การดูจิตโดยปฏิบัติสัมมาสมาธิ ย่อมไม่คิดไปเองว่าจิตเป็นอนัตตา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 12 มิถุนายน 2010.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    การปฏิบัติสัมมาสมาธิในพระพุทธศาสนานั้น ทำให้เรารู้จักเรื่องจิตได้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะว่าเรื่องจิตนั้นเป็นหัวใจหลักในพระพุทธศาสนาของเรา พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ล้วนทรงสอนแต่เรื่องจิต

    จิตกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นที่จิต ในระหว่างการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา เช่น กุศลจิต อกุศลจิต สุขใจ ทุกข์ใจ ดีใจ เสียใจ รัก ชอบ ชัง ธรรมารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนเกี่ยวข้องกับจิตของผู้ปฏิบัติทั้งสิ้น เพราะจิตของผู้ปฏิบัตินั้น ต้องรับรู้สภาวธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นที่จิตของผู้ปฏิบัติ

    ผู้ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอยู่นั้น ล้วนต้องระลึกรู้อยู่ตลอดเวลาของการปฏิบัติว่า อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอะไรบ้างเกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิต เพื่อประคองจิตให้มีสติสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายเหล่านั้น คำว่าจิตและใจนั้นใช้แทนกันได้ โดยเฉพาะใจเป็นอายตนะหนึ่งในหกของอายตนะภายใน ที่จิตของผู้ปฏิบัติใช้สำหรับติดต่อกับอารมณ์

    ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายทั้งปวง(ทั้งภายนอกและภายใน)ที่กล่าวมานั้น ล้วนเกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิต ในขณะใดๆ ถ้าจิตขาดสติ จิตก็จะแสดงอาการของจิตออกมาเพื่อสนองตอบต่ออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นตลอดเวลาที่เรายังดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้

    การที่เราผู้ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาจะรู้จักจิตที่แท้จริงหรือที่เรียกว่าการเข้าถึงอธิจิต(จิตอันยิ่ง)ได้นั้น เราต้องเดินตามรอยพระบาทขององค์ศาสดา โดยเริ่มต้นจากการปฏิบัติสัมมาสมาธิในอริยมรรคมีองค์แปด เพราะอะไร?

    มีผู้สงสัยกันมากมายว่า เพราะอะไรจึงต้องเริ่มจากการนั่งสมาธิก่อนหละ เนื่องจากมองไม่เห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการนั่งปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา เพราะความเคยชิน(กิเลสในกมลสันดาน) ที่ติดกับความสะดวกสบายและการชอบปล่อยความคิดของตนเองให้ร่องลอยไปกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่รัก ชอบ ชังทั้งหลายที่เข้ามาครอบงำจิต

    เมื่อต้องมาควบคุมฝึกฝนอบรมจิต ให้อยู่ในกรอบแห่งความคิด(ความคิดที่เป็นกุศลที่ปราศจากกาม)เสียแล้ว จิตก็จะแสดงอาการดิ้นรนกวัดแกว่งเพื่อจะออกจากกรอบอันดีงามนั้น เพราะความเคยชินกับการปล่อยความคิดให้เตลิดไปกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด รัก ชอบ ชังเหล่านั้นเป็นประจำ ตามที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง

    ฉะนั้น การฝึกฝนอบรมปฏิบัติสัมมาสมาธิ(จิตตั้งมั่นชอบ) จึงเป็นสิ่งที่เราชาวพุทธควรปฏิบัติตามอย่างยิ่ง เพื่อจะได้มีจิตที่ตั้งมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ) หรือเรียกว่าอธิจิตนั่นเอง เป็นจิตที่มีสติสัมปชัญญะคอยกำกับอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง เป็นจิตอ่อนควรแก่การงาน เป็นจิตที่เป็นที่พึ่งที่อาศัยได้ และเราก็จะพบตนที่เป็นที่พึ่งที่อาศัยที่แท้จริงได้นั่นเอง เพราะรู้จักอนัตตาธรรมเป็นอย่างดี

     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ส่วนพวกที่คิดว่าจิตเป็นอนัตตา ห้ามมันไม่ได้ สั่งมันไม่ได้นั้น สืบเนื่องมาจากการที่ไม่รู้จักหรือไม่เคยเข้าถึงจิตที่แท้จริง(อธิจิต) และไม่รู้จักอนัตตาธรรมที่ถูกต้องตามพระพุทธวจนะของพระพุทธองค์

