อยากทราบว่าถวายทองคำแด่พระจะไปสวรรค์หรือนรกวครับ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย pummuq, 26 เมษายน 2012.

  1. pummuq

    pummuq เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    375
    ค่าพลัง:
    +352
    ถามเพราะสงสัยจริงๆครับ ไม่ได้กวนนะครับ
    คือแม่ผมก็สงสัยว่าถวายทองคำแด่พระนี่จะได้บุญไปสวรรค์หรือจะไปนรกกันแน่
    เอาเงินไปบริจาค ถวานโน่นถวายนี่ตามตู้ต่างๆ ตามขันต่างๆ ตามงานต่างๆ
    มันบาปหรือบุญประการใด
    เมื่อตรวจสอบจากพระไตรปิฎกแล้วมีแต่ว่าบาปทั้งนั้น
    ใครพอจะเคยได้ถามคำถามนี้แด่พระกรรมฐานบ้างไหมครับ
    ท่านตอบคำถามนี้ว่าอย่างไรบ้าง
    ช่วยแบ่งปันข้อมูลกันหน่อย
    ขอบพระคุณ
     
  2. ป่ากุง

    ป่ากุง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +784
    มาอีกแล้ว ศิษย์ เกษม น้ำหนาว 555555
     
  3. Jt Odyssey

    Jt Odyssey เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,687
    ค่าพลัง:
    +12,591
    เป็นพระก็ต้องกินต้องใช้เหมือนกันนะ ต้องซื้อหาของเหมือนกันนะ ไหนจะโน๊ตบุ๊คอีกละ ทางที่ดีให้ถวายทั้งบัตรเครดิตและเงินสด ท่านจะได้รูดซื้อของสะดวก ส่วนทองคำถ้าจะถวายพระเพื่อตัวบุคคลผมแนะนำให้ถวายทองคำแท่งดีกว่านะ เผื่อเวลาท่านสึกออกมาท่านขายคืนในราคาที่ดีกว่าทองรูปพรรณ

    ผมเคยเห็นหลายรูปนะ เป็นพระเพื่อหวังสร้างฐานะเนี้ย บางรูปได้เป็นมหาเปรียญ ก็ยังมี

    ผมคิดว่าเพราะท่านเหล่านี้ไม่ได้ศึกษาวิชาทางโลก ครั้นจะสึกออกมาทำมาหากิน ก็ไม่รู้จะทำอะไร ทางที่ดีต้องสะสมเงินทองไว้ให้มากๆหน่อย จะได้เป็นทุนค้าขายตอนสึกมา หรือเอาไปแต่งเมียก็ยังได้ :cool:

    ส่วนพระที่ท่านไม่รับเงินทองเลย หรือไม่รับเงินทองเพื่อตัวเองน่ะ ก็ปล่อยท่านไป ท่านมีปณิธานของท่าน ของแบบนี้มันมีไม่เหมือนกันแต่ละคนน่ะ เด่วพอเปลี่ยนภพภูมิ ก็รู้ผลเองแหละ ว่าใครหมู่หรือจ่า
     
  4. pummuq

    pummuq เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    375
    ค่าพลัง:
    +352
    อ้าวไม่ใช่ศิตย์พระพุทธเจ้าเหรอ
     
  5. pummuq

    pummuq เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    375
    ค่าพลัง:
    +352
    ประเด็นมันอยู่ที่ว่าพระที่ไม่รับเงินน่ะดีอยู่แล้ว
    ส่วนคนทั้งประเทศนี้ไม่มีใครไม่เคยถวายเงินว่ามาตั้งแต่คนชั้นสูงยั้นคนเข้ญใจ
    แล้วจะลงนรกทั้งระเทศหรือขึ้นสวรรค์
    เอาคนที่รู้สิมาพูด
    กูกับมึงจะฉลาดเกินกันเท่าไรวะเชี่ย
     
  6. pummuq

    pummuq เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    375
    ค่าพลัง:
    +352
    ขอบคุณท่าน Jt Odyssey ที่แสดงความเห็น
    รับฟังครับ
     
  7. coool

    coool เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    475
    ค่าพลัง:
    +455
    ถามเองตอบเองเสร็จสรรพ 555 สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมจริงๆ
     
  8. justpon

    justpon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +467
    ตอบตามความคิด

    ถามว่าคุณอยากจะไปสวรรค์หรือนรกล่ะครับ

    ที่ถามนี่ไปได้ทั้งสองแบบเลย เพราะ
    1 ถ้าคุณมีจิตถวายเพื่อที่จะให้พระใส่แบบเครื่องประดับ นั่นคือ มิจฉาทิฐิ ไป อบายภูมิ

    2 ถ้าพระสงฆ์ องค์ที่คุณร่วมถวาย เอาทองคำไป บูชาพระบรมสารีริกธาตุ หล่อพระพุทธรูป ช่วยชาติ (หลวงตามหาบัว) คุณก็ได้อานิสงฆ์ผลบุญมหาศาล เพราะถือว่าทองคำเป็นสิ่งของที่มีค่าหากผู้ใดสละได้ถือว่าลดโลภะได้มาก ได้อานิสงฆ์ทั้ง พุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ จาคานุสติ แล้วอานิสงฆ์แบบนี้จะลงนรกได้หรือ???

