กระทู้เยาวชน กับ ผู้เริ่มศึกษาพระพุทธศาสนาซึ่งไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 23 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เพ้อเจ้อมีแต่คารม เหตุผล-ที่มุ่งดึงศรัทธาคนให้ยึดติดกับตัวบุคคล แต่ไม่ยึดติดกับ พุทธวจน ของจริง จากสัจจะความจริง ทำคนให้หลงทางอยู่แต่ในดงภาษา-อักษร

    เราจะโต เอาตรงที่ไปคัดๆแยกๆโดยเข้าใจว่า นั่นตรงนั้นเป็นพุทธวจนของจริงอย่างว่ามาให้เบิ่งถี่ เอ้า
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เข้าเรื่อง ต่อ

    อนึ่ง เมื่อสิ้นยุคขององค์พระศาสดาแล้ว เวลาล่วงไป และคำสอนแผ่ไปในถิ่นต่างๆ ความเข้าใจในพุทธธรรมก็แปรไปจากเดิม และแตกต่างกันไปได้หลายอย่าง เพราะผู้ถ่ายทอดสืบต่อ มีพื้นความรู้ การศึกษา อบรม สติปัญญาแตกต่างกัน ตีความหมายพุทธธรรมแผกกันไปบ้าง
    นำเอาความรู้ ความเชื่อถือเดิมจากลัทธิศาสนาอื่น เข้ามาผสมแทรกแซงบ้าง อิทธิพลศาสนา และวัฒนธรรม ในท้องถิ่นเข้าผสมผสานบ้าง
    คำสอนบางแง่เด่นขึ้น บางแง่เลือนลง เพราะการย้ำ และเลี่ยงความสนใจ ตามความโน้มเอียง และความถนัดของผู้รักษาคำสอนบ้าง
    ทำให้เกิดความแตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆ เช่น ที่แยกเป็นมหายาน กับเถรวาท ตลอดจนนิกายย่อยๆ ในสองนิกายใหญ่นั้น

    สำหรับเถรวาทนั้น แม้จะได้ชื่อว่าเป็นนิกาย ที่รักษาแบบแผนและคำสอน ดั้งเดิมไว้ได้แม่นยำ ก็มิใช่จะพ้นไปจากความแปรเปลี่ยนได้โดยสิ้น เชิง คำสอนบางส่วน แม้ที่อยู่ในคัมภีร์เอง ก็ยังเป็นปัญหาที่คนรุ่น ปัจจุบัน ต้องนำมาถกเถียง คิดค้นหาหลักฐาน ยืนยัน หรือปฏิเสธความเป็นของแท้แต่ดั้งเดิม ยิ่งความรู้ความเข้าใจ ที่ประชาชน เชื่อถือ และปฏิบัติอยู่ด้วยแล้ว ความคลาดเคลื่อนก็ยิ่งมีได้มาก และชัดเจนยิ่งขึ้น บางกรณีกับเสมือนเป็นของตรงข้าม กับคำสอนเดิม หรือ เกือบจะกลายไปเป็นลัทธิอื่น ที่คำสอนเดิมคัดค้านแล้วก็มี

    ยกตัวอย่างในประเทศไทยนี้ เมื่อพูดถึงคำว่า “กรรม” ความเข้าใจของคนทั่วไป ก็จะเพ่งไปยังกาละส่วนอดีตเจาะจงเอาการกระทำในชาติที่ล่วงแล้วหรือชาติก่อนๆบ้าง
    เพ่งไปยังปรากฏการณ์ส่วนผล คือนึกถึงผลที่ปรากฏในปัจจุบันของการกระทำในอดีตบ้าง
    เพ่งไปยังแง่ที่เสียหายเลวร้าย คือการกระทำชั่วฝ่ายเดียวบ้าง
    เพ่งไปยังอำนาจแสดงผลร้ายของการกระทำความชั่วในชาติก่อนบ้าง และ
    โดยมาก เป็นความเข้าใจตามแง่ต่างๆ เหล่านี้ รวมๆกันไปทั้งหมด ซึ่งเมื่อพิจารณาตัดสิน ตามหลักกรรมที่แท้จริงในพุทธธรรมแล้ว จะเห็นได้ชัดว่า เป็นความเข้าใจที่ห่างไกลจากความหมายที่แท้จริงเป็นอันมาก