    พระองค์ได้ทรงตรัสสั่งสอนพระปัญจวัคคีย์ในอนัตตลักขณสูตร(สูตรที่ว่าด้วยเรื่องอนัตตาโดยเฉพาะ) ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา

    ถ้ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้จักได้เป็นอัตตา(ที่พึ่ง)แล้ว
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ
    และบุคคลพึงได้ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    ก็เพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา(พึ่งพาอาศัยไม่ได้)
    ฉะนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่า
    รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
    ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตน(ที่พึ่ง)ของเรา?
    ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

    เธอทั้งหลายพึงเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่ใช่ของเรา
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เป็นเรา
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่ใช่ตน(ที่พึ่ง)ของเรา


    เมื่อปฏิบัติและเทียบเคียงกับพระพุทธพจน์ เราย่อมสรุปความได้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ทั้งหลายล้วนเป็นทุกข์ พึ่งพาอาศัยไม่ได้ เพราะ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งนั้นพึ่งพาอาศัยไม่ได้(เป็นอนัตตา)

    แต่จิตที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ที่ผ่านการฝึกฝนอบรมปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามาอย่างดีแล้วนั้น จิตย่อมสามารถถ่ายถอนความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ทั้งหลายเหล่านั้นลงได้

    เป็นจิตที่มีสติปัญญาคอยกำกับดูแลตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องใช่มั้ย??? ใช่
    เป็นจิตที่มีคุณภาพอ่อนควรแก่การงานใช่มั้ย??? ใช่ มีคุณภาพอ่อนควรแก่การงานอย่างยิ่ง
    เป็นจิตที่พึ่งพาอาศัยได้มั้ย??? พึ่งพาได้แน่นอน
    เป็นจิตที่หลุดพ้นจากอุปทานขันธ์ ๕ ทั้งหลายใช่มั้ย??? ใช่แน่นอน

    อย่างนี้แล้ว ยังจะให้จิตเป็นอนัตตาอีกหรือ???

    ถ้าจิตเป็นอนัตตาจริง จะสร้างสติให้เกิดขึ้นที่จิตได้รึ?

    จิตเป็นที่พึ่งพาอาศัยไม่ได้รึ? ก็ในเมื่อเราสร้างสติให้เกิดขึ้นที่จิตได้ จิตย่อมต้องพึ่งพาอาศัยได้สิ

    ห้ามมันไม่ได้อีกรึ? ก็ถ้าห้ามมันไม่ได้ ก็ฝึกฝนอบรมมันให้มีสติไม่ได้เช่นกันสิ จิตที่มีสติสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดีแล้ว ย่อมต้องห้ามจิตไม่ให้ประกอบอกุศลธรรมขึ้นได้

    สั่งมันไม่ได้รึ? แบบนี้ถ้าจิตคิดจะทำร้ายใคร ก็ต้องปล่อยให้จิตมันสั่งร่างกายให้ออกไปเที่ยวทำร้ายคนอื่นๆสิ

    คนที่จิตมีสติปัญญาสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวแล้วกำกับอยู่ที่จิต จะปล่อยให้เป็นแบบนั้นหละหรือ??? ไม่มีทางเป็นไปได้ ดั่งพระพุทธพจน์ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า “จิตที่ปฏิบัติ(สัมมาสมาธิ)ดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้”

    ก็แสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า จิตที่ปฏิบัติสัมมาสมาธิมาดีแล้ว ย่อมพึ่งพาอาศัยได้ ห้ามได้ สั่งได้ดั่งใจหวัง ดังนี้....


    ธรรมภูต

    ;aa24
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2010
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    ยังเห็นผิดอยู่นะ และก็ยังไปเผยแพร่ใน บล๊อก เสียอีก เข้าใจนะว่าไม่รู้ ไปล่ะ มาสะกิดเฉย ๆ
     
  4. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,562
    ค่าพลัง:
    +2,128
    อาการของจิตคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ใช่หรือไม่ครับ

    ถ้าจิตมีสติ จิตก็จะไม่แสดงอาการของจิต คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกมาหรือครับ.

