เชิญเช่าบูชาเหรียญสองมหาเทพ หลวงปู่คำบุอธิษฐานจิต

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย ธรรมรังสี, 21 กันยายน 2013.

  1. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    แจ้งข่าวบุญ 


    วัดมะกอกสีมาราม ต.รอบเมือง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี   25000


    ขอเชิญเช่าบูชา เหรียญสองมหาเทพฯ ประทานพรประทานทรัพย์ (พระพิฆเนศ-ท้าวเวสสุวรรณ) อธิษฐานจิตโดยพระเดชพระคุณหลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู (วัดวิหารเจดีย์ศรีชมพู)



    วัตถุประสงค์ : เพื่อจัดสร้างวิหารศิลปะเชียงแสนล้านนา และซื้อที่ดินเพิ่มอีก 5 ไร่ เพื่อทำเป็นเขตปฏิบัติธุดงควัตร (สวนป่ากรรมฐาน) ณ วัดมะกอกสีมาราม


    จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างบารมี เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนยาวนานสืบไป


    ขอเจริญพร


    สอบถามได้ที่ :  พระอาจารย์ พ.ธรรมรังสี  087-4117018
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2013
  2. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    น้ำเริ่มท่วมวัด (22 ก.ย. 56)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    โดยมีรายการดังต่อไปนี้


    1. เหรียญสองมหาเทพฯ (พระพิฆเนศ-ท้าวเวสสุวรรณ)   *ตอกโค๊ต  ตัวนะ (อักขระขอม)


    1.1 เนื้อเงินแท้ สร้าง 20 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,999 บาท

    1.2 เนื้อชุบสามกษัตริย์ สร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 499 บาท

    1.3 เนื้อทองแดงรมดำ สร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 99 บาท

    1.4 เนื้อตะกั่ว สร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 199 บาท

    1.5 เนื้อนวะฯ สร้าง 14 เหรียญ บูชาเหรียญละ 999 บาท


    2. พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน (พิมพ์พระรอด) ผสมชานหมากหลวงปู่คำบุ แร่เหล็กน้ำพี้ ผงมหาจักรพรรดิหลวงปู่ดู่ และมวลสารศักดิ์สิทธิ์มากมาย (ปลุกเสก 3 พิธี) สร้าง 1,000 องค์  บูชาองค์ละ 199 บาท


    3. ลูกอมเนื้อว่าน ผสมชานหมากหลวงปู่คำบุ แร่เหล็กน้ำพี้ ผงมหาจักรพรรดิหลวงปู่ดู่ และมวลสารศักดิ์สิทธิ์มากมาย (ปลุกเสก 3 พิธี) สร้าง 1,000 ลูก บูชาลูกละ 99 บาท




    ติดต่อสอบถามได้ที่ : พระอาจารย์ พ.ธรรมรังสี   087-4117018



    ธนาคารกสิกรไทย สาขาปราจีนบุรี  ชื่อบัญชี : พระคเณศ์พล ปัญญาพโล  หมายเลขบัญชี : 185-2-61941-0  (PHRA KANEDPOL  PANYAPHALO)


    ธนาณัติสั่งจ่าย : ปณ.ปราจีนบุรี 25000  พระคเณศ์พล  ปัญญาพโล



    ขออนุโมทนาสาธุการกับญาติโยมสาธุชนทุกท่าน


    ขอความสุขสวัสดีความเจริญรุ่งเรืองความสมหวังในทุกประการ จงบังเกิดมีแก่ทุกท่านตลอดไปเทอญฯ ขอเจริญพร. 
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2013
  4. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    พลังปราณ ออร่า และ จักระ

    นอกเหนือจากการทำงานโดยอาศัยสมองเป็นตัวควบคุม และมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองเป็นช่วงๆ ในแต่ละวันแล้ว การศึกษาวิจัยทางด้านปรจิตวิทยา (การศึกษาในเรื่องของพลังจิต) พบว่า มนุษย์และสิ่งมีชีวิต จะมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปรากฏเป็นแสงสีรอบๆ ตัวเรียกว่า ออร่า (AURA) พลังงานนี้จะมีความสัมพันธ์กับภาวะทางกายภาพ จิตใจอารมณ์ หรือจิตวิญญาณของมนุษย์แต่ละคน ออร่าจะเป็นภาพรวมของผลเหล่านี้ และจะมีพลังงานเป็นแรงสั่นสะเทือนหรือเป็นแสงสีต่างๆ ในส่วนที่ติดกับร่างกายของมนุษย์ เรียกว่า กายทิพย์ (Astral body) กายทิพย์ประกอบด้วยพลังงานของจิต ซึ่งกายหยาบ (Physical body) ทำหน้าที่คงสภาพและยึดโยงกายทิพย์เอาไว้ 

    กายทิพย์ประกอบด้วยโครงสร้างซึ่งทำหน้าที่ดูดซับพลังงานที่มีความถี่สูงหลากหลายมากมาย รวมทั้งพลังชีวิต ที่เรียกว่า พลังปราณ รวมถึง พลังบุญ พลังบาป ฯลฯ   ด้วย  กายทิพย์จะทำหน้าที่กลั่นกรอง แยกแยะ และ ส่งผ่าน รวมถึงถ่ายทอดพลังงานต่างๆ

    พลังงานเหล่านี้เข้าสู่กายหยาบ พลังชีวิตที่เรียกว่า พลังปราณ มีพื้นฐานความรู้จากโยคะศาสตร์ของอินเดีย และจีนเรียกพลังงานนี้ว่า พลังชี่ (chi)  ในศาสตร์ต่างๆ ของอินเดียยังเชื่อมโยงพลังออร่าและจักระ (auras and charkas) 

    จักระ จะมีสัญลักษณ์เป็นสีตามรูปแบบของแสงออร่าจักระเป็นศูนย์รวมพลังงานของร่างกายมนุษย์ ศูนย์เหล่านี้จะยอมให้พลังงานผ่านเข้าออกมีกลไกที่ควบคุมการไหลเวียนของพลังงาน

    จักระ มีด้วยกันทั้งหมด 7 จักระ ได้แก่

    1. basal หรือ root chakra ตั้งอยู่บริเวณส่วยปลายของกระดูกไขสันหลัง ที่เรียกกันว่า ก้นกบ จักระนี้จะเกี่ยวข้องกับสัญชาติญาณพื้นฐาน และการทำงานของร่างกายที่เป็นรูปธรรม สีประจำจักระนี้ คือ สีแดง หรือ สีชมพูเข้ม

    2. sacral chakra ซึ่งอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าสะดือเล็กน้อยเป็นศูนย์รวมพลังงานเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารตอนล่าง การมีเพศสัมพันธ์ การเจริญพันธุ์ อารมณ์พื้นฐาน ความคิดสร้างสรรค์ สีประจำจักระคือ สีแสด

    3. solar plexus อยู่ตรงบริเวณตำแหน่งลิ้นปี่ เกี่ยวข้องกับเชาว์ปัญญา การทำงานของระบบกระเพาะอาหาร และระบบทางเดินอาหารส่วนบน สีประจำจักระคือ สีเหลือง   จักระที่ 2-3 จะถูกกระทบกระเทือนได้ง่ายจากพลังงานที่เป็นลบ เช่น ความวิตกกังวลและความกลัวซึ่งทำให้สามารถอธิบายการเชื่อมโยงระหว่างจิตใจกับอารมณ์ได้และกำลังทางร่างกายมีจุดกำเนิดจากจักระทั้งสองนี้

    4. heart chakra ตั้งอยู่บริเวณหัวใจและควบคุมการทำงานของหัวใจต่อมไทมัส  ปอด และระบบการไหลเวียนของเลือด มีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ เช่นความรัก ความเห็นอกเห็นใจและความประทับใจ สีประจำจักระคือ สีเขียว 

    จักระนี้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงระหว่างร่างกายและวิญญาณ และเป็นจุดที่พลังงานทั้งหมดของร่างกายและจิตไหลผ่าน การส่งพลังจากจิตลงมาด้านล่างของร่างกายอาจถูกขัดขวาง ทำให้จักระ 1, 2 และ 3 ไม่ถูกกระตุ้น

