การนั่งสมาธิบริกรรม พุธ โธ ไปถึงฌาน 4 ได้ไหมครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NatthaponJ, 13 มิถุนายน 2017.

  1. NatthaponJ

    NatthaponJ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2016
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +275
    ถ้าฝึกแบบจับลมหายใจเป็นหลักแล้วบริกรรมพุธ โธ ไม่ได้นึกหรือจับภาพพระนะครับไปด้วยแบบนี้จะถือว่าเป็นการปฏิบัติแบบอาณาปานสติหรือไม่ หรือว่าเป็นแบบพุทธานุสติ แล้วฝึกแบบนี้จะไปถึงฌาน 4 ได้ไหมครับ ผมฝึกแบบอื่นไม่ค่อยได้มันรู้สึกติดขัด ผู้มีประสบการณ์ช่วยมาสอนหน่อยครับ
     
  2. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +164
    หากคุณเชื่อในความเป็นพระอรหันต์ของหลวงปู่มั่น และพระรูปอื่นๆในสายของท่าน คุณก็จะไม่มีความสงสัยแม้แต่น้อยว่าวิธีปฏิบัติของท่าน จะพาคุณเข้าถึงฌาณ 4 อย่างแน่นอน เพราะจุดประสงค์หลักของการปฏิบัติตามวิธีของหลวงปู่มั่นนั้นไม่ได้หยุดอยู่ที่ ฌาณ 4 แต่เป็นพระนิพพานต่างหาก

    เวปรูปภาพพระธาตุของพระในสายหลวงปู่มั่น

    http://www.kammatanclub.com/articles/41918348/พระธาตุพ่อแม่ครูอาจารย์.html

    ก่อนเริ่มปฏิบัติสมาธิ ไม่ว่าด้วยวิธีใด คุณควรปลูกศรัทธาให้ตนเองก่อน เพราะเมื่อศรัทธาพร้อมคุณจะไม่มีความสงสัยในวิธีการปฏิบัตินั้นๆ.. กุญแจหลักๆของการที่จิตจะรวมเป็นสมาธิได้นั้นมี 2 อย่างคือ 1. สติต้องมีตลอด ต้องอยู่กับคำภาวนาตลอด 2. ความสงสัยต้องไม่มี .. จะตัวเอียง ขนพอง ตัวบวม คันตามเนื้อตัว ปวดเมื่อย เห็นแสง ได้ยินเสียง หรือแม้ว่าจะต้องตาย ต้องปล่อยผ่านหมด ...... ปล. เดินทางเป็นเส้นตรง ไม่แวะนอกทางมันก็ถึงเร็ว แวะข้างทางบ่อยกลับไปไม่ถึงไหน

    คุณก็เห็นกระทู้ที่ผมเขียนเกี่ยวกับการทำสมาธิแล้ว... ถ้าเห็นว่าดีก็ลองดู ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้อง ก็ปล่อยผ่านเลย
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    พุธโธ บริกรรมเปน วจีสังขาร มโนสังขาร
    หรือ ถ่อ กายสังขารเอาปากบริกรรม ด้วย
    ย่อมไม่ถึง ฌาณ4

    ทีนี้

    ฟังดีๆ ฟังให้เข้าใจ

    พุทโธ ไปตรงๆ ไม่เลี้ยวบดคดเลยเนี่ยะ
    มันเปน การตะตรุบเงาของจิต

    เพื่อพิสูจน์ สังขารไม่เที่ยง

    บริกรรมไปเรื่อยๆ ทางตรงแค่ไหน ก้ชื่อว่า ตะครุบเงาของจิต

    แต่เพราะสังขารไม่เที่ยง

    พอสังจารมันดับ

    มันจะเกิดอาการ บริกรรมต่อไม่ได้

    สิ่งที่ควรกำหนดรู้คือ ทึ่สุด ของการตะครุบเงา
    คือเหน จิตไม่เที่ยง

    พอไปเหนจิตไม่เที่ยง โดยที่ พยาบาทวิตกไม่มี
    และ วิหิงสาวิตกไม่มี ความที่ไปจำนนต่อการ
    เหนจิตไม่เที่ยง จิตจะก้าวข้ามการยึดถือจิต

