การถวายเงินพระขัดกับพระวินัยหรือไม่ ?

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย tamsak, 8 มกราคม 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. กัปปะ

    กัปปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +118
    [SIZE="4" ขอบคุณนะครับคุณวงบุญพิเศษ ที่เข้ามาอธิบาย
    แต่ความหมายของผม ผมต้องการเห็นพระที่เป็นพระโดยแท้จริง นั่นหมายถึงการปฎิบัติต่างๆที่พึงควรจะกระทำ แต่ทุกวันนี้ พระสงฆ์ที่สร้างความเสื่อมเสียให้กับพุทธศาสนา เยอะมาก แม้กระทั่งเณรตุ๊ดที่เข้ามาบวชให้เสื่อมเสีย เหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นเพราะ พ่อแม่อยากให้บวช บวชแล้วได้รับปัจจัยเป็นเงินทอง นั่นคือ กิเลสทั้งนั้น ลองเข้าไปดูกุฎิพระที่บวชมานานสักระยะหนึ่ง คุณน่าจะได้พบเจอกับ ทีวี ดีวีดี เครื่องเสียงในหลายๆกุฎิ ผมเคยเจอประเภทตั้งตัวเป็นหมอผี สะสมปู่ฤาษี กุมารทอง ฯลฯ ทำพิธ๊ไสยศาสตร์ เพื่ออะไร หาผลประโยชน์ทั้งนั้น
    ผมถึงคิดตามได้ว่า ถ้าเขาเหล่านั้นไม่มีเงินปัจจัยจากญาติโยม เขาคงไม่มาบวชให้ศาสนาเสื่อมเสียแน่นอน ส่วนเรื่อง พระฟรีหมด เป็นแค่การแสดงความคิดเห็น ซึ่งเวลาปฎิบัติจริงจะทำได้หรือไม่นั้นคงต้องถกกันอีกยาว...ส่วนเรื่องการเผยแผ่ศาสนานั้น ทำไมต้องจูงใจด้วยสิ่งสวยงามล่ะ ทำไมไม่มองถึงก้นบึ้งของศาสนาในเรื่องคำสอนเป็นหลัก โดยการปฎิบัติอย่างแท้จริง นั่นผมหมายถึง เมื่อหมดคนที่จะเข้ามาหาผลประโยชน์แล้ว เราน่าจะได้พระที่ปฎิบัติอย่างแท้จริง เราน่าจะใช้ความเป็นพระแท้จริงเผยแผ่ศาสนาโดยไม่พึ่งถาวรวัตถุ หรือคุณต้องการสิ่งสวยงามในวัดเพื่อเป็นการดึงดูดคนเข้าวัดเท่านั้นหรือ คุณคงได้แค่จำนวนคนเข้าวัดจริงๆ อย่างมากมาดูความสวยงาม ทำบุญ ไหว้พระ แล้วก้อกลับ อาจมีบางส่วนฟังธรรม เราน่าจะมีวิธีให้คนเข้าถึงธรรมโดยไม่ต้องพึ่งถาวรวัตถุไม่ดีกว่าหรือ...[/SIZE]
     
  2. ต้น บางแค

    ต้น บางแค สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +0
    พระรับเงินทองไม่ได้
    พระรับเงินทองเองไม่ได้ ใช้ให้ผู้อื่น คือ ไวยาวัจกรรับแทนก็ไม่ได้ โดยที่สุดยินดีเงินทองที่คนอื่น คือ ไวยาวัจกรเก็บเอาไว้ให้หรือที่เขาถวายวางไว้ใกล้ ๆ ก็ไม่ได้ หรือยินดีเงินทองที่อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศรัทธานำเงินทองมาถวายโดยฝากธนาคารไว้ให้ แต่มีชื่อพระผู้เป็นเจ้าของบัญชีอยู่ก็ไม่ได้ เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ทั้งหมด
    พระพุทธองค์ทรงบัญญัติห้ามไว้ว่า “อนึ่ง ภิกษุใดรับเองก็ดี ให้คนอื่นรับไว้ให้ก็ดี ซึ่งทองและเงิน หรือยินดีทองและเงินที่เขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์” ( มหาวิภังค์ ๒/๙๔๐)
    ปัจจุบันมีพระจำนวนมากเข้าใจว่า “ธนบัตรไม่ใช่เงิน เป็นกระดาษ ผลิตเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน เพราะฉะนั้น จึงรับได้ ไม่เป็นอาบัติแต่อย่างใด เวลาโยมถวายเงินใส่ซอง เพื่อไม่ให้ประเจิดประเจ้อ ไม่ให้คนอื่นเห็น ไม่ให้พระเณรเห็น เดี๋ยวท่านจะคิดมาก ให้ท่านไปลุ้นกันเองที่วัด พระบางองค์ใช้ย่ามรับ บางองค์ใช้มือรับ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละท่าน ถ้าเป็นสายพระบ้านโดยมากจะรับแบบเปิดเผยตรงไปตรงมา แบบซื่อ ๆ ถ้าเป็นสายพระป่าบางสาย จะรับแบบปกปิด ซ่อนเร้น รับเหมือนไม่อยากได้ คือ ให้เด็กวัดเก็บเอาไว้ก่อน พอไปถึงวัด ค่อยแจกกัน แลดูไม่น่าเกียจ จัดหน้าฉากให้ดูดีไว้ก่อน หลังฉากแล้วแต่กรณี เรียกว่า จัดฉากรับ
    การใช้จ่ายเงินของพระ เช่น ขึ้นรถลงเรือไปเหนือล่องใต้ ก็จะใช้ในรูปแบบตั๋วแลกเงิน ซิ่ง จะมีราคาใบละ ๕ บาท ๑๐ บาท เป็นต้น สามารถนำไปแลกเงินได้ตามสถานที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ พระเณรก็เอาตั๋วแลกเงินนี้ให้เป็นค่ารถ ดูแล้วก็ไม่ได้ต่างกับธนบัตรเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบวิธีการ
    ในสิกขาบทนี้ ไม่ใช่แร่เงิน แร่ทอง เงินรูปพรรณ ทองรูปพรรณ กหาปณะและมาสกเท่านั้น แต่ยังรวมเอาวัตถุต่าง ๆ ที่ชาวโลกใช้เป็นมาตรา สามารถให้สำเร็จ การซื้อขายได้ จะเป็นโลหะ ดิน ครั่ง ยาง กระดูก เปลือกหอย หนัง เมล็ดผลไม้ ไม้แก่น ข้อไม้ไผ่ ใบตาล แม้แต่กระดาษที่พิมพ์เป็นธนบัตรใช้กันทุกวันนี้ เงินทอง เป็นต้นทั้งหมด จัดว่าเป็นรูปิยะ เป็นอกัปปิยวัตถุเป็นวัตถุแห่งนิสสัคคีย์ พระรับวัตถุเหล่านั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
    ตัวอย่างที่ท่านแสดงไว้ในอรรถกถาว่า “ กหาปณะที่เขาทำด้วยทองก็ดี ทำด้วยเงินก็ดี กหาปณะธรรมดาก็ดี ชื่อว่า กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยแร่ทองแดง เป็นต้น ชื่อว่า โลหะมาสก มาสกที่ทำด้วยไม้แก่นก็ดี ด้วยข้อไม้ไผ่ก็ดี โดยที่สุดแม้มาสกที่เขาทำด้วยใบตาลสลักเป็นรูป ก็ชื่อว่า มาสกไม้ มาสกที่เขาทำด้วยครั่งก็ดี ด้วยยางก็ดี ดุนให้เกิดรูปขึ้น ชื่อว่า มาสกยาง ท่านสงเคราะห์เอามาสกทั้งหมดที่ใช้เป็นมาตราซื้อขายในชนบท โดยที่สุด ทำด้วยกระดูกบ้าง ทำด้วยหนังบ้าง ทำด้วยเมล็ดผลไม้บ้าง ดุนให้เป็นรูปขึ้นบ้าง มิได้ดุนให้เป็นรูปบ้าง วัตถุ ๔ อย่าง คือ เงิน ทองทั้งหมด และมาสกทอง มาสกเงิน มีประเภทดังกล่าวมาทั้งหมด จัดเป็นวัตถุนิสสัคคีย์”
    ( อรรถกถา มหาวิภังค์ ๒/๙๔๕)
    “จริงอยู่ วัตถุ ๔ อย่าง เหล่านี้คือ ทอง เงิน กหาปณะ และมาสก จัดเป็นวัตถุนิสสัคคีย์” ( กังขาวิตรณีแปลราชสิกขาบท ๑๒๔)
    หลักฐานที่ยกมานี้ แน่นอนที่สุด เงินกระดาษที่ใช้กันทุกวันนี้ พระรับไม่ได้ ให้คนอื่นรับแทนก็ไม่ได้ แม้ยินดีที่เขาเก็บไว้ให้ก็ไม่ได้ เป็นอาบัติ นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ทั้งหมด ไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ เลย เมื่อเป็นอย่างนี้ ทำไมพระตั้งแต่พระผู้ใหญ่ จนถึงพระผู้น้อย ยังรับเงิน ไม่กลัวผิดวินัยหรือ ? บางองค์กลัว บางองค์ไม่กลัว
    สาเหตุ พระรับเงิน
    พระรับเงิน รับเพราะเกรงใจโยม กลัวโยมจะเสียใจ กลัวศรัทธาโยมตก อุตส่าห์ตั้งใจทำบุญ ก็ควรจะได้ถวายด้วยมือตัวเอง เช่น โยมเอาเงินใส่ซองมา ใส่บาตรเป็นต้น จำใจรับ เมื่อรับมาแล้วก็สละทิ้งในท่ามกลางสงฆ์
    รับเพราะต้องการทำประโยชน์ คือ เอามาทำบุญต่อ ไม่ได้เอามาเข้าพกเข้าห่อ เพื่อความร่ำรวย แต่เอามาเพื่อพิมพ์หนังสือ สร้างสาพัฒนาวัดวาอาราม สนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระเณรเป็นต้น
    รับเพราะความจำเป็น พระบางรูปเป็นพระที่น่าเห็นใจอย่างมาก มาจากต่างถิ่น ต่างจังหวัด เข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมในตัวเมือง แม้มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปในการรับเงิน แต่ก็คงต้องรับเงินอยู่ เพราะไม่มีทั้งญาติ ไม่มีทั้งโยมปวารณา ถ้าอยู่วัดที่มีพร้อมทุกอย่างก็สะดวก แต่บางวัดพระเณร ต้องเสียค่าน้ำค่าไฟ สิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผง ซักฝอก น้ำยาล้างจาน เป็นต้น อุปกรณ์การศึกษาเล่าเรียน เช่น สมุด ปากกา ดินสอ ยางลบ หนังสือแบบเรียน นักธรรม บาลี อภิธรรม และตำรับตำรา ประกอบการศึกษาอื่น ๆ เป็นอันมาก
    บางครั้งมีเหตุจำเป็นต้องเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด เช่น พ่อแม่ ญาติเจ็บป่วยหรือตาย การเดินทางต้องใช้เงิน จะไปฟรี ๆ ไม่ได้ รายจ่ายมีมาก แต่รายรับมีน้อย พระเหล่านี้ไม่ค่อยมีกิจนิมนต์ เพราะติดเรียนติดสอน เวลาไม่มีเงิน ต้องเดือดร้อนญายิโยมทางบ้านให้จัดส่งจัดหามาให้ เป็นความจำเป็นจริง ๆ
    รับเพราะอยากได้ คือ มีความต้องการอยากจะได้อยู่แล้ว รับมาแล้วส่วนหนึ่งเก็บไว้ใช้ อีกส่วนหนึ่งก็เอาไปฝากธนาคารไว้ เวลาต้องการอะไร อยากได้อะไร ก็ไปซื้อตามสะดวกสบาย ไม่ต้องรบกวนใครให้เสียอารมณ์ พระประเภทนี้เข้ากับยุคสมัยนี้ดีมาก ญาติโยมสมัยนี้ต่างจากสมัยก่อน เพราะต่างคนต่างก็มีธุระการงานมากมายที่ต้องรับผิดชอบ ไม่ค่อยจะมีเวลามาดูแลรับใช้ เอาใจใส่ว่า พระต้องการอะไรหรือ ขาดแคลนอะไร
    วิธีสะดวกและรวดเร็วทันใจที่สุด ก็คือ ถวายเงินใส่ซองให้พระจัดซื้อจัดหาสิ่งของตามที่ต้องการเองวิธีนี้ก็สะดวกสบายดีทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายพระและฝ่ายโยม ไม่ต้องรบกวนกันบ่อย
    เมื่อพระมีเงินมาก ความคิดแบบสมณะวิสัยก็ค่อยๆ เลือนหมดไป ความคิดแบบโยมก็เข้ามาแทนที่ อยากจะได้อะไรก็ซื้อ เห็นโยมมีอะไรก็อยากมีเหมือนกับโยม เห็นโยมสร้างบ้านสวย ๆ พระเห็นแล้วอยากได้ก็สร้างกุฏิสวย ดัวย บ้านโยมติดแอร์ กุฎิพระก็ติดแอร์ โยมมีรถเบนซ์คันหรูขับ พระก็มีรถเบนซ์คันหราเช่นกัน โยมมีมือถือยี่ห้อไหน รุ่นไหน พระก็มีมือถือ ยี่ห้อนั้นรุ่นนั้นบ้าง โยมมีโทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เป็นต้น พระก็มีเหมือนโยมหมด ไม่ยอมน้อยหน้า โยมมีเงินฝากธนาคาร พระก็มีเงินฝากธนาคาร โยมเรียนจบปริญญาตรี โท เอก พระก็เรียนจบปริญญาตรี โท เอก โยมมียศฐาบรรดาศักดิ์ ทำงานราชการ มีเงินเดือน พระก็มียศฐาบรรดาศักดิ์ ทำงานราชการ มีเงินเดือน เหมือนกับโยมทุกอย่าง บางอย่างอาจจะดีกว่าโยมเสียด้วยซ้ำ เพราะมีเกียรติ์มีศักดิ์ศรีมากกว่า ตรงที่ใคร ๆ ก็ต้องเคารพกราบไหว้บูชา โยมรับราชการเพียง ๖๐ ปี เกษียณ ส่วนพระ ๘๐ ปีจึงเกษียณ อาจจะ ต่อได้อีก บางตำแหน่งไม่มีเกษียณ คือ ตายจึงเกษียณ
    พระสมัยใหม่มีเงินมาก จึงพัฒนาตัวเองอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ใช้เวลาไม่กี่ปี ก็ขึ้นมาเทียบชั้นกับโยมได้อย่างน่าทึ่ง คิดว่าต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้พระจะแซงหน้าโยมทุก ๆ ด้าน เมี่อถึงเวลานั้น โยมต้องมาเรียนรู้กับพระ ยกเว้นด้านธรรมวินัยอย่างเดียวเท่านั้น เพราะพระเดี๋ยวนี้ไม่เรียนไม่ศึกษาธรรมวินัย ไม่เห็นประโยชน์ของธรรมวินัย เห็นธรรมวินัยเป็นเรื่องโบราณเป็นประวัติศาสตร์
    สาเหตุที่ความคิดความอ่านและความประพฤติของพระเปลี่ยนไปในทางเสื่อม เพราะ “เงิน” ตัวเดียวแท้ ๆ พระรับเงิน พระยินดีในเงิน เงินทำให้พระเสียมามากต่อมาก
    เมื่อสตางค์มี สตรีก็มา สังเกตว่า พระจะมีเรื่องอื้อฉาวกับสีกาบ่อยครั้งจนเป็นข่าวเรื่องเป็นราวใหญ่โต ตามหน้าหนังสือพิมพ์ เรื่องเสื่อมเสียทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับวงการพระส่วนมากมีสาเหตุมาจากพระมีเงิน พระยินดีในเงิน พระบูชาเงินทั้งนั้น
    ถ้าพระไม่มีเงิน คงไม่เป็นเช่นนี้ คงไม่ห้าวหาญ ไม่คึกคักอย่างนี้ เงินทอง นี้มีโทษมากมาย แต่ทำไมพระจึงมองไม่เห็นโทษ ไม่ว่าจะรับ เงินทองไว้ เพื่อประโยชน์อะไร ก็ไม่ได้ทั้งนั้น ผิดทั้งหมด ทำให้ต้องอาบัติทั้งสิ้น
    พระพุทธองค์ทรงตำหนิติเตียนพระภิกษุผู้รับเงินทอง ยินดีในเงินทองอย่างรุนแรง ถึงขั้นกับว่า ไม่ใช่สมณะเชื้อสายศากยะบุตรเลยทีเดียว ดังพระพุทธองค์ตรัสกับนายบ้านชื่อ มณีจูฬกะ ว่า “ดูก่อนนายบ้าน ทองเงินไม่เหมาะไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายศากยะบุตร สมณะเชื้อสายศากยะบุตรไม่ยินดีทองเงิน ไม่รับทองและเงิน วางแก้วมณีและทองทิ้งเสียแล้ว เป็นผู้ปราศจากทองและเงิน ทองและเงินสมควรแก่ผู้ใด แม้กามคุณทั้ง ๕ ก็สมควรแก่ผู้นั้น กามคุณทั้ง ๕ สมควรแก่ผู้ใด เธอพึงจำผู้นั้นไว้โดยส่วนเดียวว่า “มีปกติไม่ใช่เชื้อสายพระศากยบุตร” เราจะกล่าวอย่างนี้ว่า “ผู้ต้องการหญ้า พึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้ พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียน พึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษ พึงแสวงหาบุรุษ แต่เราไม่กล่าวโดยปริยายไร ๆ ว่า “สมณะพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินเลย” (จุลวรรค ๒/๕๓๖)
    มีเงินทองอย่างเดียวก็เหมือนมีทุกอย่าง เพราะเงินทองสามารถซื้อทุกสิ่งทุกอย่างได้ พระยินดีเงินทอง ก็เท่ากับว่ายินดีในกามคุณ ๕ เงินทองเป็นเหตุหนึ่ง ที่ทำให้พระเศร้าหมองไม่ผ่องใส พระพุทธองค์ตรัสเครื่องเศร้าหมองของพระจันทร์พระอาทิตย์และสมณะพราหมณ์ไว้
    เครื่องเศร้าหมองของพระจันทร์และพระอาทิตย์ ๔ อย่าง
    สิ่งที่ทำให้พระจันทร์และพระอาทิตย์เศร้าหมองไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง มี ๔ อย่าง คือ หมอก ๑ น้ำค้าง ๑ ละอองควัน ๑ อสุรินทราหู ๑
    ( จุลวรรค ๒/๕๓๒)

