เหตุแห่งพายุ(ที่เกิดกับผู้ใดผู้หนึ่ง)กฏของกรรมของนางนางปฏาจาราเถรี

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 25 เมษายน 2008.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย ต่อไปนี้จะขอนำเอาบุคคลตัวอย่างที่ปรากฏมาใน พระธรรมบท ขุททกนิกาย มาเล่าให้แก่บรรดาท่านพุทธบริษัทฟัง เพราะจะได้เป็นเครื่องศึกษาว่าปฎิปทาของท่านที่บรรลุมรรคผล ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพราะการบรรลุมรรคผลนั้น ย่อมมีการบรรลุไม่เสมอกัน<O:p</O:p
    สำหรับตอนนี้ จะนำเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่ง ที่สำเร็จมรรคผล ท่านเจ้าของเรื่องมีนามว่า นางปฏาจารา สำหรับเรื่องราว ของนางปฏาจารานี้ ขอนำเรื่องโดยพิสดาร มากล่าวแก่บรรดาพุทธบริษัท ตามบาลีมีดังต่อไปนี้<O:p</O:p
    เมื่อพระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่เชตะวันมหาวิหาร ในครั้งนั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงปรารภ พระปฏาจาราเถรี เป็นเหตุ ฉะนั้น องค์สมเด็จพระบรมเชษฐ์จึงได้ตรัสเป็นพระคาถาโดยย่อว่า โย จ วสฺสสตํ ชีเว เป็นต้น ตามนั้น ได้เป็นธิดาของมหาเศรษฐี ผู้มีสมบัติถึง ๘๐ โกฏิ ในกรุงสาวัตถี มีรูป<O:p</O:p
    งามมีอายุได้ ๑๖ ปี มารดาบิดาต้อง<O:p</O:p
    การจะรักษาเธอไว้ในที่ปลอดภัย จึงให้นางอยู่บนปราสาท ๗ ชั้น คือ บนชั้นที่ ๗ <O:p</O:p
    ถึงเมื่ออย่างนั้น ท่านกล่าวว่า การระวังคนนั้น บรรดาท่านพุทธบริษัท มันไม่ใช่วัตถุ คนมีชีวิตจิตใจ ตามพระบาลีท่านกล่าวว่า<O:p</O:p
    เมื่อบิดามารดารักษาถึงขนาดนั้น นางก็ยังสบคบ คือรักใคร่กับคนใช้คนหนึ่ง ที่ใกล้ชิด ห้ามกายมันห้ามได้ แต่ห้ามใจมันห้ามไม่ได้<O:p</O:p
    เป็นอันว่า มีคนใช้คนหนึ่ง ที่อยู่ในบ้านของนาง รูปร่างน่าตาดีเป็นคนท่าทางอ่อนน้อม จริยาวาจาไพเราะอ่อนหวาน นางก็เกิดรักกับคนใช้นั้นขึ้นมา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ในเวลาต่อมา ปรากฏว่า มารดาบิดาของนาง ได้ตกลงกับท่านเฒ่าแก่ของชายคนหนึ่ง ซึ่งมีชาติตระกูลเสมอกันยกให้เขา โดยผู้ใหญ่เห็นสมควร แล้วก็กำหนดทำการวิวาห์ คือ กำหนดวันแต่งงาน<O:p</O:p
    ครั้งเมื่อวันวิวาห์ คือ วันแต่งงาน ใกล้เข้ามา นางจึงได้พูดกับคนรับใช้นั้นว่า มารดากับบิดาของฉัน ยกฉันให้แก่คนในตระกูลโน้น ในเวลาที่ไม่ช้านี้ ฉันก็จะต้องแต่งงาน เมื่อต้องแต่งงานแล้ว ฉันก็ไปอยู่ในบ้านของผัวฉัน ตัวท่านเอง ในระหว่างเราสองคนจะมีความรักกันมากมายสักเพียงใดก็ตามที ถึงแม้ท่านจะไปหาฉัน ถือของกำนัล คือเครื่องบรรณาการ ไปเพื่อฉัน ท่านก็ไม่มีโอกาสที่จะเข้าใกล้ฉันได้ ถ้าหากเธอมีความรักฉันจริงๆ ก็จงพาฉันหนีไปเสีย ในทางใดทางหนึ่ง ในเวลานี้ก็แล้วกัน ถ้าเวลานี้ไม่จัดการก็เป็นอันว่า โอกาสของเธอจะหมดไป ในวันหน้าไม่มีโอกาส<O:p</O:p
    คนรับใช้คนนั้น ความจริงไม่ใช่รักกันเฉยๆ เอได้มีโอกาสร่วมรักในฐานะสามีภรรยาลับๆ อยู่แล้ว จึงได้รับปากว่า ดีละนางผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นละก็ ฉันจะไปยืนอยู่ที่ประตูเมือง(ด้านทิศใดทิศหนึ่ง ตามที่ตกลงกันไว้ ) ในเวลาเช้าตรู่ แล้วขอเธอจงออกไปด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง ไปหาฉันที่นั้น<O:p</O:pเป็นอันว่า เมื่อถึงวันนัดหมายกันแล้ว เขาก็ไปกันตามนั้นชายหนุ่มก็ไปคอยอยู่ ฝ่ายธิดาของท่านมหาเศรษฐี ซึ่งมีนามว่าปฏาจารา ในเวลากลางคือเข้านอน เธอก็ห่มผ้าปอนๆ คือ ผ้าเก่าแล้วสยายผมให้ผมยุ่ง เอารำมาทาตัวเสีย ให้ผิวมันขะมุกขะมอม ในเวลาเช้ามืด จึงได้ถือหม้อน้ำออกเรือนไป ทำทีเหมือน พวกทาสีจะไปทำงาน แล้วก็ไปในที่นัดหมายกันไว้ ในเวลาเช้าตรู่<O:p</O:p
    สำหรับคนใช้นั้นพานางไปไกลแล้ว สำเร็จการอาศัยอยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง คือ เข้าไปในป่า อยู่ในเมืองไม่ได้ ความจริงขึ้นว่าความรัก พระพุทธเจ้ากล่าวว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2008
  2. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    คนที่จะแต่งงานกัน มีเหตุสองประการ ด้วยกัน
    ๑. ปุพเพสันนิวาส เคยเป็นสามีภรรยาร่วมกันมาในชาติก่อนนี้อย่างหนึ่ง<O:p</O:p
