แนวทางนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์และการเจริญบารมี ๑๐ รวมคำสอน พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย คนหลงเงา2, 21 มกราคม 2018.

  1. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    แนวทางนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์และการเจริญบารมี ๑๐ รวมคำสอน


    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    ----------------------------------

    กระทู้นี้ผมตั้งใจว่า จะเป็นกระทู้หลักในการรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าองค์ปฐม หรือพระธรรมของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันบางส่วน หรือพระธรรมของพระอรหันต์ เพื่อให้ท่านที่ศึกษาภายหลังสะดวกขึ้นครับ

    -----------------------------------------

    พระธรรม


    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑. การรักษาอารมณ์ของจิต จักต้องเพียรดูอารมณ์ของตนเองอยู่เสมอ จักเห็นสังขารอันเป็นอารมณ์ปรุงแต่งไปตามสัญญา หรือความทรงจำอยู่เนืองๆ เป็นต้นเหตุของความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) เป็นหนทางแห่งความทุกข์ (ให้เกิดทุกข์) เป็นปัจจัยที่ทำให้ต้องเกิดสืบไปในภายภาคหน้า พึงเห็นการทำงานของจิต นั่นแหละจึงจักเกิดปัญญาเห็นการทำงานของรูปและนามได้ เป็นหนทางการเห็นทุกข์อย่างแท้จริง และเป็นแนวทางนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ได้ในที่สุด

    จำไว้ว่าความตั้งใจจักไปพระนิพพานอย่างเดียวนั้น ยังไม่ใช่แนวทางปฏิบัติ เพียงแค่ตั้งเป้าหมายจักเดินไปจุดนั้น จักต้องเตรียมอาหาร ค่าใช้จ่าย - ยานพาหนะสิ่งจำเป็นต่างๆ ให้พร้อมก่อน วิธีปฏิบัติที่จักไปให้ถึงซึ่งพระนิพพานก็เช่นกัน จักต้องมีศีล - สมาธิ - ปัญญาพร้อมจึงจักไปได้ แต่มิใช่จำศีล - สมาธิ - ปัญญาได้ด้วยความรู้แค่สัญญา คือความจำเท่านั้น (รู้แค่ปริยัติแต่ยังมิได้ปฏิบัติจัดเป็นหนูที่ขุดรูไว้ แต่มิได้อยู่) ต้องมีความตั้งใจมั่นในศีล - สมาธิ - ปัญญา ด้วยกาย - วาจา - ใจ ให้พร้อมในคราวเดียวกัน นั่นแหละคือการปฏิบัติ ธรรมเหล่านี้จักครบอยู่ในจิตก็ต้องอาศัยบารมี ๑๐ ประการเข้าคุมใจให้พร้อม นั่นแหละการปฏิบัติในศีล - สมาธิ - ปัญญา จักไม่บกพร่องแม้แต่วินาทีเดียว เช่น

    - ทานบารมี การให้ทานคือการสละออกอยู่ตลอดเวลา มีศีล ๕ คือสละความชั่ว ๕ ประการทิ้งไป มีศีล ๘ สละความชั่ว ๘ ประการทิ้งไป มีศีล ๑๐, ศีล ๒๒๗ ก็สละ แม้อภิสมาจารของเณรของพระทิ้งไป มีกรรมบถ ๑๐ ก็สละความชั่ว ๑๐ ประการทิ้งไป ทิ้งไปจากกาย - วาจา - ใจ คือมีศีลพร้อมอยู่ในกาย - วาจา - ใจนี้

    - ศีลบารมี การรักษาศีล มีกำลังใจรักษาศีลเต็มอยู่ตลอดเวลา โดยไม่มีจิตคิดละเมิดศีล ทางจิตไม่คิด ทางกายไม่ทำ ทางวาจาไม่พูด ให้ผิดข้อบัญญัติของศีลนั้นๆ อาบัติแปลว่าบาป ศีลทุกข้อมีโทษแก่จิตทุกข้อ พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทรงเห็นโทษคือบาปอันเกิดขึ้นกับกาย - วาจา - ใจ จึงบัญญัติศีลขึ้นมา เพื่อให้พุทธบริษัทได้สำรวมกาย - วาจา - ใจ ไม่ให้ละเมิดในศีลนั้นๆ

    - เนกขัมมะบารมีการถือบวชด้วยกาย - วาจา - ใจ ในศีลนั้นๆ มีความพร้อมหรือยัง

    - ปัญญาบารมีใช้ปัญญาใคร่ครวญในศีล - สมาธิ - ปัญญา ให้ถูกต้องตามหลักพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาแล้วหรือยัง ที่รู้อยู่นั้น รู้ด้วยสัญญาหรือปัญญา

    - วิริยะบารมีดูกาย - วาจา - ใจ มีความเพียรในศีล - สมาธิ - ปัญญาเป็นปกติหรือเปล่า

    - ขันติบารมีมีความอดทนต่อความชั่วที่เข้ามายั่วยุกาย - วาจา - ใจ ให้ละเมิดในศีล - สมาธิ - ปัญญา ทั้งกาย - วาจา - ใจหรือเปล่า

    - สัจจะบารมีพูดจริง - ทำจริงในศีล - สมาธิ - ปัญญา ทั้งกาย - วาจา - ใจหรือเปล่า

    - อธิษฐานบารมีมีจิตตั้งมั่นในพระนิพพานหรือเปล่า การรักษาศีล - สมาธิ - ปัญญาให้ครบ ทั้งกาย - วาจา - ใจ ในหลักของพระพุทธศาสนา มีจุดมุ่งหวังอยู่ที่พระนิพพานแห่งเดียวเท่านั้น ตรวจดูกาย - วาจา - ใจของตนเองยังตั้งมั่นอยู่หรือยัง

    - เมตตาบารมีมีความรัก ความสงสารตนเอง คือจิตที่จักต้องไปตกนรกหรือขึ้นสวรรค์ เวียนว่ายตายเกิดด้วยกรรมคือการกระทำของกาย - วาจา - ใจ วนอยู่ ในวัฏฏสงสาร เพราะละเมิด ศีล - สมาธิ - ปัญญา ไม่ได้กระทำเพื่อพระนิพพาน ทำเพื่อหวังผลตอบแทน นี่เป็นการขาดเมตตาแก่ตนเอง เมื่อขาดเมตตาตนเอง ก็ขาดเมตตาไปยังบุคคลอื่น - สัตว์ - วัตถุธาตุต่างๆ ด้วย

    - อุเบกขาบารมี ความวางเฉยในกฎของกรรม รู้ต้นสายปลายเหตุในกฎของกรรมที่เข้ามาถึงตนเอง วางเฉยได้แล้วหรือยัง รู้ต้นสายปลายเหตุในกฎของกรรมที่ปรากฏแก่บุคคลอื่น นี้วางเฉยได้แล้วหรือยัง อุเบกขาจักเกิดขึ้นได้พร้อมเมื่อกาย - วาจา - ใจถึงพร้อมด้วยศีล - สมาธิ - ปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในกองสังขารทั้งปวง การปล่อยวางจึงจักเป็นอุเบกขาญาณแท้ เห็นกฎของกรรมเป็นไปอย่างนี้แหละ รักษาบารมี ๑๐ เพียงเท่านี้ ศีล - สมาธิ - ปัญญาก็พร้อมอยู่ในกาย - วาจา - ใจทุกเมื่อ คนที่ปรารถนาจักไปพระนิพพาน จักทิ้งบารมี ๑๐ ไปไม่ได้เลย จงทำให้เกิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียวที่จิตนี้ เพราะจิตเป็นใหญ่ในธรรมปัจจุบันอยู่เสมอ ฝึกกำลังใจให้ตั้งมั่นพร้อมอยู่ในศีล - สมาธิ - ปัญญา ด้วยบารมี ๑๐ ประการเป็น ๓๐ ทัศแล้ว จุดนั้นแหละเป็นแนวทางสู่พระนิพพานได้อย่างแท้จริง

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ---------------------------------------

    ข้อมูลจาก

    หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๑ เดือนมกราคม ๒๕๔๑

    หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑ ถึง ๑๗

    หาข้อมูลได้จากเวบนี้ครับ.....

    http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html

    ถ้าเป็นเสียงตอนนี้มีเล่ม ๗/ ๘/ ๑๐ /๑๑/๑๔/๑๕ หาได้จาก youtube

    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น

    ต้องขอโมทนาทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่พระธรรมของพระพุทธเจ้าหรือ

    หลวงพ่อหรือพระอริยะเจ้าทั้งหลายในทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    ..........................................
     
  2. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    นาวาสูตร ว่าด้วยละกิเลสเหมือนการจับด้ามมีด

    พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
    ------------------------------

    คำสอนของพระพุทธองค์ตอนนี้ ทรงกล่าวถึงผู้ที่ละกิเลสต้องเจริญสติต่อเนื่อง

    กิเลสจะถูกละอย่างช้า ๆ เหมือนการจับด้ามมีด

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกท่านครับ
    ----------------------------------------------

    [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ประกอบภาวนานุโยคอยู่ จะพึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่าไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้นจิตของเธอย่อมไม่พ้นไปจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้เลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไร

    ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะเธอไม่อบรม เพราะไม่อบรมอะไร เพราะไม่อบรมสติปัฏฐาน ๔ เพราะไม่อบรมสัมมัปปธาน ๔ เพราะไม่อบรมอิทธิบาท ๔ เพราะไม่อบรมอินทรีย์ ๕ เพราะไม่อบรมพละ ๕ เพราะไม่อบรมโพชฌงค์ ๗ เพราะไม่อบรมอริยมรรคมีองค์ ๘.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้นพึงเป็นของอันแม่ไก่ไม่นอนทับด้วยดี ไม่กกด้วยดีไม่ฟักด้วยดี แม่ไก่นั้นถึงจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอลูกของเราพึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากออกมาโดยความสวัสดี ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็ไม่สามารถจะทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยความสวัสดีได้....


    [๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยนิ้วมือย่อมปรากฏ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือย่อมปรากฏที่ด้ามมีดของ
    นายช่างไม้ หรือลูกมือของนายช่างไม้ แต่นายช่างไม้หรือลูกมือของนายช่างไม้นั้นหารู้ไม่ว่าวันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปประมาณเท่านี้ วานนี้สึกไปประมาณเท่านี้ วันก่อนๆ สึกไปประมาณเท่านี้
    นายช่างไม้หรือลูกมือของนายช่างไม้นั้น มีความรู้แต่ว่า สึกไปแล้ว โดยแท้แล

    แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบภาวนานุโยคอยู่ หารู้ไม่ว่า วันนี้อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้วประมาณเท่านี้ วานนี้สิ้นไปแล้วประมาณเท่านี้หรือวันก่อนๆ สิ้นไปแล้วประมาณเท่านี้ก็จริง ถึงอย่างไรนั้น เมื่ออาสวะสิ้นไปแล้ว เธอก็มีความรู้แต่ว่าสิ้นไปแล้วๆ ฉันนั้นเหมือนกันแล.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือที่เขาผูกด้วยพรวน แล่นไปในสมุทร จมลงในน้ำสิ้น ๖ เดือนโดยเหมันตสมัย เขาเข็นขึ้นบก พรวนเหล่านั้นถูกลมและแดดกระทบแล้ว ถูกฝนตกรดแล้วย่อมผุ และเปื่อย โดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกันแล.

    ข้อมูลจาก

    นาวาสูตร

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    ------------------------------
     
  3. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    ๑๒๖. ไตรลักษณ์มีอยู่แล้วโดยปกติ

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุ, ความตั้งอยู่แห่งธรรม, ทำนองแห่งธรรมอันนั้น ก็ตั้งอยู่แล้ว คือข้อที่ว่า สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง)ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ (ทนอยู่ไม่ได้) ธรรม (ทั้งสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง และไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง) ทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ตถาคตตรัสรู้เข้าใจทำนองธรรมนั้น ครั้นตรัสรู้แล้ว เข้าใจชัดแล้ว ก็บอก, แสดง, บัญญัติ, ตั้งไว้, เปิดเผย, แจกแจง, ทำให้ง่ายถึงข้อที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน."

    ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๓๖๘
     
  4. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    เมื่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำได้พบพระพุทธเจ้าองค์ปฐมเป็นครั้งแรก

    ------------------------------

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    --------------------------------


    ประวัติและการสร้างสมเด็จองค์ปฐม

    สมเด็จองค์ปฐม ท่านเป็น พระพุทธเจ้าพระองค์แรกของโลก ทรงพระนาม สมเด็จพระพุทธสิกขี เนื่องจากพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วมากมายนับได้แสนองค์ ฉะนั้นพระนามของพระองค์จึงซ้ำกัน โดยเฉพาะพระนาม สมเด็จพระพุทธสิกขี มีด้วยกัน ๕ พระองค์ จึงได้ขนานนามของสมเด็จองค์ปฐมว่า สมเด็จพระพุทธสิกขีที่ ๑จึงนับได้ว่า พระพุทธองค์ทรงเป็น สมเด็จองค์ปฐมบรมครู อย่างแท้จริง

    สมัยที่พระพุทธองค์ได้ทรงอุบัติในโลกมนุษย์ ซึ่งขณะนั้นคนมีอายุขัยประมาณ ๘ หมื่นปี พระพุทธองค์ทรงผนวชออกมหาภิเนษกรมณ์ เมื่อพระชนมายุได้ ๔ หมื่นปี หลังจากผนวชได้ ๒ หมื่นปี จึงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้ เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์แรกของโลก พระพุทธองค์ทรงโปรดเวไนยสัตว์ประมาณ ๒ หมื่นปี จึงได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน

    พระพุทธองค์ทรงใช้เวลาอันยาวนานถึง ๔๐ อสงไขยกัปเศษ ในการบำเพ็ญพระบารมี เพื่อแสวงหาพระโพธิญาณด้วยพระองค์เอง ทรงใช้เวลาอันยาวนานในการบำเพ็ญพระบารมี เนื่องจากพระพุทธองค์เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรก จึงไม่มีแบบอย่างที่จะให้พระพุทธองค์ได้ศึกษาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ ระยะเวลาที่บำเพ็ญพระบารมีจึงใช้ถึง ๔๐ อสงไขยกัปเศษ

    การพบสมเด็จองค์ปฐมครั้งแรก
    ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๑๑ คืนหนึ่ง พระเดชพระคุณหลวงพ่อกำลังสอนพระกรรมฐาน และเมื่อเสร็จจากการแนะนำ ก็ได้ทำสมาธิ ก็เกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดมาก่อนปรากฏขึ้น คือ เห็นพระพุทธเจ้าในปางพระนิพพานทรงยืนสองแถวยาวเหยียดไปข้างหน้าแล้วก็พนมมือ

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อมีความรู้สึกในใจว่า บางทีอาจจะเป็นอุปาทาน เพราะว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยก้มศีรษะให้ใคร แม้แต่บ้านเรือนเล็กๆ หลังคาตํ่าๆ หากพระพุทธองค์เสด็จเข้าไป หลังคาก็จะสูงขึ้นเอง แต่เวลานี้เห็นพระพุทธเจ้ายืนพนมมือ เมื่อนึกเพียงนี้ ก็เห็นภาพหลวงปู่ปานปรากฏขึ้นข้างหน้า หลวงปู่ปาน ท่านบอกว่า

    “คุณ…ไม่ใช่อุปาทาน ประเดี๋ยวพระพุทธเจ้าองค์ปฐมจะเสด็จมา”

    อีกประมาณ ๕ นาที ปรากฏว่ามีพระพุทธเจ้าอีกองค์ รูปร่างท่านใหญ่โตมาก สูงมาก มาในรูปของปางพระนิพพาน เดินมาระหว่างช่องกลาง พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ก้มศีรษะแสดงความเคารพ พอพระองค์เดินไปถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ทรงตรัสว่า

    “ข้าจะนั่งที่ไหนหว่า… ในเมื่อไม่มีที่นั่ง ข้าก็เอาหัวแกเป็นแท่นก็แล้วกัน”

    พระพุทธองค์ก็เลยนั่งบนหัวของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ แล้วทรงตรัสกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อว่า

    “นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ก่อนที่แกจะสอนพระกรรมฐานก็ดี จะพูดธรรมก็ดี บอกฉันก่อน ฉันจะให้พูดตอนไหน จะให้เทศน์ตอนไหน ให้ว่าตามนั้น”

    เป็นอันว่าเมื่อใดก็ตาม ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อเทศน์ก็ดี สอนพระกรรมฐานก็ดี สอนธรรมก็ดี พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ไม่เคยได้พูดตามใจคิดเลย เป็นเพราะพระพุทธองค์ท่านดลใจให้พระเดชพระคุณหลวงพ่อพูด และแนะนำธรรม ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่เป็นที่ถูกใจของทุกคน เพราะพระพุทธองค์ท่านอาจจี้จุดเฉพาะคนใดคนหนึ่ง แต่บางคนอาจจะไม่ถูกใจก็ได้ นี่เป็นเรื่องธรรมดา พระเดชพระคุณหลวงพ่อก็คิดว่า เมื่อพระพุทธองค์ท่านมีบุญคุณอย่างนี้ จึงคิดที่จะหล่อรูปของท่าน

    ต่อมาเมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้เจริญพระกรรมฐานแล้ว จึงได้อาราธนาสมเด็จองค์ปฐมขอพบ พระพุทธองค์ท่านก็ปรากฏให้เห็น ทรวดทรงสวยงามมาก หน้าของท่านอิ่มเหมือนรูปไข่ แก้มอิ่ม ทรงยิ้มน้อยๆ ริมฝีปากไม่บุ๋ม ไม่เหมือนพระพุทธเจ้าที่เขาปั้นกัน จะพบว่าช่างเขาปั้นแก้มตรงปากจะบุ๋มลงไป

    แล้วสมเด็จองค์ปฐมก็แสดงรูปร่างสมัยเป็นมนุษย์ และก็เปลี่ยนมาเป็นปางพระนิพพาน พระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ถามว่า ถ้าจะปั้นรูปของพระองค์ จะให้ปั้นแบบไหน จะให้ปั้นปางพระนิพพานหรือมนุษย์

    พระพุทธองค์บอกว่าให้ปั้นแบบนี้ก็แล้วกัน พระพุทธองค์ทรงแสดงภาพให้ดู เป็นเหมือนกับพระพุทธรูป และมีเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช รูปที่ทรงให้ปั้นไม่เหมือนกับรูปจริงของท่าน แต่พระองค์ท่านต้องการให้ปั้นแบบที่ท่านต้องการ
    1_สมเด็จองค์ปฐม_01.jpg

    พระพุทธองค์ได้มาแสดงภาพให้พระเดชพระคุณหลวงพ่อดูถึง ๓ วันติดๆ กัน วันละประมาณ ๑ ชั่วโมง พระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ได้ดูอย่างละเอียด แต่ก็คิดในใจว่า ช่างเขาปั้น แต่เขาไม่เห็นภาพ เขาจะปั้นได้ไม่เหมือน จึงได้ขอบารมีพระองค์ท่าน เวลาช่างปั้น ขอได้โปรดดลใจ ให้เป็นไปตามพระพุทธประสงค์ พระองค์ท่านก็ยอมรับ

    คัดย่อจาก หนังสือมรดกของพ่อ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม(วัดท่าซุง) จ.อุทัยธานี
     
  5. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    ตัณหา ๓ ต้นเหตุที่ทำให้ต้องเกิด อยากได้มรรคได้ผลมากเกินไป จัดเป็นกามสุขคัลลิกานุโยค

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    ---------------------------


    ตัณหา ๓ ต้นเหตุที่ทำให้ต้องเกิด


    สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตา ตรัสสอน มีความสำคัญดังนี้

    ๑. ทำกรรมฐานได้เท่าใด ให้พอใจแค่นั้น จิตจักมีความสุข ที่ทุกข์เพราะจิตดิ้นรน มีความอยากได้มรรคได้ผลมากเกินไป จัดเป็นกามสุขคัลลิกานุโยค ได้เหมือนกัน ต้องดูอารมณ์ของจิตให้ดี

    ๒. ต้องมีสติสัมปชัญญะกำหนดรู้เอาไว้เสมอ การผิดพลาดก็เพราะนิวรณ์ ๕ รบกวนจิต ต้องรีบตัดให้เร็วที่สุดด้วยกรรมฐานแก้จิต จนจิตชินสามารถตัดนิวรณ์ได้เป็นอัตโนมัติจุดนี้ต้องใช้ความเพียรหนัก จักพ้นเกิดพ้นตายได้ก็อยู่ที่ตรงนี้ว่าจิตมีกำลังเอาจริงหรือเปล่า

    ๓. การฝึก มโนมยิทธิ จะได้หรือไม่ มิได้อยู่ที่ครูฝึก แต่อยู่ที่จิตผู้ฝึกจักระงับนิวรณ์ ๕ ได้ละเอียดแค่ไหน เมื่อเห็นพระนิพพานแล้ว ไม่ควรประมาทว่า เราจักเข้าถึงพระนิพพานเมื่อใดก็ได้

    ๔. การไปเห็นพระนิพพานก็ดี การไปได้มาได้ก็ดี หากเหลิงเกินไป ทะนงตนไม่สร้างความดี คือ ละจากรากเหง้าของตัณหา ๓ ประการ ก็จักไปพระนิพพานไม่ได้ในบั้นปลาย

    ๕. ตัณหา ๓ คือ จิตตกอยู่ในห้วงกามตัณหา มีความทะยานอยากในความโกรธ โลภ หลง อะไรมากระทบร่างกาย อายตนะสัมผัสก็มีความไม่พอใจเกิดขึ้นกับอารมณ์มีแต่ความทะยานอยาก คือ อยากโกรธ อยากอาฆาต พยาบาท อยากทำลาย

    ๖. เมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านไป ได้ตอบโต้กับบุคคลเหล่านั้นจนสะใจ หรือพอใจแล้ว จุดนี้จิตตกอยู่ในห้วงภวตัณหา เป็นการสนองอารมณ์ของกามตัณหาให้สะใจ

    ๗. เมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านไป เป็นอดีตธรรมแล้ว แต่จิตไม่ยอมวางอารมณ์ขุ่นมัว ยังครุ่นคิดปรุงแต่งอดีตธรรมนั้นให้เหมือนอยู่ในธรรมปัจจุบัน หากเจอคู่อริใหม่ก็จะด่าใหม่ ล้วนเป็นอารมณ์อนาคตที่ยังไม่ถึง บางครั้งเห็นหน้าเขามาแต่ไกล ก็บ่นหรือด่าในใจแล้ว ต้นเหตุจากพรหมวิหาร ๔ ไม่มีเลย ในขณะนั้นนี่แหละคือวิภวตัณหา

    ๘. ตัวอยากโลภก็เช่นกัน โลภในคน สัตว์ วัตถุ ทรัพย์สินต่างๆ ที่เห็นว่ามันสวยสดงดงาม เป็นที่ถูกใจหรือพอใจนี่คือกามตัณหา เมื่อได้มาแล้วก็หลง อยากให้มันมีความทรงตัว ไม่เปลี่ยนแปลง นี่คือภวตัณหา แต่ในที่สุด คน สัตว์ วัตถุ ทรัพย์สินต่างๆแม้กระทั่งร่างกายของตนเอง ซึ่งมาจากธาตุ ๔ ก็ต้องเสื่อมเศร้าหมอง หาความสดใสไม่ได้ ร่างกายก็ต้องป่วย ต้องแก่ วัตถุธาตุก็ต้องเก่าทรุดโทรมไปตามกาล ตามสมัย แต่จิตหลง หรือโง่ไม่ยอมรับความจริง จิตมีอารมณ์เสียดาย จะให้อดีตกลับมาเป็นปัจจุบันใหม่ ไม่เข้าใจกฎของไตรลักษณ์ หรือกฎของธรรมดาของโลก นี่คือวิภวตัณหา

    ๙. เมื่อร่างกายนี้ตายแล้ว แต่อารมณ์จิตยังไม่รู้จักพอ มีความทะยานอยาก หลงอยู่ในสภาวะของตัณหา ๓ ประการ จึงเป็นเหตุให้เกิดต่อๆไปไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเป็นดวงจิตที่ไม่รู้จักยุติกรรม มีความหลงในร่างกาย หรือ หลงในอายตนะสัมผัสที่เรียกว่า สักกายทิฏฐิ (ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย) ทำให้อยากโกรธ อยากโลภ อยากหลงต่อกรรมไปในทางทะยานอยากตามสภาวะของตัณหา ๓ ประการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม กุมภาพันธ์ตอน

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ
     
  6. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    อย่าเอาผลของการปฏิบัติในแต่ละวันแต่ละเวลาไปวัดกัน มันจักทำให้ท้อถอย

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    ----------------------------------------------

    การนอนหลับที่ถูกควรเป็นอย่างไร

    เมื่อวันพุธที่ ๓๐ มิ.ย. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนว่า

    ๑. ทำกรรมฐานได้ผลดีบ้าง - เลวบ้าง อย่างกลุ้มใจ เพราะทุกอย่างมันไม่เที่ยง

    ๒. อย่าเอาผลของการปฏิบัติในแต่ละวันแต่ละเวลาไปวัดกัน มันจักทำให้ท้อถอย เพราะจิตมักจะติดดี คือยึดผลของการปฏิบัติดีมาเป็นมาตรฐานของการวัด ซึ่งมันไม่ถูก เพราะขึ้นอยู่กับสุขภาพของร่างกาย ซึ่งแปรปรวนอยู่เป็นปกติ ขึ้นอยู่กับสภาพของจิต ซึ่งมีอารมณ์แปรปรวนอยู่เป็นปกติ นี่เป็นเพราะตัวอุเบกขายังอ่อนกำลังอยู่ หรือสังขารุเบกขาญาณยังอ่อนไปนั่นเอง

    ๓. เรื่องการพักผ่อนให้เพียงพอ เจ้าเองก็หาเวลาได้ยากในเมื่อเป็นเช่นนี้ การหลับจักตามปกติในเวลานอน หรือทนไม่ไหวต้องนั่งหลับ ในเวลาที่เจริญพระกรรมฐาน ก็พยายามนึกถึงมรณานัสสติควบอุปสมานัสสติ โดยการปลงอสุภะจนกายเนื้อนั้นเน่าเปื่อยอนัตตาไป เห็นกายแก้ว นั่งหรือนอนหลับอยู่ในวิมานของตนเองที่พระนิพพานก่อนทุกครั้งไป เจ้าทำได้ไหม (ตอบว่า คิดว่าทำได้)

    ๔. ต้องทำได้ เพื่อความไม่ประมาท จงพิจารณารู้ไว้เสมอ ๆ ว่า การนั่งหลับก็ดี การนอนหลับก็ดี อิริยาบถนี้มีคนตายมาแล้วมากมาย หากไม่ตั้งเข็มทิศให้มุ่งไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ เจ้าเกิดตายลงในขณะนั้นจักว่าอย่างไร (ตอบว่าย่อมไม่ดีแน่)

    ๕. พยายามทำบ่อย ๆ จิตจักได้ชิน ขณะที่ก่อนจักหลับทุกครั้ง และให้กำหนดรู้ไว้ว่า ที่เจ้าต้องหลับ เพราะร่างกายมันเสื่อม ไม่หลับมันก็ทนไม่ไหว เป็นความทุกข์

    ๖. หลับแล้วไม่สบายใจ เพราะไม่ได้ผลของการปฏิบัติ ก็ทุกข์อีก เจ้าก็จงตัดใจ อย่ากลุ้ม ปลงมรณาไปเสียเลยว่า ทุกข์อย่างนี้ขอมีเป็นชาติสุดท้าย ถ้าหากกายมันตายไปในขณะหลับ ก็ขอไปพระนิพพานจุดเดียว (หมายความว่าการนอนหลับ ก็ขอเป็นครั้งสุดท้าย เป้าหมายคือนิพพานจุดเดียว)

    ๗. อย่าลืม การปฏิบัติต้องพร้อมทั้ง ๔ อิริยาบถ คือ ยืน - เดิน - นั่ง - นอน และทำกิจการงานใด ๆ ก็ยกให้เป็นพระกรรมฐานหมด กายส่วนกาย จิตส่วนจิต ต่างฝ่ายต่างทำงานควบคู่กันไปทั้งทางโลกและทางธรรม

    ๘. อย่าลืมรักษาอารมณ์ของจิตเอาไว้ให้ดี ๆ อย่าให้ไหลขึ้นไหลลงมากนัก จิตเหนื่อยจักพลอยทำให้กายเหนื่อยไปด้วย กล่าวคือหมดกำลังใจนั่นเอง จุดนี้ระมัดระวังเอาไว้ให้ดี ๆ อย่าให้เกิดแก่จิตเป็นอันขาด

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    .........................................

