ช่วยแนะนำผมทีครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย บุตรเดียว, 22 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. บุตรเดียว

    บุตรเดียว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +17
    เวลานั่งสมาธิเปนแบบนี้ครับ
    1 นั่งแบบสบายๆพอสงบลมหายผมจะหลับในสมาธิเลย คิดว่าหลับแน่เพราะสัปหงก
    2 นั่งแบบเคร่งครัดจับลมหายใจชัดเจน พอเลิกนั่งแล้วนอนไม่หลับเลยครับแค่เคลิ้มแล้วก้อตื่นสลับไปมาตลอดคืน
    ผมควรเลือกทางไหนครับ ผมนั่งสมาธิวันละ 3 ครั้ง สาย บ่าย ก่อนนอน ครั้งละ 30 40 นาที ครับ
     
  2. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    1สติอ่อน
    2เป็นขันธวิบาก
    อยู่ที่ความเพียรครับ
     
  3. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +342
    ตั้งสติให้พอดีครับ อ่อนเกิน แข็งเกิน ให้ตั้งกลางๆ
     
  4. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +342
    สมัยฝึกแรกๆ เคยติดในปิติครับ หลังจากออกสมาธิก็นอนไม่ได้จนเช้า

    ฝึกทุกวัน ทำทุกวัน เมื่อชำนาญ ก็จะไม่มีอาการติดแบบนี้อีกครับ แต่จะไปติดอันอื่นแทนอีกครับ
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    นั่งหลับตาเฉยๆ โดยไม่ภาวนา ไม่พิจารณาอะไรเลย ถือว่าเป็นสมาธิ ??


    ถาม : ถ้าเราทำสมาธิแล้วเราไม่กำหนดลมหายใจ ไม่กำหนดภาพ ไม่ภาวนา ไม่พิจารณาอะไรเลย จะถือว่าทำสมาธิหรือเปล่า หรือเรียกว่านั่งหลับตาเฉยๆ ?

    ตอบ : คงจะนั่งหลับตาเฉยๆ ยกเว้นอย่างเดียวว่า มีความเคยชิน สามารถเข้าฌานระดับใดระดับหนึ่งได้คล่องมาก ถ้าอย่างนั้นเราสามารถจะดิ่งไปสู่ระดับนั้นได้เลย

    แต่ถ้าเราไม่มีการกำหนดใดๆ เลย ไม่มีทางที่จะทรงตัวเป็นสมาธิได้ เพราะจิตเราต้องคิดเป็นปกติ ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง

    ถาม : หรือจะย้อนมาปฏิบัติเหมือนเดิม จับลมหายใจเหมือนเดิม ?

    ตอบ : ลมหายใจเป็นพื้นฐานของกรรมฐานทุกกองเลย คุณจะทิ้งลมหายใจไม่ได้

    ถาม : แล้วถ้านั่งสมาธิไม่เคยเห็นแสงสี ไม่เคยเห็นภาพ ?

    ตอบ : ถือว่าโชคดีที่สุดในโลก ไม่อย่างนั้นคุณจะติดอีกเยอะ



    สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๓
     
  6. บุตรเดียว

    บุตรเดียว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +17
    ผมเริ่มนั่งพอสงบนะครับจะถึงอาการตัวโยกเองบางท่านเรียกภวังค์ บางท่านเรียกปิติ พอถึงตรงนี้หากผมผ่อนการเพ่งลมลงแต่ยังตามลมปรกติอาการตัวโยกจะน้อยลงแต่ยังมีนะคับสักพักจะวูบหายเหมือนหลับ บางครั้หลับเลยที่ผมว่าหลับเพราะว่าบางครั้งสัปหงก
    ณ จุดเดียวกันที่ตัวโยกหากผมจับลมแบบเคร่งเพ่งอาการตัวโยกก้อเบาลงการรู้ลมต่อเนื่องดีแต่หากออกจากสมาธิแล้วเวลานอนจะนอนไม่หลับพอเคลิ้มใกล้หลับเหมือนสติจะดึงกับมาเปนยุอย่างนี้วนเวียนจนเช้า เปนแบบนี้แหละครับ อยากขอคำแนะนำครับไปทางไหนดี
     
