กระทู้รวบรวมข้อมูลด้านพลังงานสำรอง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูติอาคเนย์, 7 มีนาคม 2008.

  1. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    นอกจากพลังงานที่มีใน wiki ขอเอามารวมไว้ในนี้เผื่อมีประโยชน์ในอนาคตนะครับ
    พี่ๆเพื่อนๆน้องๆ ใครทราบข้อมูลแปลกๆใหม่ๆที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับพลังงานทดแทนก็ลองมารวบรวมกันครับ
    เพราะในอนาคตเราอาจไม่มีน้ำมันให้ใช้ยังไงก็ต้องรวบรวมข้อมูลไว้ส่งต่อๆไป
    ---------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    นายจอห์น แคนเซียส นักวิจัยโรคมะเร็ง

    ได้พบวิธีใหม่ ขณะทดลองกลั่นน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด ด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังคลื่นความถี่วิทยุ เพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง เขาได้พบว่าคลื่นความถี่วิทยุใช้เผาไหม้น้ำทะเลได้

    ในการแสดงเพื่อทดสอบการค้นพบ ที่ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเพนน์ สเตท ที่สหรัฐฯ อาจารย์วิชาเคมี นายรอสตัม รอย ได้พบว่า

    คลื่นความถี่วิทยุมีพลังไปทำลายแรงเชื่อมของธาตุต่างๆที่ประกอบกันเป็นน้ำทะเลให้สลายลง ปล่อยให้ก๊าซไฮโดรเจนออกมา เมื่อจุดไฟก๊าซจะเผาไหม้ตราบเท่าที่ถูกฉายด้วยคลื่นความถี่วิทยุอยู่ เขาได้กล่าวยกย่องว่า "เป็นการค้นพบในเรื่องวิทยาศาสตร์ของน้ำ ที่เยี่ยมยอดที่สุดในศตวรรษ เพราะน้ำทะเลเป็นสารที่มีอยู่อย่างอุดมที่สุดของโลก มีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง ผมเห็นมันไหม้ได้ทำให้ผมถึงกับสะท้าน "


    เขาแจ้งว่า ได้นัดกับเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน กระทรวงกลาโหม เพื่อจะหางบทำการวิจัยเรื่องนี้ " เพราะนักวิทยาศาสตร์ต้องการรู้ว่า พลังที่เกิดจากการเผาก๊าซไฮโดรเจน ด้วยความร้อนสูงเกิน 3,000 องศาฟาเรนไฮต์นั้น แรงพอจะใช้ขับเคลื่อนรถยนต์หรือเครื่องจักรหนักไหวหรือไม่ เราจะรวมหัวกันพิจารณาว่ามันเป็นไปได้หรือไม่ และจะทำอะไรได้ต่อไป".

    ข้อมูลจาก
    http://center.prd.go.th/engineer/special.htm


    อันนี้น่าสนใจมากนอกจากใช้ผลิดพลังงานได้แล้วยังใช้ทำน้ำจืดแล้วรักษามะเร็งได้อีก-.-
     
  2. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td> [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td class="normalfont">[FONT=Times New Roman, Times, Serif] [FONT=Times New Roman, Times, Serif] ลมเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุนของโลก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเร็วลมและกำลังลม เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าลมเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเอง ซึ่งในบางครั้งแรงที่เกิดจากลมอาจทำให้บ้านเรือนที่อยู่อาศัยพังทลายต้นไม้หักโค่นลง สิ่งของวัตถุต่างๆ ล้มหรือปลิวลอยไปตามลม ฯลฯ ในปัจจุบันมนุษย์จึงได้ให้ความสำคัญและนำพลังงานจากลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อหา เป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น[/FONT][/FONT]

    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif]เทคโนโลยีกังหันลม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, Serif] กังหันลม คือ เครื่องจักรกลอย่างหนึ่งที่สามารถรับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมให้เป็นพลังงานกลได้ จากนั้นนำพลังงานกลมาใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น การบดสีเมล็ดพืช การสูบน้ำ หรือในปัจจุบันใช้ผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า การพัฒนากังหันลมเพื่อใช้ประโยชน์มีมาตั้งแต่ชนชาวอียิปต์โบราณและมีความต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยการออกแบบกังหันลมจะต้องอาศัยความรู้ทางด้านพลศาสตร์ของลมและหลักวิศวกรรมศาสตร์ในแขนงต่างๆ เพื่อให้ได้กำลังงาน พลังงาน และประสิทธิภาพสูงสุด [/FONT]

    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif]รูปแบบเทคโนโลยีกังหันลม[/FONT]
    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif] กังหันลมสามารถแบ่งออกตามลักษณะการจัดวางแกนของใบพัดได้ 2 รูปแบบ คือ[/FONT]
    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif] 1. กังหันลมแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Turbine (VAWT)) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนและใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่นที่ของลมในแนวราบ[/FONT]
    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif] 2. กังหันลมแนวแกนนอน (Horizontal Axis Turbine (HAWT)) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ โดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม[/FONT]

    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif]ส่วนประกอบของเทคโนโลยีกังหันลม[/FONT]
    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif] 1. กังหันลมเพื่อสูบน้ำ (Wind Turbine for Pumping) เป็นกังหันลมที่รับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมและเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกลเพื่อใช้ในการชักหรือสูบน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูงเพื่อใช้ในการเกษตร การทำนาเกลือ การอุปโภคและการบริโภค ปัจจุบันมีใช้อยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบระหัดและแบบสูบชัก[/FONT]
    [FONT=Geneva, Arial, Sans-serif] 2. กังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้า (Wind Turbine for Electric) เป็นกังหันลมที่รับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมและเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกล จากนั้นนำพลังงานกลมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันมีการนำมาใช้งานทั้ง กังหันลมขนาดเล็ก (Small Wind Turbine) และกังหันลมขนาดใหญ่ (Large Wind Turbine)[/FONT]



