การปฏิบัติภาวนาจิต (หลวงปู่พุธ ฐานิโย)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 13 มกราคม 2014.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    ทีนี้มาสรุปลงที่ โอวาทของหลวงปู่ลี หรือท่านพ่อลี
    ท่านพ่อลี ท่านปฏิบัติ ท่านยึดอานาปานุสติเป็นหลัก
    แล้วท่านสอน ท่านก็สอนอานาปานุสติ

    ถ้าลูกศิษย์ มีอุปนิสัยเบาบาง
    ท่านจะสอนให้มีสติกำหนด ลมหายใจอยู่เฉยๆ

    แต่บางท่านที่มีอุปนิสัยค่อนๆ อะไรล่ะ ค่อนๆจะเชื่องช้าหรือหยาบหน่อย
    ท่านก็สอนให้ภาวนา พุธพร้อมลมเข้า โธพร้อมลมออก

    ถ้าผู้ที่มีอุปนิสัยน้อย หรือว่า บารมีน้อย
    ท่านก็สอนให้กำหนดลมหายใจแล้วนับ หนึ่งสอง
    หายใจเข้านับหนึ่งสอง หายใจออกนับหนึ่งสอง
    หายใจเข้าหนึ่งสองสาม หายใจออกหนึ่งสองสาม
    จนกระทั่ง ทวีคูณขึ้นไป จนกระทั่งถึงสิบ

    หายใจเข้า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
    หายใจออก หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
    เป็นการฝึก สติ สัมปชัญญะ โดยตรง

    เมื่อจิตสงบลงไปแล้ว การนับมันก็จะทิ้งไป
    เพราะการนับ มันก็เหมือนกับการบริกรรมภาวนานั้นแหล่ะ

    ทีนี้เมื่อมันทิ้งการนับแล้ว
    มันก็จะไปรู้อยู่ที่ลมหายใจเพียงอย่างเดียว

    เท่าที่เล่าๆมานี้เป็นโอวาทของครูบาอาจารย์
    เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเท่าที่ อ่า เท่าที่สามารถจำได้

    ทีนี้

    ขอทำความเข้าใจกับนักปฏิบัติอีกครั้งหนึ่งว่า
    เวลานี้ นักปฏิบัติเราเนี๊ยะ มักจะไปยึดมั่น ถือมั่น ในหลัก และ วิธีการตามหลักวิชา

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

    เรามาเถียงกันอยู่ที่ ยุบหนอ พองหนอ พุทโธ สัมมาอะระหังอยู่นี่แหล่ะ
    ใครก็ว่าของใครดี ใครก็ว่าของใครวิเศษ เรามาคิดอย่างนี่ ดีไหมล่ะ

    เอ้อ ...

    ตั้งแต่ พระพุทธเจ้า ยังไม่เกิดขึ้นในโลก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราเนี๊ยะ
    ท่านเอาคำว่า ยุบหนอ พองหนอ สัมมาอะระหัง พุทโธ ที่ไหน มาท่องกันเนี๊ยะ
    เพราะ
    พระพุทธเจ้ายังไม่เกิดขึ้นในโลก คำพูด สามคำนี่ มันก็ยังไม่มี

    ดังนั้น

    พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่มีคำที่จะท่อง ท่านจึงเอา ลมหายใจเป็นอารมณ์

    ดังนั้น

    ท่านพ่อของเราเนี๊ยะ ก็ยึดลมหายใจ มาสอนลูกศิษบ์ลูกหาเป็นส่วนใหญ่
    ครูบาอาจารย์ที่ย้ำสอน ให้กำหนดลมหายใจเนี๊ยะ
    แสดงว่า ท่านมีความรู้ ความฉลาด ในการปฏิบัติ มีประสบการณ์มากมาย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

    ประสบการณ์ของท่านมันอยู่ ตรงที่ว่า
    เมื่อจิตหยุดพิจารณา หยุด บริกรรมภาวนา จิตว่างอยู่เฉยๆ
    แล้วจิตจะไปรู้ลมหายใจ