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๓๖ ตอน ๓
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ
     
  7. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    บ่อเกิดเบื้องต้นของ สัมมาทิฏฐิ รักษาศีลให้เป็นชีวิตจิตใจ

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    ปกิณกะธรรม

    สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑. พิจารณากฎของกรรมให้มาก อย่าฝืนกฎของกรรมจักทำให้จิตเห็นทุกข์มากยิ่งขึ้น และจงเตือนตนไว้เสมอ กรรมเหล่าใดถ้าหากตนเองไม่เคยได้ก่อไว้ กรรมเหล่านั้นจักเข้ามาสนองตนเองไม่ได้เลย พิจารณาทุกข์อันเกิดจากผลแห่งกฎของกรรมให้ผลให้เห็นชัด ๆ ต่อไปจักได้สำรวมกาย - วาจา - ใจ ให้มากขึ้น กรรมใหม่จักได้ไม่ก่อกันอีกต่อไป กรรมเท่าที่ตามมาสนองก็ชดใช้เขาไป ทำได้อย่างนี้จิตจักคลายจากความทุกข์ ความสงบของจิตจักมีมากขึ้น เพราะการยอมรับนับถือกรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ และถ้าหากสำรวมกาย - วาจา - ใจให้สงบจากการไม่สร้างกรรมชั่วใหม่แล้ว จิตก็จักมีกำลังใจมาทางด้านปฏิบัติธรรม เพื่อพระนิพานได้ดีเป็นอันมาก

    ๒. ให้พิจารณาเรื่องศีล ๓ ขั้นให้มาก ๆ ไม่ว่ารักษาศีลโดยไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง อันเป็นการสำรวมกายให้เรียบร้อย ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล ทางวาจา ไม่ยินดีด้วยเมื่อบุคคลอื่นละเมิดศีลแล้ว ทางด้านจิตใจ แล้วศีลที่กล่าวมาก็ให้รักษาอยู่ในกำลังใจของตน ศีล ๕ ก็ให้เป็นปกติในศีล ๕ ทั้งกาย - วาจา - ใจ ศีล ๘ ก็ให้เป็นปกติในศีล ๘ ทั้งกาย-วาจา-ใจ ศีล ๒๒๗ เป็นศีลของพระ ก็ให้ดูท่านพระ...เป็นตัวอย่าง ท่านรักษาไว้ดีแล้วทั้งทางกาย - วาจา - ใจ การปฏิบัติเหล่านี้จึงเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย จุดนี้เป็นบ่อเกิดเบื้องต้นของ สัมมาทิฏฐิ อันนำไปสู่สมาธิ อันเป็นโลกุตรสมาธิ หรือ สัมมาสมาธิ ด้วยกำลังของศีลที่มั่นคง (อธิศีล) เมื่อสมาธิไม่เสื่อม ก็นำไปสู่ปัญญา (สัมมาปัญญา) ใช้พิจารณาขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ก็จักตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้ นักปฏิบัติทุกคนจักต้องให้ความสำคัญแก่ศีล รักษาศีลให้เป็นชีวิตจิตใจ ปฏิบัติไปจนเป็นอธิศีลเมื่อไหร่ ก็ถึงพระโสดาบัน เป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้นของพระพุทธศาสนา คำว่าอบายภูมิ ๔ จักไม่เป็นที่ไปสำหรับบุคคลผู้นั้นอีก

    ๓. ร่างกายไม่มีสาระแก่นสารใด ๆ ที่จักยึดถือได้ว่าเป็นเรา เป็นของเรา ให้พิจารณาร่างกายโดยแยกเป็นธาตุ ๔ ให้มาก แยกส่วนอาการ ๓๒ ฝึกฝนให้จิตทรงตัว ค่อย ๆ คิด ต้องฝึกฝนจิตให้คิดเหมือนกับสมัยที่ฝึกการคิดรักษาศีลทำอย่างไรนั่นแหละ เรียกว่า พยายามทำให้จิตรู้จักใช้ปัญญา ไม่ใช่เอาแต่สัญญา ความทรงจำอย่างเดียวจักไม่ได้ผล อย่างกรณีคุณหมอก็เช่นกันที่บอกว่าไม่ไหวในเรื่อง กายคตาและอสุภะ ให้รู้ว่านั่นเป็นสัญญา แล้วก็มีจุดหนึ่งที่มีเหตุทำให้คิดไม่ค่อยจักได้ คือกำลังใจยังไม่เต็ม คือเข้าไม่ถึงธรรมส่วนนี้นี่เอง คือจิตยังไม่มีกำลัง

    จุดนี้จักต้องรู้จักฝึกฝนจิตให้รักการพิจารณาร่างกาย อย่าปล่อยให้จิตไหลลงสู่เบื้องต่ำไปเรื่อย ๆ จักขาดทุน คนเราถ้ามัวแต่ประมาทไม่รีบเพียรฝึกฝนจิตให้ตัดสังโยชน์ที่คั่งค้างอยู่ คิดแต่ว่าจักรอบารมีเก่าเข้ามาถึงเอง บางครั้งก็อาจจักสายเกินไป กล่าวคือ มีกรรมเข้ามาตัดรอนให้ชีวิตต้องตายไปเสียก่อน ไปเกิดเป็นพรหม เป็นเทวดาก็ไม่สิ้นทุกข์ หรือกลับมาเกิดเป็นคนก็ทุกข์ใหญ่ หรือโชคร้ายไปสู่อบายภูมิ ๔ ยิ่งทุกข์มหาศาล

    การฝึกฝนจิตให้รู้จักคิดหรือ ธัมมวิจยะ เรื่องของร่างกายตามความเป็นจริง ตามคำสั่งสอนที่ทรงตรัสไว้มากมายหลายวิธี เป็นการเสริมปัญญาบารมีให้เต็มอยู่ในธรรมปัจจุบัน มีความเพียร-ความอดทน-อดกลั้น ต่อคลื่นอารมณ์ที่เข้ามากระทบ มีสัจจะตั้งใจจะทำอะไรก็พยายามให้เป็นไปตามนั้นเสมอ ทำความดีทุกอย่างโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างทำเพื่อพระนิพพานจุดเดียว ทำทุกอย่างโดยมีปัญญาคุมไม่ปล่อยให้จิตลอยไปลอยมาเหมือนเรือที่ไม่มีหางเสือ สุดแต่คลื่นจักพาไปทางไหน เรือจักจมเมื่อไหร่ก็ได้ จิตคนเราก็เช่นกัน

    คนฉลาดเขาจักไม่ทิ้งบารมี ๑๐ กันด้วยเหตุนี้ อย่ามุ่งจักเอาแต่ทางลัดด้วยกำลังของ มโนมยิทธิ ให้หมั่นถามจิตตนเองดู ภาพกสิณพระนิพานทรงตัวอยู่ได้ทั้งวันหรือเปล่า ถ้ายังไม่ได้ทั้งวันแล้วคิดว่าตายแล้วไปได้แน่ ก็จักประมาทเกินไป เมื่อรู้ตัวว่ายังทำไม่ได้ ก็พึงเร่งตัดสังโยชน์ให้มาก ๆ จักพ้นขันธ์ ๕ ก็จักต้องพิจารณาขันธ์ ๕ อย่างจริงจัง ถ้าไม่รู้จักขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ก็พ้นจากขันธ์ ๕ ไม่ได้

    ๔. ร่างกายไม่ใช่เรา จุดนี้จักต้องพิจารณาบ่อย ๆ เพื่อให้จิตทรงตัว เป็นการตัด สักกายทิฏฐิ เบื้องสูง มิใช่สักเพียงแต่ว่าพิจารณาความตายให้จิตทรงตัวเท่านั้น อารมณ์ยอมรับความตายที่มีกันมาแต่พระโสดาบัน ยังเป็นอารมณ์หยาบอยู่ เพราะยังยึดนั่นเกาะนี่ หากแต่การพิจารณาร่างกายเป็นธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ ประกอบด้วยปฏิกูล คือ สิ่งสกปรกที่สุดของร่างกายเป็นอสุภะ หรือ นวสี ๙ จุด นี้ หมั่นเจริญเพื่อการลด - ละ ในการยึดมั่นถือมั่นเป็นอารมณ์ละเอียด ทุกคนที่ปรารถนาละขันธ์ ๕ ให้ได้อย่างจริงจัง จักต้องทำจุดนี้ให้มาก ๆ ของเหล่านี้มองเห็นกันไม่ยาก แต่การที่จักทรงจิตอยู่ให้มั่นคง มิใช่ของง่าย และ ขอให้ทุกคนจงอย่าประมาทในกรรม ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง บางขณะเผลอไปแล้วก็ตั้งต้นใหม่ อย่าตำหนิตนว่าเลว วัดกำลังใจเข้าไว้เสมอ ถ้าทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำเลยในแต่ละวัน นั่นและจัดว่าเลวแท้

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๐ เดือนมิถุนายน ๒๕๔๐
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆ ท่านครับ
     
  8. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    พระธรรมของ หลวงปู่อี๋ หลวงปู่จง หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ปาน
    -------------------------------------

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    -------------------------------------
    จากนั้น หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านก็มาขออนุญาตอบรวม (ผมขออนุญาตตั้งชื่อว่า อารมณ์ปรามาสพระรัตนตรัย) มีความสำคัญดังนี้.........

    ๘. การระงับความคิดต้องใช้อานาปา ทำจิตให้มีสติทรงตัวรู้เท่าทันความคิดหรือมโนกรรมนั้น ๆ

    ๙. แล้วเอ็งก็อย่าใจร้อน ความที่เอ็งใจร้อน ก็คือจิตที่ขาดสติ คือทิ้งอานาปาและมรณานุสสติ เท่ากับประมาทนั่นแหละ ขอให้คิดดี ๆ ผลร้ายของความใจร้อนมันมีมาก ถ้าเกิดตายตอนนั้น เอ็งจะต้องเสียใจ เพราะกิเลสมารยังไม่หมดจากใจ เอ็งก็ต้องจุติไปตามอารมณ์ใจร้อนนั้น

    ๑๐. จำเรื่องหลวงปู่อี๋เตือนเรื่องความตาย ไม่กำหนดรู้เอาไว้ให้ดี ๆ ประเดี๋ยวเอ็งก็จะเหมือนขึ้นรถ ๒ แถว ที่ออกจากป้ายไปไม่ทันรู้ตัว ไม่รู้จุดหมายปลายทาง

    จากนั้น หลวงปู่อี๋ ท่านก็มากับหลวงปู่จง และขออนุญาต สมเด็จองค์ปฐม สอนต่อดังนี้

    ๑. เอ็งอย่าประมาทในความตาย รู้ลมทุกครั้งให้รู้ความตายไปด้วยทุกครั้ง คนมันตายให้เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ร่างกายมันมาตามกรรม มันก็ไปตามกรรม เราจะรู้มันได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่กรรมมันจะมาถึง ทำให้ร่างกายมันตาย ตายเมื่อไหร่มันไม่แน่ แต่ที่แน่ ๆ คือร่างกายมันต้องตาย เพราะฉะนั้นเอ็งจะต้องพร้อมตายอยู่เสมอ รู้ลม รู้ตาย รู้พระนิพพานไปด้วย อันนี้มันจะตัดกิเลสมารทุกตัวได้ชะงักนัก ถ้าเอ็งไม่โง่จนเกินไป

    ๒. หมั่นคิด หมั่นซ้อม หมั่นทำให้มันเป็นฌาน เป็นได้หรือไม่ได้ไม่สำคัญ เอาแค่ให้จิตมันชิน และยอมรับความพร้อมตาย พร้อมจะไปนิพพานก็แล้วกัน

