การพิทักษ์พระพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 19 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อะไรมีเกิดขึ้นต้องอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ตั้งอยู่ ตั้งอยู่ กับสิ่งที่ตั้งอยู่ ที่มันผ่านไป ก็เรื่องของมัน อะไรที่อารมณ์แรงก็อยู่ตรงนั้น มาอยู่ที่กาย เวทนา จิต และธรรม ฉะนั้น ธรรมชาติที่มาเป็นวิบากเล็กน้อย ก็กระทบปุ๊บหนึ่ง <?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    เช่น มีเสียงรถกระทบปุ๊บหนึ่ง เสียงรถน่ารำคาญจัง จะต้องกำหนดฟุ้งไหม หรือจะเป็นนามได้ยิน แต่ฉันได้ยินนี้ อย่างนี้ก็ไม่มีปัญหา กลับมาเริ่มต้น ที่กาย เวทนา จิต ธรรม ใหม่ เพราะมันเป็นธรรมชาติที่บังคับบัญชาไม่ได้
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    แต่เรารู้ว่าเป็นนามฟุ้ง แล้วกลับมาเริ่มต้นใหม่ รื้อสัญญา สังโยชน์หมด ต้องวางใจให้ถูก การวางใจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนแต่เป็นเรื่องส่วนรวม ต้องหาความเชื่ยวชาญในการวางใจ หรือเรียกว่า เท่าทันจิต เป็นเรื่องราวของจิต แล้วนามปวด ที่ปวด หรือนามฟุ้ง แต่ทำไมจึงปวดอยู่เรื่อยๆ นั่นคือ คำพูด
    <O:p></O:p>
    กรณีที่ถามนี้ เป็นกรณีจำผิด เพราะทิฏฐิผิด จิตผิด สัญญาผิด แล้วสัญญามาบ่อยๆ ฉะนั้น ต้องรื้อสัญญาบ่อยๆ อะไรมาบ่อยๆ ต้องรื้อบ่อยๆ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน โครทำใครได้ ทำมากได้มากทั้งดี ทั้งชั่ว
    <O:p></O:p>
    แต่เรื่องเรียนต้องรู้ทฤษฏีเดียวกัน แล้วปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแต่ละคนไป ด้วยความรู้ด้วยเข้าใจ รู้ด้วยเข้าใจคือรู้ด้วยปัญญา เช่น เขียน ก ก ก ก ก ๕ ครั้ง ก็รู้ว่าเป็น ก.ไก่ ๕ ครั้ง ไม่ใช่ครั้งเดียว
    <O:p></O:p>
    ทำไมจึงรู้ เพราะจิตรู้ แต่ตรงมอง ตรงคิด เป็นสัญญารู้ แต่ตรงตอบ เป็นจิตรู้ว่าตอบกี่ครั้งๆ มันมาบ่อยๆ มันไม่ใช่เป็นการประคอง แต่จะต้องรู้ว่า การรู้ครั้งนี้เป็นการรู้ด้วยปัญญารู้ด้วย อันนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนที่จิตจะรู้ แต่เป็นถูกรู้เรื่องเดียวกัน
    <O:p></O:p>
    แม้จะเป็น ก ตัวเดียว แต่ความล่วงรู้ของจิตนั้น ไหวพริบ ปฏิภาณ ความชำนาญ และการสอดส่อง สังเกตต่างกัน จำต้องหมั่นสังเกต
    <O:p></O:p>
    ฉะนั้น จิตนั้นไวไปดี จิตนั้นไวไปชั่ว จิตไวไปดีหนีปัญหา จิตไวไปดีและมีปัญญา ปัญหาก็ไม่มี
    <O:p></O:p>
    จิตนั้นทำหน้าที่ เช่น เดินอยู่ปวดขา กำหนดรูปเดิน เวทนาเกิดขึ้นที่ขา ก็กำหนดนามปวด แม้กระทั่ง นามปวด ก็รู้สึกว่านามปวด ก็ต้องแก้ไข ก็ต้องเดินไปนั่ง
    <O:p></O:p>
    ระหว่างที่เดินไปนั่งก็ยังไม่หายปวดอยู่ แต่เจตนาในขณะที่เดินไปนั้น มีสติในการไป แต่ถามว่า มันไม่ได้ปวดในที่เดียวกัน ไม่ใช่รูปเดียวกัน ไม่ใช่ในอาการเดียวกัน ไม่ใช่ลักษณะเหมือนกัน และไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เป็นจิตรับรู้ที่เหมือนคลื่นแสงที่เข้ามาบ่อยๆ
    <O:p></O:p>
    ถ้าเผื่อแยกโดยปัจจัยออกมา ที่โดยปัจจัย ฉะนั้น ที่เราแยกออกมาเป็น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ แยกออกไป ผัสสะมี ปัจจาการ ปัจจยุบัน ปัจจยธรรม
    <O:p></O:p>
    ฉะนั้น ยิ่งถ้าเผื่อผู้ที่เรียน ก็จะรู้ในลำดับที่ละเอียดขึ้นไป ซอยยิบขึ้นไป นั่นคือเรื่องเฉพาะตน เป็นปัญญา อย่าไปกลัวอะไร อย่าไปกลัวคำว่า ว่าจะแช่อารมณ์ กลัว เฉื่อยในความเพียรดีกว่า กลัวเฉื่อยในการปฏิบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทฤษฏีเดียวกัน เช่น น้ำ สูตรของน้ำที่แยกมวลสารแล้วคือ H2 O เหมือนกัน น้ำฝน สูตรเดียวกัน, น้ำลาย สูตรเดียวกัน เหมือนกัน <?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    แต่ถามว่าในขณะนี้ ถ้าเผื่อน้ำ ก็คือ มวลสารอย่างนี้ ประกอบอย่างนี้ แต่มันเป็นน้ำฝนเติมเข้ามา น้ำลายเติมเข้ามา.. เหมือนกัน