    ผลิกจาก้หน จิตสังขาร(ตะครุบเงา)ไม่เที่ยง
    ไปสู่ จังหวะกำหนดรู้จิตไม่เที่ยง เราจักปล่อยจิต
    หายใจเข้า หายใตออก

    วกกลับมา อานาปานสติ ในบทยกสิกขา
    เราจักสำเนียก ปล่อยจิต

    อย่าไปโง่ บริกรรม ละจากบริกรรม แบ้วไปนั่ง
    คิดพิจาราณาวิปัสสนา อะไร

    จะโดนหบอกให้ทำสมถะ แล้ว ก้มาทำสมถะ อีก

    รอคนไปแก้ บรรลุเองไม่เปน ตายเปล่า(แต่คง
    ไปโน้น เทวดา หรือ พระพรหม)

    แต่โดยสัจจของผู้มีพระภาค ผู้ที่เปนเทวดา พระพรหม ตกนรกต่อจากนั้นร้อยละ 99.99

    ดังนั้น อย่า บริกรรมดิ่งตรงนิ่งเฉยโง่

    ให้ทำความเข้าใจ ยกบริกรรม คือ ตะครุบเงา
    ของจิตเข้ามา ขยันภาวนา อย่าเปลี่ยนแนวไปมา

    ทุกเส้นทางจะไป ฌาณสี่ เมื่อ พยาบาทวิตก
    และ วิหิงสาวิตก ไม่มีในจิต ไม่ไล่จิกไม่เลิก

    การพิสูจน์ องค์ฌาณ ไม่ใช่ถามเอาตากคน
    อื่นว่า อาการอย่างนี้ๆ ขั้นไหน

    การพิสูจร์ องค์ฌาณ ให้สังเกต กิเลสที่พ้น
    กามวิตกมีไหม ไม่มีย่อมเปน ปฐมฌาณ

    พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เคย ฉกปากตนไหม
    ถ้าไม่มี มีอุเบกขา หรือ ปัสสัทธิ พิจาราณาซ้อน
    อีกที งานเจริญปัญญาถึงตะเดิน พอปัญญาอินทรียเดิน มันจะรส อิ่ม อึ๊ก ที่ไม่ต้องถามใคร
    ไม่ต้อง กระซิบบอกตัวเองด้วย อิ่ม คือ อิ่ม
    มันรู้ชัด ไม่ต้องถอยไปพิจารณาอะไรอีก ฌาณ
    อะไรอย่าไปเคลื่อน นอนแช่เปน พละ เปน สมบัติ ไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2017
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    อีกนัยหนึ่ง

    ต้อง ฟังให้เข้าใจ ถ้า ฟังบทนี้เข้าใจ จะเห็นว่า นักอภิธรรม ไม่ได้ ปฏิเสธฌาณ

    เวลาจิตจะเป็น ฌาณอะไร อย่าไป วางจิตดูว่า ตอนนี้อยู่ขั้นไหน

    เวลาจิตจะเป็น ฌาณ มันอันเดียวกันกับการ บริกรรม คือ มันเป็น อาการของจิต
    เป็น เงาของจิต การไปนั่งพอใจ ขั้นนั้น ขั้นนี้ เขาเรียกว่า ตะครุบเงา

    แต่ถ้า มีการยกเห็น การเปลี่ยนแปลง จาก 0 ไป 1 ไป 2 ถอย 0 ไป สาม
    ถอย 4 วกกลับไป 0 ยกขึ้นไป 5 เห็นความเปลี่ยนแปลง

    สภาวะที่ เห็นการเปลี่ยนแปลง เราเรียกว่า มี สภาวะ "จิตตั้งมั่น"

    ดังนั้น สมาธิ (จิตตั้งมั่น) ของพุทธศาสนา ไม่ใช่ ตอนนี้ ฌาณ อะไร ฌาณ4
    หรือเปล่า