    ๓. จำไว้มาถึงขั้นนี้แล้ว รบกับธรรมในจิต จะต้องเข้มแข็ง ไม่ใช่ปากเปียกปากอ่อน ไม่มีใครช่วยเอ็งได้ เอ็งต้องช่วยตัวเอ็งเอง เตือนสติ เตือนใจเอาไว้เสมอ ๆ รู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน

    ๔. อย่าเที่ยวปล่อยจิตให้มันไหลออกไปนอกเส้นทางพระนิพพานให้มากนัก หมั่นดึงจิตเข้าไว้ชักกะเย่อกับความชั่วของจิตด้วยความเพียร อย่าให้จิตขาดจากความดี ชนะความชั่วเข้าไว้จนความชั่วมันขาดจากจิตได้เมื่อไหร่ เมื่อนั้นแหละเอ็งก็ถึงเส้นชัยนิพพานเมื่อนั้น

    จากนั้น หลวงปู่จง ท่านก็มาสอนว่า

    ๑. ความชั่วในที่นี้ คือ กิเลสมารมันชั่ว การมีร่างกายมันก็ชั่ว เพราะอารมณ์จิตมันมีความทะยานอยาก อยากมีร่างกาย ขันธมารมันเล่นงานเราได้ เพราะจิตเกาะในร่างกาย มันชั่วเพราะสภาพของร่างกายมันมีแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากของรักของชอบใจ ปรารถนาไม่สมหวัง มีการกระทบกระทั่งอยู่ตลอดเวลา มันไม่ดี แต่จิตเรามันโง่ไปหลงคิดว่าดี มันมีแต่ความทุกข์ แต่จิตหลงคิดว่ามันมีความสุข

    ๒. เวลานี้พวกเอ็งมันรู้กันแล้วว่า ทุกข์ของการมีร่างกายมันทุกข์ขนาดไหน ขอให้รู้เอาไว้ก็แล้วกัน

    ๓. แยกธาตุ ๔ ให้เป็นอาการ ๓๒ อยู่เรื่อย ๆ อย่าทิ้ง เกาะบ้างแกะบ้างก็ไม่เป็นไร อย่าไปหลงยึดว่ามันเป็นเรา เป็นของเราเสียสนิทก็แล้วกัน กำหนดรู้ไว้เนือง ๆ ไอ้ซากผีดิบนี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

    ๔. รู้ไว้เสมอว่า มันต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย จิตพร้อมที่จะไปจากมันอยู่เสมอ ถ้ามันมีอาการแสดงออกจะแก่ จะเจ็บ จะตาย ก็จงยิ้มรับ รู้เอาไว้เสมอว่า อ้อ มึงก็เป็นอย่างนี้ของมึงเป็นธรรมดา อย่าไปอินังขังขอบมันให้มากนัก เราพร้อมที่จะไปพระนิพพานอยู่เสมอ ๆ

    ๕. อุปสมานัสสติจับไว้ให้เที่ยง อย่าให้คลาดไปจากจิต จะทำอะไรก็ต้องรู้ พร้อมตาย พร้อมไปพระนิพพานอยู่ตลอดเวลา

    จากนั้นหลวงปู่ตื้อ ท่านก็มาสอนว่า ทุกขณะจิตนะโว้ย (ก็นึกในใจว่า ต่อหน้าสมเด็จองค์ปฐม หลวงปู่ยังโว้ยเลย) หลวงปู่ท่านก็กราบองค์สมเด็จแล้วหันมาสอนว่า

    ๑. ภาษาเป็นสิ่งสมมุติ ในบรรดาพวกท่านที่จิตวิมุติแล้ว ย่อมไม่ติดอยู่ในสิ่งสมมุตินั้น (ก็ยอมรับคำสอนของท่านแต่โดยดี และขอขมาท่านที่คิดตำหนิท่าน)

    ๒. ไม่เจอกันนาน เอ็งดีขึ้นหรือเลวลง (ยอมรับว่าเลวลง) เออเมื่อยังเลวอยู่ก็หาดีต่อไป ถ้าเอ็งเลิกหาเมื่อไหร่ เอ็งก็เลวเมื่อนั้น

    ๓. อย่าลืม ขยันหาให้ทุกขณะจิตนะ เวลาทางธรรมมีเวลาเดียว คือ ขณะจิตในธรรมปัจจุบัน ที่เอ็งยุ่งอยู่ทุกวันนี้ เพราะเสือกเอาเวลาที่มันล่วงไปแล้ว เป็นอดีตธรรมบ้าง เอาเวลาที่ยังไม่ถึง เป็นอนาคตธรรมบ้าง ให้มันมาตีรวนอยู่ในอารมณ์ปัจจุบัน อย่างนี้เขาเรียกว่าโง่หรือฉลาด (ก็ยอมรับว่าโง่)

    ๔. โง่ซิ เพราะเสือกรู้ไม่เท่าทันสันตติ ขณะจิตมันเคลื่อนไป ธรรมมันก็เคลื่อนไปจิตมันเสือกไปดึงมันเข้ามาเก็บไว้ อย่างนี้เมื่อไหร่มันจะรู้เท่าทันของจริงได้ โง่อย่างนี้ต้องเรียกว่าโง่บัดซบโง่บรรลัย (ก็ยอมรับว่าโง่จริง ๆ)

    ๕. ไม่ต้องบอกก็รู้ ใครในที่นี้เขารู้หมดว่า เอ็งมันโง่ขนาดไหน เกิดอารมณ์ยึดอดีต ยึดอนาคต แทนที่จะรีบผลักไสมันทิ้งไปจากจิต เสือกไปกอดมันเสียแนบแน่น เสียดายขี้อยู่นั่นแหละ เหม็นตายห่า แล้วยังไม่รู้สึก

    ๖. มีแต่เขาจะรีบทิ้ง รีบล้างมันออกไป นี่รู้ว่าอารมณ์มันเศร้าหมองก็ยังไม่ยอมทิ้ง ไม่ยอมล้าง ปล่อยให้มันกินใจจนตายหรือไง (ก็ยอมรับท่านทุกข้อหา)

    ๗. เอ็งไม่ต้องว่าแล้ว ให้รีบทิ้ง รีบล้างความเหม็นของขี้ลูกเดียว มัวแต่เสียดายขี้ ประเดี๋ยวก็ตายเสียก่อนหรอก อยากจะมาพระนิพพานกับเขาบ้าง ถ้าทิ้งถ้าล้างใจไม่เป็น ก็เห็นจะมาได้ยาก พยายามเข้านะ (ก็รับปากท่าน)

    จากนั้น สมเด็จองค์ปฐม ทรงแย้มพระโอษฐ์ ทรงตรัสว่า เจ้าจงจำคำสอนนี้ไว้ให้ดี ๆ ทบทวนเสมอ ๆ จิตจักเกิดปัญญา รู้เท่าทันความเป็นจริงของธรรมทั้งปวง

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    .........................................

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๓๖ ตอน ๓

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ
     
  9. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    รักษาจิต อย่าให้ปรุงแต่งธรรม รักษาปกติธรรมให้ได้อยู่ในปัจจุบันธรรมให้ตลอด จิตเรา-ใจเราจักตัดกิเลสได้ ก็ด้วยรู้ในปัจจุบันธรรมเอาไว้เสมอ

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    --------------------------

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑. “พิจารณาอารมณ์กระทบให้เป็นประโยชน์แก่จิตใจ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดได้ เพราะมีขันธ์ ๕ ซึ่งสรุปลงเสียให้ได้ว่า อย่าหนักใจ-อย่ากังวลใจไปกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามากระทบกับขันธ์ ๕ เพราะ ขันธ์ ๕ นี้ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ทำทุกสิ่งทุกอย่างตามหน้าที่เป็นชาติสุดท้าย ที่มีขันธ์ ๕ อย่างนี้จักไม่มีกับเราอีกต่อไป ชาตินี้ขอทำเป็นชาติสุดท้าย การรักษากำลังใจให้เข้มแข็งอยู่จุดนี้ ไม่ใช่ความโกรธ ไม่ใช่ความไม่พอใจในขันธ์ ๕ หากแต่เป็นการเข้มแข็งอย่างเบาใจ สบายใจ ความหนักใจไม่มีในใจ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมดา เห็นนิสัยของทุก ๆ คน ก็เป็นธรรมดาของเขาอยู่อย่างนั้น การฝืนธรรมดาไม่มี ให้รักษาจิตที่เป็นธรรมดาอยู่นี้ให้มาก และรักษาจิต อย่าให้ปรุงแต่งธรรมให้มาก อย่าเอากิเลสมาฟอกจิต รักษาปกติธรรมให้ได้อยู่ในปัจจุบันธรรมให้ตลอด จิตเรา-ใจเราจักตัดกิเลสได้ ก็ด้วยรู้ในปัจจุบันธรรมเอาไว้เสมอ ไม่ทำเมื่อนี้ จักไปทำเอาเมื่อไหร่ เข้าใจจุดนี้เอาไว้ให้จงหนัก”

    ๒. “รักษากำลังใจให้เห็นธรรมดาให้มาก และจงอยู่ในอริยสัจให้มาก หาข้อสรุปให้กับจิต แล้วใจก็จักไม่วุ่นวาย”

    ๓. “ทำใจให้สบายที่สุด อย่าไปกังวลกับเหตุใด ๆ ทั้งปวง อะไรมันจักเกิด ก็ต้องเกิด ให้พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกฎของกรรม ซึ่งตรงไปตรงมาที่สุด จงเป็นผู้ไม่ประมาทในกรรมเถิด”

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ----------------------------

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๕

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    ------------------------
     
  10. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    การตัดให้ตัดที่ตัณหา ๓ คุมจิตให้รู้เท่าทันอารมณ์

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    --------------------------

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๕. ทรงตรัสว่า “พระ.......จบกิจแล้วจริง ๆ จิตของท่านละเอียดพอ แต่การอธิบายยังไม่ละเอียดในคราวเดียว กล่าวคือในอารมณ์ของพระอรหันต์ รู้อยู่ คน ๆ นี้ไม่ดี แต่ความโกรธ-ความเกลียดในความไม่ดีของคนนี้ไม่มีอยู่ในจิต และบางขณะคน ๆ นี้ทำเรื่องเดือดร้อน ให้รู้สึกว่าโกรธ แค่พอความโกรธกระทบจิต ก็หล่นไปในเดี๋ยวนั้นเลย ความโกรธไม่มีอยู่ในจิตเลยสักนิดเดียว เรียกว่า รู้สึกโกรธแต่ไม่เกาะโกรธ ทำนองเดียวกัน เขาทำให้เกลียดก็แค่รู้สึกแล้วก็หล่นไปเลย หล่นไปไหน-หายไปไหน หายด้วยอริยสัจ รู้เท่าทันความจริง อะไรก็ยึดไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา จิตที่ท่านว่า พระอรหันต์ยังมีความกังวล แต่ไม่เกาะในความกังวลนั้นก็คือ เหมือนคนยังมีหน้าที่ก็ทำหน้าที่ไป แต่ความหวงใยเกินกว่าธรรมดาไม่มี เหมือนธรรมะที่หลวงพ่อชาชอบกล่าวบ่อย ๆ ว่า “ไม่มีในสิ่งที่มี” ร่างกายมีก็เหมือนไม่มี ทรงยกเอาคำตรัสสอนพระปฎาจาราเถรี มาเป็นคำสอนประกอบว่า “มีร่างกายก็เหมือนไม่มี” พระอรหันต์ท่านทำความรู้สึกอยู่อย่างนี้ในทุก ๆ ขณะจิต คือความไม่ประมาทได้ถึงพร้อมอยู่ในจิต ไม่หลงไปกับกิเลสทั้งปวง โดยปกติกิเลสมีมากระทบอยู่ตลอดเวลา โดยเข้าทางอายตนะสัมผัสทั้ง ๖ แต่การตัดให้ตัดที่ตัณหา ๓ คุมจิตให้รู้เท่าทันอารมณ์ คือ

    - กามตัณหา อยากมีในสิ่งที่ยังไม่มี หรือมีแล้วยังไม่รู้จักพอ

    - ภวตัณหา มีแล้วอยากให้ทรงตัวไม่เสื่อม อันเป็นอารมณ์ฝืนของไตรลักษณ์ ซึ่งฝืนไม่ได้

    - วิภวตัณหา เมื่อมันสลายตัวไป-เสื่อไปแล้ว อยากให้มาอยู่ในสภาวะเดิม ซึ่งยิ่งเป็นไปไม่ได้ยิ่งขึ้น (หลงหรือบ้ายิ่งขึ้น) ถ้าคุมจิตได้อย่างนี้ รู้เท่าทันตัณหา ๓ อยู่ตลอดเวลา ความทะยานอยากของจิตจะมาจากไหนก็จบกิจเท่านั้นแหละ