    ปล. ถ้าคุณไม่ได้ทำอนันตริยกรรมทั้ง 5 ก็ไม่น่าหนักใจนักยกเว้นจิตเศร้าหมองก่อนตายก็ตัวใครตัวมัน

    ส่วนเรื่องเงินบริจาคตามตู้นี่ก็ไม่เห็นว่าอะไรเป็นบาป ขนาดเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินยังบริจาคเงิน แล้วคุณยังจะสงสัยอะไรอีก ถ้ารับเงินไม่ได้จริงพระอริยเจ้าทั้งหลายต้องเตือนท่านก่อนแล้ว ผมคิดว่าถ้าบริจาคเงินไม่ได้เวลาสร้างโบสถ์คงวุ่นวายน่าดู เช่น คุณ ก ซื้อเหล็กเส้น 10 เส้นมาถวาย คุณ ข ซื้อ เหล็กเส้น ( อีกแบบ) มาถวาย อีกคนก็ซื้ออีกแบบมา แล้วแบบนี้จะสร้างได้หรือไม่ สมัยนี้บางสิ่งบางอย่างต้องปรับเปลี่ยนได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ถ้าคุณต้องการความสบายใจ เวลาถวายก็นึกให้เป็น วิหารทาน สังฆทาน ธรรมทาน ก็หมดเรื่อง ...
     
  9. pummuq

    pummuq เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    375
    ค่าพลัง:
    +352
    ขอบพระคุณท่าน justpon
    ผมก็คิดเหมือนคุณ
    แต่ในพระไตรปิฎกมีพุทธพจน์หลายคำที่อ่านแล้วต้องหยุดคิดครับ
    นี่แหละที่ผมสงสัย
    ว่าครูบาอาจารย์สายพระป่ากล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างไร




    ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์
    ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น
    แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า
    ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่า เธอรับรูปิยะจริงหรือ?

    ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.


    ทรงติเตียน

    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า
    ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร
    ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ,
    ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า?

    การกระทำของเธอนั่น
    ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
    หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว.
    โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น
    เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
    และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.


    ทรงบัญญัติสิกขาบท

    พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร
    โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก
    ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก
    ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน

    ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย
    ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
    อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสมการปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
    ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย
    แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
    เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย
    อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
    เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
    เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
    เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
    เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ๑
    เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
    เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
    เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
    เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
    เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
    เพื่อถือตามพระวินัย ๑.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-


    พระบัญญัติ
    ๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้,
    เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

     
  10. justpon

    justpon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +467
    ผ่านมา




    ขอถามคุณ pummuq ตามที่คุณกล่าวอ้างตามพระไตรปิฎกมีข้อไหนหรือไม่ที่ท่านกล่าวติเตียนผู้ที่ทำบุญ มีพุทธวัจนะไหนหรือไม่กล่าวถึงบาปกรรมของผู้ซึ่งถวายทานแบบที่กล่าวแล้ว สิ่งที่พระพุทธเจ้าต้องการแนะนั้นคือไม่ให้พระเหล่านั้นยึดติดกับเงิน ทอง ของมีค่า เพราะมันคือความโลภ แต่นั้นไม่เกี่ยวกับพระอริยเจ้า เพราะท่านไม่ยึดติดกับกิเลส ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง แล้ว นั่นคือไม่มีความผิด พระพุทธเจ้าถือว่าเป็นโมฆะ ใครจะให้เงินท่านเท่าไหร่ ท่านก็เฉย จริยาภายนอกไม่รู้แต่ภายในท่ายเฉยเพราะเห็นว่าเป็นกระดาษเป็นธาตุดิน คุณอาจจะคิดว่า อ้าวแล้วจะหาพระอริยเจ้าได้ที่ไหน ถ้าคุณตาไม่ปิด ท่านมีอยู่แทบทุกจังหวัด หาเอาเอง ส่วนพระสงฆ์ธรรมดาเค้าเรียก สมมติสงฆ์นะครับ พระสงฆ์ตามแบบพระพุทธเจ้าต้องเป็นพระโสดาบันขึ้นไป ผมถึงถามคุณตั้งแต่ครั้งแรกว่า คุณจะขึ้นสวรรค์หรือลงนรก ก็ตามแต่เจตนาของผู้ให้ทาน

