การทำสมาธิแบบกำหนดศูนย์

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 7 ธันวาคม 2008.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    หลักการทำสมาธิด้วยวิธีนี้ อาจารย์จากสำนักปฎิบัติธรรมต่างๆ หลายท่านได้ต่อต้านและคัดค้านไม่เห็นด้วยกับวิธีเช่นนี้จวบจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากไม่ได้มีบัญญัติไว้อย่างเป็นรูปธรรมในพระไตรปิฏกหนึ่ง และถือว่าเป็นการกำหนดใจ เหมือนกับการสะกดจิตให้เห็นดวงแก้วทั้งๆที่ไม่ได้มีอยู่จริง ทำให้บางคนถึงกับหลงไปว่า ตัวเองได้เห็นสิ่งต่างๆ ทั้งที่จริงแล้วมีการชี้นำมาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว เลยทำให้เหมือนกับการเห็นภาพหลอนอย่างไรอย่างนั้น อย่างไรก็ตามวิธีนี้ถ้าศึกษาและปฎิบัติอย่างถูกต้องก็น่าจะเห็นผลได้เร็ว และถึงแม้ว่าจะเป็นสมาธิระดับต้นเท่านั้น แต่ก็เป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการทำสมาธิในระดับสูงต่อไป จึงได้ขอนำเอาวิธีปฎิบัติของท่านหลวงพ่อสด แบบต้นฉบับมาเผยแพร่ให้ท่านได้ทราบกัน ณ ที่นี้



    ท่านหลวงพ่อสดสอนว่าในตัวเราทุกๆ คนจะมีดวงแก้วใสอยู่ภายในกายอยู่บริเวณเหนือสะดือขึ้นมาราว ๒ นิ้ว ท่านเรียกว่าธรรมกาย ให้กำหนดตรงนี้ให้ได้ก็จะเป็นวิธีที่สั้นและเร็วที่สุด ที่จะทำให้คนธรรมดาสามัญ สามารถเข้าถึงสมาธิขั้นต้นได้ไม่ยากนัก อีกทั้งสามารถพัฒนาขึ้นไปถึงระดับสูงได้ด้วย และวิธีการนี้บรรดาลูกศิษฐ์ของท่านก็ได้นำไปเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง (อาทิเช่นแนวทางปฏิบัติของวัดธรรมกาย) และอาจจะดัดแปลงเพิ่มเติมไปบ้าง แต่ที่จะนำมากล่าวในที่นี้เป็นหลักการต้นฉบับการทำสมาธิตามแนวของหลวงพ่อสด (พระมงคลเทพมุนี) แห่งวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ซึ่งมีดังนี้


    หลังการบูชาพระรัตนตรัยแล้ว เริ่มต้นให้นั่งในลักษณะที่เรียกว่า คู้บัลลังก์ขัดสมาธิ กล่าวคือ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นั่งตัวตรง เอานิ้วชนกันวางไว้เหนือโคนขา เสร็จแล้วให้กำหนดเครื่องหมายเป็นแก้วใสให้เหมือนกับเพชรที่เจียระไนแล้ว โตเท่ากับแก้วตา ถ้าผู้หญิงให้กำหนดเข้าที่ปากช่องจมูกด้านซ้าย ถ้าผู้ชายให้กำหนดเข้าที่ปากช่องจมูกด้านขวา อย่าให้เหลื่อม พอถูกส่วนดีแล้วให้บริกรรมประคองใจกับเครื่องหมายที่ใสนั้นว่า

    สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้ง แล้วก็เลื่อนเครื่องหมายขึ้นไปแค่เพลาตา หญิงอยู่ซีกข้างซ้าย ชายอยู่ซีกข้างขวา ตรงหัวตาที่มูลตาออก ตามช่องลมหายใจเข้าออกข้างใน แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้ง แล้วก็เลื่อนเครื่องหมายตรงลำดับเพลาตาเข้าไปฐานที่ ๓ ไม่ให้ค่อนซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง บน แต่ให้กลางพอดี

    แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่กลางศีรษะข้างในนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้ง แล้วก็เลื่อนเครื่องหมายนั้น ตรงนี้มีกลเม็ดอยู่ว่า เมื่อถึงฐานที่ ๓ แล้ว (ดูรูป) ต้องเหลือกตาไปข้างหลัง ให้ตาค้างเหมือนคนชักใกล้จะตาย ค้างเข้าไปๆ จนกระทั่งใจหยุด แล้วเห็นกลับเข้าไปข้างในดังนั้นก็เลื่อนเครื่องหมายฐานที่ ๓ ไปฐานที่ ๔ ปากช่องเพดานที่รับประทานอาหารแล้วสำลัก อย่าให้เหลื่อมให้ล้ำ ให้อยู่พอดีๆ แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ฐานที่ ๔ นี้ว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้ง

    แล้วเลื่อนไปฐานที่ ๕ ตรงปากช่องคอเหนือลูกกระเดือกเหมือนกลางปากช่องถ้วยแก้ว แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ปากช่องคอว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้ง แล้วเลื่อนไปกลางตัว สูดลมหายใจเข้า ออก ไม่ให้ค่อนซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง หรือบน แต่ให้กลางพอดี แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายกลางตัวว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้ง แล้วเลื่อนเครื่องหมายถอยหลังขึ้นมาเหนือกลางตัว ๒ นิ้ว ซึ่งตรงนั้นเรียกว่า ศูนย์ มีศูนย์อยู่ ๕ แห่งคือ กลาง หน้า ขวา หลัง ซ้าย มีความหมายคือ ศูนย์กลางเป็นอากาศธาตุ ศูนย์หน้าเป็นธาตุน้ำ ศูนย์ขวาเป็นธาตุดิน ศูนย์หลังเป็นธาตุไฟ ศูนย์ซ้ายเป็นธาตุลม ที่ช่องอากาศตรงกลางเป็นเครื่องหมายที่ใสสะอาด แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ช่องอากาศตรงกลางว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้ง ตรงกลางนั้นเป็นอากาศว่าง ให้ตรงกลางนั้นเป็นดวงแก้วใสเท่าแก้วตา อยู่ตรงกลางนั่น

    ให้ใจอยู่กลางดวงนั้น จนกระทั่งใจหยุด สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ไปเรื่อยๆ พอถูกส่วนเข้า ใจหยุดกึ๊กอยู่กลางดวงนั่น มืดก็อยู่ตรงนั้น สว่างก็อยู่ตรงนั้น ไม่ต้องถอยไปถอยมา ให้นิ่งอยู่ตรงนั้น พอนิ่งถูกส่วนเข้า จากมืดก็จะเห็นดวงใส สว่างก็เห็นดวงใส ใจก็อยู่กลางดวงใสนั่น ถ้าว่ามันไม่นิ่ง ไม่หยุด หรือส่ายไปส่ายมาก็ให้บริกรรม สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้ง เข้าไว้ พอถูกส่วนเข้ามันก็หยุด เมื่อหยุดแล้วไม่ต้องบริกรรม เพ่งเฉยๆ ดูนิ่งๆ ถ้าจะเสื่อมหรือขยับไปเสียก็ให้บริกรรมไว้ สัมมาอะระหังๆ ไว้จนกระทั่งใจหยุดนิ่ง พอหยุดนิ่งแล้วไม่ต้องบริกรรมต่อ เพ่งเฉย วางอารมณ์เฉย ให้หยุดอยู่เท่านั้น อย่าไปนึกถึงมืดถึงสว่าง ให้หยุดนิ่งตรงนี้อยู่เท่านั้น การหยุดนิ่งเท่านี้ถือว่าสำเร็จแล้วในสมาธิขั้นต้นนี้

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>รูปแสดงตำแหน่งของศูนย์ต่างๆ ที่อยู่ตามจุดในร่างกายเรา</TD><TD>[​IMG]</TD><TD><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>คำอธิบายฐานที่อยู่เหนือ</CENTER><CENTER>ศูนย์กลางขึ้นมาสองนิ้ว</CENTER><CENTER>หรือที่เรียกว่าฐาน ๗</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    ในระดับที่สูงขึ้นมาอีกหลังจากที่ได้สมาธิในขั้นพื้นฐานนี้แล้ว ถ้าทำได้ก็สามารถบรรลุได้จนถึงขั้นสูงสุดได้ด้วยวิธีนี้เช่นกัน ท่านสอนให้ใจหยุดเป็นจุดเดียวกัน ให้อยู่ตรงกลางพอดีในจุดต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายเรานี้ (ดังรูป) โดยเฉพาะตรงฐานที่ ๗ (ที่อยู่เหนือสะดือขึ้นมาสองนิ้ว) ตรงกลางนั้นถือเป็นดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ มีลักษณะใสเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ กลางดวงพอดี หากเอาใจไปหยุดอยู่กลางนั้นได้แล้ว ก็ใช้สัญญา จำให้มั่น บังคับให้ใจหยุดนิ่ง ถ้ายังไม่นิ่งอีกก็ใช้การบริกรรมภาวนาบังคับไว้ พอบังคับบ่อยๆ เข้าใจมันก็หยุดนิ่งเอง พอหยุดถูกส่วนก็จะเห็นดวงใส ซึ่งท่านเรียกว่า ปฐมมรรค หรือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน


    พอใจหยุดนิ่งอยู่ตรงกลางดวงนั้นพอดีก็ให้เพ่งลึกเข้าไปอีกตรงกลางของกลางนั้นเข้าไป ก็จะเห็นอีกดวงหนึ่งเท่าๆ กันอยู่กลางดวงนั้น เรียกว่า ดวงศีล ก็ให้หยุดอยู่กลางดวงศีลนั่น พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นอีกดวงหนึ่งเรียกว่า ดวงสมาธิ ก็ให้หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั้น ก็จะเห็นอีกดวงหนึ่งเท่าๆกัน เรียกว่า ดวงปัญญา พอถูกส่วนก็จะเห็นอีกดวงหนึ่งที่ใสละเอียดเข้าไปอีก เรียกว่า ดวงวิมุตติ ก็ให้หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติตรงนั้น ก็จะเห็นอีกดวงเรียกว่า ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนก็จะเห็นกายมนุษย์เราที่นอนฝันออกไปเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นเอง เมื่อเห็นแล้วก็ให้กายมนุษย์ละเอียดนั้นนั่งเข้าไปเหมือนกายมนุษย์หยาบข้างนอกนี่เอง ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายของท่านหลวงพ่อสดที่ได้กล่าวถึงการเจริญสมาธิตามลำดับในแต่ละขั้น จนกระทั่งถึงขั้นวิปัสสนาจนสูงที่สุด มีดังต่อไปนี้


    *ใจของมนุษย์ละเอียดเมื่อหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดได้ถูกส่วนเข้า ก็จะเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะเข้าก็จะเห็นกายทิพย์

    ใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายทิพย์ละเอียด


    ใจกายทิพย์ละเอียดก็นิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายรูปพรหม


    ใจกายรูปพรหมก็นิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายรูปพรหมละเอียด


    ใจกายรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายอรูปพรหม


    ใจกายอรูปพรหม ก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายอรูปพรหมละเอียด


    ใจกายอรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายธรรม เป็นรูปเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูมใส หน้าตักโตเล็กตามส่วน หน้าตักเท่าไรดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็โตเท่านั้น กลมรอบตัวอยู่กลางธรรมกายนั่น ธรรมกายเป็นตัวพุทธรัตนะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเป็นธรรมรัตนะ


    ใจพุทธรัตนะก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายธรรมละเอียด โตกว่าธรรมกายที่เห็นแล้วนั้น ๕ เท่า


    ใจกายธรรมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ขยายส่วนโตหนักขึ้นไป ใจหยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายธรรมพระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูมใสกว่าขึ้นไปอีก


    ใจกายพระโสดาก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายพระโสดาละเอียดอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะของพระโสดานั้น หน้าตัก ๕ วา


    ใจกายพระโสดาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายพระสกิทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้น


    ใจของพระสกิทาคาก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกิทาคา พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายพระสกิทาคาละเอียด หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้น


    ใจของพระสกิทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกิทาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายพระอนาคาหน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้น


    ใจของพระอนาคาก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้น
    ใจของพระอนาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายพระอรหันต์ หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหันต์ก็ ๒๐ วา กลมรอบตัว



    ใจพระอรหันต์ก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหันต์ พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๒๐ วา กลมรอบตัวเหมือนกัน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงสมาธิ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๒๐ วา กลมรอบตัวเหมือนกัน หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๒๐ วา กลมรอบตัวเหมือนกัน หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๒๐ วา กลมรอบตัวเหมือนกัน หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๒๐ วา กลมรอบตัวเหมือนกัน หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายพระอรหันต์ละเอียด สวยงามมาก เป็นกายที่ ๑๘ เมื่อถึงพระอรหันต์นี้แล้ว หยุดกิเลสหมด ไม่มีกิเลสเลย เสร็จกิจในพระพุทธศาสนาทั้งสมถวิปัสสนาตลอด ตั้งแต่กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมละเอียด แค่นั้นเรียกว่าขั้นสมถะ ตั้งแต่กายธรรมโคตรภู ทั้งหยาบทั้งละเอียดจนกระทั่งถึงกายพระอรหันต์ทั้งหยาบทั้งละเอียดนี้ เรียกว่าขั้นวิปัสสนาทั้งนั้น