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    หรือเช่น ตอนนี้ปวดตอนนี้ ปวดหนัก แล้วมีใจรู้ด้วยว่า เดี๋ยวจะไปถ่ายแล้ว เดี๋ยวจะไม่นั่งแล้ว มันมีอารมณ์ที่แทรกแซงเข้ามา เราก็เลยมีจิตละเอียดถี่ยิบเข้าไป ก็คือ ความไวของสติที่เข้าไประลึกรู้สึก ความไวของปัญญาที่เข้าไปตัดสิน สติรู้สึก ปัญญาตัดสิน สติรู้สึก ปัญญาตัดสิน ไม่ได้แช่อารมณ์
    <O:p></O:p>
    ฉะนั้น ต้องเป็นคนหัดไม่หวั่นไหว ในสิ่งที่มากระทบทั้งดีทั้งชั่ว เช่น สิ่งที่เป็นธรรมดาของฟ้าดินในเมื่อฟ้าลิขิต สวรรค์บัญชา ไม่มีจิต ในเมื่ออาศัย ฟ้าและดินและบรรยากาศและธรรมชาติเป็นเครื่องช่วย เป็นตัวช่วย ฟ้าจะผ่า ฝนจะตกได้ยินบ้าง อยู่อย่างนั้นแล้ว อย่าไปหวั่นไหว สะดุ้งมามากแล้ว
    <O:p></O:p>
    แต่จงสะดุ้งกับสังสารวัฏฏ์ดีกว่า ไฟจะดับปุ๊บ เรารู้แล้ว แต่สัญชาตญาณตอบสนองสิ่งเร้า เราก็จะลุกไปดูที่หลอดอีก แต่พอเวลาไปเปิดเราไม่เห็นลุกไปดูที่หลอดเลย พอไฟมาปุ๊บไม่ต้องดีใจ เพราะเวลากลางคืน ตอนตี ๑ ไฟยังสว่างอยู่ ตอนตี ๒ ไฟยังสว่างอยู่ ดีใจไหม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทางจมูก กลิ่นมีอยู่ 2 อย่าง หอม กับ เหม็น เราหลงว่าเราหอมเราเหม็น แท้ที่จริง กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น จึงต้องกำหนดรูปกลิ่น <?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    นามเห็น นามได้ยิน รูปรส รูปกลิ่น หรือทางกาย ( เดิน ยืน นั่ง นอน เหยียด คู้ ก้ม เงย) เป็นรูปส่วน รัก เกลียด ชอบ ชัง ฟุ้ง เป็นนาม..ธรรมารมณ์ เล็กๆ น้อยๆ เป็นรูป หรือ นามก็ได้ แต่ธรรมต่างๆ นั้นเป็นอนัตตา
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ฉะนั้น สภาพที่ดู อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นักศึกษาผู้ก้าวเข้ามาเริ่มต้น ใช้ตรงกลาง ไปกำหนดทุกข์ ไปดูทุกข์เพื่อพ้นทุกข์ ให้เป็นสุข นิพพานัง ปรมัง สุขัง ไปดูธรรมชาติที่ไม่เที่ยง จนอารมณ์ของตนเองนั้น ปลดจากสภาพความไม่เที่ยงเป็นเที่ยง
    <O:p></O:p>
    คือ เป็นอารมณ์นิพพาน ทั้งสุข ทั้งเที่ยง เป็นธรรมชาติที่บังคับบัญชาให้เกิดกับใครไม่ได้ เป็นอนัตตาอย่างเดียว อัตตา หรือ อนัตตา จึงไม่ต้องเถียงกัน อยู่ที่คำคำนี้คำเดียว
    <O:p></O:p>
    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน กับ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสภาพใกล้เคียงกันมาก
    <O:p></O:p>
    ขณะที่สภาพธรรมนั้น รู้เข้าไปว่าเป็นทุกขเวทนาทางจิต เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตเป็นผู้รู้ เวทนาทางกาย ปัญญาก็จะรู้ด้วยจิตนั้นเอง ปัญญาก็จะอาศัยจิตนั้นรู้เข้าไป รู้สภาพในเวทนาของจิต ก็เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    <O:p></O:p>
    เพราะจิตเป็นวิญญาณขันธ์ และนิมิตอันเกิดจากการพิจารณาก็เป็นอนิจจลักษณะ วิปลาสธรรมที่ปหานได้ก็คือ นิจจสัญญา ตัวที่ถูกทำลายไปที่ไม่ดีก็คือมานะ หัวหน้าเขานั่นเอง
    <O:p></O:p>
    ฉะนั้น ยึดอะไรกัน รออะไรกัน ผลัดอะไรกัน เรียกว่า ผลัดใจให้เป็นคนใหม่ หัดทำเสีย เสียงที่ไม่ได้ตั้งใจพยายาม ใครจะหวี๊ด ใครจะว๊ายช่างเขา ใจเราร่มเย็นเป็นพอ

    -----------------------------------------------------------------
    คัดลอกมาจาก
    <O:p>http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=2179</O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p>---------------------------------------------------------------------</O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  4. natspdo

    natspdo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +1,505
    อ่านจนตาลายเลย... อนุโมทนาครับสำหรับเนื้อหาแน่นแบบนี้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...