    <table class="NOBORDER" bgcolor="#99ffff" border="0" bordercolor="#000000" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td> ศักยภาพ
    </td></tr></tbody></table>ลักษณะลมในประเทศไทย

    แผนที่ศักยภาพพลังงานลมในประเทศไทย

    ความเร็วลมที่ได้จากการตรวจวัด

    ข้อมูลความเร็วลมเฉลี่ยสถานีวัดลมภาคเหนือ


    </td></tr></tbody></table>ข้อมูลจาก
    http://www.dede.go.th/dede/index.php?id=97

    ข้อมูลเรื่องพลังงานลมเพิ่มเติม
    http://www.nrct.net/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=2246
    http://www.egat.co.th/re/egat_wind/egat_wind.htm
    http://netmeter.org/th/wind
    http://www.thaiwindmill.com/
    http://natee2007.thaiza.com/blog_view.php?blog_id=790
    http://www.windgen.net/

    ไว้ผมศึกษาและย่อยข้อมูลแล้วจะมาสรุปให้อีกที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มีนาคม 2008
  3. โพไซดอน

    โพไซดอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +327
    ช่วยกันโพสหน่อยครับ ถือว่าเป็นความคิดที่ดี ช่วยกันหาพลังงานทางเลือกทดแทนอย่างนี้ดีครับ (good) (good) (good)

    หากท่านใดพอแนะนำวิธีการหรือแหล่งที่จะซื้อวัตถุดิบ ในการจัดสร้างพลังงานทดแทนได้บ้าง เชิญเลยครับ (ping-love (ping-love (ping-love
     
  4. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,375
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,652
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>กทม.ร่วมสร้างเครือข่ายพัฒนาพลังงานทดแทนที่อเมริกา</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>7 มีนาคม 2551 17:18 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=233 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=233>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> กทม.ร่วมสร้างเครือข่ายพัฒนาพลังงานทดแทน-หมุนเวียนในการประชุม WIREC พร้อมพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีพลังงานควบคู่กัน และเตรียมนำประสบการณ์ประเทศต่างๆ ปรับใช้ในการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทน ตลอดจนเร่งหารือเปลี่ยนพลังงานลมเป็นไฟฟ้าในกรุงเทพฯ

    (กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ประเทศสหรัฐอเมริกา) 6 มี.ค.เวลา 10.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น :นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมประชุม Washington International Renewable Energy Conference (WIREC 2008) ว่า จากการร่วมประชุมเกี่ยวกับพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก หรือพลังงานหมุนเวียนตลอดระยะเวลา 3 วัน คือ ระหว่างวันที่ 4-6 นั้น ได้เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานทางเลือกมากมาย ทั้งประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาพลังงานทดแทน และประเทศที่กำลังพัฒนาพลังงานทดแทน โดยผลการประชุมหลักๆ เป็นเรื่องของการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและระหว่างเมือง โดยเฉพาะเมืองหรือประเทศกลุ่มที่กำลังพัฒนาแถบทวีปเอเชีย แอฟริกา ละตินอเมริกา ใน 3 ประเด็นหลัก คือ

    1.การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งบุคลากรภาครัฐ เอกชน องค์กรต่างๆ ที่จะส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถในเรื่องพลังงานทดแทน หรือพลังงานหมุนเวียน รวมถึงพลังงานสะอาดเพื่อให้เป็นทางเลือกในการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ให้ผ่านวิกฤตภาวะโลกร้อน 2.การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนส่งเสริมงบประมาณการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน พร้อมกับร่วมลงทุนกับภาครัฐและภาคธุรกิจต่างๆ ในการผลิตพลังงานเหล่านั้น และ 3.การรับประสบการณ์ในแนวทางส่งเสริมพลังงานทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นพลังงานสะอาด พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวภาพ ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครจะได้นำแนวทางต่างจากประสบการณ์ที่ได้จากการประชุมนี้ไปประยุกต์ใช้ต่อไป

    นายอภิรักษ์ กล่าวว่า กทม.จะนำประสบการณ์จากการประชุม WIREC ไปปรับใช้กับโครงการที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เกิดความมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถนำประโยชน์ที่ได้จากพลังงานที่ผลิตเองไปใช้อย่างมีประสิทธิผล เช่น โครงการนำร่องผลิตพลังงานจากดวงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ เป็นน้ำร้อน ในโรงเรียนสังกัด กทม.12 แห่ง โครงการผลิตไบโอแก๊ส ซึ่งเป็นโครงการนำร่องร่วมกับกระทรวงพลังงาน โดยดำเนินการในโรงเรียนสังกัด กทม.และขยายผลไปยังตลาด 5 แห่ง คือ ตลาดประชานิเวศน์ ตลาดคลองเตย ปากคลองตลาด ตลาดบางกะปิ และ ตลาดบางแค และโครงการไบโอดีเซลตามแนวพระราชดำริ ซึ่งปัจจุบัน กทม.ได้ดำเนินการไปยังโรงเรียนในสังกัดทุกแห่ง จำนวน 435 แห่ง พร้อมเครือข่ายพันธมิตร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ เพื่อรวบรวมน้ำมันพืชใช้แล้วจากบ้านเรือนนำไปผลิตไบโอดีเซล ซึ่ง กทม.ได้ร่วมกับ บ.บางจาก จำกัด (มหาชน) ในการผลิตไบโอดีเซลตั้งแต่ปีที่ผ่านมา