    เพราะฉะนั้น ท่านพ่อลี ท่านจึงได้ยึดหลักนี้

    (อ่านต่อต่อตอนไป)
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    พระพุทธเจ้าก็กำหนดรู้ลมหายใจจนกระทั่งได้สมาธิ

    ไปตามลำดับขั้นตอน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน
    เสร็จแล้วก็วกเข้าไปสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ เข้านิโรธสมาบัติ
    ไปสร้างพลังจิตอยู่ที่ตรงนี้
    เมื่อสร้างพลังจิตพร้อมแล้ว
    จิตเบ่งบานออกมาอีกครั้งหนึ่ง
    สามารถแผ่รัสมี คลุมจักรวาลทั้งหมด
    ทำให้พระองค์ตรั้สรู้ เป็นโลกะวิทู ผู้รู้แจ้งโลก
    คือ รู้นรก รู้มนุษย์ รู้สวรรค์
    ท่านอ่านคัมภีร์มามากแล้ว พูดย่อๆเพียงแค่นี้
    คือ ท่านรู้โลก โลกนรก โลกมนุษย์ โลกสวรรค์
    รู้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จตูปาตญาณ อาสวะขยญาณ
    ในขณะจิตเดียวตั้งแต่ปฐมยาม

    แล้วก็รู้ในขณะที่จิตอยู่ใน สมถะกรรมฐาน
    เพราะในช่วงนั้น ร่างกายตัวตนของพระองค์ท่านหายหม๊ด
    ยังเหลือแต่ จิต สว่างไสว อยู่ เหมือนดวงอาทิตย์
    แผ่รัสมีคลุมโลก สว่างไสวทั่วไป ทำให้พระองค์ตรัสรู้เป็นโลกะวิทู

    เมื่อตรัสรู้เป็นโลกะวิทูแล้ว

    ก็บันทึกข้อมูลต่างๆโดยอัตโนมัติ
    เมื่อจิตถอนจากสมาธิมา พอรู้สึกว่ามีกาย
    ก็มาพิจารณา ทบทวน สิ่งที่รู้นั้น ซ้ำเติม อีกทีนึง เรียกว่า เจริญ วิปัสนา
    พระองค์ พิจารณา
    ปุพเพนิวาสานุสติญาน จบลงในปฐมยาม
    จุตูปปาตญาณ จบลงในมัชฌิมยาม
    อาสวะขยญาณ จบลงในปัจฉิมยาม

    เมื่อพิจารณาจบลงแล้ว
    จิตรู้แจ้งเห็นจริง ยอมรับสภาพความเป็นจริง
    อรหัตมรรคญาณบังเกิดขึ้น ตัดกิเลสอาวสะ ขาดสะบั้นไปในปัจฉิมยาม
    จึงได้พระนามว่า

    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
    พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์
    ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
    ตรัสรู้ชอบได้ด้วย โดยพระองค์เอง ด้วยประการฉะนี้

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มกราคม 2014
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นตั้งแต่ปฐมยาม
    แล้วก็ตรัสรู้
    ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ ในขณะจิตเดียวตั้งแต่ปฐมยาม
    แล้วก็รู้ในขณะที่จิตอยู่ในสมถะกรรมฐาน
    รู้อย่างไม่มีภาษาสมมุติบัญญัติ
    เพราะจิตไม่มีตัว พูดไม่เป็น คิดก็ไม่เป็น
    เมื่อจิตถอนจากสมาธิมาแล้ว มาสัมผัสรู้ว่ามีร่างกาย
    จึงได้มาทรงพิจารณาทบทวน สิ่งที่รู้เห็นนั้น
    ตามลำดับยามจนกระทั่งถึงสว่าง
    จึงได้สำเร็จ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    อันนี้ขอเสนอ มติความคิด ความเห็น
    ไว้ให้ นักปฏิบัติทั้งหลายได้ช่วยกันพิจารณา

