กระบวนการทำงานของจิต

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย บ้องแบ้ว, 13 มกราคม 2017.

  1. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    กระบวนการทำงานของจิต

    1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอารมณ์

    1.1 ความหมายของอารมณ์

    – อารมณ์ ในหลักพระพุทธศาสนา หมายถึง ธรรมชาติที่จิตเข้าไปรู้ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่มาสัมผัสทางกายและความนึกคิดต่างๆ(ธัมมารมณ์)โดยผ่านทวารทั้ง 6

    – การรู้อารมณ์ของจิต มี 3 แบบ คือ รู้แบบวิญญาณรู้ รู้แบบสัญญารู้และรู้แบบปัญญารู้

    การรู้แบบวิญญาณรู้ เป็นการรู้อารมณ์ตามทวารต่างๆ 6 ทวาร ได้แก่ ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ทำให้เกิดการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกายและการรู้อารมณ์ทางใจ

    การรู้แบบสัญญารู้ เป็นการรู้อารมณ์โดยอาศัยการกำหนดจดจำไว้ เช่น ลักษณะทรวดทรง สี สัณฐานต่างๆ ตลอดจนชื่อเรียกและสมมุติบัญญัติต่างๆ

    การรู้แบบปัญญารู้ เป็นการรู้ตามความเป็นจริง เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นเพื่อทำลายความเห็นผิด

    – ความแตกต่างระหว่างการรู้อารมณ์ของมนุษย์และสัตว์ คือ สัตว์มีการรู้อารมณ์ได้ 2 แบบ คือ รู้แบบวิญญาณรู้และรู้แบบสัญญารู้ แต่มนุษย์สามารถรู้อารมณ์ได้ 3 แบบ คือ รู้แบบวิญญาณรู้ รู้แบบสัญญารู้และรู้แบบปัญญารู้

    1.2 ประเภทของอารมณ์

    – อารมณ์แบ่งตามการรับรู้ทางทวารทั้ง 6 ได้ 6 ประเภท ได้แก่

    • รูปารมณ์ – รูปเป็นอารมณ์ ได้แก่ วัณณรูป คือสีต่างๆ อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิกทางทวารตา

    • สัททารมณ์ – มีเสียงเป็นอารมณ์ ได้แก่ สัททรูป อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิกทางทวารหู

    • คันธารมณ์ – มีกลิ่นเป็นอารมณ์ ได้แก่ คันธรูป อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิกทางทวารจมูก

    • รสารมณ์ – มีรสเป็นอารมณ์ ได้แก่ รสรูป อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิกทางทวารลิ้น

    • โผฏฐัพพารมณ์ – มีการกระทบถูกต้องทางกายเป็นอารมณ์ ได้แก่ ความเย็น-ร้อน ความอ่อน-แข็ง ความหย่อน-ตึง อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิกทางทวารกาย

    • ธัมมารมณ์ – สภาพธรรมที่รู้ได้เฉพาะมโนทวารหรือทางใจ ได้แก่ จิต เจตสิก ปสาทรูป 5 สุขุมรูป 16 นิพพานและบัญญัติ อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิกทางใจ

    – อารมณ์แบ่งตามสภาพการรู้อารมณ์ของจิตได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

    • กามอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ที่น่าปรารถนา

    • มหัคคตอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ที่สงบ

    • โลกุตตรอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์พระนิพพาน

    • บัญญัติอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ที่สมมุติเรียกกล่าวขาน เช่น ภาษาพูด ตัวหนังสือ

    – อารมณ์แบ่งตามกำลังของอารมณ์ได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

    • สามัญอารมณ์ คือ อารมณ์ 6 ชนิดที่เป็นธรรมดาสามัญทั่วไป

    • อธิบดีอารมณ์ เป็นอารมณ์ชนิดพิเศษ มีกำลังอำนาจแรงมาก สามารถทำให้จิตและเจตสิกเข้ายึดอารมณ์นั้นไว้ อารมณ์ที่เป็นอธิบดีต้องเป็นอารมณ์ที่น่ายินดีหรือน่าปรารถนา คือ อิฏฐารมณ์ ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ สภาวอิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่ายินดีของบุคคลทั่วไป โดยสภาพธรรมชาติ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ)ปริกัปปอิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่ายินดีเฉพาะบุคคล ไม่ใช่อารมณ์ที่น่ายินดีตามธรรมชาติ)

    – ความเป็นไปแห่งอารมณ์ จะเกิดขึ้นได้ จิตต้องอาศัยทวาร แต่ก็มีจิตบางประเภทที่ทำหน้าที่รับอารมณ์โดยไม่ต้องอาศัยทวาร ได้แก่ จิต 3 ดวง คือ จุติจิต(จิตที่ทำหน้าที่ตาย)ปฏิสนธิจิต(จิตที่ทำหน้าที่เกิด)และ ภวังคจิต(จิตที่ทำหน้าที่รักษาภพชาติ)

    1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์กับจิต

    – อารมณ์กับจิตแบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ อารมณ์ 6 กับทวารและอารมณ์กับการรู้ของจิต

    – อารมณ์ 6 กับทวาร จิตและเจตสิกจะรู้อารมณ์ 6 อัน ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่สัมผัสกาย(ร้อน เย็น แข็ง อ่อน หย่อน ตึง)และอารมณ์ทางใจ(ความรู้สึกนึกคิด)ได้ต้องอาศัยทวารซึ่งเป็นเสมือนประตูที่ใช้เป็นทางเข้าออกของวิถีจิตให้เกิดการงานรู้อารมณ์ขึ้นมาได้ เช่น จักขุปสาททำหน้าที่เป็นจักขุทวาร คือ เป็นทางให้รูปกระทบกับประสาทตา จึงเกิดจักขุวิญญาณคือ จิตที่เห็นขึ้น ทางทวารอื่นก็เป็นเช่นเดียวกัน

    – อารมณ์กับการรู้ของจิต อารมณ์เปรียบเหมือนความรู้ที่ผูกพันกับจิต ไม่ว่าจะเป็นการรู้ด้วยจิตรู้หรือวิญญาณรู้ การรู้ด้วยสัญญารู้และการรู้ด้วยปัญญารู้ เมื่อสิ่งกระทบกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 ย่อมเกิดการรู้จำเพาะในสิ่งที่มาปรากฏทางทวารต่างๆ การรู้เช่นนี้จัดเป็นวิญญาณรู้หรือจิตรู้ หากมีการปรุงแต่งทางใจ มีการจำได้ ย่อมเกิดการรู้ที่จัดเป็นสัญญารู้ เมื่อมีการพัฒนาความรู้ไปในทางที่ดีงามและถูกต้องตามหลักธรรมชาติ ย่อมทำให้เกิดความรู้ในระดับปัญญารู้ได้

    2 . วิถีจิต : กระบวนการทำงานของจิต

    2.1 ความหมายและประเภทของวิถีจิต

    – วิถีจิต หมายถึง กระบวนการทำงานของจิตที่เกิดขึ้นสืบต่อกันเป็นลำดับ นับตั้งแต่การเกิดขึ้นของอารมณ์หรือสิ่งเร้า ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและความรู้สึกนึกคิดต่างๆ อารมณ์เหล่านี้เมื่อกระทบกับทวารซึ่งได้แก่ ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของจิตเพื่อรับรู้อารมณ์

    – หน้าที่ของจิต เรียกว่า กิจ มี 14 อย่างคือ
    ปฏิสนธกิจ(จิตทำหน้าที่สืบต่อภพใหม่)
    ภวังคกิจ(จิตทำหน้าที่รักษาภพชาติ)
    อาวัชชนกิจ(จิตทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ใหม่)
    ทัสสนกิจ(จิตที่ทำหน้าที่เห็น)
    สวนกิจ(จิตที่ทำหน้าที่ได้ยิน)
    ฆายนกิจ(จิตที่ทำหน้าที่รู้กลิ่น)
    สายนกิจ(จิตที่ทำหน้าที่รู้รส)
    ผุสนกิจ(จิตที่ทำหน้าที่รู้สัมผัส)
    สัมปฏิจฉนกิจ(จิตที่ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ 5)
    สันยตีรณกิจ(จิตที่ทำหน้าที่ไต่สวนอารมณ์)
    โวฏฐัพพนกิจ(จิตที่ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์)
    ชวนกิจ(จิตที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์)
    ตทาลัมพณกิจ(จิตที่ทำหน้าที่รับอารมณ์ต่อจากชวนะ)
    จุติกิจ(จิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดของชีวิต)

    – ธรรมชาติของการเกิดดับของจิต จิตเป็นนามธรรมที่เกิดดับเร็วที่สุด ซึ่งมนุษย์เราไม่สามารถมองเห็นการดับนี้ได้