    นายอภิรักษ์ กล่าวด้วยว่า หลังจากกลับมายังประเทศไทย จะเรียกประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทนของ กทม.มาหารือเพื่อศึกษาแนวทางการเปลี่ยนพลังงานลมเป็นพลังงานไฟฟ้า รวมถึงหารือแนวทางการกำหนดให้หน่วยงานของกทม. บุคลากรของ กทม.ใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกอย่างกว้างขวางต่อไป</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    ใครขายกังหันลมมั่งขา กี่ตังค์เอ่ย เอาแบบที่ขึงด้วยผ้าแบบแถวนาเกลือน่ะค่ะ
     
  6. Pelagia

    Pelagia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +1,198
    เปิดเชื้อเพลิงใหม่ ทดแทนดีเซลแพง

    เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ผศ.ดร.คณิต วัฒนวิเชียร หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเครื่องยนต์สันดาปภายใน ภาควิชา วิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า หลังจากที่ทีมวิจัยของคณะ ได้นำเอาองค์ความรู้ทางการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวล เพื่อคิดค้นพลังงานใหม่ๆ โดยเฉพาะเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ล่าสุดสามารถพัฒนา “ไดเมทิลอีเทอร์” หรือ “ดีเอ็มอี” ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่สามารถผลิตได้จากชีวมวล ที่อยู่ในสถานะ เป็นแก๊ส คล้ายก๊าชหุงต้ม มีคุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ใช้ใน เกษตรกรรม โดยปราศจากควันดำอีกด้วย


    ผศ.ดร.คณิตกล่าวว่า จุดประสงค์ที่ทำโครงการนี้ขึ้นมาเพราะต้องการจุดประกายให้เห็นว่า นอกจากไบโอดีเซล และแก๊สแอลพีจีแล้ว เรายังมีพลังงานทางเลือกอื่นอีกมาก หนึ่งในนั้นคือ เชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ในอนาคตหากภาครัฐสนับสนุนพลังงานตัวนี้ จะทำให้ประเทศของเรา ลดการพึ่งพาน้ำมันได้อย่างมาก สำหรับคุณสมบัติของดีเอ็มอี ที่สำคัญคือ จุดติดไฟง่าย สามารถเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่เกิดเขม่า ปล่อยแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจน ต่ำกว่าเชื้อเพลิงทั่วไป รวมทั้งไม่มีส่วนประกอบของกำมะถัน จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โครงการวิจัยดังกล่าว เป็นการเริ่มต้น กำลังอยู่ในขั้นตอนของการสาธิต แต่นับว่าเป็นการทดลองใช้เชื้อเพลิงดีเอ็มอี กับเครื่องยนต์เกษตร เป็นครั้งแรกในภูมิภาคอาเซียน



    ผู้สื่อข่าวถามถึงความคุ้มค่าของการลงทุน ผศ.ดร. คณิตกล่าวว่า หากเปรียบเทียบตามหลักเศรษฐศาสตร์ระหว่างการใช้ดีเอ็มอีและน้ำมันดีเซล พบว่า ดีเอ็มอียังมีต้นทุนการผลิตและต้นทุนแก๊สสังเคราะห์สูง ขึ้นอยู่กับต้นทุนวัตถุดิบ หากใช้วัตถุดิบราคาถูก และพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ด้วยการสนับสนุนให้มีการใช้มากขึ้น จะทำให้มีต้นทุนที่ถูกกว่าน้ำมันดีเซลได้ นอกจากนี้ ในเชิงคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม การใช้ดีเอ็มอีน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าดีเซล เพราะไม่มีมลพิษทางสิ่งแวดล้อม



    ผศ.ดร.คณิตยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีหลายประเทศ ให้ความสนใจพลังงานชนิดนี้อย่างมาก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และจีน เป็นต้น คาดว่าในอนาคตหากผู้ ประกอบการด้านเครื่องยนต์และยานพาหนะต่างๆ จะผลิตเทคโนโลยีที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดนี้โดยเฉพาะ เชื่อว่าดีเอ็มอี จะเป็นทางเลือกที่สำคัญอันดับต้นๆ ที่จะมาทดแทนน้ำมันดีเซลในอนาคต เพราะเรื่องพลังงานทดแทน ไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับคนไทย และน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับภาวะราคาน้ำมันแพงในปัจจุบัน ผู้สนใจพลังงานทดแทน ดีเอ็มอี สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-6337 หรือที่ 08-5239 - 8400, 08-6334-1894

    http://www.thairath.com/offline.php?section=hotnews&content=82241
     
  7. nutman

    nutman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +259
    ตอนนี้ผมมีแนวคิดอย่างนี้ (ใครคิดต่อได้ก็ช่วยที)

    ใช้คลื่นแม่เหล็กโลก ที่วิ่งอยู่รอบๆตัวเรา มากำเนิดกระแสไฟฟ้า

    มีขดลวดทองแดง เพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้า

    แต่ตอนนี้ผมยังหา องศาที่ถูกต้อง กับ จำนวดขดลวดไม่ได้



    ผมเชื่อว่า ทฤษฎีเส้นแรงแม่เหล็ก ที่ตัดกับขดลวด (พวกไดนาโม) สามารถนำมาใช้กับ สิ่งประดิษฐ์นี้ได้