    ถ้าหากสมมุติ ว่า
    ท่านพิจารณาดูความตาย
    ถ้าเห็นคนอื่น มาตายให้เราดู สัตว์อื่น
    มาตายให้เราดู เรายังไม่เห็นความตาย

    แต่ ถ้าเราเห็นตัวเราเอง ตายให้เราดู
    ตัวเราเองตายให้เราดูนี่ มันตายอย่างไร

    คือ วิญญาณจิตนี่ มันวิ่งตามลมออกไป
    แล้วก็หนีไปลอยเด่นอยู่เหนือร่างกาย
    พอเสร็จแล้ว ก็มองลงมาดูร่างกายเห็นร่างกาย
    ขึ้นอืด เน่าเปลื่อย ผุ พัง สลายตัวไปหม๊ด
    นี่ในลักษณะอย่างนี้ จึงจะชื่อว่าเห็นความตาย

    ทีนี้ เมื่อเห็นคนอื่นตาย สัตว์อื่นมาตายให้เราดูนั่น
    เราเห็นแต่ความตายของคนอื่น สัตว์อื่น

    ในทำนองเดียวกัน ที่ครูบาอาจารย์ สอนเรา
    ให้เราพิจารณาพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    เราก็ไปพิจารณา ว่า สังขารไม่เที่ยง
    สังขารก็คือ คนและสัตว์ เป็นสังขาร ที่มีชีวิต จิตใจ

    สังขารอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ดิน ฟ้า อากาส ต้นไม้ ภูเขา รถ เรือน
    สังขารไม่มีชีวิต จิตใจ เราก็ได้ไปเที่ยวกล่าวตู
    ว่า
    สิ่งเหล่านั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    แต่หาได้มองเข้ามาข้างในไม่

    สิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่ สิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาน๊ะ
    เราไปกล่าวตู่เค้าต่างหากเล่า

    ตัวอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันอยู่ที่ไหน
    มันอยู่ที่ ไอ้ตัวจิตวิญญาณ นี่เอง

    ( อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    ถ้าตาเห็นรูป ถ้าจิตวิญญาณปกติ
    ไม่ยินดีบินร้าย มันก็ไม่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    แต่ ถ้ามันรู้อารมณ์อะไรต่างๆ ผ่านเข้ามาแล้ว
    มัน มันไหว หวั่นไหวไปตามอารมณ์นั้น
    แล้วก็เกิดยินดี ยินร้าย เกิดสุข เกิดทุกขื เรื่อยล่ำไป
    อันนี คือตัว อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันปรากฎขึ้นที่จิต

    จิตของเรานี่แหล่ะ ตัวการสำคัญ
    ที่มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    เพราะฉะนั้น

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงสอนให้เรา อบรมจิต
    จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง จิตที่อบรมแล้ว นำสุขมาให้

    ทำไมมันจึงนำสุขมาให้ ก็เพราะว่ามันเป็นตัวของตัวเอง
    ไม่ตกอยู่ในอำนาจของสิ่งใด เป็นอิสระแก่ตัวอย่างเต็มที่
    วิญญา อ่าหรือ อารมณ์ ต่างๆนี่ ลากคอมันไปสับไปยำไม่ได้
    มันก็เป็นตัวของตัวเอง มันก็เที่ยง
    มันก็ไม่เป็น อนัตอ่า มันก็ไม่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ก็เป็นตัวของตัวเองโดยอิสระ

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว ตอนนี้ถอดเทปโดย เพื่อนสมาชิก พลูโตจัง)


    และอีกอัน หนึ่งได้รับเอกสารจากสำนักวิจัย วิจารณ์ธรรมะทั้งหลาย
    ทั้งฝ่ายนักปฏิบัติ ทั้งฝ่ายปริยัติ ท่านเจอ ท่านก็กรุณาแจกไปให้อ่าน...