    ปูชาจะ ปูชะนียานัง บูชาคนที่ควรบูชา
     
  11. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    บอกแม่คุณนะครับว่า การที่คนเราตายไปแล้วจะไปสวรรค์หรือนรก ขึ้นอยู่กับจิตสุดท้ายก่อนตายครับ

    หากจิตสุดท้ายก่อนตายนึกถึงกุศลก็ได้ไปสวรรค์
    หากจิตสุดท้ายก่อนตายนึกถึงอกุศลก็ได้ไปอบายภูมิ

    ความจริงคุณน่าจะถามว่าถวายทองคำแด่พระสงฆ์จะได้บุญหรือเปล่า

    การให้ทานคนดีก็เป็นบุญ ให้ทานคนไม่ดีก็เป็นบุญ
    ได้ผลบุญมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ให้

    เช่น โดนแม่บังคับให้ใส่บาตร โดนบังคับให้ไปทำบุญกับแม่
    ต่อให้ทำบุญกับพระผู้ปฏิบัติดีก็ได้ผลบุญน้อยอยู่ดี
    เพราะใจไม่ได้คิดที่จะสละความโลภภายในใจ
    ไม่ได้คิดที่จะช่วยเหลือผู้มีศีล

    ผลของบุญว่ามากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับเจตนาที่บริสุทธิ์
    มากกว่าตัวสิ่งของที่จะให้หรือตัวผู้รับ
     
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ไม่มีพระพุทธพจน์ บาลี บทใดเลย ที่พระพุทธเจ้า จะตรัสสั่งถ้า คนที่ ถวาย ทอง เงิน แล้วคนผู้นั้นที่ถวายเงิน ทองจะตกนรก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2012
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระพุทธเจ้า ไม่เคย ตรัส สั่งสอน ว่า คน ถวายเงิน ทอง ให้พระ หรือ สงฆ์แล้ว แล้วคนผู้นั้น ที่ถวายเงิน ทอง จะได้ บาป คนถวายเงินทอง ตายไปตกนรก


    ไม่มี คำสั่งสอน เรื่อง คน ถวายเงิน ทอง แล้ว ตายไปตกนรก

    ไม่มี พุทธพจน์ พระพุทธเจ้า ตรัสว่า คน ถวายเงิน ทอง แล้วคนถวาย ได้บาป ไปตกนรก


    ดังนั้น ถ้าใคร พูด หรือ บอกต่อ ว่า ถวายเงิน ทอง ให้พระ ให้ สงฆ์ คนถวายผู้นั้น จะได้ บาป แล้วตก นรก นั้น คนผู้นั้น ปรามาส พระพุทธเจ้า




    .

    ใครที่ หลอกอ้างคำสอนของ พระพุทธเจ้า
    ว่า คนที่ ถวายเงิน ทองให้พระ ให้ สงฆ์ แล้วตกนรก นั้น
    คนผู้นั้น กล่าวตู่ พระพุทธเจ้า ปรามาสพระพุทธเจ้า
     
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <TABLE border=1 borderColor=#ff0000 width="55%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffcccc height=25 borderColor=#ff0000>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]๔.๒ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]การปฏิบัติหน้าที่ชาวพุทธตามพุทธปณิธาน 4 ในมหาปรินิพพานสูตร[/FONT]









    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ดังที่ทราบแล้วว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพานนั้น มารได้มากราบทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยประการต่าง ๆ แต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบแก่มารว่า หากภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นพุทธสาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว แต่ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้ พระองค์จะไม่ปรินิพพานฉะนั้น พุทธปณิธาน 4 ของพระพุทธเจ้า จึงหมายถึงพุทธบริษัท 4 ได้แก่ [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif](1) ภิกษุ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif](2) ภิกษุณี [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif](3) อุบาสก [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif](4) อุบาสิกา [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]จำต้องศึกษาปฏิบัติ กระทำตามหน้าที่ของตน ๆ เพื่อให้เป็นผู้เฉียบแหลม แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้ เป็นต้น [/FONT]









    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]<CENTER>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif][​IMG][/FONT][/FONT] </CENTER>
    หน้าที่ของพุทธบริษัท 4

    พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของคนสืบศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพุทธบริษัท 4 ดังนี้

    1. หน้าที่ของ ภิกษุ (รวมถึงภิกษุณีด้วย) ภิกษุ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษาปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาย แต่ในที่นี้จะแสดงไว้เฉพาะหน้าที่ที่สัมพันธ์กับ
    คฤหัสถ์ และข้อเตือนใจในทางความประพฤติปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