    แม้ข้อธรรมอื่นๆ ตลอดจนคำบัญญัติทางธรรมแต่ละคำๆ เช่น อารมณ์ วิญญาณ บารมี สันโดษ อุเบกขา อธิษฐาน บริกรรม ภาวนา วิปัสสนา กาม โลกีย์ โลกุตระ บุญ อิจฉา ฯลฯ ก็ล้วนมีความหมายพิเศษ ในความเข้าใจของประชาชน ซึ่งผิดแปลกไปจากความหมาย ดั้งเดิมในพุทธธรรม โดยตัวความหมายเองบ้าง โดยขอบเขตความหมายบ้าง มากน้อยต่างกันไปในแต่ละคำนั้นๆ ใการศึกษาพุทธธรรม จำเป็นต้องแยกความหมาย ในความเข้าใจของประชาชน ส่วนที่คลาดเคลื่อนนี้ออกไปต่างหาก จึงจะสามารถเข้าใจความหมายที่แท้จริงได้
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เบื่อไอ้พวกนักแต่งตำราขาย..สาวก แต่งขึ้นมาใหม่อีกละซิ..พุทธธรรมกับสังคมรึ ได้กี่เปอร์เซ็นต์ล่ะเที่ยวนี้

    พุทธการกธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ตามปกติหมายถึง บารมี ๑๐ นั่นเอง (ในถาคาบางทีเรียกสั้นๆว่า พุทธธรรม)

    บารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง, บารมีที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์ จึงจะบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า มี ๑๐ คือ

    ๑. ทาน การให้ การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์

    ๒. ศีล ความประพฤติถูกต้อง สุจริต

    ๓. เนกขัมมะ ความปลีกออกจากกามได้ ไม่เห็นแก่การเสพบำเรอ, การออกบวช

    ๔. ปัญญา ความรอบรู้ เข้าถึงความจริง รู้จักคิดพิจารณาแก้ไขปัญหา และดำเนินการจัดการต่างๆ ให้สำเร็จ

    ๕. วิริยะ ความเพียรแกล้วกล้า บากบั่นทำการ ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่

    ๖. ขันติ ความอดทน ควบคุมตนอยู่ได้ในธรรม ในเหตุผล และในแนวทางเพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ยอมลุอำนาจกิเลส

    ๗. สัจจะ ความจริง ซื่อสัตย์ จริงใจ จริงจัง

    ๘. อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ตั้งจุดหมายไว้ดีงามชัดเจนและมุ่งไปเด็ดเดี่ยวแน่วแน่

    ๙. เมตตา ความรัก ความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลหวังให้สรรพสัตว์อยู่ดีมีความสุข

    ๑๐. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง อยู่ในธรรม เรียบสงบสม่ำเสมอ ไม่เอนเอียง ไม่หวั่นไหวไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชังหรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ

    บารมี ๑๐ นั้น จะบริบูรณ์ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญแต่ละบารมีครบสามขั้นหรือสามระดับ จึงแบ่งบารมีเป็น ๓ ระดับ คือ

    ๑. บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นต้น

    ๒. อุปบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นจวนสูงสุด

    ๓. ปรมัตถบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นสูงสุด


    เกณฑ์ ในการแบ่งระดับของบารมีนั้น มีหลายแง่หลายด้าน ขอยกเกณฑ์อย่างง่ายมาให้รู้พอเข้าใจ เช่น ในข้อทาน สละทรัพย์ภายนอกทุกอย่างได้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานบารมี สละอวัยวะ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานอุปบารมี สละชีวิต เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานปรมัตถบารมี

    บารมีในแต่ ละชั้นมี ๑๐ จึงแยกเป็น บารมี ๑๐ (ทศบารมี) อุปบารมี ๑๐ (ทศอุปบารมี) และปรมัตถบารมี ๑๐ (ทศปรมัตถบารมี) รวมทั้งสิ้น เป็นบารมี ๓๐ เรียกเป็นคำศัพท์ว่า สมดึงสบารมี (หรือ สมติงสบารมี) แปลว่า บารมีสามสิบถ้วน หรือบารมีครบเต็มสามสิบ แต่ในภาษาไทย บางทีเรียกสืบๆ กันมาว่า "บารมี ๓๐ ทัศ"
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ


    ในการแสดงพุทธธรรมนี้ ผู้แสดงถือว่าได้พยายามที่จะแสดงตัวพุทธธรรมแท้อย่างที่องค์พระบรมศาสดาทรงสอนและทรงมุ่งหมาย ในกรณีนี้ ได้ตัดความหมายที่ประชาชนเข้าใจออกโดยสิ้นเชิง ไม่นำมาพิจารณาเลย เพราะถือว่าเป็นเรื่องข้างปลาย ไม่จำเป็นต่อการเข้าใจตัวพุทธธรรมที่แท้แต่ประการใด