    ปัญหานั้นมีว่า พระนิพพานเป็น อัตตา หรือเป็นอนัตตา???

    พระนิพพานเป็น อัตตา หรือเป็นอนัตตา???

    ทางฝ่ายหนึ่งว่า พระนิพพาน เป็นอัตตา
    อีกผ่ายนึง พระนิพพานเป็นอนัตตา
    เพราะอาศัยพุทธภาษิตที่ว่า
    “สัพเพ ธัมมา อนัตตา” ..ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา
    พระนิพพาน ก็เป็นธรรม จึงเป็นอนัตตา

    ผู้ที่ว่า พระนิพพาน เป็น อัตตา นั้น ไปอาศัยโวหารที่ว่า

    “อัตตาทีปะ อัตตะสรณา”
    ...อัตตาหิ อัตตโน นาโถ...ตน เป็นที่พึ่งของตน
    จิตเป็นอิสระ ไม่ตกอยู่ในอำนาจของสิ่งใด
    เป็นตัวของตัวอย่างแท้จริง
    จึงเป็นอัตตา

    ผิดหรือ ถูก...ท่านพุทธบริษัททั้งหลาย

    ฝ่ายหนึ่งว่านิพพานเป็นอัตตา
    ฝ่ายหนึ่ง นิพพานเป็นอนัตตา

    อ่ะอื๊มๆ

    อาตมาจะขอเสนอ ความคิดเห็นอย่างนี้
    พระนิพพาน ไม่ใช่อัตตา
    พระนิพพาน ไม่ใช่อนัตตา
    แม้แต่นิพพานก็ยืม..ยืมคำพูดกล่าวถึง อาการดับของกิเลสมาพูด
    นิพพานะ แปลว่าอะไร
    นิพพาน แปลว่า ดับ
    ดับอะไร ...ดับกิเลส โลภ โกรธ หลง อาสวะ ให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ อันนี้เรียกว่า ดับ

    มาเอาอาการดับเรียกชื่อธรรมะสูงสุดว่า “พระนิพพาน”

    แต่ความจริง นิพพานก็ไม่ใช่นิพพาน
    เป็นแต่เพียง กิริยาการดับกิเลสเท่านั้น


    ส่วนที่ สิ่ง ที่อยู่เหนือการดับนั่นคืออะไร???

    สิ่ง ที่อยู่เหนือการดับนั่นคืออะไร???
    สัจจะธรรมไม่มีภาษาสมมุติบัญญัติ

    พระพุทธเจ้าหาคำพูดที่จะมาบัญญัติให้เราท่องเราอ่านไม่มี
    จึงไปยืมเอาคำว่า
    นิพพานะ.. ดับ เป็นชื่อสภาวะ หรือ มิตินั้น
    แต่แท้ที่จริง
    ภาษาที่จะมาพูดกันอย่าง อ่าโดยตรงนั้นมันไม่มี

    พระพุทธเจ้าท่านจึงจนปัญญา
    จึงขมวดลงท้ายธรรมคุณว่า

    “...ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ” …อันวิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตนเอง

    ชัดเจนมั๊ยล่ะ อันวิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตนเอง

    ถ้าใครถึงจุดที่ว่า นั้นแล้ว รู้ได้ด้วยตนเอง

    แล้วจะรู้ว่า...คำว่านิพพาน ไม่ใช่สภาวะอย่างนั้นหรอก
    เป็นแต่เพียงกิริยาการดับกิเลสเท่านั้น

    แต่

    สิ่งนั้นมันอยู่เหนือการดับ

    แน๊... จะได้ความรู้ความเห็นขึ้นมาอย่างนั้น

    เอาล่ะวันนี้ขอฝากธรรมะ
    อัน เป็นคติเตือนใจแด่บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลาย
    ก็เห็นว่าพอสมควรแก่กาละเวลา..