    – กระบวนการทำงานของจิต จำแนกได้เป็น 2 ประการ ดังนี้

    • การงานที่จิตทำ ได้แก่ การที่จิตขึ้นรับอารณ์ต่างๆ จากทางทวารทั้ง 6

    • จิตที่เป็นภวังค์ ได้แก่ จิตที่ไม่ได้ขึ้นวิถีเพื่อรับอารมณ์ต่างๆ จากทวารทั้ง 6 แต่เป็นจิตที่อยู่สภาพใต้สำนึกหรืออยู่ในกระแสภวังค์และมีอารณ์เป็นเฉพาะที่เรียกว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์และคตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งที่ติดมาตั้งแต่ปฏิสนธิ

    – ประเภทของวิถีจิต แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กามวิถีและอัปปนาวิถี

    • กามวิถี หมายถึง จิตที่ปรากฏขึ้นเพื่อรับอารมณ์ทั้ง 6 ที่เกี่ยวกับกามธรรม คือ เป็นสิ่งที่น่าใคร่ น่าพอใจ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

    กามชวนปัญจทวารวิถีหรือปัญจทวารวิถี(วิถีจิตที่ปรากฏขึ้นรับอารมณ์ทั้ง 5 โดยเกิดขึ้นในปัจจุบันเท่านั้น)

    กามชวนมโนทวารวิถี หรือ มโนทวารวิถี(วิถีจิตที่ปรากฏขึ้นรับอารมณ์ทั้ง 6 โดยไม่จำกัดว่าเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคตหรือกาลวิมุตติ คือ พ้นจากอดีต ปัจจุบัน อนาคต)

    • อัปปนาวิถี หมายถึง จิตที่เข้าถึงความแนบแน่นกับอารมณ์และเป็นไปกับการทำลายกิเลส คำว่า อัปปนา แปลว่า ทำลาย หมายถึง ทำลายกิเลส ได้แก่ นิวรณ์ธรรม โดยอัปปนาวิถี แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

    โลกียอัปปนาวิถี(วิถีจิตของบุคคลผุ้ปฏิบัติกรรมฐาน)

    โลกุตตรอัปปนาวิถี(วิถีจิตของบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอันแก่กล้า)

    2.2 วิถีทางปัญจทวาร

    – วิถีจิตทางปัญจทวาร หมายถึง วิถีจิตที่ปรากฏขึ้นเพื่อรับอารมณ์ 5 ประเภทที่มาปรากฏทางทวารทั้ง 5 โดยมีสภาพอารมณ์ที่กำลังเกิดในปัจจุบันเท่านั้น แบ่งเป็น 5 วิถี ได้แก่ จักขุทวารวิถี โสตทวารวิถี ฆานทวารวิถี ชิวหาทวารวิถีและกายทวารวิถี

    – วิถีจิตจะเกิดขึ้นตามลำดับความเป็นไปของวิถีจิต รวม 17 ขณะ

    – เหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดวิถีจิตทางปัญจทวาร
    o จักขุทวารวิถี อาศัยธรรม 4 ประการ ได้แก่

    จักขุปสาท(มีประสาทตาดี)
    รูปารมณ์(มีวัตถุสิ่งของที่มองเห็น)
    อาโลก(มีแสงสว่าง)
    มนสิการ(มีความใส่ใจต่อการดู)

    • โสตทวารวิถี อาศัยธรรม 4 ประการ ได้แก่

    โสตปสาท(มีประสาทหูดี)
    สัททารมณ์(มีเสียงมาปรากฏ)
    อากาศ(มีช่องว่างของหู)
    มนสิการ(มีความใส่ใจต่อการฟัง)

    • ฆานทวารวิถี อาศัยธรรม 4 ประการ ได้แก่

    ฆานปสาท(มีประสาทจมูกดี)
    คันธารมณ์(มีกลิ่นมาปรากฏ)
    วาโย(มีลม)
    มนสิการ(มีความใส่ใจต่อการรับรู้กลิ่น)

    • ชิวหาทวารวิถี อาศัยธรรม 4 ประการ ได้แก่

    ชิวหาปสาท(มีประสาทลิ้นดี)
    รสารมณ์(มีรสมาปรากฏ)
    อาโป(มีน้ำ)
    มนสิการ(มีความใส่ใจต่อการรับรู้รส)

    • กายทวารวิถี อาศัยธรรม 4 ประการ ได้แก่

    กายปสาท(มีกายประสาทดี)
    โผฏฐัพพารมณ์(มีผัสสะต่างๆ ได้แก่ เย็น ร้อน แข็ง หย่อน ตึง มากระทบกาย)
    ถัทธ(มีปถวี)
    มนสิการ(มีความใส่ใจในการรับรู้อารมณ์)

    – สิ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของวิถีจิตในการรับรู้อารมณ์ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ ได้แก่

    • อัธยาศัยของแต่ละบุคคล ได้แก่ ผู้นั้นมีอัธยาศัยยินดีหรือพอใจในประเภทอารมณ์ต่างๆ

    • ความแรงของอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์นั้นมีความเด่นชัดหรือมีกำลัง ก็จะทำให้วิถีจิตตามสภาพของอารมณ์ที่ปรากฏตามทวารต่างๆ

    – ความเป็นไปของอารมณ์ในปัญจทวารวิถีแบ่งตามความแรงของอารมณ์ได้ 4 ประการ คือ

    อติมหันตารมณ์(มีกำลังแรงมากที่สุด)
    มหันตารมณ์(มีกำลังแรง)
    ปริตรตารมณ์(มีกำลังอ่อน)
    อติปริตรตารมณ์(มีกำลังอ่อนมากที่สุด)

    2.3 วิถีจิตทางมโนทวาร

    – วิถีจิตทางมโนทวาร แบ่งได้ 2 ประเภท คือ กามชวนมโนทวารวิถีและอัปปนาชวนะมโนทวาร

    – กามชวนมโนทวารวิถี หมายถึง วิถีจิตที่เกิดทางใจในกามวิถีที่มีอารมณ์เป็นกามธรรม รวมทั้งสภาพธรรมที่เรียกว่าโลกธรรม ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์

    • ลักษณะอารมณ์ทีเกิดทางกามชวนมโนทวารวิถี แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่

    อติวิภูตารมณ์(อารมณ์ที่ปรากฏทางใจชัดมากที่สุด)
    วิภูตารมณ์(อารมณ์ที่ปรากฏชัดทางใจ)
    อวิภูตารมณ์(อารมณ์ที่ไม่ปรากฏชัดทางใจ)
    อติอวิภูตารมณ์(อารมณ์ที่ไม่ปรากฏชัดทางใจเลย

    • กามชวนมโนทวารวิถีที่เกิดทางใจในรูปของอารมณ์ 6 มี 2 ลักษณะ คือ อารมณ์ 6 ที่ปรากฏทางใจโดยตรงและอารมณ์ 6 ที่ปรากฏทางใจโดยเกิดต่อเนื่องจากวิถีจิตทางปัญจทวาร

    – อัปปนาชวนมโนทวารวิถี หมายถึง วิถีจิตที่รับอารมณ์ละเอียดและแนบแน่ในอารมณ์นั้นๆ เป็นวิถีจิตที่พิเศษและมีอำนาจ ซึ่งเกิดได้เฉพาะทางใจเท่านั้น อัปปนาวิถีแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โลกียอัปปนาวิถีและโลกุตตรอัปปนาวิถี

    2.4 การประยุกต์วิถีจิตในการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย

    – ผู้ป่วยใกล้ตาย หมายถึง ผู้ที่มีอาการแสดงต่างๆ ที่เป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่าจะมีชีวิตอยู่ไม่นาน

    – ความตาย ในความหมายทั่วไป หมายถึง การสิ้นสุดของชีวิต ในหลักพระพุทธศาสนา กล่าวถึงความตายเป็น 2 ประการ ได้แก่

    กาลมรณะ(ถึงเวลาที่จะต้องตาย)
    อกาลมรณะ(ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องตาย)

    – มรณุปปัตติ มาจากคำว่า มรณะ + อุปปัตติ คำว่า มรณะ แปลว่า ตายและอุปัตติ แปลว่า ความเกิดขึ้น ดังนั้น มรณุปปัตติ หมายถึง ความตายและการเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าได้แสดงถึงมรณุปปัตติ ไว้ 4 ประการ คือ

    • อายุกขยะมรณะ ตายโดยสิ้นอายุ
    • กัมมักขยมรณะ ตายโดยสิ้นกรรม
    • อุภยักขยะมรณะ ตายเพราะสิ้นอายุและกรรม
    • อุปัจเฉทกมรณะ ตายด้วยอุบัติเหตุต่างๆ หรือมีกรรมมาตัดรอนทั้งๆ ที่ยังไม่สิ้นอายุขัยหรือสิ้นกรรม

    – อารมณ์และวิถีจิตเมื่อเวลาใกล้ตาย แยกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ มรณาสันนกาล และ มรณาสันนวิถี

