۩۞۩:อปริหานิยธรรม:۩۞۩

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 31 มกราคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    อปริหานิยธรรม



    [​IMG]




    ธรรมะวันหยุด

    พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร watdevaraj@hotmail.com


    อปริหานิยธรรม คือ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญอย่างเดียว ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในหมู่มนุษย์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รู้จักประยุกต์ใช้ธรรมะในทางการเมืองการปกครอง เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์ และเกิดความสามัคคีในสังคมสืบไป

    การปกครองทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายอาณาจักร หรือฝ่ายศาสนจักร หากมีคุณธรรม 7 ข้อ ที่ชื่อว่า อปริหานิยธรรม แล้ว ก็จะมีแต่ความเจริญ มีความสามัคคี เป็นปึกแผ่นแน่นหนา ศัตรูไม่สามารถทำลายได้

    ถ้าเราจะส่งเสริมให้ระบอบประชาธิปไตยมั่นคง เกิดเป็นคุณประโยชน์ใหญ่หลวงต่อชาติบ้านเมือง ควรพร้อมเพรียงกันยึดแนวหลักอปริหานิยธรรม 7 ประการ หากสามารถปฏิบัติได้โดยพร้อมเพรียงกันแล้ว การเมืองจะกลายเป็นการเมืองบริสุทธิ์ แก้ปัญหาของชาติได้สำเร็จ เป็นแบบอย่างการเมืองดีเด่นที่โลกจะชื่นชมยินดีมาก

    อปริหานิยธรรม 7 ประการ ประกอบด้วย

    1.หมั่นประชุมกันเป็นประจำ เพราะการประชุมกันบ่อยๆ เป็นการระดมมันสมอง รวมความสามารถที่ทุกคนมี นำมาแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่อง ส่งเสริมพัฒนาหมู่คณะให้มีความเจริญในด้านต่างๆ

    2.พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันปฏิบัติกิจของหมู่คณะ มีความรับผิดชอบร่วมกัน ดำเนินไปอย่างพร้อมเพรียง และเมื่อถึงตอนทำงานก็ต้องทำงานของส่วนรวมให้ดี

    3.ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ ทุกคนที่เป็นสมาชิกของสังคมจะต้องถือระเบียบข้อบังคับเพื่อปฏิบัติอย่างเสมอภาคกัน และเป็นเหตุส่งเสริมให้การปกครองการบริหารเกิดผลดี มีประสิทธิภาพ

    4.เคารพนับถือผู้ใหญ่ เชื่อฟังคำสอนของท่าน ความเป็นผู้ใหญ่กับความเป็นผู้น้อยเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก เพราะการปกครอง การบริหารจำเป็นต้องมีผู้นำและผู้ตาม หน้าที่ปกครอง หน้าที่สั่งการ เป็นต้น เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่หรือผู้นำจำต้องปฏิบัติ

    5.ไม่ลุแก่อำนาจความอยาก ความเห็นแก่ตัว ถ้าใครปฏิบัติได้ดังนี้ย่อมทำให้สังคมมีระเบียบวินัยดีขึ้น สามารถดำรงรักษาสิ่งที่มีคุณค่าของสังคมไว้ได้ยั่งยืน จะไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจ และการปกครอง เป็นต้น

    6.รักสันติภาพ ขัดเกลาจิตใจอยู่เสมอ แสดงถึงความเป็นผู้มีนิสัยดี พร้อมที่จะปฏิบัติดีโดยไม่ประมาท การที่สมาชิกของสังคมเป็นคนดี ย่อมเป็นเกียรติ เป็นศักดิ์ศรี เป็นเครื่องยืนยันความบริสุทธิ์ใจในการปฏิบัติภารกิจได้ดี

    7.ตั้งใจสนับสนุนคนดี ปกป้องคนดี ส่งเสริมคนดี เลือกคนดีมีความสามารถเข้ามาเป็นกำลังพัฒนาหมู่คณะของตน

    คุณธรรมแต่ละข้อ เป็นเหตุให้เกิดความสมานสามัคคีในหมู่คณะ ส่งเสริมคุณภาพในการบริหารปกครอง และทำให้เกิดความสุขความเจริญในหลายๆ ด้าน ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ ทำให้เกิดความสุข"

    --------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09TMHdNUzB6TVE9PQ==
     

แชร์หน้านี้

Loading...