    ตอนนี้ ตัวเลขที่มหัศจรรย์ อย่าง หัวใจเต้น 60 ครั้ง เวลา ก็ 60 นาที เลข 8 เลข 4 เลข 3
    น่าจะเป็นองค์ประกอบ

    พอเข้าใจกันป่ะ ครับ ผมก็อธิบายไม่ถูก จะว่าผมเพี้ยนก็ได้ครับ ^_^
     
  8. nutman

    nutman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +259
    กังหันลม มีอาจารย์ท่านหนึ่งเขาติดต่อวิศวกรจากเยอรมันเข้ามาเพื่อจะทำการซื้อมาติดตั้งที่
    ประเทศไทย

    แต่ว่า วิศวกรเยอรมัน มันไม่ขาย บอกแต่เพียงว่า ประเทศ ยู ไม่เหมาะ ไม่คุ้มเอามากๆ ครับ

    --------------------------------------------------------------------

    เมื่อไหร่ก็ตามที่เราใช้แก๊สกันมากๆ กับเครื่องจักรใหญ่ โรงงานนั้นจะใช้เครื่องปรับอากาศฟรีๆ
    เพราะว่า เมื่อแก๊ส เปลี่ยนจากของเหลวเป็นก๊าซ มันจะดึงพลังงานรอบๆตัว มา จะทำให้รอบๆนั้น
    เย็น

    ^_^
     
  9. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    คุณ nutman ไม่เพี้ยนหร็อกครับ ผมก็คิดเหมือนกันเพียงแต่พลังงานมันอ่อนมาก(มิลลิเทสลา)และอยู่กระจายกันมาก การรวบรวมพลังงานต้องใช้อุปกรณ์ขนาดใหญ่ ยังไม่คุ้มค่าการลงทุนในขณะนี้
     
  10. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    กังหันลมบางประเภทจะใช้กับเมืองไทยไม่ได้ครับต้องเป็นกังหันชนิดพิเศษ เช่นกังหันแนวแกนนอน ถ้าเอาไปติดที่ตึกสูงๆจะมีลมที่เกิดจากอากาศลอยตัวพัดขึ้นมาแรงจนเอาไปใช้ปั่นไฟได้ เพียงแต่กังหันพวกนี้มีขนาดเล็กๆต้องใช้หลายๆอันแล้วรวมพลังเอา

    ส่วนกังหันปกติขนาดใหญ่ที่อาศัยแรงลมพัดแล้วปั่นไฟเก็บลมในไทยตอนนี้อาจจะไม่เยอะพอในบางพื้นที่
    แต่บางพื้นที่แรงครับอย่างตามชายฝั่งลมแรงกว่าที่ฝรั่งรู้เยอะ แต่ถ้าเอาไปติดในที่พื้นราบภาคกลางห่างทะเลอันนี้ไม่น่าจะพอ

    แต่ผมว่ากังหันลมที่ดีไม่ใช่ใช้แต่ขนาดแล้วปั่น น่าจะมีระบบเฟืองทดพลังสะสมไปปั่นมากกว่านะครับ
    ขนาดหนูแฮมเตอร์ตัวเดียวญี่ปุ่นยังเอาไปทดเฟืองจนปั่นเป็นพลังงานใช้กับรถยนต์ได้เลยครับ ถึงรถจะวิ่งได้ไม่เร็วก็ตาม

    เรื่องก็าซชีวมวลน่าสนใจมากส่วนพลังงานสนามแม่เหล็กอันนี้ผมไม่มีความรู้อ่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2008
  11. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    แนวลมปกติที่แรงพอจะใช้กังหันลมปั่นไฟฟ้าได้
    อยู่ร่อง ทะลสาปสงขลา ผ่านไปทางภูเก๊ต ครับ
     
  12. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ลองคำนวนพลังลมกันดูสิครับ ถ้าใบพัดขนาดยาว 10เมตรกว้าง 1 เมตร=10ตารางเมตร มี3กลีบ รวมพื้นที่ 30ตารางเมตร ขนาดไม่เล็กนะครับ ราคาแพงเพราะเสาสูงกว่า20เมตร ลมประเทศไทยกะเฉลี่ยๆความเร็ว(v) 10เมตรต่อวินาที =36 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พัดอยู่ตลอดวันหรือเปล่า? ก็จะคิดเป็นลม 30ตารางเมตรx10เมตรต่อวินาที=300ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลมหนักประมาณ หนึ่งกิโลกรัม ต่อหนึ่งลูกบาศก์เมตร รวมน้ำหนักลม(w)ประมาณ 300กก.ต่อ วินาที ทำwให้เป็นmต้องหารด้วย gอีก 9.8 คำนวนพลัง 1/2 mvกำลัง 2 เปลี่ยนหน่วยอีกวุ่นวาย สรุปๆประมาณๆ 20 แรงม้าครับ ราว 15 unit unitไฟฟ้า4บาทประหยัดได้ 60บาท ต่อ ชั่วโมง ต้นทุนไม่ล้านบาทก็เฉียดล้านบาทเพราะต้องจ้างฝรั่งทำ จะคุ้มทุนก็ราวๆ 17,000ชั่วโมง มันไม่ค่อยจะคุ้มตรงนี้แหละ ถ้านานหลายๆสิบปีก็ ok ของฝรั่งเค้าลมแรงกว่านี้มาก จะคุ้มเร็วกว่า
     
