การล่มสลายของมหาลัยนาลันทาตามพุทธพยากรณ์(นิรุตติญานทัสสนะกถา)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 26 พฤศจิกายน 2017.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ในกาลนั้นอาจจะมีผู้ทราบและเข้าใจถึงพระสูตรนี้ และวิสัชนาพระสูตรได้อย่างกว้างขวาง อาจจะช่วยชีวิตเหล่าพระสงฆ์และสามัญชนได้บ้าง แต่ใครเล่าจะหลีกหนีผลของกรรมนั้นพ้น


    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 549 ๓. โคตมสูตร [๕๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ โคตมกเจดีย์ใกล้พระนครเวสาลี ฯลฯ ตรัสพระธรรมเทศนาว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... (๑) เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง มิใช่เพื่อความไม่รู้ยิ่งเห็นจริง (๒) เราแสดงธรรมประกอบด้วยเหตุ มิใช่ไร้เหตุ(๓) เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ไม่มีปาฏิหาริย์ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง มิใช่เพื่อความไม่รู้ยิ่งเห็นจริง แสดงธรรมประกอบด้วยเหตุ มิใช่ไร้เหตุ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ไม่มีปาฏิหาริย์ โอวาทานุศาสนีของเรา จึงควรที่บุคคลจะพึงประพฤติกระทำตาม และควรที่ท่านทั้งหลาย จะยินดีจะมีใจเป็นของตนจะโสมนัสว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้วพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วพระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งนัก ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณเทศนานี้อยู่ สหัสสีโลกธาตุ ได้หวั่นไหวแล้ว. จบโคตมสูตรที่ ๓



    ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ในบ้านนาลันทานี้ พึงมีบุรุษคนหนึ่ง
    เงื้อดาบมา เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง

    ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    บุรุษนั้นจะสามารถทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้อ

    อันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้หรือ?
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษ ๑๐ คนก็ดี ๒๐ คนก็ดี ๓๐ คนก็ดี ๔๐ คนก็ดี ๕๐ คนก็ดี
    ไม่สามารถจะทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อ
    อันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึงได้ พระเจ้าข้า บุรุษผู้ต่ำทรามคนเดียว จะงาม
    อะไรเล่า.
    ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิต พึงมาในบ้านนาลันทานี้ สมณะหรือพราหมณ์นั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
    เราจักทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยใจคิดประทุษร้ายดวงเดียว

    ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณะหรือ
    พราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิตนั้น จะสามารถทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยใจประทุษร้ายดวงหนึ่งได้หรือหนอ?

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บ้านนาลันทา ๑๐ บ้านก็ดี ๒๐ บ้านก็ดี ๓๐ บ้านก็ดี ๔๐ บ้านก็ดี
    ๕๐ บ้านก็ดี สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิตนั้น สามารถจะทำให้
    เป็นเถ้าได้ด้วยใจประทุษร้ายดวงหนึ่ง บ้านนาลันทาอันต่ำทรามบ้านเดียวจะงามอะไรเล่า.
    ดูกรคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้วจงพยากรณ์ คำหลังกับคำก่อนก็ดี คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย ดูกรคฤหบดี ก็ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด.
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็จริงถึงอย่างนั้น กายทัณฑะเท่านั้น
    มีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ
    หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่.



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔
    กถาวัตถุปกรณ์
    [​IMG]
    [๑๗๓๗] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
    หรือ?
    ปรวาที ถูกแล้ว
    ส. อันใครแสดงไว้
    ป. อันพระพุทธนฤมิตแสดงไว้
    ส. พระพุทธนฤมิต เป็นพระชิน เป็นพระศาสนา เป็นพระสัมมาสัม-
    พุทธเจ้า เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมสามี
    เป็นพระธัมมปฏิสรณะ หรือ?
    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
    ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
    หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. อันใครแสดงไว้
    ป. อันท่านพระอานนท์แสดงไว้
    ส. ท่านพระอานนท์ เป็นพระชิน เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัม-
    พุทธเจ้า เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมสามี
    เป็นพระธัมมปฏิสรณะ หรือ?
    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
    [๑๗๓๘] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรสารีบุตร เราพึงแสดงธรรมโดยย่อ
    บ้าง โดยพิสดารบ้าง ทั้งโดยย่อและโดยพิสดารบ้าง เพราะผู้รู้ทว
    ถึง หาได้ยาก ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. ถ้าอย่างนั้น ก็พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว นะสิ
    [๑๗๓๙] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
    หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    @๑. อํ. ติก. ข้อ ๔๗๒ หน้า ๑๗๐
    ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรม เพื่อ
    ความรู้ยิ่ง ไม่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง เราแสดงธรรมเป็นไปกับด้วย
    เหตุ ไม่แสดงไร้เหตุ เราแสดงธรรมเป็นไปกับด้วยปาฏิหาริย์ ไม่
    แสดงไร้ปาฏิหาริย์ และโดยที่เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่แสดง
    เพื่อความไม่รู้ยิ่ง แสดงธรรมมีเหตุ ไม่แสดงธรรมไร้เหตุ แสดง
    ธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่แสดงไร้ปาฏิหาริย์ โอวาทานุศาสนีของเรา
    จึงควรทำตาม ก็และพวกเธอควรที่จะยินดี ควรที่จะชื่นชม ควรที่
    จะโสมนัสว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรม
    อันพระผู้มีพระภาคแสดงดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว ก็แหละเมื่อ
    พระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณพจน์นี้อยู่ หมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหว
    แล้ว ดังนี้

    ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. ถ้าอย่างนั้น ก็พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว น่ะสิ

    ธัมมเทสนากถา จบ



    http://www.watthasai.net/first_University.html


    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=13&item=83

    ผู้หวังเจริญในพระสัทธรรม ๓ ควรทราบว่าการแสดงธรรมโดยอุปมาในแต่ละครั้ง วิสัชนาไปได้เลยว่า ไม่มีการที่จะทรงสมมุติยกเมฆขึ้นมา


    ผู้ทำลายนาลันทา
    ทหารปกติ และ พราหมณ์ผู้สำเร็จฤทธิ์จากอหังการวิเศษมาร
     
  2. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    คำว่า" อหังการวิเศษมาร" ท่านเคยกล่าวไว้ ว่า เป็นผู้ที่ให้โทษมหันต์ เกี่ยวกับภับพิบัติที่จะเกิดในยุคนี้ใช่ไหมค่ะ

    สำหรับผู้ที่ไม่รู้และไม่เข้าใจว่า สิ่งนั้นคืออะไร? จะสื่อไว้เพื่อให้เตรียมใจและรับมือกับสิ่งนี้ อย่างไร?

    แล้วคำว่า 'อหังการวิเศษ" พอได้อ่านแล้ว มีคำถามขึ้นในใจมาทันทีว่า.....

    ถ้าเปรียบเทียบกับคำว่า "สัพพัญุตญาณ" คือ ผู้ได้ญาณรู้ที่เป็นประโยชน์และเกื้อกูลแก่มนุษย์โลกมากที่สุด แต่ตรงกันข้าม กับคำว่า"อหังการวิเศษมาร" ก็ต้องเป็นบุคคลที่เป็นภัยกับมนุษย์โลกมากที่สุด มากเช่นกัน ใช่ไหมค่ะ เพราะดูจากชื่อ คำว่า "มาร" ก็รู้ว่าไม่ดี "อหังการ" ก็คงประมาณ เห็นผิดอย่างแรงกล้า

    ต้องการให้รับมือกับสิ่งนี้อย่างไร? แล้วจะทำอะไรได้บ้างค่ะ ถามอย่างผู้ไม่รู้ และสงสัยนะค่ะ
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    ปฎิสัมภิทาญาน และ ปาฎิหาริย์ ๓ จักช่วยให้รอดครับ มีเพียง ๒ ประการนี้เท่านั้น ไม่รู้ว่าฝ่าย ปาฎิหาริย์ ๓ ไปถึงไหนแล้ว ถ้าเป็นพระสงฆ์ต้องระดับพระป่า ถ้าเป็นเทพพรหมก็พอยื้อได้บ้าง


    สงครามเทพที่ทรงแสดงเคยมีมาแล้ว

    เกรงว่า ตอนนี้คงจะใกล้
    สุดยื้อ


    ไม่แปลกใจเลยที่ฟ้าผ่าผิดปกติ ของร้อนแบบนี้ มีต่อต้านกันมานานแล้ว อะไรบ้างที่ไม่สะดุ้งเมื่อฟ้าผ่า ?


    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลแลสัตว์เหล่านี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ ช้างอาชาไนย ๑ ม้าอาชาไนย ๑ สีหมฤคราช ๑ ”
     
  4. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    คำว่า "ใกล้สุดเยื้อ"หมายถึง การเกิดภัยพิบัติใหญ่ ใช่ไหมค่ะ?

    เพราะคำว่า"สุดเยื้อ" คือ ได้เดินมาถึงปลายทางแล้ว ถ้าความคิดส่วนตัว ก็คือ ภัยใหญ่กำลังจะใกล้มาแล้ว

    และที่ว่า ปฏิสัมภิทาญาณและปาฏิหาริย์3 จักช่วยได้ ก็กำลังบ่งบอกให้รู้ว่า เป็นการยื้อกันระหว่าง ฝ่ายธรรม และ ฝ่ายอธรรม ใช่ไหมค่ะ?