    ๖. ทรงตรัสสอน เรื่องอนุสัย หรืออารมณ์หลงขั้นละเอียด อาทิ อย่างคนชอบร้องเพลง พอปฏิบัติไป ๆ จิตสำรวมก็ดูเรียบร้อยดี วันไหนจิตสบายมากไปหน่อย เพลงมันก็ร้องขึ้นมาเองในจิต มันผุดขึ้นมาเองโดยไม่ได้คิดมาก่อน กว่าจักรู้ตัวก็ตกใจ รีบกด ๆ มันเอาไว้ แต่ถ้ารู้เท่าทันแล้ว ก็ปล่อย ๆ มันไป มันเกิดแล้วมันก็ดับอยู่ในภายในจิต ไม่มีการปรุงแต่ง พระที่จบกิจแล้ว อนุสัยก็มาเป็นอุปนิสัย เคยชอบอย่างไร ก็ชอบอย่างนั้น เคยเอะอะโฉ่งเฉง ก็ปล่อยไปอย่างนั้น เคยชอบเล่นแต่งกองทัพ ก็แต่งกองทัพ แต่ร้องเพลงนี่ร้องอยู่ในจิต คำว่าละเมิดศีล-วินัยไม่มีในพระอรหันต์ มายาสาไถยจึงไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต เรียกว่าตรงหมด บริสุทธิ์ วิมุติหมดทุกอย่าง ให้พิจารณาตามนี้ แล้วเทียบกับมหาสติปัฏฐานสูตร อันว่าด้วยกาย-เวทนา-จิต-ธรรม ซึ่งมีบางบรรพแสดงชัดให้เห็นว่า ราคะเกิดก็รู้ ราคะเกิดด้วยอะไรก็รู้ ราคะดับก็รู้ ราคะดับด้วยอะไรก็รู้ สักแต่เพียงว่ารู้ สักเพียงแต่ผู้อาศัย ผู้อยู่ไม่ได้ติดอยู่ด้วย ไม่ติดในอะไรทั้งหมด นี่เป็นการสรุปโดยย่อ ธรรมโดยละเอียด ต้องไปพิจารณากันเอาเอง จักเป็นราคะ-โทสะ-โมหะก็เหมือนกัน พิจารณาตัวใดตัวหนึ่งให้เข้าใจก็เนื่องถึงกันโดยตลอด”

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ----------------------------

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๕

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    ------------------------
     
  11. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    อย่าไปเดาเหตุการณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้าให้จิตเป็นทุกข์ จักตกเป็นทาสของการปรุงแต่งธรรม

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    --------------------------

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้


    ๑๗. ทำอะไรให้ใคร่ครวญดูให้ดีเสียก่อนแล้วจึงทำ (นิสัมมะ กะระณัง เสยโย) จักไม่ผิดพลาดให้เสียใจได้ในภายหลัง

    ๑๘. อย่าไปเดาเหตุการณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้าให้จิตเป็นทุกข์ จักตกเป็นทาสของการปรุงแต่งธรรม เรื่องของข้างหน้า จงวางไปให้เป็นเรื่องของข้างหน้า มันยังมาไม่ถึงก็ปล่อยวางมันไป รักษากำลังใจให้อยู่ในปัจจุบันธรรมเท่านั้น เรื่องรอบข้างจงปล่อยวางมันไป ใครจักว่าอย่างไร เข้าใจอย่างไรมันเป็นคติของบุคคลเหล่านั้น อย่ายึดเอามาให้เกิดอารมณ์ ที่สร้างกิเลสขึ้นในจิตของตนเอง จงจำไว้ว่า นี่ไม่ใช่ธุระของเรา ให้สักแต่ว่ารู้-สักแต่ว่าเห็น แล้วก็วางมันไป ด้วยเห็นทุกข์ในการยึดเกาะกับสิ่งเหล่านั้น อันหาประโยชน์ไม่ได้

    ๑๙. จงหาประโยชน์จากการเจ็บป่วยของร่างกาย เพราะกายนี้มันไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา เราคือจิตซึ่งเป็นอมตะไม่เคยตายมาอาศัยร่างกายนี้อยู่ตามกรรมชั่วคราว ตราบใดที่จิตยังไม่หมดโง่ หรือหมดอุปาทานขันธ์ ๕ จิตยังยึดเกาะติดร่างกายอยู่ แม้แต่เล็กน้อย จิตนี้ก็ยังต้องถูกกรรมที่จิตสร้าง หรือทำเอาไว้เองบังคับ ให้ต้องมาเกิดมีร่างกายต่อไปไม่รู้จบสิ้น ร่างกายป่วย จิตก็จงอย่าปล่อยตามกาย ให้พยายามรักษากำลังใจให้อยู่ในความไม่ต้องการร่างกาย ไม่ต้องการทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เป็นการตัดขันธ์ ๕ จิตมุ่งสู่พระนิพพานได้โดยง่าย

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ----------------------------
     
  12. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    ทุกอย่างมีแต่ธรรมปัจจุบันคือเดี๋ยวนี้ ขณะจิตนี้ มัชฌิมาปฏิปทาในธรรมปัจจุบัน

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    --------------------------

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้



    ๑๒. ทำใจให้สบายใจให้ถึงที่สุดเอาไว้เสมอ ชีวิตของร่ากาย มันมีแต่ปัจจุบันเท่านั้น ทุกอย่างมีแต่ธรรมปัจจุบันคือเดี๋ยวนี้ ขณะจิตนี้ อาทิเช่น การกินอาหาร ก็กินอาหารแต่พอดี พออิ่ม หากกินเกินอิ่ม เพราะติดในรสของอาหาร ก็เป็นการกินเผื่อกิเลส ก็จะแน่นท้อง-อึดอัด เกิดทุกขเวทนา เหตุเพราะห่วงกายมากเกินไป แต่ไม่ห่วงจิต ซึ่งให้เป็นไปจะต้องพอดี หรือเดินสายกลางทั้งกายและจิตใจในธรรมปัจจุบันหรือขณะจิตนี้

    ชีวิตเบื้องหน้าไม่มีหรอก มีอยู่แต่เดี๋ยวนี้ อนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เป็นสมมุติที่ยังไม่มี จึงยังไม่จริง สิ่งที่จริงต้องจริงในปัจจุบันธรรม คือเดี๋ยวนี้ ดังนั้นการพิจารณาอาหารให้ได้มรรคผล ก็คือเดี๋ยวนี้ จิตของคนเราไม่เสมอกันจิตเจริญแค่ไหนก็พิจารณาธรรมเรื่องอาหารได้ละเอียดแค่นั้น ถ้าพิจารณาให้เห็นปกติธรรมของอาหารอยู่เสมอ ก็จะเห็นตัวธรรมดาของอาหาร จิตจะปลดความติดกับดักของอาหารลงได้ มาพิจารณาปกติธรรม หรือปัจจุบันธรรมของเครื่องนุ่งห่ม บางขณะที่อากาศร้อนมาก ๆ ในฤดูร้อน แต่กับแต่งตัวไม่เหมาะกับฤดูร้อน เพราะรักสวยรักงาม (ราคะจริต) ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ และหลายชิ้น ใส่หลายชั้น แถมยังติดเครื่องประดับเสริม เพิ่มเข้าไปอีกมากมาย มองดูคล้าย ๆ ว่าสวย แต่กลับทำให้ร่างกายร้อย-ไม่คล่องตัว เป็นทุกข์

    แต่ยามฤดูหนาวมาถึงกับใส่เสื้อผ้าบาง ๆ นุ่งกระโปรงสั้น ๆ คิดว่าสวย แต่สร้างทุกขเวทนาให้กับร่างกาย อย่างนี้ก็เรียกว่า ขาดยังความอัตภาพให้เป็นไป เรื่องที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ก็ให้ใช้หลักเดียวกัน คือมัชฌิมาปฏิปทาในธรรมปัจจุบัน คือเดี๋ยวนี้เวลานี้-ขณะจิตนี้เช่นกัน

    ๑๓. หากจับหลักเรื่องธรรมปัจจุบัน เรื่องเดี๋ยวนี้-เวลานี้ ขณะจิตนี้ได้ ก็จะนำไปใช้กับเรื่องอื่น ๆ ได้ทั้งหมด มรณาและอุปสมานุสสติก็จะละเอียดขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นอัตโนมัติขึ้นกับจิต หนทางลัดเข้าสู่พระนิพพาน คือรู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน ก็จะมั่นคงถาวร เข้าสู่พระนิพพานได้แบบง่าย ๆ เช่นกัน หากทำได้จิตจักเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยมที่สุด สุขอื่นใดจักเสมอด้วยสุขบนพระนิพพานไม่มี (เป็นเอกันตบรมสุข)

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ----------------------------

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๕

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    ------------------------
     
  13. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    จงอย่าติดกาลเวลา

    สมเด็จองค์ปัจจุบัน ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

    ๑. คนเรามักจักติดกาลเวลา เมื่อตื่นแล้ว หากยังไม่ได้ตามเวลาที่เคยตื่น จิตก็มักจักมีอุปาทานว่า ยังหลับไม่พอ ทำให้นอกจากติดกาลเวลาแล้ว ก็ยังติดในการนอนอีกต่างหาก ในบางขณะจึงนอนมากเกินความต้องการของร่างกาย ด้วยจิตที่ติดอุปาทานตัวนี้

    ๒. แต่ร่างกายที่มีอยู่ก็จำเป็นต้องนอน เนื่องด้วยธาตุ ๔ ที่เข้ามาประชุมกันมันเกิดอาการเสื่อมขึ้นมา จำเป็นต้องนอน ก็นอนตามที่ร่างกายต้องการ มิใช่ว่าจักต้องฝืน นั่นเป็นอัตตกิลมถานุโยค ก็ไม่ถูกต้องเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จงอย่าทำจิตเป็นคนเมาทั้งยามหลับและยามตื่น เมาอะไร เมาในกิเลสมารและขันธมาร ทั้งปวง

    ๓. จงพยายามทำจิตให้ตื่นอยู่ในความดี คือ ทรงจิตไว้ในสมถะและวิปัสสนา ให้จิตอยู่ในฐานของความดี อันนี้ซิควรทำทั้งยามหลับและยามตื่น เพื่อความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมตัวเดียวเท่านั้น จึงจักเป็นการสมควร

    ๔. เป็นการดีแล้ว ที่เจ้าไม่เลือกเวลา จังหวะใดที่ยังมีสติสัมปชัญญะแจ่มใสและรู้สึกตัวว่าตื่นอยู่ เพราะความตายเป็นของเที่ยง แต่ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ทุกลมหายใจเข้าและออกล้วนมีความตายแฝงอยู่ทั้งสิ้น เจ้าจงถือโอกาสนั้นขึ้นมาเฝ้าตถาคตได้ตลอดเวลา

    ๕. ผู้ใดประมาทในความตาย จึงเท่ากับประมาทในพระธรรมคำสั่งสอนของตถาคตทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ หรือนิพพานสมบัติย่อมไม่มีกับจิตผู้ประมาทในความตายนั่นเอง

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ กันยายนตอน ๑

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    -----------------------
     
  14. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    พระอรหันต์ชั่วคราว พระพุทธเจ้าองค์ปฐม



    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    .........................

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆ ท่าน

    ....................................

    อรหันต์ชั่วคราว


    สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑๔. อรหันต์ชั่วคราวก็คือ จิตว่างจากกิเลสชั่วขณะจิตหนึ่งเป็นขณิกอรหันต์ จงอย่าดูหมิ่นในอารมณ์เล็กๆ น้อยๆ หากทำให้บ่อยๆ จิตก็จักชิน การสะสมอารมณ์ก็เหมือนกัน ตักน้ำเติมใส่ตุ่มนั่นแหละ เต็มเมื่อไหร่ก็จบกิจเมื่อนั้น ยิ่งฝึกฝนตอนเช้ามืด ถ้าจิตสงัดจากกิเลสได้ถึงที่สุดแล้ว วันนั้นทั้งวันจักมีอารมณ์ดีมาก ไม่เชื่อให้ลองทำดู อานิสงค์ของการปฏิบัติได้มากด้วย ก่อนนอนก็ให้ทำอย่างนี้ด้วย เพื่อให้จิตทรงตัวดีขึ้น เวลาเวทนาเกิด ให้แยกออกมาเสีย ดูมันไปเฉยๆ จักเห็นสภาวะธรรมของเวทนาตามความเป็นจริง มีเวทนา มีโรคก็รักษามันไปตามหน้าที่ เป็นการบรรเทาทุกขเวทนา แต่จิตอย่าไปเกาะ-อย่าไปกังวล-อย่าไปผูกพัน เห็นเป็นธรรมดาของมัน และรู้อยู่เสมอว่านี้ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่มัน มันไม่มีในเรา เราไม่มีในมัน แต่จงอย่าคิดว่าเราจักทำได้ทุกวัน แต่ให้พยายามทำให้ได้ทุกวัน

    ๑๕. การรักษาโรค มีความจำเป็นจักต้องมี ให้ถือว่าเป็นธรรมดา แล้วปล่อยวาง โดยไปหาหมอ อากาศแปรปรวนให้ระวังสุขภาพของร่างกายเข้าไว้ด้วย อย่าปล่อยให้ทรุดหนัก จักเยียวยายาก

    ๑๖. ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง ให้รักษากำลังใจอยู่ในความไม่ประมาทเข้าไว้ อย่าให้จิตคลาดจากความดี รักษากำลังใจให้ตั้งมั่นเข้าไว้ ให้ยอมรับนับถือทุกอย่างตามความเป็นจริงเอาไว้เสมอ อย่าไปมองกรรมภายนอก คือ โทษคนอื่นทำให้เกิดกรรมเช่นนี้ ให้โทษกรรมภายในคือเราเท่านั้นเป็นผู้ทำให้เกิดกรรมเช่นนี้ แล้วโทษจริงๆ ก็เนื่องมาจากการยึดขันธ์ ๕ เป็นสำคัญ ให้พิจารณาตามนี้ จักเห็นตัณหาทะยานอยากในจิตได้ชัดเจน หมั่นชำระจิตให้สะอาดเท่าที่จักทำได้เอาไว้เสมอ เป็นการตัดการไปยุ่งกับจริยาของผู้อื่นลงเสีย