    เครื่องเศร้าหมองของสมณะพราหมณ์ ๔ อย่าง
    เครื่องเศร้าหมองที่ทำให้พระภิกษุ ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาไม่สง่างาม ไม่ผ่องใส ไม่ไพโรจน์ มี ๔ อย่าง คือ การดื่มสุราเมรัย ๑ การเสพเมถุนธรรม ๑ การยินดีเงินทอง ๑ การเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ ๑ (จุลวรรค ๒/๕๓๓)

    พระพุทธองค์ทรงแสดงโทษของเงินและทองไว้มาก พระภิกษุผู้รับเงินทองยินดีในเงินทอง จะไม่สง่างามไม่ผ่องใส มีแต่จะเศร้าหมอง เป็นทาสของกิเลสตัณหา ดุจเนื้อถูกความมืดปกคลุมไว้ฉะนั้น บวชมาแล้วสมควรประพฤติวัตร ปฏิบัติธรรม แต่กลับต้องมาติดข้องอยู่กับเงินทองเหล่านี้ อันเป็นเหตุทำให้ภพชาติ ยืดยาวต่อไปอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น
    ของที่มีโทษมาก ถ้ารู้จักใช้ คือใช้เป็นใช้ถูกวิธีก็มีคุณมาก เรียกว่า “โทษมหันต์ คุณอนันต์” เช่น เงินทองนี้ก็ดุจเดียวกัน มีโทษมาก แต่ถ้ารู้จักวิธีใช้แล้ว ก็มีคุณมาก มีประโยชน์มาก
    พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุรับเงินทองด้วยไวยาวัจกรหรือกัปปิยการก
    ถ้าญาติโยมเกิดศรัทธาเลื่อมใส เอาเงินทองมามอบไว้กับไวยาวัจกรแล้วสั่งว่า “คุณช่วยเอาเงินทองนี้ จัดหาสิ่งของที่สมควร ถวายแก่พระคุณเจ้าด้วยนะ” พระยินดีสิ่งของที่สมควร อันเกิดจากเงินทองนั้นได้ ไม่มีโทษ ไม่ต้องอาบัติ หรือพระต้องการอะไร ก็ให้ไวยาวัจกรจัดหามาให้ ก็ไม่มีโทษ ไม่ต้องอาบัติ
    พระพุทธองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลายที่ ชาวบ้านมีศรัทธาเลื่อมใสมอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการกสั่งว่า “พวกท่านจงจัดของที่สมควรถวายแก่ พระผู้เป็นเจ้าด้วยเงินทองนี้” ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีสิ่งของที่เป็นกัปปิยะจากเงินทองนั้น แต่เรามิได้กล่าวไว้เลยว่า “ภิกษุพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไร ๆ”
    ( อรรถกถา มหาวิภังค์ ๒/๘๖๒,มหาวรรค ๒/๑๔๙)
    ถ้าพระไม่รับเอง ไม่ให้ผู้อื่นรับเงินทองแทน และไม่ยินดีเงินทองที่ผู้อื่นเก็บไว้ให้หรือวางไว้ใกล้ ๆ เพียงแต่ยินดีในปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ ยารักษาโรค ตลอดสมณะบริขารที่สมควรเพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องอาบัติ โดยให้ไวยาวัจกรไปจัดการสิ่งของที่เป็นกัปปิยะมาให้ ตามที่ต้องการ ก็ไม่มีโทษอะไร

    วิธีถวายเงิน
    เมื่อโยมมีศรัทธาต้องการถวายเงินแก่พระ ควรทำให้ถูกต้องตามวินัย วิธีที่ถูกต้อง มี ๒ วิธี คือ
    ๑.โยมเขียนใบปวารณาเสร็จแล้ว นำเงินเหล่านั้นไปมอบไว้กับไวยาวัจกรพร้อมสั่งว่า “คุณช่วยจัดหาสิ่งของที่สมควรถวายแก่พระคุณเจ้า เท่ากับจำนวนเงินนั้น” แล้วนำเอาใบปวารณามาถวายพระ ให้ท่านรับรู้รับทราบเฉพาะในใบปวารณาเท่านั้น วิธีที่หนึ่งนี้มีวิธีปฏิบัติเหมือนในเมณฑกสิกขาบทคือ ทายกเป็นผู้ระบุชื่อไวยาวัจกรเอง เพราะฉะนั้นภิกษุผู้ไม่ยินดีมูลค่า ยินดีแต่กัปปิยภัณฑ์(สิ่งของที่สมควร) จะขอกี่ครั้งก็ได้ ไม่มีกำหนด แม้ตั้งพันครั้งก็ควร
    ๒.โยมนำเงินเหล่านั้นมาแล้ว ถามพระว่า “ใครเป็นไวยาวัจกรเก็บรักษาเงินเหล่านี้” ถ้าไวยวัจกรอยู่ต่อหน้า ท่านจะตอบว่า “คนนี้เป็นไวยาวัจกร” ถ้าไวยาวัจกรไม่ได้อยู่ต่อหน้า ท่านก็จะตอบว่า “คนชื่อนี้อยู่บ้านโน้นเป็นไวยาวัจกร” ถ้าโยมไม่ถามท่านก่อน ท่านจะบอกอ้างไวยาวัจกรว่า “เอาไปไว้กับคนนั้น คนนั้นเป็นไวยาวัจกร” อย่างนี้ไม่ได้ ไม่พ้นจากอาบัติ ท่านได้แต่พูดปฏิเสธว่า “อาตมาไม่รับเงิน หรือ พระรับเงินไม่ได้ต้องอาบัติ”
    เมื่อโยมเอาเงิน เหล่านั้นไปมอบ และสั่งไวยาวัจกรให้เข้าใจ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เข้าไปหาพระบอกว่า “โยมได้บอกไวยาวัจกรให้เข้าใจแล้ว ท่านต้องการสิ่งของที่สมควร ขอจงบอกนะครับ” วิธีที่สองนี้ มีวิธีปฏิบัติเหมือนในราชสิกขาบท คือ พระภิกษุเป็นผู้ระบุชื่อไวยาวัจกร มีกำหนดขอได้ ๓ ครั้ง แต่ไม่เกิน ๖ ครั้ง