    5. throat charkra ตั้งอยู่บริเวณคอหอยมีอิทธิพลต่อการทำงาน อวัยวะในช่องทรวงอกด้านบน ลำคอ และปอด รวมทั้งต่อมไทรอยด์ เกี่ยวกับการแสดงออก ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารในรูปแบบ สีประจำจักระนี้คือ สีน้ำเงิน

    6. brow chakra ตั้งอยู่บริเวณหัวคิ้วซึ่งมักจะถูกเรียกว่าตาที่สาม เกี่ยวข้องกับสติ เชาว์ปัญญา และการรับรู้ความรู้สึก สีประจำจักระคือ สีครามหรือสีน้ำเงินเข้ม

    7. crown chakra ตั้งอยู่บริเวณกระหม่อมศีรษะ ทำหน้าเชื่อมโยงกับจิตใจระดับสูง และสัมผัสกับจิตวิญญาณ สีประจำจักระคือ สีม่วง

    ความหมายของสี “ออร่า” ที่สำคัญ
     
    แดง
    • ชอบกิจกรรมที่ทรงพลัง ชอบอำนาจ อารมณ์รุนแรง
    • พลังแห่งความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง 
    • ความเป็นผู้นำ ความสำเร็จ ความสนุกสนาน
    • ถ้าแดงคล้ำ แสดงว่ากำลังเครียด ภาวะเจ็บป่วย 
     
    คราม/น้ำเงิน
    • ความรู้ทางจิต (อย่างไม่มีข้อจำกัด) สมถะ  ปล่อยวาง 
    • ความเมตตา รักความสงบ สมาธิ ความเยือกเย็น 
    • แรงบันดาลใจ ความกลมกลืน การสื่อสาร ยินดีกับตนเอง
     
    ม่วง 
    • เวทย์มนต์ ญาณทัศนะ มีสัมผัสพิเศษ 
    • พลังแห่งจินตนาการ (ติดต่อกับจิตใต้สำนึกได้ดี)
    • ภาวะจิตประณีต เข้าสมาธิได้ดี (ถ้าสีม่วงเจือด้วยสีดำ แสดงถึงความไม่แน่นอน)
     
    เหลือง
    • ภาวะปัญญาดี มีความสามารถ เฉลียวฉลาด ซื่อสัตย์
    • มีความอบอุ่น (แสงแดด) มองโลกในแง่ดี สนุกและโชคดี 
    • เผชิญอนาคตด้วยความร่าเริง สีใสมากหมายถึงความบริสุทธิ์
     
    ส้ม/แสด
    • การสร้างสรรค์ ผู้ริเริ่ม การเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระ 
    • นักแสวงโชค ชอบความเสี่ยง เชื่อมั่นตนเอง เป็นผู้นำได้ดี 
    • ชอบการท้าทาย (ต่อชีวิต) ขยัน มีความรับผิดชอบ
     
    เขียว 
    • การบำบัด การฟื้นฟูความสมดุล การเปลี่ยนสภาวะการเป็นตัวของตัวเอง 
    • การอุทิศตน (เสียสละ) กฎระเบียบ มีวินัย ความมั่นใจในตนเอง 
    • ถ้าเขียวคล้ำ แสดงว่ากำลังมีปัญหาสุขภาพ
     
    ขาว
    • จิตใจที่ดีงาม เต็มไปด้วยพลังบริสุทธิ์ 
    • พลังในการบำบัดรักษา ภาวะสมดุล
    • สภาวะของจิตที่สะอาด
    • เป็นสีที่มีพลังมากที่สุด ผู้รู้แจ้ง ญาณ (ธรรมญาณ) 
    • ถ้าขาวขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว หมายถึงภาวะผิดหวัง เป็นทุกข์ กังวล

    ดำ
    • กิเลสตัณหา ด้านมืดของจิตใจ ผลบาป ความลึกลับซ่อนเร้น อำนาจที่ชั่วร้าย เคราะห์กรรม
     
  5. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    ยันต์ "เฑาะว์"

    สามารถเขียนได้หลายแบบ ทั้ง เฑาะว์ขัดสมาธิ เฑาะว์มหาพรหม เฑาะว์มหาอุด เฑาะว์มหานิยม เฑาะว์คงกระพัน เฑาะว์มหาฤาษี เฑาะว์พุทธคุณ ฯลฯ  ถือเป็นยันต์ชั้นสูง เป็นยันต์ครู มีเทพและสิ่งศักด์สิทธิ์รักษา เป็นอักขระยันต์ที่ครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนนิยมใช้มากที่สุด เป็นอักขระศักดิ์สิทธิ์สูงสุดในโลกธาตุ เป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มีอานุภาพสูงสุดครอบจักรวาล อธิษฐานได้ตามใจปรารถนา


    โอม

    เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพราหมณ์ เขียนเป็นตัวอักษรเทวนาครี มาจากคำว่า อะ (พระศิวะ) อุ (พระวิษณุหรือพระนารายณ์) มะ (พระพรหมธาดา) รวมกันเป็น มหาเทพตรีมูรติ  ใช้สวดสรรเสริญและขอพรพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ได้ทุกพระองค์  เช่น  โอม คเณศายะ นมัช , โอม นมัช ศิวายะ  ฯลฯ  

    เสียงโอมนี้เกิดจากศูนย์ลมบริเวณศรีษะ สัมพันธ์กับจักระในร่างกาย ในศาสนาพราหมณ์ใช้เสียงโอมเพื่อดึงจิตให้เกิดสมาธิ เปิดจักระและประสานจิตให้เป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาลและองค์มหาเทพทั้งหลาย

    หรือแม้แต่ในศาสนาพุทธมหายานก็ยังมีคาถาบูชาองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมว่า  โอม มณี ปัทเม หูม. ซึ่งถือเป็นคาถาหัวใจของการเข้าถึงองค์พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์แห่งดินแดนสุขาวดีพุทธเกษตรอีกด้วย รวมถึงคาถาบูชาพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ของชาวทิเบตว่า โอม กษิติครรภ์ โพธิสัตตวายะ. 

    และเสียงโอมนี้ยังเป็นเสียงประจำองค์ของพระไวโรจนพุทธเจ้า ผู้เป็นประธานแห่งพระธยานิพุทธทั้ง 5 หมายถึง ปัญญาอันสูงสุดและความว่าง 


    เรียบเรียงโดย : พระอาจารย์ พ.ธรรมรังสี
     
  6. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    ความหมายของสวัสดิกะ

    สวัสดิกะเวียนขวา หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง  ความเป็นสิริมงคล ความสวัสดี ความมีโชคดี พลวัตรแห่งจักรวาล   

    ชาวทิเบตเชื่อว่า สวัสดิกะเวียนขวา มีพลังอำนาจในการปราบมาร และเป็นเครื่องหมายแห่งพลัง สามารถยับยั้งสิ่งเลวร้ายได้

    หากเป็นสวัสดิกะแบบเวียนขวาที่มีจุด 4 จุด จะเป็นเครื่องหมายประจำองค์แห่งพระคเณศ (พระพิฆเนศวร)  เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ  โอรสแห่งพระศิวะมหาเทพและพระแม่อุมามหาเทวี  ซึ่งจุดทั้ง 4 นี้ หมายถึง ความสมดุลของธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ในจักรวาล หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตามแรงเหวี่ยงของจักรวาล โดยมีสวัสดิกะแบบเวียนขวาเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล

    สวัสดิกะเวียนซ้าย หมายถึง การทวนกระแสแห่งจักรวาลและสังสารวัฏ  การประทานพรจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ และเป็นเครื่องหมายแห่งโลกุตตรธรรมของพระพุทธศาสนาแบบมหายาน (อาจริยวาท) เช่นเดียวกับ เครื่องหมายอุณาโลม และ ธรรมจักร ของพระพุทธศาสนาแบบหินยาน (เถรวาท)