    • มรณาสันนกาล หมายถึง เวลาใกล้จะตาย ในระยะนี้ผู้ที่ใกล้จะตาย ย่อมมีอารมณ์มาปรากฏอยู่เสมอไม่ว่าทวารใดทวารหนึ่ง โดยอำนาจกรรมที่จะส่งผลได้ตามลำดับ มี 4 ประเภท คือ

    กรรมหนัก(คุรกรรม)กรรมที่กระทำในเวลาใกล้ตายหรือระลึกได้ใกล้ตาย(อาสันนกรรม)กรรมที่เคยทำเป็นประจำหรือทำจนเคยชิน(อาจิณณกรรม)และกรรมที่กระทำมาอย่างไม่ตั้งใจหรือกรรมเล็กๆ น้อยๆ(กตัตตากรรม)

    • มรณาสันนวิถี หมายถึง วิถีจิตสุดท้ายที่ใกล้จะตาย เมื่อวิถีจิตนี้เกิดขึ้นแล้วจะไม่มีวิถีจิตอื่นๆ เกิดขึ้นคั่นระหว่างจุติจิตเลย มรณาสันนวิถี แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ มรณาสันนวิถีทางปัญจทวาร คือ วิถีจิตของบุคคลทั้งหลายเมื่อใกล้จะตายที่มีอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส หรือสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งมาปรากฏทางทวารทั้ง 5 อย่างใดอย่างหนึ่งและมรณาสันนวิถีทางมโนทวาร คือ วิถีจิตของบุคคลทั้งหลายเมื่อใกล้จะตายที่มีอารมณ์มาปรากฏทางใจ

    – อารมณ์ของมรณาสันนวิถีหรือภาวะใกล้ตาย เมื่อใกล้ตายจะมีนิมิต 3 ประการเกิดขึ้น คือ กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ในทวารหนึ่งในจำนวนทวารทั้ง 6 ดังนี้

    • กรรมอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ที่เกี่ยวกับกุศลและอกุศลมาปรากฏในขณะใกล้ตาย

    • กรรมนิมิตอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและสภาพที่รู้ได้ทางใจที่เกี่ยวกับการกระทำกุศลและอกุศล

    • คตินิมิตอารมณ์ ได้แก่ นิมิตเครื่องหมายอารมณ์ที่จะนำไปสู่ภพภูมิที่ดีหรือภพภูมิที่ไม่ดี โดยปรากฏได้ในทวารทั้ง 6 แต่ส่วนมากเห็นทางตา(จักขุทวาร)กับทางใจ(มโนทวาร)

    – ลักษณะอาการที่แสดงภาวะใกล้ตาย ทางการแพทย์ได้สรุปอาการที่แสดงว่าผู้ป่วยใกล้ตายไว้ดังนี้

    • อุณหภูมิของร่างกายจะสูงกว่าปกติ ผิวหนังเย็นชื้น หน้าซีด ชีพจรไม่สม่ำเสมอ

    • การหายใจลำบาก หายใจเร็วกว่าปกติ และหายใจมีเสียงดัง

    • ความดันโลหิตต่ำลง การไหลเวียนในหลอดเลือดส่วนปลายจะเสียไป

    • ระบบกล้ามเนื้อ ขากรรไกรและกล้ามเนื้อหน้าหย่อนตัวลง

    • การรับรู้ของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ค่อยๆ เสียไป

    – แนวทางการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย

    • ทางกาย ช่วยให้บุคคลนั้นมีความสบายทางกายให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

    • ทางจิตใจ ช่วยให้ผู้ป่วยมีจิตใจที่สงบเย็น มีความอบอุ่นใจและเป็นสุขในวาระสุดท้ายของชีวิต

    • ทางอารมณ์ ช่วยปรับอารมณ์ในระหว่างที่มีความสับสนและเกิดความกลัวและเป็นการให้อารมณ์ใกล้ตายที่ดี

    • ทางสังคม ช่วยลดความทุกข์ใจของญาติก่อนที่ผู้ป่วยจะสิ้นชีวิต และภายหลังความตาย

    3. สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินอารมณ์

    3.1 วิปลาส

    – วิปลาส หมายถึง ความรู้ที่คลาดเคลื่อนไปจากสภาพแห่งความเป็นจริง ได้แก่
    ความงาม(สุภะ)
    ความสุข(สุขะ)
    ความเที่ยง(นิจจะ)
    เป็นตัวตน(อัตตะ)
    ทำให้ประพฤติปฏิบัติไม่ถูกต้องต่อโลก ต่อชีวิต ต่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวงและเป็นเครื่องกีดขวางบังตาไม่ให้มองเห็นสภาพความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งปวง

    – สภาพความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งปวง ได้แก่

    • สิ่งทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่สวยงาม เรียกว่า อสุภะ
    • สิ่งทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่สุขไม่สบาย เรียกว่า ทุกขะ
    • สิ่งทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน เรียกว่า อนิจจัง
    • สิ่งทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน หรือพึงบังคับบัญชาได้ เรียกว่า อนัตตา

    – สิ่งที่ทำให้เกิดความวิปลาส ได้แก่

    • สัญญาวิปลาส ได้แก่ ความวิปลาสทางความจำ หรือมีความรู้ผิดพลาด เช่น เห็นเชือกเป็นงู เห็นหุ่นฟางในท้องนาเป็นคน

    • จิตตวิปลาส ได้แก่ ความวิปลาสทางจิต หรือความคิดผิดพลาด มีความเข้าใจผิด เช่น คนบ้าเอาหญ้ามากินเป็นอาหาร คนจิตฟั่นเฟือนเห็นคนเข้ามาคิดว่าเขาจะทำร้าย

    • ทิฏฐิวิปลาส ได้แก่ ความวิปลาสทางเห็นผิดทางความเห็น ได้แก่ เห็นผิด หรือทัศนะที่ผิด เช่น การเห็นว่าโลกแบน สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะมีผู้สร้างหรือมีผู้จัดแจง

    – ความปรากฏแห่งความวิปลาสธรรม มี 4 ประการ ได้แก่ สุภวิปลาส สุขวิปลาส นิจจวิปลาส และอัตตวิปลาส

    • สุภวิปลาส – เห็นสิ่งที่ไม่สวยงามว่าสวยงาม
    • สุขวิลาส – เห็นในสิ่งที่ไม่สุขไม่สบายว่าสุขสบาย
    • นิจจวิปลาส – เห็นในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนว่าเที่ยง
    • อัตตวิปลาส – เห็นในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าตัวตน

    3.2 กิเลส

    – กิเลส หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมองหรือธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเศร้าหมองหรือเร่าร้อนทั้งกายและใจ

    – ลักษณะของกิเลส มี 3 ประการ ได้แก่
    1) ทำให้จิตเกิดความสกปรกหรือเศร้าหมอง
    2) ทำให้เกิดความมืดมิด ไม่สว่างไสว
    3) ทำให้เกิดความกระวนกระวาย ไม่มีความสงบ

    – ประเภทของกิเลส

    • แบ่งตามลักษณะ ได้ 10 ประเภท คือ

    โลภะ(เศร้าหมองเพราะความยินดี)
    โทสะ(เศร้าหมองเพราะความโกรธ)
    โมหะ(เศร้าหมองเพราะความโง ความหลง)
    มานะ(เศร้าหมองเพราะความเย่อหยิ่ง)
    ทิฏฐิ(เศร้าหมองเพราะความเห็นผิด)
    วิจิกิจฉา(เศร้าหมองเพราะความลังเลสงสัย)
    ถีนะ(เศร้าหมองเพราะความหดหู่)
    อุทธัจจะ(เศร้าหมองเพราะความฟุ้งซ่าน)
    อหิริกะ(เศร้าหมองเพราะความไม่ละอายต่อบาปทุจริต)
    อโนตตัปปะ(เศร้าหมองเพราะไม่กลัวเกรงต่อบาปทุจริต)

    • แบ่งตามสภาพกลุ่ม ได้ 3 กลุ่ม คือ

    กลุ่มโลภะ(ความโลภ)
    กลุ่มโทสะ(ความโกรธ)
    กลุ่มโมหะ(ความหลง)
    เมื่อเกิดขึ้นกับจิตใจ ย่อมเป็นเหตุให้จำผิด คิดผิด และตัดสินผิด เรียกว่า มีความวิปลาสเกิดขึ้น ได้แก่ จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสและสัญญาวิปลาส

    • แบ่งตามอาการ ได้ 3 อาการ คือ

    กิเลสอย่างละเอียด หมายถึง กิเลสในขั้นที่นอนนิ่งอยู่ในสันดานอย่างเงียบ เรียกว่า อกุศลมูล มี 3 ชนิด คือ โลภะ โทสะ โมหะและหากจำแนกเป็น กามราคะ ภาวราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อวิชชา รวม 7 อย่าง เรียกว่า อนุสัยกิเลส