    วิธีขอ หรือ ทวง
    ในเวลาที่พระจะขอสิ่งของที่ต้องการกับไวยาวัจกร ควรใช้คำพูดให้ถูกต้อง อย่าใช้คำพูดในเชิง สั่งบังคับว่า “โยมจงให้จีวรแก่อาตมา จงให้มีดโกน จงให้มีดตัดเล็บแก่อาตมา เป็นต้น” หรือสั่งซื้อว่า “โยมจงซื้อจีวรให้แก่อาตมา จงซื้อใบมีดโกน ร่มและรองเท้าให้แก่อาตมาเป็นต้น” จีวรเป็นต้นที่พระรูปนั้นสั่งซื้อได้มา ไม่ควรแก่พระผู้สั่งซื้อ แต่พระรูปอื่น ๆ ใช้ได้
    ควรใช้คำพูดที่สมควรว่า “โยม อาตมาต้องการจีวร อาตมาต้องการใบมีดโกน เป็นต้น” จึงจะสมควร

    คำถวายเงิน
    โยมผู้มีความประสงค์จะถวายเงิน ควรกล่าวคำถวายเงิน ด้วยถ้อยคำที่สมควร ตามเมณฑกสิกขาบท ดังนี้
    กระผมขอถวายปัจจัยอันสมควรแก่สมณะบริโภคเป็นมูลค่าเท่าราคา.............บาท.............สตางค์ ถ้าพระคุณเจ้าประสงค์สิ่งหนึ่งสิ่งใดเท่ากำหนดนี้ โปรดเรียกจากไวยาวัจกรผู้รับมอบนั้นเทอญ

    ตัวอย่างใบปวารณา
    ข้าพเจ้า..............ขอถวายปัจจัย อันสมควรแก่สมณะบริโภค เป็นมูลค่าเท่าราคา.............บาท.............สตางค์ หรือเป็นค่า.............(น้ำไฟไปจีวรเป็นต้น) ถ้าพระคุณเจ้าประสงค์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เท่าในกำหนดนี้ โปรดเรียกจากไวยาวัจกรผู้รับมอบตามประสงค์เทอญ

    วิธีปฏิบัติในเงินและทองตามอรรถกถา
    เมื่อมีโยมนำเงินทองมาวางไว้ แล้วพูดว่า “นี้เป็นของพระผู้เป็นเจ้า” ถ้าภิกษุยินดีด้วยจิต ต้องการจะรับเอาด้วยกาย หรือวาจา แต่ปฏิเสธว่า “นี้ไม่ควร” ไม่เป็นอาบัติ ไม่ห้ามด้วยกายและวาจา เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ไม่ยินดี ด้วยคิดว่า “นี้ไม่สมควรแก่เรา” ก็ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน ภิกษุถือเอาเองหรือให้ผู้อื่นถือเอารูปิยะ ที่ตกอยู่ภายในวัดหรือภายในที่อยู่ของตน ด้วยคิดว่า “ของผู้ใด ผู้นั้นจะมาเอาไป” ตามรตนสิกขาบทไม่เป็นอาบัติ (มหาวิภังค์ ๒/๘๑๔)
    ความจริง บรรดาไตรทวาร ภิกษุห้ามแล้วด้วยทวารใดทวารหนึ่ง ย่อมเป็นอันห้ามแล้วแท้ แต่ถ้าไม่ห้ามด้วยกาย และวาจา รับอยู่ด้วยจิต ย่อมต้องอาบัติ ในกายทวารและวจีทวาร มีการไม่ทำเป็นสมุฎฐาน เพราะไม่กระทำการห้ามที่ตนพึงกระทำ ด้วยกายและวาจา แต่ชื่อว่าอาบัติ ทางมโนทวารไม่มี
    คน ๆ เดียวกันวางเงินทองตั้งร้อยตั้งพันไว้ใกล้ ๆ ตัว ด้วยกล่าวว่า “นี้จงเป็นของท่าน” ภิกษุห้ามว่า “นี้ไม่ควร” อุบาสกพูดว่า “กระผมสละถวายท่านแล้ว” ก็หลีกไป มีคนอื่นมาที่นั้น ถามว่า “นี้อะไรครับ” ภิกษุบอกคำที่อุบาสกและตนพูดกัน ถ้าเขาพูดว่า “ผมจะเก็บให้นะครับ ขอให้ท่านอาจารย์บอกที่เก็บแก่ผม” ภิกษุพาโยมนั้นไปยังที่เก็บแล้วพูดว่า “นี้ที่เก็บ” แต่อย่าบอกว่า “จงเก็บไว้ที่นี้” อกัปปิยวัตถุ(มีทองและเงินเป็นต้น) อาศัยวัตถุที่เป็นกัปปิยตั้งอยู่ ด้วยคำบอกมีประมาณเท่านี้ ปิดประตู (ใส่กุญแจ) รักษาไว้
    ถ้ามีอุบาสก ถือเอาบาตรและจีวรบางอย่างมาขาย เมื่อพูดว่า “ท่านจะรับสิ่งนี้ไหมครับ” ก็กล่าวว่า “อุบาสก พวกเราต้องการสิ่งนี้ วัตถุเห็นปานนี้ (เงินทอง) ก็มีอยู่ แต่ไม่มีกัปปิยการก ถ้าเขาพูดว่า “ผมจะเป็นกัปปิยการกให้ ขอนิมนต์ท่านเปิดประตูให้เถอะครับ” เปิดประตูให้แล้ว บอกว่า “อยู่ตรงโน้นโยม”และอย่าพูดว่า “โยมถือเอาสิ่งนี้” แม้อย่างนี้ อกัปปิยวัตถุก็อาศัยวัตถุที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะตั้งอยู่เหมือนกัน ถ้าเขาถือเอามากเกินไป ก็บอกว่า “พวกเราจะไม่เอาภัณฑะของท่าน จงเก็บเสีย” ( มหาวิภังค์ ๒/๙๔๗)

    วิธีเสียสละเงินทอง
    ภิกษุรับเงินทองเป็นต้นแล้ว ต้องสละในท่ามกลางสงฆ์ห่มผ้าเฉวียง บ่าเข้าไปหาสงฆ์ กราบเท้าภิกษุผู้มีพรรษาแก่กว่า นั่งกระโหย่งประนมมือกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้า เป็นของต้องสละ ข้าพเจ้าสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์”
    นิสสัคคียวัตถุทุกอย่าง สามารถสละในท่ามกลางสงฆ์ คณะหรือบุคคล แต่เงินทองและวัตถุสิ่งของที่ซื้อมาด้วยเงินทอง พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้สละ ในท่านกลางสงฆ์เท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่ออนุเคราะห์สงฆ์ให้ได้บริโภคปัจจัย ๔ ที่ได้มาจากเงินที่ทำวินัยกรรมแล้ว
    เมื่อภิกษุผู้รับเงินทอง สละเงินทองในท่ามกลางสงฆ์แล้ว ก็แสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด สามารถ พึงรับอาบัติ ถ้าคนทำงานวัด หรือ อุบาสกเดินมาในที่นั้น ภิกษุก็บอกเขาว่า “โยมจงรู้ของสิ่งนี้” ถ้าเขาถามว่า “จะให้ผมนำเงินทองนี้ไปซื้ออะไรมาให้ครับ” อย่าบอกว่า “จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา” ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเมื่อจะบอก ไม่ควรบอกว่า “โยมจงนำเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย มาด้วยเงินทองนี้” ควรพูดคำเพียงเท่านี้ว่า “สิ่งนี้ สิ่งนี้ สมควรแก่พระสงฆ์” ถ้าเขานำเงินทองนั้นไปซื้อของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย เว้นภิกษุผู้รับเงินทองเสีย ภิกษุทั้งหมดนอกนั้น พึงแจกกันฉันได้ทุกรูป ภิกษุผู้รับเงินทองไม่พึงรับส่วนแบ่ง
    ปัจจัย ๔ เป็นต้น ที่ได้มาจากเงินทองนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยที่สุด แม้ร่มเงาของกุฏิ วิหาร ต้นไม้ ย่อมไม่สมควรแก่ภิกษุผู้รับเงินทอง นั้นแม้ปริยายไรๆที่ทรงบัญญัติเช่นนี้ก็เพื่อป้องภิกษุผู้รับเงินทอง อ้างเลศ รับเงินทองมาสละท่ามกลางสงฆ์แล้ว พลอยอาศัยบริโภคปัจจัย ๔ พร้อมกับสงฆ์ด้วย
    ถ้าอุบาสกที่เดินผ่านมานั้น ไม่รู้จักซื้อสิ่งที่เป็นกัปปิยะ มีเนยใสและน้ำมันเป็นต้นแก่สงฆ์ ก็บอกเขาว่า “โยมช่วยทิ้งเงินทองนั้นเสีย” ถ้าเขาโยนทิ้งที่ใดที่หนึ่ง นั้นเป็นการดี ถ้าเขาไม่ทิ้ง ถือเอาไปเสียเอง ก็ไม่ต้องห้ามเขา ถ้าเขาไม่ถือเอาไป และไม่ทิ้งให้หลีกไป ตามความปรารถนา สงฆ์พึงสมมุติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
    ๑.ไม่ถึงความลำเอียง เพราะความชอบพอกัน
    ๒.ไม่ถึงความลำเอียง เพราะความเกลียดชัง
    ๓.ไม่ถึงความลำเอียง เพราะความงมงาย
    ๔.ไม่ถึงความลำเอียง เพราะความกลัว
    ๕.รู้จักว่าทำอย่างไร เป็นอันทิ้งและไม่เป็นอันทิ้ง
    ให้เป็นผู้ทิ้งเงินทอง (มหาวิภังค์ ๒/๙๔๒)
    ภิกษุผู้ทิ้งเงินทองนั้นหลับตาแล้ว ไม่กำหนดหมายที่ตกของเงินทอง ไม่เหลียวดูดุจคูถ ทิ้งให้ตกไปในแม่น้ำ ในเหว หรือพุ่มไม้ ถ้ากำหนดหมายที่ตกของเงินทอง ต้องอาบัติทุกกฎ
    ในเงินทอง ภิกษุพึงรังเกียจอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสบอกการบริโภคใช้สอยแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยปริยาย (โดยอ้อม) ก็การบริโภคปัจจัยที่เกิดขึ้น จากเงินทองนั้น ไม่สมควรแก่ภิกษุผู้รับเงินทองโดยปริยายไร ๆ เลย ก็การบริโภคปัจจัยที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุผู้รับเงินทองนั้นฉันใด ปัจจัยที่เกิดขึ้นเพราะการอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่จริงก็ดี เพราะกุลทูสกถามก็ดี เพราะการหลอกหลวงเป็นต้นก็ดี ย่อมไม่ควรแก่ภิกษุนั้น และแก่ภิกษุอื่นฉันนั้น ถึงปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยธรรมโดยสม่ำเสมอ ยังไม่ได้พิจารณาจะบริโภคก็ไม่ควร (อรรถกถา มหาวิภังค์ ๒/๙๕๐,วินยสังคหแปล ๖๖)
    (แต่ถ้าไม่มีสงฆ์ครบ ๔ รูป ให้เสียสละ ภิกษุจะทิ้งเงินทองเสียเอง หรือเงินทองนั้นสูญหายไปแล้วแสดงอาบัติต่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ก็เป็นอันพ้นอาบัติ บริสุทธิ์ได้เหมือนกัน โดยเทียบกับองค์ขาดประเคนข้อที่ ๖ บอกว่า สละทิ้งไปโดยไม่เยื่อใย มหาวิภังค์ ๑/๘๕๐)
    มีเงินเขาเรียกน้อง มีทองเขาเรียกพี่ เงินทองไม่เข้าใครออกใคร ทำได้ทุกอย่าง ทำให้ลูกฆ่าพ่อ พ่อฆ่าลูกก็ได้ เมียฆ่าผัว ผัวฆ่าเมียก็ได้ น้องฆ่าพี่ พี่ฆ่าน้องก็ได้ โยมฆ่าพระ พระฆ่าโยมก็ได้ มีเงินทองอยู่ตรงไหน วุ่นวายตรงนั้น ยกเว้นบุคคลผู้สันโดษมักน้อย พอใจในสิ่งที่ตนมี ยินดีในสิ่งที่ตนได้ เมื่อมีก็ไม่ติด เมื่อไม่มีหรือหมดไป ก็ไม่เดือดร้อน
    ยุคนี้เป็นยุคบริโภคนิยม เป็นยุคคนบูชาเงิน เห็นเงินเป็นพระเจ้า เห็นเงินมีค่ากว่าศีลธรรม กว่าความดีของคน จึงทำได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทอง แม้จะผิดกฎหมายบ้านเมือง ผิดศีลธรรมก็ตาม มือใครยาวสาวได้สาวเอา กอบโกยโกงกิน หลงผิดคิดไปว่า “มีเงินทองมาก จะมีความสุขมาก” ที่แท้กลับหอบทุกข์มาให้มากกว่าเดิมหลายเท่า
    เงินทองทำให้เกิดทุกข์โทษภัยใหญ่หลวงแก่คนเหล่านั้นมากต่อมากทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เงินทองนี้ถ้าใช้ไม่เป็น เช่นใช้ในทางที่ผิด เหมือนกับยาพิษมีโทษมหันต์ แต่ถ้ารู้จักกิน รู้จักใช้ เช่น เอาไว้ทำประโยชน์ตนและประโยชน์คนอื่น มีทำบุญให้ทานเป็นต้น ก็จะมีคุณอนันต์เหมือนกับยาวิเศษฉะนั้น
    เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ถ้าเป็นฆราวาสญาติโยมแล้วก็คงเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะในชีวิตประจำวันของฆราวาส ต้องกินต้องใช้ จะบิณฑบาตแบบพระก็ไม่ได้ แต่สำหรับพระแล้วเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ นี้ไม่ใช่เรื่องธรรมดา บวชเข้ามาแล้วยังมามัววุ่นวายอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ก็เป็นเรื่องที่น่าตำหนิติเตียนอย่างมาก เป็นพระใช้เงินทองแบบโยมมีโทษมาก ถ้าใช้เงินทองแบบพระ คือ แบบที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ ให้พระรับเงินทองได้ด้วยไวยาวัจกร แบบนี้ไม่มีโทษไม่ต้องอาบัติ ถ้าโยมมีศรัทธาต้องการจะถวายเงินทองแก่พระ ควรถวายตามแบบที่พระองค์ทรงอนุญาตไว้นั้น คือ เอาไปมอบไว้กับไวยาวัจกรของวัด ให้ไวยาวัจกรจัดการหาสิ่งของตามที่พระต้องการ หรือ ถ้าโยมต้องการถวายอะไร เช่น จีวร สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ผงซักฟอกเป็นต้น ก็ไปซื้อมาถวายท่านกับมือเลยก็ยิ่งดี ถ้าโยมไม่รู้ว่าจะซื้ออะไร ถามท่านก็ได้ว่า “วัดนี้ขาดแคลนอะไรไหม?” ถ้าท่านบอกว่า “ ขาดบาตร จีวร กลด ใบมีดโกน น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอกเป็นต้น” โยมก็ซื้อสิ่งของเหล่านั้นมาถวายท่านเลย ท่านก็จะใช้ทันทีเพราะขาดอยู่พอดี วัตถุทานของโยมก็จะเป็นประโยชน์แก่ผู้รับอย่างมาก โยมฉลาดรู้จักทำบุญอย่างนี้ จะได้บุญมาก ๆ ถ้าวันไหน ๆ ก็ถวายแต่ถังเหลือง ถังเหลืองเยอะแยะไปหมด พระไม่รู้ว่าจะใช้อย่างไรจึงจะหมด ได้แต่เอาออกมาตั้งเรียงไว้ตาม ศาลา กุฏิ ถนน ดูแล้วเหลืองอร่ามไปทั้งวัด
    ด้วยการทำเพียงเท่านี้ โยมก็ทำให้พระพ้นจากอาบัติแล้ว โยมก็ได้ชื่อว่าเป็นคนหนึ่ง ที่ช่วยพระรักษาวินัย พระพุทธศาสนาจะเจริญขึ้น หรือว่าจะเสื่อมลงก็ขึ้นอยู่กับพุทธบริษัททั้ง ๔ ไม่ใช่เพราะเหตุอื่นเลย ถ้าบริษัททั้ง ๔ คือ ทั้งฝ่ายพระและฝ่ายโยม ยังขวนขวายช่วยกันรักษาธรรมวินัยไว้อยู่ แน่นอนพระพุทธศาสนาก็ยังจะดำรงคงอยู่คู่โลกไปอีกตราบนานเท่านาน
     