    ผู้ที่ได้อหังการมีฤทธิ์วิเศษมารอย่างไรค่ะ ใช้กำลังของฤทธิ์ปั่นป่วนธาตุน้ำดินำไฟลมของภัยธรรมชาติ หรือ สร้างความเห็นผิดให้กับมนุษย์ทั่วโลก เพื่อให้โลกวุ่นวาย คนชั่วมีมากกว่าคนดี หรือใช้วิธีอื่น. แล้วปฏิสัมภิทาญาณและปาฏิหาริ์3 ท่านจะทำเช่นไร เป็นแค่บุคคลสำคัญเพียงแค่คนเดียว หรือ กลุ่มคณะบุคคลค่ะ ทำไม จิตยิ้มต้องถามแบบนี้ ถ้าเป็นหน้าที่ของใครคนนั้นเขาต้องรู้ว่าตนต้องทำอะไร? และมีหน้าที่เช่นไร?

    แสดงว่า....กำลังเตือนอะไรบางอย่างในเหตุการณ์อันใกล้นี้ หรือ ขอความร่วมมือผู้เกี่ยวข้องกับศาสนาในยุคปัจจุบันนี้หรือค่ะ
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    บุคคลเดียวมาโดยไม่มีทีมสหชาติ อยู่ยากหน่อยนะ เดี๋ยวจะเป็นคอมมิวฯ

    สัญญานเตือนอย่างที่เห็น แน่นอน ลัทธิสิ้นโลกไง ก็บอกแล้วไม่ใช่หรือ บุคคลเมื่อหวังเช่นไรย่อมได้อย่างนั้น ขนาดคนละทางกลับ โมกษะและสิทธศิลา หวังแค่สวรรค์แท้ๆ ยังแรงกว่า นั่นก็เพราะอาศัยเรือนเขาอยู่ ไม่มีอะไรที่พุทธสมัยพระพุทธเจ้าองค์แรกในภัทรกับป์นี้หลงเหลือในแผ่นดินยุคองค์ที่ ๔ ไม่มีสักอย่างและไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่าเหลือ

    "สงสัยที่มาของอหังการฯดูภาพเล็ก จริงๆเรื่องนี้แสดงไปแล้วในขั้นต้นตั้งแต่กระทู้ "ทั้งชีวิตขอเรื่องเดียว""

    หากไม่ถึงที่สุดด้วยกาล บอกไปก็เท่านั้น!
    "มหานิมิตโดยวิปัสนาญานปี ๕๔ "
    (ด้วยมหานิมิตแห่งเรา ในกาลนั้น ได้ปรากฎต้นไม้พฤกษชาติที่มีขนาดใหญ่โต หนึ่งต้น ขนาดมหึมาที่สุด สูงกว่าเหล่าบรรพตทั้งหลายในโลกธาตุนี้ นั่นคือเท่าที่จะประมาณได้ เราปรากฎในรูปของบรรพชิต นั่งขัดสมาธิอยู่ที่ ปลายลำต้นไม้นั้น ที่แยกแตกออกเป็นเสนาสนะแห่งเราโดยเฉพาะ ท้องฟ้านภาอากาศมีสีแดงเทาดำชวนให้เศร้าหมอง เราเหลือบมองดูผืนพสุธาที่ครุ่กกรุ่นด้วย ถ่านเพลิงมหาไฟประลัยกันต์เหล่านั้น ด้วยความปลงตกสังเวชใจ เราครุ่นคิดพิจารณาอยู่หนอว่า อะไรเป็นเหตุให้เกิดสภาวะขึ้นกับโลกธาตุนี้ เราไม่อาจจักเห็น น้ำ หรือ สิ่งมีชีวิตอื่นใดเลย นอกจากเราเองและพฤกษชาตินั้น)

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2017
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ทำใจเถอะ! สู้กับ ปัญญาประดิษฐมารไม่ได้หรอก ทางเดียวที่หนีพ้นคือ พระนิพพาน

    ภัยในวัฎสงสารไม่มีทางพ้น
     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    รอ ผู้บรรลุธรรมปรากฎตน มีเท่านี้จริงๆ
     
  8. เตรียมตัว

    เตรียมตัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +156
    ไม่ต้องกลัว เดี๋ยวผมนี่ จะสู้กับ อหังการวิเศษมารเองคับ

    อย่างผมนี่พอสู้ไหวไหมคับท่าน
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ถ้าได้ ทั้ง ๒ ประการตามที่แจ้งไว้ก็ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
     
  10. เตรียมตัว

    เตรียมตัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +156
    ปรากฏตัวก่อนบรรลุธรรม ได้ไหมท่าน
     
  11. เตรียมตัว

    เตรียมตัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +156
    ยังไม่ได้สักประการเลยท่าน ผมนี่อยากได้ ภายใน ชั่วพริบตานี่ จะเป็นไปได้ไหมท่าน
     