    จิตจะเป็น สมาธิ เมื่อเห็นความเปลี่ยนแปลง เรียกตามภาษาโบราณว่า ญาณสัมปยุติ

    แต่ถ้าเป็น ตอนนี้ ฌาณอะไรฮับ ฌาณแช่แป้ง นิ่งอึ้งสุดทาง เฉยโง่ นั่น ญาณวิปยุติ

    ทีนี้ จำเป็นไหมที่จะต้อง ชำนาญ 1 2 3 4 5 6 7 8 9

    ไม่เกี่ยว

    ฟังดีๆ สมาธิ คือ จิตตั้งมั่นเห็นความเปลี่ยนแปลง

    ลำพัง ฌาณเดียว อย่าง ปฐมฌาณ มันก็มี ก่อนเข้า เข้า อยู่ แล้ว ก็ออก มีตั้ง 4สภาวะ
    ให้ตามระลึก เห็นความเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ชำนาญแค่ ฌาณ1 ปฐมฌาณ แต่ ก่อน
    เข้าก็รู้ เข้าอยู่ก็รู้ อยู่ในฌาณก็รู้ ออกจากฌาณก็รู้ เนี่ยะ แค่นี้ รู้รอบโลก สำเร็จธรรม


    ปล. ที่นี้ การชำนาญปฐมฌาณนี่ เวลา จิตมันไม่เป็นฌาณ คู่ตรงข้ามคือ กามสุข

    ผู้ภาวนา หรือ คนสอนธรรม ส่วนใหญ่เป็น พระ ท่านก็จะ ไม่สรรเสริญ ลำพังการ
    ชำนาญแค่ ปฐมฌาณ เพราะถ้าไปสอนอะไรแบบนั้น จิตท่านก็จะ แห้งแล้ง(คือ
    มันหิวกามคุณ)ขึ้นมา ท่านจึงมีประโยค บาลีแปลไทยว่า อันบัณฑิตสรรเสริญ(ซึ่ง
    ก็จะเป็น ฌาณ 3 4 ไป แต่เราเป็น ฆราวาส ก็ต้องภาวนาตามวาสนา ถ้าพ้นกามได้
    มีวิเวกได้มันก็ดี แต่ถ้าไม่ได้ ต้องภาวนาให้ สมชีวตา ให้เข้าองค์มรรค อย่า
    ดัดแปลง ปฏิภาณตนเป็น พระ จะทำให้ตกนรกได้อยู่ เพราะ หลอกตัวเอง[พระพรหม
    ร้อยละ 99.99 ตกนรก ไม่ได้เกิดเป็นพรหม เทวดา มนุษย์ต่อ]
    )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2017
  5. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +164
    เอ่อ เขียนดีๆก็เป็นนิ... เห็นเขียนมาเป็น 10ข้อความ อันนี้ดูดีสุด... อันก่อนหน้า หลายๆอันดูจะมั่วๆ
     
  6. สมิง สมิง สมิง

    สมิง สมิง สมิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +952
    ...การบริกรรมภาวนา....
    1. การบริกรรมภาวนา ช่วยลดระดับอารมณ์ และกรองอารมณ์ ให้เหลืออารมณ์น้อยที่สุด หรือจนกระทั่งเป็นอารมณ์เดียว คือ เอกัคคตารมณ์ จิตรวมลงเป็นสมาธิ ไปจนกระทั่งถึงฌานที่ ๒ ตามองค์ฌาน
    ปฐมฌาน ได้แก่ วิตก (ภาวนาถูกต้องไม่ขาดสาย), วิจาร (ภาวนาครบถ้วน), ปิติ (ความอิ่มใจ) สุข (ความสบาย), เอกัคคตารมณ์ (ความีอารมณ์เดียวเป็นหนึ่งนั่นเอง)
    ทุติยฌาน ได้แก่ ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์ (ตรงนี้คำบริกรรมหายไป)
    ตติยะฌาน ได้แก่ สุข เอกัคคตารมณ์
    จตุตถฌาน ได้แก่ เอกัคตารมณ์ และอุเบกขา
    ...เพราะฉะนั้นคำบริกรรมพาเราเข้าไปสู่ฌานต่อ ๆ ไปได้ (ยกเว้นจะชำนาญมากจนไม่ต้องใช้คำบริกรรม แต่ฐานสมาธิจะไม่ค่อยมั่นคงนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเป็นวสี คือชำนาญในการเข้าออกฌาน)...
    2. การบริกรรมภาวนา จะใช้คำใด ก็ได้ ทั้งนี้เป็นอุบายให้จิตเป็นที่ยึดเกาะ และจะเป็นหลักจิตหลักใจในยามคับขัน อุบายฝึกจิตทำให้จิตเชื่องขึ้น (จิตฝึกได้)
    3. เมื่อเริ่มบริกรรมแล้ว แสดงว่าจิตเริ่มมีสมาธิแล้ว เป็นการเริ่มฝึกสมาธิแล้ว จิตจะเริ่มสะสมพลังจิตไปเรื่อย ๆ ยิ่งสงบเข้าไปมากเท่าไหร่ จิตก็ผลิตพลังจิตมากเท่านั้น จนกระทั่งถึงความสบาย (การเคลียร์ประสาทกาย) ก่อนเข้าภวังค์นั่นเอง

