กายภาวนา,จิตภาวนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 2 กรกฎาคม 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ฯลฯ

    สรุปคุณลักษณะของท่านผู้เข้าถึงนิพพานหรือพระอรหันต์ตามแนวแห่งหลัก ภาวิต ๔ ประการ คือ ภาวิตกาย (มีกายที่ได้พัฒนาแล้ว) ภาวิตศีล (มีศีลที่ได้พัฒนาแล้ว) ภาวิตจิต (มีจิตที่ได้พัฒนาแล้ว) และภาวิตปัญญา (มีปัญญาที่ได้พัฒนาแล้ว) ดังได้กล่าวมา

    ทั้งนี้ มีข้อพึงตระหนักว่า คุณลักษณะและคุณสมบัติต่อไปนี้ แม้จะจัดแยก ไว้ต่างหากกันเป็นด้านนั้นด้านนี้ แต่แท้จริงแล้ว มิใช่แยกขาดจากกัน เพียงแต่จัดแยกออกไปตามด้านที่ปรากฏเด่น เพื่อประโยชน์ในการศึกษา
    ส่วนในการพัฒนา คุณเหล่านี้เนื่องกัน พัฒนามาด้วยกัน โดยเฉพาะไม่ขาดอิสรภาพของปัญญา
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ภาวิตกาย: มีกายที่ได้พัฒนาแล้ว

    ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ถึงแม้ในพระไตรปิฎกจะมีพุทธพจน์ที่ตรัสถึงภาวิตกาย เป็นต้น หลายแห่ง แต่ไม่มีคำอธิบาย เหมือนว่าผู้ฟังรู้เข้าใจอยู่แล้ว แต่บางครั้ง มีคนภายนอก โดยเฉพาะพวกเดียรถีย์นิครนถ์ยกเรื่องนี้ ขึ้นมาพูดตามความเข้าใจของเขา จึงเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสอธิบาย

    ในพระสูตรชื่อว่ามหาสัจจกสูตร มีเรื่องที่เป็นเหตุปรารภทำนองนี้ จึงขอยกมาเล่าเป็นตัวอย่าง และในพระสูตรนี้ มีเฉพาะภาวิตกาย มากับภาวิตจิต (เพราะฝ่ายที่ยกเรื่องขึ้นมาพูดเฉพาะ ๒ ภาวิตนี้)
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ


    เรื่องมีว่า เช้าวันหนึ่ง สัจจกะนิครนถบุตร ผู้มีชื่อเสียงเด่นดังมาก (เป็นอาจารย์สอนบุตรหลานของเจ้าลิจฉวี แห่งแคว้นวัชชี อรรถกถานิยมเรียก ว่าสัจจกนิครนถ์) เดินมาที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ได้พบและสนทนากับพระพุทธเจ้า เขาเริ่มต้นโดยยกเอาเรื่องกายภาวนา (การพัฒนากาย) และจิตตภาวนา (การพัฒนาจิต) ขึ้นมาพูด และกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ตามความคิดเห็นของเขา เหล่าสาวกของพระองค์เอาแต่ขะมักเขม้นประกอบจิตตภาวนา แต่ไม่ประกอบกายภาวนา (เอาแต่พัฒนาจิต ไม่พัฒนากาย)

    การที่สัจจกนิครนถ์ แสดงทัศนะขึ้นมาอย่างนี้ อรรกถาบอกภูมิหลังว่า เพราะเขาเห็นพระภิกษุพากันหลีกเร้นอยู่ในที่สงบ ไม่มีการทรมานร่างกาย เมื่อเขาแสดงความเห็นออกมาอย่างนี้

    พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามว่า แล้วตามที่เขาเรียนรู้มา กายภาวนา (การพัฒนากาย) คืออย่างไร สัจจกนิครนถ์ก็ยกตัวอย่าง การบำเพ็ญตบะถือพรตต่างๆ ในการทรมานร่างกาย (อัตตกิลมถานุโยค) ว่านั่นแหละคือ กายภาวนา

    พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า แล้วจิตตภาวนาล่ะ เขาเรียนรู้มาว่าเป็นอย่างไร? ตรงนี้ สัจจกนิครนถ์ไม่สามารถอธิบายได้

    พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า แม้แต่กายภาวนาที่ เขาบอกมาก่อนนั้น ก็ไม่ใช่กายภาวนา หรือพัฒนากายในแบบแผนของอารยชน (อริยวินัย) นี่แม้แต่กายภาวนา เขายังไม่รู้ แล้วเขาจะรู้จิตตภาวนาได้จากที่ไหน