  12. เตรียมตัว

    เตรียมตัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +156
    ทำไมท่าน ถึงได้วิตกกับมารที่ท่านว่านี้มากมายนัก มารที่ไหนจะมาชนะธรรมได้ พระพุทธเจ้าและธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้วปราบมารมาทุกยุคสมัย สมัยนี้ธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว ก็ยังเข้าถึงได้อยู่ ผมนี่ไม่เห็นมีเหตุผลใดจะต้องไปวิตกเลยท่าน
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เอามาแต่กิ่งก้านสาขาพายุลมแรงพัดมาจักต้านไม่ไหว สงสารผู้ปรารถนาผลอันเป็นทิพย์เถิด มีผู้อดอยากเขารออยู่ แต่ก็รอไม่มาก หรือว่าจะรอจนมามาก เพราะไม่พากันใส่ใจรอ อย่างนี้นี่เอง สมแล้วดังท้าวจตุมหาราชิกาไปอาราธนา พระอินทร์พระ พรหมอารธนา

    แสดงว่าท่านเหล่านั้นก็รู้ว่าเป็นใคร? เข้าใจละ เรื่องสำคัญแบบนี้ การกระทำตนให้ชัดเจนของแว่นส่องธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3333 112.jpg
      3333 112.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.3 KB
      เปิดดู:
      77
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ถ้าท่านได้บุพนิมิต ในมหานิมิตวิปัสนาญาน อย่างเรา เห็นอย่างเรา รู้อย่างเรา ท่านอาจจะเป็นมากกว่าเรา

    บุคคลที่เราตามหาเท่านั้น ที่ช่วยได้ แล้วตอนนี้ เรามีบุคคลอย่างนั้นหรือ ท่านไม่เข้าใจหรือ ว่า
    พระธรรมในพระพุทธศาสนานี้คือให้พ้นภัยวัฏสงสาร รีบบรรลุ รีบไป ไม่มีทางสู้และต่อกรได้
    และจะต้องล่มสลายไปในที่สุด ถ้าเหล่า
    พุทธบริษัทไม่เห็นคุณค่าความสำคัญ อย่าว่าแต่ ๕,๐๐๐ ปีเลย อีก ๕,๐๐ ปี ก็จะสิ้นพุทธสมัยนี้ ไม่สิ อาจไม่ถึงด้วยซ้ำไป

    เมื่อ
    พระพุทธเจ้าท่านฝากไว้กับพุทธบริษัท ๔ แล้ว เมื่อพุทธบริษัท ๔ ละทิ้ง แตกแยก ไม่เห็นคุณค่าความสำคัญ ตกอยู่ในโซ่ที่มารล่ามไว้ โดยปัญญาประดิษฐมารทั้งหลายฯ ชนิดขยับไปไหนมาไหนไม่ได้ เมื่อนั้น กาลเวลาสุดท้ายจะมาถึง

    เหล่าผู้เชี่ยวชาญ
    อหังการวิเศษมารจะทำลายอย่างสิ้นซากในที่สุด ผู้ทรงจำแม้บทเดียวก็ไม่มี โคตรภูสงฆ์ก็ไม่เหลือ

    มหากัณหชาดก อาจจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น ถ้าพลาดพลั้งแบบพลิกล๊อคแบบนี้

    อันตรธานปริวัตต์ ๕ จบสิ้น อีกไม่เกิน 30 ชั่วอายุคน

    ในรอบร้อยปีของท่าน จะทำประโยชน์อันใดดีเล่า เมื่อเข้ามารู้เรื่องราวในขนาดนี้ แม้เราเองยังถูกฉุดกระชากลากดึงไว้


    ปรากฎตนออกมาเถิดท่านผู้มีเมตตา ท่านผู้กล้าหาญทั้งหลายฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3333 406.jpg
      3333 406.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42 KB
      เปิดดู:
      79
  15. เตรียมตัว

    เตรียมตัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +156
    ผมนี่ยังไม่เห็นเรื่องของโทษในวัฏฏะสงสาร ว่าใครจะช่วยใครได้ หากเจ้าตัวของตัว ไม่เห็นภัยด้วยตัวของเจ้าของเอง ก็เห็นมีแต่กิเลสมารในใจเจ้าของเท่านั้นที่ว่าน่ากลัว มารในคำภีร์ใบลานที่ไหนจะน่ากลัวเล่าท่าน
     
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    นิคคัยหะ นิคคัยหาหัง อานันทะ วักขามิ,
    ปะวัยหะ ปะวัยหาหัง อานันทะ
    วักขามิ, โย สาโร โส ฐัสสะติ,


    อานนท์ ! เราจะขนาบแล้วขนาบอีกไม่มีหยุด,
    อานนท์ ! เราจะชี้โทษแล้วชี้โทษอีกไม่มีหยุด,
    ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจะทนอยู่ได้,