    คำถาม...ถ้าฝึกแบบจับลมหายใจเป็นหลักแล้วบริกรรมพุธ โธ ไม่ได้นึกหรือจับภาพพระนะครับไปด้วยแบบนี้จะถือว่าเป็นการปฏิบัติแบบอาณาปานสติหรือไม่ หรือว่าเป็นแบบพุทธานุสติ แล้วฝึกแบบนี้จะไปถึงฌาน 4 ได้ไหมครับ ผมฝึกแบบอื่นไม่ค่อยได้มันรู้สึกติดขัด ผู้มีประสบการณ์ช่วยมาสอนหน่อยครับ...

    ...การบริกรรมภาวนาด้วยการกำหนดคำบริกรรม และกำหนดลมหายใจ เข้า ออก เช่น เข้า พุท
    ออก โธ เป็นอานาปานสติ และเป็นพุทธานุสติด้วย เพราะคำว่าพุท โธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และผู้บริสุทธิ์นั่นเอง...และถ้าจับภาพพระไปด้วย ก็จะเป็นกสิณ สีของพระนั้นคือ สีของกสิณ เช่น พระพุทรูปองค์สีทอง (สีทอง) , สีใส (สีขาวใสสะอาดตา)...ภาพนิมิต เช่น ภาพพระพุทธเจ้า, ภาพพุทธภูมิ ที่บารมีมาก ๆ ก็เป็นภาพนิมิต พร้อมบริกรรมภาวนาก็ได้ พุทธานุสติ
    สังฆานุสสติ นั่นเอง อันนี้ก็ใช้เป็นกสิณได้เหมือนกับ (กำหนดเปลี่ยนภาพได้)...

    ...อนุโมทนาบุญ...
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ทำได้ครับ เป็นวิธีการหนึ่งที่บุคคลที่ทำได้
    ก็เริ่มต้นกันแบบนี้เหมือนกันครับ...
    นอกจากกรรมฐานแบบที่ต้องอาศัยรูปนะครับ
    เพียงแต่คุณจะต้องปฏิบัติตามนี้ครับ

    ๑.ต้องเปลี่ยนระบบหายใจให้ลึกขึ้นด้วยครับ
    ใช้เวลาหน่อย จนกระทั่งมันกลายเป็นระบบหายใจ
    ปกติในชีวิตประจำวันของเรา เรียกได้ว่า ช้าแต่ชัวครับ
    มันก็จะเป็นลมหายใจแบบอาปาฯอัตโนมัติ
    ซึ่งเป็น เบสิคพื้นฐาน
    ของการจะฝึกกรรมฐานทุกกองให้สำเร็จ
    จนถึงระดับใช้งานได้ทั้งสิ้นครับ
    ถ้าไม่เอาพื้นฐานตรงนี้ให้ดีๆก่อน
    จะเสียเวลาเฉยๆครับ
    ไม่งั้นให้ฝึก ๑๐ ยี่สิบปี ก็จะไม่สำเร็จซักอย่าง
    ใช้งานอะไรไม่ได้ครับ เผลอๆก็จะกลายเป็นคน
    หลงตัวเอง มาโม้แต่ สัมผัส กิริยา ไร้สาระ
    ที่ไม่ใช่แก่นสารทางพุทธฯครับ