    ทั้งนี้และทั้งนั้น แท้จริงแล้ว สวัสดิกะ ก็คือ สัญลักษณ์รูปกงจักร อันเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์มงคล 108 ประการของพระพุทธเจ้า นั่นเอง รวมทั้งยังหมายถึง จักรแก้ว อาวุธวิเศษคู่บุญบารมีแห่งองค์พระเจ้ามหาจักรพรรดิ และ องค์มหาเทพทั้งหลาย อันเป็นเทพศาสตราวุธชั้นสูงสุด มีอานุภาพสูงสุดในบรรดาเทพอาวุธทั้งปวง

    สวัสดิกะ  จัดเป็นเครื่องหมายอันเก่าแก่โบราณที่สุดของโลก เป็นต้นกำเนิดของสัญลักษณ์ทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็น ศาสนาพราหมณ์ หรือ ศาสนาพุทธ  ก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นเครื่องหมายอื่นๆ ตามมา เช่น เครื่องหมายโอมในศาสนาพราหมณ์  เครื่องหมายธรรมจักรในศาสนาพุทธ (ซึ่งเอาล้อเกวียนมาเป็นแบบอย่าง หมายถึง การขับเคลื่อนทางพระพุทธศาสนา โดยมี มรรคมีองค์ 8 เป็นพลังแห่งการขับเคลื่อน และมีความว่างหรือสุญญตาเป็นศูนย์กลาง)  ส่วน เครื่องหมายอุณาโลม นั้น จะหมายถึง โลกุตตรธรรมทั้ง 9 ประการ  อันได้แก่ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1  และ สวัสดิกะ ยังเป็นต้นกำเนิดของอักขระเลขยันต์ในทางไสยศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไตรเพทในศาสนาพราหมณ์ ที่เรียกว่า อาถรรพเวท ด้วย

    ถือได้ว่า เครื่องหมายสวัสดิกะ ไม่ว่าจะเวียนซ้ายหรือเวียนขวา ย่อมมีพลังอำนาจสูงสุดในบรรดาเครื่องหมายแห่งพลังทั้งปวง

    เรียบเรียงโดย : พระอาจารย์ พ.ธรรมรังสี
     
  7. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    ในพระไตรปิฎก มีพระสูตรที่ชื่อว่า “อาฏานาฏิยะ” กล่าวว่า ท้าวกุเวร ตั้งเมืองอยู่ในอากาศ ข้างทิศอุตรกุรุทวีป (ทิศเหนือแห่งชมภูทวีป) บริเวณเขาพระสุเมรุ มียอดเขาชื่อ สุทัศนะ (ผาทองทิพย์) ตั้งอยู่ มีราชธานี 2 แห่งคือ อาลกมันทา และ วิสาณะ  มีนครย่อยอีก 8 แห่ง

    ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ ยังมีชื่ออีกหลายชื่อ เช่น ธนบดี หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์ ธเนศวร หมายถึง ผู้เป็นเจ้าแห่งทรัพย์ ภูเตศวร หมายถึง ผู้เป็นเจ้าแห่งหมู่ภูตผีปีศาจ รัตนครรภ์ หมายถึง ผู้มีเพชรเต็มพุง อิจฉาวสุ หมายถึง ผู้มั่งมีได้ตามใจปรารถนา (ด้วยบุญเก่า)  ยักษราช หมายถึง เจ้าแห่งยักษ์  มยุราช หมายถึง เจ้าแห่งหมู่กินนรีกินนรา นรราช หมายถึง เจ้าแห่งมนุษย์ รากษเสนทร์ หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในพวกรากษส (ยักษ์น้ำ พรายน้ำ)  อิศสขี หมายถึง สหายแห่งพระอิศวร  ในรามเกียรติ์เรียกท้าวเวสสุวรรณว่า ท้าวกุเรปัน  ทิเบตเรียกว่า ชัมบาลา (เทพแห่งโชคลาภ) เรียกแบบไทยว่า เทพธนบดีมหาเศรษฐีชัมภล (ปางมหาราชลีลาเจ้าแห่งทรัพย์)  จีนเรียกว่า โต้เหวินเทียนอ๋อง , โต้เหวินเทียนหวาง , โต้บุ๋นเทียนอ๊วง (เทพผู้ถือร่มและเจดีย์)  ร่ม หมายถึง ดูแลฟ้าฝน  ส่วนเจดีย์ มีไว้สำหรับคุมขังปีศาจจนกว่าจะสำนึกตัว (เห้งเจีย หรือ ซุนหงอคง ก็เคยถูกคุมขังมาแล้ว) ตำนานจีนกล่าวว่า ท่านเคยมาเกิดเป็นมนุษย์เป็นแม่ทัพชาวจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนต้นชื่อ หลี่จิ้ง เป็นบิดาของเทพนาจา และเป็นหนึ่งในสี่จตุรมหาเทพผู้คุ้มครองโลกมนุษย์และโลกสวรรค์  (ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4)

    ในทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงอดีตชาติของท้าวกุเวรไว้ใน พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม 3 ภาค 2 - หน้าที่ 151 ว่า ในสมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัตินั้น มีพราหมณ์ผู้หนึ่งนามว่า กุเวรพราหมณ์ เป็นคนใจดีมีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาชีพด้วยการทำไร่อ้อย นำต้นอ้อยตัดใส่ลงไปในหีบยนต์ แล้วบีบน้ำอ้อยขายเลี้ยงชีวิตตนและบุตรภรรยา ต่อมากิจการเจริญขึ้นจนเป็นเจ้าของหีบยนต์สำหรับบีบน้ำอ้อยถึง 7 เครื่อง จึงสร้างที่พักสำหรับคนเดินทาง และบริจาคน้ำอ้อยจากหีบยนต์เครื่องหนึ่ง ซึ่งมีปริมาณน้ำอ้อยมากกว่าหีบยนต์เครื่องอื่นๆ ให้เป็นทานแก่คนผ่านทางจนตลอดอายุขัย ด้วยอำนาจแห่งบุญกุศลที่บริจาคน้ำอ้อยและผลกำไรให้เป็นทานนั้น ทำให้กุเวรพราหมณ์ได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตร บนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา มีนามว่า "กุเวรเทพบุตร"  ต่อมากุเวรเทพบุตร ได้รับเทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแลโลกสวรรค์และโลกมนุษย์ด้านทิศเหนือ มีราชธานีชื่อว่า วิสาณะ  จึงได้ทรงพระนามว่า  "ท้าวเวสสวัณ" หรือ "ท้าวเวสสุวรรณ" (เทพแห่งทอง ผู้ดูแลขุมทรัพย์ทั้งปวง)

    ตามหลักฐานในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ยืนยันว่า "ท้าวกุเวร" หรือ "ท้าวเวสสุวรรณเทวราช" พระองค์นี้ได้สำเร็จเป็น พระอริยบุคคลชั้นโสดาบันแล้วในสมัยพุทธกาล และระบุว่าพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ 9 ล้านปีโลกมนุษย์แล้ว (50 ปีโลกมนุษย์ เท่ากับ 1 วัน 1 คืน ของสวรรค์ชั้นจาตุฯ และเทวดาชั้นจาตุฯ จะมีอายุขัย 500 ปีทิพย์โดยประมาณ อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ตามกำลังของบุญ)  และมีเรื่องราวปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกอีกหลายแห่งที่บ่งบอกว่าพระองค์ทรงทำนุบำรุงและดูแลรักษาพระพุทธศาสนา (ดูได้จาก อาฏานาฏิยสูตร และ มหาสมัยสูตร) แม้กระทั่งบทนมัสการคุณพระรัตนตรัย พระองค์ก็เป็นเทพองค์หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการแต่งคำนมัสการ คือคำว่า ภควโต  นั่นเอง  

    ในฎีกามาลัยเทวสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 1 ภาค 2 - หน้าที่ 435 กล่าวว่า "คทาวุธ" ของ "ท้าวเวสสุวรรณ" นั้น เป็นยอดของศัสตราวุธ เป็นหนึ่งในสี่เทพอาวุธที่มีอานุภาพสูงมาก สามารถทำลายโลกใบนี้ให้เป็นจุณวิจุณได้ภายในพริบตา กระบองของท้าวเวสสุวรรณนั้น เป็นที่หวาดเกรงครั่นคร้ามของบรรดาภูตผีปีศาจมาก