  13. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    เคยอ่านผ่านตาครับ
    ของทีมวิจัยมาจากเดนมาร์ก ทำให้กับกรมพัฒน์ฯ
    ไม่รู้ไปไหนแล้ว ถ้าเจอจะหามาโพสต์ให้
    ส่วน
    การคิดต้นทุนแบบนั้นอาจไม่ถูกต้อง ต้นทุนพลังงานที่ได้มาจากเขื่อน หรือ น้ำมัน มีต้นทุนมหาศาลมากกว่าเพียงใด
    และยังก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม
    ให้มาตามแก้ เรื่อยเรื่อย ไม่รู้จักจบสิ้นนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ai.gif
      ai.gif
      ขนาดไฟล์:
      22.2 KB
      เปิดดู:
      94
  14. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    จ้างฝรั่งทำทีเดียวพอครับแล้วเราเอาวิศวกรเราไปกอปมันเลยทำแบบจีน
    อีกหน่อยเราติดตั้งเองได้สร้างเองได้และแค่กังหันลมอ่ะครับมันไม่ใช่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คิดว่าสติปัญญาระดับชาวบ้านก็ทำได้ครับ
    และมีคนทำแล้วด้วยดังเว็บที่ผมแปะให้อ่านด้านบน
    เรื่องกำลังลมผมมองว่าอีกหน่อยโลกเราน่าจะมีลมแรงขึ้นอ่ะครับสังเกตุจากพายุดีเปรสชั่นต่างๆที่มันมีบ่อยขึ้นจนน่าตกใจ
    และในบางที่แบบที่คุณ ปาฏิหารย์ บอกมันมีลมแรงมากครับระดับ5 ใช้ได้แล้ว เรื่องการลงทุน10ปี คุ้มกว่าถ่านหิน/นิวเคลียรื/สร้างเขื่อนมากๆเพราะมันเป็นพลังงานสะอาด99% *-*

    อีกอย่างคนยังมองเรื่องพลังงานลม/พลังงานทดแทน/พลังงานสะอาด ไม่ถูกต้องครับ เลยแอนตี้เยอะมากทั้งๆที่มันไม่มีผลเสียอะไรเลย ถ้าเทียบกับพลังงานที่สกปรกกว่าเช่น ถ่านหินน้ำมัน เพราะพลังงานสะอาดเป็นพลังงานทดแทนคือนำมาทดแทนพลังงานหลักบางส่วนเป็นการลงทุนเพื่อลดมลภาวะ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเอามาใช้แทนพลังงานหลักทั้งหมดได้ เพียงแต่ช่วยได้บ้าง อย่างพลังงานโซล่าเซล พลังงานจากความร้อนใต้พิภพพวกนี้ไงครับ ถ้าเอามารวมกันผมว่าเยอะนะครับ
    ถ้าเทียบเม็ดเงินที่ลงกับพลังงานอื่นๆ ในระยะยาวถูกกว่ามากๆๆ น้ำมันแพงขึ้นเรื่อยๆมันไม่ถูกลงนะครับ
    ไม่ใช่ว่าสร้างโรงงานเสร็จแล้วไม่ต้องจ่ายอีกเลย เขื่อนก็ใช้งบประมาณก่อสร้างสูง ต้องทำวิจัยผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องจ้างวิศวะกรและพนักงานจำนวนมากควบคุม ต้องซื้อเครื่องจักรที่มีราคาแพงมากๆอีก
     
  15. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    ใช่ครับ แต่บางทีเรื่องธุรกิจน้ำมันและราคาหน้าโรงกลั่น มีนักการเมืองได้ผลประโยชน์จากส่วนต่างนี้อยู่ และราคาหน้าโรงกลั่นไม่เคยยอมลด ตอนนี้เรื่องกองทุนสำรองน้ำมันก็เงียบไปมาก ไม่รู้ว่าจะหายไปเข้าที่ใครหรือปล่าว ทำไมหนอ ไม่รักชาติกันบ้างเลยนะครับ
    ...
    ความเร็วที่วัดได้ แรงถึง6.4 ในตวามสูง50 เมตร
    อีกที่หนึ่งที่มีศักยภาพถึงคือ ยอดดอยอินทนนท์ (แต่บริเวณนี้ไม่คววรไปสร้างอะไรเพิ่ม เพราะเป็นป่าที่มีระบบนิเวศน์บอบบางมาก)
    ...
    อืมมเคยอ่านวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ที่ออสเตรเลีย มีการผลิตไฟฟ้าจากต้นกล้วยได้
    ผมว่าทำทำได้และขยายผลเป็นเรื่องเป็นราว การผลิตไฟฟ้าจากต้นไม้จะน่าสนใจไม่น้อยเลยครับ เพราะได้ประโยชน์หลายอย่างเลยทีเดียว
     
  16. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    หากังหันให้ก่อนได้ไหมคะ เอาไม่ต้องโตมากก็ได้ อย่าถกว่าใช้ได้หรือไม่
    เคยเ็ห็นแถวสมุทรสาคร นานแล้ว ที่เขาเรียกกังหันลมทดน้ำเข้านา
    วันอาทิตย์สัปดาห์ที่แล้วเจอที่ๆมีแต่ลมพัด พัดทั้งวัน
    เอามาปั่นไฟขับเคลื่อนอะไรเ็ล็กๆดูเสียก่อน เป็น pilot scale
    ขอบคุณจอมยุทธ์ทั้งหลายล่วงหน้าค่ะ
     
