางคืน และป่าใหญ่แห่งนี้ก็เงียบสงัด มีแต่จิ้งหรีดและเรไรร้องกันเซ็งแซ่ไปหมด เจ้าของคอกวัวควายต่างก็รัวเกราะกันเป็นเสียงเปราะๆ ทำให้รู้ว่าเป็นเสียงเกราะดังแว่วมาแต่ไกล

    ถอดคำประพันธ์บทที่ ๓
    ๓. นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ
    อยู่บนยอดหอระฆังบังแสงจันทร์ มีเถาวัลย์รุงรังถึงหลังคา
    เหมือนมันฟ้องดวงจันทร์ให้ผันดู คนมาสู่ซ่องพักมันรักษา
    ถือเป็นที่รโหฐานนมนานมา ให้เสื่อมผาสุกสันต์ของมัน เอย.

    นกแสกร้องแจ๊ก ๆ เพื่อทำให้เสียขวัญ มันจับอยู่บนหอระฆังที่มีเถาวัลย์พันรุงรังถึงหลังคาและบังแสงจันทร์อยู่ เหมือนมันจะฟ้องดวงจันทร์ว่าให้หันมาดูผู้คนที่มาสู่ที่อยู่มันรักษาไว้ ซึ่งถือเป็นส่วนที่เฉพาะส่วนตัวมานาน ทำให้มันไม่มีความสุข

    ถอดคำประพันธ์บทที่ ๔
    ๔. ต้นเอ๋ยต้นไทร สูงใหญ่รากย้อยห้อยระย้า
    และต้นโพธิ์พุ่มแจ้แผ่ฉายา มีเนินหญ้าใต้ต้นเกลื่อนกล่นไป
    ล้วนร่างคนในเขตประเทศนี้ ดุษณีนอนราย ณ ภายใต้
    แห่งหลุมลึกลานสลดระทดใจ เรายิ่งใกล้หลุมนั้นทุกวัน เอย

    มีต้นไม้สูงใหญ่รากย้อยห้อยระย้าและต้นโพธิ์ที่เป็นพุ่มแผ่ร่มเงาออกไปโดยรอบ ที่ใต้ต้นไม้มีเนินหญ้าเป็นที่ฝังศพคนในละแวกแถวนี้ ซึ่งนอนนิ่งอยู่เกลื่อนไปหมดในหลุมลึก ดูแล้วน่าสลดใจอย่างยิ่งนัก และตัวของข้าพเจ้าเองก็ใกล้หลุมนี้เข้าไปทุกวัน

    ถอดคำประพันธ์บทที่ ๕
    ๕. หมดเอ๋ยหมดห่วง หมดดวงวิญญาณลาญสลาย
    ถึงลมเช้าชวยชื่นรื่นสบาย เตือนนกแอ่นลมผายแผดสำเนียง
    อยู่ตามโรงมุงฟางข้างข้างนั้น ทั้งไก่ขันแข่งดุเหว่าระเร้าเสียง
    โอ้เหมือนปลุกร่างกายนอนรายเรียง พ้นสำเนียงที่จะปลุกให้ลุก เอย.

    หมดห่วงเนื่องจากดวงวิญญาณได้แตกสลายไปแล้วถึงแม้ว่าลมยามเช้าจะชายพัดให้สดชิ้น เป็นการเตือนนกแอ่นลมให้เคลื่อนออกจากที่แผดร้องไปตามโรงนาทั้งไก่ก็ขันแข่งกับนกดุเหว่า เหมือนจะช่วยกันปลุกร่างของผู้นอนรายเรียงที่อยู่ให้หลุมฝังศพให้ตื่นขึ้น แต่พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ยินเสียงปลุกเสียแล้ว

    ถอดคำประพันธ์บทที่ ๖
    ๖. ทอดเอ๋ยทอดทิ้ง ยามหนาวผิงไฟล้อมอยู่พร้อมหน้า
    ทิ้งเพื่อนยากแม่เหย้าหาข้าวปลา ทุกเวลาเช้าเย็นเป็นนิรันดร์
    ทิ้งทั้งหนูน้อยน้อยร่อยร่อยรับ เห็นพ่อกลับปลื้มเปรมเกษมสันต์
    เข้ากอดคอฉอเลาะเสนาะกรรณ สารพันทอดทิ้งทุกสิ่ง เอย.

