การทำบาป ระหว่างผู้รู้กับผู้ไม่รู้

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Karz, 28 เมษายน 2005.

  1. Karz

    Karz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +96
    "ข้าแต่พระนาคเสน สมมุติว่ามีคนสองคน คนหนึ่งรู้จักบาป อีกคนหนึ่งไม่รู้จัก แต่กระทำบาปด้วยกันทั้งสองคน ข้างไหนจะได้บาปมากกว่ากัน?"

    "ขอถวายพระพร ข้างไม่รู้จักได้บาปมากกว่า"

    "ข้าแต่พระนาคเสน ราชบุตรของโยมหรือราชมหาอำมาตย์คนใดรู้ แต่ทำผิดลงไป โยมลงโทษแก่ผู้นั้นเป็นทวีคูณ"

    "ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างไร.. คือสมมุติว่ามีคนสองคน จับก้อนเหล็กที่ร้อนแดงอยู่เหมือนกัน คนหนึ่งรู้ว่าเป็นก้อนเหล็กแดง อีกคนหนึ่งไม่รู้ คนไหนจะจับแรงกว่ากัน?"

    "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คนไม่รู้จับแรงกว่า"

    "ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหล่ะ มหาบพิตร คือผู้ไม่รู้บาป ได้บาปมากกว่า"

    "ชอบแล้ว พระนาคเสน"


    -------------
    FYI krub
     
  2. koymoo

    koymoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    2,067
    ค่าพลัง:
    +7,066
    ทำไมหรอคะ คนรู้แล้วยังทำผิดน่าจะบาปมากกว่า งั้นสำนวน "คนไม่รู้ย่อมไม่ผิด" ก็ไม่จริงน่ะสิ ช่วยอธิบายให้กระจ่างหน่อยค่ะ
     
  3. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +5,790
    กฏแห่งกรรมเป็นกฏที่เสมอภาคครับ ทุกคนทุกรูปทุกนามถ้าได้ล่วงทำลงไปแล้วต้องได้รับผลแห่งวิบาก รู้หรือไม่รู้ก็ช่าง ยุติธรรมเท่าเทียมกัน เอาแค่อย่างกฏหมายซึ่งออกเป็นราชกิจจานุเบกษาแล้วเราจะอ้างว่าไม่รู้แล้วทำผิดลงไปไม่ได้ครับ
    เพราะ บางคนรู้แล้วแต่พอตายไปเกิดใหม่อวิชชาบิดบังไว้ก็เลยหลงผิดทำชั่วอยู่ไม่หยุด ดังนั้นรีบสอบถามรีบศึกษาและรีบทำตนให้หมดกิเลสซะ เพราะตราบใดที่เรายังอยู่ในวัฏสงสาร เทียรแท้สักวันต้องมีอันหลงผิดได้ลงไปนอนนั่งในนรกแดนทรมานแน่
     
  4. Karz

    Karz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +96
    คุณก้อยใช่มั้ยครับ คุณก้อยจะเข้าใจความข้อนี้ยังไงครับ คือถ้ามีคนคนนึงเป็นคนจนมาก แต่มีใจศรัทธาเยอะ ทำบุญกับพระด้วยเงินหนึ่งบาท กับมีคนอีกคนนึงเป็นคนรวยมาก แต่มีใจศรัทธาน้อย ทำบุญกับพระองค์เดียวกันด้วยเงินหนึ่งบาทเท่ากัน ใครจะได้บุญมากกว่ากันครับ?

    ท่านเปรียบเทียบกำลังใจของผู้กระทำกรรมครับ ธรรมดาคนที่รู้ว่าสิ่งนี้คือเหล็กร้อนแดง ก็คงไม่อยากจับเพราะรู้ว่าถ้าจับแล้วจะเป็นอย่างไร แต่ถ้ายังมีความจำเป็นต้องจับ เค้าก็จะจับด้วยความระมัดระวังกว่าเดิม หรือหาถุงมือหรืออุปกรณ์อะไรมาบรรเทา กำลังใจในการจับแบบเต็มๆย่อมย่อหย่อนไป ส่วนคนไม่รู้ คิดว่ามันไม่ร้อน ย่อมจับไปเต็มๆโดยไม่ระวัง กำลังใจของคนสองคนนี้ย่อมต่างกัน คนหลังนี้ย่อมได้รับบาดเจ็บจากการจับแบบเต็มๆนี้มากกว่าคนแรกครับ

    ท่านจึงว่าคนที่ไม่รู้ย่อมได้บาปมากกว่าครับ
     
  5. Karz

    Karz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +96
    ขอเพิ่มเติมหน่อยครับ

    คำว่า "ผู้ไม่รู้ย่อมไม่ผิดนั้น" ผมคิดว่าเป็นคำแก้ตัวที่ใช้ต่อๆกันมาในสมัยก่อนมากกว่าครับ ประเพทเดียวกับคำพวก "สวรรค์ชั้นเจ็ด" แล้วก็ "วิมานฉิมพลี" ครับ

    "สวรรค์ชั้นเจ็ด" นั้น ใครๆก็ทราบว่าสวรรค์มีหกชั้น คำๆนี้เลยเหมือนกับพยายามจะบอกคนฟังว่า สิ่งที่จะทำไปนี้ มันมีความสุขมากกว่าสวรรค์ทั้งหกชั้นเสียอีกจนเหมือนได้ขึ้นสวรรค์ชั้นที่เจ็ด

    ส่วน "วิมานฉิมพลีนั้น" ผมเคยได้ยินแต่ฉิมพลีนรกครับ ถ้าจำไม่ผิด คิดว่าเป็นนรกต้นงิ้วสำหรับผู้ทำผิดกาเมสุมิจฉาจาร คิดว่าคำนี้คงเป็นการประชดประชันมากกว่า กรณีตัวอย่างเช่น:

    ซีนที่ 1: (ให้นึกถึงหนังไทยสมัยก่อน) นางเอกเดินผ่านกลุ่มนักเลง

    นักเลง: "ว่างัยจ๊ะน้องสาว ไปกินน้ำชากับพี่มั้ยจ๊ะ"

    นางเอก: รีบเดินก้มหน้า

    นักเลง: "รับรอง.. พี่จะทำให้น้องมีความสุขเหมือนได้ขึ้นวิมานบนสวรรค์ชั้นเจ็ด"

    นางเอก: "วิมานฉิมพลีน่ะสิ"


    ประมาณนี้แหล่ะครับ เก็ทมั้ยครับ ^^'

    คิดว่า "ผู้ไม่รู้ย่อมไม่ผิด" นั้น คงจะเป็นคำประเพทเดียวกันที่ใช้แก้ตัวมากกว่าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...