  17. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,228
    ค่าพลัง:
    +10,593
    เวปเกี่ยวกับการสร้างกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า
    http://natee2007.thaiza.com/

    http://www.thaiwindmill.com/ อันนี้เป็นเวปของคุณบรรจง ขยันกิจ เห็นว่าเดือนหน้าจะมีอบรมการทำกังหัน ส่วนอันนี้เป็นเวปที่รวมรูปของเค้า http://thaiwindmill.multiply.com/
    เห็นว่ามีการแจกกังหัน ทุกๆ วันที่ 30 ม.ค. ของทุกปี

    http://palungjit.org/showthread.php?t=95237


    ส่วนอันนี้เป็นการนำเอาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมไปลอยอยู่บนฟ้าเลย แก้ปัญหาลมที่พื้นดินเบาไป
    อันนี้ของต่างประเทศ http://www.vcharkarn.com/vcafe/105314
    อันนี้ของคนไทย http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X6317418/X6317418.html, http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X6327310/X6327310.html (กระทู้ต่อเนื่องกัน)
    ใช้วิธีการยกตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ลอยบนฟ้าต่างกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2008
  18. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ที่คำนวนให้ดูก็เผื่อพี่น้องสมาชิกจะเห็นภาพแท้จริง นอกเหนือจากที่เรามักจะได้ยิน--"เขาบอกว่า" ส่วนข้อมูลไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์หรือ solar cell ราคาติดตั้งช่วงนี้ กิโลวัตต์(unit)ละประมาณ 2แสน5 ถึง 5แสน บาท นั่นก็คือ ลงทุนขนาดนั้น ประหยัดได้ ชั่วโมงละ 4 บาท(ค่าไฟฟ้าใน กทม .) คืนทุนใน 6หมื่นชั่วโมง ถึง 1แสน 2หมื่น ชั่วโมง แต่ถ้าไปตั้งไว้ตามเกาะหรือชนบทห่างไกลซึ่งค่าไฟฟ้แพงมาก(ซื้อเครื่องปั่นไฟ+ค่าดูแล ซ่อม +ค่าน้ำมัน+ดอกเบี้ย)แต่ละunit อาจมีราคาสูงถึง 50 บาท อย่างนี้พอจะเห็นความคุ้มค่า เราจึงเห็น solar cell ไปติดตั้งตาม อยู่เกาะต่างๆ และชนบทไกลๆ ตามวัดไกลๆในประเทศไทยในปัจจุบัน
     
  19. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="icon" width="24">http://thaiwindmill.multiply.com/journal/item/17



    </td><td class="cattitle">ไฟฟ้าพลังกล้วย พลังงานถูกใกล้ตัว </td><td class="itemsubsub"><nobr>Jul 21, '06 7:25 AM</nobr>
    for everyone</td></tr></tbody></table>ประเทศไทยพร้อมที่จะเผชิญกับ วิกฤตการณ์เชื้อเพลิงพลังงาน ในอนาคตอันใกล้แค่ ไหน...? รัฐบาลที่มีเจ้าของธุรกิจแสนล้าน มีวิชั่นยาวไกลเป็นผู้นำ ก็ยังคงวนเวียนอยู่กับ เรื่องเก่า ก๊าซโซฮอล์ ไบโอดีเซล

    เรื่องเก่าระดับตำนานอย่างโซลาร์เซลล์ พลังงานจากแสงอาทิตย์ ที่ยากจะเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ เพราะต้นทุนแพงเสียจน ไม่จูงใจให้ผู้คนนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

    ความจริงเมืองไทยของเรา มีทรัพยากรราคาถูกอย่างอื่นมากมาย สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานได้ เช่น ผลกล้วยหรือต้นกล้วย

    หลักวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน แค่เอาแผ่นทองแดง แผ่นสังกะสีบางๆ เสียบเข้าไปในกล้วยสุก จัดระยะให้ห่างกัน 1 ซม. เพียงแค่นี้เราก็ได้ไฟฟ้ามาใช้งานแล้ว

    เอากล้วยมาทำไฟฟ้า ราคาอาจไม่ถูก ราคากล้วยยุคนี้ย่อมเยาซะที่ไหน

    แต่กล้วยนั้น...แค่ตัวอย่าง...ราก หยวก ดอก ผลของกล้วยเอามาทำไฟฟ้าได้หมด

    แม้แต่หยวกกล้วยเน่าๆ ที่ถูกทิ้งเปล่าประโยชน์ คนไทยยุคนี้เลิกใช้ หยวกกล้วยเลี้ยงหมูก็ยัง เอามาทำไฟฟ้าได้

    หยวกเน่าไร้ราคาผลิตไฟฟ้าได้...ต้นทุนราคาจะถูกกว่าโซลาร์เซลล์ หลายเท่า

    นี่ไม่ใช่เรื่องเล่น เอามาพูดเพื่อความสนุกแปลกใหม่ แต่ได้รับรางวัล...สิ่งประดิษฐ์ดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จากสภาวิจัยแห่งชาติ ปี 2546 มาแล้ว

    กระแสไฟฟ้าจากกล้วย ค้นพบโดย อ.บุญช่วย ชาญประโคน อาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมต้น ร.ร.นวมินทราชินูทิศเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ากรุงเทพมหานคร

    พลังไฟฟ้าจากกล้วยไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเป็นไฟฟ้าในลักษณะเดียวกับไฟฟ้าที่ได้จาก แบตเตอรี่รถยนต์