    ๑๗. โรคที่เป็นอยู่ ไม่ใช่โรคที่หายง่าย เพราะเรื้อรังมานาน ร่างกายก็เป็นเช่นนี้แหละ จงอย่าคิดให้หายจากโรคเหล่านี้ จงคิดว่าร่างกายมันเป็นอย่างนี้ เป็นรังของโรค เอาความเป็นโรคมาพิจารณาตั้งแต่วันที่เกิดมาหรือเท่าที่จำได้ ความเป็นโรคย่อมเกิดขึ้นกับร่างกายมาโดยตลอด จุดนี้ให้มองตามความเป็นจริง จักได้เกิดความเบื่อหน่าย ไม่ต้องการในร่างกายอย่างนี้อีก

    ๑๘. ให้รักษากำลังใจต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บที่มุ่งเข้ามาเบียดเบียนร่างกาย และให้เห็นเป็นธรรมดาของการมีขันธ์ ๕ ก็ต้องเป็นไปด้วยเหตุนี้ ไม่มีใครจักได้รูปอันสมความปรารถนาที่จักไม่ให้แก่-ไม่เจ็บ-ไม่ให้ตาย จงเห็นธรรมดาของรูปว่าเป็นอย่างนี้แน่นอน ไม่มีทางที่จักเป็นอย่างอื่นไปได้ ร่างกายย่อมเป็นธาตุ ๔ ประชุมกันขึ้นมาแล้ว มีความไม่เที่ยงเป็นปกติ จงอย่าฝืนความเป็นจริงของร่างกาย

    ๑๙. ให้เห็นผลในธรรมปัจจุบันเป็นสำคัญ อดีตและอนาคตนั้นเป็นเพียงการผ่านไป และยังมาไม่ถึงเท่านั้น ให้รักษาอารมณ์ให้จริงอยู่กับการอยู่ในปัจจุบันเสมอ จึงจักมีผลสมบูรณ์ ดูคนอื่นเขาเป็นครู จงอย่าตำหนิกรรมเห็นธรรมดาของผู้ประมาทอยู่ในธรรม เช่น บางผู้รู้จักอยู่อีก ๕ ปี แล้วคิดว่าจักตายเมื่อ ๕ ปีนั้น บางคนจักขออยู่อีก ๑๐ ปี แล้วจึงตาย ผู้ไม่ประมาทกลับคิดว่าจักตายอยู่ในปัจจุบันนี้เสมอไม่มีการคิดว่า ๕ ปี หรือ ๑๐ ปีตาย ให้เข้าใจอารมณ์ของจิตเสียอย่างเดียว การปฏิบัติธรรมก็ได้ผลโดยง่าย อย่าทิ้งการพิจารณาอารมณ์

    ๒๐. อย่าห่วงใคร ให้ห่วงจิตใจของตนเองเป็นสำคัญ ขึ้นชื่อว่าร่างกายย่อมมีการสลายไปในที่สุด รักษากำลังใจให้คลายจากความกังวลทั้งปวง


    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    .........................................


    ที่มาของข้อมูล

    หนังสือธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๔ เดือนกรกฎาคม พศ ๒๕๔๔ ตอนสอง
     
  15. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    การกระทำสิ่งที่เป็นโทษ โดยคิดว่าไม่เป็นโทษก็ยังเป็นโทษ

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ ไว้ดังนี้

    ๑. จงรู้ว่าการกระทำในสิ่งที่เป็นโทษ โดยความเข้าใจว่าไม่เป็นโทษ ก็ยังเป็นโทษหากไม่สอนอย่างนี้ คนยึดมั่นถือมั่นในนิมิตและในเจตนาของจิตตนเองเป็นใหญ่ว่า การกระทำในแต่ละครั้งต้องถูกต้อง และกระทำไปตามอำเภอใจของตน นี่เป็นโทษ แม้กระทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ยังจักเป็นโทษที่รุนแรงมิใช่น้อย

    (เรื่องเดิมมีอยู่ว่า เพื่อนของผมมีเจตนาดี ตั้งใจที่จะวาดรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา และรูปหลวงพ่อฤๅษี อยู่ ๒ ข้างสมเด็จองค์ปฐม เพราะเคารพรักในท่านทั้งสององค์นั้นมาก แต่พอไปขออนุญาตท่านก่อนจะลงมือวาดรูปตามที่ตนคิดไว้นั้น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ท่านไม่อนุญาต โดยให้เหตุผลว่า ตำแหน่งนี้เป็นของอัครสาวกขวาและซ้าย ไม่มีใครเขาทำกัน ใครเห็นเข้า เขาจะว่าอวดอุตริและเอาเรื่องได้ ทำให้วัดเกิดเรื่องยืดยาว ท่านตำหนิว่าคนวาดตู่ท่าน โดยเอาท่านและหลวงพ่อเป็นอัครสาวก ซ้ายและขวา ทำอะไรแม้เจตนาดี แต่ถ้าไม่ถูกกาลเทศะก็ไม่ควร เป็นโทษ คนมาเห็นท่านและหลวงพ่อเข้าก็จะตำหนิ อันเป็นเหตุให้เขาพากันลงนรกอีกเยอะ คนวาดก็ไม่รู้เรื่องที่ทำให้เดือดร้อนกันทั้งวัด)

    ๒. บทเรียนนี้เป็นอย่างไร ดังนั้น นอกจากจักให้พวกเจ้าศึกษาศีลแล้ว ยังจักต้องศึกษากาละเทสะ การกระทำของมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ว่าควรหรือไม่ควรด้วย เป็นโทษหรือไม่เป็นโทษด้วย

    ๓. นี่แหละคือธรรมที่พวกเจ้าจักต้องศึกษาให้ลึกซึ้งละเอียดลงไป และคนอย่างพวกเจ้าใครจักมาพูดคัดค้านอย่างไม่มีเหตุ ไม่มีผล พวกเจ้าก็ไม่ฟัง ผู้ที่พวกเจ้าจักรับฟังคำพูด ต้องหมายถึงบุคคลผู้นั้นหรือท่านผู้นั้น พวกเจ้ามั่นใจในความเป็นพระอริยะ

    ๔. นี่แหละให้ดูคำพูดของพระอริยะท่านไว้ ท่านปรามใครด้วยเหตุด้วยผล ด้วยเมตตา กรุณา ในฐานที่สงเคราะห์กันได้ จิตท่านอ่อนโยนเสมอ แต่ถ้าสงเคราะห์ไม่ได้ท่านก็วางเฉย ศึกษากันเอาไว้ให้เข้าใจ

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ มกราคมตอน ๓

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่าน

    ------------------
     
  16. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    พรหมวิหาร ๔ เป็นธรรมที่ปิดกั้นความเลวทั้งปวง

    สมเด็จองค์ปฐมทรงพระเมตตา ตรัสสอน เรื่องนี้ไว้ดังนี้

    ๑. เป็นอย่างไรเจ้า ความดียังไม่ได้ทำ เพียงแค่คิดก็ยากเสียแล้วใช่ไหม แล้วใยความเลวเล่า ทำได้โดยไม่ทันคิดทำไมจึงง่ายยิ่งนัก ที่ร่างกายของพวกเจ้าต้องประสบกับความลำบากเหน็ดเหนื่อยทั้งกายและใจ อันมีความเจ็บไข้ได้ป่วยไม่สบายเป็นต้น นี้เป็นผลของความเลวหรือความดี (ก็ยอมรับว่าเป็นผลของความเลว)

    ๒. พรหมวิหาร ๔ เมื่อเข้าใจดีแล้ว ธรรมนี้แหละเป็นทำนบปิดกั้นความเลวทั้งปวง จงหมั่นนำมาประพฤติปฏิบัติเถิด

    ๓. เศรษฐีรวยทรัพย์ ต้องอาศัยความเพียรเก็บหอมรอมริบ ประการหนึ่ง อาศัยทานบารมีที่มีแต่อดีตชาติหนึ่ง การสะสมพรหมวิหาร ๔ ก็เช่นกัน จักต้องอาศัยความเพียรเก็บหอมรอมริบดูมันทุกวันว่า วันนี้เก็บพรหมวิหาร ๔ ไปได้เท่าใด

    ๔. สำหรับทานบารมีก็จักต้องอาศัย เพื่อวัดกำลังใจของการทรงพรหมวิหาร ๔ เข้าไว้ หากพรหมวิหาร ๔ มีกำลังต่ำ การให้ทานก็เกิดขึ้นไม่ได้ จิตมันละโมบโลภมาก แม้แต่ทรัพย์สินนอกกายก็ไม่ยอมให้ใคร ถ้ามีอารมณ์ปานกลาง การให้อามิสทานก็ยังมีการหวังผลเป็นการตอบแทน แต่ถ้มีกำลังสูง การให้อามิสทานก็ให้โดยไม่มีการหวังผลตอบแทน รวมทั้งมีกำลังใจให้อภัยทานแก่บุคคลผู้หลงผิดอยู่ตลอดเวลา ถ้าบุคคลผู้นั้นไม่ประพฤติผิดในพระธรรมวินัย ใครเขาจักมีอารมณ์โกรธ โลภ หลง ก็เรื่องของเขา แม้เขาจักด่า นินทา ชม สรรเสริญร่างกายของเรา จิตของเราก็ไม่หวั่นไหวไปกับถ้อยคำนั้นๆ

    ๕. จิตมีพรหมวิหาร ๔ เต็ม มีอภัยทานอยู่เสมอ แม้ในบุคคลที่กระทำผิดในพระธรรมวินัย ก็ใช่ว่าจักโกรธแค้นขุ่นเคืองก็หาไม่ หากเตือนได้ก็เตือนด้วยจิตเมตตา กรุณา อารมณ์พระอรหันต์ไม่ข้องติดอยู่ในกรรมทั้งปวง จิตมีมุทิตา เยือกเย็นอยู่เสมอ หากเตือนไม่ได้ อุเบกขาก็ทรงตัวอยู่แล้ว ไม่มีอะไรที่จักทำให้จิตพระอรหันต์พร่องได้จากพรหมวิหาร ๔

    ๖. ศึกษาศีล ศึกษาธรรม แล้วพิจารณาย้อนไปย้อนมาให้รอบคอบ จักเห็นตัวพรหมวิหาร ๔ ในคำสั่งสอนอย่างชัดเจน และอย่าตำหนิกรรมของ อาทิกัมมิกะบุคคลเหล่านั้น (ผู้กระทำผิดก่อนที่จะมีการบัญญัติศีลข้อนั้นๆ) พวกเขาเป็นครูสอนเรื่องขาดพรหมวิหาร ๔ หรือการมีอารมณ์เบียดเบียนทั้ง ๓ ประการ ให้แก่พวกเจ้าได้เห็นชัดโดยการศึกษา จึงจัดว่าพวกเขาเหล่านั้นมีบุญคุณที่เป็นแบบอย่างให้พวกเจ้าได้ตระหนักว่า การกระทำเหล่านั้นไม่ควรกระทำเพราะในที่สุดก็เป็นผลเบียดเบียนตนเองชัด

    ๗. เพราะฉะนั้นจงอย่าด่าครู อย่าตำหนิครู ให้พิจารณาการกระทำของครูเหล่านั้นโดยธรรม เจ้าจักเห็นอารมณ์ที่เป็นต้นเหตุให้ครูเหล่านั้นหลงผิด เห็นความชั่วว่าเป็นความดี จึงกระทำความชั่วไปตามความหลงที่คิดว่าดีนั้นๆ จงพิจารณาให้ถ่องแท้ จักเห็นอารมณ์โกรธ โลภ หลง ที่บงการครูเหล่านั้นกระทำผิดๆ อยู่ ไม่ว่าทางด้านมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม การสร้างกรรมทางใดทางหนึ่ง ก็ได้ขึ้นชื่อว่าเบียดเบียนตนเองเป็นที่สุดเหมือนกัน

    ๘. ขึ้นชื่อว่ากฎของกรรม ไม่มีการให้ผลนั้นไม่มี ถ้าตราบใดผู้ก่อกรรมนั้นๆ ยังมีการจุติอยู่ และไม่มีการเข้าถึงพระโสดาบันเพียงใด อบายภูมิ ๔ ยังเปิดรับอยู่เสมอ

    ๙. แม้บรรลุพระโสดาบันแล้ว ตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ยังมีการจุติอยู่ กฎของกรรมทั้งความดีและความชั่วก็ยังให้ผลอยู่ เพียงแต่ปลอดจากการไปสู่อบายภูมิ ๔ เท่านั้น จนกว่าจิตดวงนั้นจักมีบารมี ๑๐ เต็ม เป็น ๓๐ ทัศ และมีพรหมวิหาร ๔ เต็มเป็น อัปปมัญญา ตัดสังโยชน์ ๑๐ ขาดสะบั้นแล้ว ทิ้งอัตภาพของขันธ์๕ หรือกาย พรหม และเทวดา อันเป็นภพชาติสุดท้ายแล้ว จิตเคลื่อนสู่พระนิพพาน ดินแดนเอกันตบรมสุขเท่านั้น จึงจักได้ชื่อว่าพ้นจากกฎของกรรมทั้งปวง สัพเพ ธัมมา อนัตาติ