    ก. อนุเคราะห์ชาวบ้าน ภิกษุ (รวมภิกษุณี) อนุเคราะห์คฤหัสถ์ตามหลักปฏิบัติในฐานะที่ตนเป็นเสมือน ทิศเบื้องบน ดังนี้
    1. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว
    2. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
    3. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
    4. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง
    5. ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
    6. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ

    ข. หมั่นพิจารณาตนเองคือ พิจารณาเตือนใจตนเองอยู่เสมอตามหลักปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ (ธรรมที่
    บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ) 10 ประการ ดังนี้
    1. เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์ สลัดแล้วซึ่งฐานะ ควรเป็นอยู่ง่าย จะจู้จี้ถือตัวเอาแต่ใจตนไม่ได้ความเป็นอยู่ของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ต้องอาศัยเขาเลี้ยงชีพ ควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย และบริโภคปัจจัย 4 โดยพิจารณา ไม่บริโภคด้วยตัณหา
    2. เรามีอากัปกิริยาที่พึงทำต่างจากคฤหัสถ์ อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ และยังจะต้องปรับปรุงตนให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้
    3. ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
    4. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชน พิจารณาแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
    5. เราจักต้องถึงความพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น
    6. เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น
    7. วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
    8. เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
    9. คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถาม ในกาลภายหลัง

    2. หน้าที่ของ อุบาสก อุบาสิกา พุทธศาสนิกชน มีหลักปฏิบัติที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตนกับพระพุทธศาสนา ดังนี้
    ก. เกื้อกูลพระ โดยปฏิบัติต่อพระภิกษุ เสมือนเป็น ทิศเบื้องบน ดังนี้
    [​IMG]
    1. จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
    2. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
    3. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
    4. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
    5. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4

    ข. กระทำบุญ คือ ทำความดีด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 3 อย่าง คือ
    1. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ปันทรัพย์สิ่งของ
    2. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีปฏิบัติชอบ
    3. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือ ฝึกอบรมจิตใจให้เจริญด้วยสมาธิ และปัญญาและควรเจาะจงทำบุญบางอย่างที่เป็นส่วนรายละเอียดเพิ่มขึ้นอีก 7 ข้อ รวมเป็น 10 อย่าง
    4. อปจายนมัย ทำบุญด้วยการประพฤติสุภาพอ่อนน้อม
    5. ไวยาวัจมัย ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ ให้บริการ บำเพ็ญประโยชน์
    6. ปัตติทานมัย ทำบุญด้วยการให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการทำความดี
    7. ปัตตานุโมทนามัย ทำบุญด้วยการพลอยยินดีในการทำความดีของผู้อื่น
    8. ธัมมัสสวนมัย ทำบุญด้วยการฟังธรรม ศึกษาหาความรู้ที่ปราศจากโทษ
    9. ธัมมเทสนามัย ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์
    10. ทิฏฐุชุกรรม ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้อง รู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงให้เป็นสัมมาทิฏฐิ

    ค. คุ้นพระศาสนา ถ้าจะปฏิบัติให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น ถึงขั้นเป็นอุบาสก อุบาสิกา คือ ผู้ใกล้ชนิดพระศาสนาอย่างแท้จริง ควรตั้งตนอยู่ในธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก เรียนกว่า อุบาสกธรรม 7 ประการ คือ
    1 ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ
    2 ไม่ละเลยการฟังธรรม
    3 ศึกษาในอธิศีล คือ ฝึกอบรมตนให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติรักษาศีลขั้นสูงขึ้นไป
    4 พรั่งพร้อมด้วยความเลื่อมใส ในพระภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็น เถระ นวกะ และปูนกลาง
    5 ฟังธรรมโดยมิใช่จะตั้งใจคอยจ้องจับผิดหาช่องที่จะติเตียน
    6 ไม่แสวงหาทักขิไณยภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา
    7 กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นที่ต้น คือ เอาใจใส่ทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระพุทธศาสนา

    ง. เป็นอุบาสกอุบาสิกาชั้นนำ อุบาสก อุบาสิกาที่ดี มีคุณสมบัติ เรียกว่า อุบาสกธรรม 5 ประการ คือ
    1. มีศรัทธา เชื่อมีเหตุผล มั่นในคุณพระรัตนตรัย
    2. มีศีล อย่างน้อยดำรงตนได้ในศีล 5
    3. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล มุ่งหวังจากการกระทำ มิใช่จากโชคลาง หรือสิ่งที่ตื่นกันไปว่าขลังศักดิ์สิทธิ์
    4. ไม่แสวงหาทักขิไณยนอกหลักคำสอนนี้
    5. เอาใจใส่ทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระศาสนา

    จ. หมั่นสำรวจความก้าวหน้า กล่าวคือ โดยสรุป ให้ถือธรรมที่เรียกว่า อารยวัฒิ 5 ประการ เป็นหลักวัดความเจริญในพระศาสนา
    1. ศรัทธา เชื่อถูกหลักพระศาสนา ไม่งมงายไขว้เขว
    2. ศีล ประพฤติและเลี้ยงชีพสุจริต เป็นแบบอย่างได้
    3. สุตะ รู้เข้าใจหลักพระศาสนาพอแก่การปฏิบัติและแนะนำผู้อื่น
    4. จาคะ เผื่อแผ่เสียสละ พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ซึ่งพึงช่วย
    5. ปัญญา รู้เท่าทันโลกและชีวิต ทำจิตใจให้เป็นอิสระได้

    Untitled Document



    ********************************************************************************************************************************************************************************************************************

    ใครที่ นับถือ ศาสนาพุทธ คำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า

    หน้าที่ ของ พุทธบริษัท 4



    4. ไม่แสวงหาทักขิไณยนอกหลักคำสอนนี้
    5. เอาใจใส่ทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระศาสนา













    อุบาสกธรรม 5

    อุบาสกธรรม หมายถึง ธรรมของอุบาสกลอุบาสิกา ที่ดี คุณสมบัติหรือองค์คุณของอุบาสก,อุบาสิกา อย่างเยี่ยม คือ การเป็นอุบาสก,อุบาสิกา จะต้องปฏิบัติธรรม 5 ประการจัดว่าเป็นอุบาสก,อุบาสิกา ที่ดี ประกอบด้วย

    1. มีศรัทธา มีความเชื่อตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา มีความมั่นคงต่อพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งอันสูงสุด ที่พึ่งอื่นไม่มี และประพฤติปฏิบัติตนตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เท่านั้น

    2. มีศีล คือ การปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีตามหลักพระพุทธศาสนา เช่น การปฏิบัติตามหลักศีล 5 เป็นต้น

    3. ไม่ถือมงคล ตื่นข่าว เชื่อกฏแห่งกรรม ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว คือ ต้องมุ่งหวังผลจากการกระทำและการงานที่ทำที่เป็นไปตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิใช่หวังผลจาก หมอดู โชคลางและตื่นข่าวเชื่อถือต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของขลังทั้งหลาย ไม่นับถือการทรงเจ้าเข้าผี ไม่นับถือเทพเจ้าว่าเป็นที่พึ่งอันสูงสุด เป็นต้น

    4. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอก หลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา ให้หมั่นสร้างบุญในพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ในหมั่นสั่งสมบุญในเนื้อนาบุญในพระพุทธศาสนาเป็นหลักเท่านั้น

    5. กระทำความสนับสนุนในพระพุทธศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา เช่น ตักบาตรทุกเช้า ไปวัดทำบุญ ฟังธรรม ปฏิบัติธรรมทุกวันพระ หรือวัดหยุด สนับสนุนการสร้างวัด ซ่อมแซมบำรุงวัด การพิมพ์หนังสือธรรมแจกเป็นธรรมทาน เป็นต้น




    Google



    ใครที่ นับถือ ศาสนาพุทธ

    ควรเชื่อ หลักคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า
     
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พุทธพจน์ พระพุทธเจ้า

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
    มหาวรรค ภาค ๒
    เรื่องเมณฑกะคหบดี

    ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทอง ไว้ในมือกัปปิยการก สั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วย กัปปิยภัณฑ์นี้.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิยภัณฑ์นั้นได้ แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไรๆ เลย.

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=2169&Z=2363
     
  16. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    หลักคำสอน ของพระพุทธเจ้า