    จะมีความแตกต่าง ตรงไฟฟ้าที่ได้จากแบตเตอรี่รถยนต์ ใช้สารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่เป็นกรด อย่างกรดกำมะถันหรือกรดซัลฟิวริก ซึ่งเป็นกรดที่อันตรายและก่อมลพิษ

    ในขณะที่ไฟฟ้าจากกล้วย ใช้สารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่เป็นด่าง ซึ่งได้จากต้นกล้วย มีความปลอดภัยและไร้มลพิษ

    ที่มาของการพบพลังไฟฟ้าจากกล้วย อ.บุญช่วย เล่าว่า เมื่อปี 2538 ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ที่ ร.ร.ตาคงวิทยารัชมังคลาภิเษก อ.สังขะ จ.สุรินทร์

    “โรงเรียนขนาดเล็ก อุปกรณ์การเรียนการสอนอยู่ในสภาพที่เก่ามาก แต่วิชาที่สอนจะต้องมีการทดลอง เรื่องเซลล์ไฟฟ้า ต้องทำแบตเตอรี่ไฟฟ้าจำลองให้เด็กได้เรียนรู้ โดยการใช้แผ่นทองแดง แผ่นสังกะสี จุ่มลงไปในกรดกำมะถัน เพื่อให้ได้กระแสไฟฟ้าออกมา

    ปรากฏว่าน้ำกรดน้ำยาของโรงเรียนเก่าเสียจนแยกไม่ได้ สารเคมีที่อยู่ในขวดนั้นคืออะไร ฉลากข้างขวดซีดเปื่อยจนอ่านไม่ออก”

    “ไม่กล้าเอาสารเคมีที่ไม่รู้ชื่อมาสอนเด็ก เพราะใช้สารเคมีผิด อาจจะเกิดอันตราย”

    แต่ด้วยความจำเป็นที่จะต้องสอนเด็ก อ.บุญช่วย จึงคิดหาสารเคมีที่มีอยู่ใกล้ตัว เมื่อ งบประมาณ ซื้อสารเคมี ซื้อกรดกำมะถันใหม่ไม่มี เลยต้องหากรดจากธรรมชาติมาใช้แทน

    “กรดทุกชนิด ถ้าเอาแผ่นสังกะสีและทองแดงจุ่มลงไป จะได้พลังงานไฟฟ้า กรดชนิดแรกที่คิดเอามาทำ คือกรดจากน้ำผลไม้ตระกูลส้ม ทดลองทั้งส้มโอ ส้มเขียวหวาน ส้มเช้ง มะนาว รวมทั้งสับปะรด ผลปรากฏว่าได้ไฟฟ้า

    แต่มีปัญหา 1.ซื้อผลไม้เหล่านี้มาให้เด็กทดลอง ต้องใช้เงินไม่น้อย 2.กรดจากผลไม้เหล่านี้ ใช้ได้ไม่นานทิ้งไว้แค่ 1 วัน ก็จะเปลี่ยนสภาพ ผลิตไฟฟ้าไม่ได้”

    ต้องเปลี่ยนแผนหันไปหาวัสดุอื่นที่ดีกว่าและราคาถูกกว่า

    “เลยมาตั้งหลักคิดใหม่ ที่ผ่านมาทดลองจะใช้แต่กรด ทำไมไม่ทดลองใช้ด่างดูบ้าง ในเมื่อทฤษฎีการผลิตเซลล์ไฟฟ้า ด่างก็สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้เหมือนกรด

    ด่างในธรรมชาติมีอยู่มากมาย ลักษณะของด่างในธรรมชาติจะมีรสฝาด หรือขม ไม่เหมือนกรดซึ่งมีรสเปรี้ยว เมื่อพูดถึงด่างมีรสฝาดขม ต้นไม้ชนิดแรกที่คิดถึงก็คือ ต้นกล้วย ซึ่งหาไม่ยากราคาถูกกว่าพวกส้ม”

    อ.บุญช่วย เอาแผ่นทองแดงและสังกะสี ทดลองเสียบต้นกล้วย...ได้ไฟฟ้ามีแรงดัน 0.8-0.9 โวลต์

    นี่คือจุดเริ่มต้น...การค้นพบพลังไฟฟ้าจากต้นกล้วย... เมื่อรู้ว่ากล้วยทำไฟฟ้าได้จึงสนใจที่จะศึกษาต่อ ส่วนไหนของต้นกล้วยที่ให้พลังไฟฟ้ามากที่สุด

    เพื่อให้ได้ข้อมูลละเอียดเรื่องไฟฟ้ามากขึ้น จึงร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้า อ.เฉลิมชาติ มานพ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง และ อ.ชาญวิทย์ ตั้งสิริวรกุล จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ทำวิจัยเรื่อง “เซลล์ไฟฟ้าที่ใช้สารละลาย อิเล็กโทรไลต์เป็นของเหลวที่ได้จากต้นกล้วยเป็น”

    วิจัยทั้งต้นตั้งแต่ราก-ต้น-ดอก-ผล แต่ละส่วนคั้นเอาแต่น้ำมาทดลอง พบ...

    รากให้แรงดันไฟฟ้า 0.96โวลต์ (V.) ให้กระแสไฟฟ้า 2.7 มิลลิแอมป์ (mA.) ให้พลังงานไฟฟ้า 2.59 วัตต์ (W.)

    ดอกให้แรงดันฯ 0.91 V. กระแสฯ 2.69mA. พลังงานฯ 2.44W.