    ๑๐. เพราะฉะนั้น พวกเจ้ายังมีขันธ์ ๕ อยู่ ก็จงอย่าประมาทในธรรม เร่งความเพียร พยายามรักษาพรหมวิหาร ๔ เข้าไว้ ให้มีกำลังเพิ่มขึ้นตามลำดับ ตามคำสอนที่เคยให้พิจารณาควบคู่ไปกับพระกรรมฐานทั้งหลายก็ดี ตามความพิจารณาโดยอาศัยจากการศึกษาศีลในพระไตรปิฎกก็ดี จงทำให้ชินเป็นปกติตั้งแต่ตื่นยันหลับไปเลย อย่าว่างเว้น อย่าให้ขาด เห็นความสำคัญเข้าไว้ตามนี้

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ มีนาคมตอน ๑

    ขอความเจริญในพระธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่าน

    ---------------------------
     
  17. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    เรื่องอารมณ์จิตของคนเรามันไวยิ่งกว่าลิง

    หลวงปู่บุดดา

    ------------------

    เรื่องอารมณ์จิตของคนเรามันไวยิ่งกว่าลิง

    ที่มาของพระธรรมเรื่องนี้มีความสำคัญโดยย่อ ๆ ดังนี้ เพื่อนผู้ปฏิบัติธรรมของผม ๒ ท่าน สมมุติชื่อเธอ จอ กับ มอ ท่านมาร่วมสนทนาธรรมกับผม แล้วผมสังเกตดูความสามารถของเธอทั้งสองต่างกัน มีความดีก็ต่างกัน ตามจริตนิสัยและกรรมที่สะสมกันมาในอดีตชาติ โดยย่อดังนี้

    ๑. จอ มีสมถะภาวนาดี เข้มแข็งแต่วิปัสสนาภาวนาอ่อน มีผลทำให้เมื่อถูกกระทบโดยอายตนะสัมผัสภายนอก (รูป - เสียง - กลิ่น - รส - สัมผัส และธรรมารมณ์) มากระทบกับอายตนะสัมผัสภายใน (ตา - หู - จมูก - ลิ้น - กายและใจ) แล้วมักจะหวั่นไหวไม่มั่นคง จึงทำให้เกิดอารมณ์ ๒ (พอใจกับไม่พอใจ หรือราคะกับปฏิฆะ) ง่าย หรือเป็นอยู่เกือบปกติธรรมดา

    ๒. มอ สมถะภาวนาก็ดี แต่ยังสู้ จอ ไม่ได้ แต่สิ่งสำคัญ คือ วิปัสสนาภาวนา ซึ่งสามารถใช้ตัดกิเลสให้ตายได้ ท่านดีกว่าจอมาก (ตัวสมถะภาวนาไม่สามารถจะฆ่ากิเลสได้ ได้แค่ระงับกิเลสไว้ชั่วคราวเท่านั้น)

    ๓. จากเหตุผลในข้อ ๒ ทำให้ มอ หวั่นไหวต่ออายตนะสัมผัสที่เข้ามากระทบใจเธอมีน้อย เพราะกำลังของวิปัสสนามีมาก เธอจึงจับทุกสิ่งที่กระทบมาพิจารณาเป็นวิปัสสนาได้ เมื่อเธอมีปัญญาบารมีดีกว่า จึงทำให้สัจจะบารมีของเธอเข้มแข็งมาก ตั้งใจจะทำสิ่งใด เธอก็ไม่พลาดในสิ่งที่เธอตั้งใจไว้

    ๔. มอ ใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา หรืออุปสรรคใด ๆ ที่เข้ามากระทบอารมณ์ของเธอ (กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ)

    ๕. มอ ตื่นเช้าขึ้นมาก็ใช้บารมี ๑๐ ให้เกิดประโยชน์แก่เธอ โดยใช้อธิษฐานบารมีว่า จะทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว เป็นต้น

    ๖. มอ ใช้วิปัสสนาญาณ ๙ ข้อที่ ๑ - ๔ อยู่เป็นปกติ คือ ขั้น ๑ มองทุกสิ่งในโลกล้วนไม่เที่ยง เพราะตกอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ ขั้น ๒ มองทุกสิ่งในโลกนี้ที่สุดพังหมดไม่มีอะไรเหลือ ขั้น ๓ มองหาทุกข์จากความไม่เที่ยง ทั้งโลกภายนอกและโลกภายใน คือ ขันธโลก หรือขันธ์ ๕ ที่จิตเธออาศัยอยู่ชั่วคราว ขั้นที่ ๔ พิจารณาถึงภัยอันเกิดจากกฎของกรรม ซึ่งตามมาให้ผลกับร่างกายที่จิตเธออาศัยอยู่ ซึ่งไม่มีใครจะหนีภัยตัวนี้พ้นได้ เพราะกฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย เป็นต้น

    ๗. ทั้ง จอ และ มอ พูดถึงหลวงปู่บุดดา มอ ว่าหลวงปู่ท่านเมตตาให้เห็นจิตของท่านซึ่งใสเป็นแก้ว ข้างในมีลิงตัวเล็ก ๆ สีขาว แต่ใสเป็นแก้วนั่งอยู่ ลิงขยับหน้าตาแบบลิงอยู่ข้าง ใน น่ารักมาก

    เมื่อสนทนากันมาถึงจุดนี้ หลวงปู่บุดดา ท่านก็เมตตามาสอน จอ ว่า

    ๑. ข้าก็ให้มันเห็นว่า อารมณ์จิตของคนเรามันไวยิ่งกว่าลิง ปุถุชนตามจับลิงไม่ทัน บัดเดี๋ยวส่งออกนอกจิตไปโน่นไปนี่ ทั้งวันทั้งปีไม่รู้เรื่อง มันออกไปตีกับชาวบ้าน กับวัตถุสิ่งของ กับสัตว์ต่าง ๆ อยู่เรื่อย ลิงมันไปไว เพราะ ราคะ - โทสะ - โมหะ มันเข้ามาจูงจมูก ทางอายตนะทั้ง ๖ ไปมีเรื่องกับเขาทั้งปี ทั้งชาติ แต่อย่างพระอริยเจ้าเขาอบรมลิง จับลิงมาขังไว้ในจิตได้ตามลำดับ จนในที่สุด ถ้าจิตใสเป็นแก้วอย่างข้านี้ ลิงมันก็เคลื่อนไหวได้ คือมีอารมณ์รับรู้ธรรมภายนอกที่มากระทบ

    ๒. เอ็งอย่าว่าพระอรหันต์ไม่มีอารมณ์ไม่ได้นา รู้แต่รู้อยู่ในจิต ลิงมันรับรู้ แต่ไม่มีกำลังวิ่งออกไปเต้นอยู่นอกจิต มันจะรับรู้อย่างสงบอยู่ในจิต อายตนะ ๖ ยังคงมีวิญญาณสัมผัส รายงานมาให้ทราบตามปกติ รูปสวย-รูปไม่สวย เสียงเพราะ - ไม่เพราะ กลิ่นหอม - ไม่หอม รสอร่อย - ไม่อร่อย กายสัมผัสดี - ไม่ดีรู้หมด ไม่ใช่ไม่รู้ มันรู้ดีเสียด้วยซิ ตาเห็นรูป เห็นตามปกติ เพราะตาท่านไม่บอด หูไม่หนวก จมูกไม่ตัน ลิ้นไม่พิการ ร่างกายก็ปกติ รู้เท่าที่อายตนะสัมผัสยังดีอยู่ รู้ตามกำลังของอายตนะนั้น และรู้ด้วยจิตหมดอุปาทาน หมดไฟราคะ-โทสะ-โมหะปรุงแต่ง ลิงหรืออารมณ์ของจิตมันก็หลอกเราไม่ได้ จึงออกไปอาละวาดไม่ได้ หมดเรื่องพอดี ๆ (จอคิด อยากมีอารมณ์หมดเรื่องพอดีอย่างหลวงปู่บ้าง)

    ๓. ก็เอ็งก้มหน้าก้มตาขังลิงเข้าไว้ซิ อย่าปล่อยให้มันถูกจูงจมูกเพ่นพ่านออกไปข้างนอกจิตให้มากนัก ขยันตามจับมันกลับมาให้บ่อย ๆ อย่าปล่อยให้ลิงมันวิ่งไปตามไฟราคะ - โทสะ - โมหะให้มากนัก ถ้ามันดื้อก็ลงแส้ ลงศอกเข้ากับมันให้บ้าง หนัก ๆ เข้ามันก็จะหมดฤทธิ์ วิ่งช้าลง ๆ ตามลำดับ อย่าขี้เกียจตามลิง สักวันหนึ่ง ถ้าเอ็งไม่ทิ้งความเพียร เอ็งก็จะจับลิงขังไว้ในจิตได้อย่างข้านี่แหละ

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๓๖ ตอน ๑

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    ----------------------
     
  18. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    เรื่องประมาทในความตายเสียอย่างเดียว เท่ากับประมาทในธรรมทุกอย่าง

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    -----------------

    เรื่องประมาทในความตายเสียอย่างเดียว

    เท่ากับประมาทในธรรมทุกอย่าง

    ในคืนวันนั้น สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตามาสอน จอ มีความสำคัญดังนี้

    ๑. เจ้าดูตัวอย่างความเพียรของ มอ ไว้ให้ดี จงหมั่นคำนึงถึงอารมณ์อันเด็ดเดี่ยวของเพื่อนร่วมเส้นทางของพระโยคาวจรของเธอเอาไว้ เพื่อให้เกิดหิริ-โอตตัปปะขึ้นในจิต ละอายในความชั่ว ความขี้เกียจคือความชั่ว การทำจิตให้ไม่มีกำลังคือความชั่ว จึงพึงละความชั่วนี้ให้ออกไปจากจิต มีความละอายที่พระท่านช่วยสงเคราะห์มากมาย

    ๒. เจ้ายังทำอารมณ์ใจได้ไม่เท่าเขา จึงเท่ากับเจ้ายังมีความประมาทในชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เพราะกาลเวลายิ่งล่วงเลยไปมากเท่าไหร่ ความตายก็จักยิ่งใกล้เข้ามาเท่านั้น มัวแต่มีอารมณ์ท้อถอย ทำจิตให้สิ้นความเพียรอยู่เนือง ๆ แล้วเมื่อไหร่จักถึงจุดหมายปลายทางที่มุ่งหวังไว้

    ๓. ประมาทในความตายเสียอย่างเดียว เท่ากับประมาทในธรรมทุกอย่าง นักปฏิบัติที่แท้จริงเขาไม่หวังผลพรุ่งนี้ มะรืนนี้เขาเอามรรคเอาผลกันที่ขณะจิตนี้ กาลเวลาอื่น ๆ สำหรับผู้เอาจริงในธรรมปฏิบัติ เขาไม่มีเวลา มีอยู่เวลาเดียว คือ ขณะจิตนี้

    ๔. หมั่นคิดถึงขณะจิตนี้ หรือธรรมในปัจจุบันนี้ให้มาก ๆ อย่าปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ พิจารณาธรรมด้วยศีล - สมาธิ - ปัญญา ให้รู้เท่าทันความจริงในธรรมสัมผัสนั้น ๆ

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๓๖ ตอน ๑

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    ----------------------
     
  19. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    ฝึกจิตให้ชินอยู่กับทาน ศีล ภาวนา ให้ติดดีมากกว่าติดเลว พระอรหันต์ท่านยังทำบุญ ทำทานด้วยความยินดีกับบุญและทานนั้น

    พระพทธเจ้าองค์ปฐม

    -------------------

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนไว้มีความสำคัญดังนี้

    ๑๕. การทำบุญทำทานแล้วพิจารณาถึงบุญและทานนั้น อันทำเพื่อพระนิพพานโดยไม่หวังผลตอบแทน จัดเป็นจาคานุสสติด้วยและอุปสมานุสสติด้วย อารมณ์อยู่กับกุศล ซึ่งดีกว่าปล่อยจิตคิดถึงแต่ความชั่ว - ความเลว แม้แต่ผู้อื่นเขาทำบุญ ทำทานก็ให้เห็นเป็นธรรมดา เห็นแล้วให้ยินดีด้วย แล้วปล่อยวาง จิตจักได้บริโภคอารมณ์ที่ไม่เป็นพิษ เพราะปกติจิตมักจักไหลลงสู่อารมณ์ที่เป็นกิเลส จิตชินกับความเลวมากกว่าความดี เวลานี้เราจักมาละความเลวกัน ก็จักต้องละกันที่จิต ฝึกจิตให้ชินอยู่กับทาน - ศีล - ภาวนา ให้ติดดีมากกว่าติดเลว

    ให้สอบอารมณ์ของจิตไว้เสมอ อย่าคิดว่าบุญ - ทานไม่ติดแล้ว ฉันไม่เกาะทั้ง ๆ ที่จิตยังติดเลวอยู่อีกมากมาย หากบุญ - ทานทำแล้วไม่เกาะ แม้เห็นผู้อื่นทำแล้ว โง่-หยิ่ง ไม่เกาะ ไม่ยินดีด้วย จิตก็ยิ่งเศร้าหมองปานนั้น ทำบุญทำทานแล้วก็เหมือนไม่มีผล เพราะจิตไม่ยินดีกับบุญกับทานนั้น จึงเท่ากับจิตติดบาปอกุศล นับว่าขาดทุนแท้ ๆ พระอรหันต์ท่านยังทำบุญ ทำทานด้วยความยินดีกับบุญและทานนั้น จิตเป็นสุข คำว่าไม่เกาะของพระอรหันต์ คือ ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ในโลกธรรม ๘ จิตไม่เกาะบุญบาปในที่นี้ เนื่องด้วยผลบุญผลบาปไม่สามารถให้ผลแก่จิตใจของท่านอีก แล้วพวกเจ้าเล่าจิตยังข้องอยู่ในบาปอกุศลอยู่เป็นอันมาก หากพูดว่าไม่ติดในบุญ ในทาน ทั้งที่จิตยังติดบาปกุศลอยู่ การทำบุญ ทำทานแล้วก็เหมือนไม่ได้ทำ จงเอาอย่างพระอรหันต์ ท่านยังไม่ทิ้งจาคานุสสติกรรมฐาน