    <CENTER>สรุปลำดับชั้นของสมาธิแบบกำหนดศูนย์กลางกาย


    </CENTER><CENTER><TABLE cols=2 width="50%" bgColor=#ccffff border=1><TBODY><TR><TD>กายพระอรหันต์</TD><TD>
    กายพระอรหันต์ละเอียด​


    </TD></TR><TR><TD>กายพระอนาคามี</TD><TD>
    กายพระอนาคามีละเอียด​


    </TD></TR><TR><TD>กายพระสกิทาคา</TD><TD>
    กายพระสกิทาคาละเอียด​


    </TD></TR><TR><TD>กายพระโสดา</TD><TD>
    กายพระโสดาละเอียด​


    </TD></TR><TR><TD>กายธรรม</TD><TD>
    กายธรรมละเอียด​


    </TD></TR><TR><TD>กายอรูปพรหม</TD><TD>
    กายอรูปพรหมละเอียด​


    </TD></TR><TR><TD>กายรูปพรหม</TD><TD>
    กายรูปพรหมละเอียด​


    </TD></TR><TR><TD>กายทิพย์</TD><TD>
    กายทิพย์ละเอียด​


    </TD></TR><TR><TD>กายมนุษย์</TD><TD>
    กายมนุษย์ละเอียด​


    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    *จากหนังสือทางมรรคผล- หลักการสอนสมถวิปัสสนากรรมฐานของพระมงคลเทพมุนี


    หมายเหตุ

    พระโสดาบัน หมายถึงการลดลงของกิเลสทั้ง ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ (ความโลภ ความโกรธ ความหลงผิด)
    พระสกิทาคา หมายถึงการลดบางลงของกิเลสทั้ง ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ จนเกือบไม่เหลือ
    พระอนาคามี หมายถึงการหมดไปของกิเลส และหมดความกำหนัด รักใคร่
    พระอรหันต์ หมายถึงการตัดกิเลสทั้งปวงได้อย่างสิ้นเชิง สิ้นภพสิ้นชาติแล้ว ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ตามตำราท่านว่าหากเมื่อถึงขั้นนี้แล้ว ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะครองตนอยู่ในความเป็นคฤหัสถ์ได้ไม่เกิน ๗ วัน จะต้องเข้านิพพาน หากแต่เป็นบรรพชิตก็จะอยู่ในนิพพานได้ตลอดจนกระทั่งดับขันธ์ ท่านเปรียบว่าเหมือนกับการที่เป็นดวงแก้วอันบริสุทธิ์แล้ว ก็ไม่สามารถจะทนปะปนอยู่กับของโสโครก หรือโคลนตมได้ เหมือนกับเทพชั้นสูงที่ท่านรู้สึกรังเกียจในกลิ่นกิเลสของมนุษย์ฉันใดฉันนั้น
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สรุปไว้อย่างแยบคายว่า ปุถุชนย่อมไม่รู้จิตของพระโสดาบัน
    พระโสดาบันย่อมไม่รู้จิตของพระสกทาคามี
    พระสกทาคามีย่อมไม่รู้จิตของพระอนาคามี
    พระอนาคามีย่อมไม่รู้จิตของพระอรหันต์
    บุคคลชั้นต่ำย่อมไม่รู้จิตของบุคคลชั้นสูงๆ (หมายถึงคุณธรรม)
    บุคคลชั้นสูงย่อมรู้จิตของบุคคลชั้นต่ำ



     
  2. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,331
    เป็นการนั่งสมาธิแบบธรรมกายหรือเปล่า เพราะกำหนดให้เห็นดวงแก้ว เหมือนกัน
     
  3. SaveMax

    SaveMax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +582
    วิชาธรรมกาย โดยหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ
     
  4. me too.

    me too. สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +5
    วิชาธรรมกาย

    ขอบคุณครับกับความรู้นี้
    เพราะผมไม้เคยรู้มาก่อน
    และขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...