    ถ้าจิตมีสติแปลว่าจิตจะไม่มีอาการของจิต คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้นหรือครับ
     
  5. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    การดูจิตที่ถูกต้อง...ผมเข้าใจว่า(ไม่รู้ถูกต้องมั้ยนะ)...

    จิตนั้นโดยปกติไำม่หยุดนิ่ง
    แส่สายตลอดเวลา
    และรวดเร็วมาก(จากตำราที่เขียนไว้ว่าเกิดดัีบเร็วมาก)
    การที่เราจะรู้เท่าทันอาการของจิตนั้น
    ต้องมีกำลังความตั้งมั่นจองสติและสมาธิ คือมีฐานที่ตั้งให้จิตหยุดแส่ส่ายพร้อมทั้ง
    สติมีความเร็วเท่าทันอาการที่เกิดขึ้นของจิตเนื่องจากผัสสะที่มาตกกระทบ
    สามารถรู้เท่าทันความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายใน
    เรียกว่า สติและสมาธิมีกำลังและสมดุลกัน
    โดยทั่วไป....โดยมากยังไม่สามารถเข้าถึงสภาวะที่จิตสงบนิ่ง หยุดแส่ส่าย
    และยังไม่รู้ว่าสภาวะที่ว่านั้นเป็นอย่างไร
    ไม่ต้องกล่าวถึงกำลังสติ เพราะกำลังสตินั้นจะมีมากได้ต้องผ่านการฝึกฝน
    เคี่ยวกรำ ต่อสู้กับสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น
    จนสามารถเท่าทันขันธ์5 มีปัญญาเข้าในใจขันธ์5
    ผมเข้าใจคำว่าดูจิตประมาณนี้แหละครับ
    โดยทั่วไปในที่นี้ไม่ได้มีเจตนาพาดพิงผู้ใด
    หากหมายถึงสัตว์ทั้งหลายที่วนเวียนในสังสารวัฏฏ์
    และมีมิจฉาทิฐิ ไม่มีโอกาสเข้าถึงธรรม ชุ่มไปด้วยกิเลส
    ไม่มีเจตนาจะกระทบกระเทียบผู้ใด
    ขอให้ทุกท่านโชคดี
    สาธุ
     
  6. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,806
    ค่าพลัง:
    +7,940
    ระหว่างที่ยังไม่มั่นใจว่า ถูกหรือไม่ถูก ขออนุญาติแนะให้ระลึก
    บางอย่างระหว่างที่เห็นจิตแส่ส่ายดังนี้

    หากแลเห็นว่าจิตแส่ส่าย ไหลไปด้วย รู้สึกว่า เกิดแส่ส่ายร่วมด้วย
    ให้ ย้อนระลึกมาที่จิต ที่กำลังทำหน้าที่รู้

    หากย้อนเข้ามาที่ ส่วนที่ทำหน้าที่รู้ จะเห็นว่า มันรู้ของมันอยู่ตรง
    กลางนั่น แต่ส่วนที่แส่ส่าย รู้สึกว่าจิตแส่ส่ายไหลไปนั้น นั่นไม่ใช่จิต

    แต่บอกอย่างนี้แล้ว โดยส่วนมาก จะน้อมตัวผู้รู้แส่ส่ายมาอยู่ตรงกลาง

    สร้างภาพในใจ ปรุงขึ้นมาว่า อยู่ตรงกลาง แล้วตามรู้จิตแส่ส่ายได้
    แล้วสำคัญว่า รู้ตัวทั่วพร้อม ก็ให้ย้อนดู จิตที่ตั้งตรงกลางนั้นด้วยว่า
    มันก็ถูกรู้ได้ แต่อย่าเพ่งเข้าไป จะอึดอัด

    หากทำแต่พอดี จะเห็นว่าแท้จริงไม่ต้อง หาที่ตั้งของจิต และ จิตไม่
    ได้แส่ส่ายไปไหน มันทำหน้าที่รู้ เป็น ธาตุรู้ของมันอยู่ โดยที่ไม่เกี่ยว
    อะไรกับ การแส่ส่าย การเป็นคน สัตว์ ตัวตน บุคคล เราเขา รู้ตัวทั่ว
    พร้อม รู้สักแต่ว่ารู้ เป็นอย่างไรก็จะชัดแก่ใจ ไม่ต้องบรรยายกำกับ