    ยามหนาวเคยนั่งผึงไฟอยู่พร้อมหน้า แต่ก็ต้องมาทิ้งเพื่อนยากทิ้งแม่เรือนที่คอยหุงข้าวหาอาหารให้รับประทานทุกเช้าเย็น ทิ้งทั้งลูกน้อยที่พอเห็นหน้าพ่อก็ดีใจกอดคอฉอเลาะ นั้นคือต้องทอดทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไปอย่างแน่นอน

    ถอดคำประพันธ์บทที่ ๗
    ๗. กองเอ๋ยกองข้าว กองสูงราวโรงนายิ่งน่าใคร่
    เกิดเพราะการเก็บเกี่ยวด้วยเคียวใคร ใครเล่าไถคราดพื้นฟื้นแผ่นดิน
    เช้าก็ขับโคกระบือถือคันไถ สำราญใจตามเขตประเทศถิ่น
    ยึดหางยามยักไปตามใจจินต์ หางยามผินตามใจเพราะใคร เอย.

    เห็นกองข้าวสูงราวกับโรงนา ช่างน่ายินดีนัก กองข้าวนี้เกิดเพราะการเก็บเกี่ยวด้วยเคียวของใคร หรือใครเป็นคนไถคราดพลิกฟื้นแผ่นดินนี้ขึ้นมา เช้าก็ถือคันไถพร้อมกับไล่ควายอย่างสบายใจอยู่ท้องนา โดยจับหางไถไถนาตามใจของจน หางไถหันไปในทิศทางต่าง ๆ เพราะใครเล่า
    ถอดคำประพันธ์บทที่ ๘
    ๘. ตัวเอ๋ยตัวทะยาน อย่าบันดาลดลใจให้ใฝ่ฝัน
    ดูถูกกิจชาวนาสารพัน และความครอบครองกันอันชื่นบาน
    เขาเป็นสุขเรียบเรียบเงียบสงัด มีปวัตติ์เป็นไปไม่วิตถาร
    ขออย่าได้เย้ยเยาะพูดเราะราน ดูหมิ่นการเป็นอยู่เพื่อนตู เอย.

    ตัวทะเยอะทะยานเอ๋ย ขออย่าดลบันดาลใจให้มีการดูถูกการกระทำต่าง ๆ ขอชาวนาและความเป็นอยู่อันชื่นบานของขา เขาอยู่กันอย่างมีความสุขอย่างเรียบง่าย โดยมีความเป็นไปไม่เกินวิสัยปรกติของมนุษย์ ขอจงอย่าอย่าไปพูดจาเยาะเย้ยหรือดูหมิ่นการเป็นของเขาเลย
    ถอดคำประพันธ์บทที่ ๙
    ๙. สกุลเอ๋ยสกุลสูง ชักจูงจิตฟูชูศักดิ์ศรี
    อำนาจนำความสง่าอ่าอินทรีย์ ความงามนำให้มีไมตรีกัน
    ความร่ำรวยอวยสุขให้ทุกอย่าง เหล่านี้ต่างรอตายทำลายขันธ์
    วิถีแห่งเกียรติยศทั้งหมดนั้น แต่ล้วนผันมาประจบหลุมศพ เอย.