    ผลดิบให้แรงดันฯ 1.02 V. กระแสฯ 2.84mA. พลังงานฯ 2.89W.

    ผลสุกให้แรงดันฯ 1.10 V. กระแสฯ 2.90mA. พลังงานฯ 3.19W.

    หยวกดิบให้แรงดันฯ 0.87 V. กระแสฯ 2.67mA. พลังงานฯ 2.32W.

    หยวกเน่าให้แรงดันฯ 0.96 V. กระแสฯ 3.88mA. พลังงานฯ 3.72W.

    หากต้องการได้แรงดัน กระแสและพลังงานไฟฟ้าที่สูงกว่านี้ สามารถทำได้โดยการต่อวงจรเซลล์ไฟฟ้าหลายเซลล์พ่วงเข้าหากัน

    ต่อแบบขนาน แรงดันไฟฟ้าจะเพิ่ม...กระแสและพลังงานไฟฟ้าเท่าเดิม

    ต่อแบบอนุกรม แรงดันไฟฟ้าเท่าเดิม...กระแสและพลังงานไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น

    และถ้าต้องการให้ทุกอย่างเพิ่มขึ้น ก็ต้องต่อแบบผสมผสาน

    ตัวเลขจากการวิจัย น้ำคั้นจากหยวกกล้วยเน่าเหมาะที่จะนำมาผลิตไฟฟ้าที่สุด เพราะให้พลังไฟฟ้าดีที่สุด เป็นวัสดุที่มีมากหาง่ายและไร้ราคา

    แถมวิธีการได้มาซึ่งน้ำคั้นหยวกกล้วยเน่า ก็ง่ายเอามากๆ แค่เอาหยวกกล้วยมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ทิ้งไว้ในถัง 2 สัปดาห์ จากนั้นก็กรองแยกเอากากสิ่งสกปรกออก...รินน้ำคั้นใส่ขวด เอาไปทำเซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้

    “ถ้าถามว่าน้ำคั้นที่ได้จากหยวกกล้วย สามารถใช้ผลิตไฟฟ้าได้นานแค่ไหน บอกได้แต่ว่า ใช้ได้นานมาก และยังบอกไม่ได้ว่าได้นานขนาดไหน เพราะตอนนี้น้ำคั้นที่ใช้อยู่ คั้นมา 5 ปี ก็ยังใช้ได้

    แต่ถ้าทิ้งไว้นานต้องมีการเขย่านิดหน่อย เดือนละครั้ง เพื่อสิ่งสกปรกในน้ำคั้นจะไม่ไปเกาะจับ แผ่นทองแดงและสังกะสี การผลิตไฟฟ้าจะสมบูรณ์มากขึ้น”

    ประเด็นเรื่องราคาในขั้นต้น อ.บุญช่วย คิดราคาค่อนข้างยาก เพราะอุปกรณ์ที่นำมาทำเป็น เซลล์ไฟฟ้า ซื้อมาจากร้านทั่วไป ซื้อมาในราคาขายปลีก แพงกว่าขายส่ง

    ตีราคาคิดแบบแพง เซลล์ไฟฟ้าจากหยวกกล้วย 1 เซลล์ ที่ให้พลังไฟฟ้า 3.72 วัตต์ ไม่น่าจะถึง 10 บาท

    ขณะแผงโซลาร์เซลล์ ให้กำลังไฟฟ้าขนาด 75 วัตต์ ราคาอยู่ที่ 15,000 บาท

    ทำเซลล์ไฟฟ้าหยวกกล้วย ได้กำลังไฟฟ้าเท่ากัน คิดแบบแพงราคาจะตกอยู่ประมาณ 210 บาท...แถมใช้ได้นาน ให้พลังไฟฟ้าได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่มีหยุดพักนอนกลางคืนเหมือนโซลาร์เซลล์

    ไฟฟ้าพลังหยวกกล้วย...ถูกกว่า ดีกว่า แต่เป็นที่น่าเสียดาย งานวิจัยนี้มีมานานร่วม 2 ปี และมีมาในยุคน้ำมันเชื้อเพลิงแพง ผู้หลักผู้ใหญ่ซึ่งมีอำนาจในบ้านเมือง กลับไม่สนใจคิดวิจัยต่อยอด ทำของถูกให้คนไทยได้ใช้กันสักเท่าไร?

    ออสเตรเลียล้ำหน้า ประกาศทำโครงการไฟฟ้าพลังกล้วยป้อนประชาชน 500 ครัวเรือน ไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2547

    ประกาศไปหลังจากที่คนไทยคิดได้ก่อน พบได้ก่อน...

    ถ้าฝรั่งขโมยไปจดสิทธิบัตรก่อน จะโทษใคร...โทษท่านผู้นำชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ได้หรือไม่ หรือผู้ตามท่านไหน จะกล้ายืดอกรับผิดชอบ.

    ที่มา : http://www.thairath.co.th/thairath1/2548/column/scooper/may/5_5_48.php

    จาก : บรรจง - 02/01/2006 19:05

    กรุณาตรวจสอบ การคิดกำลังงานจากบทความข้างต้น ด้วย
    หน่วยการคิด ไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ พลังงานที่ได้ น้อยกว่า ที่บอกไว้ 1000 เท่า โก๋(แก่) วิชาการ
     
  20. nutman

    nutman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +259
    เด๋วจะลองไปหาข้อมูลใน office ดูครับ ถ้ามีจะเอามา ลงแล้วช่วยกันคิดต่อครับ ^_^
     

แชร์หน้านี้

Loading...