    (มหาสุญญตสูตร ๑๔/๒๑๒)


    คห.ที่ 14 เราได้ตอบชัดเจนแล้ว เราเห็นแล้ว เราเป็นเพียงพยาน แม้ชาตินี้เราจะทำได้เพียงเท่านี้ เราก็จะพยายามต่อไปเพราะเรามีจุดมุ่งหมายแล้ว ด้วยศรัทธา ด้วยเมตตา ลำพังตนเอง เรื่องเอาชีวิตให้รอดจะห่วงอะไร? คนที่เราท่านนั้นรัก และสรรพสัตว์ทั้งหลายต่างหากที่ควรใส่ใจ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3333 355.jpg
      3333 355.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.8 KB
      เปิดดู:
      83
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2017
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ข้อถกเถียงที่เกิดในโลกมนุษย์ที่ส่งผลหลัก คือเรื่องธรรมทั้งมวล เหตุการ์ณในโลกมนุษย์ย่อมสงผลถึงโลกธาตุอื่นด้วย ทั้งในสวรรค์และนรก เมื่อถกเถียงจึงวุ่นวายหาข้อยุติมิได้ โดยเฉพาะในเรื่องพระสัทธรรมและอสัทธรรม เมื่อพระสัทธรรมเริ่มเลือนลางไปจากใจของหมู่สัตว์ในโลกธาตุ

    หากเมื่อใดโลกบังเกิดอลัชชีสรรเสริญแต่งเติมซึ่งสัทธรรมปฎิรูปย่ำยีเสียแล้วซึ่งพระสัทธรรมก้าวล่วงเป็นใหญ่ในสังฆปริมณฑล ทุกภพภูมินรกสวรรค์จึงเกิดวิปริตแปรปรวนมากขึ้น จากที่เป็นอยู่ธรรมดาที่ไม่เที่ยงอย่างนั้นและอย่างนั้นอยู่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ย่อมเกิดภัยพิบัติแก่โลกมนุษย์นั้นด้วย เมื่อไร้ซึ่งพระสัทธรรม อสัทธรรมจึงโชติช่วง โลกาย่อมวินาศ ณ ครานั้น

    เมื่ออสัทธรรมกล้าแข็งถึงที่สุด เมื่อโลกธาตุทั้งหลายสั่นไหว บุคคลทั้งหลายปราถนาพระสัทธรรม จึงจะมีการถือกำเนิดจุติธรรมเป็นอิทัปปัจยตา แม้ผู้รู้แล้วยังทำได้แค่อยากและปราถนาก็ได้พึ่งธรรมพึ่งตนเฝ้าคอย เพียงเท่านั้น

    ผู้ใดเล่าหนอจะมาไถพรวนผืนดินถิ่นธรรมนี้ให้ราบลุ่มเขียวขจี


    "พระอรหันต์หลังพุทธกาล...ที่ครูบาอาจารย์หลายท่านและชาวพุทธเชื่อว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ ใต้ท้องสะดือทะเล เพื่อคอยอยู่ปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาขององค์พระสัมมาสัมพุธเจ้าสมณโคดม ให้ครบ 5,000 ปี"
    ประวัติพระอุปคุต
    เล่ากันว่าพระอุปคุต หรือพระบัวเข็ม เป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ท่านบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จเป็นพระอรหันตขีณาสพ สำเร็จอภิญญาต่างๆจนสามารถแสดงอภินิหาร เป็นที่เล่าลือจนทุกวันนี้ ท่านเนรมิตเรือนแก้วขึ้น ในสะดือทะเล แล้วไปอยู่เป็นประจำ แต่หากมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้น ในพระพุทธศาสนา หรือมีผู้นิมนต์ ท่านก็จะขึ้นมาช่วยเหลือด้วยความเต็มใจเสมอ
    ครั้งหนึ่งท่านเคยปราบพญามาร ที่เข้ามาก่อความวุ่นวาย ในพิธีฉลองสมโภชพระสถูป เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ประมาณพุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ได้สำเร็จ

    ก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า พระอุปคุตจะเป็นผู้ทำหน้าที่สืบทอดและ พิทักษ์พระพุทธศาสนาประดุจดังพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งภายหน้าจะเป็นผู้ปราบพญามาร ที่คอยมาทำลายงานพิธีกรรมต่างๆทางพระพุทธศาสนา และพญามารจะคลายมิจฉาทิฏฐิ ละพยศยอมเข้ามาอยู่ในบวรพระพุทธศาสนา และพระอุปคุต เป็นพระอรหันต์มีฤทธิ์ทางปราบมาร บันดาลโชคลาภเชื่อกันว่าหากผู้ใดมีบุญบารมีได้บูชาพระอุปคุตมักทำให้ร่ำรวยเงินทอง มีโชคลาภ เจริญรุ่งเรืองมีสติปัญญาเฉียบแหลม มีสมาธิจิตดีปราศจากภัยทั้งปวง