  3. ต้น บางแค

    ต้น บางแค สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +0
    ไวยาวัจกร คือ ใคร ?
    ไวยาวัจกร หมายถึง กัปปิยการก ผู้ทำให้สมควร (กังขาวิตรณีแปลราชสิกขาบท ๑๒๔) ไวยาวัจกร กับ กัปปิยการกนั้นเหมือนกัน จะต่างกันเพียงเล็กน้อย คือ กัปปิยการก ( ผู้ทำกัปปิยะ ) จะเป็นสามเณรหรือคฤหัสถ์ก็ได้ ส่วนไวยาวัจกรนั้นจะเป็นคฤหัสถ์อย่างเดียว กัปปิยการกที่เป็นสามเณรนั้นจะช่วยงานสงฆ์เกี่ยวกับการทำกัปปิยะผลไม้ที่เมล็ดปลูกขึ้นได้ ผักสดที่ปลูกขึ้นได้ ตัดต้นไม้ และ ขุดดินเป็นต้น แต่กัปปิยการกที่เป็นคฤหัสถ์กับไวยาวัจกรนั้น จะทำงานแทนพระสงฆ์ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำกัปปิยะผลไม้ ผักสด ตัดต้นไม้ ขุดดินและ ถางป่าเป็นต้น และเรื่องเกี่ยวกับเงินทองที่ต้องแลกเปลี่ยนซื้อขาย พระภิกษุไม่สามารถทำได้ จึงเป็นหน้าที่ของกัปปิยการกหรือไวยาวัจกรเป็นผู้จัดซื้อจัดหามาถวายให้พระภิกษุ
    สรุปกัปปิยการกที่เป็นคฤหัสถ์กับไวยาวัจกรคือคนเดียวกัน ชื่ออาจต่างกัน แต่ความหมายเหมือนกัน คือ ผู้ทำหน้าที่แทนพระสงฆ์ในกรณีที่พระทำไม่ได้เพราะ ถ้าทำก็ต้องอาบัติ

    คุณสมบัติของไวยาวัจกรที่ดีที่เหมาะสม
    มีศรัทธา คือ เป็นคนมีศรัทธา มีความเชื่อกรรมและผลของกรรมเป็นต้น มีความเลื่อมใสหนักแน่นในพระพุทธศาสนา ไม่เป็นคนขี้เหล้าเมายา ไม่เล่นการพนัน
    ต้องการบุญ เห็นอานิสงส์ของเวยยาวัจจมัยบุญ คือ บุญที่เกิดจาการขวนขวายในการงานที่เป็นบุญเป็นกุศล เพราะการงานของพระทุกอย่างเป็นบุญของโยมทั้งหมด
    มีความซื่อสัตย์ สุจริต ไว้ใจได้ ไม่คดโกง ไม่ใช่บุคคลประเภทวัดครึ่งหนึ่งกรรมการครึ่งหนึ่ง ไม่เอาเงินวัดไปปล่อยกู้ ไปเล่นการพนันเหมือนที่เป็นข่าว
    มีการเสียสละ คือ เสียสละการงานและเวลาของตัวเองได้ ใช้งานได้ง่าย ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบาก มุ่งการงานของสงฆ์เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่พวกนานที่ปีหนจึงเข้ามาวัดครั้งหนึ่งหรือ ให้คนไปตาม ๑๐ ครั้ง มาครั้งหนึ่ง
    มีอัธยาศัยดี เป็นคนสนิทสนมกับพระเณรดี เข้ากับพระเณรได้ทุกองค์ ไม่ใช่คุ้นเคยกับเจ้าอาวาสเพียงองค์เดียว นอกนั้นเมินไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคยกับพระเณรองค์ไหนเลย
    เป็นคนฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ รู้จักสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ (สิ่งที่ควรและไม่ควร) ไม่ตามใจพระเณรในทางที่ผิด เช่น พระเณรใช้ให้ไปซื้อข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยวตอนเย็นเป็นต้น ต้องบอกว่า “ผมไปซื้อให้ไม่ได้หรอก มันผิดวินัยของพระ มิใช่หรือครับ” เป็นต้น

    หน้าที่ของไวยาวัจกร
    ไวยาวัจกร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่แทนพระสงฆ์ ในกรณีที่พระทำไม่ได้ เช่น ตัดตันไม้ ขุดดิน ถางป่า ดายหญ้า และ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น
    ทำกัปปิยะ ผลไม้ที่มีเมล็ด และพืชผักสดที่ปลูกขึ้นได้
    เรื่อง เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน ซื้อขาย ด้วยเงินทอง พระไม่สามารถทำได้และในกรณีที่พระพูดไม่ได้โดยตรง เช่น การประชาสัมพันธ์บอกบุญให้ญาติโยมสาธุชนได้ทราบ เมื่อทางวัดมีงานเกี่ยวกับการสร้างสรรพัฒนาวัดวาอาราม การอบรม และการศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นต้น ทางวัดขาดเหลืออะไร ใช้งบประมาณเท่าไร ไวยาวัจกรตัองทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์เป็นสื่อบอกกล่าวแทนพระ
    หน้าที่หลักของไวยาวัจกรคือ ช่วยดูแลเกี่ยวกับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ คอยดูแลรับใช้ใกล้ชิด หรือเอาใจใส่ว่าพระเณรขาดแคลนอะไร ต้องการอะไรบ้าง คอยถามไถ่สารทุกข์สุขดิบอยู่เสมอ ถ้าทราบว่าท่านขาดเหลืออะไรต้องรีบจัดหามาให้ ถ้าเป็นเรื่องอื่น ๆ เช่นการทำกัปปิยะผลไม้ ผักสดเป้นต้น คนอื่นสามารถทำแทนได้ งานของไวยาวัจกรไม่ได้หนักอย่างที่คิด เพราะปกติพระก็เป็นคนเลี้ยงง่าย มีงานน้อยอยู่แล้วจะเรียกใช้เรียกหา ก็เฉพาะตอนที่มีงานหรือมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น
    หากมีไวยาวัจกรคอยดูแลเรื่องเงินทอง พระก็เบาใจ รักษาวินัยได้ง่าย พระต้องการอะไรก็ขอจากไวยาวัจกรได้ไม่เป็นอาบัติ แต่ไวยาวัจกรนั้น ก็มีหลายประเภท บางประเภทก็ขอวัตถุสิ่งของที่สมควรได้ บางประเภทขอไม่ได้เลย

    ไวยาวัจกรมี ๔ ประเภท คือ
    ๑.ไวยาวัจกรที่พระเป็นผู้ระบุชื่อ
    เมื่อพระปฏิเสธการ ไม่รับเงินทองแล้ว โยมถามว่า “ใครเป็นไวยาวัจกร พระจึงแสดงคนที่อยู่ต่อหน้าให้ โยมก็มอบเงินทองและสั่งไวยาวัจกร ต่อหน้าพระว่า “คุณช่วยหาสิ่งของที่สมควร ถวายท่านด้วยนะ”
    หรือพระแสดงคนที่ไม่ได้อยู่ต่อหน้าว่า “คนชื่อนี้ อยู่บ้านโน้นเป็น ไวยาวัจกร” โยมเอาเงินทองไปมอบไว้พร้อมกับสั่งให้เขาเข้าใจเรียบร้อยแล้ว จึงกลับมาบอก หรือวานคนอื่นมาบอกแทน หรือบอกกับพระก่อนไปว่า “โยมจะขอให้คนนั้นช่วย ท่านต้องการสิ่งของอะไรที่สมควร ก็บอกกับเขาได้นะครับ” แล้วจึงเอาเงินทองไปมอบไว้กับคนนั้น ไวยาวัจกรประเภทนี้ พระเป็นผู้ระบุชื่อ มีวิธีปฏิบัติเหมือนในราชสิกขาบท คือกำหนดการขอได้ไม่เกิน ๖ ครั้ง
    ๒.ไวยาวัจกรที่โยมเป็นผู้ระบุชื่อ
    พระไม่มีไวยาวัจกร หรือไม่อยากจะจัดการเรื่องนี้ เพราะเห็นว่ายุ่งยากวุ่นวาย เมื่อถูกโยมถาม จึงบอกว่า “พวกอาตมาไม่มีไวยาวัจกรหรอก”
    โยมจึงเอาเงินทองมอบไว้ กับบางคนที่เดินผ่านมาแถวนั้น พร้อมกับบอกพระว่า “ท่านโปรดรับสิ่งที่สมควรกับคนนี้” แล้วหลีกไป หรือเข้าไปในบ้าน เอาเงินทองไปฝากไว้กับคนที่ชอบพอกัน แล้วกลับมาบอก หรือวานให้คนอื่นมาบอก หรือบอกไว้ก่อนที่จะเข้าไปหมู่บ้านว่า “โยมจะขอให้คนชื่อนี้ที่อยู่บ้านโน้นช่วย ท่านต้องการสิ่งของที่สมควรอะไรก็บอกกับเขานะครับ”
    ไวยาวัจกรประเภทนี้โยมเป็นผู้ระบุชื่อ มีวิธีปฏิบัติเหมือนในเมณฑก สิกขาบท พระผู้ไม่ยินดีมูลค่า ยินดีแต่กัปปิยภัณฑ์(สิ่งของที่สมควร) สามารถขอได้โดยไม่กำหนดจำนวนครั้ง แม้ตั้งพันครั้งก็ควร จนกว่าจะได้สิ่งของนั้น ถ้าเขาไม่ช่วยหาให้ พระสามารถตั้งไวยาวัจกรคนใหม่ได้ โดยจะแจ้งแก่เจ้าของเงินทองหรือไม่ก็ได้
    ๓.ไวยาวัจกรที่เสนอตัวเป็นเอง
    เมื่อพระปฏิเสธการรับเงินทอง ถูกโยมถามว่า “ใครเป็นไวยาวัจกรของพวกท่าน” จึงบอกว่า “พวกอาตมาไม่มีไวยาวัจกรหรอก” มีบางคนที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ ได้ยิน จึงเสนอตัวเองว่า “ท่านผู้เจริญ โปรดเอาเงินมาให้เถอะ ผมจะจัดการหาสิ่งของที่สมควรถวายพระคุณเจ้าเอง” โยมจึงเอาเงินทองมอบไว้กับคนนั้น ไม่บอกอะไรแก่พระแล้วก็กลับไป
    ๔.ไวยาวัจกรลับหลัง
    โยมเอาเงินทองมอบไว้กับอุปัฏฐากของพระ หรือคนที่ตนรู้จักและสั่งว่า “คุณช่วยจัดหาสิ่งของที่สมควรถวายแก่พระคุณเจ้าชื่อนี้ด้วยนะ”แล้วก็หลีกไป โดยไม่มาแจ้งให้พระทราบเลย
    ไวยาวัจกรประเภทที่ ๓ และ ๔ มีวิธีปฏิบัติเหมือนในอัญญาตกสิก-ขาบท และอัปปวาริตสิกขาบท พระไม่มีสิทธิ์จะขอ ถ้าเขาจัดหามาถวายเองควรรับ ถ้าเขาไม่ได้นำมาถวาย ไม่ควรพูดอะไร ๆ เลย (อรรถกถา มหาวิภังค์ ๒/๘๖๒)