  7. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ท่านก็นั่งไปเรื่อยๆครับ แล้วก็ฝึกสติเพิ่มไปเรื่อยๆ
    เวลาออกจากสมาธิก็ลองฝึกถอยฌานออกตามลำดับครับ จะได้หลับได้
    ลองหาข้อธรรม มาพิจารณาในระหว่างวันครับ เพื่อต่อไปจิตเป็นสมาธิ แล้วจิตจะถอนออกมาพิจารณาเอง

    ไม่ว่าจะเกิดอะไร ก็ต้องรับรู้ครับ แล้วก็ปฎิบัติต่อ
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถาม : แล้วคำภาวนาจำเป็นมั้ยคะ ?
    ตอบ : จำเป็นเพราะว่าคำภาวนาพร้อมกับลมหายใจเข้าออกสำคัญที่สุด ถ้าไม่มีอานาปานี่กรรมฐานทุกกองได้ประมาณแค่อุปจารสมาธิเท่านั้นล่ะ ทรงฌานไม่ได้

    ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ

    ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่าง
    ดังต่อไปนี้
    ๑. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำ
    ภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพกสิณอยู่ตลอดเวลา
    อย่างนี้เรียกว่าวิตก
    ๒. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
    หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือ หายใจเข้า
    ลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอก
    กระทบจมูกหรือริมฝีปาก
    ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด
    ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร
    ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไปหรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณ
    ที่เราต้องการ หรือภาพหลอนสอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้
    เรียกว่า วิจาร
    ๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
    ๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน
    ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้นไม่คลาดเคลื่อน
    ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียง
    ภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยิน
    แต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญในเสียง
    ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้ว ตามปกติจิตย่อมสนใจ
    ในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับ
    ปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติ ที่ท่านเรียกว่าปฐมสมาบัติ
    ก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน ที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง

    http://www.palungjit.org/smati/k40/smabat.htm#ปฐมฌาน
     
  9. บุตรเดียว

    บุตรเดียว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +17
    ภาวนาครับแต่ ณ ความสงบนึงคำภาวนาจะหายไปผมก้อยังตามรู้ลมต่อไปแต่ถ้าความสงบน้อยลงก้อกลับมาภาวนาต่อสลับไปมาครับ
     
  10. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +164
    ถ้าเราเอาคำภาวนายึดไว้กับลมหายใจ เมื่อใดที่คำภาวนาหายไป ลมหายใจก็ต้องหายไปด้วย คือหายไปพร้อมๆกัน
     
  11. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +342
    ผมว่าท่านบุตรเดียว อาจจะหมายความว่า ยังรู้ว่ามีลมหายใจหรือเปล่าครับ แต่คงไม่ยึดแล้วหละ แต่อารมณ์มันหยาบไปหน่อย เลยยังจับอารมณ์ไม่แน่ชัด เฉยๆ เพราะท่านบุตรเดียว ยังละปิติไม่ได้ อารมณ์เลยยังไม่เต็มฌาน

    ผิดถูกขออภัย
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    แบบนั้นแหละ

    การ นอนแบบ สัตว์(ติดการ)นอน จะน้อยลง

    การประกอบธรรม เครื่องตื่น จะมีตลอด

    สังเกต ดีๆ ตอนที่ รู้สึกายตอนที่นอน(ส่วนใหญ่ จะหมดความจงใจ เจตนาจะภาวนา)
    ซึ่งตอนนั้น จะเห็นกาย และ เห็นจิตมันวิวัฏ(ภาวนาของมันเอง) โดยที่ ส่วนที่
    อุปทานขันธ์(สำคัญว่า kuจะนอนเว้ยเฮ้ย มันจะ ดิ้นรน หาเหลี่ยม หามุม เพื่อการหลับ)

    ซึ่ง ที่จะให้สังเกต คือ มันจะไม่มีส่วนไหน ที่ เป็นเรา ( แม้นตัว kuจะนอน ที่ดิ้นรน
    อยู่ จะถูกกำหนดรู้ แล อยู่ )