    คติความเชื่อเกี่ยวกับพุทธคุณ ของผู้ที่บูชา
    "พระอุปคุตเชื่อว่า มีพุทธโดดเด่นด้านโชคลาภและคุ้มกันภัยพิบัติอันตรายทั้งปวง"

    พระอุปคุตมหาเถระปราบมาร ปางจกบาตร หยุดตะวัน
    พระอุปคุตปางจกบาตร เป็นปางที่พระอุปคุตแหงนหน้าหยุดพระอาทิตย์เพื่อฉันข้าว แสดงออกถึงความอุดมสมบูรณ์มีกินมีกินมีใช้ และความยิ่งใหญ่ของท่าน เพราะ แม้แต่พระอาทิตย์ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน ก็ต้องหยุดด้วยอานุภาพของท่านจึงนิยมสร้างพระอุปคุตปางนี้ไว้บูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล สำหรับท่านผู้ทำจิตให้นอบน้อมบูชาสักการะองค์พระอุปคุตมหาเถระปราบมาร ทำสิ่งใดไม่ว่าจะมีปัญหามากแค่ไหน ก็สำเร็จทุกประการ พระอุปคุตมหาเถระผู้เป็นอรหันตสาวกที่ทรงมหิทธานุภาพ เป็นพระอรหันต์สมัยหลังพุทธกาล ร่วมยุคสมัยกับพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ พระอุปคุตมหาเถระ เป็นยอดเป็นยอดแห่งธรรมกถึก ผู้เป็นเลิศแห่งการแสดงธรรม

    ท่านตั้งความปรารถนาเอาไว้ ที่จะดำรงอยู่รักษาพระพุทธศาสนาให้ครบ ๕,000 ปีปกป้องคุ้มกันปราบมารและอุปทวอันตรายทั้งหลาย ผู้ใดปรารถนาความเจริญทั้งทางโลก และทางธรรมจงนอบน้อมบูชาต่อพระอุปคุตเถระ เป็นสังฆานุสติ และปฏิบัติตนตามปฏิปทาของท่านคือ ฝึกตนเองให้สมบูรณ์ ขัดเกลากเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ของตนเองให้เบาบางและช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก อีกทั้งช่วยพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป

    วันเพ็ญพุธ กับความเชื่อเรื่องพระอุปคุต
    พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม เป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา ถือได้ว่าเป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ชื่อ "อุปคุต" แปลว่า ผู้คุ้มครองรักษา
    พระอุปคุตเป็นพระที่เป็นที่นิยมของชาวอินเดีย มอญและชาวไทยทางเหนือ และอีสาน สมัยก่อนพระมอญได้นำพระบัวเข็มมาถวายรัชกาลที่ 4 ในตอนที่พระองค์ทรงผนวชอยู่ แม้รัชกาลที่ 5ก็ยังทรงกล่าวถึงความเป็นมาในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนด้วย

    ปัจจุบันยังมีความเชื่อในหมู่ชาวล้านนาว่า พระบัวเข็มหรือพระอุปคุตยังมีชีวิตอยู่ ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ชาวล้านนาจะเรียกว่าเป็น "วันเป็งปุ๊ด" พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น
    ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน
    หรือตักบาตรวันเพ็ญพุธ หรือเป็งปุ๊ด นับเป็นประเพณีที่นิยมทำกันในภาคเหนือ โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศพม่า ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในจังหวัดทางภาคเหนือ ก็มีประเพณีตักบาตรตอนเที่ยงคืนด้วยเช่นเดียวกัน ที่วัดอุปคุต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งก็ได้มีวัฒนธรรมล้านนาที่เป็นการผสมผสานระหว่างขนบธรรมเนียมของไทยลื้อ ได้รับอิทธิพลจากพม่า และไทยลื้อจีนใต้ ผนวกกับวัฒนธรรมชาวไทยใหญ่ ในรัฐฉานของพม่า จึงทำให้ประเพณีนี้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน “พระอุปคุต” ซึ่งเป็นพระอรหันตสาวก มีอิทธิฤทธิมากจะขึ้นมาจากทะเลโดยแปลงกายมาเป็นสามเณรน้อยออกมาโปรดสัตว์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2017
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ท่านปรารถนาเป็นพระสาวก หรือเป็นพระพุทธเจ้า

    ถ้าท่านหวังจะเอาแค่สุขสงบ เงียบๆ ท่านหวังได้ยาก ท่านจะลำบากบั้นปลาย

    เมื่อท่านหวังในสิ่งที่ยาก ท่านจะได้ทำในสิ่งที่ยาก แล้วมันจะง่ายภายหลัง



    นี่ความเหน็ดเหนื่อยและปริวิตกของพระมหาโพธิสัตว์ ท่านเหนื่อยเพื่อใคร?