    อาทิยสูตรที่ ๑

    ว่าด้วยหลัการใช้จ่ายทรัพย์ให้เป็นประโยชย์ ๕ อย่าง





    <CENTER>มุณฑราชวรรคที่ ๕



    </CENTER><CENTER>๑. อาทิยสูตร
    </CENTER>​
    [๔๑] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
    ที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้
    ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่
    โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
    ย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลัง
    แขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ
    บริหารตนให้เป็นสุขสำราญ เลี้ยงมารดาบิดาให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้
    เป็นสุขสำราญ เลี้ยงบุตร ภรรยา ทาสกรรมกร คนใช้ ให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ
    บริหารให้เป็นสุขสำราญ นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๑ ฯ
    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความ
    หมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา
    โดยธรรม เลี้ยงมิตรสหายให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ นี้
    เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๒ ฯ
    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความ
    หมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา
    โดยธรรม ป้องกันอันตรายที่เกิดแต่ไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือทายาทผู้ไม่เป็น
    ที่รัก ทำตนให้สวัสดี นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๓ ฯ
    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความ
    หมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา
    โดยธรรม ทำพลี ๕ อย่าง คือ
    ๑. ญาติพลี [บำรุงญาติ]
    ๒. อติถิพลี [ต้อนรับแขก]
    ๓. ปุพพเปตพลี [บำรุงญาติผู้ตายไปแล้วคือทำบุญอุทิศกุศลให้]
    ๔. ราชพลี [บำรุงราชการ คือบริจาคทรัพย์ช่วยชาติ]
    ๕. เทวตาพลี [บำรุงเทวดา คือทำบุญอุทิศให้เทวดา]
    นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๔ ฯ
    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความ
    หมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา
    โดยธรรม บำเพ็ญทักษิณา มีผลสูงเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยัง
    อารมณ์เลิศให้เป็นไปด้วยดีในสมณพราหมณ์ ผู้เว้นจากความมัวเมาประมาท ตั้ง
    อยู่ในขันติและโสรัจจะ ผู้มั่นคง ฝึกฝนตนให้สงบระงับดับกิเลสโดยส่วนเดียว
    นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๕ ฯ
    ดูกรคฤหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล ถ้า
    เมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์หมดสิ้นไป
    อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์นั้นแล้ว
    และโภคทรัพย์ของเราก็หมดสิ้นไป ด้วยเหตุนี้ อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความ
    เดือดร้อน ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้
    โภคทรัพย์เจริญขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราถือเอาประโยชน์
    แต่โภคทรัพย์นี้แล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็เจริญขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มี
    ความเดือดร้อน อริยสาวกย่อมไม่มีความเดือดร้อนด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการ
    ฉะนี้แล ฯ
    นรชนเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า เราได้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงตน
    แล้ว ได้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงคนที่ควรเลี้ยงแล้ว ได้ผ่านพ้น
    ภัยที่เกิดขึ้นแล้ว ได้ให้ทักษิณาอันมีผลสูงเลิศแล้ว ได้ทำ
    พลี ๕ ประการแล้ว และได้บำรุงท่านผู้มีศีล สำรวมอินทรีย์
    ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือน พึงปรารถนา
    โภคทรัพย์ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น เราก็ได้บรรลุ
    แล้ว เราได้ทำสิ่งที่ไม่ต้องเดือดร้อนแล้ว ดังนี้ชื่อว่าเป็นผู้
    ดำรงอยู่ในธรรมของพระอริยะ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
    เขาในโลกนี้ เมื่อเขาละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงใจใน
    สวรรค์ ฯ


    ****************************************************************************************​

    เรื่องการใช้ทรัพย์ ไว้ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาทิยสูตรที่ ๑
    (ข้อ ๔) ๕ ประการ คือ

    ๑. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม บำรุงเลี้ยงตนเอง บิดา มารดา บุตร ภรรยาและบ่าว
    ไพร่ให้มีความสุข ไม่อดยาก

    ๒. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม เลี้ยงดูมิตรสหายให้อิ่มหนำสำราญ

    ๓. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม ป้องกันอันตรายอันเกิดจากไฟ จากน้ำ พระราชา โจร
    หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก เพื่อให้ตนปลอดภัยจากอันตรายนั้นๆ

    ๔. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยชอบธรรม ทำพลี คือบูชา หรือบำรุงในที่ ๕ สถาน คือ ญาติพลี บำรุง
    ญาติ อติถิพลี ต้อนรับแขก ปุพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ราชพลี บำรุงราชการมีการเสียภาษี
    อากรเป็นต้น และเทวตาพลี ทำบุญแล้วอุทิศให้แก่เทวดา เพราะว่าเทวดาย่อมคุ้มครองรักษาผู้นั้นด้วยคิดว่า
    "คนเหล่านี้แม้ไม่ได้เป็นญาติของเราเขาก็ยังมีน้ำใจให้ส่วนบุญแก่เรา เราควรอนุเคราะห์เขาตามสมควร"