    แหล่งสำคัญอันเป็นที่มาของเนื้อหา และความหมายของพุทธธรรมที่จะแสดงต่อไปนี้ ได้แก่ คัมภีร์พุทธศาสนา ซึ่งในที่นี้ ถ้าไม่มีกรณีเกี่ยวข้องเป็นพิเศษ จะหมายถึงพระไตรปิฎกบาลีอย่างเดียว เพราะเป็นคัมภีร์ย่อมรับกันทั่วไปแล้วว่าเป็นแหล่งรวบรวมรักษาพุทธธรรม ที่แม่นยำและสมบูรณ์ที่สุด

    แม้กระนั้น ก็ได้เลือกสรรเอาเฉพาะส่วนที่เห็นว่าเป็นหลักการตั้งเดิม เป็นความหมายแท้จริงมาแสดง โดย ยึดเอาหลักความกลมกลืนสอดคล้องกันในหน่วยรวมเป็นหลัก และเพื่อให้มั่นใจ ยิ่งขึ้น จึงได้นำพุทธจริยา และพุทธกิจ ที่ได้ทรงบำเพ็ญมาประกอบการ พิจารณาตัดสินแนวทางและขอบเขตของพุทธธรรมด้วย


    เมื่อได้หลักการพิจารณาเหล่านี้มาเป็นเครื่องกำกับการแสดงแล้ว ก็มั่นใจว่าจะสามารถแสดงสาระแห่งพุทธธรรมได้ใกล้เคียงตัวแท้เป็นอย่างยิ่ง


    อย่างไรก็ตาม ในขั้นพื้นฐาน การแสดงนี้ก็ยังต้องขึ้นกับกำลังสติปัญญาของผู้แสดง และความโน้มเอียงบางอย่างที่ผู้แสดงเองอาจไม่รู้ตัวอยู่นั่นเอง ฉะนั้น จึงขอให้ถือว่าเป็นความพยายามครั้งหนึ่ง ที่จะแสดงพุทธธรรมให้ถูกต้องที่สุดตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนและมุ่งหมาย โดยอาศัยวิธีการและหลักการแสดงพร้อมทั้งหลักฐานต่างๆที่เชื่อว่าให้ความมั่นใจมากที่สุด
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ถ้าแยกพุทธธรรมออกเป็น ๒ ส่วน คือ สัจธรรมส่วนหนึ่ง กับ จริยธรรมส่วนหนึ่ง

    สัจธรรมเป็นส่วนแสดงสภาวะ หรือรูปลักษณะตัวจริง และจริยธรรมเป็นฝ่ายข้อประพฤติปฏิบัติทั้งหมด

    ก็จะเห็นว่าสัจธรรมในพุทธศาสนา ย่อมหมายถึงคำสอนเกี่ยวกับสภาวะของสิ่งทั้งหลาย หรือ ธรรมชาติ และความเป็นไปโดยธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย หรือกฎธรรมชาตินั่นเอง

    ส่วนจริยธรรม ก็หมายถึง การถือเอาประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจในสภาพ และความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย หรือการรู้กฎธรรมชาติ แล้วนำมาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์

    อีกนัยหนึ่ง สัจธรรม คือ ธรรมชาติ และกฎธรรมดา จริยธรรม คือ ความ รู้ในการประยุกต์สัจธรรม หลักการทั้งหมดนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับตัวการนอกเหนือธรรมชาติ เช่น พระ ผู้สร้าง เป็นต้น แต่ประการใดเลย

    ด้วยเหตุนี้ ในการแสดงพุทธธรรมเพื่อความรู้ความเข้าใจที่มุ่งในแนวทฤษฎี คือ มุ่งให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร มีขอบเขตแค่ไหนเพียงไร จึงควรแสดงควบคู่กันไปทั้งสัจธรรม และจริยธรรม คือแสดงหลักคำสอนในแง่สภาวะ แล้วชี้ถึงคุณค่าที่จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติไว้ด้วยให้เสร็จไปแต่ละอย่างๆ

    ฯลฯ

    อนึ่ง ในบางตอนของข้อเขียนนี้ ได้แสดงความหมายภาษาอังกฤษของศัพท์สำคัญๆไว้ด้วย โดยเหตุผลอย่างน้อย ๓ อย่าง คือ ประการแรก ในภาษาไทยปัจจุบัน ได้มีผู้นำศัพท์ธรรมบางคำมาใช้เป็นศัพท์บัญญัติ สำหรับคำในภาษาอังกฤษ ที่มีความหมายไม่ตรงกับศัพท์ธรรมนั้น อันอาจทำให้ความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ จึงนำความหมายในภาษาอังกฤษ มาแสดงควบไว้ด้วย เพื่อไม่ให้ผู้อ่านถือไปตามความหมายที่มีผู้บัญญัติใช้ใหม่ในภาษาไทย