    ๒. อีกประการหนึ่ง อาศัยความใกล้ชิดซึ่งกันและกัน เป็นเหตุให้เห็นใจซึ่งกันและกัน อย่างนี้รักกันแต่งงานกันได้<O:p</O:p
    เธอเข้าไปในป่าแล้ว ก็ปลูกกระท่อมเล็กๆ อยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง ไถนาป่านั้น และก็นำฟืนบ้าง นำผักบ้าง เอาไปขาย ฝ่ายลูกมหาเศรษฐีก็ถือหม้อน้ำมาแล้ว ก็ทำกิจ มีการตำข้าว หุงข้าว เป็นต้น ความจริง รักกันเสียอย่างเดียว เรื่องฐานะไม่มีความสำคัญเธอไม่เคยงานด้วยตนเอง อยู่บ้านมีคนรับใช้ แต่เมื่อมาอยู่ด้วยกันตามลำพัง เธอก็ทำงานทุกอย่างได้ แต่ใจของเธอมีความสุข เพราะได้อยู่กับคนที่เธอรัก ก็เสวยผลแห่งความรักของตน ที่รักคนรับใช้<O:p</O:p
    ในเวลานั้น ปรากฏว่านางตั้งครรภ์แก่นางจึงไปอ้อนวอนสามีว่า ที่หมู่บ้านนี้ ใครๆ ที่จะอุปการะเราก็ไม่มี ไม่มีญาติ ไม่มีพี่น้องที่น้องที่ไหน ตามธรรมดา มารดาบิดา นี้ จะเป็นคนใจอ่อนโยนในบุตรทั้งหลาย ฉะนั้น ขอท่านจงนำฉันไปยังสำนักของบิดามารของฉัน ฉันจะคลอดบุตรที่บ้านพ่อ อย่างไรท่านก็ไม่ฆ่าฉัน<O:p</O:p
    ท่านสามีก็คัดค้านว่า นางผู้เจริญ เจ้าพูดอะไร มารดาบิดาของเจ้าเห็นเจ้าคงจะไม่ฆ่าเจ้า แต่ว่าเวลาเห็นฉันเข้าสิ ดีไม่ดี ฉันอาจจะต้องตาย หรืออาจจะถูกทรมาน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เพราะว่าขโมยลูกสาวของท่านมา ขโมยก็ไม่ใช่ขโมยมาอย่างปกติ ขโมยเวลาใกล้จะแต่งงานอยู่แล้ว อย่างนี้ฉันไปไม่ได้<O:p</O:p
    เมื่อนางอ้อนวอนแล้วๆ เล่าๆ แต่ว่าสามีก็ไม่ยอม ในเมื่อนางไม่ได้รับความยินยอมจากปากสามี ปรากฏว่า ในวันหนึ่ง ในเวลาที่สามี ไปป่า เธอจึงเรียกผู้ที่คุ้นเคย คือบ้านใกล้ มา แล้วก็สั่งว่าถ้าสามีของฉันกลับมาจากป่า ถามว่าฉันไปไหน ขอบรรดาพวกท่านทั้งหลายจงบอกว่า ฉันไปสู่ตระกูลของตน<O:p</O:p
    เมื่อนางสั่งคนข้างบ้านแล้ว จึงได้ปิดประตูเรือนจนเรียบร้อย แล้วก็หลีกไปจากบ้าน แล้วก็เดินออกเดินทางไป ฝ่ายท่านสามีกลับมาจากป่าไม่เห็นภรรยา จึงได้สอบคนบ้านใกล้บ้านเรือนเคียง ผู้คุ้นเคยกัน เมื่อทราบว่า เวลานี้ ภรรยาตั้งจะใจไปบ้าน ภรรยาตั้งใจจะไปบ้าน จึงติดตามไป ด้วยคิดว่าเราจะขอให้นางกลับ เมื่อพบนางแล้ว จึงได้อ้อนวอนด้วยประการต่างๆนางก็ไม่ยอมกลับ ตั้งใจจะคลอดบุตรที่บ้าน นี่เป็นประเพณีของพราหมณ์<O:p</O:p
    ในเวลานั้นเอง ขณะที่กำลังอ้อนวอนกันอยู่ ท่านกล่าวว่า ลมกัมมัชวาตที่ชาวบ้านเขาเรียกว่าลมเบ่ง มันก็เกิดปั่นป่วนขึ้นแล้ว ลมกัมมัชวาต ก็คือลมเบ่ง เมื่อลมเบ่งเกิดขึ้น ทุกขเวทนามันก็เกิดขึ้นหนัก นอนกลิ้ง นอนเกลือก อยู่ในพื้นแผ่นดิน<O:p</O:p
    ตอนนี้ คนที่เขาเจ็บท้อง มันมีอาการเป็นอย่างไร อาตมาไม่เคยรู้เรื่องเสียด้วย ไม่เคยเจ็บท้อง คือ เวลาที่ลูกมันจะออก มันเกิดทุกขเวทนาขนาดไหน<O:p</O:p
    ขณะที่นางกลิ้งเกลืออยู่นั้น เด็กก็คลอดออกมา ไ ไม่ต้องมีหมอตำแย ก็ดีเหมือนกัน เป็นอันว่า เมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว จึงได้ตกลงกลับมาบ้านด้วยสามี สำเร็จอยู่ด้วยกันต่อไป<O:p</O:p
    ในพระบาลีท่านกล่าวว่า ในสมัยต่อมาอีก นางก็ตั้งครรภ์อีก เป็นวาระที่สอง นางเป็นผู้มีครรภ์แก่แล้ว ก็ได้อ้อนวอนสามีเหมือนกับครั้งที่แล้ว แต่ว่าสามีไม่ยอมตามเดิม เมื่อเวลาที่สามีไม่อยู่ เข้าไปในป่า นางจึงได้อุ้มบุตรคนเดิมด้วยสะเอว แล้วก็พาท้องที่กำลังใหญ่นั้นแหละ เดินออกจากบ้านไป<O:p</O:p
    ในกาลต่อมา ปรากฏว่า สามีก็จะติดตามไปพบกันระหว่างทางชักชวนจะให้เธอกลับ ในเวลานั้น เมื่อเขาทั้งสองยังเดินอยู่และอ้อนวอนกันอยู่ ท่านกล่าวว่า มหาเมฆ อันมิใช่ฤดูฝนก็บังเกิดขึ้น ความจริงมันเป็นฤดูแล้ง ฝนไม่น่าจะตก เมฆตั้งขึ้นอย่างหนัก ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเมฆ มีท่อธารตกลงมา หมายความว่าฝนมันตกใหญ่ ตกหนัก สายฟ้าแลบ แปลบปลาบ เสียงท้องฟ้าครืนครั่นน่ากลัว คล้ายๆ กับว่า จะทำลายเธอทั้งสองให้พินาศไปด้วยอำนาจแห่งเมฆ<O:p</O:p
    ในขณะเดียวกันนั้นเอง ปรากฏว่า ลมกัมมัชวาล คือลมเบ่ง ก็เกิดขึ้นแก่นางแก่นางอีก นางจึงเรียกสามีมาว่า นายลมกัมมัชวาตของฉันมันปั่นป่วนขึ้นแล้ว ฉันไม่อาจะทนต่อไปได้ และก็อาจจะเดินต่อไปได้ และก็ไม่อาจจะเดินต่อไปได้ และก็ไม่อาจเดินต่อไปได้ ขอท่านจงรู้สถานที่ ที่ฉันจะพึงคลอดบุตร ว่า สถานที่ไหนฝนไม่รดเปียก และก็เหนือน้ำที่จะไหลหลั่งมาเวลานี้ ขอท่านโปรดหาที่ที่นั้นให้ฉันด้วยเถิด<O:p</O:p