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    เราเป็นลูกศิษย์ครูบาอาจารย์ อาจารใหญ่ของเรา
    ในสายกรรมฐานโดยตรง คือ
    หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่ลี หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่เทสก์
    ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้ และท่านอื่นก้ได้ มรณะภาพ เข้านิพพานกันไปหมดแล้ว
    ก็ยังเหลือแต่เรา แต่เราผู้ซึ่งเป็นลูกศิษย์ อ่ะอื๊มๆ
    จำคำเตือนหลวงปู่ฝั้น ได้ว่า
    อาตมาไปกราบเยี่ยมท่าน ก่อนที่ท่านจะมรณะภาพเพียงสามวัน
    ในขณะนั้นท่านนอนคุมโปง พอไปกราบแล้วโบกมือห้ามไม่ให้พระรบกวนท่าน
    แต่ท่านบอกว่า เอาลุก เอาลุก เอาลุก หมอไม่ให้ลุก เอาลุก
    จนกระท่าน พระก้พยุงท่านลุกขึ้นมา พอลุกขึ้นมาท่านมองเห็นมือสั่น
    ท่านยกขึ้นมาชี้หน้า แล้วท่านก็บอกว่า
    นี่ อะไร ครูบาอาจารย์ท่านก็สอนให้หมดแล้ว แล้วก็ทำได้ดีด้วย
    แต่มันก็ยังประมาทอยู่เท่านั้นเอง มันยังขี้เกียจอยู่
    ต่อไปขยันขยันเข้าหน่อยถ้าหมดพระรุ่นพวกเธอนี่
    พระกรรมฐานสายนี่ มันจะหมดน๊า
    อันนี่ลองๆจำ คำพูดของหลวงปู่ฝั้นไปพิจารณาดู ลองดู

    แล้วมื่อครูบาอาจารย์ ว่าอย่างนั้น
    เราก็ถือเป็นโอวาทคำตักเตือนสั่งสอน ว่าพวกเราอย่าประมาท
    ทำอย่างไร เราจึงจะรักษาจารีตประเพณี ของครูบาอาจารย์เราไว้ได้

    เวลานี้นักปฏิบัติทั้งหลายของเรานี่
    จะไปถือแต่การปฏิบัติสมาธิภาวนาขั้นปรมัตถ์เป็นใหญ่
    เรืื่องของสมาธินี่ เป็นหลักธรรมกลางๆ
    คนมีศีลก็ทำได้ คนไม่ศีลก็ทำได้
    คนมีศาสนาก็ทำได้ คนไม่มีศานาก็ทำได้

    แต่หัวใจสำคัญของการปฏิบัติธรรม ตามคำสอนของพระพุทธเจ้านี่
    มีอะไรเป็นสิ่งสำคัญ

    สีเลนะ โภคะสัมปทา

    อ่า

    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ
    จะถึงซึ่งความดับกิเลสซึ่งบาปกรรม อยู่ที่ศีลเป็นเรื่องสำคัญ

    ตัสมาสีลังวิโสธะเย
    เพราะฉะนั้น สาธุชนพึงชำระศีลให้ บริสุทธิ์ สะอาด
    ศีล 5
    ศีล 8
    ศีล 10
    ศีล 227
    รักษาให้มันดี อย่าไปอนุโลม
    หรืออไปเพิกถอนสิกขาบท วินัย เพื่อความสะดวก สะบายสำหรับตัวเอง
    อาจาริยาวัตร อุปัชฌายวัตร ให้มันเคร่งครัด

    การปฏิบัติ อาจาริยาวัตร อุปัชฌายวัตรนี่ เพื่อประโยชน์อะไร
    เพื่อ ประโยชน์ ปราบทิฐิมานะ ของเราเอง