    จริงอยู่แม้บางครั้งตอนฝึก เราอาจจะคิดว่าเราหายใจลึก
    แต่ว่า เผลอเอาตัวจิตไปตามลมหายใจ คือไปตามรู้ว่าลม
    มันลึกหรือเปล่านั่นหละ
    ซึ่งมันจะส่งผลให้เราติดแห๊ก อยู่ในระดับปฐมฌานครับ

    และห้ามสนใจ ไคร่รู้ ในสัมผัสอะไรก็ตาม
    ไม่ว่าทางตา หู จมูก กาย หรือจิต ที่เกิดขึ้นระหว่างทาง
    ทุกๆกรณีครับ พูดง่ายๆต่อให้มีที่ไม่ใช่มนุษย์
    มายืนอยู่ตรงหน้าก็ห้ามสนใจ และเสียงเรียก สัมผัส
    อะไรก็ตามห้ามสน

    และในระหว่างนี้ ควรทำดีทั้งในที่ลับ
    และที่แจ้ง อย่าคิดว่าไม่มีใครเห็นครับ...
    ดูเรื่องความละเอียดของศีล ๕ ด้วยครับ
    และงนสนทนาเรื่อง ของคนอื่นๆ
    เอาแต่เรื่องงานของเราอย่างเดียวครับ

    ๒.เปลี่ยนลมหายใจ จะภาวนาอะไรก็ได้ครับ
    แต่ควรเป็นคำภาวนาที่ส่งเสริม ระลึกคุณ พระรัตตตรัย
    และให้หายใจ
    เข้าให้ลึกจนท้องพอง และหายใจออกให้ท้องยุบ
    แต่ให้ทำความรับรู้ว่า มีลมหายใจเข้าหยุดที่ปลายจมูก
    และลมหายใจออกหยุดที่ปลายจมูกแค่นั้นครับ
    ย้ำว่า ไม่ต้องไปตามลมนะครับ แรกๆดันท้องไปก่อนครับ
    เด่วจะเป็นอัตโนมัติเองครับในอนาคต

    ถ้านึกไม่ออกว่าลมหยุดสัมผัสปลายจมูกอย่างไร
    ให้เรานิ้วชี้มาไว้ที่ปลายจมูก ถ้าเรารู้สึกว่าลมสัมผัส
    นิ้วชี้ตลอดเวลาที่หายใจเข้าและออก
    แสดงว่า ลมมันมันระลึกอยู่ปลายจมูก ถ้าลมขาด
    ไม่สัมผัสรู้สึกที่นิ้วช่วงไหน แสดงว่าลมมันขาดช่วง
    หรือเผลอเอาจิตไปไว้ที่อื่นๆครับ

    ๒.สิ่งที่ต้องควรรู้ ของกรรมฐานที่ไม่ขึ้นด้วยรูปก็คือ
    ระดับสมาธิมันจะเป็นแบบพรวดพลาด
    คือถ้าเข้า ๑ ได้ถ้ากำลังสมาธิสะสมพอ
    มันจะขึ้นไป ๔ เลย จะไม่มีมา ๒ ๓ นะครับ
    ไม่เหมือนกรรมฐานที่ขึ้นด้วยภาพ มันพอจะบอกได้
    สภาวะไหน คือ ๑ ๒ ๓ นึกออกนะครับ...
    และเวลามันหลุดสภาวะ มันจะตกจาก ๔ หลงมา
    ถึงระดับ ลืมตาปกติได้เลยครับ...
    ต้องเข้าใจเอาไว้ จะได้ไม่สงสัยครับ