    ฝ่ายสามีที่มีมีดอยู่ในมือ ก็เดินไปตรวจข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้างเห็นพุ่มไม้ ซึ่งเกิดอยู่บนปลวกแห่งหนึ่ง เห็นว่าเหมาะบนจอมปลวก (ยอดปลวก) ที่มันชะเง้อออกมา สามารถจะบังฝนได้จึงได้เริ่มตัดไม้ในเวลานั้น<O:p</O:p
    ในขณะเดียวกัน ท่านกล่าวว่า งูตัวที่มีพิษร้ายกาจ มันเลื้อยออกมาจากจอมปลวก เพราะมันหนีฝนเหมือนกัน ออกมาแล้วมันก็กัดเขา คือ สามีของนางปฏาจาราลงถึงแก่ความตายในขณะนั้น ปรากฏว่าสรีระของเขา มีสีเขียวดังเปลวไฟ ที่ตั้งขึ้นในภายในนั้น หมายความว่า หนังไหม้ เพราะพิษของงูมันร้าย เธอก็ล้มลง แล้วขาดใจตายที่นั้น<O:p</O:p
    ฝ่ายภรรยา คือ ปฏาจารา ยืนคอยสามีอยู่ ฝนก็ตกหนักลมกัมมัชวาล ลมเบ่ง มันก็เกิด ท้องมันก็ปวด เสวยทุกข์เวทนาอย่างสาหัส มองดูทางมาของสามีว่า สามีของเราไปทางนี้ เมื่อไรเขาจะมาสักที มองเท่าไรๆ ก็มองไม่เห็นเขา เวลานั้น การคลอดบุตรก็เกิดขึ้น นางก็คลอดบุตรคนเดียว<O:p</O:p
    เป็นอันว่า ทารกทั้งสองทนความหนาวด้วยอำนาจลมและฝนไม่ได้ นางจึงเอาเด็กทั้งสองคนนั้นไว้ในระหว่างอกหมายความว่า เอาไว้ระหว่างท้อง แล้วนางก็ยืน ๒ ขา เอาแขนอีก ๒ แขน เท้าลงไปกับพื้น เป็นอันว่า ยืนคร่อมลูกทั้งสองไว้ เพื่อต้องการจะไม่ให้ลูกทั้งสองถูกน้ำฝน ที่มันตกลงมาจากฟ้า แต่ทว่าน้ำฝนที่มันไหลมาลงกับพื้น มันถูกลูก<O:p</O:p
    ตามบาลีท่านกล่าวว่า ร่างกายของลูกทั้งสิ้น เป็นไปเหมือนกับใบไม้เหลือง คำว่า ใบไม้เหลือง นี่ตัวมันซีด เพราะมันหนาวจัดความจริง มันน่าจะตายตั้งแต่เวลากลางคืน ท่านแม่ก็หนัก คลอดบุตรเสียเลือด เสียน้ำ เสียกำลัง ลูกก็เล็กทั้งสองคน น้ำท่วมฝนก็ตกตลอดคืน ลองคิดดู ท่านพุทธบริษัท ว่า การมีลูก มีผัวมันลำบากขนาดไหน<O:p</O:p
    เป็นอันว่า สามีก็หายไป ไม่เห็นกลับมา ทุกขเวทนาก็เบียดเบียนใจของนางหนักขึ้น ร่างกายก็หนาว สงสารลูกก็สงสาร สงสารตัวก็สงสาร มองหาผัวก็ไม่มา คืนยังรุ่งก็ไม่ได้นอน ตั้งท่ายงโย่ ยงหยก เอาร่างกายเป็นร่มบังฝนสำหรับลูกอยู่อย่างนั้น<O:p</O:p
    เมื่อเวลารุ่งสว่าง นางจึงได้อุ้มบุตรคนหนึ่ง ซึ่งมีสีเหมือนชิ้นเนื้อ คือบุตรคนเล็ก ใส่สะเอว แล้วก็จูงบุตรคนโตด้วยนิ้วมือแล้วกล่าวว่า เวลานี้พ่อเจ้าอยู่ที่ไหน นางก็พาลูกน้อยคนหนึ่ง พาจูงเดินไปอีกคนหนึ่งก็อุ้มนำไป ไปทางที่สามีไปเมื่อตอนเย็น ขณะที่ไปถึงที่สามีที่นอนตายอยู่ นางก็เห็นว่า สามีของนาง ล้มลงตายบนจอมปลวกร่างกายทีสีเขียว ตัวแข็งกระด้าง นางเสียใจร้องไห้รำพันว่า เพราะว่า อาศัยเรา สามีของเราจึงตายที่หนทางเปลี่ยว<O:p</O:p
    เป็นอันว่า ตอนนี้ทุกขเวทนา บีบคั้นนางอย่างหนักในขณะนั้นเองนางจึงได้ตัดสินใจ เวลานี้สามีของเราก็ตายแล้ว ที่พึ่งก็ไม่มี จะต้องมีบิดาและมารดาเป็นที่พึ่ง ตอนนี้จะต้องเดินทางกลับบ้านกันแน่ ทำอย่างไรๆ พ่อแม่จะตี จะฆ่า จะด่า จะว่า ก็จะอย่างทุกอย่าง หมดทางแล้ว<O:p</O:p
    ฉะนั้น นางแก้วจึงได้เดินทาง หวังจะไปบ้าน ขณะที่เดินทางไปก็มีแม่น้ำขวางหน้าอยู่แม่น้ำหนึ่ง ความจริง แม่น้ำนี้มันไม่ลึก แต่มันกว้าง ชื่อแม่น้ำอจิรวดี ที่เต็มไปด้วยน้ำมีปริมาณสูงเพียงเข่า แต่ว่าในที่บางแห่ง ก็สูงเพียงนม ก็ไม่ลึกนัก ทั้งนี้ก็เพราะว่า ฝนที่ตกตลอดคืนยันรุ่ง ทำให้แม่น้ำนั้นมากขึ้นมา ปกติน้ำในแม่น้ำมันจะน้อย แต่ว่าน้ำในป่ามันจะเป็นต้นน้ำ<O:p</O:p
    เอจึงคิดในใจว่า น้ำนี้ เราไม่สามารถที่จะนำบุตรของเราทั้งสองคนนี้ ข้ามไปพร้อมกัน เพราะว่าตนเป็นคนที่มีความรู้อ่อนที่เรียนกว่า ความรู้อ่อน ก็เพราะว่า ไม่เคยลำบากลำบนเลย เป็นลูกเศรษฐี มีหน้าที่ใช้เขาอย่างเดียว เรื่องการมีลูกมีเต้า ก็ไม่เคยลำบากขนาดนี้<O:p</O:p
    นางจึงเอาบุตรคนใหญ่วางไว้ฝั่งนี้ แล้วก็บุตรคนเล็กอุ้มข้ามฝั่งไปวางไว้ฝั่งโน้น ความจริงจะเอาไปพร้อมกันก็ได้ ขณะที่อุ้มบุตรคนเล็กไปวางไว้ฝั่งโน้นแล้ว ขณะที่วาง ก็เอาใบไม้มาปูลาดเข้าแล้วก็วางลุกไว้ ให้นอนบนใบไม้ คิดว่า เราจะกลับรับลูกคนใหญ่แต่เธอมีความห่วงใยลูกคนเล็ก เดินเหลียวไปเหลียวมา เหลียวมาเหลียวไป เหลียวหน้าเหลียวหลัง อยู่อย่างนั้น<O:p</O:p