    คนมีชาติตระกูลสูง ทำให้จิตใจของจนพองโตขึ้นโดยคิดว่าตนมีศักดิ์ศรีเหนือคนอื่น คนมีอำนาจนำความสง่างามมาให้แก่ชีวิต คนมีหน้าตางดงามทำให้คนอื่นรักใคร่คนมีฐานะร่ำรวยย่อมหาความสุขได้ทุกอย่าง แต่ทุกคนต่างก็รอความแตกดับของร่างกายโดยกันทั้งนั้น วิถีแห่งเกียรติยศทั้งหมด ล้วนมารวมกันที่หลุมฝังศพ

    ถอดคำประพันธ์บทที่ ๑๐
    ๑๐. ตัวเอ๋ยตัวหยิ่ง เจ้าอย่าชิงติซากว่ายากไร้
    เห็นจมดินน่าสลดระทดใจ ที่ระลึกสิ่งไรก็ไม่มี
    ไม่เหมือนอย่างบางศพญาติตบแต่ง เครื่องแสดงเกียรติยศเลิศประเสริฐศรี
    สร้างสานการบุญหนุนพลี เป็นอนุสาวรีย์สง่า เอย.

    ผู้เย่อหยิ่งทั้งหลายเอ๋ย ขออย่าชิงติซากศพผู้ยากไร้เหล่านี้เลยแม้เห็นจมดินหน้าสลดใจที่ระลึกอะไรซักอย่างก็ไม่มีก็ตามทีเถิด ไม่เหมือนอย่างบ้างศพที่ญาติตบแต่งด้วยเครื่องแสดงเกียรติยศอย่างดี โดยมีการสร้างอนุสาวรีย์อันสง่างามเพื่อเป็นสถานที่บวงสรวงบูชา

    ถอดคำประพันธ์บทที่ ๑๑
    ๑๑. ที่เอ๋ยที่ระลึก ถึงอธึกงามลบในภพพื้น
    ก็ไม่ชวนชีพที่ดับให้กลับคืน เสียงชมชื่นเชิดชูคุณผู้ตาย
    เสียงประกาศเกียรติเอิกเกริกลั่น จะกระเทือนถึงกรรณนั้นอย่าหมาย
    ล้วนเป็นคุณแก่ผู้ยังไม่วางวาย ชูเกียรติญาติไปภายภาคหน้า เอย.

    ที่ระลึกสร้างขึ้น ถึงแม้จะงามเลิศสักเพียงใด ก็ไม่สามารถทำให้ผู้ตายฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้ เสียงชื่นชมเชิดชูในคุณธรรมดีของผู้ตาย รวมทั้งเสียงชื่นชมในคุณงามความดีของผู้ตาย รวมทั้งเสียงประกาศถึงเกียรติยศของผู้ตายอย่างแพร่หลายรู้กันทั่วไปจะไปเข้าหูผู้ตายนั้นก็หาไม่ ทุกอย่างล้วนเป็นคุณแก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยูและเป็นการเชิดชูเกียรติยศของญาติพี่น้องที่มีชีวิตอยู่ต่อไป

    ถอดคำประพันธ์บทที่ ๑๒
    ๑๒. ร่างเอ๋ยร่างกาย ยามตายจมพื้นดาษดื่นหลาม
    อย่าดูถูกถิ่นนี้ว่าที่ทราม อาจขึ้นชื่อลือนามในก่อนไกล
    อาจจะเป็นเจดีย์มีพระศพ แห่งจอมภพจักรพรรดิกษัตริย์ใหญ่
    ประเสริฐด้วยสัตตรัตน์จรัสชัย ณ สมัยก่อนกาลบุราณ เอย.