    และระวังถ้าสัมผัสอะไรก็ตาม หรือง่วงๆมากๆ
    ให้ขยับกายให้เป็นปกติในท่าเดิมและห้ามลืมตา
    ถ้านั่งแล้วมันไม่ไปไหน ก็ให้ลุกไปหาอะไรอย่างอื่น
    ทำก่อน เพียงแต่ต้องรักษาระบบการหายใจ
    เอาไว้ให้ได้เหมือนเดิมครับ....
    ** กรรมฐานกองนี้ ถ้าเข้าถึงระดับ ฌาน ๔ ได้จริงในครั้งแรก
    จะไม่มีทางที่จะควบคุมจิตให้อยู่ในร่างกายได้แน่นอนครับ
    ร้อยเปอร์เซนต์เพราะจิตจะมีนิสัยท่องเที่ยวเป็นทุนครับ...
    ที่เค้าบอกว่า เข้าฌาน ๔ แล้วไปโน้นนี่นั้นแบบสบายๆ
    นั้นมันแค่ระดับอุปจารสมาธิ ที่ทำให้คนหลงตัวเอง
    หลงโลก กลายเป็นผู้วิเศษ
    มามากมายหลายคนแล้วต้องระวังให้ดีด้วยครับ

    และถ้าทำได้ในครั้งแรก ให้มาเจริญสติให้ต่อเนื่อง
    เพิ่มขึ้นจริงๆ และสะสมสมาธิด้วยการนั่งให้ถึงระดับ
    สงบบ่อยๆ ไม่ต้องนาน ๓ ถึง ๔ นาที แต่ทำบ่อยๆ
    ในระหว่างวัน

    พอในครั้งที่ ๓ ไม่เกิน ๔ ถ้าเข้าถึงได้อีก จะมีกำลังเพียงพอ
    ที่จะบังคับ ให้ตัวจิตนิ่งๆในกายเราได้ เราจะรู้ได้เอง

    ถึงตรงนี้ จิตมันจะไปได้ ๒ ทางคือ
    ๑.เข้าซ้อนไปในจิตเรื่อยๆระเบิดเสียงดังมากจนเป็นสีขาว
    ซ้อนๆไปเรื่อยๆ ผลที่ได้ จะเกิดความสามารถพิเศษ
    ในระดับใช้งานได้ปกติ เวลาลืมตาใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป
    ๒.มันจะวิ่งดูอวัยวะตนเอง ภายในร่างกาย ผลที่ได้จะได้มรรค
    ผลตรงตัดความยึดติดร่างกายถึงระดับละเอียดได้
    ตรงนี้ ถ้ามันวิ่งไปที่อวัยวะใดที่เราเป็นเรื้อรัง
    และเห็นจนระเบิดได้ ร่างกายตรงนั้นเราจะหายขาดทันทีครับ

    ข้อ ๓ คือ ทั้ง ข้อ ๑ และ ๒ เราจะไม่สามารถบังคับมันได้ครับ
    เพราะมันจะเป็นไปตามเนื้อหาเดิมแท้ของจิตเราที่ได้สร้าง
    สะสมมาครับ

    ปล.ไม่ใช่เรื่องยาก และก็ไม่ใช่เรื่องง่าย...
    ถ้าพื้นฐานการปฏิบัติพร้อม
    พื้นฐานทางใจพร้อม
    วาระทางสมมุติคลาย(คือไม่ติดขัดอะไรทางโลก)
    และมีเวลา
    มีโอกาศเข้าถึงได้ทุกคนครับ...
    และทำได้ มีโอกาศจะเดินปัญญาได้

    ถ้าสามารถเห็น ขันธ์ ๕ นามธรรมได้
    ในสภาวะนั้น แต่จะเกิดหลังจากที่เล่า
    ให้ฟังมาก่อนหน้าทั้งหมดครับ

    ย้ำว่า ไม่ยากและก็ไม่ง่าย
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ทีนี้ สมมตินะสมมติ สมมติว่า อ่านดี เข้ามาได้

    เกิด กังขาวิตรณวิสุทธิ เข้ามาที่ตรง ญาณสัมปยุติ กับจิต เข้าใจ สภาวะ จิตตั้งมั่น(สมาธิ)