    ประการที่สอง จำต้องยอมรับความจริงว่า นักศึกษาวิชาการสมัยใหม่จำนวนไม่น้อย เข้าใจความหมายในภาษาไทยได้ชัดเจนขึ้น ในเมื่อเห็นคำภาษาอังกฤษควบอยู่ด้วย

    ประการที่สาม ตำราภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในปัจจุบันนี้ มีจำนวนมาก การรู้ความหมายศัพท์ธรรมที่นิยมใช้ในภาษาอังกฤษ ย่อมเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาที่ต้องการค้นคว้าอย่างกว้างขวางต่อไป

    (พุทธธรรมแต่หน้า 1 ไป)
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ...เมื่อสิ้นยุคขององค์พระศาสดาแล้ว เวลาล่วงไป และคำสอนแผ่ไปในถิ่นต่างๆ ความเข้าใจในพุทธธรรมก็แปรไปจากเดิม และแตกต่างกันไปได้หลายอย่าง เพราะผู้ถ่ายทอดสืบต่อ มีพื้นความรู้ การศึกษา อบรม สติปัญญาแตกต่างกัน ตีความหมายพุทธธรรมแผกกันไปบ้าง
    นำเอาความรู้ ความเชื่อถือเดิมจากลัทธิศาสนาอื่น เข้ามาผสมแทรกแซงบ้าง อิทธิพลศาสนา และวัฒนธรรม ในท้องถิ่นเข้าผสมผสานบ้าง
    คำสอนบางแง่เด่นขึ้น บางแง่เลือนลง เพราะการย้ำ และเลี่ยงความสนใจ ตามความโน้มเอียง และความถนัดของผู้รักษาคำสอนบ้าง
    ทำให้เกิดความแตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆ เช่น ที่แยกเป็นมหายาน กับ เถรวาท ตลอดจนนิกายย่อยๆ ในสองนิกายใหญ่นั้น

    สำหรับเถรวาทนั้น แม้จะได้ชื่อว่าเป็นนิกาย ที่รักษาแบบแผนและคำสอนดั้งเดิมไว้ได้แม่นยำ ก็มิใช่จะพ้นไปจากความแปรเปลี่ยนได้โดยสิ้นเชิง คำสอนบางส่วน แม้ที่อยู่ในคัมภีร์เอง ก็ยังเป็นปัญหาที่คนรุ่นปัจจุบัน ต้องนำมาถกเถียง คิดค้นหาหลักฐาน ยืนยัน หรือปฏิเสธความเป็นของแท้แต่ดั้งเดิม ยิ่งความรู้ความเข้าใจ ที่ประชาชน เชื่อถือ และปฏิบัติอยู่ด้วยแล้ว ความคลาดเคลื่อนก็ยิ่งมีได้มาก และชัดเจนยิ่งขึ้น บางกรณีกับเสมือนเป็นของตรงข้าม กับคำสอนเดิมหรือเกือบจะกลายไปเป็นลัทธิอื่น ที่คำสอนเดิมคัดค้านแล้วก็มี

    ยกตัวอย่างในประเทศไทยนี้ เมื่อพูดถึงคำว่า “กรรมความเข้าใจของคนทั่วไป ก็จะเพ่งไปยังกาละส่วนอดีตเจาะจงเอาการกระทำในชาติที่ล่วงแล้วหรือชาติก่อนๆบ้าง

    เพ่งไปยังปรากฏการณ์ส่วนผล คือนึกถึงผลที่ปรากฏในปัจจุบันของการกระทำในอดีตบ้าง

    เพ่งไปยังแง่ที่เสียหายเลวร้าย คือการกระทำชั่วฝ่ายเดียวบ้าง

    เพ่งไปยังอำนาจแสดงผลร้ายของการกระทำความชั่วในชาติก่อนบ้าง และ
    โดยมาก เป็นความเข้าใจตามแง่ต่างๆ เหล่านี้ รวมๆกันไปทั้งหมด ซึ่งเมื่อพิจารณาตัดสินตามหลักกรรมที่แท้จริงในพุทธธรรมแล้ว จะเห็นได้ชัดว่า เป็นความเข้าใจที่ห่างไกลจากความหมายที่แท้จริงเป็นอันมาก
    ฯลฯ

    ลิงค์กระทู้กรรม

    http://palungjit.org/threads/กรรม-กฎแห่งกรรม-ตามนัยพุทธธรรม.615938/#post-10462452
     

แชร์หน้านี้

Loading...