    ร่างกายของคนทั้งหลายเมื่อตายจะจมพื้นดินอยู่เต็มไปหมด ขอจงอย่าดูถูกถิ่นนี้ว่าไม่ดี เพราะอาจเป็นถิ่นที่มีชื่อเสียงมาในสมัยก่อนได้ คือ เป็นสถานที่ก่อสร้างพระเจดีย์บรรจุพระศพของพระมหากษัตริย์ อันประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการของจักรพรรดิ ในสมัยโบราณนานมาแล้ว

    ถอดคำประพันธ์บทที่ ๑๓
    ๑๓. ความเอ๋ยความรู้ เป็นเครื่องชูชี้ทางสว่างไสว
    หมดโอกาสที่จะชี้ต่อนี้ไป ละห่วงใยอยากรู้ลงสู่ดิน
    อันความยากหากให้ไร้ศึกษา ย่นปัญญาความรู้อยู่แค่ถิ่น
    หมดทุกข์ขลุกแต่กิจคิดหากิน กระแสวิญญาณงันเพียงนั้น เอย.

    ความรู้เป็นเครื่องชี้นำทางไปสู่ความก้าวหน้าแต่ตอนนี้หมดโอกาสที่จะชี้นำทางต่อไปแล้ว จำต้องละความห่วงใยทั้งหมดลงไปสู่ความตาย อันความยากจนทำให้ไม่ได้รับการศึกษา ได้รับวิชาความรู้อยู่เฉพาะในท้องถิ่นของตน ตอนนี้หมดทุกข์หมดทุกข์ที่จะขลุกอยู่แต่ในการทำมาหากินเสียที เพราะวิญญาณของเราคงจะหยุดเพียงเท่านี้

    ถอดคำประพันธ์บทที่๑๔
    ๑๔. ดวงเอ๋ยดวงมณี มักจะลี้ลับอยู่ในภูผา
    หรือใต้ท้องห้องสมุทรสุดสายตา ก็เสื่อมซาสิ้นชมนิยมชน
    บุปผชาติชูสีและมีกลิ่น อยู่ในถิ่นที่ไกลเช่นไพรสณฑ์
    ไม่มีใครได้เชยเลยสักคน ย่อมบานหล่นเปล่าดายมากมาย เอย.

    ดวงแก้วหรือสิ่งที่มีค่ามักจะอยู่ในที่ลี้ลับ เช่น ในภูเขาหรืออยู่ใต้ท้องสมุทรซึ่งสุดสายตามนุษย์ ทำให้กลายเป็นสิ่งไร้ค่าไมมีผู้ใดชิ้นชม เปรียบเสมือนกับดอกไม้ที่มีสีสวยงามละกลิ่นหอมที่อยู่ไกล เช่น ในป่า ก็ไม่มีใครได้เชยชมเลยสักคน ย่อมบานหล่นไปเปล่า ๆ อย่างมากมายน่าเสียดายเป็นยิ่งนัก

    ถอดคำประพันธ์บทที่๑๕
    ๑๕. ซากเอ๋ยซากศพ อาจเป็นซากนักรบผู้กล้าหาญ
    เช่นชาวบ้านบางระจันขันรำบาญ กับหมู่ม่านมาประทุษอยุธยา
    ไม่เช่นนั้นท่านกวีเช่นศรีปราชญ์ นอนอนาถเล่ห์ใบ้ไร้ภาษา
    หรือผู้กู้บ้านเมืองเรืองปัญญา อาจจะมานอนจมถมดิน เอย.

    ซากศพทั้งหลายเหล่านี้อาจเป็นซากศพของนักรบผู้กล้าหาญ เช่น ชาวบ้านบางระจันที่อาสาจะสู้รบกับกองทัพพม่าที่มาทำร้ายถึงกรุงศรีอยุธยา หรือศพท่านกวีศรีปราชญ์ที่นอนนิ่งไม่พูดไม่จา หรือศพผู้กู้รู้บ้านเมืองเรืองปัญญาอื่น ๆ ซึ่งอาจจะมานอนถมจมดินอยู่
    ๑๖. คุณเอ๋ยคุณเหลือ ผู้เอื้อเฟื้อเกื้อชาติซึ่งอาจหาญ
    แน่วนับถือซื่อสัตย์ต่อรัฐบาล ไม่เห็นการส่วนตัวไม่กลัวตาย
    แสวงชอบกอบคุณอุดหนุนชาติ กษัตริย์ศาสน์แม้ชีวิตปลิดวาย
    ไว้ปวัตน์แก่ชาติญาตินิกาย ได้อ่านภายหลังลือระบือ เอย.
    ๑๗. ชาวเอ๋ยชาวนา วาสนากั้นไว้ไม่วิตถาร
    ไม่ชั่วล้นดีล้นพ้นประมาณ สองประการนี้แหละขวางทางคระไล
    คือไม่ลุยเลือนั่งบรรลังก์ราช นำพินาศนรชนพ้นนิสัย
    แต่ปิดทางกรุณาอันพาไป ยังคุณใหญ่ยิ่งเลิศประเสริฐ เอย.