    ถ้าเข้าใจ จิตตั้งมั่น สมาธิพุทธศาสนา

    จิตจะไม่เคลื่อนไปไหนเลย จิตจะอยู่ใน ภูมิจิตปรกติมนุษย์ ทุกประการ

    การเคลื่อนไป หรือ การส่งออก จะเป็นเรื่อง จิตอึ๊ก จิตไม่อึ๊ก ชนิดต่างๆ
    ซึ่งก็อาศัย ให้มันเคลื่อนไป เพราะ ต้องอาศัยระลึก การเคลื่อน จึงจะ
    รับรู้ได้ถึง ธาตุที่ไม่เคลื่อน ไม่ได้อาศัยปัจจัย พรากออกจาก กองขันธ์
    ทุกชนิด ไม่ว่าจะปัญญัติเรียกเพื่อการสื่อสารว่า ขันธ์5บ้าง สีลขันธ์บ้าง
    สมาธิขันธ์บ้าง ปัญญาขันธ์บ้าง เว้นไว้แต่ วิมุตติขันธ์ จะเรียกกันคุณหนูๆ
    ก็อนุโลมไปตามสัจจญาณ กิจญาณ กตญาณ
     
  9. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ อานาปานสติ คือ "รู้" ลมหายใจ ทำได้โดย

    1. นั่งเฉย ๆ
    2. ปล่อยให้ร่างกาย หายใจของมันไปเองตามธรรมชาติ
    3. รู้เฉย ๆ ทั้งร่างกาย "ไม่มี" การดูเป็นส่วน ๆ

    +++ ผลลัพธ์ก็จะ "รู้" ได้เองว่า ลมหายใจ สั้น/ยาว - หยาบ/ละเอียด ถูกครอบคลุมด้วย "สติ" ทั้งหมด

    +++ เมื่อยามใดที่ "รู้สึก" ว่า ลมหายใจก็ "ถูกรู้" อยู่เฉย ๆ ไม่มีอะไร

    +++ อาการ "เฉย ๆ" นั้น เป็นอาการของ "ฌาน 4" ตามที่ ตั้งใจถามมา

    +++ ส่วน ลมหายใจที่ "ถูกรู้" และแยกตัวออกไปอยู่เฉย ๆ ไม่มีอะไร และ "ไม่ใช่ตัวเรา" ตรงนี้เป็นอาการของ "วิปัสสนา"

    +++ และจะทำให้ เห็น ว่า ลมหายใจ "ไม่ใช่ตน" ก็จะทำให้ "การละ สักกายะทิฐิเบื้องต้น" เกิดขึ้น
    +++ พุทธานุสติ ด้วยการ "บริกรรม พุท/โธ" คือ "รู้" เสียงที่มัน "ท่องอยู่ในใจ" ตรงที่ "ต้นลม เข้า/ออก"

    +++ ตรงนี้เป็นการช่วย สำหรับผู้ที่ทำ "อานาปานสติ" ไม่ค่อยได้ เพราะอาการ จิตฟุ้งซ่าน มันก่อกวนอยู่เป็นระยะ

    +++ คำบริกรรม "พุท/โธ" จะช่วย "ผูกจิต" ไม่ให้มัน ฟุ้งซ่านเพ่นพ่าน ไปแบบเรื่อยเปื่อย และสามารถทำให้กล้บมา "รู้" ลมหายใจได้ดีขึ้น

    +++ เช่นเดียวกัน เมื่อยามใดที่ "รู้สึก" ว่า ลมหายใจ+คำบริกรรม "ถูกรู้" อยู่เฉย ๆ ไม่มีอะไร ณ ขณะนั้น ๆ เป็น "ฌาน 4"

    +++ เมื่อ ลมหายใจ+คำบริกรรม ที่ "ถูกรู้" และแยกตัวออกไป และ "ไม่ใช่ตัวเรา" ตรงนี้เป็นอาการของ "วิปัสสนา"

    +++ และยามใดที่ "เห็นกิริยาของ คำบริกรรม" เกิด/ดับ แบบคล้าย ๆ "การกระพริบของจิต" ตรงนี้เป็น "การเห็น ขันธ์ ที่หลวงปู่สิม เรียกว่า วจีจิตตะสังขารขันธ์"