    อุปสรรค์สำคัญในการปฏิบัติธรรมนี่
    คือ ทิฐิมานะ ความถือตนถือตัว นี่แหล่ะตัวนี้

    เพราะฉะนั้น องค์พระคุณของพระโสดาบัน
    สักกายยะทิฐิเป็นตัวแรก ที่พระโสดาบันจะต้องตัดขาด
    ตราบใดที่สักกายะทิฐิยังมีกินใจอยู่ ไม่มีทางจะสำเร็จมรรค ผล นิพพาน
    อุบาย วิธี ที่ท่านให้มี กิจวัตร อุปัชฌายวัตร อารามมิกวัตร อาจาริยาวัตร
    ทันตาขรวัตร ขันวัตรสิบสี่ข้อนี่

    อันนั้นนะ เป็นหัวใจการปฏิบัติของกรรมฐานทั้งหลาย
    ถ้าขันวัตรสิบสี่ข้อนี่ ย่อย่อนแล้วก็ เรียกว่า
    มันจะไกลจาก แนวทางมรรค ผล นิพพาน
    เราจะหันหลังให้ครูบาอาจารย์ ไกลไป ทุกที ทุกที

    เพราะงั้น ศีลเท่านั้น เป็นตัวสำคัญอย่าไปมองข้าม
    เอาล่ะ การแสดงธรรม การบรรยายธรรม
    ถ้าหากว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้ฟังบ้างตามสมควร
    ขออุทิศเป็นเครื่องสักการะบูชา แด่ วิญญาณ ของ ท่านพ่อลี
    ซึ่งเป็นบูรพาจารย์ ที่ เป็นที่เคารพบูชาของพวกเรา
    ผู้เป็น ศิษย์ตยานุศิษย์ทั้งหลาย

    ด้วย อานิสงส์ แห่งการที่เรามี ความกตัญญู กตเวที
    เคารพบูชาในครูบาอาจารย์
    จงดล บันดาลจิตใจของเรา ผู้เป็น ศิษย์ตยานุศิษย์

    ให้เข้าถึง
    คุณของครูบาอาจารย์
    คุณของพระพุทธเจ้า
    คุณของพระธรรม
    คุณของพระอริยะสงฆ์

    คือ สภาวะจิตที่มีความรู้สึก สำนึก ผิดชอบ ชั่วดี
    สภาวะจิตที่มี สภาวะ สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน เป็นจิตพุทธะแท้

    แล้วก็ปฏิวัติ ตนไปสู่ ภูมิจิต ภูมิธรรม ตามขั้นตอน
    จนกระทั่ง ถึงพระนิพพานเป็นที่สุด โดยทั่วกัน ทุกท่านเทอญ

    ขอจบ

    จบไฟล์นี้เพียงเท่านี้ นิพพาน นิพาน
     
  7. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    เหมาะสำหรับผู้กำลังจะเข้าสู่ภาคปฏิบัติ กระชับ
    เข้าเป้าตรงประเด็นครับแทบไม่ต้องไปที่อื่นอีก
     
  8. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    พอผ่านสงบ เข้าสู่ระบบสมาธิ แล้วก็เกิดนิมิต** รู้แจ้งเป็นญาณทัศนะ รู้ว่า อันใดคือทาง/ไม่ใช่ทาง รู้มรรควิธี แล้วก็เดินดุ่มตรงลิ่วไปสู่ความหลุดพ้นพ้นทุกข์สถานเดียว มรรคญาณ ผลญาณอะไรนี่ไม่ต้องไปพูดถึงอีกเลย ไม่สนใจแล้ว ปิดตำรา เดินตามพระไตรปิฏกในใจไปเลย นี่แหละหนทางอันประเสริฐ

    **(จริงๆ ต้องเรียกว่าเกิดสภาวธรรมรู้แจ้งขึ้นมา แต่ไม่ใช่ว่า ประหารกิเลสตัดฉับๆ อะไร แค่รู้แจ้งแล้วว่า อะไรเป็นอะไร แล้วเลิกเดินอย่างหลงทางเท่านั้น)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2017
  9. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    เชื่อหลวงพ่อพุธครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...