    กิเลสอย่างกลาง หมายถึง กิเลสที่ทำให้จิตใจเกิดความเร่าร้อน ซึ่งเรียกว่า นิวรณ์ หมายถึง เครื่องกั้นจิตที่ทำให้จิตนั้นไม่สามารถบรรลุธรรมในขั้นสูง นิวรณ์ มี 5 อย่าง คือ
    ความพอใจรักใคร่(กามฉันทะ)
    ความพยาบาท
    ความง่วงเหงาหาวนอน(ถีนมิทธะ)
    ความฟุ้งซ่าน(อุทธัจจกุกกุจจะ)
    ความลังเลใจ (วิจิกิจฉา)

    กิเลสอย่างหยาบ ที่เรียกว่า วีติกมกิเลส หมายถึง กิเลสที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดการกระทำผิดศีลหรือการกระทำที่เป็นทุจริตออกมาทางกายและวาจา ได้แก่ กายกรรมทุจริต 3 ประการ(ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และประพฤติผิดในกาม)วจีทุจริต 4 ประการ(พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อและพูดคำหยาบ)

    – การประหานกิเลส มี 3 ประเภท ดังนี้

    • การประหานกิเลสอย่างหยาบ ต้องอาศัยศีล เรียกว่า ตทังคปหาน หมายถึงการประหานกิเลสเพียงชั่วคราวหรือบางขณะเท่านั้น

    • การประหานกิเลสอย่างกลาง ต้องอาศัยสมาธิ เรียกว่า วิกขัมภนปหาน หมายถึง การประหานกิเลสโดยการข่มไว้

    • การประหานกิเลสอย่างละเอียด ต้องอาศัยปัญญา เรียกว่า สมุจเฉทปหาน หมายถึง การประหานกิเลสได้โดยเด็ดขาด สามารถทำลายอนุสัยกิเลสได้ โดยไม่ทำให้กิเลสเหล่านี้เกิดขึ้นได้อีกเลย

    3.3 สัมมาทิฏฐิ

    – สัมมาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นหรือความเข้าใจอันถูกต้อง ถ้าในความหมายในทางโลก หมายถึง ความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หากในความหมายทางธรรม หมายถึง ความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง เห็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย เช่น เห็นถูกต้องในอริยสัจจ์ 4 ประการ ได้แก่ รู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธและมรรค โดยแบ่งได้ 2 ประการ ได้แก่

    โลกียสัมมาทิฏฐิ(ทางโลก)
    โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ(เหนือโลก)

    – ปัจจัยที่ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ แบ่งได้ 2 ประการ ได้แก่

    • ปรโตโฆสะ หมายถึง องค์ประกอบภายนอกที่ช่วยทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ปรโตโฆสะ ได้แก่ เสียงที่ดีงาม เสียงที่ถูกต้อง เสียงที่บอกกล่าวชี้แจงความจริง ความมีเหตุผล มีประโยชน์ เป็นเสียงแห่งความปรารถนาดี สิ่งเหล่านี้เกิดจากแหล่งที่ดี คือ ได้จากบุคคลที่เป็นคนดี มีปัญญาและมีคุณธรรม ที่เรียกว่าสัตบุรุษหรือบัณฑิต ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือ แนะนำสั่งสอน ชักนำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ซึ่งรวมเรียกว่า กัลยาณมิตร

    • โยนิโสมนสิการ หมายถึง องค์ประกอบภายในที่ช่วยทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ได้แก่ การทำใจโดยแยบคาย ซึ่งการทำใจโดยแยบคายมีความหมายในลักษณะต่างๆ ได้แก่

    อุบายมนสิการ แปลว่า คิดพิจารณาโดยอุบาย ได้แก่ คิดอย่างถูกวิธี คิดให้ถูกวิธีที่จะเข้าถึงความจริง ทำให้รู้สภาพของลักษณะที่เป็นเฉพาะและเป็นลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งหลาย

    ปถมนสิการ แปลว่า คิดเป็นทางหรือคิดถูกทาง คิดได้อย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ สามารถจัดลำดับเป็นขั้นตอน มีความคิดเป็นระเบียบตามแนวเหตุผล

    การณมนสิการ แปลว่า คิดอย่างเหตุผล สามารถคิดสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย พิจารณาสืบสาวหาเหตุหรือที่มาซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาตามลำดับ

    อุปปาทกมนสิการ แปลว่า คิดให้เกิดผล เป็นการคิดอย่างมีเป้าหมาย เช่น พิจารณาสิ่งที่ทำให้หายโกรธ มีสติหรือทำให้จิตใจเข้มแข็ง

    – ความสัมพันธ์ระหว่างปรโตโฆสะและโยนิโสมนสิการ คือ การสร้างเหตุแห่งสัมมาทิฏฐิต้องอาศัยการเริ่มต้นจากองค์ประกอบภายนอก ได้แก่ ปรโตโฆสะ นั่นก็คือ กัลยาณมิตร แต่เมื่อมีการเชื่อมโยงความคิดให้เข้าสู่ระดับภายใน จำเป็นต้องอาศัย โยนิโสมนสิการ ในการดำเนินกระบวนธรรมให้ดำเนินก้าวหน้าต่อไปจนถึงที่สุด

    4 . การพัฒนาจิตด้วยสติปัฏฐาน 4

    4.1 แนวคิดของการพัฒนาจิตด้วยสติปัฏฐาน

    – สติปัฏฐาน หมายถึง ฐานที่รองรับการกำหนดของสติอย่างประเสริฐ อันเป็นเหตุที่จะให้เกิดวิปัสสนาปัญญา ซึ่งวิปัสสนานั้นเป็นชื่อของปัญญาที่เห็นความจริงของสภาวธรรม คือ ขันธ์ 5 หรือรูป-นามตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา

    – สติปัฏฐานมี 4 อย่าง คือ

    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน(พิจารณากาย)
    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(พิจารณาเวทนา)
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(พิจารณาจิต)
    ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน(พิจารณาธรรม)

    – ความจำเป็นของการพัฒนาจิตด้วยสติปัฏฐาน สติที่ระลึกคือเข้าไปตั้งไว้ที่ธรรมชาติ 4 อย่าง มีกายเป็นต้น เป็นผู้ป้องกันตัณหา วิปัสสนาปัญญาเป็นผู้ละตัณหา เปรียบเหมือนว่า การที่บุคคลจะวิดน้ำในเรือที่รูรั่ว เขาจะทำได้สำเร็จก็ต่อเมื่อได้อุดรูรั่วเรือเสียก่อน เช่นเดียวกัน การที่วิปัสสนาจะเกิดขึ้นมาละตัณหาได้สำเร็จ ก็ต่อเมื่อผู้นั้นได้เจริญสติปัฏฐาน ทำสติให้เข้าไปตั้งไว้ในกายเป็นต้น เพื่ออุดรูรั่วคือวิปลาสที่กระแสตัณหาจะอาศัยเป็นช่องทางเล็ดลอดเข้าไปเสียก่อนเท่านั้น

    4.2 การเจริญสติปัฏฐาน

    – ความรู้พื้นฐานในการเจริญสติปัฏฐาน

    • รู้ทวาร 6 คือ รับรู้อารมณ์ของจิตทางไหน ทางนั้นเรียกว่าทวาร
    • รู้อารมณ์ 6 คือ รับรู้สิ่งที่จิตเข้าไปรู้
    • รู้ว่าอะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูปทางทวารทั้ง 6
    • รู้ว่าจะกำหนดนามอะไร กำหนดรูปอะไร ในทวารทั้ง 6
    • รู้วิธีกำหนดหรือการวางใจในอารมณ์นั้นๆ และรู้เหตุผลของการที่ต้องกำหนดนั้น

    – องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในการเจริญสติปัฏฐาน ประกอบด้วย 2 ฝ่าย ได้แก่

    • ฝ่ายถูกกำหนด หรือ ผู้ถูกดู หมายถึง อารมณ์ที่ถูกกำหนด ได้แก่ กาย เวทนา จิตหรือธรรม

    • ฝ่ายดูอารมณ์หรือกำหนดรู้อารมณ์ เป็นผู้ทำการงาน ได้แก่

    อาตาปี(ความเพียร)
    สัมปชาโน(ปัญญา)
    สติมา(สติ)

    ทั้ง 3 นี้จัดว่าเป็นองค์ของสติปัฏฐาน เรียกว่า โยคาวจร เป็นธรรมชาติที่ร่วมกันทำการงาน

    – หลักการฝึกสติปัฏฐาน มี 4 ประการ ได้แก่

    • จัดระเบียบในเรือนใจ คือ ต้องมีสติ ความระลึกรู้ในอารมณ์ ซึ่งจะเข้าไปช่วยสะสางและจัดระเบียบให้แก่จิตใจที่เต็มไปด้วยความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ด้วยการเฝ้าสังเกตุสิ่งที่สลับซับซ้อนในจิตใจ

    • เรียกชื่อให้ถูกต้อง ด้วยการเรียนรู้สภาวธรรมความเป็นจริงว่า อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม

    • ตรงดิ่งแห่งการมอง คือ เพ่งเล็งในอารมณ์ได้แยบคายถูกต้องตามความเป็นจริงด้วยสัมมาทิฏฐิและมีโยนิโสมนสิการ

    • มีความเนิบช้า เพื่อให้เกิดความสำรวมในการกระทำนั้นๆ เช่น ในการเคลื่อนไหวอาจต้องช้าลงเล็กน้อย แต่ไม่ทำให้ผิดปกติไป ทั้งนี้ เพื่อให้สติตามทัน

    4.3 ผลของการเจริญสติปัฏฐาน

    – การที่จะแจ้งในพระไตรลักษณ์อันเป็นความจริงของธรรมชาติ 3 ประการ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขังและอนัตตา ได้นั้น ต้องเข้าใจว่าพระไตรลักษณ์เป็นสามัญลักษณะของรูปและนาม ถ้าเปรียบไตรลักษณ์เหมือนลวดลายบนตัวเสือ จะเห็นลายเสือได้ต้องดูที่ตัวเสือคือรูปนาม คือการปฏิบัติตามหลักแห่งสติปัฏฐาน

    – การที่ไม่เห็นสิ่งซึ่งเป็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง 3 ประการคือ พระไตรลักษณ์ได้โดยง่าย เพราะมีสิ่งปิดบังไว้ คือ สันตติ อิริยาบถและฆนสัญญา ตามลำดับ

    • สันตติ หมายถึง การสืบต่อของรูปนามที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างรวดเร็วจึงทำให้ไม่เห็นความเกิดขึ้นและดับไปของนามรูป

    • การที่เราเห็นทุกข์ ทั้งๆ ที่ทุกข์นั้นเกิดขึ้นเสมอกับอิริยาบถเก่า ก็เพราะอิริยาบถใหม่นั้นมาปิดบังเอาไว้ เพราะอิริยาบถใหม่ที่เพิ่งเปลี่ยนมานั้นยังไม่มีทุกขเวทนา

    • ฆนสัญญา คือ การรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนของรูปและนาม ซึ่งหมายความว่า การเป็นอยู่รวมกันของสภาวธรรมนั่นเอง จึงทำให้สำคัญผิดว่านามรูปเป็นปึกแผ่น มีสาระ เมื่อความสำคัญในสาระเกิดขึ้น ความสำคัญว่าเที่ยงเป็นสุข เป็นตัวตนหรือมีตัวตนก็เกิดขึ้น

    – ผลของการเจริญสติปัฏฐาน มี 7 ประการ ได้แก่

    • สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์จากกิเลส
    • พ้นจากความโศก
    • พ้นจากการเพ้อรำพัน
    • สามารถดับทุกข์ที่เกิดทางกาย
    • สามารถดับทุกข์ที่เกิดทางใจ
    • ยังให้บรรลุพระธรรมวิเศษ
    • ยังให้แจ้งในพระนิพพาน

    Credit : https://be7herb.wordpress.com/สุโขทัยธรรมธิราช/ธรรมานามัย/หน่วยที่-8-15/13-กระบวนการทำงานของจิต/ FB_IMG_1484293730091.jpg
     
  2. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ขอบคุณครับที่นำมาให้อ่าน ผมก็พึ่งจะได้อ่านเป็นครั้งแรกว่า มีแบบนี้
    เพราะไม่เคยไปหาอ่านจากตำราเลย ส่วนมากจะอ่านดู สุ่มดูจากหลวงปู่หลวงตา ที่ว่ามีชื่อเสียง แต่อ่านแล้วก็งั้นๆ สู้อ่านจากที่คุณนำมาไม่ได้ ขอบคุณครับ
    โดยเฉพาะเรื่องสติปัฏฐานสี่....เป็นความจริงมากที่ต้องเกิดปัญญาจากการเห็นและเข้าใจในพระไตรลักษณ์ให้ได้เสียก่อน...เป็นปัญญาอาวุธที่ ต้องมีก่อน ควรได้ก่อนในชาตินี้...จึงได้ชื่อว่าไม่เสียชาติเกิด....

    ขอบคุณครับ
     
  3. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ส่วนเรื่องของจิต ก็น่าสนใจแค่ จิตสามดวง คือ จุติจิต ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต....จิตที่เป็นตัวตนเพราะความหลงผิดในการยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวมีตน...จิตอวิชชา นั่นเอง..จิตที่เกิดแต่กรรม กรำ กำ
     
  4. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    คนที่ฝึกสติปัฏฐานสี่ มาจริง ถึงจะเข้าใจเรื่องของจิต กระบวนการทำงานของจิต การเกิดดับของจิต การเกิดดับของอารมณ์ การเข้าไปรับรู้อารมณ์ของจิต กิริยาของจิต อาหารของจิต ตัวตนของจิต ความจริงของอารมณ์ ความจริงของความคิด ความจริงของใจ....ส่วนมากจะพากันรู้เห็นแต่ ตาหูจมูกลิ้นกาย...ว่ามันรับรู้ผัสสะ อย่างไร แต่จะไม่เห็น การทำงานของใจ...ของจิต...(ผมแยกเป็น ของใจต่างหาก ของจิตต่างหาก)
     
  5. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    โดยเฉพาะเรื่องของผลของการฝึกสติปัฏฐาน 7 ประการ..เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด เท่าที่เคยอ่านจากตำราอื่นๆมาครับ ไม่เห็นจะต้องมีกายในกายนอก เหมือนบางตำรา ที่อ่านแล้วพากันตีความหมาย ของคำสอนไปให้ยุ่งยากมากความเกินจริง แล้วก็พากันขยายความให้งง ที่พระพุทธเจ้าท่านอธิบายไว้ก็ เกินพอแล้ว คนที่ปฏิบัติได้จริง เขาจะเข้าใจในคำพุทธพจน์ มีแต่สรุปรวมลงที่ ความเข้าใจ ไม่ไช่ไปขยายความเพิ่มเข้าไปอีก จน เปลี่ยนแปลงประเด็น...ไป

    การอ่านพระธรรมคำสอน ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ในสมัยพุทธกาลนั่น การอธิบายสภาวะธรรมต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้อง อ้างอิงกับคำสอนเดิมของความเชื่อเดิมของเหล่าพราหมณ์..คำภีร์พระเวท ที่ล้วนแล้วแต่พากันฝึกจิต เป็นเรื่องหลัก เพื่อความวิเศษเพื่ออภิญญา..ถึงจะพากันฝึกเพื่อพ้นทุกข์ แต่ก็พากันหลงในอภิญญากันแทบทั้งสิ้น..ดังนั้น ในการตอบคำถามหรือแสดงธรรมของพระพุทธองค์ จึงต้อง อ้างอิงกับความเชื่อที่พวกเขามีอยู่เดิมอยู่แล้วคือศาสนาพราหมณ์ เพื่อหักล้างในความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนั้น...ดังนั้น บางคำที่พระพุทธองค์ใช้อธิบายในคำตอบหรือในธรรมที่แสดงไปนั้น จึงเป็นการใช้คำศัพท์ที่จำเป็นต้องใช้เพราะ มันมีในหัวของคนถาม ซึ่งเรื่องเดียวกัน แต่ในหัวของคนที่ถาม เขาเข้าใจไม่เหมือนกัน พระองค์ท่านก็ใช้คำพูดที่ต้องต่างกันไปตามความคิด ความเชื่อ ที่ติดอยู่ของแต่ละคน เป็นคนคนไป

    ดังนั้นการอ่านพระธรรม หรือการแสดงธรรมที่พระองค์ตอบแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จึงอาจใช้คำศัพท์ที่แตกต่างกันไปตาม การติดขัดของแต่ละคนไป..คนที่อ่านพระธรรม ถ้า ไม่มีความเข้าใจที่รอบรู้ความจริงจากการปฏิบัติได้จริงของตนเอง ก็จะไม่เข้าใจ เมื่อไม่เข้าใจก็จะพากัน ตีความหมายกันเอาเอง ยิ่งเมื่อไปเจอกับคำศัพท์ที่ใช้กับต่างคนละคนกันไป ก็ยิ่งพากันตีความไปผิดๆ เข้าไปใหญ่ ทั้งที่ตนเองก็ไม่เข้าใจ ยังพยายาม ที่จะทำความเข้าใจ เพื่อคิดตีความเพื่อเข้าข้างตนเอง...ก็ยิ่งผิดความหมายผิดความจริง มากกว่าเดิม...นี่แหล่ะ... มันเลยเกิด สำนักอาจารย์นั้น อาจารย์นี้ ลัทธินั้น ลัทธินี้ ธรรมกลายนั้น ธรรมกลายนี้ หรือสูญตาก็คือนิพพาน หรือวัดป่า วัดบ้าน มโนมานึกคิดนั้น มโนมานึกคิดนี้ ปลุกเสกของขลังกันไป...หลงทางกันไป ตามอภิญญาต่าง ที่อวิชชา มันพาไป..จนทำให้ มีแดนนิพพาน เมืองนิพพาน ของแต่ละสำนัก..แตกต่างกันไป...จนออกห่างไปจากนิพพานจริงๆ ไปเฉยเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2017
  6. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ความจริงของผลของการเจริญสติปัฏฐานสี่ 7 ประการนั้น..มันก็คือ..ผลของพระนิพพาน อันเดียวกัน..นั้นเอง