    จะเห็นได้ว่า ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ นั้น เป็นเทพที่สำคัญยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ที่พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ท่านท้าวสักกะเทวราช หรือ พระอินทร์ เลยทีเดียว ตามวัดวาอารามต่าง ๆ จะมีรูปปั้นยักษ์ 1 ตน บ้าง 2 ตนบ้าง ยืนถือกระบองค้ำพื้น ส่วนมากจะมี 2 ตน เฝ้าอยู่หน้าประตูโบสถ์ หรือ วิหารที่เก็บของมีค่า มีพระพุทธรูป และโบราณสมบัติล้ำค่าของทางวัดบรรจุอยู่ ด้านละ 1 ตน หรือไม่ก็ บริเวณลานวัด หรือที่ที่มีคนผ่านไปมาแล้วเห็นโดยง่าย บ้างก็สร้างเอาไว้ในวิหาร หรือ ศาลาโดยเฉพาะก็มี ซึ่งยักษ์เหล่านั้น ถ้าเป็น ตนเดียว ก็จะหมายถึง รูปเคารพของท้าวเวสสุวรรณ แต่ถ้าเป็น 2 ตนก็จะเป็นบริวารของท้าวเวสสุวรรณ คอยทำหน้าที่ปกปักรักษาพุทธสถาน