    ในเวลาที่นางเดินมาถึงกลางแม่น้ำ ในเวลาเดียวกันนั้นก็ปรากฏว่า มีเหยี่ยวหนึ่งบินมาในอากาศ เห็นลูกชายคนเล็กของนางเข้า ก็คิดว่า ก้อนเนื้อ จึงได้โฉบลงมาจากอากาศ ด้วยมีความสำคัญว่า ชิ้นเนื้อชิ้นนี้มันใหญ่ จริงๆ น่ากินเหลือเกิน นางเมื่อเห็นเยี่ยวเฉี่ยวโฉบลงมาอย่างนั้น เพื่อต้องการบุตร นางเมื่อเห็นเยี่ยวเฉี่ยวโฉบลงมาอย่างนั้น เพื่อต้องการกินบุตร นางจึงจึงได้ยกมือทั้งสองขึ้นเพื่อจะส่งเสียงดัง เพื่อไล่นก เหยี่ยวไม่ได้ยินเสียงนางนั้นเลย เพราะมันตั้งใจจะกิน และที่มันก็ไกลกัน จึงได้เฉี่ยวเอาเด็กบินขึ้นไปสู่บนอากาศ<O:p</O:p
    ลูกคนเล็กไปแล้วคนหนึ่ง<O:p</O:p
    ท่านกล่าวว่า ลูกคนโตที่ยืนอยู่ฝั่งนี้ ได้ยินเสียงมารดายกมือยกไม้สองข้าง ได้ยินเสียงดังอย่างนั้นที่กลางแม่น้ำ ก็คิดว่าแม่เรียกให้ตัวไปหาเร็วๆ จึงได้กระโดดไปในน้ำ จะไปหาแม่และก็ถูกน้ำพัดไป ไหลไปตามกระแสน้ำ<O:p</O:p
    นางเดินร้องไห้รำพันว่า บุตรของเราคนหนึ่งถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไปและอีกคนหนึ่งถูกน้ำพัดไป สามีก็ตายในทางเปลี่ยว เธอร้องออยู่แบบนี้ขณะเดินในระหว่างทาง โดยมีความตั้งว่า จะไปหาบิดามารดา ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีใหญ่ เพราะว่าเธอหมดที่พึ่ง หมดที่อาศัย มีความรู้สึกว่า บิดามารดาก็คงไม่ฆ่าลูก หรือถ้าพ่อแม่จะตีลูก จะด่าจะว่า ประการใดก็ตามที ก็ขอยอมรับ ตกลงตัดสินใจไปหาบิดาและมารดา แล้วก็ร้องตะโกนไปในระหว่างทาง เพราะความคุ้มคลั่งเสียใจ ที่บรรดาบุตรน้อยทั้งสองคนตาย และสามีก็ตาย หมดที่พึ่งที่อาศัย ถ้าเราเป็นเขาบ้าง ก็ลองคิดดูว่า อารมณ์จิตในขณะนั้นจะมีความรู้สึกเป็นอย่างไร<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2008
  3. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    ในระหว่างที่เดินทางไป เพื่อจะหาบิดามารดา ก็พบชายคนหนึ่งเดิมมาจากกรุงสาวัตถีนี้ ก็เป็นที่ๆ บิดามารดาของเธออยู่ เธอจึงได้ถามชายบุคคลนั้นว่า พ่อคุณ พ่อมหาจำเริญพ่ออยู่ไหนจะไหนจ๊ะ ชายคนนั้นก็ตอบว่า ฉันอยู่กรุงสาวัตถีนี้ แม่ สำหรับเศรษฐีปฏาจาราซึ่งเป็นธิดาของมหาเศรษฐี จึงถามว่า ท่านรู้จักตระกูลเศรษฐีชื่อนั้นปานนี้ หมายความว่า ถามถึงบิดามารดาในกรุงสาวัตถี แต่ไม่ได้บอกเขาว่า เป็นพ่อ เป็นแม่ ถามว่า ท่านรู้จักท่านมหาเศรษฐีชื่อนั้นไหม สามีชื่อนั้น มีภรรยาชื่อนั้น
    สำหรับบุรุษคนนั้นก็ตอบว่า แม่ ฉับทราบดีจ๊ะ แต่ว่าเธอจะถามฉัน ถึงบุคคลตระกูลนั้น เพื่อตระกูลนั้น เพื่อประโยชน์อะไร หากว่าจะถามถึงคนอื่นละก็ ควรจะถาม ถ้าถามถึงท่านมหาเศรษฐี หรือภรรยาท่านมหาเศรษฐี ลูกชาย ลูกสาวท่านมหาเศรษฐีนี้ อย่าถามเลย<O:p</O:p
    ตอนนี้ปฏาจาราก็สงสัย จึงได้ถามเขาว่า กิจอื่นที่ฉันต้องการจะพบคนอื่น ไม่มี ฉันต้องการคนๆ คนเดียว คือ คนในตระกูลนั้นมหาเศรษฐีตระกูล เท่านั้น สำหรับบุคคลอื่นไม่เกี่ยว ฉันจึงถามถึงเขา<O:p</O:p
    สำหรับบุรุษผู้นั้นก็บอกว่า แม่อย่าถามเลย ตระกูลนี้ไม่ควรจะถาม แกก็พูดเป็นปัญหาอยู่นั้น จะบอกตรงๆ แกก็ไม่บอก สำหรับปฏาจาราก็บอกว่า พ่อคุณแม่คุณ กรุณาบอกฉันเถิดว่า รู้จักหรือเปล่า เวลานี้สุขสบายไหม สำหรับชายคนนั้นก็บอกว่า แม่คุณจะบอกให้ฟัง วันนี้แม่เห็นฝนตกไหม เมื่อคืนนี้ที่ผ่านมา ฝนมันจนรุ่ง แม่มหาจำเริญ เธอทราบบ้างหรือเปล่า ปฏาจาราจึงได้บอกว่า ทราบ พ่อ สำหรับฝนเมื่อคืนนี้ ตกยังรุ่ง แต่ทว่าฉันคิดว่า ฝนที่ตกนี้ ฝนตกเฉพาะแต่ฉันเท่านั้น ไม่ใช่ตกเพื่อบุคคลอื่นเลย เธอก็ไม่ได้บอกเรื่องของเธอ แต่ว่าฉันจะบอกเหตุ ที่ฝนตกเพื่อฉันแก่ท่านภายหลัง <O:p</O:p
    หมายความว่า เธอบอกว่า ฝนที่ตกเมื่อคืนนี้ ที่ท่านบอกว่า มันตกหนักมีทั้งฝนมีทั้งลม มันตกเฉพาะเพื่อฉัน ไม่ใช่เพื่อคนอื่น แต่เรื่องนี้จะบอกภายหลัง ลำดับ ขอท่านโปรดบอกความเป็นไป ในเรือนของท่านเศรษฐี<O:p</O:p
    นั้นด้วย<O:p</O:p
    สำหรับบุรุษนั้นจึงบอกว่า แม่คุณ วันนี้ ในเวลากลางคืนมหาเศรษฐีที่ถามนั้นแหละ ฝนมันตกหนัก และลมก็พัดจัดบ้านเรือนก็พังหมด ทรัพย์สินทั้งหลายถูกลมและฝนทำลายสิ้นทับเอาคนทั้ง ๓ คนตายไปคือ<O:p</O:p