    ...เมื่อพอดี สติระลึกอยู่ที่จิตพอดี จะเห็นว่า จิตนั้นแผ่ไปทั่ว ความแส่
    ส่ายเหล่านั้นเป็นเพียง หยดฝนเล็กๆที่ตกอยู่ในโลกของจิต แลเห็นเป็น
    ฟายฟองก็ได้ แลเห็นเป็นพยับแดดก็ได้ แลได้แบบนั้น แปลว่า เริ่มแล
    เห็นขันธ์5 แยกออกจากจิต แต่มันก็อยู่ในจิต(ข่ายรู้) ออกมาจากจิต(ปรุงโดยจิต)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2010
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    อย่ากล่าวร้ายใคร โดยที่ไม่ชี้ชัดลงไปสิครับว่า

    เห็นผิดเห็นผิดตรงไหน? ที่ถูกควรเป็นอย่างไร?

    อย่ามาสะกิดเฉยๆ คนอื่นอาจจะเข้าใจผิดได้ว่า มาสะกิดเพื่อต้องการหาเรื่องได้...

    ;aa24
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2010
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    คุณdamrongครับ

    รูปคืออารมณ์ ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์

    รูปนั้นไม่ว่าทั้งภายนอกหรือภายในที่เป็นธรรมารมณ์ไปแล้ว ล้วนเป็นอารมณ์ของจิตทั้งสิ้น

    เช่นจมูกได้รับกลิ่นที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ รูปของสิ่งนั้นๆก็มาปรากฏขึ้นที่จิตแล้ว

    แต่จะตรงตามที่รู้สึกนึกคิดที่คิดเอาไว้หรือเปล่าเท่านั้น

    และจะแสดงอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาอีกที เมื่อเห็นที่มาของกลิ่นที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจนั้น

    ตาเห็นรูปที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ หูได้ยินเสียงที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจฯลฯก็เช่นกัน รูปคืออารมณ์ของจิต

    ใช่ครับ เมื่อจิตมีสติสัปชัญญะคอยกำกับ จิตย่อมระงับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดได้ทันทีที่กระทบอารมณ์

    ก่อนที่จะแสดงอาการของจิตออกมา แต่คนส่วนใหญ่มักรับอารมณ์เข้าไปแล้วทันทีที่กระทบ

    มักระงับความรู้สึกนึกคิดได้ก็ต่อเมื่อจิตรับอารมณ์ที่กระทบเข้ามาปรุงแต่งแล้ว

    จนจิตเกิดอาการไหวตัว(อาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์)ปรากฏให้รู้สึกได้ สำหรับคนที่เคยได้ปฏิบัติมาบ้าง

    ต่อมาที่ระงับได้นั้น ด้วยสัญเจตนาที่เคยตั้งใจไว้ ยังไม่ใช่สัมมาสติที่เกิดขึ้นเอง

    ส่วนจะเป็นสัมมาสติได้นั้น ต้องมีฐานที่ตั้งของสติ(ฐานเดิม)อย่างต่อเนื่องจึงจะใช่

    คุณต้องระวังระหว่าง กิริยาจิตของพระอริยะที่แสดงออกมา กับอาการของจิตที่คนทั่วไปแสดงออกมานะครับ

    ต้องได้ใกล้ชิดหรือเข้าถึงจริงๆโดยการได้รับธรรมของท่านเท่านั้น จึงจะพอแยกได้ครับ

    ;aa24
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2010
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    คุณผ่านมาเฉยๆครับ

    เมื่อผ่านมาเฉยๆ ผมก็บอกผ่านไปเฉยๆนะครับ

    ก่อนอื่นต้องรู้เสียก่อนว่า จิตนั้นเดิมมีสภาพธรรมเป็นเพียงธาตุรู้เท่านั้น

    แต่ที่ชอบแส่ส่ายออกไปรับรู้อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น

    เพราะมีอวิชชาครอบงำจิตมาอย่างยาวนาน จึงทำให้บดบังสภาพธรรมของจิตที่แท้จริงนั้นไว้

    ด้วยจิตมีสภาพธรรมที่เกิดขึ้นในภายหลัง มีสภาพธรรมที่กลอกกลิ้งเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอย่างรวดเร็ว

    เราต้องแก้สภาพธรรมที่เกิดขึ้นที่จิต ด้วยการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา "พุทโธ"เป็นเครื่องแก้