    ถอดคำประพันธ์บทที่ 18
    ๑๘. มักเอ๋ยมักใหญ่ ก่นแต่ใฝ่ฝันฟุ้งตามมุ่งหมาย
    อำพรางความจริงใจไม่แพร่งพราย ไม่ควรอายก็ต้องอายหมายปิดบัง
    มุ่งแต่โปรยเครื่องปรุงจรุงกลิ่น คือความฟูมฟายสินลิ้นโอหัง
    ลงในเพลิงเกียรติศักดิ์ประจักษ์ดัง เปลวเพลิงปลั่งหอมกลบตลบ เอย.

    พวกมักใหญ่ใฝ่สูงจะทำแต่สิ่งที่ตนใฝ่ฝันมุ่งหมายไว้และปิดปังความจริงบางอย่างโดยไม่เปิดเผยให้ใครทราบ แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอับอาย มุ่งแต่แสดงให้เห็นรูปลักษณ์ภายนอกว่าดี มีการใช้จ่ายทรัพย์สินเกินฐานะ พูดจาอวดดีเพื่อแสดงความมีเกียรติที่สูงส่งของตนให้ผู้อื่นเห็น อันเป็นการปกปิดความเป็นจริงของตนเองไว้

    ถอดคำประพันธ์บทที่ 19
    ๑๙. ห่างเอ๋ยห่างไกล ห่างจากพวกมักใหญ่ฝักใฝ่หา
    แต่สิ่งซึ่งเหลวไหลใส่อาตมา ความมักน้อยชาวนาไม่น้อมไป
    เพื่อนรักษาความสราญฐานวิเวก ร่มเชื้อเฉกหุบเขาลำเนาไศล
    สันโดษดับฟุ้งซ่านทะยานใจ ตามวิสัยชาวนาเย็นกว่า เอย.

    ขอจงอยู่ห่างไกลพวกมักใหญ่ใฝ่สูง ซึ่งทำแต่สิ่งเหลวไหลใส่ตัวเอง โดยไม่ดูความมักน้อยของชาวนาเป็นตัวอย่าง ฉะนั้นเพื่อรักษาความสบายใจและความวิเวกร่มเย็นเฉกเช่นอยู่ในหุบเขาลำเนาไพร ควรถือสันโดษดับความฟุ้งซ่านใจ ตามแบบของชาวนาไว้จะเยือกเย็นกว่า

    ถอดคำประพันธ์บทที่ 20
    ๒๐. ศพเอ๋ยศพไพร่ ไม่มีใครขึ้นชื่อระบือขาน
    ไม่เกรงใครนินทาว่าประจาน ไม่มีการจารึกบันทึกคุณ
    ถึงบางทีมีบ้างเป็นอย่างเลิศ ก็ไม่ฉูดฉาดเชิดประเสริฐสุนทร์
    พอเตือนใจได้บ้างในทางบุญ เป็นเครื่องหนุนนำเหตุสังเวช เอย.