    ตรงเนี่ยะ จับขึ้นมา พิจารณาให้ดีๆ ไม่มีเจตนาจะภาวนา ไม่มีเจตนาจะทำสมถะ
    ไม่มีเจตนาจะวิปัสสนา แต่ มันมี บางสิ่ง ยกสิกขา ขึ้นมา เพราะ อบรมไว้ ( ซึ่ง
    จะเห็นได้ แว๊บเดียว พอจงใจจะเห็น ต่อไป กิเลสจะสัยขาหลอก ให้ ชะเง้อ
    ชะแง้ หาผล หาทาง ในการทำ ในการเสพ )

    พอ ยก จิตขึ้น เห็น เหมือน เป็นสิ่งถูกรู้ถูกดู จิตเที่ยง หรือไม่เที่ยง จะเริ่มตอบ
    คำถามได้

    พอเริ่มตอบได้ คราวนี้ สังเกตดีๆ ในขณะที่ ตื่น ยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูด คิด
    มันจะต้อง มี ความไม่จงใจจะภาวนา แต่ ก็มีการ แลอยู่ เกิดอยู่เนืองๆ ไม่ใช่หายไป

    การหายไป ก็จะเกิดจาก การจงใจทำสมถะ จงใจรักษาศีล จงใจแสวงหา มุขนัย
    ทางธรรมบัญญัติ มาตบแต่งการปฏิบัติ .......เนี่ยะ ตรงเนี่ยะ ยกขึ้นเห็น สังโยชน์
    เข้ามาบ้าง การลูบคลำศีลพรต

    นะ

    ภาวนาดีแล้ว ไม่มีอะไรต้องแก้ ไม่ต้องห่วง ภาพลักษณ์ การสับปงก ให้สั่งเกต
    กายไหวโคลง จิตไหวโอน ( ซึ่ง หากชำนาญ จะเห็น ตลอดเวลา ไม่ใช่แค่ตอน
    ปฏิบัติตามรูปแบบ ....)

    ปล. กรณีที่ จิตพยายามจะภาวนา แล้วเกิด น้ำหนัก ซึม ทึบ ก็ให้กำหนดรู้ ห่างๆ
    อย่าไปสำคัญว่า มันจะเลิศ ...จะถูกหลอกให้ จม ตัณหา สาหัส

    ปล.2 บุกเดี่ยว ข้าม "ปิติ" ไปแล้ว ไม่ใช่ไม่ข้าม หาก ไม่ข้าม หากเห็นจิตภาวนา
    จะเกิดการเก่งกระเด้ง ลุกขึ้นมา ทำท่าภาวนา เพราะ ปิติ เพราะ สุข .....
    สิ่งที่ควรกำหนดรู้คือ อุเบกขาที่กำเริบจะมี อนุสัย(ตามนอน) หากจิตผลิก
    ก็จะ นอนหลับไป แทนที่จะ ภาวนาเห็น กายเป็นท่อน เห็นจิตภาวนา(จิตผู้รู้ไม่เที่ยง
    ไม่ใช่เรา ของเรา) อนุสัย อวิชชา(คือ สิ่งที่พยายามดิ้นรน จะโน้น จะนี่ จะ
    ภาวนา จะอยากสำเร็จ ฯลฯ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2018
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถาม : หนูมีปัญหาเกี่ยวกับการจับลมหายใจค่ะ ปกติหนูจะพยายามรู้ลมอยู่ตลอด ทีนี้เวลายกจิตขึ้นไป หรือภาวนาแล้วหลุดออกไป หนูก็คอยแต่จะกลับมาจับลม ยิ่งตอนหลังระแวงยิ่งหล่นลงมาเร็วใหญ่เลยค่ะ

    ตอบ : ถ้าไปแล้วไม่ต้องคิดถึงลมหายใจ การที่เรายกจิตไป เราไปด้วยกำลังที่สูง การนึกถึงลมหายใจเท่ากับเรากลับมาตั้งต้นนับ ๑ ใหม่ ถ้าอารมณ์ใจทรงตัวแล้วไม่ต้องไปสนใจลมหายใจ ประเภทจบปริญญาแล้วกลับมาเริ่มต้น ก.ไก่ทุกทีก็เจริญ..! กลับมา ก.ไก่เมื่อไรก็ร่วงเมื่อนั้น

    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ

    เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔

    ttp://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=2727
     
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สมาธิจะทรงตัวได้ก็ด้วยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก

    --------------------------------------------------------------------------------


    ถาม : ยุบพอง..?