    +++ "วิปัสสนา ทุกชนิดจะต้องใช้ ฌาน 4 เป็นองค์ประกอบเสมอ" หากไม่มีฌาน 4 เป็นองค์ประกอบแล้ว "วิปัสสนา" จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย และจะเป็นการ "ฟุ้งซ่าน" ตลอดเวลา โดยที่กิเลสมันจะหลอกเอาว่า "ความฟุ้งซ่าน คือ วิปัสสนา" ตรงนี้ต้องระวังให้มาก

    +++ "วิปัสสนา" คือ อาการที่ "สติ" มีอิทธิพลเหนือ ฌาน

    +++ ส่วน "สมถะ" คือ อาการที่ "ฌาน" มีอิทธิพลเหนือ สติ

    +++ ส่วนอาการ "ซาบซ่านอยู่+เฉยอยู่" เรียกว่า ฌาน 2

    +++ อาการ "เบาสบายอยู่+เฉยอยู่" เรียกว่า ฌาน 3

    +++ อาการ "เฉยอยู่อย่างเดียว" เรียกว่า ฌาน 4

    +++ อาการ "วิปัสสนา" คือ "รู้อยู่เฉยอยู่" โดยที่ อาการ "รู้อยู่ (สติ)" จะเด่นชัดกว่าอาการ เฉยอยู่ เป็น "สติครอบงำฌาน" เป็น "วิปัสสนากรรมฐาน"

    +++ อาการ "สมถะ" คือ "เฉยอยู่แค่พอรู้เท่านั้น" อาการ "ดื่มด่ำกับความเฉย" จะเด่นชัดกว่าอาการ ที่รู้อยู่ เป็น "ฌานครอบงำสติ" เป็น "สมถะกรรมฐาน"

    +++ คำอธิบายตามอาการ ประกอบกับ "วิธีทำ" ในโพสท์นี้ ก็สมควรพอเหมาะกับคุณ ในขณะนี้แล้ว ลองทำดูนะครับ
     
  10. NatthaponJ

    NatthaponJ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2016
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +275
    ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยชี้แนะมากครับ
     
  11. NatthaponJ

    NatthaponJ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2016
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +275
    ถ้าเป็นเทวดาหรือพระพรหม ก่อนช่วงหมดอายุขัยน่าจะพอชิงลงมาเกิดก่อนหมดอายุขัยแล้วก็อธิษฐานจิตให้ได้เจอพระพุทธศาสนา แบบนี้ก็น่าจะหนีนรกได้นะครับ
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    เวลา สังขารขันธ์ มันทำงาน มันจะให้ ภาพสมจริง จนรู้สึกว่า บัญชามันได้

    พอถึงเวลาจริงๆ ขณะจิตสุดท้าย ขณะที่กำลัง หล่นจากต้นไม้ก่อนถึงพื้น
    มันบอกไม่ได้หลอกว่า วิถีจิต มันจะเกิด อุปาธิ ไปทางไหน

    ร้อยละ 99.99 ประมาณ เต่าตาบอด จะโพล่หัวมาหายใจ ที่ผิวน้ำ
    แล้ว บังเอิญสอดหัวเข้ารอด รูไม้ ที่ลอยกลางมหาสมุทร มันยาก
    ขนาดไหน ....การเกิดเป็นคน การฟังธรรมแล้วไม่เอาความคิดมาทับ
    มันก็ ยากขนาดนั้น เป็น พุทธฏีกา วินิจฉัย ตรัสไว้

    และ พุทธฏีกา ก็ตรัสบอก ทางออกด้วย
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ถ้าเอา ตัวอย่างแบบ สี่ตัวตรง

    ก็ พกาพรหม ผู้สำเร็จฌาณ4

    พกาพรหม นี่ดีหน่อย ตรงที่ ตายจากภูมิฌาณ4 ก็ตกมา3
    ตกจาก3 ก็มา2 จาก2 มาหนึ่ง

    พอกำลังจะตกจาก ภพภูมิอันเกิดจากพลานิสงค์ชำนาญ ปฐมฌาณ

    ก็เกิดดำริ เห็นว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นบนโลก เกิดจาก การบัญชาจิตของตน( นิพพานใจสั่งได้ )

    เรียกว่า กำลังจะตกนรกแบบไม่ธรรมดา
     

แชร์หน้านี้

Loading...