    ท่านมหาเศรษฐี<O:p</O:p
    ภรรยาของท่านเศรษฐี<O:p</O:p
    บุตรชายของท่านเศรษฐี<O:p</O:p
    คนทั้งสาม ตายไปพร้อมๆ กันเมื่อคืนนี้ และในเวลานี้ชาวบ้านก็เอาศพท่านเศรษฐีพ่อ เศรษฐีแม่ เศรษฐีลูก เอาไปเผาอยู่เชิงตะกอนเดี่ยวกัน (เชิงตะกอน หมานความว่า ที่เผาศพ )ในขณะเดียวกัน (เชิงตะกอน หมายความว่า ที่เผาศพ ) ในขณะที่ฉันมา ควันไฟยังไม่หมด ถ่านเพลิงก็ยังลุกอยู่ ไฟก็ยังลุกอยู่นางปฎาจาราเมื่อได้ฟัง ชายคนนั้นบอกเพียงเท่านั้น ความเสียใจจากบุตรทั้งสองตายไปต่อหน้าต่อตา คือ หนึ่งถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไปอีกคนหนึ่งโดนน้ำพัด และสามีอันเป็นที่รักของเธอก็ต้องมาตายเพราะอาศัยเธอ จึงถูกงูกัดตาย ความทุกข์หนักปรากฏกับนางอยู่แล้วแล้วเมื่อนางแก้วได้รับฟังว่า บิดามารดา และเมื่อนางแก้วได้รับฟังว่า บิดามารดา และพี่ชาย ตาย ทรัพย์สมบัติทั้งหลาย ต้องถูกถล่มทลายไปด้วยลมและฝน ความเดือดร้อน มันก็เกิดขึ้น ความเสียใจก็เกิดขึ้นในขณะนั้น ยับยั้งไม่อยู่<O:p</O:p
    ตามบาลีท่านกล่าวว่า นางรู้สึกตัว เปลื้องผ้า สยายผมปล่อยให้ผ้าผ่อนหลุดหลุ่ยไปหมด มีอาการวิกลวิกาลเหมือนคนวิกลจริตยืนตะลึงอยู่ แล้วก็ร้องรำพันไปว่า บุตรเราทั้งสองตายแล้ว สามีจองเราก็ตายแล้วที่ทางเปลี่ยว บิดามารดา และพี่ชาย ก็ถูกเผาบนเชิงตะกอนอันเดียวกัน และความตายทั้งหมดนี้ เป็นความตายในคืนเดียวกัน เป็นอันว่าเราผู้มีบาปหนัก ต้องเป็นผู้มีอันที่จะต้องล้มละลาย ฉิบหายไปเสียหมด ผัวตาย ลูกตาย พ่อตาย แม่ตาย พี่ตาย ฉิบหายไปเสียหมด ผัวตาย ลูกตาย พ่อตาย แม่ตาย พี่ตาย ทรัพย์สมบัติทั้งหลายถูกถล่มทลายลงมา ในเมื่อไม่มีคนปกครอง คนเขาก็ยื้อแย่งไปหมด เราหมดที่พึ่ง เธอมีสติเหมือนกับคนบ้า คือ คนไร้สติ<O:p</O:p
    เป็นอันว่า คนทั้งหลายเขาเห็นนางแล้ว เขาเข้าใจว่า นางเป็นหญิงบ้า บอกว่า หญิงบ้ามาแล้วๆ เข้าว่าอย่างนั้น ทุกคนจึงถือเอาหยากเยื่อ กอบฝุ่นบ้าง เอาก้อนดินบ้าง โปรยไปที่ศีรษะเธอบ้างขว้างไปที่ศีรษะเธอบ้าง เป็นอันว่า เธอทุกข์อยู่แล้ว ก็ถูกคนทั้งหลายซึ่งมีความเข้าใจผิดว่าเธอเป็นบ้า ถูกเขาไล่ตีอีก อารมณ์กลุ้มมันก็หนักขึ้น <O:p</O:p
    ในข้อนี้ท่านทั้งหลาย จงนึกถึงพระบาลี ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ปิยโต ชายเต โสโก ปิยโต ชายเต ภยํ ซึ่งแปลเป็นความเข้าใจความว่า ความเศร้าโศกเสียใจเกิดจากความรัก ภัยอันตราย เกิดจากความรัก ปฏาจาราสิ้นคนรักทุกคน สามีเป็นที่รัก ก็สิ้นไปแล้ว บุตรทั้งสองเป็นที่รัก ก็สิ้นไปแล้ว พี่ชายเป็นที่รัก ก็สิ้นไปแล้ว ทรัพย์สินทั้งหลาย ที่จะเป็นเครื่องยังประโยชน์ให้สำเร็จแห่งความสุขทุกอย่างในสมัยที่มีชีวิต ก็หมดไปแล้ว เธอเป็นคนหมดทุกอย่าง ไม่ใช่หมดแค่ทรัพย์สิน หมดที่พึ่งด้วย<O:p</O:p
    เป็นอันว่า เกิดมา ท่านบอกว่า ชาติปิ ทุกฺขา ความเกิดเป็นทุกข์ โลกนี้หาอะไรเที่ยงไม่ได้ ชีวิตสัตว์โลกก็ไม่เที่ยง ทรัพย์สินก็ไม่เที่ยง เมื่อมันไม่เที่ยงแล้ว ก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ทุกท่านอ่านแล้วก็คิดตามด้วย เอามาเปรียบเทียบกับตัวเราถึงเราจะไม่เป็นปฏาจารา แต่ก็คิดว่า ในที่สุด ในวันหน้าถ้าอาการอย่างนี้จะไม่ปรากฏเหมือนนางปฏาจารา แต่สักวันหนึ่งข้างหน้า บิดามารดาเป็นที่รักของเรา ท่านต้องตาย คนทั้งหมด <O:p</O:p
    ที่เรารักก็ต้องตาย ตัวเราเองก็ต้องตาย ทรัพย์สินทั้งหลาย เราจะสิทธิ์ปกครองจากที่ไหน เป็นอันว่า โลกไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า จงอย่ายึดถืออะไรทั้งหมด ในมหาสติปัฏฐานสูตร ขอเล่ากันต่อไป<O:p</O:p
    สมเด็จพระบรมศาสดาประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ท่านกลางบริษัททั้ง ๔ คำว่า บริษัท ๔ ก็คือ <O:p</O:p
    ภิกษุ ได้แก่ พระผู้ชาย<O:p</O:p
    ภิกษุณี พระผู้หญิง<O:p</O:p
    อุบาสก คนนับถือพระศาสนาที่เป็นผู้ชาย<O:p
    อุบาสิกา คนนับถือศาสนาที่เป็นหญิง<O:p</O:p