    จากนั้น จึงตรัสบอกให้สัจจกนิครนถ์ฟังคำที่จะทรงอธิบายว่า อย่างไรไม่เป็นภาวิตกาย ไม่เป็นภาวิตจิต และอย่างไรจึงจะเป็นภาวิตกาย อย่างไรจึงจะเป็นภาวิตจิต ดังจะยกความตอนที่เป็นสาระสำคัญมาดู

    “แน่ะอัคคิเวสสนะ (ชื่อโคตร/นามสกุลของสัจจกนิครนถ์) อย่างไร จึงจะเป็นภาวิตกาย และเป็นภาวิตจิต ? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้เรียนสดับ มีสุขเวทนาเกิดขึ้น ถึงจะได้สัมผัสกับสุขเวทนา เขาก็ไม่ติดใคร่ใฝ่กระสันในสุข ไม่ถึงความเป็นผู้ติดใคร่ใฝ่กระสันในสุขเวทนา

    ครั้นสุขเวทนานั้นดับไป เพราะสุขเวทนาดับไป มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาสัมผัสกับทุกขเวทนาเข้าแล้ว ก็ไม่เศร้าโศกไม่ฟูมฟาย ไม่รำพัน ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอก ไม่ถึงความฟั่นเฟือนเลือนหลง

    “อย่างนี้แหละ อัคคิเวสสนะ เพราะเหตุที่ได้พัฒนากายแล้ว สุขเวทนานั้น ถึงแม้เกิดขึ้น ก็หาได้ครอบงำจิตตั้งอยู่ไม่ เพราะเหตุที่ได้พัฒนาจิตแล้ว ทุกขเวทนา ถึงแม้เกิดขึ้น ก็หาได้ครอบงำจิตตั้งอยู่ไม่

    “นี่แน่ะอัคคิเวสสนะ สำหรับอริยสาวกผู้หนึ่งผู้ใด สุขเวทนาถึงแม้เกิดขึ้น ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้พัฒนากายแล้ว ทุกขเวทนาถึงแม้เกิดขึ้น ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้พัฒนาจิตแล้ว ครบทั้งสองข้าง อย่างนี้แล อัคคิเวสสนะ บุคคลจึงเป็นภาวิตกาย และเป็นภาวิตจิต” * (ม.มู.12/405/437)
    .........

    *อรรถกถาอธิบายว่า ในที่นี้ กายภาวนา เป็นวิปัสสนา จิตตภาวนา เป็นสมาธิ คือสมถะ (ม.อ.2/192)
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ดังได้กล่าวแล้วว่า กายภาวนา (การพัฒนากาย) นี้ ความหมายหลักบอกว่า เป็นการพัฒนาปัญจทวาริกกาย คือ กายด้านผัสสทวาร ๕ หรืออินทรีย์ ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย)

    พอพูดถึงตรงนี้ การพัฒนากายก็แทบจะเป็นคำเดียวกับการพัฒนาอินทรีย์ หรือว่า กายภาวนาก็ น่าจะได้แก่ อินทรีย์ภาวนานั่นเอง

    การพัฒนาอินทรีย์ ก็เริ่มด้วยหลักอินทรีย์สังวร ที่พระพุทธเจ้าตรัส เน้นอย่างมากในการศึกษาของผู้เข้ามาบรรพชาในพระธรรมวินัย เรียกว่าเป็นการฝึกขั้นต้น ต่อเนื่องไปกับการฝึกด้านศีล (ในยุคอรรถกถานิยมเรียกเป็นศีลหมวดหนึ่งว่า อินทรียสังวรศีล) จึงขอให้ดูหลักขั้นเบื้องต้นนี้ก่อน ดังตัวอย่างพุทธพจน์ว่า

    "ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจะชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย?

    ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่ถือติดนิมิต (ภาพรวม) ไม่ถือติดอนุพยัญชนะ (ส่วนย่อย) เธอปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือจักษุ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันทรามคืออภิชฌา (ความติดใคร่ชอบใจ ) และโทมนัส (ความขัดเคืองเสียใจ) ครอบงำ เธอรักษาจักขุนทรีย์ เธอถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
    ฟังเสียงด้วยหู .... ดมกลิ่นด้วยจมูก ...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว... (เช่นเดียวกัน)
    ภิกษุนั้น ผู้ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันล้วนไร้ระคน (ไม่เจือกิเลส) ในภายใน อย่างนี้แล มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย" (ที.สี.9/122/93)

    อินทรีย์สังวรนี้ ยังเป็นขั้นของการฝึกหรือเริ่มศึกษา ยังไม่ใช่ขั้นของพระอรหันต์ ซึ่งเป็น "ภาวิตินทรีย์" (ผู้มีอินทรีย์อันได้พัฒนาแล้วที่จัดเป็นภาวิกาย) แต่นี่ยกมาให้ดูเพื่อได้รู้เห็นตามลำดับ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ยังมีอินทรีย์สังวรที่ลึกลงไป หรือที่ตรัสอีกแนวหนึ่ง ก็ขอยกมาให้ดูเพื่อเทียบกันด้วย

    (อินทรีย์สังวรนี้ เมื่อทำให้มากแล้ว จะทำสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ นั้นทำให้มากแล้ว จะทำสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ นั้น ทำให้มากแล้ว จะทำโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์และโพชฌงค์ ๗ นั้น ทำให้มากแล้ว จะทำให้วิชชาและวิมุตติ ที่เป็นผลานิสงส์สุดท้าย ให้บริบูรณ์)

    เรื่องนี้ ตรัสแก่กุณฑลีย์ปริพาชก ผู้ได้มาเฝ้าที่อัญชนวัน ในเขตเมืองสาเกต มีความตอนนี้ว่า

    “ดูกรกุณฑลีย์ อินทรียสังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร จะยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ?
    ดูกรกุณฑลีย์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปที่น่าชอบใจด้วยจักษุแล้ว ไม่ติดใคร่ ไม่เหิมใจ ไม่ก่อราคะให้เกิดขึ้น และกายของเธอก็คงตัว จิตก็คงตัวมั่นคงดี ในภายใน ปลอดพ้นไปด้วยดี

    อนึ่ง เธอเห็นรูป ที่ไม่น่าชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่ขัดเขิน ไม่กระด้างใจ ไม่บีบใจ ไม่ขุ่นเคืองแค้นใจ และกายของเธอก็คงตัว จิตก็คงตัวมั่นคงดี ในภายใน ปลอดพ้นไปด้วยดี
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ....ดมกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว...(เช่นเดียวกัน)...
    ดูกรกุณฑลีย์ อินทรียสังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์” *
    .....
    * (สํ.ม.๑๙/๓๙๖/๑๐๖) คำอธิบายการคุ้มครองผัสสทวาร ที่ลึกลงไปถึงขั้นอริยมรรคอริยผล ก็ เช่น สํ.สฬ.18/208/151
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สุจริต ประพฤติดี, ประพฤติชอบ, ประพฤติถูกต้องตามคลองธรรม มี ๓ คือ

    ๑. กายสุจริต (ประพฤติชอบด้วยกาย)

    ๒. วจีสุจริต (ประพฤติชอบด้วยวาจา)

    ๓. มโนสุจริต (ประพฤติชอบด้วยใจ) เทียบ ทุจริต


    ทุจริต ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติไม่ดี มี ๓ คือ

    ๑. กายทุจริต (ประพฤติชั่วด้วยกาย)

    ๒. วจีสุจริต (ประพฤติชั่วด้วยวาจา)

    ๓. มโนสุจริต (ประพฤติชั่วด้วยใจ)
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    ทีนี้มาดูการฝึกยิ่งขึ้นไปอีก ตอนนี้แหละเรียกว่า อินทรียภาวนา เป็นหลักที่ตรัสไว้ในอินทรียภาวนาสูตร

    ในพระสูตรนี้ ต่อจากตรัสการปฏิบัติแล้ว ยังตรัสให้เห็นความแตกต่างที่ พึงเทียบกันระหว่าง "เสขปฏิปทา" คือ พระอริยะผู้ยังฝึก กับ "ภาวิตินทรีย์" คือ พระอรหันต์ผู้ฝึกเสร็จแล้ว ที่เป็นภาวิตกาย

    ขอยกมาให้ดูพอรู้รูปเค้า

    เรื่องมีว่า สมัยหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับที่ป่าไผ่ ในกชังคลนิคม อุตตรมาณพ ศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ เข้าไปเฝ้า