    เพราะ 7 ประการนั้น พระนิพพานจริงๆก็มีผลอันเดียวกันเลย...อันนี้ผมรับรองได้..นั่นเพราะการเจริญสติปัฏฐานสี่ก็เพื่อการเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน แต่ทีนี้ วลาใช้คำศัพท์ว่า เป็นการเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน เหล่าคนที่มโนมนึกยึดเก่งๆ หรือที่คิดเก่งๆ ก็จะพากันตีความว่า...การเข้าถึง..ซึ่ง...พระนิพพาน...มันคือรูปแบบ ที่ต้องมีรูปธรรมที่มองเห็นได้ เข้าใจได้..(พะนะ)....ความจริงควรจะต้องพูดว่า..ถึงนิพพาน...แค่นี้ ก็ชัดเจนที่สุด..ครับ เหมือนการถึงที่สุด นั่นแหล่ะ มันสุดแล้ว มันจบแล้ว มันพ้นจากเรื่องราว มันออกมาจากเรื่องราว มันออกมาจากวัฏะ มันพ้นจากวัฏะ มันออกจากทุกข์ มันพ้นจากทุกข์..ชัดๆเลย..มันไม่ได้เข้าไปหาสิ่งใดอีกเลย ไม่มีแดนนิพพาน ไม่มีเมืองนิพพานอะไรเลย...ก็จุดหมายในการปฏิบัติก็เพื่อ พ้นทุกข์ ไม่ทุกข์...ไม่ไช่ไม่มีทุกข์นะ...อะระหัง คือผู้ไกลจากกิเลส แปลว่า อยู่ติดแต่ไม่มีผล ไม่แปดเปื้อน เจอทุกข์ แต่ไม่ทุกข์...เปรียบว่า เหตุแห่งทุกข์ในรูปนามของตน มันจบแล้ว มันดับแล้ว..นิพพานแล้ว ไม่เหลือแล้ว เพราะ รู้และเข้าใจหมดแล้ว ไม่มีอะไรที่ยังไม่รู้แล้ว อะไรที่เป็นอวิชชา ไม่เหลือแล้ว...นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2017
  7. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    เมื่อผมได้อ่าน ผลของการเจริญสติปัฏฐาน 7 ประการ แล้ว
    ผมจะซาบซึ้ง จนน้ำตาไหล เพราะมันทำให้ผม ระลึกถึงอาจารย์พระสัมมาสัมพทธเจ้าท่าน..ที่ แม้แต่คน ที่ หัวแข็ง ดื้อรั้น อย่างผม ท่านยัง อดทนเมตตา ตามติดสอนสั่ง ไม่ห่าง ไม่ทิ้ง ศิษย์อย่างผม...ให้ล่องลอยหลงทางในโลกวัฏะสงสารนี้...อย่างโดดเดี่ยวและทรมานต่อไป...ผมรักท่านมาก นะครับ ท่านอาจารย์
     
  8. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ว่าจะไม่พูดถึง เรื่องของอารมณ์...ในหัวข้อ ธัมมารมณ์ เช่น จิต เจตสิก ปสาทรูป คือ สภาพธรรมที่รู้ได้ทางมโนทวาร หรือ...ใจ เท่านั้น...ไม่ไช่ รู้ได้ทาง ตาหูจมูกลิ้นกาย..

    มันมีข้อ ที่ต้อง ทำความเข้าใจ ให้ถ่องแท้และชัดแจ้ง..ในหัวข้อนี้ก็คือ...ใจเท่านั้นที่ทำหน้าที่รับรู้ในธัมมารมณ์ อันได้แก่ ใจรับรู้ในเรื่องจิต ใจรับรู้ในเรื่องเจตสิก ใจรับรู้ในเรื่องปสาทรูป (ปสาทรูป คืออะไร ยังไม่เคยอ่านเจอ)

    ซึ่ง ข้อ คิดก็คือ....อารมณ์คือธรรมชาติของสิ่งที่จิตเข้าไปรับรู้ ได้โดยผ่าน ทาง ตาหูจมูกลิ้นกายใจ 6 ทวาร 6ทาง นั่นเอง...แต่ มีเพียง อารมณ์ แค่ 3 อารมณฺ ที่เป็น ธัมมารมณ์ อันได้แก่ จิต เจตสิก ปสาทรูป..ที่ มีแต่ต้องใช้มโนทวาร หรือใจ เท่านั้น ที่เข้าไปรับรู้

    ดังนั้น ตรงข่อความนี้..มันจึง ย้อนแย้ง ในกันเอง เหมือนดั่ง ย้อนจากเหตุไปหาผล หรือย้อนจากผลไปหาเหตุ หรือดั่ง อณุโลม ปฏิโลม...ในการทำความเข้าใจ ในเหตุและผลของความเป็นจริง ว่า จิตคืออะไร ใจคืออะไร..เพราะจากข้อที่แจกแจงมาเรื่องของธัมมารมณ์ ว่า ต้องใช้มโนทวารหรือใจเท่านั้นในการเข้าไปรับรู้.แล้วในส่วนของ ทวารทั้ง5 คือตาหูจมูกลิ้นกาย..นั้น มันเป็นอารมณ์ที่ มีส่วนของจิตกับใจ เข้าไปรับรู้ด้วยกันหรือพร้อมกันอยู่ ...แต่กลับมาเน้น ที่ เฉพาะ จิต เจตสิก ปสาทรูป ว่าเป็นธัมมารมณ์ ที่ มีแต่ใจเท่านั้น ที่เข้าไปรับรู้...ซึ่งตรงนี้ มันเป็นการให้ข้อคืดพิจารณา ได้ว่า..จิต เป็นคนละส่วนกับใจ...แล้วจิตกับใจ มันรวมกับรับรู้ตอนไหน แล้วจิตกับใจมันจะแยกกันรับรู้ได้อย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2017
  9. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ไปค้นหาความหมายของคำว่า ปสาทรูปแล้ว มันก็คือรูป ที่กระทบ มาทาง ทวารทั้ง5 ตามปกตินั่นเอง..ดังนั้น ธัมมารมณ์ ที่ รู้ด้วยใจ ...จึงรวมหมายถึง อารมณ์ทั้งหมดจากตาหูจมูกลิ้นกาย ที่เข้ามากระทบ กับผัสสะ..รวมทั้ง จิต และ เจตสิก ด้วย....

    ดังนั้น ควรจะมาเน้น และทำให้แจ่มแจ้ง...จากที่ว่า อารมณ์คือธรรมชาติที่จิตเข้าไปรับรู้ ที่มาจาก ทวารทั้ง5 ... แต่ พอมาถึง ใจ หรือ ทวารที่6 กลายเป็นว่า ในส่วนของ จิต หรือเจตสิก กลับเป็น มโนทวารที่6 เท่านั้น ที่รับรู้ได้...จะแปลความว่า..ใจสามารถแยกแยะจิต หรือ เจตสิกได้ แบบนี้ก็ได้..หรือ จิต สามารถรู้ใจหรือแยกแยะใจออกห่างจากจิต ก็ได้..ฝซึ่งจะแปลว่า ...จิตกับใจ สามารถ แยกแยะ ออกมาจากกันได้..ต่างฝ่ายต่างรับรู้ อีกฝ่าย ก็ได้...นั่นเอง (จะไม่พูดถึงเจตสิก เพราะเจตสิก เกิดจากจิตร่วม หรือประกอบ อยู่แล้ว ถือว่าเจตสิกเป็นส่วนนึงของจิต)
     
  10. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    สรุปแบบง่ายๆและชัดเจน ว่า...อารมณ์ คือธรรมชาติที่จิตเข้าไปรับรู้ รวมทั้งหมดที่มีใน ทั้ง 6 ทวาร คือ อารมณ์ที่มีใน ตาหูจมูกลิ้นกายใจ...จิตเข้าไปรับรู้ได้หมด...แต่มีข้อแตกต่างในมุมกลับกับ ก็คือ ..ในส่วนของจิต ของเจตสิก ของความคิด มีแต่ใจเท่านั้นที่เข้าไปรับรู้อารมณ์...แปลง่ายๆว่า...ทุกผัสสะของตาหูจมูกลิ้นกายใจ..มีจิตเข้าไปร่วมรับรู้ได้ด้วย แต่..สามารถแยก การเข้าไปรับรู้ได้ ออกเป็น สองกลุ่ม คือ.กลุ่มแรก คือกลุ่มของ อารมณ์จากตาหูจมูกลิ้นกาย กลุ่มที่สองคือ อารมณ์จากใจ