    ๕. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยชอบธรรม บำเพ็ญทักษิณาทานที่มีผลเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบาก
    เป็นสุข ไว้ในสมณะพราหมณ์ผู้เว้นจากความประมาท มัวเมา ตั้งอยู่ในขันติโสรัจจะเป็นผู้หมั่นฝึกฝนตนให้
    สงบระงับจากกิเลส ในข้อ ๕ นี้ตรัสสอนให้ใช้ทรัพย์ที่หามาได้ให้ทานแก่ผู้มีศีล ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ
    ปฏิบัติเพื่อความหมดจดจากกิเลส ผู้เป็นทักขิเณยยบุคคล เพราะทานที่ให้แก่ผู้มีศีลมีผลมาก ทำให้เกิดใน
    สวรรค์ ได้รับความสุขอันเป็นทิพย์ นอกจากนั้นผู้ถวายยังอาจบรรลุคุณวิเศษ เพราะธรรมที่ท่านผู้ประพฤติ
    ดีปฏิบัติชอบเหล่านั้นยกมาแสดงให้ฟังได้อีกด้วย ผู้มีปัญญาย่อมไม่เสียดายทรัพย์ที่หมดเปลืองไปเพราะเหตุ
    เหล่านี้ เพราะว่าท่านได้ใช้ทรัพย์นั้นถูกทางแล้วเกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นแล้ว โดยเฉพาะทรัพย์คือบุญที่
    ท่านถวายไว้ในผู้มีศีลเหล่านั้น ยังสามารถติดตามตนไปในโลกหน้าได้อีกด้วย​


     
  17. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อานิสงส์สร้างกุฎีวิหาร

    ......ในกาลครั้งนั้น สมเด็จพระบรมศาสดา เสด็จประทับอยู่ ณ ลัฏฐิวันสวนตาลหนุ่ม พระองค์เที่ยวโปรดเวไนยสัตว์ให้ได้มรรค ๔ ผล ๔
    ในครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสาร ได้ครองราชสมบัติที่กรุงราชคฤห์ ก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า แล้วก่อสร้างกุฎีวิหารในพระราชอุทยานเวฬุวัน สวนป่าไม้ไผ่ ให้เป็นวัดแรกในพุทธศาสนา ถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พร้อมกับถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน องค์สมเด็จพระบรมศาสดา พร้อมกับภิกษุสงฆ์เสร็จภัตตากิจแล้ว
    พระเจ้าพิมพิสารทูลถามว่า

    "ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญสาธุชนทั้งหลายมีใจศรัทธา ปสันนาการ เลื่อมใส มาก่อสร้างกุฎีวิหารถวายเป็นสังฆทานนั้น จะได้ผลานิสงส์เป็นประการใด ขอให้พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้ข้าพุทธเจ้า พร้อมบริษัททั้งหลายให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า"

    องค์สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่า

    "ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภาร บุคคลผู้ใดมีจิตศรัทธาเลื่อมใสพระรัตนตรัยแล้วก่อสร้างกุฎีวิหาร ศาลาคูหาน้อยใหญ่ ถวายเป็นทาน จะประกอบด้วยผลอานิสงส์มาก เป็นอเนกประการนับได้ถึง ๔๐ กัลป์"

    ***********************************************************************************************************************************
    อนิสงค์

    การให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉาน 100 ครั้ง มีอานิสงส์ไม่เท่ากับให้ทานแก่คนที่ไม่มีศีลเลย 1 ครั้ง
    - การให้ทานแก่คนที่ไม่มีศีล 100 ครั้ง ก็ยังมีอานิสงส์ไม่เท่ากับให้ทานแก่ท่านที่มีศีลบริบูรณ์ 1 ครั้ง
    - การให้ทานแก่ท่านที่มีศีลบริบูรณ์ 100 ครั้ง ก็มีอานิสงส์ไม่เท่ากับท่านที่ปฏิบัติตนเพื่อโสดาปัตติมรรค 1 ครั้ง
    - การถวายทานหรือให้ทานแก่ท่านที่ปฏิบัติเพื่อพระโสดาปัตติมรรค 100 ครั้ง ก็ยังมีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่พระโสดาปัตติมรรค 1 ครั้ง
    - การถวายทานแก่พระโสดาปัตติมรรค 100 ครั้ง ก็ยังมีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่พระโสดาปัตติผล 1 ครั้ง
    - ถวายทานแก่พระโสดาปัตติผล 100 ครั้ง ก็ยังมีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่พระสกิทาคามีมรรค 1 ครั้ง
    - ถวายทานแก่พระสกิทาคามีมรรค 100 ครั้ง ก็มีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่พระสกิทาคามีผล 1 ครั้ง
    - ถวายทานแก่พระสกิทาคามีผล 100 ครั้ง ก็มีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่พระอนาคามีมรรค 1 ครั้ง
    - ถวายทานแก่พระอนาคามีมรรค 100 ครั้ง ก็มีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่พระอนาคามีผล 1 ครั้ง
    - ถวายทานแก่พระอนาคามีผล 100 ครั้ง ก็ยังมีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่พระอรหัตมรรค 1 ครั้ง
    - ถวายทานกับพระอรหันต์ 100 ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระพุทธเจ้า 1 ครั้ง
    - ถวายทานกับพระพุทธเจ้า 100 ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทาน 1 ครั้ง
    - ถวายสังฆทาน 100 ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายวิหารทาน 1 ครั้ง