    สรุปไวยาวัจกรทั้ง ๔ ประเภท
    ไวยาวัจกรประเภทที่ ๑ พระเป็นผู้ระบุชื่อ มีวิธีปฏิบัติเหมือนในราช-สิกขาบท มีกำหนดขอได้ไม่เกิน ๖ ครั้ง
    ไวยาวัจกรประเภทที่ ๒ โยมเป็นผู้ระบุชื่อ มีวิธีปฏิบัติเหมือนในเมณฑกสิกขาบท ขอได้ไม่มีกำหนดจำนวนครั้ง แม้ตั้งพันครั้งก็ควร
    ไวยาวัจกรประเภทที่ ๓ และ ๔ มีวิธีปฏิบัติเหมือนในอัญญาตกสิกขาบท และอัปปวาริตสิกขาบท พระไม่มีสิทธิ์จะขอ หรือพูดอะไรทั้งสิ้น ถ้าเขาจัดหามาถวายเองควรรับ ถ้าเขาไม่ได้จัดนำมาถวาย ไม่ควรพูดอะไร ๆ เลย
    พระก็เหมือนคนป่วย บางครั้งมีมืออยู่อยากจะทำ แต่ก็ทำไม่ได้ มีปากอยากพูด แต่ก็พูดไม่ได้ ต้องอาศัยพยาบาลคือไวยาวัจกรทำแทน พูดแทน พระมีความเป็นอยู่ที่เนื่องด้วยบุลคลอื่น มีสิ่งเดียวที่จะทำได้ คือมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสมถะมักน้อยสันโดษ ทำตัวให้เลี้ยงง่าย บำรุงง่ายและ อย่าเอาแต่ใจตัวเองหรือตามใจกิเลส ตามกระแสโลกมากนัก.
    ไม่ใช่ว่ามีไวยาวัจกรแล้วจะขอเรื่อยใป ใช้งานเขาจนหัวทิ่มหัวตำ จนทำอะไรไม่ถูก จะทำให้เขาเบื่อหน่าย ในวัดหนึ่งมีไวยาวัจกรคนเดียว พระเณรทั้งวัด ก็เบาใจมากแล้ว ทำให้รักษาวินัยได้สะดวกสบายขึ้น
    สมัยนี้หาไวยาวัจกรยากเหลือเกิน เป็นเพราะเหตุผลกลใดไม่ทราบ เบื่อวัดหรือเปล่า? ผู้จะมาเป็นไวยาวัจกรหายากเหลือเกิน หญิงก็ได้ ชายก็ดี ขอเพียงมีความบริสุทธิ์ใจจริงใจใฝ่บุญ ก็เพียงพอแล้ว ใครสนใจ บุญกุศลด้านนี้ เสนอตัวเข้ามา พระสงฆ์รอคอยท่านอยู่ ชาตินี้ ท่านรับใช้พระสงฆ์ แต่ชาติหน้าคนทั้งประเทศจะรับใช้และเชื่อฟังท่าน การทำบุญที่ไม่ได้เสียเงินทอง ใช้แรงกายอย่างเดียว ก็คือ เวยยาวัจจมัยบุญนั้นเอง ผู้หวังความสุขความเจริญในชาตินี้และชาติหน้าควรทำหน้าที่นี้อย่างยิ่ง ไม่ควรพลาดโอกาสนี้หากเข้าใจบทบาทหน้าที่ อานิสงส์และผลที่จะมีต่องานสืบอายุพระศาสนา
    ข้อความจาก หนังสือ วินัยพระน่ารู้ คู่มือโยม
     
  4. กัปปะ

    กัปปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +118
    ขอบคุณคุณ ต้น บางแคนะครับ ข้อมูลเพียบดีจังเลย ส่วนตัวผมไม่ได้ศึกษาทางนี้ เลยไม่ค่อยจะรู้เกี่ยวกับทางศาสนาสักเท่าไร แต่ที่กล้าออกมาโต้ตอบนั้น มาจากใจที่พบเห็นความเสื่อมเสียของศาสนา ที่ถูกกระทำโดย มนุษย์หัวโล้น นุ่งผ้าเหลือง จึงอยากสนับสนุนเรื่องนี้ "งดการให้ปัจจัยเงิน ทอง กับพระสงฆ์ สามเณร" สำหรับคนที่ไม่เห็นด้วยนั้น ถ้ามีแนวทางที่ดีกว่านี้ แสดงความคิดเห็นได้ ไม่ใช่ตะแบงข้างๆคูๆ อ้างโน่น อ้างนี่ นะครับ ต้องการความคิดเห็นที่สามารถกำจัดมนุษย์หัวโล้นที่แฝงเข้ามาหากินกับพุทธศาสนาของเรา (กรณีนี้ไม่เกี่ยวกับคนที่นับถือศาสนาอื่นนะครับ ขอเริ่มที่ศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุดในประเทศไทยเท่านั้น) ส่วนความเห็นที่ผมเเสดงความคิดเห็นนั้น เรื่อง พระฟรีนั้น เป็นแค่การรองรับว่า ถ้าไม่ให้ปัจจัยกับพระ แล้วพระจะลำบาก จึงขอให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นนะครับ ส่วนจะทำได้หรือไม่ อันนี้ตอบไม่ได้นะครับ คงต้องขึ้นอยู่กับหลายๆฝ่าย เพราะเรื่องนี้ใหญ่มาก แต่ขอบอกอีกนิด ว่าสมัยก่อน พระยังเดินเท้าไปตามที่ต่างๆโดยไม่ได้พึ่งพาพาหนะอื่นๆได้ , ไม่มีไฟฟ้า , ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวก พระที่เคร่งครัด ก้อยังอยู่กันได้ เลยทำให้พระสามารถสร้างศรัทธา จนศาสนาอยู่ได้จนทุกวันนี้
    แต่สมัยนี้ อ้างโน่น อ้างนี่ คิดจะหาคนเข้าวัด โดยการสร้าง ศาสนวัตถุให้สวยงามเข้าไว้ แต่ไม่เคยมองถึงพระที่ปฎิบัติในวัดเลยว่า ปฎิบัติชอบหรือเปล่า มัวไปยึดติดกับศาสนวัตถุอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงความเป็นพระที่ถูกต้อง อย่างที่เคยกล่าวไว้ว่า ได้แค่คนเข้าวัด แต่ พระไม่เคยทำหน้าที่เผยแผ่เลย มัวแต่คิดจะหาเงินเข้าวัดอย่างเดียว จัดงานวัด เก็บหมดทุกอย่าง แผงขายของ บางที่จอดรถยังต้องเสียเงิน ขนาดถวายสังฆทาน บางวัดบริการซองไว้สำหรับญาติโยมที่ไม่ได้พกมาอีกแหน่ะ...
     
  5. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    ถ้าเป็นคนธรรมดาแค่ศีลห้าก็เพียงพอแล้วครับ ส่วนพระนั้น่ท่านถือศีล 227 ข้อ ในส่วนที่ห้ามรับเงินหรือใช้ให้คนอื่นรับ ด้วยความยินดีนั้น เพื่อไม่ให้สะสม ตัดความโลภออกไป ให้เหลือน้อยที่สุด แต่จริตของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ถ้าท่านเปลี่ยนโลกนี้ไม่ได้ ก็จงเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เข้ากับโลกนี้ซะ กฎเกณฑ์ทั้งหลายมีไว้เพื่อเรียนรู้และก้าวข้ามไปอย่างเหมาะสม และผิดถูกก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย
     
  6. applegreen

    applegreen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +555
    ตั้งแต่วันบวชมาหลวงพ่อให้ปฏิญาณตนว่าข้าพเจ้าจะรับเงินและทองที่ผู้มีจิตศรัทธาถวาย แต่จะใช้ในสิ่งที่สมควรแก่สมณสารูปเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะเข้าร่วมในกองบุญการกุศลเพื่อเพิ่มกุศลให้แก่ผู้ที่ถวายเรา เพราะว่าเรื่องของพระเรารับเงินเองก็ดีคนอื่นรับไว้ก็ดีถ้าเรารู้อยู่ก็โดนอาบัติเท่ากัน คือศีลขาดเหมือนกัน เพราะฉะนั้นไม่ต้องเสียเวลาให้คนอื่นรับแทนหรอก รับแทนหรือว่ารับเองมันก็โดนเท่ากัน ถ้าอย่างนั้นก็รับเองเสียก็แล้วกัน

    ไม่ทราบว่าแต่ละท่านอ่านหัวข้อแล้วได้ทำความเข้าใจหรือเปล่า พระอาจารย์เล็ก ท่านก็บอกชัดแล้วว่า คนอื่นรับแทนแต่ เรารับรู้ก็อาบัติเท่ากัน ไม่รับเองแต่เรา(พระ)รับรู้ก็บาปอยู่ดี มันไม่ได้สำคัญว่าจับหรือไม่จับ สำคัญว่า รับแล้วเอาไปทำอะไรมากกว่า

    พระธรรมยุติไม่จับเงินแต่เอาใส่ซองพกติดตัว หรือใช่ตั๋วแทนมันต่างกันตรงไหน

    ถ้าไม่มีการถวายปัจจัยเลย แล้วพระจะอยู่อย่างไร การให้รัฐบาลรับผิดชอบ รัฐบาลก็ต้องรับ
    ทุกศาสนา เพราะในหลวงของเราทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภก คือยอบรับทุกศาสนา

    หลวงตามหาบัว มีคนถวายเงิน ทองให้ท่านเป็นล้าน แต่ท่านก็เป็นพระอรหันต์
    ผู้ที่เป็นพระอริยเจ้าแม้แต่ความเป็นอริยเจ้ายังไม่ยึดติดเลย

    สำหรับคนที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องพระจับเงินอย่างสุดโต่ง เราว่าอย่าเอาความไม่ดีของคน
    บางคน มาตัดสินพระทั้งหมดดีกว่า พระดีๆ ยังมีอีกเยอะ
     