    เพื่อลดความปราดเปรียวของจิตลงด้วยกำลังสติ สมาธิที่เกิดจากการปฏิบัติกรรมฐานภาวนาเท่านั้น

    ไม่มีวิธีง่ายๆ สบายๆ และลัดสั้นอย่างที่ชอบสอนกันหรอก

    เนื่องเพราะจิตนั้นถูกอวิชชาครอบงำมาอย่างยาวนานนั่นเอง จึงหลงไหลและชอบแส่ส่ายออกไปหาอารมณ์อยู่เสมอ

    จิตที่จะเป็นกลางได้นั้น จะต้องเป็นจิตที่มีคุณภาพ อ่อนควรแก่การงาน

    อันเนื่องจากจิตที่ผ่านการอบรมปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามาแล้วเป็นอย่างดีเท่านั้น

    เพียงแค่นึกๆคิดๆแล้ว จิตจะเป็นกลางได้นั้น ก็มีแต่วิปัสสนึกเอาเองเท่านั้นที่ทำได้

    แต่ไม่ใช่จิตที่รู้เห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นหรอกนะจะบอกให้...

    เร็วก็ต้องมีช้าแก้ มืดก็ต้องมีสว่างแก้ คิดเองเออเองก็ต้องมีการปฏิบัติภาวนาแก้ฯลฯ

    ;aa24
     
  10. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,562
    ค่าพลัง:
    +2,128
    แต่ที่ชอบแส่ส่ายออกไปรับรู้อารมณ์ <<จิตแส่ส่ายออกไปจากอะไรครับ ??

    ความรู้สึกนึกคิดต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น <<ความรู้สึกนึกคิดต่างๆที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นที่ใดครับ??

     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    คุณdamrongครับ

    จิตโดยสภาพธรรมที่เป็นปรกติแล้วนั้น มีสภาพธรรมเพียงมีหน้าที่ "รู้"เท่านั้น

    แต่เพราะมีอวิชชาเข้ามาครอบงำจิตมาอย่างยาวนานนับไม่ถ้วนนั่นเอง(เวียนตายเวียนเกิด)

    ทำให้สภาพธรรมที่แท้จริงถูกบดบังเต็มไปด้วยอวิชชา

    จึงปรากฏสภาพธรรมใหม่เกิดขึ้นที่จิตครับ

    คือที่จิตชอบแส่ส่ายออกจากตนเองไปรู้เรื่องราวอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ

    และมักยึดมั่นถือมั่นเรื่องราวอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่รู้มาเหล่านั้นมาว่าเป็นของๆตนเสมอ

    รูปวัตถุสิ่งของต่างๆและอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย ล้วนเกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิตครับ

    ;aa24
     
  12. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
  13. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    อ้างอิง.....

    ผู้ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอยู่นั้น ล้วนต้องระลึกรู้อยู่ตลอดเวลาของการปฏิบัติว่า อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอะไรบ้างเกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิต เพื่อประคองจิตให้มีสติสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายเหล่านั้น คำว่าจิตและใจนั้นใช้แทนกันได้ โดยเฉพาะใจเป็นอายตนะหนึ่งในหกของอายตนะภายใน ที่จิตของผู้ปฏิบัติใช้สำหรับติดต่อกับอารมณ์

    อนุโมทนากับ ธรรมภูติด้วย.......

    แต่สงสัยอยู่ตรงที่เน้นสีไว้ อายตนะ เป็นประตูไปสู่จิต ใจ ก็น่าจะเป็นเพียงประตูที่นำพาเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดจากสัญญา หรือผัสสะ จากอายตนะ อื่น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น ท่องเที่ยวไป เกิดพบเห็นสิ่งใด ๆ เข้า ก็ทำให้ เกิดสัญญา คิดย้อนไปในอดีต หรือ อนาคต ......หรือ นั่งเล่น อยู่ว่าง ๆ ก็คิดไปเรื่อย .... เหล่านี้ ใจ มันเป็นตัวปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ ไปสู่ จิต ใช่หรือไม่ ? ถ้าใช่ ใจในอายตนะ มันก็ไม่ใช่ จิต จริงใหม ?.......

    ตรงนี้ไม่เข้าใจในข้อความของท่าน วานเฉลย......ถ้าล่วงเกิน ขออภัย.