    เมื่อมีสองกลุ่ม นั่นแสดงว่า ...ในการนั่งสมาธิเพื่อระงับ..ผัสสะจากกลุ่มแรก สามารถแยกออกจาก ผัสสะจากกลุ่มที่สองคือใจได้...แปลว่า สามารถแยกการรับรู้อารมณ์ จากผัสสะ ระหว่าง กาย(ตาหูจมูกลิ้นกาย) และ ใจ(มโน)....ได้

    และในการแยกได้นี่เอง ในการที่จะ เข้าไปเรียนรู้ความจริงของ ธัมมารมณ์ อันได้แก่ จิต เจตสิก จึงต้องอาศัย ใจหรือมโนทวาร อย่างเดียวเท่านั้น...เพราะมีแค่ใจหรือมโนทวารเท่านั้น ที่ สามารถรับรู้ จิต และ เจตสิกได้...มันจึงต้องมีการ นั่งสมาธิเพื่อ เข้าถึง ความสงบกาย ละกาย ให้สงบ เพื่อเหลือจิตกับใจ...แค่สองส่วน เพื่อทำการ เฝ้าสังเกต เพื่อให้เห็นความจริงของใจกับจิต ได้นั่นเอง....แต่การจะเห็นการทำงานของจิต ของใจ ได้ ต้องมีการถอน การรับรู้ จากการนั่งสมาธิจากฌาณสี่มาที่ฌาณสอง...เพื่อเป็นการ เชื่อมต่อกับผัสสะของกาย เพื่อให้ใจ และ จิต มันทำงานร่วมกับผัสสะกาย ..จะได้อาศัยความสงบที่มีในการคอยเฝ้าดู การทำงานของจิต และใจต่อไปเมื่อรับผัสสะมาจากกาย นั่นเอง

    ทีนี้..การนั่งสมาธิ มักจะมี สิ่งอื่น เข้ามาขัดขวาง นั่นก็คือ เวทนา..การนั่งนานๆมักทำให้ แขนขาพับทับเส้น เลือด ลม ประสาท ทำให้ การทำงานของร่างกายมันติดขัด..ไม่ราบรื่น ไม่สะดวก..เวทนาจึงเกิด ขัดขวาง...จึงได้มี การฝึกสติปัฏฐานสี่ ในแบบ การเดินจงกรม ขึ้นเรียกว่า...การรับรู้อารมณ์ทุกอิริยาบทได้ ทุกวินาทีได้ ทุกขณะที่ตื่นอยู่...นั่นเอง

    ประเด็นคือ.....ในการฝึกสติปัฏฐานสี่ ก็เพื่อ แยก การทำงานของกาย ออกจาก การทำงานของใจได้อย่างไร เพื่อที่ จะให้เหลือเพียงแต่ใจกับจิตอยู่สองตัว...เพื่อดูกันและกัน โดยไม่ให้มีผัสสะทางกาย(ตาหูจมูกลิ้นกาย) เข้ามารบกวน ปะปนให้ ยุ่งยากมากความ...ดังนั้นการฝึกสติปัฏฐานสี่ ที่ถูกต้องตามขั้นตอน..จึงเป็นลำดับขั้นที่สำคัญมาก ในการเฝ้าดู จากกายทั้งหมด เพื่อให้เห็นในกายและเวทนาทั้งหมดที่เกิดขึ้น รวมทั้งจิตทั้งหมดและเจตสิกทั้งหมด รวมทุกอย่างที่จิตรับรู้ รวมทุกอย่างที่ใจรับรู้ นั่นเอง

    และเมื่อความสงบ ทำให้เห็นการทำงานของกาย (อายตนะผัสสะของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ส่งมาที่ผัสสะใจ อย่างไร จึงจะสามารถแยกออกได้ว่า ส่วนไหนเป็นส่วนของ ทวารทั้ง5 ส่วนไหนเป็นส่วนของ ทวารที่6 ...นี่คือเมื่อเข้าใจ ก็จะวางใจ ไม่ติดใจในการทำงานของทวารทั้ง5 ..แบบนี้..ความสงบที่ได้จากปัญญารู้ความจริงนี้ จึงจะถือว่เป็นการปล่อยวางทางกาย หรือพ้นมาจากทุกข์ทางกายได้..อย่างหมดจดนั่นเอง..จึงจะค่อย ไปตามดู จิตหรือความคิดที่เกิดจากใจ หรือ ดูกระบวนทำงานของใจ ได้ ว่า ความคิดเกิดได้อย่างไร ดับอย่างไร ใจคิด จิตรู้.....และ..ใจเองก็รู้อยู่..มันรู้อยู่พร้อมกันเช่นกัน ตลอดมา....ทำยังไง จึงจะไม่พร้อมกัน ทำยังไงถึงจะแยกให้ ใจเห็นจิตหรือแยกให้จิตเห็นใจ. ...นี่จึงคือ จุดสำคัญ ของการเจริญสติปัฏฐานสี่ เพื่อ..ให้เกิดปัญญาญาณ ในการเข้าถึง พระไตรลัก๋ณ์..อันเป็นความจริงของจักรวาล...ต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2017
  11. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    การดูจิต.....จึงเป็นการดูความคิด ทุกความคิด ภพชาติหรือตัวที่คิดจึงเหมืแนตัวละครสมมุติเรียกว่าคือ เจตสิกในความคิดนั้น ...เรื่องของความคิดจึงแตกต่างกันไปตามเรื่องตามอารมณ์ ดังนั้นจึงเหมือนมีตัวละครหลายตัว มีฉากหลายฉากเหมือนมีหลายภพหลายชาติหลายเจตสิกหลายเรื่องราว เกิดซ้อนกัน ทับกันไป ขึ้นอยู่กับ ระดับความสงบของสติที่ฝึกมาว่า จะสามารถ รับรู้หรือแยกแยะให้มันชัดเจน ได้แค่ไหน..พูดง่ายๆว่า..สงบรู้ชัดได้ทันกี่เรื่อง หรือรู้ทันทุกเรื่อง...ได้หรือเปล่า..นั่นแปลว่ารู้ทันความคิดที่เกิดทุกความคิด ตั้งแต่ต้นตามดูตามรู้จนจบ ได้หรือเปล่า......มันเป็นสิ่งสำคัญในการวัดความสงบ ของการเจริญสติ นั่นเอง..จน สามารถ รู้ทันจำแนก ความคิดได้ทีละเรื่อง (กำหนดเองได้เพราะสติ ดีเยี่ยม)...เมื่อรู้ทันได้ทีละความคิดแล้ว ยังจะต้อง รู้ทัน..ให้ครบรอบ ในวงจรการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ว่าง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ว่าง เกิดขึ้น....ไปเรื่อยๆ จนจะเห็น ชัดเจน ว่า ความคิดนั้น มันเกิดได้จากอะไร ความคิดมาจากไหน..เฝ้าดูไปเรื่อยๆ(อยู่ในสภาวะอารมณ์นี้ เรื่อยๆตลอดวัน ตลอด 7 วัน ตลอด7 เดือน 7ปี แล้วแต่...ปัญญา บุญ กรรม)...จนกว่าจะเห็น ตัวที่คิด..(แปลว่า การดูจิต ดูความคิดนั้น ช่วงแรก ใจกับจิต มันร่วมกันรับรู้ แต่นานๆไปมันถึงจะค่อย ๆ ไม่ทำตามกัน แปลว่ามันไม่อยากทำ แต่สติกลับ เฝ้าดู เฝ้าทำ อย่างตั้งใจ..จะมีตัวใดตัวนึงที่มันจะไม่ตั้งใจ คือเบื่อ ซ้ำซาก) จิตกับใจที่มันเคยรับรู้ ความคิด มาพร้อมๆกันตลอดมา มันก็เริ่ม..จะ เบื่อ ถอนตัว ไม่อยากเฝ้าดู ความคิดที่ น่าเบื่ออีกต่อไป ดังนั้น การที่ไม่พร้อมกันรับรู้ จึงเป็นการทำตัวแยก ออกจากกัน โดยตัวที่คิด ก็ยังคิดอยู่ แต่ตัวที่ตามรู้ ชักจะเหลือทน..มันจึงเริ่ม ไม่ไปตามกัน..จึงต้องเฝ้าดู เฝ้ารู้ต่อไป จนมันแยกกันชัดเจน..ต่อไป

    และต่อไป จนวันหนึ่ง...ความสงบเต็ม ปัญญาเต็ม...ความจริงจึงจะปรากฏ ..เผยให้เห็นความจริง ของจิต และใจ..ต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2017
  12. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ถ้าใครที่ปฏิบัติแบบนี้ได้จริง..จึงจะอ่านหรือคุยเรื่อง จิต เจตสิก ใจ สติปัฏฐานสี่ ..ได้รู้เรื่องกันบ้าง...คุยเรื่อง พระไตรลักษณ์ ได้รู้เรื่องบ้าง คุยเรื่องวงจรสมุปกิจบาทได้รู้เรื่องบ้าง คุยเรื่องรูปธรรม อรูปธรรม ได้รู้เรื่องบ้าง
     