  7. ต้น บางแค

    ต้น บางแค สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอขอบคุณ คุณกัปปะเช่นกัน และหลายๆท่านที่มีเจตนาดี ที่จะรักษาพระพุทธศาสนา ***(คำสอนขององค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระไตรปิำก อรรถกถา ฎีกา คัมภีร์สัททาวิเสสต่างๆ ไม่ใช่คำสอนของหลวงปู่ หลวงตา หลวงพ่อ หลวงเณร ท่านเจ้าคุณ พระมหา นักธรรม แม่ชี ฆราวาส ที่มี่ทั้งเจตนาดีบริสุทธิ หรือเจตนาดีแต่แอบแฝง ที่สอนกันผิดๆ และคลาดเคลื่อน ที่มุ่งแต่ความสะดวก สบาย ความคล่องตัว ให้ทันยุคโลกาภิวัฒน์ จนไม่ได้นึกถึงพุทธประสงค์ในเรื่องนั้นๆว่า พระพุทธองค์ท่านหวังให้ได้รับประโยชน์อะไร ถ้าไม่ปฏิบัติตามแล้วจะได้รับโทษอะไร พระพุทธองค์ท่านตรัสไว้ว่า ภิกษุที่ทุศีลย่อมมีคติเป็น 2 คือ นรก สัตว์เดรัจฉาน เท่านั้นหลังจากตายไปแล้ว และพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นที่แท้จริงแล้ว ท่านจะไม่ยอมทำผิดศีล ล่วงศีล โดยเจตนา ตั้งใจ อย่างเด็ดขาด ถึงแม้ชีวิตจะต้องตายก็ตาม ท่านก็ไม่ยอมผิดศีลเป็นอันขาด แม้บุคคลที่บรรลุเป็นพระโสดาบันแล้วตายไปเกิดเป็นมนุษ์ในชาติต่อมาก็ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นพระโสดาบันถึงจะถูกคนมาสั่งบังคับให้ฆ่ามดดำ มดแดงแค่ตัวเดียว แล้วจะมอบความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิให้ถ้าไม่กระทำเช่นนั้นท่านก็จะพึงถูกประหาร ท่านก็ไม่อาจฆ่ามดดำ มดแดงเช่นนั้นได้เลยท่านยอมให้ถูกประหานเสียอย่างเดียวเท่านั้น เพราะเหตุที่ท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบันในชาติที่แล้ว ได้ประหาณกิเลสในส่วนที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะอย่างหยาบๆที่จะนำไปสู่อบายภูมิได้อย่างเด็ดขาดหมดสิ้นเชิงแล้ว เพราะเหตุนี้พระอริยบุคคลเมื่อตายไปแล้วจึงไม่ไปปฏิสนธิ(เกิด)ในอบายภูมิอีกเลย ความเป็นพระอริยบุคคลจึงมีคุณมากมายมหาศาลเช่นนี้เอง และพระโสดาบันก็จะเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติแล้วในชาติสุดท้ายก็จะบรรลุความเป็นพระอรหันต์ปรินิพพานไปในที่สุด)***ให้บริสุทธิ์ ปราศจากมลทินต่างๆ
    ***ความได้อัตตภาพเป็นมนุษ์ย่อมได้โดยยาก การได้พบ(ฟัง เรียน อ่าน)พระสัทธรรม(พระธรรมที่บริสุทธิ ดั้งเดิม ปราศจากการแต่งเติม ตัดต่อ)ก็ย่อมได้โดยยาก การได้ประพฤติปฏิบัติตามพระสัทธรรมนั้นก็ย่อมได้โดยยาก การได้บรรลุมรรค บรรลุผล ย่อมยากโดยแท้***(แต่บัณฑิตย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร) สาธุ สาธุ อนุโมทนา มิ ##
     
  8. ต้น บางแค

    ต้น บางแค สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +0
    ด้วยความเคารพในความคิด ความเห็นในท่านทั้งหลายนะครับ
    เราท่านทั้งหลายที่เป็นชาวพุทธ ที่เข้ามาเป็นสมาชิกในเว็บนี้ต่างก็ประสงค์ที่จะจรรโลง รักษาพระพุทธศาสนาด้วยกันทั้งนั้น ในกรณีที่มีปัญหาข้อสงสัยในพระธรรม พระวินัย ตั้งเป็นกระทู้ขึ้น เราท่านทั้งหลายต่างก็อยากจะทราบคำตอบที่ถูกต้องแท้จริงว่าเป็นอย่างไร เมื่อเราท่านทั้งหลายได้รับคำตอบข้อมูลที่ถูกต้องไป ก็จะได้นำไปปฏิบัติแล้วเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ย่อมได้ชื่อว่า ได้รักษาพระพุทธศาสนาแล้ว ศาสนาพุทธยังไม่ชื่อว่าเสื่อม แต่เพราะเหตุที่การเผยแผ่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อน ผิดพลาด ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ เมื่อมีผู้รับที่ข้อมูลนั้นนำไปเผยแผ่ต่อๆไปอีก จนเกิดเป็นแบบอย่างใหม่ๆหลากหลายๆขึ้นมา จนไม่สามารถแยกเยะออกมาได้ว่า ส่วนนี้ใช่ ส่วนนี้ไม่ใช่ ส่วนนี้เป็นพระพุทธพจน์ ส่วนนี้ไม่ใช่พระพุทธพจน์ จึงน่าเป็นห่วงว่าพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่เราท่านทั้งหลายต่างก็ให้ความเคารพ นับถือย่างสูงสุดนี้ตกอยู่ในสถานะการณ์เช่นไร ?....... (ศาสนาพุทธชื่อว่าเสื่อมก็เพราะพระสัทธรรมได้เสื่อมจากพุทธบริษัท 4 นั่นเองก่อนแล้ว ) สาธุ สาธุ อนุโมทนา มิ ##
     
  9. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    ก่อนอื่นผมเอาบุญมาฝากครับ
    ที่วัดพิชยญาติการาม
    บริจาคโครงการบุญนิธิสหกรณ์12โครงการอุปถัมภ์พระศาสนา
    บริจาคค่าอัฐบริขารเพื่อพระที่เข้าวิปัสสนากรรมฐาน

    ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    กองทุนภัตตาหาร
    บริจาคค่าน้ำ-ค่าไฟ


    เอาหล่ะ คุณคงได้ไปเห็นอะไรบางอย่างบางหมู่สงฆ์ แต่อย่านำมาหมายรวมทั้ง

    สังฆมณฑลน่ะครับ ผมจะเล่าอะไรให้ฟัง เรื่องการสร้างพระเชตวันมหาวิหาร

    พระศาสนาโชคดีที่มีอนาถบิณฑิกเศรษฐีที่ซื้อที่ดินทั้งแปลงจากเจ้าเชต โดยใช้

    ทองปูเรียงเคียงกันจนเต็ม โดยใช้งบประมาณสร้างสุทธิทั้งพระเชตวันแล้ว 54

    โกฎิ แต่การจะสร้างวัดสักแห่งในปัจจุบัน เราไม่มีเศรษฐีที่มีเงินมากขนาดนั้น

    มาอุปถัมภ์ การจะสถาปนาวิหารสักแห่งจึงต้องอาศัยปัจจัยจากคนนับหลายร้อย

    คน โดยแต่ละคนการถวายปัจจัยตามกำลังไปไว้ที่พระภิกษุที่ได้รับความไว้วาง

    ใจ วิหารนั้นจึงจักสำเร็จได้ ตอนนี้ดีหน่อยที่วัดมีทั่วไปแล้ว แต่ถ้ายังไม่มีวัดที

    หรือจะสร้างวัดแห่งใหม่ แล้วไม่มีใครถวายปัจจัย ผมเชื่อได้เลยว่าวัดใหม่นั้น

    จะไม่เกิดขึ้นได้เลย


    หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านเองก็เคยว่า ท่านต้องภาวนาคาถาเงินล้านเพื่องานพระ

    ศาสนา ต้องสร้างอีกมาก ส่วนท่านที่ว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่คำสอน

    หลวงพ่อ หลวงปู่หรือแม่ชีที่ไหนนั้น ผมอยากให้คำอธิบายว่า ปัญญาอันกิด

    จากการรู้แจ้งนั้นแลชนะความรู้อันเกิดจากการจดจำ ที่ผมยกท่านผู้ทรง

    อภิญญามานั้นเพื่อชี้ให้เห็นว่า พระอริยเจ้า อริยสงฆ์ ท่านยังทำกัน เพราะ

    ท่ายเห็นว่าไม่ผิดไง ท่านเห็นแจ้งกลไกของระบบกฎแห่งกรรม ตามที่พระ

    สัมมาสัมพุทธเจ้าท่านบรรลุ



    พุทธบริษัทสี่นั้น ต่างคนต่างจริต คนที่เขาไม่เข้าใจพระศาสนาที จู่ๆไปบอก

    เขาว่า "นิพพานไหม?" เขาจะเข้ามาศึกษาธรรมหรือ บางคนบรรลุธรรมโดย

    การพรรณาสวรค์ บางคนบรรลุธรรมโดยการพรรณาโทษของกาม บางคน

    บรรลุธรรมเพราะเห็นกายมหาบุรุษของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การมีเงินเพื่อ

    กระทำสิ่งเหล่านี้นั้น เป็นประโยชน์


    ในปัจจุบันมีหลายวัดให้ไปน่ะ ใครชอบแบบสมถะก็มี ใครชอบแบบไฮโซก็มี

    ใครชอบแบบทรงอภืญญาก็มี พระท่านท่านก็มีหลายสาย สายปลุก สายเสก

    สายเทศน์ สายสร้าง สายปฎิบัติ ตรงนี้แล้วแต่จริตอัธยาศัย


    ทั้งหมดนี้เป็นความรู้ ความเข้าใจของผมน่ะ เด็กอายุ19 เท่านั้น ท่านใดมี

    ความรู้ใดจะมาร่วมกันศึกษาอีกก็ได้เรื่อยๆครับ

    ผมมิได้สนับสนุนให้ถวายมาก หรือไม่ถวายเลย แต่ต้องถวายพอควรแก่งานที่

    จะทำ งานใหญ่ถวายมาก งานเล็กถวายน้อย


    ผมเชื่อว่า ความเสื่อมของพระศาสนานั้น มิได้เกิดจากเงิน หากเกิดจากพุทธ

    บริษัทสี่ขาดความเข้าใจในพระศาสนา ส่วนเรื่องพระที่เห็นเงินแล้วจะโลภ จึง

    ใช้ "หลักยาแรง" คืองดถวายปัจจัยอย่างสิ้นเชิงเลยนั้น เป็นอันตรายหากเกิด

    ค่านิยมอย่างนี้ หมายความว่าพระดีๆจะต้องโดยหางเลขไปด้วย งานการขยาย

    พระศาสนาจะอยู่ในข้อจำกัด พระท่านจะนั่งเครื่องบินไปต่างประเทศทีหนึ่ง ไม่

    ทราบจะเอาปัจจัยมาจากไหน ส่วนพระที่ทุศีล ปรารถนาลามก ปรารถนากาม

    มีความโลภ อย่างนั้นผมไม่สนใจหรอก เค้าก็ลงนรกไปเอง ผมมองแต่ส่วนดี

    และปฎิบัติตามพระอริยสงฆ์ พระผู้รัตตัญญู


    ฉะนั้นการฟันธงไปว่า ไม่ถวายปัจจัยเด็ดขาด อย่างนี่สุดโต่ง
    ฉะนั้นการฟันธงไปว่า ให้ถวายปัจจัยเป็นจำนวนมาก อย่างนี่สุดโต่ง
    ฉะนั้นการฟันธงไปว่า ให้ปฎิบัติตามจริตอัธยาศัยนั้น อย่างนี่มัชฌิมาปฏิปทา<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2011
  10. ต้น บางแค

    ต้น บางแค สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +0
    ความที่ผมเป็นเด็กวัด กินนอนอยู่ที่วัดได้อยู่คลุกคลีกับกลุ่มพระภิกษุที่บวชเข้ามาแล้วได้จับกลุ่มศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆ ได้ศึกษาพระวินัยกันอย่างเจาะลึก เพราะได้เห็นความสำคัญของพระวินัยว่า พระวินัยนี้เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ (ศีลที่บริสุทธิดีแล้วย่อมเป็นบาทให้เกิดสมาธิ สมาธิที่บริสุทธิ์ดีแล้วย่อมยังปัญญาให้เกิด ปัญญาที่บริสุทธิ บริบูรณ์ดีแล้วย่อมยังวิมุตติ(ความหลุดพ้น)ให้เกิดเช่นนี้) พระวินัยนี้เป็นเหมือนรากแก้ว(สมาธิเป็นเหมือนลำต้น กิ่ง ปัญญาเป็นเหมือนยอด ใบ)เป็นฐานของพระพุทธศาสนา จึงได้ให้ความสำคัญกับพระวินัย
    ยังมีพระภิกษุ สามเณรอยู่มากมายหลายรูป หลายวัดที่่ท่า่นสามารถรักษาพระวินัยได้อย่างจริงจัง เพราะผมได้พบปะ พูดคุย มาแล้วครับ ท่านไม่มีความลำบากเลยในเรื่องต่างๆ เรื่องปัจจัย 4 เรื่องการเดินทาง ที่จะเกิดขึ้นจากการที่ท่านไม่รับเงินทอง ท่านได้สอนชาวบ้านทั้งหลายให้เข้าใจในเรื่องนี้ พระกับชาวบ้านก็อยู่กันอย่างผาสุก ครับ## สาธุ สาธุ อนุโมทนา มิ ##
     