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    http://www.tewaracha.com/history-sue-tein-vang.shtml
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2013
  8. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    ๙. อาฏานาฏิยสูตร (๓๒)
    ---------------------------
                 [๒๐๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
                 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนคร
    ราชคฤห์ ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ตั้งการรักษาไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งพลขันธ์ไว้ทั้ง ๔
    ทิศ ตั้งผู้ตรวจตราไว้ทั้ง ๔ ทิศ ด้วยเสนายักษ์กองใหญ่ ด้วยเสนาคนธรรพ์กองใหญ่
    ด้วยเสนากุมภัณฑ์กองใหญ่ และด้วยเสนานาคกองใหญ่ เมื่อราตรีล่วงปฐมยาม
    ไปแล้ว เปล่งรัศมีงามยิ่ง ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้าไปเฝ้า
    พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
    ข้างหนึ่ง ฯ
                 ฝ่ายยักษ์เหล่านั้น บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควร
    ส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้
    ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประนมอัญชลีไปทางที่
    พระผู้มีพระภาคประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและ
    โคตร แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้นั่งนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
                 [๒๐๘] ท้าวเวสวัณมหาราช ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้ว
    ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมิได้เลื่อม
    ใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นสูงบางพวกที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี
    ยักษ์ชั้นกลางบางพวกมิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นกลางบางพวก
    ที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นต่ำบางพวกมิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาค
    ก็มี ยักษ์ชั้นต่ำบางพวกที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    โดยมากยักษ์มิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเลย ข้อนั้นเหตุไร เพราะพระผู้มี
    พระภาคทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากปาณาติบาต ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจาก
    อทินนาทาน ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ทรงแสดงธรรมเพื่อ
    งดเว้นจากมุสาวาท ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย
    อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แต่โดยมากพวกยักษ์มิได้งดเว้นจากปาณาติบาต
    มิได้งดเว้นจากอทินนาทาน มิได้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร มิได้งดเว้นจากมุสาวาท
    มิได้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    ข้อที่พระองค์ให้งดเว้นนั้น จึงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของยักษ์เหล่านั้น ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ก็พระสาวกของพระผู้มีพระภาค บางพวกย่อมเสพราวไพรในป่า
    เสนาสนะอันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงกึกก้องน้อย ปราศจากลมแต่ชนผู้เดิน
    เข้าออก ควรแก่การทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น ยักษ์ชั้นสูง
    บางพวกมักอยู่ในป่านั้น พวกใดมิได้เลื่อมใสในปาพจน์ของพระผู้มีพระภาคนี้
    ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงเรียนการรักษาอันชื่อว่าอาฏานาฏิยะเพื่อให้ยักษ์พวกนั้น
    เลื่อมใส คุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของอุบาสก
    อุบาสิกา ภิกษุ ภิกษุณีทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า ฯ
                 พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช
    ทรงทราบการทรงรับของพระผู้มีพระภาค แล้วได้ทรงภาษิตอาฏานาฏิยรักขานี้
    ในเวลานั้นว่า
                 [๒๐๙] ขอนอบน้อมแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ มีพระสิริ
                              ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์
                              ทั่วหน้า ขอนอบน้อมแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ทรงชำระกิเลส
                              มีความเพียร ขอนอบน้อมแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงย่ำยี
                              มารและเสนามาร ขอนอบน้อมแด่พระโกนาคมน์พุทธเจ้า ผู้มี
                              บาปอันลอยแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ขอนอบน้อมแด่พระกัสสป
                              พุทธเจ้า ผู้พ้นพิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง ขอนอบน้อมแด่พระ
                              อังคีรสพุทธเจ้า ผู้ศากยบุตร ผู้มีพระสิริ พระพุทธเจ้าพระองค์
                              ใดได้ทรงแสดงธรรมนี้ อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง อนึ่ง
                              พระพุทธเจ้าเหล่าใด ผู้ดับแล้วในโลก ทรงเห็นแจ้งแล้ว
                              ตามเป็นจริง พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ส่อเสียด เป็นผู้
                              ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
                              นอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้โคตมโคตร ทรงเกื้อกูล
                              แก่ทวยเทพและมนุษย์ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้
                              ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม พระสุริยาทิตย์ มีมณฑลใหญ่
                              อุทัยขึ้นแต่ทิศใดแล เมื่อพระอาทิตย์อุทัยขึ้น ราตรีก็หายไป
                              ครั้นพระอาทิตย์อุทัยขึ้น ย่อมเรียกกันว่ากลางวัน แม้น่านน้ำในที่
                              พระอาทิตย์อุทัยนั้นเป็นสมุทรลึก มีน้ำแผ่เต็มไป ชนทั้งหลาย
                              ย่อมรู้จักน่านน้ำนั้นในที่นั้นอย่างนี้ว่า สมุทรมีน้ำแผ่เต็มไป ฯ
                 [๒๑๐] แต่ที่นี้ไป ทิศที่ชนเรียกกันว่า ปุริมทิศ ที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ
                              เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของพวกคนธรรพ์ ทรงนามว่าท้าวธตรฏฐ์ อัน
                              พวกคนธรรพ์แวดล้อมแล้ว ทรงโปรดปรานด้วยการฟ้อนรำ
                              ขับร้อง ทรงอภิบาลอยู่ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า โอรสของท้าวเธอ
                              มีมากองค์ มีพระนามเดียวกัน ทั้งเก้าสิบเอ็ดองค์ มีพระนามว่า
                              อินทะ ทรงพระกำลังมาก ทั้งท้าวธตรฏฐ์และโอรสเหล่านั้นเห็น
                              พระพุทธเจ้าผู้เบิกบานแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
                              พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจาก
                              ความครั่นคร้าม แต่ที่ไกลว่า ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่
                              พระองค์ พระอุดมบุรุษ ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์
                              ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วยพระญาณอันฉลาด แม้พวก
                              อมนุษย์ก็ถวายบังคมพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สดับมา
                              อย่างนั้นเนืองๆ ฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
                              ถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคมพระชินโคดมหรือ เขาพากัน
                              ตอบว่า ถวายบังคมพระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
                              ขอถวายบังคมพระพุทธเจ้า ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
                              ชนทั้งหลายผู้กล่าวส่อเสียด ผู้กัดเนื้อข้างหลัง ทำปาณาติบาต
                              ลามก เป็นโจร เป็นคนตลบตะแลง ตายแล้ว ชนทั้งหลาย
                              พากันกล่าวว่า จงนำออกไปโดยทิศใด ฯ
                 [๒๑๑] แต่นี้ไป ทิศที่ชนเรียกกันว่า ทักขิณทิศที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ
                              เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของพวกกุมภัณฑ์ ทรงนามว่า ท้าววิรุฬหะ
                              อันพวกกุมภัณฑ์แวดล้อมแล้ว ทรงโปรดปรานด้วยการฟ้อนรำ
                              ขับร้อง ทรงอภิบาลอยู่ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า โอรสของท้าว
                              เธอมีมากองค์ มีพระนามเดียวกัน ทั้งเก้าสิบเอ็ดองค์
                              มีพระนามว่า อินทะ ทรงพระกำลังมาก ทั้งท้าววิรุฬหะและ
                              โอรสเหล่านั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เบิกบานแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
                              แห่งพระอาทิตย์ พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่
                              ปราศจากความครั่นคร้ามแต่ที่ไกลว่า พระบุรุษอาชาไนย ข้าพระ
                              พุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์ พระบุรุษอุดม ข้าพระพุทธเจ้า
                              ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วย
                              พระญาณอันฉลาด แม้พวกอมนุษย์ก็ถวายบังคมพระองค์ ข้าพระ
                              พุทธเจ้าทั้งหลาย ได้สดับมาอย่างนั้นเนืองๆ ฉะนั้น จึงกล่าว
                              เช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคม
                              พระชินโคดมหรือ เขาพากันตอบว่า ถวายบังคมพระชินโคดม
                              ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายบังคมพระพุทธโคดม ผู้ถึง
                              พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ พระสุริยาทิตย์มีมณฑลใหญ่ อัสดง
                              คตในทิศใด และเมื่อพระอาทิตย์อัสดงคต กลางวันก็ดับไป
                              ครั้นพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ย่อมเรียกกันว่ากลางคืน แม้น่าน
                              น้ำในที่พระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว เป็นสมุทรลึก มีน้ำแผ่เต็มไป
                              ชนทั้งหลายย่อมรู้จักน่านน้ำนั้น ในที่นั้นอย่างนี้ว่าสมุทรมีน้ำ
                              แผ่เต็มไป ฯ
                 [๒๑๒] แต่ที่นี้ไป ทิศที่มหาชนเรียกกันว่า ปัจฉิมทิศที่ท้าวมหาราชผู้
                              ทรงยศ เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของพวกนาค ทรงนามว่าท้าววิรูปักษ์
                              อันพวกนาคแวดล้อมแล้ว ทรงโปรดปรานด้วยการฟ้อนรำ
                              ขับร้อง ทรงอภิบาลอยู่ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า โอรสของท้าวเธอมี
                              มากองค์ มีพระนามเดียวกัน ทั้งเก้าสิบเอ็ดองค์ มีพระนามว่าอินทะ
                              ทรงพระกำลังมาก ทั้งท้าววิรูปักษ์และโอรสเหล่านั้น ได้เห็น
                              พระพุทธเจ้า ผู้เบิกบานแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์
                              พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความ
                              ครั่นคร้าม แต่ที่ไกลเทียวว่า พระบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้า
                              ขอนอบน้อมแด่พระองค์ พระอุดมบุรุษ ข้าพระพุทธเจ้าขอ
                              นอบน้อมแด่พระองค์ ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชน ด้วยพระ
                              ญาณอันฉลาด แม้พวกอมนุษย์ก็ถวายบังคมพระองค์ ข้าพระ
                              พุทธเจ้าทั้งหลาย ได้สดับมาอย่างนั้นเนืองๆ ฉะนั้น จึงกล่าว
                              เช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคม
                              พระชินโคดมหรือ เขาพากันตอบว่า ถวายบังคมพระชินโคดม
                              ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายบังคมพระพุทธโคดม ผู้ถึง
                              พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ อุตตรกุรุทวีปเป็นรมณียสถาน มี
                              ภูเขาหลวงชื่อสิเนรุแลดูงดงาม ตั้งอยู่ทิศใด พวกมนุษย์ซึ่งเกิด
                              ในอุตตรกุรุทวีปนั้น ไม่ยึดถือสิ่งใดว่าเป็นของตน ไม่หวงแหน
                              กัน มนุษย์เหล่านั้น ไม่ต้องหว่านพืช และไม่ต้องนำไถออกไถ
                              หมู่มนุษย์บริโภคข้าวสาลี อันผลิตผลในที่ไม่ต้องไถ ไม่มีรำ
                              ไม่มีแกลบ บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม เป็นเมล็ดข้าวสาร หุง
                              [ข้าวนั้น] ในเตาอันปราศจากควัน แล้วบริโภคโภชนะแต่ที่นั้น
                              ทำแม่โคให้มีกีบเดียว ๑- แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อย ทิศใหญ่
                              ทำปศุสัตว์ให้มีกีบเดียว แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ทำ
                              หญิงให้เป็นพาหนะ ๒- แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ทำชาย
                              ให้เป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ทำกุมารีให้เป็น
                              พาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ทำกุมารให้เป็นพาหนะ
                              แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ บรรดานางบำเรอของพระราชา
                              นั้น ก็ขึ้นยานเหล่านั้น ตามห้อมล้อมไปทุกทิศด้วย ยานช้าง
    @๑. สัตว์กีบเดียว คือม้า คือใช้โค ใช้ปศุสัตว์ต่างๆ แทนม้า
    @๒. เห็นจะใช้ขี่คน หรือใช้คนหาม
                              ยานม้า ยานทิพย์ ปราสาท และวอ ก็ปรากฏแก่ท้าวมหาราช
                              ผู้ทรงยศ ฯ
                 และท้าวมหาราชนั้น ได้ทรงนิรมิตนครไว้ในอากาศ คือ อาฏานาฏานคร
    กุสินาฏานคร ปรกุสินาฏานคร นาฏปริยานคร ปรกุสิตนาฏานคร ทางทิศอุดร
    มีกปีวันตนคร และอีกนครหนึ่งชื่อชโนฆะ อีกนครหนึ่งชื่อนวนวติยะ อีกนคร
    หนึ่งชื่ออัมพรอัมพรวติยะ มีราชธานีนามว่าอาฬกมันทา ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
    ก็ราชธานีของท้าวกุเวรมหาราช ชื่อวิสาณา ฉะนั้น มหาชนจึงเรียกท้าวกุเวรมหาราช