     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    คุณผู้พันจุ่นครับ ดีใจ เสียใจ ก็คืออาการของจิตที่แสดงออกไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด

    เราคงไม่ใช่คำว่า ดีจิต เสียจิต น้อยจิต(ใจ) ชอบจิต(ใจ)ฯลฯ หรอกนะครับ

    เราเรียกจิตที่มาอาศัยอยู่ในร่างกายในปัจจุบันนี้ที่อยู่ในโลกว่าใจหรือที่นิยมเรียกว่าจิตใจ

    คำว่าจิตและใจนั้นใช้แทนกันได้ในบางแห่งเท่านั้น

    จิตเมื่ออาศัยในกายนี้ ย่อมต้องสร้างอายตนะในการเชื่อมต่ออารมณ์ไว้ทั้งหมดหกช่องทางด้วยกัน

    เพื่อรองรับกิเลสกรรมวิบากที่ตนเองได้สั่งสมมาอย่างยาวนานนับไม่ถ้วน

    ทุกช่องทางเมื่อรับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเข้ามาแล้ว ย่อมต้องปรุงแต่งเป็นสัญญาหรือธรรมารมณ์เก็บไว้ในใจหรือที่จิตนั่นเอง

    เช่นพ่อแม่ครูบาอาจารย์บางท่าน ท่านยังชอบใช้คำว่าจิตบ้าง ใจบ้าง ขึ้นกับประชุมชน ที่ท่านอาศัยอยู่

    เพื่อสื่อสารให้เป็นที่เข้าใจธรรมได้ง่ายขึ้นเท่านั้น เช่นจิตที่บริสุทธิ์บ้างล่ะ ใจที่บริสุทธิ์บ้างล่ะเหล่านี้ครับ

    ;aa24
     
  15. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    อ้างอิง.....

    จิตเมื่ออาศัยในกายนี้ ย่อมต้องสร้างอายตนะในการเชื่อมต่ออารมณ์ไว้ทั้งหมดหกช่องทางด้วยกัน เพื่อรองรับกิเลสกรรมวิบากที่ตนเองได้สั่งสมมาอย่างยาวนานนับไม่ถ้วน

    ทุกช่องทางเมื่อรับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเข้ามาแล้ว ย่อมต้องปรุงแต่งเป็นสัญญาหรือธรรมารมณ์เก็บไว้ในใจหรือที่จิตนั่นเอง

    ท่านธรรมทูต....อีกครั้งเถอะครับ....

    จิตเมื่ออาศัยในกายนี้ ย่อมต้องสร้างอายตนะในการเชื่อมต่ออารมณ์ไว้ทั้งหมดหกช่องทางด้วยกัน .....ข้อความนี้ จิตสร้างอายตนะในการเชื่อมต่ออารมณ์ไว้ทั้งหมดหกช่องทางด้วยกัน...

    ช่องทางที่ 6 ใจ ที่ผมกล่าวถึง มันทำหน้าที่ คิด แล้วส่งผลเป็น อารมณ์ ไปให้จิต รู้ ดังตัวอย่างที่ยกไว้คือ คิดไปในเรื่อง อดีต อนาคต แล้วส่งอารมณ์ไปที่จิต ...อย่างนี้ ใจตัวนี้ไม่น่าใช่ จิต แต่เป็น ธรรมารมณ์ สัมผัสด้วยใจ แล้วส่งข้อมูลไปเก็บไว้ที่ จิต

    ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่...? ถ้าถูก จิต ก็ไม่ใช่ ใจ แน่นอน ต้องขอล่วงเกินแล้ว.

     
  16. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,708
    ค่าพลัง:
    +1,563
    ไหนใครช่วยบอกหน่อยสิ
    ทวาร ใจ
    วิญญาณ ในขันธ์5
    จิต
    อะไรที่เหมือนกันเป็นอย่างเดียวกัน หรือไม่เหมือนกันเลย อย่างไร
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    คุณผู้พันจุ่นครับ

    ใช่ครับ ใจก็คืออาการของจิตดีๆนี่เองครับ

    จะว่าไม่ใช่จิตก็ไม่ถูกเสียที่เดียวครับ เพราะเป็นอาการของจิตก็ต้องเนื่องด้วยจิตใช่มั้ยครับ???