    ตอบ : เป็นได้...แต่สายพองยุบเขาให้ตัดอย่างอื่นหมด ซึ่งเป็นสายกรรมฐานที่อาตมายังไม่เห็นทางความก้าวหน้าเลย เพราะแม้กระทั่งความคิดเขาก็ตัดหมด ในเมื่อเราคิดไม่ได้แล้วเราจะไปพิจารณาธรรมอย่างไร ?

    ถาม : ถ้าเราดูลมหายใจ..?

    ตอบ : สมาธิถึงจะปกติเขาให้ดูลมหายใจ แต่คราวนี้สายพองยุบเขาไม่เอาลมหายใจ การปฏิบัติที่ต้องการมรรคผล ต้องมีสมาธิทรงตัวอย่างน้อยปฐมฌานขึ้นไป ถ้าไม่มีสมาธิทรงตัวระดับนั้นจะตัดกิเลสไม่ได้ แต่การที่จะมีสมาธิทรงตัวได้เราต้องกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกทรงตัว สายพองยุบเขาไม่เอาลมหายใจเข้าออก ชาติหน้าบ่ายๆ คงจะได้สมาธิหรอก..!

    สำหรับนักปฏิบัติระยะแรกเริ่มจะรู้สึกว่าดี เพราะเราต้องบังคับตัวเองให้กำหนดรู้อาการพองยุบอยู่ตลอด แต่ถ้าสมาธิเริ่มสูงขึ้นเราจะกำหนดอาการนั้นไม่ได้ ในเมื่อกำหนดอาการนั้นไม่ได้ เขาก็ให้กำหนดตัวรู้ ถ้าเราไม่ได้ก้าวมาจากการกำหนดลมหายใจเข้าออก สมาธิไม่ทรงตัว ความละเอียดมีไม่พอ จะไปกำหนดรู้รูปนั่งรูปยืนอะไรก็ยาก

    ถาม : ทำไม...(ไม่ชัด)...?

    ตอบ : ตามสายปฏิบัติทั่วๆ ไป พอลมหายใจหมดไป คำภาวนาหมดไป เขาให้กำหนดรู้อาการนั้นไว้เฉยๆ เพราะสมาธิจิตละเอียดเกินการปรุงแต่งไปแล้ว แต่สายพองยุบเขาให้กำหนดว่า "รู้หนอ" การกำหนดอาการ "รู้หนอ" เป็นการลดกำลังใจลงมา ก็ต้องมารบกับกิเลสอื่นๆ ต่อไป เท่าที่อาตมาปฏิบัติมา สายนี้ไปยากที่สุด เพราะขาดสมาธิมาช่วย

    ถาม : อะไรเข้ามาก่อนก็รับรู้หรือคะ ?

    ตอบ : ไม่ใช่...ตอนนั้นอะไรก็เข้าไม่ได้ สภาพจิตละเอียดเกินการปรุงแต่งไปแล้ว ในเมื่อเกินการปรุงแต่งไปแล้ว ลมหายใจที่ยังปรุงแต่งอยู่ คำภาวนาที่ยังปรุงแต่งอยู่ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะจิตเลยไปแล้ว เราแค่รับรู้อาการไว้เฉยๆ ถ้าสภาพอย่างนั้นสติจะมั่นคงอยู่เฉพาะหน้า จะรู้ได้ตลอด เพราะสมาธิหนุนอยู่ แต่คราวนี้สายพองยุบไปรู้หนอโดยที่ไม่มีสมาธิหนุนอยู่ เพราะเป็นการลดสมาธิลงมาปรุงแต่ง อารมณ์นั้นจึงอยู่ได้ไม่นาน

    ต้องทำให้ถึง ถ้าทำถึงแล้วจะรู้ ทำไม่ถึงพูดไปก็เท่านั้นแหละ


    สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
    ณ บ้านวิริยบารมี เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕


    ที่มา : เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๕ - หน้า 3 - กระดานสนทนาวัดท่าขนุน

    http://palungjit.org/threads/สมาธิจะทรงตัวได้ก็ด้วยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก.416499/
     
  15. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +164
    คุณชั่งเถอะช่วยวิจารณ์อันนี้ได้ไหมครับ คือสงสัยตรงที่เขาอธิบาย ฌาน 2 นะครับ... ผิดถูกประการใด วิจารณ์หน่อย

    เอาตามความเข้าใจส่วนตัวนะครับ

    http://palungjit.org/threads/วิธีฝึกฌานที่1ถึง4ครับ.242634/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2018
  16. บุตรเดียว

    บุตรเดียว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +17
    จริงอย่างพี่นิวรณ์กล่าวคือหากสังเกตุละเอียดขณะใช้ชีวิตปกรติหากผมนั่งนิ่งๆ กายผมยังคงโยกเองโดยไม่ตั้งใจ เน้น ไม่ตั้งใจไปโยกนะคับเปนเอง
     
  17. บุตรเดียว

    บุตรเดียว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +17
    จะตอบพี่พินิจยังไงไห้ตรงกับอาการนะประมานนี้คับ ช่วงทีคำภาวนาหายนั้นผมไมรู้ชัดเจนรอกคับว่านั่งไปประมานไหน บางครั้งเรวบางครั้งช้าแต่พอผมรู้ว่าคำภาวนาหายผมก้อเหนลมหายใจทีนี้พอเหนลมหายใจแล้วผมก้อไม่ได้กับไปไส่ใจกับคำภาวนาอีก คงไว้แต่การจับลม ไม่ไช่จับลมสิ ใช้คำว่ามองลมเพราะไม่ได้ตามจับแบบจริงจัง คืออธิบายไงถ้าจะไม่สนใจลมอีกก้อไม่ได้เพราะช่วงนี้มันมีแต่ลมจะมองหรือไม่ก้อมีลม ถ้าไม่มองก้อมีแผ่วๆ ถ้ามองก้อจะชัดเจนแต่ลมไม่หายไปไหน ประมานนี้คับ
     
  18. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +164
    แล้วคุณมีสังเกตุบ้างไหมว่า ตอนที่คุณรู้ตัวว่าไม่มีคำภาวนานั้น ก่อนหน้านั้นมีการปรุงแต่งของจิตหรือไม่... จิตมันไวมาก บางครั้งมันแฉลบออกไปแค่เสี้ยววินาที ทำให้ลืมคำภาวนาไปชั่วขณะได้.. ลองสังเกตุดูว่ามีการแฉลบออกไปไหม
     
  19. บุตรเดียว

    บุตรเดียว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +17
    จะตอบพี่พินิจยังไงไห้ตรงกับอาการนะประมานนี้คับ ช่วงทีคำภาวนาหายนั้นผมไมรู้ชัดเจนรอกคับว่านั่งไปประมานไหน บางครั้งเรวบางครั้งช้าแต่พอผมรู้ว่าคำภาวนาหายผมก้อเหนลมหายใจทีนี้พอเหนลมหายใจแล้วผมก้อไม่ได้กับไปไส่ใจกับคำภาวนาอีก คงไว้แต่การจับลม ไม่ไช่จับลมสิ ใช้คำว่ามองลมเพราะไม่ได้ตามจับแบบจริงจัง คืออธิบายไงถ้าจะไม่สนใจลมอีกก้อไม่ได้เพราะช่วงนี้มันมีแต่ลมจะมองหรือไม่ก้อมีลม ถ้าไม่มองก้อมีแผ่วๆ ถ้ามองก้อจะชัดเจนแต่ลมไม่หายไปไหน ประมานนี้คับ
     
  20. บุตรเดียว

    บุตรเดียว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +17
    สังเกตคับแต่บอกไม่ถูก คือเหมือนเราหลับแต่ไม่รู้ว่าหลับตอนไหนมารู้อีกทีภาวนาก้อหายไปแล้วพอเรารู้ว่าภาวนาหายเราก้อเหนลมขึ้นมาด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...