    ศพของคนธรรมดาสามัญ ไม่มีใครเขายกย่องหรือกล่าวถึงฉะนั้นจึงไม่ต้องไปเกรงกลัวว่าใครจะนินทา เพราะไม่มีการเขียนจารึกบันทึกคุณความดีไว้ แม้บางครั้งจะมีการยกย่องในคุณงามความดีบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับเชิดชูกันอย่างเต็มที่ ทำพอเป็นเครื่องเตือนใจในการทำความดี หรือเป็นเครื่องหนุนนำเพื่อให้เกิดสังเวชใจเท่านั้น

    ถอดคำประพันธ์บทที่ 21
    ๒๑. ศพเอ๋ยศพสูง เป็นเครื่องจูงจิตให้เลื่อมใสศานต์
    จารึกคำสำนวนชวนสักการ ผิดกับฐานชาวนาคนสามัญ
    ซึ่งอย่างดีก็มีกวีเถื่อน จากรึกชื่อปีเดือนวันดับขันธ์
    อุทิศสิ่งซึ่งสร้างตามทางธรรม์ ของผู้นั้นผู้นี้แก่ผี เอย.

    ศพของคนดี เป็นสิ่งที่จูงให้เลื่อมใส มีการจารึกค่าสักการะ ผิดกับศพของชาวนาธรรมดา ซึ่งอย่างดีที่สุดก็มีแค่กวีสมัครเล่นซึ่งจะจารึกเอาไว้เพียงแค่เดือน วัน ปี ที่ล่วงลับ อุทิศสิ่งของทางธรรมให้แก่ผู้ตาย

    ถอดคำประพันธ์บทที่ 22
    ๒๒. ห่วงเอ๋ยห่วงอะไร ไม่ยิ่งใหญ่เท่าห่วงดวงชีวิต
    แม้คนลืมสิ่งใดได้สนิท ก็ยังคิดขึ้นได้เมื่อใกล้ตาย
    ใครจะยอมละทิ้งซึ่งสิ่งสุข เคยเป็นทุกข์ห่วงใยเสียได้ง่าย
    ใครจะยอมละแดนแสนสบาย โดยไม่ชายตาใฝ่อาลัย เอย.

    ห่วงอะไร ไม่เท่าห่วงชีวิต แม้นคนที่ลืมทุกสิ่งก็ยังคิดได้เมื่อใกล้ตาย ใครจะยอมละทิ้งสิ่งที่ทำให้มีความสุข ถ้าผู้เคยมีความทุกข์ก็ยิ่งไม่เสียให้ง่ายๆ ใครจะยอมจากที่อยู่แสนสบาย โดยไม่หันหลังอาลัยไปมอง

    ถอดคำประพันธ์บทที่ 23
    ๒๓. ดวงเอ๋ยดวงจิต ลืมสนิทกิจการงานทั้งหลาย
    ย่อมละชีพเคยสุขสนุกสบาย เคยเสียดายเคยวิตกเคยปกครอง
    ละทิ้งถิ่นที่สำราญเบิกบานจิต ซึ่งเคยคิดใฝ่เฝ้าเป็นเจ้าของ
    หมดวิตกหมดเสียดายหมดหมายปอง ไม่ผินหลังเหลียวมองด้วยซ้ำ เอย.