    จะว่าเป็นจิตก็ไม่ได้อีกเช่นกันครับ เพราะจิตที่ขาดสติ หลงไป เผลอไปในขณะนั้น

    จึงเกิดอาการของจิต ดีใจ เสียใจขึ้นมาที่จิตใช่มั้ยครับ???

    ;aa24
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    คุณสองชาติ บรรลุธรรมครับ

    ทวารใจ ก็คือช่องทางในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆที่เป็นแขกจรเข้ามาครับ

    วิญญาณในขันธ์๕ ก็คือ อาการของจิต(ใจ)ที่แจ้งในอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดนั้นๆที่ปรากฏ(มโนวิญญาณ)

    จิต ก็คือธาตุรู้ ซึ่งมีหน้าที่รู้อยู่ทุกกาลสมัยเท่านั้น

    จิตจะรู้โดยไม่รับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เข้ามากระทบก็ได้ ถ้าได้ฝึกฝนอบรมมาดีแล้วครับ

    ฉะนั้นจิตกับใจเหมือนกันที่ "รู้"เหมือนกัน ต่างกันที่

    ใจรู้แล้วเป็นต้องรับ(ยึดมั่นถือมั่น)ในอารมณ์เหล่านั้นที่เรียกว่ามโนวิญญาณครับ

    ส่วนจิตที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้วนั้น "รู้" โดยไม่รับ(ยึดมั่นถือมั่น)ในอารมณ์เหล่านั้นได้ครับ

    ;aa24
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2010
  19. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    ธรรมภูติ.......

    ครั้งสุดท้าย นะครับ มากไปก็ไม่ดี .......

    ผัสสะที่ ใจ ก็คืออาการของจิต จะว่าไม่ใช่จิตก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะเป็นอาการของจิตก็ต้องเนื่องด้วยจิต ตามที่ธรรมภูติสรุปนะครับ...........

    แล้ว....การผัสสะอายตนะอื่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย มันก็คืออาการของจิตเหมือนกัน เนื่องด้วยจิตเหมือนกัน จะอธิบายอย่างไร?????

    ทวารทั้ง 6 ทำหน้าที่ต่างกัน...........มีจิต ผู้รับรู้ เป็นผู้บัญชาการ ทวารก็คือทวาร จะเป็นจิตไม่ได้นะครับ เกี่ยวเนื่องก็เพราะทำหน้าที่สัมพันธ์กัน

    เอาง่าย ๆ ตัวคิด กับ ตัวรู้ เป็นตัวเดียวกันหรือ ? ความเข้าใจ ไม่ต้องสรุปว่า ผิด หรือ ถูก ..................มีโอกาสค่อยมาสนทนากันใหม่ ขอบคุณที่ทำให้เรารู้จักกัน.
     
  20. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    มางงตอนจบตกลงจิตเป็นอัตตาหรืออนัตตา