    ว่าท้าวเวสวัณ
                              ยักษ์ชื่อตโตลา ชื่อตัตตลา ชื่อตโตตลา ชื่อโอชสี ชื่อเตชสี
                              ชื่อตโตชสี ชื่อสุระ ชื่อราชา ชื่ออริฏฐะ ชื่อเนมิ ย่อมปรากฏ
                              มีหน้าที่คนละแผนก ในวิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำ ชื่อธรณี
                              เป็นแดนที่เกิดเมฆ เกิดฝนตก ในวิสาณาราชธานีนั้นมีสภา
                              ชื่อภคลวดี เป็นที่ประชุมของพวกยักษ์ ณ ที่นั้น มีต้นไม้เป็น
                              อันมาก มีผลเป็นนิจ ดารดาษด้วยหมู่นกต่างๆ มีนกยูง
                              นกกระเรียน นกดุเหว่า อันมีเสียงหวานประสานเสียง มีนกร้อง
                              ว่า ชีวะชีวะ และบางเหล่ามีเสียงปลุกใจ มีไก่ป่า มีปู และ
                              นกโปกขรสาตกะ อยู่ในสระประทุม ในที่นั้นมีเสียงนกสุกะ
                              และนกสาลิกา และหมู่นกทัณฑมานวกะ [มีหน้าเหมือนมนุษย์]
                              สระนฬินีของท้าวกุเวรนั้น งดงามอยู่ตลอดเวลาทุกเมื่อ ฯ
                 [๒๑๓] แต่ทิศนี้ไป ทิศที่ชนเรียกกันว่าอุตตรทิศ ที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ
                              เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของยักษ์ทั้งหลาย ทรงนามว่าท้าวกุเวร อันยักษ์
                              ทั้งหลายแวดล้อมแล้ว ทรงโปรดปรานด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง
                              ทรงอภิบาลอยู่ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า โอรสของท้าวเธอมีมากองค์
                              มีพระนามเดียวกัน ทั้งเก้าสิบเอ็ดพระองค์ มีพระนามว่าอินทะ
                              ทรงพระกำลังมาก ทั้งท้าวกุเวรและโอรสเหล่านั้นได้เห็น
                              พระพุทธเจ้า ผู้เบิกบานแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
                              พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความ
                              ครั่นคร้ามแต่ที่ไกลว่า พระบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบ-
                              น้อมแด่พระองค์ พระอุดมบุรุษ ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่
                              พระองค์ ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วยพระญาณอันฉลาด
                              แม้พวกอมนุษย์ ก็ถวายบังคมพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
                              ได้สดับมาอย่างนั้นเนืองๆ ฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้า
                              ทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคมพระชินโคดมหรือเขา
                              พากันตอบว่าถวายบังคมพระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
                              ขอถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ฯ
                 [๒๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การรักษาอันชื่อว่าอาฏานาฏิยะนี้นั้นแล ย่อม
    เป็นไปเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี
    อุบาสก และอุบาสิกา ฉะนี้แล ฯ
                 ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใดผู้หนึ่ง
    จักเรียนการรักษาอันชื่อว่าอาฏานาฏิยะนี้ให้แม่นยำ ให้บริบูรณ์แล้ว ถ้าอมนุษย์เป็น
    ยักษ์ก็ตาม ยักษิณีก็ตาม บุตรยักษ์ก็ตาม ธิดายักษ์ก็ตาม ยักษ์มหาอำมาตย์ก็ตาม
    ยักษ์บริษัทก็ตาม ยักษ์ผู้รับใช้ก็ตาม เป็นคนธรรพ์ก็ตาม นางคนธรรพ์ก็ตาม บุตร
    คนธรรพ์ก็ตาม ธิดาคนธรรพ์ก็ตาม คนธรรพ์มหาอำมาตย์ก็ตาม คนธรรพ์บริษัทก็ตาม
    คนธรรพ์ผู้รับใช้ก็ตาม เป็นกุมภัณฑ์ก็ตาม นางกุมภัณฑ์ก็ตาม บุตรกุมภัณฑ์ก็ตาม
    ธิดากุมภัณฑ์ก็ตาม กุมภัณฑ์มหาอำมาตย์ก็ตาม กุมภัณฑ์บริษัทก็ตาม กุมภัณฑ์
    ผู้รับใช้ก็ตาม เป็นนาคก็ตาม นางนาคก็ตาม บุตรนาคก็ตาม ธิดานาคก็ตาม นาค
    มหาอำมาตย์ก็ตาม นาคบริษัทก็ตาม นาคผู้รับใช้ก็ตาม ซึ่งมีจิตประทุษร้าย
    พึงเดินตาม ยืนใกล้ นั่งใกล้ นอนใกล้ ภิกษุก็ดี ภิกษุณีก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี
    ซึ่งกำลังเดิน ยืน นั่ง นอนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นี้ไม่พึงได้สักการะ
    หรือเคารพ ในบ้าน หรือในนิคม ไม่พึงได้เหย้าเรือนหรือที่อยู่ ในราชธานีซึ่งมี
    นามว่าอาฬกมันทา ไม่พึงได้เข้าสู่ที่ประชุมของพวกยักษ์ อนึ่ง พวกอมนุษย์ทั้งหลาย
    จะไม่พึงทำอาวาหะวิวาหะกับมัน พึงบริภาษมัน ด้วยคำบริภาษอย่างเหยียดหยามเต็มที่
    พึงคว่ำบาตรเปล่าบนศีรษะมัน หรือพึงทุบศีรษะของมันให้แตกออก ๗ เสี่ยง
    ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ มีอยู่บ้าง ที่พวกอมนุษย์ที่ดุร้าย หยาบช้า กล้าแข็ง มัน
    ย่อมไม่เชื่อถือถ้อยคำของท้าวมหาราช ไม่เชื่อถือถ้อยคำของราชบุรุษผู้ใหญ่แห่ง
    ท้าวมหาราช ไม่เชื่อถือถ้อยคำของราชบุรุษที่เป็นชั้นรองๆ แห่งท้าวมหาราช
    พวกมันนั้นเรียกได้ว่าเป็นข้าศึกของท้าวมหาราช เปรียบเหมือนพวกโจรในแว่น
    แคว้นของพระเจ้ามคธ พวกมันหาได้เชื่อถือถ้อยคำของพระเจ้ามคธไม่ หาเชื่อถือ
    ถ้อยคำของราชบุรุษผู้ใหญ่แห่งพระเจ้ามคธไม่ หาเชื่อถือถ้อยคำของพวกราชบุรุษ
    ที่เป็นชั้นรองๆ ของพระเจ้ามคธไม่ มหาโจรเหล่านั้นๆ เรียกได้ว่าเป็นข้าศึกของ
    พระเจ้ามคธฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นยักษ์ก็ตาม
    ยักษิณีก็ตาม บุตรยักษ์ก็ตาม ธิดายักษ์ก็ตาม ยักษ์มหาอำมาตย์ก็ตาม ยักษ์บริษัท
    ก็ตาม ยักษ์ผู้รับใช้ก็ตาม เป็นคนธรรพ์ก็ตาม นางคนธรรพ์ก็ตาม บุตรคนธรรพ์
    ก็ตาม ธิดาคนธรรพ์ก็ตาม คนธรรพ์มหาอำมาตย์ก็ตาม คนธรรพ์บริษัทก็ตาม
    คนธรรพ์ผู้รับใช้ก็ตาม เป็นกุมภัณฑ์ก็ตาม นางกุมภัณฑ์ก็ตาม บุตรกุมภัณฑ์ก็ตาม
    ธิดากุมภัณฑ์ก็ตาม กุมภัณฑ์มหาอำมาตย์ก็ตาม กุมภัณฑ์บริษัทก็ตาม กุมภัณฑ์
    ผู้รับใช้ก็ตาม เป็นนาคก็ตาม นางนาคก็ตาม บุตรนาคก็ตาม ธิดานาคก็ตาม
    นาคมหาอำมาตย์ก็ตาม นาคบริษัทก็ตาม นาคผู้รับใช้ก็ตาม มีจิตประทุษร้าย
    พึงเดินตาม ยืนใกล้ นั่งใกล้ นอนใกล้ ภิกษุก็ดี ภิกษุณีก็ดี อุบาสกก็ดี
    อุบาสิกาก็ดี ซึ่งกำลังเดิน ยืน นั่ง นอนอยู่ อันภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ
    อุบาสิกานั้นพึงยกโทษ พึงคร่ำครวญ พึงร้องแก่ยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหา
    เสนาบดีว่า ยักษ์ตนนี้ย่อมจับ ยักษ์ตนนี้ย่อมสิง ยักษ์ตนนี้ย่อมเบียดเบียน ยักษ์
    ตนนี้ย่อมบีบคั้น ยักษ์ตนนี้ย่อมทำให้ลำบาก ยักษ์ตนนี้ย่อมทำให้ยาก ยักษ์ตนนี้
    ย่อมไม่ปล่อย ดังนี้ ฯ
                 [๒๑๕] พวกยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดี เป็นไฉน
                 คือ อินทะ ๑ โสมะ ๑ วรุณะ ๑ ภารทวาชะ ๑ ปชาบดี ๑
                 จันทนะ ๑ กามเสฏฐะ ๑ กินนุ ๑ ฆัณฑุ ๑ นิฆัณฑุ ๑
                 ปนาทะ ๑ โอปมัญญะ ๑ เทวสูตะ ๑ มาตลิ ๑ จิตตเสนะ ๑
                 คันธัพพะ ๑ นโฬราชา ๑ ชโนสภะ ๑ สาตาคิระ ๑ เหมวตะ ๑
                 ปุณณากะ ๑ กรติยะ ๑ คุละ ๑ สิวกะ ๑ มุจจลินทะ ๑
                 เวสสามิตตะ ๑ ยุคันธระ ๑ โคปาละ ๑ สุปปเคธะ ๑ หิริ ๑
                 เนตติ ๑ มันทิยะ ๑ ปัญจาลจันทะ ๑ อาลวกะ ๑ ปชุณณะ ๑
                 สุมุขะ ๑ ทธิมุขะ ๑ มณิ ๑ มานิจระ ๑ ทีฆะ ๑ กับเสริสกะ ๑ ฯ
                 [๒๑๖] อันภิกษุเป็นต้นนั้น พึงยกโทษ พึงคร่ำครวญ พึงร้องแก่ยักษ์
    มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดี เหล่านี้ว่า ยักษ์ตนนี้ย่อมจับ ยักษ์ตนนี้ย่อมสิง
    ยักษ์ตนนี้ย่อมเบียดเบียน ยักษ์ตนนี้ย่อมบีบคั้น ยักษ์ตนนี้ย่อมทำให้ลำบาก ยักษ์
    ตนนี้ย่อมทำให้ยาก ยักษ์ตนนี้ย่อมไม่ปล่อย ดังนี้ ฯ
                 [๒๑๗] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การรักษาอันชื่อว่าอาฏานาฏิยะนี้นั้นแล
    ย่อมเป็นไปเพื่อความคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญ
    แห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย ฉะนี้ ฯ
                 ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ และบัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีกิจ
    มาก มีกรณีย์มาก ขอทูลลาไป ฯ
                 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจงทรงทราบกาล
    อันควร ณ บัดนี้เถิด ฯ
                 [๒๑๘] ลำดับนั้นแล ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ
    ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ทรงกระทำประทักษิณ แล้วอันตรธานไปในที่นั้น
    แล ฝ่ายยักษ์เหล่านั้นก็พากันลุกขึ้นจากอาสนะ บางพวกถวายบังคมพระผู้มี
    พระภาค กระทำประทักษิณ แล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง บางพวกได้ปราศรัย
    กับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วอันตรธานไปใน
    ที่นั้นเอง บางพวกประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับแล้วอันตรธานไป
    ในที่นั้นเอง บางพวกประกาศนามและโคตร แล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง บางพวก
    นิ่งอยู่ แล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
                 [๒๑๙] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
    เรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในราตรีนี้ท้าวมหาราชทั้ง ๔
    ตั้งการรักษาไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งพลขันธ์ไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งผู้ตรวจตราไว้ทั้ง ๔ ทิศ
    ด้วยเสนายักษ์กองใหญ่ ด้วยเสนาคนธรรพ์กองใหญ่ ด้วยเสนากุมภัณฑ์กองใหญ่
    และด้วยเสนานาคกองใหญ่ เมื่อราตรีล่วงปฐมยามไปแล้ว ได้เปล่งรัศมีงามยิ่ง
    ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วนั่ง ณ ที่
    ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนยักษ์เหล่านั้น บางพวกไหว้เราแล้วนั่ง ณ ที่
    ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
    ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประนมอัญชลีมาทางที่เราอยู่ แล้วนั่ง
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศนามและโคตร แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
    หนึ่ง บางพวกนิ่งเฉย แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวเวสวัณมหาราชประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    แล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมิได้เลื่อมใสต่อ
    พระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นสูงบางพวกที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้น
    กลางบางพวกมิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นกลางบางพวกที่เลื่อมใส
    ต่อพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นต่ำบางพวกมิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์
    ชั้นต่ำบางพวกที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี พระพุทธเจ้าข้า แต่โดยมากยักษ์
    ทั้งหลายมิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระผู้มี
    พระภาคทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากปาณาติบาต ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจาก
    อทินนาทาน ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ทรงแสดงธรรมเพื่อ
    งดเว้นจากมุสาวาท ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
    อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แต่โดยมากพวกยักษ์มิได้งดเว้นจากปาณาติบาต
    มิได้งดเว้นจากอทินนาทาน มิได้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร มิได้งดเว้นจากมุสาวาท
    มิได้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ข้อที่
    พระองค์ให้งดเว้นนั้น จึงไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของยักษ์เหล่านั้น ฯ
                 พระพุทธเจ้าข้า ก็พระสาวกของพระผู้มีพระภาคบางพวก ย่อมเสพราวไพร
    ในป่า เสนาสนะอันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงกึกก้องน้อย ปราศจากลมแต่ชนผู้
    เดินเข้าออก ควรแก่การทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น ยักษ์
    ชั้นสูงบางพวกมักอยู่ในป่านั้น พวกใดมิได้เลื่อมใสในปาพจน์ของพระผู้มีพระภาค
    นี้ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงเรียนการรักษาอันชื่อว่าอาฏานาฏิยะ เพื่อให้ยักษ์
    พวกนั้นเลื่อมใส เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญ
    แห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า ฯ
                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพแล้ว ลำดับนั้น
    ท้าวเวสวัณทราบว่า เรารับแล้ว ได้กล่าวอาฏานาฏิยะรักษานี้ ในเวลานั้น
    [ความว่า] ฯ
                 [๒๒๐] ขอนอบน้อมแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ มีพระสิริ
                              ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์
                              ทั่วหน้า ฯ ล ฯ [บัณฑิตพึงให้พิสดาร เหมือนกับที่มีมาแล้ว
                              ในก่อน] ฯ
                 ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การรักษาอันชื่อว่าอาฏานาฏิยะนี้แล ย่อมเป็นไป
    เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่สำราญแห่งภิกษุ ภิกษุณี
    อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย ฉะนี้ ฯ
                 ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ และบัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีกิจ
    มาก มีกรณีย์มาก ขอทูลลาไป เราได้กล่าวว่า ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจง
    ทรงทราบกาลอันควร ณ บัดนี้เถิด ฯ
                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ
    ไหว้เรา ทำประทักษิณ แล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง ฝ่ายยักษ์เหล่านั้นก็พากัน
    ลุกขึ้นจากอาสนะ บางพวกไหว้เรา ทำประทักษิณ แล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง
    บางพวกปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว อันตรธาน
    ไปในที่นั้นเอง บางพวกประนมอัญชลีมาทางที่เราอยู่ แล้วอันตรธานไปในที่นั้น
    เอง บางพวกประกาศนามและโคตร แล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง บางพวกนิ่งอยู่
    แล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเล่าเรียนการรักษาอันชื่อว่าอาฏานาฏิยะ
    จงทรงไว้ซึ่งการรักษาอันชื่อว่าอาฏานาฏิยะ การรักษาอันชื่อว่าอาฏานาฏิยะ ประกอบ
    ด้วยประโยชน์ ย่อมเป็นไปเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่
    สำราญแห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย ดังนี้ ฯ
                 พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์ นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชม
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล ฯ