    ขอให้ดวงจิตของเราจงลืมกิจการงานทั้งหลายที่เคยสนุกสุขสบาย เคยเสียดาย เคยวิตกและเคยปกครอง ต้องละถิ่นเคยให้ความสุขสำราญบานใจ แบะฝันใฝ่อยากเป็นเจ้าของ ขอจงหมดความวิตก หมดวามเสียดายหมดสิ่งที่ปรารถนา โดยไม่หันหลังเหลียวไปมองมันอีกเลย
    ๒๔. ดวงเอ๋ยดวงวิญญาณ เมื่อยามลาญละพรากไปจากขันธ์
    ปองแต่ให้ญาติมิตรสนิทกัน คล่าวน้ำตาต่างบรรณาการไป
    ธรรมดาพาคะนึงไปถึงหลุม หรือที่ชุมเพลิงเผาเฝ้าร้องไห้
    คิดถึงกาลก่อนเก่ายิ่งเศร้าใจ ตามวิสัยธรรมดาเกิดมา เอย.
    ๒๕. ท่านเอ๋ยท่านสุภาพ ผู้ใคร่ทราบสนใจศพไร้ศักดิ์
    รู้เรื่องราวจากป้ายจดลายลักษณ์ บางทีจักรำพึงคิดถึงตน
    มาม้วยมรณ์นอนคู้อยู่อย่างนี้ คงจะมีผู้สังเกตในเหตุผล
    ปลงสังเวชวาบเสียวเหี่ยวกมล เหมือนกับตนท่านบ้างกระมัง เอย.
    ๒๖. บางเอ๋ยบางที อาจจะมีผู้เฒ่าเล่าขยาย
    รำพันความเป็นไปเมื่อใกล้ตาย จนตราบวายชีวาตม์อนาถใจ
    "อนิจจา! เห็นเขาเมื่อเช้าตรู่ ออกจากหมู่บ้านเดินสู่เนินใหญ่
    ฝ่าน้ำค้างกลางนามุ่งคลาไคล ผิงแดดในยามเช้าหน้าหนาว เอย.
    ๒๗. "ต้นเอ๋ยต้นกร่าง อยู่ที่ข้างเนินใหญ่พุ่มใบหนา
    มีรากเขินเผินพ้นพสุธา กลางวันเขาเคยมาผ่อนอารมณ์
    นอนเหยียดหยัดดัดกายภายใต้ต้น ฟังคำรนวารีมี่ขรม
    กระแสชลไหลเชี่ยวเป็นเกลียวกลม เขาเคยชมลำธารสำราญ เอย.
    ๒๘. "ป่าเอ๋ยป่าละเมาะ ยังอยู่เยาะเย้ยให้ถัดไปนั่น
    เขาเดินมาป่านี้ไม่กี่วัน ปากรำพันจิตรำพึงคะนึงใน
    บัดเดี๋ยวดูสลดระทดจิต เหมือนสิ้นคิดขัดหาที่อาศัย
    หรือคล้ายคนทุกข์ถมระทมใจ หรือคู่รักร้างไม่อาลัย เอย.
    ๒๙. "ต่อเอ๋ยต่อมา ณ เวลาวันใหม่มิได้เห็น
    ทั้งกลางนากลางเนินเผอิญเป็น ใต้ต้นกร่างว่างเว้นเช่นเมื่อวาน
    เห็นคนหนึ่งเดินไปใจว่าเขา แต่ไม่เข้ากลางนามาสถาน
    ที่เขาเคยพักผ่อนแต่ก่อนกาล ทั้งไม่ผ่านป่าเล่าผิดเขา เอย.
    ๓๐. ถัดเอ๋ยถัดมา เห็นเขาพาศพไปใจสลด
    เสียงประโคมครื้นครั่นน่ารันทด ญาติทั้งหมดตามมาโศกาลัย
    ทำการศพตบแต่งที่ระลึก มีบันทึกถ้อยคำประจำไว้
    อยู่ที่ดงหนามนั้นถัดนั่นไป ความอย่างไรเชิญท่านไปอ่าน เอย.

    ข้อคิดที่ได้รับ

    1. คนเราเกิดมาควรสร้างความดี เพราะทุกคนต้องตาย ควรดำเนินชีวิตเป็นรูปแบบให้คนรุ่นหลังได้ยึดถือ

    2. ชีวิตเป็นอนิจจังทั้งสิ้น อย่าประมาทในการดำเนินชีวิต

    3. ไม่ว่าจะเป็นคนชั้นสูง หรือ เป็นคนชั้นต่ำก็ตาม ล้วนมีความเป็นคนเท่าเทียมกัน

    4. คำประพันธ์ที่ไพเราะสามารถทำให้ผู้ฟังมีความคล้อยในความหมายของกวี ทำให้สามารถทำความดีได้
    ขอบพระคุณที่มา :- https://sites.google.com/site/chutgaewyui/klxn-dxk-srxy-raphung-ni-pacha
    Thomas Gray English poet :- https://www.britannica.com/biography/Thomas-Gray-English-poet