    อภัยทานอันเป็นทานภายในสูงสุดในธรรมทาน เกิดขึ้นด้วยพรหมวิหาร ๔ เป็นอัปมัญญา พระอรหันต์ไม่ข้องอยู่ในบาปอกุศลของบุคคลรอบข้าง เพราะท่านมีอภัยทานอยู่ในจิตเสมอ แล้วพวกเจ้ามีแล้วหรือยัง เพราะฉะนั้นจงอย่างประมาทในอกุศลกรรม พยายามรักษาจิตให้ผ่องใสไว้ด้วยการระลึกนึกถึง การทำบุญ - ทำทาน - รักษาศีล - เจริญภาวนาด้วยจิตที่ยินดี ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว ดีกว่าปล่อยให้จิตตกเป็นทาสของบาปอกุศล

    ๑๖. พรุ่งนี้ ครบรอบปีวันมรณภาพของท่านฤๅษี (๓๐ ต.ค. ๓๕) พึงถวายสังฆทานให้ท่าน ระลึกนึกถึงในพระคุณอันหาที่สุดมิได้ของท่านฤๅษีที่มีต่อพวกเจ้า พยายามทำจิตให้สงบเยือกเย็นให้ถึงที่สุด ทุกอย่างทำเพื่อพระนิพพานจุดเดียว พิจารณาตามบารมี ๑๐ ควบกับพรหมวิหาร ๔ แจ้วจิตจักเจริญขึ้นได้มาก หากเพียรอย่างต่อเนื่อง พระนิพพานก็อยู่ไม่ไกล

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๐ เดือนตุลาคม ๒๕๔๐

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่าน

    --------------------
     
  20. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    อารมณ์พระอนาคามีผล หลวงพ่อฤๅษี

    --------------------

    อารมณ์พระอนาคามีผล


    เมื่อวันพุธที่ ๒ มิ.ย. ๒๕๓๖ หลวงพ่อฤๅษีท่านเมตตามาโปรดลูกสาวในอดีตชาติของท่าน ๒ เรื่อง คือ เรื่องอารมณ์พระอนาคามีผล กับเรื่องไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้ มีความสำคัญดังนี้

    ขณะที่ลูกสาวในอดีตของท่านกำลังทำกรรมฐานตอนเที่ยง เมื่อจิตสงบดีแล้วก็ยกเอาเวทนาของอารมณ์ขึ้นมาพิจารณาว่า ถ้าหากเราไม่สามารถสงบกาย-วาจา-ใจของเราเองให้ได้ ตามที่พระท่าน-หลวงปู่-หลวงพ่อมาสอนให้แล้ว โทษหรือผลไม่ดีย่อมเกิดกับตัวเราเอง หากเราเกิดคิดไม่ดีครั้งใด ท่านย่อมทราบแน่ เมื่อคิดได้ถึงจุดนี้ จิตก็พลันรวมตัว กาย-วาจา-ใจสงบขึ้นมาเองอย่างประหลาด (มีรายละเอียดของอารมณ์ที่เกิดขึ้นดังนี้) เป็นอารมณ์เบา ๆ สบาย ๆ เฉย ๆ ไม่สุข-ไม่ทุกข์ ไม่มีอารมณ์เบื่อเจือปน สามารถจะพิจารณาไปด้วย รู้ลมไปด้วย แต่ไม่มีการภาวนา อารมณ์เบาอย่างประหลาด หลวงพ่อฤๅษีท่านก็มาสอนว่า นี่เป็นตัวอย่างของอารมณ์พระอนาคามีผล แค่ตัวอย่างเท่านั้นนะ ยังไม่ใช่ของจริง ถ้าจริง ๆ อารมณ์นี้จะทรงตัว ท่านถามว่าสบายไหม ก็ตอบว่า สบายอย่างบอกไม่ถูก

    เมื่อกลับจากกรรมฐานแล้ว อารมณ์นั้นก็ยังทรงได้อยู่จนถึงเย็น แล้วก็มาพังเอาตอนก่อนกรรมฐานเย็น สาเหตุจากคำพูดที่มากระทบหู เข้าสู่จิต จิตหวั่นไหวไปกับสิ่งที่มากระทบทางหูนั้น แล้วเกิดอุปาทานคืออารมณ์ปรุงแต่งขึ้น จิตสร้างอกุศลกรรมต่อไป (หมายความว่า จิตถูกกระทบ จิตหวั่น ไหวไปยึดติดกับคำพูดเหล่านั้นมาเป็นเราเป็นของเรา สักกายทิฏฐิก็เกิดคือ เกิดเป็นอัตตา เป็นตัวตนขึ้นมา ทุกข์ก็เกิดตรงนั้น อุปาทานหรืออารมณ์ ๒ พอใจกับไม่พอใจ หรือราคะกับปฏิฆะก็เกิด เพราะจิตไปยึดกับอดีตธรรม คือ คำพูดของเขาไว้ มาเป็นปัจจุบันธรรม เพราะคำพูดทุกคำที่เข้ามากระทบหูแล้ว ก็เป็นอดีตทันที ในทางที่ถูกเมื่อถูกกระทบหู หูรับรู้ แต่รู้แล้ว รับทราบแล้ว จิตแยกโดยฉับพลันว่ามีสาระหรือไม่มีสาระ แล้วปล่อยวาง โดยไม่ปรุงแต่งต่อ เพราะจิตเห็นว่าเป็นธรรมดา จะเห็นได้ว่ามันง่ายนิดเดียว หากใครทำได้อย่างต่ำก็ต้องเป็นพระอนาคามีผลหรือพระอรหันต์เท่านั้น)

    ส่วนรายละเอียด ผมจะขอผ่านไป เพราะรู้แล้วไม่เกิดประโยชน์ บุคคลส่วนใหญ่อ่านแล้วมีผลทางลบมากกว่าทางบวก อ่านแล้วเดี๋ยวไฟลุกเผาใจตนเอง คือ สอบตกเพราะขาดเมตตาเบียดเบียนจิตตนเอง จุดไฟเผาตนเอง จิตกลับมาโง่ใหม่ เพราะนิวรณ์ข้อ ๑-๒ เกิด ทำปัญญาให้ถอยหลังทุกครั้ง ปิดกั้นมรรคผลนิพพานของตนเอง ทิ้งอริยทรัพย์ ซึ่งเพิ่งสัมผัสได้เมื่อตอนกลางวันเสีย กลับมาเก็บโลกียะทรัพย์แทน ผมขออธิบายไว้สั้น ๆเพียงแค่นี้

    ผมขอวิจารณ์ธรรมจุดนี้ไว้ดังนี้

    ๑. ให้ใช้หลักของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสสอนพระไว้ ๔ ข้อ เป็นตัวพิจารณา ดังนี้

    ก) โลกไม่เที่ยง ทั้งโลกภายนอกและโลกภายใน คือ ร่างกายหรือขันธโลก (ขันธ์ ๕)

    ข) ไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้

    ค) ไม่มีใครเป็นใหญ่ได้ในโลก เพราะมีความตายเป็นที่สุด

    ง) โลกพร่องอยู่เป็นนิจ เพราะตกเป็นทาสของตัณหา (ความทะยานอยาก)

    ๒. วัตถุธาตุใด ๆ ในโลกไม่เที่ยง ทรงตรัสสอนไว้มีความสำคัญที่ต้องจำติดใจเสมอไว้ดังนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึดถือ ว่ามันเป็นเราเป็นของเรา ขอทุกท่านถ้าหากจะเอาดีในการปฏิบัติธรรม เพื่อนำไปสู่ความพ้นทุกข์ จงจำพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์จุดนี้ไว้ตลอดชีวิต

    ๓. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในโลกนี้ เช่น แก้วจักรพรรดิ , พระบรมสารีริกธาตุ , พระธาตุ , พระเครื่องต่าง ๆ เป็นต้น ล้วนยังเป็นวัตถุประจำโลกทั้งสิ้น ไม่มีใครสามารถจะเอาติดตัวไปได้ เมื่อร่างกายหรือขันธ์ ๕ พังไปแล้ว จริงอยู่ หากร่างกายตายไปตอนนั้น จิตที่อาศัยกายอยู่จะไม่ตกนรก แต่ก็เป็นได้เทวดารักษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ไว้เท่านั้น ไม่สามารถจะไปถึงพระนิพพานได้ อ่านแล้วกรุณาใช้ปัญญาพิจารณาด้วย เพราะแดนพระนิพพานนั้น หากจิตเกาะติดอะไรแม้แต่นิดเดียวก็ไปไม่ถึง การที่จิตยังเกาะติดวัตถุ ซึ่งจัดว่าเป็นของหยาบอยู่ แล้วจะไปพระนิพพานได้อย่างไร ยังจัดว่าล้วนเป็นโลกีย์ทรัพย์ทั้งสิ้น

    ๔. สิ่งที่เราควรยึดถือ แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิด มรรค ผล นิพพาน ก็คือพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ ซึ่งไม่ใช่วัตถุและเที่ยงเสมอ จึงยึดถือได้ เป็นสมบัติที่คุณค่าสูงที่สุดในโลกนี้ จัดเป็นอริยทรัพย์ที่ทุกคนจะต้องสนใจ และยึดถือเพื่อนำไปปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์ได้ตามลำดับจนถึงพระนิพพาน ทุกสิ่งจึงอยู่ที่วิริยะหรือความเพียรของตัวเราเอง ใครเพียรมากพักน้อยก็ถึงเร็ว ใครเพียรน้อยพักมากก็ถึงช้า

    เรื่องทรัพย์ภายนอกกับทรัพย์ภายใน

    ก่อนที่สมเด็จองค์ปฐมจะทรงพระเมตตามาสอนเรื่องนี้ให้หลวงพ่อฤๅษีท่านมาสอนว่า เอ็งอย่าไปห่วงสมบัตินอกกายเลย ห่วงสมบัติในกายคือจิตของเอ็งดีกว่า ทรัพย์สมบัตินอกกายมันเคลื่อนไปเป็นปกติ ไม่มีอะไรมันจะจีรังยั่งยืนได้หรอก รักษาสมบัติภายในคืออริยทรัพย์เอาไว้ดีกว่า ทรัพย์นี้ถ้ารักษาได้จนมั่นคงแล้ว มันไม่เคลื่อนไปไหน มีความจีรังยั่งยืนตลอดกาล ตลอดสมัย

    จากนั้น สมเด็กองค์ปฐมทรงตรัสสอนเรื่องทรัพย์ภายนอกกับทรัพย์ภายในต่อ มีความสำคัญดังนี้

    ๑. เพียงเจ้ากระทบเรื่องราวทรัพย์ภายนอกเคลื่อนไป ยังทำความหวั่นไหวให้ทรัพย์ภายในเคลื่อนไปอีกด้วย จดจำอารมณ์สงบระงับกาย-วาจา-ใจ เมื่อตอนกลางวันเอาไว้ให้ดี ๆ พยายามเข้าถึงอารมณ์นี้ไว้ให้มาก ๆ (ก็รู้สึกเสียดายอารมณ์นั้น)

    ๒. อย่ามีจิตเสียดาย เพราะเป็นเพียงอารมณ์ตัวอย่างเท่านั้น ที่ให้เจ้าได้รับทราบอารมณ์แท้จริงของพระอนาคามีผล และให้เห็นตัวอย่างของปฏิปักษ์อารมณ์ที่มาตัดตอนอารมณ์สุขสงบระงับนั้นด้วย กิเลสมันเข้าได้ทางทวารทั้ง ๖ ตัวอย่างเย็นนี้คือเสียงที่กระทบหู จิตไม่รู้เท่าทัน ก็ไหวไปในอารมณ์ปฏิฆะ เป็นตัวลบล้างความดีที่กำลังรักษาอยู่ให้เคลื่อนไป นี่ด้วยเหตุที่ไม่สำรวมอายตนะ

    ๓. หมั่นพิจารณาถึงกฎธรรมดาให้มากๆ เห็นทุกข์ เห็นโทษของอารมณ์กระทบ ค่อย ๆ คิดพิจารณาให้ละเอียด จนกระทั่งจิตยอมรับทุกข์และโทษนั้น จิตจักยอมรับและปล่อยวางอารมณ์กระทบนั้นลงได้ในที่สุด

    ๔. ความสงบระงับจักเกิดขึ้นได้อย่างถาวร อันเกิดจากอายตนะสัมผัสนั้น ๆ

    ๕. พิจารณาให้ดี ๆ ทบทวนธรรมที่กระทบนั้นไป ๆ มา ๆ แยกทุกข์ แยกโทษให้กระจ่าง เป็นการใคร่ครวญในธรรมอันเป็นที่ควรละเสียจากจิต หาสาระธรรมให้พบว่าควรยึดหรือควรละ เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เลือกเอานำมาเก็บเป็นอริยทรัพย์ได้หรือไม่ได้ ควบคุมอารมณ์จิตเอาไว้ให้ดี ๆ ธรรมกระทบยังมีให้พวกเจ้าได้ศึกษาอีกมากมาย

    พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๔

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่าน

    ---------------------------
     

แชร์หน้านี้

Loading...