    จบ อาฏานาฏิยสูตร ที่ ๙


    http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=11&A=4207&Z=4500
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2013
  9. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    รูปเหรียญ

    1. เนื้อชุบสามกษัตริย์ (บูชาองค์ละ 499 บ.)

    2. เนื้อเงิน (บูชาองค์ละ 1,999 บ.)

    3. เนื้อนวะ (บูชาองค์ละ 999 บ.)

    4. เนื้อตะกั่ว (บูชาองค์ละ 199 บ.)

    5. เนื้อทองแดงรมดำ (บูชาองค์ละ 99 บ.)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3-1.jpg
      3-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      567.3 KB
      เปิดดู:
      156
    • 3-2.jpg
      3-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      587.7 KB
      เปิดดู:
      223
    • 3-3.jpg
      3-3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      527.2 KB
      เปิดดู:
      141
    • 2-1.jpg
      2-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      441.5 KB
      เปิดดู:
      250
    • 2-2.jpg
      2-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      455.3 KB
      เปิดดู:
      182
    • 1-2.jpg
      1-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      575.1 KB
      เปิดดู:
      198
    • 1-1.jpg
      1-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      425.5 KB
      เปิดดู:
      125
    • 4-2.jpg
      4-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      483.9 KB
      เปิดดู:
      114
    • 4-1.jpg
      4-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      527.5 KB
      เปิดดู:
      502
    • 5-1.jpg
      5-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      653.5 KB
      เปิดดู:
      269
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2013
  10. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    น้ำท่วมวัด (11 ต.ค. 56)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    พระเดชพระคุณหลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต เมตตาอธิษฐานจิตเหรียญสองมหาเทพฯ เป็นเวลากว่า 20 นาที (ในวันจันทร์ที่ 18 พ.ย. 56 เวลา 17.30 น.)