    Thai-English :- http://www.st.ac.th/bhatips/tip49/thai_elegy_m249.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2017
  6. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,578
    สำหรับหนูมล

    เดินกลางป่าช้าตอนดึกคนเดียว ยังปลอดภัยกว่าไปเดินกลางสลัมพี่มืดอีกคร่า !!??!
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    ถ้าเข้าใจไม่ผิดน่าจะที่ จ.พิจิตร ครับ...
    วัดที่ หลวงปู่ท่านอยู่ บริเวณนั้นค่อนข้างแรงครับ
    แรงที่ในที่นี้คือ เต็มไปด้วยภพภูมิที่เด่นทางด้านฤิทธิ์ครับ
    ขณะที่ผู้เขียนอยู่ ณ ขณะนี้ท่านเหล่านั้นยังนั่งมอง ยืนมอง
    หน้าผู้เขียนอยู่ครับ คือ
    ถ้าไม่ดีจริง อยู่ไม่ได้ครับ.....
    ประกันได้ว่าอยู่ได้ไม่เกิน ๒ สัปดาห์ครับ....

    สมัยก่อนที่ หลวงพ่อ ชื่อดังวัดป่าธรรมอุทยาน
    ท่านยังสอนสมาธิอยู่ปัจจุบันไม่สอนแล้ว
    (ยกเว้นบางกรณี) ก็มีหลายท่านเคยจะไปจำพรรษา
    ที่วัดที่ หลวงปู่ท่านอยู่ แต่ก็อยู่ไม่ได้ครับ....

    เรื่องนี้ส่วนตัวได้ยินมาจากศิษย์เอกของหลวงพ่อ
    ที่ทันตั้งแต่หลวงพ่อท่านยังสอนสมาธิอยู่

    พอดีช่วงหนึ่ง สมัยที่หลวงพ่อ ไปสร้างวัดใหญ่
    ที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์นั้น มีอสูรกาย ๒ ตนหลุดจาก
    วงจรนรกมา แล้วมาอาละวาด ทั้งพระทั้งฆารวาส
    ที่วัด เรียกได้ว่า เล่นกันทั้งกลางวันและกลางคืน.....

    ยุคนั้นได้พระสงฆ์ ๔ ท่าน ๑ ในสี่ท่านที่ปราบปัจจุบัน
    เป็นเจ้าอาวาส(หลวงพ่อไม่ใช่เจ้าอาวาสนะครับ)
    และอีก ๒ ท่านที่ส่วนพอรู้จักดี เนื่องจากเป็นที่ปรึกษา
    กันด้านสมาธิสมัยที่เคยไปบวชที่วัดนี้ และอีกท่าน
    ออกไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดอื่นๆแล้ว..
    ๔ ท่านเหล่านี้ จับอสูรกาย ๒ ตนนั้นลงในหม้อเรียบร้อยแล้ว
    หม้อหนึ่งอยู่กับหลวงพ่อ อีกหม้อหนึ่งอยู่กับศิษย์เอกอีกท่าน
    แต่ท่านไม่บอกว่าฝั่งไว้ที่ไหนครับ....

    คือยุคก่อนสมัยที่หลวงพ่อท่านสอนสมาธิอยู่
    ส่วนมากที่ท่านสอนจะเป็นเกจิอาจารย์กันหมด
    ปัจจุบันนี้ท่านจะเน้นแต่เจริญสติเป็นหลัก
    เพราะเข้าถึงคนหมู่มากกว่า...
    ปล.เล่าให้ฟังเฉยๆนะครับ.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...