    ในพระเชตะวันมหาวิหาร ที่กรุงราชคฤห์มหานคร องค์สมเด็จพระชินวรได้ทอดพระเนตรเห็น นางผู้บารมีมาตั้งแสนกัป และมีความสมบูรณ์ไปด้วยอภินิหาร เดินมา องค์สมเด็จพระบรมครู รู้ถึงอดีตของกรรมว่า ผลที่นางบำเพ็ญมาแล้วในกาลก่อน จะเป็นปัจจัยให้นางบรรลุอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา แต่ว่ากรรมที่เธอได้รับมา จะเป็นเรื่องอะไรนั้น ท่านไม่ได้บอก เล่าเรื่องราวของท่านต่อไป<O:p</O:p
    ท่านกล่าวว่า ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงมีพระนามว่า พระปทุมมุตตร ะ นางปฏาจารานั้น เห็นพระเถรีผู้ทรงวินัยรูปหนึ่ง อันองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระปทุมมุตตระ ทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะ คือ เป็นผู้เลิศ เหมือนท้าวสักกะ มาจับที่แขน เหมือนท้าวสักกะ มาจับที่แขน ตั้งไว้ในสวนนันทวัน ไม่รู้ว่าเลิศทางไหน จึงทำความดีแล้ว ตั้งมโนปณิธานปรารถนาว่า แม้หม่อมฉัน ก็พึงได้เป็นผู้มีตำแหน่ง เลิศกว่าพระเถรีทั้งหลาย ในด้านพระวินัยปิฎก<O:p</O:p
    เป็นอันว่า พระเถรีรูปนั้น พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระปทุมมุตตระ คงจะตั้งไว้ในตำแหน่ง เป็นผู้เลิศในด้านวินัย นางจึงสร้างความดี มีการทำบุญ ทำกุศล สมาทานรักษาศีลเจริญภาวนา วิปัสสนาภาวนา ตามฉบับที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน จึงได้ตั้งปณิธานไว้อย่างนั้นว่าขอหม่อมฉันต่อภายภาคหน้า จงเป็นผู้เลิศกว่าหญิงทั้งหลายในด้านพระวินัยปิฎก แล้วก็กล่าวต่อไปว่า ในสำนักของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์ใดองค์หนึ่ง ไม่จำกัดลงไป<O:p</O:p
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าพระปทุมุตตระทรงเล็งแลด้วย อนาคตังสญาณ คือ ญาณ ที่รู้ไปข้างหน้าโน้นในอนาคตก็ทรงทราบว่า ความปรารถนาของเธอจะสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล คือกาลต่อไปข้างหน้า หญิงผู้นี้จะได้เป็นเลิศกว่าพระเถรีทั้งหลาย ในด้านพระธรรมวินัย โดยมีนามว่า ปฏาจาราเถรี ในศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมามาสัมพุทธเจ้า ทรงมีนามว่า พระสมณโคดม<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2008
  4. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่า พระปทุมุตตระ ทรงทราบแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้ว จึงได้ทรงพยากรณ์ตามนั้น<O:p</O:p
    เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ทรงเห็นนางผู้มีความปรารถนามาแล้วด้วยดี มาอย่างนั้น และเป็นผู้สมบูรณ์ไปด้วยอภินิหาร ควรจะได้อรหัตผล และเป็นผู้วินัย เป็นผู้เลิศกว่าหญิงทั้งหลายที่บวชเป็นพระ ในด้านพระวินัย <O:p</O:p
    เมื่อเธอกำลังเดินเข้ามาในที่ไกล จึงได้ดำริว่า ถ้าเว้นเราเสียแต่พียงผู้เดียว ผู้อื่นที่ชื่อว่า สามารถจะเป็นที่พึ่งของหญิงผู้นี้ จะหาไม่ได้ พระองค์จึงได้ทรงทำนางโดยประการหนึ่ง หมายความว่าด้วยอำนาจกำลังฤทธิ์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้นางเดินตรงมาสู่พระมหาวิหาร ชื่อว่า พระเชตะวัน<O:p</O:p
    เวลานั้น ปรากฏว่า บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายเห็นเธอเข้า ก็มีความเข้าใจว่าหญิงบ้า จึงได้เอาไม้บ้าง ท่อนฟืนบ้าง ก้อนหินบ้าง ไล่ตีนางขับไล่นางออกไป ไม่ให้นางเข้ามหาวิหาร สมเด็จพระพิชิตมารจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า โภ ปุริส ดูกร ท่านผู้เจริญ ขอพวกท่านจงหลีกไป ขอท่านทั้งหลายจงอย่าห้ามเธอ จงปล่อยให้เธอเข้ามาให้ใกล้ มาถึงเราตรงนี้<O:p</O:p
    แล้วองค์สมเด็จพระชินสิห์จึงได้ตรัสว่า ภคินี ดูกรน้องหญิงของเอจงผู้มีสติขึ้นมาเถิด หมายความว่า เธอจงกลับได้สติตามเดิมเถิด ทั้งนี้เพราะ จะ ได้ท่านเป็นสงเคราะห์ให้การสืบเนื่องซึ่งกันและกัน(อย่าลืมว่า นับตั้งแต่พระปทุมุตตระทรงพยากรณ์)<O:p</O:p
    เมื่อองค์สมเด็จพระชินวรตรัสอย่างนั้น นางก็กลับได้สติด้วย อำนาจพุทธานุภาพในขณะนั้นเอง นางกำหนดความ หมายว่า มีความรู้สึกตัวว่า เราไม่ได้นุ่งผ้า เราไม่ได้ใส่เสื้อ ปล่อยตัวเป็นชีเปลือย ชักอาย จึงเกิด หิริ และโอตตัปปะ คือ ความละอายใจ จึงได้โหย่ง เป็นการปิดบังอวัยวะที่จะสงวน<O:p</O:p