  11. ดุสิตบุรี

    ดุสิตบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +273
    อ้างอิงจาก http://forum.dmc.tv/index.php?topic=1059.msg3508#new


    ผมเห็นด้วยกับขอความข้างบนของคุณบุญรักษาครับ


    ผู้ถวายตั้งใจถวายปัจจัยเพื่อให้พระสงฆ์ท่านนั้นนำปัจจัยไปใช้ในกิจของสงฆ์หรือใช้ในงานพระศาสนา แต่ผู้รับนี่สิจะนำปัจจัยนั้นไปใช้เพื่องานศาสนา และกิจของสงฆ์จริงหรือเปล่า ก็ขึ้นอยู่แต่ละท่านแล้วครับ


    ส่วนในด้านผู้ถวายบางท่านบอกว่าจะตกนรก ผมว่าผู้ถวายยังไงก็บริสุทธิ์ไม่ลงนรกหรอกครับ เพราะเจตนาบริสุทธิ์ มีเจตนาที่ดีเป็นบุญกุศลครับ กรรมเกิดเพราะเจตนาเป็นหลักครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2011
  12. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    ผมขอนำความคิดเห็นของพี่ที่ผมพอจะรู้จัก มาแสดงน่ะครับ


    พระบัญญัติ
    ๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ
    ยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
    เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

    ////////////////////////////////////////////////
    พระภิกษุและสามเณร ที่รับเงิน รับทอง
    บัญญัติของพระพุทธเจ้า จากพระไตรปิฎก
    ชุด 91 เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม 3
    (หน้า 940)

    พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
    ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
    เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน
    พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499
    เป็นผู้ทำผิดพระวินัยบัญญัติและกฎหมายอาญา


    หมายเหตุ*
    อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ 1 ตัว
    ต้องตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุ
    คือ 4,000 ปีของนรกขุมนี้
    เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีของมนุษย์


    ....ต้นสิกขาบท คือ พระอุปนันทศากยบุตร ที่ยินดีในการรับรูปิยะ(โลหะทอง-เงิน)เพื่อนำไปซื้อหาแลกเปลี่ยนของเอาเอง จึงถูกคฤหัสถ์ตำหนิ นำมาซึ่งสิกขาบทที่ว่า รูปิยสิกขาบท ในโกสิยวรรค ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

    จาก WiSH072




    ....คิดว่า พระวินัยที่ว่ามา น่าจะมุ่งประเด็นไปเฉพาะกรณีที่นำปัจจัยไปใช้ในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์กับพระศาสนาน่ะครับ
    เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้น ตำราพระไตรปิฎกก็จะมีเนื้อหาที่ขัดแย้งกันเอง

    เนื่องจากหากใครไปอ่านประวัติของท่านชฏิลเศรษฐีที่มาเกิดในสมัยพุทธกาล ก็จะทราบว่า ครั้งหนึ่ง สมัยพระพุทธเจ้าในอดีต คือ พระกัสสัปปพุทธเจ้า ชฏิลเศรษฐีได้เกิดเป็นช่างทอง

    ตอนนั้นเป็นช่วงที่พระพุทธเจ้าท่านปรินิพพานไปแล้ว มหาชนต่างพากันรวบรวมทองคำเพื่อนำไปสร้างเจดีย์ แต่ปรากฏว่า ทองคำไม่พอ ตอนนั้น พระอรหันต์ 2 ท่านจาริกผ่านมา พอทราบเรื่อง ท่านก็ได้ไปช่วยบอกบุญทองคำกับญาติโยมตามบ้านเรือนเพื่อนำมาสร้างเจดีย์ด้วยตัวท่านเองเลยทีเดียว

    ซึ่งชฏิลเศรษฐีตอนแรกไม่ได้ถวาย แต่ตอนหลังก็ทำภาชนะทองคำมาร่วมบูชาเจดีย์ด้วย ด้วยอานิสงส์นี้จึงทำให้ได้มาเป็นเศรษฐี (กล่าวโดยย่อนะครับ) เนื้อเรื่องโดยละเอียดสนุกกว่านี้มากๆ ขอบอก

    ทีนี้มาดูประเด็นที่ต้องการเน้น นั่นคือ พระอรหันต์ท่านไปบอกบุญทองเพื่อสร้างเจดีย์ด้วยตัวท่านเอง เมื่อไปบอกบุญทอง ก็ย่อมต้องจับทอง หากจับทองแล้วต้องตกนรกตามพระวินัย แล้วจะเรียกว่าเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร แสดงว่า พระวินัยต้องการมุ่งประเด็นไปที่รับปัจจัยแล้วนำไปใช้ในสิ่งที่มิใช่ประโยชน์พระศาสนาน่ะครับ

    จาก หัดฝัน
     
  13. กัปปะ

    กัปปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +118
    ผมเชื่อว่า ความเสื่อมของพระศาสนานั้น มิได้เกิดจากเงิน หากเกิดจากพุทธ

    บริษัทสี่ขาดความเข้าใจในพระศาสนา ส่วนเรื่องพระที่เห็นเงินแล้วจะโลภ จึง

    ใช้ "หลักยาแรง" คืองดถวายปัจจัยอย่างสิ้นเชิงเลยนั้น เป็นอันตรายหากเกิด

    ค่านิยมอย่างนี้ หมายความว่าพระดีๆจะต้องโดยหางเลขไปด้วย งานการขยาย

    พระศาสนาจะอยู่ในข้อจำกัด พระท่านจะนั่งเครื่องบินไปต่างประเทศทีหนึ่ง ไม่

    ทราบจะเอาปัจจัยมาจากไหน ส่วนพระที่ทุศีล ปรารถนาลามก ปรารถนากาม

    มีความโลภ อย่างนั้นผมไม่สนใจหรอก เค้าก็ลงนรกไปเอง ผมมองแต่ส่วนดี

    และปฎิบัติตามพระอริยสงฆ์ พระผู้รัตตัญญู

    โดยส่วนตัวผมยังคิดว่า เงิน คือสาเหตุหลักที่ทำให้ มนุษย์เรา ซึ่งรวมถึงพระบางรูป เกิดความละโมภในใจ จึงทำให้เกิดความอยาก...สำหรับปัจจัย มีอยู่หลายอย่าง รวมถึง เงิน ส่วนตัวก้อยังคิดอยู่ว่า ไม่มีความจำเป็นใดๆสำหรับพระสงฆ์ เพราะ
    - ปกติพระบิณฑบาตรทุกเช้า หรือ มีญาติโยมมาถวายภัตตาหาร หรือสังฆทาน อยู่แล้ว ก้อไม่น่าจะขาดเหลืออะไรสักเท่าไร (เครื่องใช้น่าจะอยู่ในถังสังฆทาน)
    - เวลามีกิจนิมนต์ ญาติโยมก้อมารับ-ส่ง อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเสียค่าเดินทาง ส่วนที่ว่าพระนั่งเครื่องบินนั้นจะเอาปัจจัยจากไหน ต้องถามก่อนว่า ไปเพื่ออะไร ถ้าจะไปเผยแผ่ศาสนา คงน่าจะต้องมีญาติโยมอำนวยความสะดวกให้อยู่แล้ว หรือถ้าคิดจะไปเผยแผ่เองนั้น ถามอีกนิดว่า จำเป้นขนาดต้องไปเผยแผ่ถึงต่างประเทศเลยหรือ เฉพาะในประเทศยังไม่สามารถทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจในพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้...
    - ส่วนพระดีๆ ยิ่งไม่น่าห่วง เพราะท่านคงไม่คิดละโมภอยู่แล้ว จึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
    - สำหรับพระไม่ดี นั้นที่คุณบอกไม่สนใจ เดี๋ยวเขาก้อตกนรกไปเอง คุณลืมนึกไปถึงเรื่องเผยแผ่ศาสนาหรือเปล่า ถ้ายังมีพระประเภทนี้อยู่ แล้วการเผยแผ่คงทำได้ยาก เพราะ ขนาดในแวดวงศาสนา ยังไม่สามารถจัดการเองได้แล้ว จะเอาคำสอนไปสอนใครเขาได้เล่า
    สำหรับผมแล้ว การที่จะเผยแผ่ศาสนา เราคงต้องปัดกวาดบ้านของเราก่อนที่จะไปสอนคนอื่น...
     
  14. NuJulie

    NuJulie Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +64
    โดยส่วนตัวแล้วดิฉันเห็นด้วยกับคุณวงบุณพิเศษค่ะ


    ดิฉันคิดว่าพระสามารถรับเงินได้น่ะค่ะ


    ไม่ทราบว่าคุณกัปปะไปรู้ไปเห็นอะไรมาหรือเปล่าค่ะ


    รู้สึกว่าคำพูดแต่ละคำมีอคติกับเรื่องนี้มากเลยน่ะค่ะ




     
  15. กัปปะ

    กัปปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +118
    โทษครับ..ผมไม่ได้มีอคติกับพระนะครับ ส่วนตัวยังคงเคารพ นับถือ ศาสนาพุทธ และพระอริยะสงฆ์ที่ประพฤติชอบ อยู่นะครับ อย่างที่บอกนี่เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวอีกมุมมองนึง ที่อาจจะทำให้คนหลายคนไม่ชอบใจนัก แต่ด้วยความรู้สึกส่วนตัวยังอยากเห็นพระพุทธศาสนาของเราปราศจาก เหลือบศาสนา ให้หมดไป ความคิดเห็นตัวผมเองคิดว่าน่าจะช่วยได้ อย่างที่บอกถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ให้ปัจจัยที่เป็นเงิน กับพระ คงไม่น่าที่จะเดือดร้อน แต่เรายังคงใส่บาตร ถวายสังฆทานตามปกติ ส่วนรายละเอียดต้องลองอ่านกระทู้ที่ตอบไว้อยู่ อย่าเพิ่งเลยเถิดขนาดคิดว่าจะมาต่อต้านพุทธศาสนานะครับ...
     
  16. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ยุคนี้ เงิน เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชืพ พระสงฆ์ หรือวัด จำเป็นต้องใช้เงินทั้งนั้น ใครที่ว่างแล้ว แอนตี้ การถวายเงินพระ ผมว่าเอาตัวเองให้รอดซะก่อนดีกว่า ค่อยไปยุ่งเรื่องชาวบ้าน
     
  17. กัปปะ

    กัปปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +118
    ดูตัวเองก่อนเถอะ...สติปัญญาเขามีไว้ให้คิด ก่อนที่จะตำหนิคนอื่น ตัวเองรอดแล้วหรือ..ที่นี่เขามีไว้แสดงความคิดเห็น ไม่ใช่ที่ ที่จะเอาสติปัญญาโง่ๆมาแสดงความคิดเห็นเที่ยวตำหนิคนอื่น เข้าใจเสียบ้าง...การศึกษาไม่ช่วยให้คนเราคิดอะไรได้ดีขึ้นบ้างเลยหรือ
     
  18. aero1

    aero1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +54
    ท่าทีของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พระผู้ใหญ่มหานิกาย เห็นได้ว่าเรื่องเงินไม่เกี่ยวกับนิกาย กราบ กราบ กราบ

    เอาภาพมาฝากครับ ที่มา : FAQวัดญาณเวศกวัน


    [​IMG]

    ---------------------------------------------------------------------------------

    โดย aero1 (เนื้อหาส่วนใหญ่เขียนเพื่อตอบคำถาม ธรรมยุต และมหานิกายต่างกันอย่างไร ที่พลังจิต 2549)

    สิ่ ง ที่ ช า ว พุ ท ธ ค ว ร ท ร า บ แ ล ะ ทำ ค ว า ม เ ข้ า ใ จ

    มูลแห่งการแยกนิกายหลังพุทธปรินิพานเกิดจากไม่ลงลอยของความเห็นในเรื่องวินัยโดยในที่นี้จะขอยกวินัยบางข้อมากล่าวให้พอจับประเด็นได้ ในขณะพระองค์ใกล้ปรินิพานนั้นได้ตรัสกับพระอานนท์ว่าสิกขาบทข้อใดที่เห็นว่าเล็กน้อยให้หมู่สงฆ์ยกเว้นได้ ภายหลังพุทธปรินิพพานหมู่สงฆ์ประชุมกันโดยมีพระมหากัสสปะ อันเป็นอัครมหาสาวกที่พระองค์ทรงแสดงว่ามีธรรมเสมอพระองค์เป็นประธาน