    พระองค์ตรัสถามเขาว่า ปาราสิริยพราหมณ์สอนการพัฒนาอินทรีย์ภาวนาแก่เหล่าสาวกใช่ไหม เมื่อเขารับว่าใช่ พระองค์ก็ตรัสถามว่า ปาราสิริยพราหมณ์สอนการพัฒนาอินทรีย์อย่างไร

    เขาทูลตอบว่า ปาราสิริยพราหมณ์สอนการพัฒนาอินทรีย์โดยไม่ให้เอาตาดูรูป ไม่ให้เอาหูฟังเสียง

    พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ถ้าถือตามหลักที่พราหมณ์นี้สอน คนตาบอด คนหูหนวก ก็เป็นภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว) ละสิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2017
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    จากนั้น พระองค์ตรัสว่า การพัฒนาอินทรีย์อย่างที่ปาราสิริยพราหมณ์สอนนั้น เป็นคนละอย่างต่างจากอินทรียภาวนา อย่างยอดเยี่ยม ในแบบแผนของอารยชน (อริยวินัย)

    พระอานนท์ จึงทูลขอให้ทรงแสดงหลักอินทรียภาวนา อย่างยอดเยี่ยมในอริยวินัยนั้น และได้ตรัสดังรวมใจความมาดังนี้ (ความอุปมายาวๆได้ละเสีย)

    ๑. อินทรียภาวนา: “ดูกรอานนท์ ก็อินทรียภาวนา อย่างยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน เป็นอย่างไร?

    ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ (ตา) สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    เธอรู้ชัด (รู้เท่าทัน) อย่างนี้ว่า สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจ และไม่น่าชอบใจเกิดขึ้นแล้วแก่เราเช่นนี้ ก็แต่ว่าสภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ เป็นภาวะปรุงแต่งเป็นของหยาบอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สภาวะนี้จึงสงบ สภาวะนี้จึงประณีต กล่าวคืออุเบกขา (ใจเฉยโดยตระหนักรู้อยู่ในดุล) สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ที่เกิดขึ้นแก่เธอนั้นก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท

    ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจ และไม่น่าชอบใจเกิดขึ้นแล้วก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิทโดยเร็ว โดยพลันทันทีโดยไม่ยากลำบาก เหมือนดังบุรุษ มีตาดี ลืมตาแล้วหลับตา หรือหลับตา แล้วลืมตา

    ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อินทรียภาวนาในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน

    ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น...เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ (ทำนองเดียวกับข้อก่อน)

    ดูกรอานนท์
    ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท โดยเร็ว โดยพลันทันที โดยไม่ยากลำบาก เหมือนดังบุรุษมีกำลัง เอาหยาดน้ำสองหรือสามหยาด หยดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดทั้งวัน การหยดลงไปแห่งหยาดน้ำนั้น ยังช้า (ไม่ทันที) หยาดน้ำนั้น ก็ถึงความเหือดหายหมดสิ้นไป ฉับพลัน ทันใด โดยแน่แท้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อินทรียภาวนาในธรรมารมณ์ ที่รู้ได้ด้วยใจ อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน

    “ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นอินทรียภาวนา อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน.
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เมื่อพิจารณาบทความที่พระพุทธเจ้าสอนภิกษุนั่นแล้ว ธรรมและอธรรม (สภาพธรรมและสภาพมิใช่ธรรม) ก็เกิดต่อจากที่ ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส ใจรู้คิดเรื่องในใจนี่เอง

    เมื่อเป็นดังคำสอนนั้นแล้ววิธีปฏิบัติอย่างไหนจึงจะทำให้ผู้มีเพียร รู้เข้าใจเข้าถึงสภาพธรรมได้เร็ว ระหว่างวิธีปฏิบัติคือใช้ พุทโธ ธัมโม สังโฆ กับวิธีอื่นๆ กับ พอง-ยุบ (พองหนอ, ยุบหนอ, เห็นหนอ, เสียงหนอ, กลิ่นหนอ,ฯลฯ สุขหนอ, ทุกข์หนอ เป็นต้น เป็นยังไง รู้สึกยังไง ว่ายังงั้น ทุกๆขณะที่เห็น ได้ยิน เป็นอาทิ)
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    ๒. ก) เสขปาฏิบท (ผู้ยังฝึกศึกษา) : “ดูกรอานนท์ ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ เป็นอย่างไร ?

    ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้นแก่ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เธออึดอัด เบื่อหน่ายรังเกียจ ด้วยสภาพน่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วนั้นๆ

    เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น...เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ....เธออึดอัด เบื่อหน่ายรังเกียจ ด้วยสภาพน่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้วนั้นๆ ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่า พระเสขะ ผู้ยังปฏิบัติอยู่
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ๒. ข) ภาวิตินทรีย์ (ผู้ศึกษาพัฒนาจบแล้ว): “ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะผู้ภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว) เป็นอย่างไร ?

    ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    เธอนั้น หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้
    หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้
    หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้
    หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูล ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้
    หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึงทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่ โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆ อยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้

    “ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น...เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอนั้น....หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึงทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้

    “ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะ ผู้ภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว)" * (ม.อุ.14/853/541)
    ………

    * คำว่า "ปฏิกูล" ไม่พึงมองความหมาย แคบๆ อย่างที่มักเข้าใจทำนองว่าสกปรก ยกตัวอย่างตามที่ท่านอธิบายไว้ เช่น คนหน้าตาไม่ดี มีกิริยาอาการไม่งาม เรามองด้วยเมตตา หรือของไม่สวย เรามองตามสภาวะของธาตุ ให้เห็นเป็นน่าชื่นชม หรือสบายตา ก็เรียกว่า หมายรู้ในของปฏิกูล เป็นไม่ปฏิกูล
    คนหรือของที่เห็นกันว่าสวยงาม เรามองด้วยอนิจจตา หรือตามสภาวะของธาตุ ก็กลายเป็นไม่สวยงาม อย่างนี้ก็เรียกว่า หมายรู้ในของไม่ปฏิกูล เป็นปฏิกูล
    (ดูคำอธิบายใน ขุ.ปฏิ.๓๑/๖๙๐/๕๙๙)
     
  12. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    บางครั้งบางทีเราก็สงสัยเหมือนกันนะว่าการนั่งสาธยายมนต์ตามอักขระบาลีจังหวะไหนหนอที่ทำให้เกิดอิทธิบารมีเราคิดว่าน่าจะมีบางจังหวะแต่ไม่ทุกจังหวะคล้ายกับการทำสมถะหรือทำอะไรก็ตามที่เราเรียกว่าเพ่งความคิดหรือกระแสจิต...แต่มันจะยังไม่เที่ยงและไม่มีวันจีรังยั้งยืนได้เพราะเราไม่สามารถรักสามันไว้ได้ทุกจังหวะและไม่สามารถทำลายจังหวะนั้นลงได้ถ้าเราไม่เรียนรู้และศึกษาอย่างแท้จริง...ว่าทำไมพระศาสดาสอนเสมอว่า...ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์...ล้วนอนิจจัง...น่าตลกที่เราเรียนรู้แค่เพียงลูบคลำหรือแย่ไปกว่านั้นคือแค่เพียงเอาตัวเองวิ่งผ่านสิ่งนั้นเพียงเพราะไม่มั่นใจในธรรมอย่างแท้จริงมันเกินกว่าคำว่า วิจิกิจฉาไปแล้วเสียอีก...มองและมองด้วยตาที่ไม่ใช่ตาคำสอนที่โพสต์มามันจะมีค่ายิ่งและค่าจริงคือเราไม่ใช่ใครและไม่ใช่เพื่อใครจึงจะเรียกว่าการเริ่มต้น...ไม่ใช่เห็นแก่ตัวแต่ตัวต้องเห็นจึงจะส่งต่อให้ใครต่อใครได้
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ความหมาย ภาวนา กับ ภาวิตต่างกัน -ภาวนา อยู่ในขั้นฝึกหัดพัฒนา ส่วนภาวิต- ฝึกหัดพัฒนาแล้ว (แสดงความหมายสั้นๆ)

    ภาวนา 4 นั้น คืออะไร

    1. กายภาวนา การเจริญกายหรือพัฒนากาย คือ พัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือ ทางกายภาพ (รวมทั้งเทคโนโลยี) โดยเฉพาะรับรู้สิ่งทั้งหลาย ทางอินทรีย์ 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ด้วยดี โดย ปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้มีโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ

    2. ศีลภาวนา การเจริญศีล หรือพัฒนาศีล คือ พัฒนาความประพฤติ พัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคม โดยตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลกัน

    3. จิตตภาวนา การเจริญจิต หรือพัฒนาจิต คือ ฝึกอบรมพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม เช่น มีเมตตา กรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และสดชื่น เป็นสุข ผ่องใส เป็นต้น