    ในขณะนั้นเอง บุรุษผู้หนึ่งจึงได้โยนผ้าห่อผืนหนึ่งให้นาง นางห่อผ้าผืนนั้นแล้ว ก้ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ อยู่ใกล้พระบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้าสวยมีผิวสวยเหมือนทองคำ<O:p</O:p
    จึงได้กราบทูลว่า ขอองค์จงเป็นที่พึ่งแก่หม่อมฉันด้วยเถิดพระพุทธเจ้า ข้า เพราะว่า เหยี่ยวเฉี่ยวบุตรของหม่อมฉันไปคนหนึ่งพระเจ้าข้า และบุตรอีกคนหนึ่งก็ถูกน้ำพัดไป สามีตายที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดา พี่ชาย ถูกเรือนทับตาย เขาเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน <O:p</O:p
    เมื่อองค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาสดับฟังคำของนางจึงได้ตรัส อย่าคิดเลย ปฏาจาราน้องหญิง ที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่าน้องหญิง ก็เพื่อให้เธอเบาใจว่า มีที่พึ่ง เธอมาสู่สำนัก ของผู้สามารถที่เป็นที่พึ่งเธอของเธอได้แล้ว เธอจงอย่าคิดว่า บัดนี้บุตรคนหนึ่งของเธอถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป บุตรคนหนึ่งของเธอถูกน้ำพัดไป สามีตายนาทางเปลี่ยว มารดาบิดา และพี่ชายถูกเรือนทับตาย ฉันใด น้ำตาที่เธอไหลออกของเธอผู้ร้องไห้เพราะอยู่ในสังสารวัฏนี้ ในเวลาปิยชน คือ คนผู้เป็นที่รัก มีบุตร เป็นต้น ตาย ความจริง น้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ยังน้อยกว่าน้ำในตาของเธอ ที่เธอร้องไห้ เพราะอาการตายของเคนทั้งหลายแบบนี้ มานับไม่ถ้วน ท่านว่าอย่างนั้น<O:p</O:p
    เมื่อมาสู่องค์สมเด็จพระสัมสัมพุทธเจ้าตรัสให้สติว่า ขึ้นชื่อว่าความตาย ที่พลัดพรากจากกันในระหว่างบุตรก็ดีธิดาก็ดี สามีก็ดี บิดามารดาก็ดี ทรัพย์ก็ดี ถึงแม้ว่าจะไม่ตายด้วยอาการอย่างนี้ แต่ก็ตายมาแล้วในอดีตชาติ อยู่เป็นปริมาณมากมายน้ำตาที่ไหลมาทีละน้อยๆ มันมากกว่าน้ำในมหาสมุทร<O:p</O:p
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้มีพระพุทธฏีกาตรัสเป็นพระคาถาว่า น้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ มีประมาณน้อย น้ำตาของบุคคลผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว เศร้าโศก ไม่ใช้น้อย มากกว่า น้ำในมหาสมุทรนั้น เหตุไรเธอจึงจะประมาทอยู่<O:p</O:p
    เมื่อพระศาสดาสอนอย่างนั้นแล้ว ความโศกในสรีระของนางก็เบาบางลง ถือว่า มันเป็นเรื่องธรรมดา เราจะนั่งเศร้าโศกอยู่เพื่อประโยชน์อะไร<O:p</O:p
    ลำดับนั้น องค์สมเด็จพระประทีปแก้วจึงเตือนอีกว่าปฏาจารา น้องหญิง ขึ้นชื่อว่า ปิยชน มีบุตร เป็นต้น ปิยชนแปลว่า คนเป็นที่รัก ไม่อาจเพื่อเป็นที่รักต้านทาน เป็นที่พึ่ง หรือว่าเป็นที่ป้องกันของผู้ไปสู่ปรโลก คือ บุคคลของผู้ไปสู่ปรโลก เพราะฉะนั้น บุตรเป็นต้นเหล่านั้นถึงแม้จะอยู่ ก็ขึ้นว่า เหมือนไม่มี เพราะเวลาที่เราจะตาย ลูกเต้าพ่อแม่ ช่วยเราไม่ได้ เราต้องตาย ส่วนบัณฑิตที่ชำระระศีลดีแล้ว (บัรฑิต แปลว่า ผู้รู้ คือ ผู้รู้ที่ชำระศีลดีแล้ว คือศีลหมดจดไม่บกพร่อง) ควรชำระทางที่ยังสัตว์ ให้ถึงนิพพานของตนเท่านั้นหมายความว่า เมื่อทำศีลบริสุทธิ์แล้ว ก็ตั้งใจเพื่อพระนิพพานทำลายกิเลสที่มีอยู่ในใจให้พินาศไป เมื่อกิเลสที่มีอยู่ในใจให้นินาศไป เมื่อกิเลสหมดเมื่อไรก้ถึงพระนิพพานเมื่อนั้น<O:p</O:p
    หลังจากนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์จึงได้ตรัสเป็นพุทธภาษิตว่า บุตรทั้งหลาย ไม่มีเพื่อต้านทาน บิดามารดาก็ไม่มี ถึงพวกพ้องก็ไม่มี เมื่อบุคคลถูกความตายเข้าครอบงำแล้ว ความต้านทานในญาติทั้งหลาย ไม่สามารถต้านทานได้ บัญฑิตทราบอำนาจประโยชน์นั้นแล้ว จึงได้สำรวมในศีล คือ ทำศีลให้บริสุทธ์ พึงชำระทางไปนิพพานโดยรวดเร็ว คือ ทำจิตละ อวิชชา<O:p</O:p
    ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา นางปฏาจารา เผากิเลสมีประมาณเท่าฝุ่นในแผ่นเดินแล้ว ก็ตั้งอยู่ใน โสดาบันปัตติผล ในชนทั้งหลายเหล่าอื่นเป็นอันมาก ก็บรรลุมรรคผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติบัน เป็นต้น<O:p</O:p
    ฝ่ายนางปฏาจารา เมื่อเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็กราบทูลองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ขอบรรพชากับพระศาสดา พระศาสดา คือพระพุทธเจ้า ได้ส่งนางไปยังสำนักของนางภิกษุณี ให้บรรพชาแล้ว นางอุปสมบทแล้วปรากฏชื่อว่า ปฏาจารา เพราะนางกลับความประพฤติ หมายความว่า เสียใจเลิกแล้ว ไม่เสียใจต่อไป ถือเป็นเรื่องธรรมดา<O:p</O:p