    ถวาย เงิน ทอง สร้างวิหารทาน 1 มีผลมากกว่าถวายสังฆทาน 100 ครั้ง
     
  18. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ]

    ใครที่ หลอกอ้างคำสอนของ พระพุทธเจ้า
    ว่า คนที่ ถวายเงิน ทองให้พระ ให้ สงฆ์ แล้วตกนรก นั้น
    คนผู้นั้น กล่าวตู่ พระพุทธเจ้า ปรามาสพระพุทธเจ้า<!-- google_ad_section_end -->





    ความหายนะของการปรามาส

    ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลที่เป็นพระโสดาบันแล้ว ถ้าปรากฏว่า มีผู้อื่นผู้ใดประมาทพลาดพลั้ง หรือคะนองปาก กล่าวตำหนิติเตียน หรือนินทาว่าร้าย ด่าบริภาษ
    แม้จะเป็นพระอริยะบุคคลที่เป็นคฤหัสถ์

    ท่านกล่าวว่า ห้ามมรรค ผล นิพพาน แม้บุคคลผู้นั้นจะพากเพียรปฏิบัติธรรม อย่างไรก็มิอาจสามารถ บรรลุมรรคผลได้
    การติเตียน ด่าบริภาษพระอริยเจ้า จึงมีโทษมาก

    เกิดความหายนะอย่างร้ายแรงที่สุด10อย่างคือ

    1.บุคคลผู้นั้นจะยังไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
    2.เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ฌาณ สมาธิ จะเสื่อมทันที

    3.สัทธรรมของบุคคลผู้นั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว
    4.เป็นผู้หลงคิดว่าตนเป็นผู้บรรลุสัทธรรม

    5.ไม่ยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์
    6.ถ้าเป็นภิกษุต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างนึง

    7.ย่อมถูกโรคเบียดเบียนอย่างหนัก
    8.ถึงความเป็นบ้ามีจิตฟุ้งซ่าน

    9.หลงตามกาละ คือตายอย่างขาดสติ
    10.เมื่อตายย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

    กรรมที่บริภาษ ด่าทอ พระอริยบุคคลนี้ เป็นกรรมตัดรอน มรรคผล นิพพาน
    มิใช่กรรมเก่า แต่เป็นกรรมที่สร้างขึ้นใหม่ และมีผลรุนแรงมาก มีอำนาจตัดรอนกรรมดีอื่นๆในทันใด


    อ้างอิงจากหนังสือ "พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช สุกไก่เถื่อน"

    ความหายนะของการปรามาสพระรัตนตรัย



    ด้วยความเมตตา หวังดีกับ จขกท
    <!-- / message -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2012
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    [วิธีปฏิบัติในเรื่องเงินและทองที่มีผู้ถวายแก่เจดีย์,
    ถวายแก่วิหาร, ถวายเพื่อนวกรรม ให้รับไว้ ห้ามปฏิเสธ จะปฏิเสธไม่สมควร ]




    พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 864

    ถ้าใคร ๆ นำเอาทองและเงินมากล่าวว่า

    ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายเงิน และทองนี้แก่เจดีย์,
    ถวายแก่วิหาร, ถวายเพื่อนวกรรม ( การก่อสร้าง ) ดังนี้ จะปฏิเสธไม่สมควร.




    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2012
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระพุทธเจ้า อนุญาต

    ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทอง



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
    มหาวรรค ภาค ๒

    เมณฑกานุญาต

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
    ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับไป หลังจากนั้นพระองค์ทรงทำธรรมีกถา
    ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโครส ๕ คือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยข้น เนยใส.
    มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย หนทางกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียงจะเดินทางไป
    ทำไม่ได้ง่าย เราอนุญาตให้แสวงหาเสบียงได้ คือ ภิกษุต้องการข้าวสาร พึงแสวงหาข้าวสาร
    ต้องการถั่วเขียว พึงแสวงหาถั่วเขียว ต้องการถั่วราชมาส พึงแสวงหาถั่วราชมาส ต้องการเกลือ
    พึงแสวงหาเกลือ ต้องการน้ำอ้อย พึงแสวงหาน้ำอ้อย ต้องการน้ำมัน พึงแสวงหาน้ำมัน
    ต้องการเนยใส ก็พึงแสวงหาเนยใส.

    มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการก
    สั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิยภัณฑ์นั้นได้ แต่เรา
    มิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไรๆ เลย.






    ที่มา :
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...