จริต ๖ และ กรรมฐานคู่จริต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย gatsby_ut, 23 กรกฎาคม 2010.

  1. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    กรรมฐานกองแรกที่ท่านต้องใด้ก่อนคือ อานาปานานุสสติ

    [​IMG]<O:p

    จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี ๖ ประการคือ

    ๑ ราคจริต<O:p

    จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ กรรมฐานที่เหมาะกับจริต นี้คือ
    กายคตานุสสติ พิจารณา หาความสกปกของร่างกาย
    อสุภ ๑๐ ได้แก่
    อุทธุมาตกอสุภ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายบวมขึ้น พองไปด้วยลม ขึ้นอืด
    วินีลกอสุภ วีนีลกะ แปลว่า สีเขียว
    เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว คละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่มีเนื้อมาก มีสีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก มีสีเขียวในที่มีผ้าคลุมไว้ ฉะนั้นตามร่างกายของผู้ตาย จึงมีสีเขียวมาก
    วิปุพพกอสุภ เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
    วิฉิททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลางกาย
    วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกยื้อแย่งกัดกิน
    วิกขิตตกอสุภ เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย มีมือ แขน ขา ศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง
    หตวิกขิตตกอสุภ คือ ซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
    โลหิตกอสุภ คือ ซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็นปกติ
    ปุฬุวกอสุภ คือ ซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
    อัฏฐิกอสุภ คือ ซากศพที่มีแต่กระดูก กายคตานุสสติ คือ พิจารณาร่างกาย<O:p

    ๒ โทสจริต<O:p

    มีอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส จะเป็นคนที่แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว <O:p
    กรรมฐานที่เหมาะกับจริตนี้คือ
    นีลกสิน เพ่งสีเขียว
    ปีตกสิน เพ่งสีเหลือง
    โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
    โอฑาตกสิณ เพ่งสีขาว
    เมตตา คุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน ให้มีความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกามารมณ์ เมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นทุกข์
    กรุณา ความสงสารปรานี มีประสงค์จะสงเคราะห์แก่ทั้งคนและสัตว์
    มุทิตา มีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่มีจิตริษยาเจือปน
    อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย

    ๓ โมหจริต<O:p

    มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าจ่ายออก มีค่าหรือไม่มีค่าก็เก็บหมด นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล เรียกว่า เป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้ กรรมฐานที่เหมาะกับจริตนี้คือ
    อานาปานานุสสติ
    <O:p

    ๔ วิตกจริต<O:p

    มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น แก่เกินวัย หาความสุขสบายใจ กรรมฐานที่เหมาะกับจริตนี้คือ
    อานาปานานุสสติ<O:p

    ๕ สัทธาจริต<O:p

    มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา กรรมฐานที่เหมาะกับจริตนี้คือ
    ๑. พุทธานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
    ๒. ธัมมานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
    ๓. สังฆานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
    ๔. สีลานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
    ๕. จาคานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงผลของการบริจาคเป็นอารมณ์
    ๖. เทวตานุสสติเป็นกรรมฐาน ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์<O:p



    ๖ พุทธจริต<O:p

    เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี กรรมฐานที่เหมาะกับจริตนี้คือ
    มรณานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    อุปสมานุสสติกรรมฐาน ระลึกความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์
    อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพ่งอาหารให้เห็นเป็นของน่าเกลียด บริโภคเพื่อบำรุงร่างกาย ไม่บริโภคเพื่อสนองกิเลส
    จตุธาตุววัฏฐาน ๔ พิจารณาร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    <O:p
    กรรมฐานกลางที่เหมาะกับทุกๆจริต มี ๑๐ กอง คือ

    ปฐวีกสิน เพ่งธาตุดิน
    อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ
    เตโชกสิณ เพ่งไฟ
    วาโยกสิน เพ่งลม
    อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง <O:p
    อากาศกสิณ เพ่งอากาศ
    อากาสานัญจายตนะ ถือ อากาศเป็นอารมณ์ จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตย่อใหญ่เล็กได้ ทรงจิตรักษาอากาศไว้ กำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
    วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมด ต้องการจิตเท่านั้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
    อากิญจัญญายตนะ กำหนดความไม่มีอะไรเลย อากาศไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ามีอะไรสักหน่อยหนึ่งก็เป็นเหตุของภยันตราย ไม่ยึดถืออะไรจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์
    เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งที่มีสัญญาอยู่ก็ทำเหมือนไม่มี ไม่รับอารมณ์ใด ๆ จะหนาว ร้อนก็รู้แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย ปล่อยตามเรื่อง เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

    อารมณ์ที่กล่าวมา ๖ ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง ๖ อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้น เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน
     
  2. ราคุเรียวซาย

    ราคุเรียวซาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    2,940
    ค่าพลัง:
    +8,515
    อารมณ์ที่กล่าวมา ๖ ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง ๖ อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้น เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน<!-- google_ad_section_end -->

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    [​IMG]
    ...อานาปานุสสติกรรมฐาน...
    เป็นกรรมฐานที่มีคุณมาก
     
  4. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    อนุโมทนาสาธุค่ะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ คือการวางเฉยต่อทุกสิ่ง ไม่จู้จี้จุกจิก ไม่เศร้าเมื่อเสียของรัก ไม่บ่นร้อนบ่นหนาว ถ้าหนาวก็หยิบเสื้อหนาวมาใส่เท่านั้นไม่บ่น ใช่แบบนี้มั้ยค่ะท่านพี่
     
  5. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ไม่ใช่ นะ ท่านน้อง เนวสัญญานาสัญญายตนะ คือมีความจำ แต่ทำเหมือนไม่มี ความจำ นะ ครูบาอาจารย์ ท่านกล่าวว่า กรรมฐาน กองนี้ ต้องมีกสิน เป็นพื้นฐาน เป็นแนวทาง ของ สมาบัติ ๘ และหากผู้ทำได้ เป็นพระอนาคามี ขึ้นไป ก็จะได้ ปฏิสัมภิทาญาน ด้วยนะ

    อารมณ์ ที่ท่านน้อง กล่าวถึง เรียกว่า สังขารุเปกขาญาน นะ

    อยู่ที่ ความเพียรของตัวเราเอง นะ เวลาทำ อย่าให้เกิดความอยาก ได้แค่ใหน เอาแค่นั้น วางอารมณ์ แบบสบาย ๆ อย่าฝืน ลมหายใจ เข้า ออก หรือ เกร็งร่างกาย ลองดูนะ


    ถ้าเราปล่อยวางได้ จะอยู่วัด หรืออยู่บ้าน ผลก็เหมือนกัน นะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กรกฎาคม 2010
  6. pinya

    pinya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +842
    อนุโมทนาสาธุคะลุ....ช่วงนี้ไม่ได้ฝึกเลยอะความขี้เกียจเกาะกินอะ..อิอิ
     
  7. นิพ_พาน

    นิพ_พาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,984
    ค่าพลัง:
    +7,810
    อนุโมทนาค่ะท่านพี่
    พอกลับมาจากวัด ก็รู้สึก
    ว่าจิตใจสงบขึ้นมากค่ะ
    หรือว่า จะต้องไปอยู่วัดถึง
    จะมีดวงตาเห็นธรรมคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...