    ในที่ประชุมนั้นมีภิกษุจากทั่วเขตมาร่วมประชุมเพื่อสังคยนาพระธรรมวินัยคำสอนจนถึงหัวข้อดังกล่าว หมู่สงฆ์เห็นควรปรับอาบัติทุกกฎแก่พระอรหันต์อานนท์ผู้ซึ่งสำเร็จอรหันต์ในก่อนเข้าประชุมนั้น โดยปรับอาบัติทุกกฎไว้หลายข้อหนึ่งในนั้นคือการไม่ทูลถามพระพุทธองค์ว่า อาบัติเล็กน้อยนั้นคือโทษขั้นไหนบ้าง บ้างก็ว่าตั้งแต่โทษสังฆาทิเสสลงมาเป็นอาบัติเล็กน้อย บ้างก็ว่าปาจิตตีย์ลงมาจัดว่าเล็กน้อย บ้างก็ว่าทุกกฎเล็กน้อย

    ในที่ประชุมล้วนเป็นอรหันต์ทรงคุณปฏิสัมภิทา(คุณวิเศษครบถ้วน)หลายร้อยองค์นั้นลงความเห็นว่าจะไม่เปลี่ยนหรือยกเลิกหรือละเว้นสิกขาบทใดเลยขยายความตรงนี้นะครับ อันว่าศีลภิกษุ แยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

    1. ศีลที่เป็นพื้นฐานของพรหมจรรย์คือ ข้อการปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติ เพื่อมรรคผลนิพพาน150 ข้อ


    2. ศีลที่เป็นมรรยาทอันดี อีกมากมายแต่ยกเอามาในปาติโมกข์ 77 ข้อ รวมเป็น 227 ข้อฉะนั้นในปัจจุบันจึงเข้าใจผิดกันว่าศีลพระสงฆ์มี 227 ข้อ


    พุทธเจ้าตรัสว่า (คารวสูตรที่ ๑ เล่ม ๑๔ อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต)

    "ดูกรภิกษุทั้งหลายข้อที่ภิกษุผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ไม่มีความประพฤติเสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

    อภิสมาจาร(หลายพันข้อ)ถ้าไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จะรักษาอธิพรหมจริยกาสิกขา (150 ข้อ)

    อาทิพรหมจริยกาสิกขาถ้าไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จะบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์ได้

    ธรรมของพระเสขะไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้

    รักษาศีลขันธ์ไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้

    สัมมาทิฏฐิไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้...."


    วิเคราะห์คำตอบผ่านพระสูตรดังกล่าว พระพุทธองค์ทรงกล่าวลำดับแห่งภูมิธรรมไว้ชัด และเน้นลำดับท้ายว่า เรื่องสัมมาปฏิบัติที่จะเข้าถึงได้ ต้องมีพื้นฐาน ที่แน่นหนาชัดเจน และสะท้อนให้เห็นอีกฝั่งคือมิจฉาปฏิบัติ ไม่ใช่จะอะไรก็ได้ เปลี่ยนแปลงกันตามความเห็นที่คิดว่าเหมาะสม เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัยหรืออื่นๆ จึงกลายเป็นเรื่องกร่อนพุทธพจน์ในที่สุด แต่ถึงกระนั้น การเป็นอยู่ของมหายานปัจจุบันทั่วโลกเข้าใจจุดนี้ว่า เขารับสัทธรรมแบบปฏิรูป และจิตสำนึกเขาเหล่านั้น ก็รับแบบตามกันมา พระมหายานส่วนมากไม่มีโอกาสที่จะพบกับ พระสัทธรรมแบบเถรวาท และคิดว่าแค่นั้นพวกท่านเหล่านั้นพอแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ในแง่ปัจจุบันคือปรับเข้าได้และเพิ่มจำนวนสมาชิกได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำลายหรือกร่อน พระสัทธรรมไปในตัว

    พุทธองค์ตรัสอีกแห่งว่าผู้ไม่มีความละอายเรียกว่าอลัชชี ในปัจจุบันพุทธศาสนิก ส่วนใหญ่เข้าใจว่าอลัชชีคือผู้ต้องปาราชิกจริงๆแล้วหมายถึงภิกษุที่ประเภททำทองไม่รู้ร้อนในการไม่เคารพสิกขาบทนะครับ คำถามต่อมาคืออาบัติระดับใดที่เพิกเฉยแล้วเรียก อลัชชี? ก็ต้องตอบว่าในทุกสิกขาบทกอปรกับอนุบัญญัติหรือข้อยกเว้นต่างๆ พระองค์ตรัสว่าอลัชชีแม้หนึ่งรูปก็สามารถทำให้ภิกษุทั้งร้อยเป็นอลัชชีได้

    เมื่อลองมาดูชีวิตจริงของพระนะครับ ยกตัวอย่างที่พระต้องพบทุกวัน ฉะนั้นถ้าไม่มั่นใจจริงๆ ระหว่างหมู่คณะแล้ว อึดอัดมากครับ เช่น พระ ก รับเงินไว้และซื้อของด้วยเงิน พระ ข ไม่รู้มาร่วมบริโภคใช้สอยด้วย พระ ข โดนอาบัติไปด้วยครับ ปรับอาบัติทุกๆย่างก้าว อีกตัวอย่าง พระ ก รับประเคนของมาผิดวิธีพระ ข ไม่เห็น ไม่รู้ฉันของนั้นๆด้วย อาบัติไปด้วยครับแล้วท่านปรับทุกคำกลืน คือ1กลืน1อาบัติ

    ที่ยกมาเป็นอาบัติที่อยู่ในศีลอันเป็นพื้นของพรหมจรรย์ หากหมู่สงฆ์อยู่กันอย่างพร้อมเพรียงน่ารัก เคารพนับถือมากๆครับ และพร้อมกันนั้นท่านจะรักสามัคคีกันยิ่งกว่าเพื่อนตายอีกครับเพราะท่านจะดูแลอาบัติให้กันและกันด้วย พระในปัจจุบันที่เห็นส่วนใหญ่เอาแต่สำคัญผิดว่าพรรษามากหน่อยก็จะทำงานพระศาสนาในแง่การเผยแผ่พระศาสนา จริงๆ แล้วท่านไม่ต้องทำการเผยหรอก ท่านประพฤติตามคำสอนให้ชัดเจน นั้นนะเป็นการเผยแผ่เชิงคุณภาพอย่างชัดเจนเมื่อผลเกิดแล้วค่อยเผยแผ่ หากไม่ปฏิบัติตามยังดำรงตนเป็นอลัชชีอยู่เป็นการทำลายพระศาสนาทางอ้อมเสียมากกว่าอย่านึกว่าในปัจจุบันไม่มีพระลัชชี (ผู้ทีมีความละอาย)นะครับมีอยู่แน่นอน พวก เราท่านทั้งหลายคงเคยเห็นในหลวงถวายทานนะครับในซองที่พระองค์ถวายไม่ใช่เงินนะครับแต่เป็นใบปราวนา

    พระบางท่านก็จะบอกนะครับว่ารับใบปราวนาก็ผิดเหมือนกันสู้รับตรงๆไปเลยบริสุทธิ์ใจดีนั้นว่าไปนั้นนะครับกรรมจริงๆเหตุเพราะศึกษาน้อยถึงแม้จะมีดีกรีสูงสุดทางภาษาบาลีหรือจบดอกเตอร์ทางพุทธศาสนาจะกล่าวไปใยกับสงฆ์ที่ไม่ได้ศึกษาอันมีจำนวนมาก หากไม่ละอายในสิกขาบทก็ยังจัดได้ว่าศึกษาน้อยเพราะคำว่าศึกษาในความหมายพุทธองค์นั้นกินเนื้อความรวมถึงภาค ปฏิบัติอันมีศีลเป็นเบื้องแรก จริงๆแล้ว ต้องวิเคราะห์ตัวบทครับขอยกมาอธิบายในที่นี้เลยวินัยสิกขาบทข้อนี้คือ ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองเงินหรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ก็ดีเป็นอาบัติปาจิตตีย์(1ใน150) ขยายความดังนี้
    1.รับเอง
    2.ใช้ให้รับ
    3.ไม่รับเองและไม่ใช้ให้คนรับแต่ยินดีในเงินทองที่เก็บไว้ให้

    ทั้ง 3 ข้อเข้าข้อใดเป็นอาบัติ ท่านที่รับใบปราวนาท่านต้องสำรวมจิตไม่ให้เป็นอาบัติ โบราณอาจารย์ท่านให้ทิ้งจิตไปที่ของที่จะได้มาจากเงินนั้นแทน(พระพุทธองค์อนุญาต)เพื่อกันอาบัติและข้อสำคัญอีกข้อ คือเรื่องสภาคาบัติ

    สภาคาบัติ หมายถึง การปลงอาบัติที่เป็นโมฆะ ขยายความ ภิกษุบางท่านบอก "ไม่เห็นเป็นอะไรปลงอาบัติเอา" ก็ต้องอธิบายกันว่า หากท่านเป็นอาบัติเดียวกันรับปลงให้กันไม่ได้ครับ บางที่ถ้าไม่แน่ใจต้องส่งพระ 1 รูปไปปลงกับพระต่างวัดแล้วกลับ มาวัดเดิมเพื่อชำระศีลก่อนฟังปาติโมกข์ทุกครึ่งเดือน หากไม่ทำอย่างนั้นในปาติโมกข์ท่านจะถามทุกรูปเป็นบาลีครับว่าท่านยังบริสุทธิ์ดีอยู่หรือ ? หากไม่บอกว่ายังติดข้อไหนอยู่ก็เข้าข่ายโกหกครับแล้วจะปฏิบัติหานิพพานที่ไหนละครับเมื่อเป็นดังนั้นท่านจะระวังพระจากที่อื่นมากว่า หากศีลไม่เสมอกันเข้ามาแล้วหมู่สงฆ์จะเดือดร้อนจึงดูเสมือนท่านจิตใจคับแคบหรือยกตนข่มท่านในบางครั้งซึ่งมีมูลเหตุ และหากท่านเหล่านั้นทราบว่ามีศีลเท่าเทียมกันท่านจะให้การต้อนรับ และปฏิสันฐานตามวินัยข้อที่ทรงบัญญัติไว้ในเรื่องการดูแลกัน และกันอย่างงดงาม ไม่เชื่อท่านที่คิดว่ามีสภาพยกตนข่มท่านลองปฏิบัติดูทำที่วิถีของตนก่อน
    จากคุณ : aero1 - [ ส.ค. 49 ]

    .... อ่านต่อคลิ๊ก

    เมื่อจำนนด้วยหลักฐานและเหตุผลดังกล่าว กลุ่มที่โง่เขลาสนับสนุนอลัชชีเหล่านั้น จะอ้างว่า หากเอาพุทธพจน์มากล่าวอย่างนี้จะเชื่อได้อย่างไรเพราะผู้กล่าว ก็จดจำจากพระไตรปิฎกซึ่งไม่ใช่พุทธพจน์โดยตรงเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนกันมาตลอดระยะเวลาหลายพันปี นั้นมันเป็นซะอย่างนั้น ให้ผู้แน่วแน่ในทางกลับไปด้วยหลัก กาลามสูตร เป็นความ อัปปีย์ ของ ทิฐิ มานะ ชั่ว และกร่อนพุทธพจน์ อย่างยิ่ง... สาธุชน โปรดพิจารณา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2011
  19. กัปปะ

    กัปปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +118
    เห็นด้วยกับ aero1
    ทีมพลังจิตวีดีโอ
    เป็นอย่างยิ่งยวดเลยที่เดียวครับ... ถ้าทำได้ ทุกวันนี้คงไม่ต้องมีกระทู้นี้ รวมถึงบุคคลที่ไปแจกใบปลิวที่งานศพหลวงตามหาบัว (ผมไม่เห็นด้วยที่ไปทำแบบนั้น)
     
  20. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ผมรอดแล้วครับ เล็งเห็นอยู่ว่าคุณยังไม่รอด

    คุณเสียภาษีปีละเท่าไร จึงได้เรียกร้องสูงจัง จะเอาเงินบริหารประเทศไปใช้ ไปเจ้ากี้เจ้าการกับพระสงฆ์ คุณไม่ทำก็ไม่ต้องทำซิ คนที่เค้าต้องการทำบุญมีเยอะไป หากบุญยังไม่เต็มอรหันต์ผลยังไม่ได้ คนฉลาดเค้าไม่ประมาทครับ ใครจะรู้ว่าต้องเกิดอีกเท่าไร คนที่เค้ามีศรัทธา มีความเชื่อในเรื่องกรรม มีความต้องการดำรงรักษาพระศาสนามี

    ขี้เต็มหัวแล้วมาอวด
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...