    ตัดมาจากคิลิมานนท์(อาพาธ)สูตรในฉบับภาษาเหนือ หวังว่าจะเป็นประโยชน์

    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CXP%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:16.0pt; font-family:"Angsana New"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->[FONT=&quot]ลักษณะของแผ่นดินนั้น คนและสัตว์ทั้งหลายจะทำร้ายทำดี กล่าวร้ายกล่าวดีประการใด มหาปฐพีนั้นก็มิได้รู้โกรธรู้เคือง ที่ว่าทำใจให้เหมือนแผ่นดินนั้น คือว่าให้วางใจเสีย อย่าเอื้อเฟื้ออาลัยว่าใจของตน ให้ระลึกอยู่ว่าตัวมาอาศัยอยู่ไปชั่วคราวเท่านั้น เขาจะนึกคิดอะไรก็อย่าตามเขาไป ให้เข้าใจอยู่ว่าเราอยู่ไปคอยวันตายเท่านั้น ประโยชน์อะไรกับวัตถุข้าวของและตัวตนอันเป็นของภายนอก แต่ใจซึ่งเป็นของภายในแลเป็นของสำคัญ ก็ยังต้องให้ปล่อยให้วาง อย่าถือเอาว่าเป็นของของตัว กล่าวไว้แต่พอเข้าใจเพียงเท่านี้โดยสังเขปฯ[/FONT][FONT=&quot]
    <!--[if !supportLineBreakNewLine]-->[/FONT]ดูกรอานนท์ คำที่ว่าให้ปล่อยวางจิตใจนั้น คือว่าให้ละความโลภ ความโกรธ ความหลง ปลงเสียซึ่งการร้ายและการดีที่บุคคลนำมากล่าว มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ นินทาสรรเสริญ สุขทุกข์ อย่ายินดีอย่ายินร้าย แม้ปัจจัยเครื่องบริโภคเป็นต้นว่า อาหารการกิน ผ้าผ่อนเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ที่นอน และเภสัชสำหรับแก้โรค ก็ให้ละความโลภความหลงในปัจจัยเหล่านั้นเสีย ให้มีความมักน้อยในปัจจัยเท่านั้น คือว่าเมื่อได้อย่างดีอย่างประณีต ก็ให้บริโภคอย่างดีอย่างประณีต ได้อย่างเลวทรามต่ำช้า ก็บริโภคอย่างเลวทรามต่ำช้า ตามมีตามได้ ไม่ให้ใจขุ่นมัวด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง อย่างนี้แลชื่อว่าปล่อยวางใจเสียได้ ถ้ายังเลือกปัจจัยอยู่ คือ ปล่อยให้ความโลก ความโกรธ ความหลงเข้าครอบงำ เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ชื่อว่ายังถือจิตถือใจอยู่ ยังไม่ถึงพระนิพพานได้เลย ถ้าละความโลภโกรธหลงในปัจจัยนั้นได้แล้ว จึงชื่อว่าทำตัวให้เหมือนแผ่นดิน เป็นอันถึงพระนิพพานได้โดยแท้ฯ
    [FONT=&quot]มีคำสอดเข้ามาในที่นี้ว่า เหตุไฉนจึงมิให้ถือใจ เมื่อไม่ให้ถือเช่นนั้นจะให้เอาใจไปไว้ที่ไหน เพราะไม่ใช่ใจของคนอื่น เป็นใจของตัวแท้ๆ ที่จะเป็นอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะมีใจนี้เอง ถ้าไม่มีใจนี้แล้วก็ตายเท่านั้น จะให้วางใจเสียแล้ว จะรู้จะเห็นอะไร มีคำวิสัชนาไว้ว่า ผู้ที่เข้าใจว่าใจนั้นเป็นของๆ ตัวจริง ผู้นั้นก็เป็นคนหลง ความจริงไม่ใช่จิตของเราแท้ ถ้าหากเป็นจิตใจของเราแท้ ก็คงบังคับได้ตามประสงค์ว่า อย่าให้แก่ อย่าให้ตาย ก็คงจะได้สักอย่าง เพราะเป็นของตัว[/FONT]
    [FONT=&quot]
    อันที่แท้จิตใจนั้นหากเป็นลมอันเกิดอยู่สำหรับโลก ไม่ใช่จิตใจของเราโลกเขาตั้งแต่งไว้ก่อนเรา เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับลมจิตใจ ณ กาลเป็นภายหลัง ถ้าหากว่าเป็นจิตใจของเรา เราพาเอามาเกิด ครั้นเกิดขึ้นแล้วจิตในนั้นก็หมดไป ใครจะเกิดขึ้นมาได้อีก(ผมเข้าใจว่าหมายถึงถ้าจิตนั้นเป็นอัตตาเมื่อคนๆนั้นตายก็ไม่มีการเกิดใหม่อีก) นี่ไม่ใช่จิตของใครสักคน เป็นของมีอยู่สำหรับโลก ผู้ใดจะเกิดก็ถือเอาลมนั้นเกิดขึ้น ครั้นได้แล้วก็เป็นจิตของตน ที่จริงเป็นของสำหรับโลกทั้งสิ้น ที่ว่าจิตของตนนั้น ก็เพียงให้รู้ซึ่งการบุญการกุศล การบาปการอกุศล และเพียงให้รู้ทุกข์สุข ถ้าถึงพระนิพพานแล้ว ต้องวางจิตไว้คืนแก่โลกตามเดิมเสียก่อน ถ้าวางไม่ได้ เป็นโทษ ไม่อาจถึงพระนิพพานได้ มีคำแก้ไว้อย่างนี้ฯ
    <!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
    <!--[endif]-->[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 มิถุนายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...