    4. ปัญญาภาวนา การ เจริญปัญญา หรือพัฒนาปัญญา คือฝึกอบรมพัฒนาปัญญา ให้เจริญงอกงาม จนเกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง โดยรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น รู้เท่าทัน เห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็น อิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์ จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ มีชีวิตเป็นอยู่ แก้ไขปัญหา และทำการทั้งหลายด้วยปัญญาที่รู้ถึงเหตุ ปัจจัย


    เมื่อรู้ความหมายภาวนาที่เป็นเนื้อตัวของการปฏิบัติทั้ง 4 แล้ว ก็เข้าใจภาวิตที่เป็นคุณสมบัติของท่านผู้จบการปฏิบัติ ผู้มีธรรมทั้ง 4 ข้อนั้นแล้ว ดังนี้

    1.ภาวิตกาย ผู้ได้เจริญกายหรือมีกายที่พัฒนาแล้ว คือได้ฝึกอบรมพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือทางกายภาพ โดยรู้จักอยู่ดีมีสุขอย่างเกื้อกูลกันกับสิ่งสรรค์และธรรมชาติโดย เฉพาะให้การรับรู้ทางอินทรีย์ 5 เช่น ดู, ฟัง เป็นไปด้วยสติและเพื่อปัญญา และให้การใช้สอยเสพบริโภคต่างๆ เป็นไปอย่างพอดี ที่จะได้คุณค่าแท้ที่เป็นประโยชน์จริง ไม่หลงใหลเตลิดเพริดไปตามอิทธิพลของความชอบใจ หรือไม่ชอบใจ ไม่ลุ่มหลงมัวเมา มิให้เกิดโทษ แต่ให้เป็นคุณ มิให้ถูกบาปอกุศลครอบงำ แต่หนุนให้กุศลธรรมงอกงาม

    2.ภาวิตศีล ผู้ได้เจริญศีลหรือมีศีลที่พัฒนาแล้ว คือได้พัฒนาความประพฤติมีพฤติกรรมดีงามในความสัมพันธ์ทางสังคม โดยตั้งอยู่ในระเบียบวินัยอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี ไม่ใช้กายวาจา และอาชีพในทางที่เบียดเบียน หรือก่อความเดือดร้อนเสียหายแก่ใครๆ แต่ใช้เป็นเครื่องพัฒนาชีวิตของตน และช่วยเหลือเกื้อกูลกันสร้างสรรค์สังคม

    3. ภาวิตจิต ผู้ได้เจริญจิตหรือมีจิตใจพัฒนาแล้ว คือได้ฝึกฝนอบรมพัฒนาจิตใจให้สดใส เบิกบานร่าเริง ผ่องใสโปร่งโล่งเป็นสุขเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีน้ำใจเมตตา กรุณา ศรัทธากตัญญูกตเวทิตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ขยันหมั่นเพียร เข้มแข็งอดทน สงบมั่นคง มีสติ มีสมาธิ เป็นต้น

    4. ภาวิตปัญญา ผู้ได้เจริญปัญญาหรือมีปัญญาที่พัฒนาแล้ว คือได้ฝึกฝนอบรมพัฒนาปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาและดับทุกข์ได้ปลดเปลื้องตนให้บริสุทธิ์ปลอดพ้นจากกิเลส มีชีวิตเป็นอยู่ด้วยปัญญา โดยมีจิตใจเป็นอิสระสุขเกษมไร้ทุกข์
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    # 11 คือท่านผู้จบกิจแล้ว เรียกว่าท่านมีอารยะฤทธิ์ก็ได้ แม้จะไม่มีไม่ได้โลกิยอภิญญาก็ตาม

    พระอรหันต์ท่านใด แม้จะไม่ได้โลกิยอภิญญา ไม่สามารถแสดงฤทธิ์อะไรได้ แต่ท่านก็มีฤทธิ์อย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นฤทธิ์แบบอริยะ หรืออารยฤทธิ์ คือสามารถทำใจมองบุคคล และสิ่งที่น่าใคร่ น่าติดใจ ให้เป็นสิ่งอนิจจัง ตกอยู่ในคติธรรมดาแห่งสังขาร ไม่น่าผูกใจรักฝากใจให้ ซึ่งเป็นฤทธิ์ที่ประเสริฐกว่าการเดินน้ำ ดำดิน เหาะได้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นฤทธิ์ที่มิใช่อริยะ หรือไม่ใช่อารยะฤทธิ์ อาจให้เกิดโทษได้ ไม่ทำให้หลุดพ้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...