    กราบบูชาพระคุณหลวงปู่ฯด้วยความเคารพอย่างสูง และกราบขอขมากรรมในพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯมา ณ โอกาสนี้


    กราบขอบพระคุณคณะสงฆ์วัดกุดชมภูที่เมตตากรุณาเอื้อเฟื้อ และขอขอบคุณในน้ำจิตน้ำใจของโยมเตี้ย คนขับรถขององค์หลวงปู่ฯมา ณ โอกาสนี้



    ขออนุโมทนาสาธุการ


    พระอาจารย์ พ.ธรรมรังสี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2013
  12. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    เหรียญนี้อาตมาออกแบบเอง

    ถามว่า ทำไมถึงเป็นพระพิฆเนศกับท้าวเวสสุวรรณ (ด้านนึงเป็นพระพิฆเนศ ด้านนึงเป็นท้าวเวสสุวรรณ)

    ตอบว่า

    1. เหรียญพระพุทธ กับ เหรียญพระสงฆ์ ในวงการพระเครื่องมีเยอะแล้ว

    2. เพื่อเป็น "เทวตานุสติ" สำหรับผู้ที่มีความเกี่ยวพันกับมหาเทพทั้งสอง

    3. คนไทยยอมรับนับถือเทพเจ้าทั้งฝ่ายพราหมณ์ฝ่ายพุทธมาช้านานแล้ว อนึ่ง เทพทั้งสองก็มีเทวะตำนานและเทวะประวัติมาอย่างยาวนานหลายพันปี เป็นที่นับถือกันทั่วโลก เพียงแต่อาจมีชื่อเรียกที่ต่างกันเท่านั้น

    4. เพื่อระลึกนึกถึงคุณงามความดีของเหล่าเทพพรหมเทวดาทั้งหลายทั้งปวงทุกพระองค์ โดยมีมหาเทพทั้งสองเป็นตัวแทน เนื่องจากมหาเทพทั้งสองมีความใกล้ชิดกับหมู่มวลมนุษย์เป็นที่สุด ทั้งการจดบัญชีบุญบาปเพื่อรายงานสวรรค์เบื้องบน การคุ้มครองรักษาโลกมนุษย์ ผู้มีศีลธรรมอันดี จักรวาล สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และพระพุทธศาสนา

    5. เพื่อผนวกพลังแห่งมหาเทพทั้งสอง ให้มีทั้งอิทธิฤทธิ์และบุญฤทธิ์ โดยพระพิฆเนศเป็นพระโพธิสัตว์ (ฝ่ายบุญฤทธิ์) ท้าวเวสสุวรรณเป็นพระอริยบุคคล (ฝ่ายอิทธิฤทธิ์) และในเหรียญยังมีองค์พระพุทธะประทับอยู่เหนือพระพิฆเนศ พระพุทธะนี้เป็นองค์แทนแห่งพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทรงมีพระบารมีสูงสุดในจักรวาลและทรงอยู่เหนือมหาเทพทั้งหลาย

    สัญลักษณ์ในเหรียญล้วนเป็นสิริมงคล และเปี่ยมด้วยพลัง จัดเป็น ดวงตรามหาเทพชั้นสูง ที่รวมเอาพุทธมหายาน พุทธหินยาน และพราหมณ์ฮินดู เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัวที่สุด

    ย่นย่อพลังทั้งจักรวาล รวมลงอยู่ที่เหรียญนี้ทั้งหมด

    ยิ่งได้องค์หลวงปู่คำบุมาทำการอธิษฐานจิตให้ด้วยแล้ว เหรียญนี้จะเป็นเหรียญเปิดโลกเปิดจักรวาลอีกเหรียญหนึ่ง ไม่แพ้เหรียญเปิดโลกของหลวงปู่ดู่กับเหรียญมนต์พระกาฬของหลวงปู่หมุนเลยทีเดียว
     
  13. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    ภาพพระธาตุที่แปรสภาพจากเล็บมือ-เล็บเท้า ขององค์หลวงปู่คำบุฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,428
    ค่าพลัง:
    +33,493
    ส่งเหรียญไปที่....คุณณชลนิภา แก่นจุ้ย เลขที่ 93 หมู่ 13 ตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จ เพชรบูรณ์ 67130

    ร่วมบุญ 100 บาท มอบเหรียญสองมหาเทพเนื้อทองแดงรมดำ
     
  15. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,428
    ค่าพลัง:
    +33,493
    ส่งเหรียญไปที่ ....คุณศตนันท์ ดำริสุ 117 หมู่3 ดีจริงแมนชั่น ห้อง2118 ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190

    ร่วมบุญ 100 บาท มอบเหรียญสองมหาเทพเนื้อทองแดงรมดำ
     
  16. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,428
    ค่าพลัง:
    +33,493
    ส่งเหรียญไปที่...คุณภัณฑิลา บุญเดชพัฒน์ หมู่บ้านไพฑูรย์ 577/97 ซ.พงษ์เพชร ถนนประชาชื่น เขตจตุจักร กทม.10900


    ร่วมบุญ 200 บาท มอบเหรียญสองมหาเทพ เนื้อตะกั่ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2013
  17. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,428
    ค่าพลัง:
    +33,493
    ส่งเหรียญไปที่...คุณปทมา ชัยชนะพีระกุล 117/20 ซ.เจริญผล ถ.บึงสีไฟ อ.เมือง จ.พิจิตร 66000

    วัตถุมงคลที่ต้องการดังนี้

    1. เหรียญสองมหาเทพฯ ชุบสามกษัตริย์ 5องค์
    2. เหรียญสองมหาเทพฯ เนื้อทองแดงรมดำ 10 องค์
    3. ลูกอมเนื้อว่าน 2 องค์

    รายชื่อผู้ร่วมบุญ

    2.คุณอุไร เที่ยงอยู่
    3.คุณทุเรียน ศิริอ่อน
    5.คุณคนึง พรรณราช
    6.คุณขวัญยืน ทรงคัชชะ
    7.คุณกลอยทิพย์ อ่วมอิ่มพืช
    10.คุณpeerakul และครอบครัว
     
  18. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,428
    ค่าพลัง:
    +33,493
    ส่งเหรียญไปที่....คุณนิรัชกร คชแสง บ้านเลขที่ 9 หมู่ 5 ตำบล บ้านแห อำเภอ เมือง จังหวัดอ่างทอง 14000

    วัตถุมงคล

    1.ชานหมาก 2 ชุด
    2. พระหลวงปู่ทวด 1 องค์
    3.เหรียญสองมหาเทพชุบสามกษัตริย์ 1องค์
    4.เหรียญสองมหาเทพเนื้อทองแดงรมดำ 1 องค์
     
  19. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,428
    ค่าพลัง:
    +33,493
    ส่งเหรียญไปที่....คุณภัชดลภัทร จันทรเกตุจิดาภา 335/40 หมู่7 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง พิษณุโลก รหัส65000

    วัตถุมงคล...เหรียญสองมหาเทพเนื้อทองแดงรมดำ 1 องค์
     
  20. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,428
    ค่าพลัง:
    +33,493
    ส่งช่วงหลังปีใหม่แล้ว

    ส่งวัตถุมงคลไปที่....คุณณัฐพัชร์ ศรีทรัพย์
    สนง เกษตรอำเภอคง ถนนเทศบาล2
    ตำบลเมืองคง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา 30260

    1. เหรียญสองมหาเทพทองแดงรมดำ 3 องค์
    2.ลูกอมนื้อว่าน1 องค์
     

แชร์หน้านี้

Loading...