    วันหนึ่งนางกำนัลเอาน้ำมา ตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลงไป น้ำนั้นก็ไหลไปหน่อยหนึ่ง แล้วก็ขาด คือ ไปหยุดอยู่ เทน้ำไปครั้งที่สองน้ำไหลไปไกลกว่านั้นหน่อยหนึ่ง แล้วก็หยุดอยู่ เพราะว่าน้ำซึมลงไปในดิน เธอก็ได้คติถือเอาเรื่องนี้เป็นนิมิติแห่งการเจริญวิปัสสนาณาญ เป็นการตัดกิเลส คือ เอาน้ำนั้นแหละ เป็นอารมณ์ กำหนดด้วยวัยทั้งสามแล้วคิดว่า สัตว์เหล่านั้นสามแล้วคิดว่า สัตว์เหล่านั้นแหละ เป็นอารมณ์กำหนดด้วยวัยทั้งสามทั้งสามแล้วคิดว่า สัตว์แล้วคิดว่า สัตว์เหล่านี้ตายเสียในปฐมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราลดไปทีแรก ตายเสียในมัชฌิมวัย คือ วัยท่ามกลางก็มี เหมือนน้ำที่เราเทไปครั้งที่สอง และตายในปัจฉิมวัยก้มีเหมือนกับน้ำที่เราเทลงไปวาระที่สาม<O:p</O:p
    สมเด็จพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระคันธกุฏี ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี รัศมี ๖ ประการ ให้ปรากฏดุจว่า พระองค์ยืนอยู่ตรงนั้น ตรัสว่า ปฏาจารา ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นด้วยความเป็นอยู่ในวันเดียวก็ดี <O:p</O:p
    ของผู้เกิดความเสื่อมไปแห่งขันธ์ ๕ นั้น ชื่อว่าประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของบุคคลผู้ไม่เห็นความเกิดขึ้น และไม่เห็นความเสื่อมไปของขันธ์ ๕ ดังนี้แล้ว<O:p</O:p
    องค์สมเด็จพระทีปแก้วจึงกล่าวเป็นพระพุทธเจ้าพระพุทธภาษิตว่า ผู้ใดไม่เห็นความเห็นเกิดขึ้น และเห็นความเสื่อมไป แม้ว่าจะมีชีวิตอยู่ ถึง ๑๐๐ ปี ก็ไม่มีประโยชน์ สู้บุคคลผู้เห็นความเกิดขึ้น ความเสื่อมไปของขันธ์ ๕ แม้แต่วันเดียวก็ไม่ได้ บุคคลประเภทนี้เขามีความประเสริฐกว่า<O:p</O:p
    ครั้งเมื่อจบพระธรรมเทศนาตอนนนี้ ก็ปรากฏว่า นางปฏาจาราได้บรรลุอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลสูงสุดในศาสนา<O:p</O:p
    สำหรับเรื่อง ปฏาจารา ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอควมสุขสวัสดิ์พัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศานานิกชนทุกท่านสวัสดี <O:p</O:p<O:p></O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2008
  5. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,012
    อนุโมทนาครับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งทั้งหลายมันไม่เที่ยง สาธุ
     
  6. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงกับท่านเจ้าของกระทู้
    ที่นำธรรมะดีๆ มาให้อ่านกันครับ

    โลกนี้มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
    ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย เกิดขึ้น มีขึ้น เพราะมีขันธ์ ๕
    ตัดขันธ์ ๕ ได้ก็หมดทุกข์
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
     
  7. ชัยโยๆ

    ชัยโยๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    157
    ค่าพลัง:
    +367
    อนุโมทนาครับ
    เรื่องนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ สำหรับคนที่ยัง หลง และ ยึดติด อยู่กับ วัตถุ และญาติพี่น้องทั้งหลาย จนไม่สามารถสละสิ่งเหล่านั้นได้
    ลองอ่านข้อความต่อไปนี้หลายๆรอบ แล้วจะคิดได้

    ...พระสัมสัมพุทธเจ้าตรัสให้สติว่า

    ขึ้นชื่อว่าความตาย ที่พลัดพรากจากกันในระหว่างบุตรก็ดี ธิดาก็ดี สามีก็ดี บิดามารดาก็ดี ทรัพย์ก็ดี ถึงแม้ว่าจะไม่ตายด้วยอาการอย่างนี้ แต่ก็ตายมาแล้วในอดีตชาติ อยู่เป็นปริมาณมากมายน้ำตาที่ไหลมาทีละน้อยๆ มันมากกว่าน้ำในมหาสมุทร
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้มีพระพุทธฏีกาตรัสเป็นพระคาถาว่า น้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ มีประมาณน้อย น้ำตาของบุคคลผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว เศร้าโศก ไม่ใช้น้อย มากกว่า น้ำในมหาสมุทรนั้น เหตุไรเธอจึงจะประมาทอยู่<o></o>...
     

แชร์หน้านี้

Loading...