  13. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    เมื่อสามารถเจริญสติปัฏฐานสี่ มาจนถึงแยก จิต แยกใจ ออกจากกันได้แล้ว
    และเจริญต่อไปจน จิต(สติที่เป็นอรูป) มันปล่อยวางใจได้

    ผมมักพูดว่า การปล่อยวางหมายถึงการพ้นแล้วจากที่เคยติดที่เคยสงสัยในสิ่งนั้น
    เช่นการปล่อยวางกาย คือสติหรือจิตมัน เข้าใจในการทำงานของกายและเวทนาได้หมดแล้ว หายสงสัยแล้วจึง วางใจ ไม่หลงเป็นทุกข์กับกายหรือ้วทนากายได้อีก เรียกว่าพ้นมาได้แล้ว ปล่อยวางได้แล้ว..อย่างสิ้นเชิง
    และการปล่อยวางใจก็เช่นเดียวกัน คือสติหรือจิต มันเข้าใจการทำงานของใจของความคิดมาหมดแล้ว จนหายสงสัย หายติดใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2017
  14. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    เมื่อจิตหรือสติ ปล่อยวางกายใจ ได้...ผมเรียก ปล่อยวางรูปธรรมทางโลกได้ ก็จะเข้าสู่ สภาวะ อรูปธรรมคือ...ตัวจิตหรือ กองขันธ์ ต่อไป

    สติ ยังคงเชื่อมต่อกับ กาย ใจ จิต...อยู่...การรับรู้นี้ ผมเรียกมันว่า สัมปชัญญะ ที่เชื่อมโยง กายใจ รูปนามเอาไว้อยู่ จึงยังไม่ตาย..

    เมื่อเข้าสู่สภาวะอรูป เหมือนจิตหรือสติ จะลอยตัวเหนือโลก ขึ้นมา..อุปทานของจิตวิญญาณ มันจะ ออกฤทธิ์ ก็ตอนนี้แหล่ะครับ...จะนรกหรือสวรรค์...จะเป็นเทพ หรือ พระเจ้า ก็งานนี้แหล่ะ หรือจะเป็น พระอรหันต์ ต่างๆ ก็ตรงนี้แหล่ะครับ...เพราะมันเหมือน เหลือแต่โลกของจิต ไร้ตัวตน...เป็นผู้วิเศษแบบไหน ก็แล้วแต่ สัญญาขันธ์ มันจะสนองออกมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2017
  15. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    สภาวะอรูปนี้...เมื่อผมมาถึงตรงนี้...ผมจึงได้พบกับ อาจารย์ที่ผมเรียกท่านว่า พระพุทธะ ท่านได้เมตตามาชี้ทางออก ทางสว่าง ทางแห่งการชำระจิตอวิชชา เพื่อเข้าถึง ความอนัตตาของจิต หรือของอัตตาตัวตนต่อไป..ต่อไป และต่อไป

    เป็นช่วงที่ต้องใช้ ปัญญา ชำระในความไม่รู้ ..ล้วนๆครับ
    ไม่งั้นคงต้อง แห้งตายลง เพราะ ไร้ชีวิตชีวา แน่นอนครับ อิอิ เพราะ ความเป็นพระเจ้า ไม่ต้องกินข้าวกินน้ำ ไม่สนอาราย....แม้ความตาย..อิอิ..มันช่าง หลงตัวเองสุดๆไปเลยในช่วงนั้น....ขอบคุณครูอาจารย์ที่เมตตาอีกครั้ง ครับ
     
  16. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    เอาเป็นว่า ผมใช้เวลาในการฝึกสติปัฏฐานสี่ดูกายดูเวทนาดูจิต อยู่ประมาณ4 หรือ 5 ปี นี่แหล่ะ ถึงจะวางกายเวทนาใจ ได้...จนมาเป็นบ้าอุปทาน ช่วงนึง

    และเมื่อมาเจอกับครูอาจารย์ที่เป็นพระพุทธะ ก็ต้องใช้เวลาอีก 4 หรือ 5 ปี เหมือนกัน ในการชำระ สำรอกอาสวะ ชำระอวิชชา ..ต้องอาศัยการชี้ด้วย ปัญญาของพระพุทธะ เท่านั้น เพราะ ตำราหลวงปู่ใดใด ก็ ช่วยเราไม่ได้..มันเป็นสภาวะที่หลงตัวเองและ ไม่ฟังใคร..เรียนรู้กฏแห่งกรรม การชดใช้กรรม เรียนรู้เรื่อง...ธรรม....ความจริงโดยเฉพาะ....ผมยังต้องหลบหนีการสอนอยู่พักนึง เพราะ กลัวอาจารย์ ที่ท่าน รู้ทันเราไปหมดทุกอย่าง...รู้มากกว่าตัวเรา เสียอีก...เหมือนเจอกับ คนที่เขารู้เรา แต่เราไม่รู้เขา...แต่ที่สุดแบ้ว ท่านก็ยังเมตตา มาช่วย จนถึงที่สุด...จนข้ามฝั่งถึงฝั่งของความเป็นมนุษย์...มันช่าง ซับซ้อนซ่อนเงื่อน หลายปมให้แก้ หลายปัญหาให้ซ่อม...โอ..พระธรรม พระพุทธเจ้า.ท่านเป็นเลิศในสามโลก จริงๆ.
     
  17. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    เมื่อวันที่ผมร้องให้ ซาบซึ้งต่อหน้าพระประธาน มันช่างเป็นวันที่เหนือความนึกคิดใดใด
    มันไม่ไช่เรื่องง่ายๆเลยในการที่จะ ชำระอวิชชาในตัวของคนคนนึง...มันไม่ไช่เรื่องที่ง่ายเลยจริงๆ จะพูดไปแล้ว ความจริงมันก็ช่างเป็นเรื่องที่แสนจะง่ายดาย มากๆในการชำระอวืชชา แต่ เพราะอะไรไม่รู้..คนเราถึงไม่ยอมที่จะทำในเรื่องง่ายๆกัน เหมือนว่ามันจะง่ายเกินไป เลยไม่สนใจ ที่จะทำ...มันเหมือนเป็นเช่นนี้จริงๆ...ความหลง มันเป็นสุดยอด ของ วัฏะสงสาร เลยทีเดียว..ว่าความตายหรือพญามารว่าน่ากลัวที่สุดแล้ว..ยังไม่ได้เศษเสี้ยวหนึ่ง ของความหลงตัวเอง กันเลยจริงๆ

    พระธรรม คือยาวิเศษที่มีไว้เพื่อรักษาโรคความหลงตัวเอง ของมนุษย์จริงๆ
    พระพุทธเจ้าคือหมอยาที่มีความอดทนและเมตตาเป็นเลิศในสามโลก เลยทีเดียว

    ตัวผมคือผู้โชคดี อีกคนนึง..ที่ เลิกหลงมาได้.จนได้พบกับความจริงของตัวเอง อีกครั้ง

    ขอบคุณในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์...คนับ
     
  18. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    อีกสิ่งหนึ่ง ในโพสของคุณบ้องแบ๊วที่โพสไว้ แล้วคิดว่าเป็นประโยชน์กับผมก็คือ หัวข้อ.การสร้างสัมมาทิฐิให้เกิดขึ้น .....นี่ก็พึ่งเคยอ่านเป็นครั้งแรกเลยนะครับ..ขอบคุณมาก ที่นำมาให้อ่าน..ครับ

    ปัจจัยที่ทำให้เกิดสัมมาทิฐิ 2 อย่าง
    1.ปรโตโฆสะ...ปัจจัยภายนอก คือ เสียงที่ดี เสียงที่เพราะเจตนาที่ดีงามจากตัวผู้แสดงธรรมเอง (ผมขาดตรงนี้ เพราะผมไม่ค่อยคำนึง ในการใช้คำพูด คิดเพียงแต่ว่าตนเอง ไม่คิดอะไร คนอื่นก็ไม่น่าจะมีผลกับเขา)ตอนนี้ ผมเข้าใจแล้วครับ (ขอบคุณครับ)
    2.โยนิโสมนัสสิการ..ปัจจัยภายในคือ จิตใจที่แยบคายมีปัญญามีเหตุมีผลในการคิด จากตัวผู้ฟังธรรมเอง

    ยังไงก็ขอบคุณมากมากนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2017
  19. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,286
    ค่าพลัง:
    +1,507
    .
    เขียน ๒๒.๓๐

    ...ยินดี ที่ท่านรอด
    อ่านคำพรอด พร่ำรำพัน
    ข้ามขีด จำกัดนั้น
    ประตูกั้น มันมิไกล

    ...เดินไป ตามทางเถิด
    สิ่งประเสริฐ บังเกิดใจ
    ถ้าบุญ มีสร้างไว้
    จะเกมส์ได้ ในมินาน


    แก๊งค์นาฬิเกร์ / สุนทรทู่

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...