    ดูก่อนสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจประพฤติพรหมจรรย์
    ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะและเป็นเยี่ยมกว่าผู้บำเพ็ญตบะทั้งหลาย เราประพฤติเศร้าหมองและเป็นเยี่ยมกว่าผู้พระพฤติเศร้าหมองทั้งหลายเราเป็นผู้เกลียดบาปและเป็นเยี่ยมกว่าผู้เกลียดบาปทั้งหลาย เราเป็นผู้สงัดและเป็นเยี่ยมกว่าผู้สงัดทั้งหลาย.


    ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น วัตรต่อ
    ไปนี้เป็นพรหมจรรย์ของเราโดยความที่เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ คือเราเป็นอเจลกคนเปลือย ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุดไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่ยินดีภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดีภิกษาที่เขานิมนต์. เรานั้นไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูให้ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้ให้ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสากให้ ไม่รับภิกษาที่ของคนสองคนผู้กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะการทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่มๆไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง. เรานั้นรับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือนสองหลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง ฯลฯ รับภิกษาที่เรือน ๗ หลังเยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง. เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบ


    เดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ฯลฯ ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒
    วันบ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยความขวนขวายในการบริโภค
    ภัตตาหาร ที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง. เรานั้นเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษา
    บ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษา
    บ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าว
    ตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็น
    ภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ.
    เรานั้นทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือก
    ไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าปอบ้าง ผ้า
    ผลไม้บ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยชนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ถือยืน คือ ห้ามอาสวะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง คือประกอบความเพียรในการกระโหย่ง [เดินกระโหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า] บ้างเป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้ประกอบความ
    ขวนขวายในการลงน้ำวันละสามครั้งบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการ
    ย่างและบ่มกายมีประการมิใช่น้อยเห็นปานนี้ ด้วยประการฉะนี้อยู่ ดูก่อนสารี-
    บุตร นี้แหละเป็นพรหมจรรย์ของเรา โดยความที่เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ.
    พรหมจรรย์เศร้าหมอง

    ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในการประพฤติเศร้าหมองของเรา. มนทิน คือ ธุลีละอองสั่งสมในกาย เรานับด้วยปีมิใช่น้อย จนเป็นสะเก็ด เปรียบเหมือนตอตะโก มีธุลีละอองสั่งสมนับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด ฉันใด มนทิน คือ ธุลี




    ละอองสั่งสมในกายเรานับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด ฉันนั้นเหมือนกัน
    กัน. ดูก่อนสารีบุตร เรามิได้คิดที่จะลูบคลำปัดละอองธุลีนี้ด้วยฝ่ามือ ดูก่อน
    สารีบุตร ความคิดแม้อย่างนี้ไม่ได้มีแก่เราเลย ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละ เป็น
    วัตรในความประพฤติเศร้าหมองของเรา.


    ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้น
    พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความประพฤติเกลียดบาปของเรา. เรานั้นมีสติก้าวไป
    ข้างหน้า มีสติถอยกลับ. ความเอ็นดูของเราปรากฏเฉพาะ จนกระทั่งในหยด
    น้ำว่า เราอย่าได้ล้างผลาญสัตว์เล็ก ๆ ที่อยู่ในที่อันไม่สม่ำเสมอเลย. ดูก่อน
    สารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในความประพฤติเกลียดบาปของเรา.


    ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้น
    พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความสงัดของเรา. เรานั้นเข้าอาศัยชายป่าแห่งใด
    แห่งหนึ่งอยู่ ในกาลใด. เราได้พบคนเลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือ
    คนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหาผลไม้เป็นต้นในป่า จากชัฏไป
    สู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะ
    เราคิดว่า คนเหล่านั้น อย่าได้เห็นเราเลยและเราก็อย่าได้เห็นคนเหล่านั้นเลย.

    ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนเนื้อที่เกิดในป่า เห็นมนุษย์ทั้งหลายแล้วก็วิ่ง
    หนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน
    แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราก็ฉันเหมือนกัน ในกาลใด เราได้พบคนเลี้ยง
    โค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหา
    ผลไม้เป็นต้น ในป่าในกาลนั้น เราก็เดินหนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ
    จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเรา
    คิดว่า คนเหล่านั้นอย่าได้เห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนทั้งหลายเลย. ดู
    ก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในความประพฤติสงัดของเรา.


    ความแตกต่างในการบำเพ็ญเพียร
    ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคลานเข้าไปในคอกที่เหล่าใดออก
    ไปแล้วและปราศจากคนเลี้ยงโค กินโคมัยของลูกโคอ่อนที่ยังไม่ทิ้งแม่. มูตร
    และกรีสของเรายังไม่หมดสิ้นไปเพียงไร เราก็กินมูตรและกรีสของตนเองเป็น
    อาหาร. ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็น"วัตร"ในโภชนะ"มหา"วิกัฏของเรา.

    ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแล เข้าอาศัยแนวป่าอันน่ากลัวแห่ง
    ใดแห่งหนึ่งอยู่. นี้เป็นความน่ากลัวแห่งแนวป่านั้น. บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังไม่
    ปราศจากราคะเข้าไปสู่ป่านั้น โดยมากขนพอง. ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแล
    ในราตรีที่หนาว ฤดูเหมันต์ ตั้งอยู่ในระหว่างเดือน ๓ ต่อเดือน ๔ เป็นสมัย
    มีหิมะตก ในราตรีเห็นปานนั้น [เรา] อยู่ในที่แจ้งตลอดคืน กลางวันเราอยู่
    ในแนวป่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน กลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ใน
    แนวป่า. ดูก่อนสารีบุตร เป็นความจริง คาถาอันน่าอัศจรรย์เล็กน้อยนี้ ที่
    เราไม่ได้ยินมาก่อน ปรากฏแก่เราว่า
    นักปราชญ์ผู้เสาะแสวงหา ความ
    หมดจด อาบแดด อาบน้ำค้าง เป็นคน
    เปลือย ทั้งมิได้ผิงไฟ อยู่คนเดียวในป่า
    อันน่ากลัว.

    ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมสำเร็จการนอนแอบอิงกระดูกศพใน
    ป่าช้า. พวกเด็กเลี้ยงโคเข้ามาใกล้เราแล้ว ถ่มน้ำลายรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรด
    บ้าง โปรยฝุ่นรดบ้าง เอาไม้ยอนที่ช่องหูบ้าง. เราไม่รู้สึกว่า ยังจิตอันลามก
    ให้เกิดขึ้นในพวกเด็กเหล่านั้นเลย. ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในการอยู่
    ด้วยอุเบกขาของเรา.


    ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้
    มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีด้วยอาหาร. พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า พวก
    เราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยอาหารขนาดเท่าผลพุทรา. พวกเขาย่อมเคี้ยวกินผลพุทราบ้าง ผลพุทราป่นบ้าง ดื่มน้ำพุทราบ้าง บริโภคผลพุทราที่ทำเป็น
    ชนิดต่าง ๆ บ้าง. ดูก่อนสารีบุตร เรารู้สึกว่า กินผลพุทราผลเดียวเท่านั้น.
    ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า พุทราในสมัยนั้น ชะรอยจะผลใหญ่
    เป็นแน่. ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น. แม้ในกาลนั้น ผลพุทราที่เป็นขนาดใหญ่นั่นเทียวก็เหมือนในบัดนี้ .

    ดูก่อนสารีบุตร เมื่อเรากิน [อาหารเท่า] ผลพุทรา
    ผลเดียวเท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยิ่งนัก. อวัยวะน้อยใหญ่ของเราเปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากและข้อดำ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่ม ๆ เหมือนเถาสะบ้า เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลงเห็นปรากฏเหมือนกลอนแห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.ดวงตาของเราลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้นเพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. หนังศีรษะของเราอันลมถูกต้องแล้วก็เหี่ยวแห้งเปรียบเหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้วแต่ยังอ่อนอันลมแดดสัมผัสแล้วย่อมเป็นของเหี่ยวแห้งไป ฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.

    ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคิดว่าจะลูบคลำผิวหนังท้อง ก็คลำถูกกระดูกสันหลังทีเดียวคิดว่าจะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำถูกผิวหนังท้องทีเดียว ดูก่อนสารีบุตรผิวหนังท้องของเราติดกระดูกสันหลัง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.


    เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ชวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความ
    ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่ว ก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ. เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดจากกาย เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.วาทะและทิฐิของสมณพราหมณ์บางพวก


    ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่าง
    นี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาหาร. พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า
    เราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยถั่วเขียว ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยงา
    ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยข้าวสาร ดังนี้. พวกเขาเคี้ยวกิน
    ข้าวสารบ้าง ข้าวสารป่นบ้าง ดื่มน้ำข้าวสารบ้าง ย่อมบริโภคข้าวสารที่จัดทำ
    ให้แปลกมีประการมิใช่น้อยบ้าง. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้สึกว่า กินข้าวสาร
    เมล็ดเดียวเท่านั้น. ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า ข้าวสารในสมัย
    นั้น ชะรอยจะเมล็ดใหญ่เป็นแน่. ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น. แม้ในกาล
    นั้น ข้าวสารที่เป็นขนาดใหญ่นั้นเทียว ก็มีเมล็ดเท่าข้าวสารในบัดนี้. ดูก่อน
    สารีบุตร เมื่อเรากินข้าวสารเมล็ดเดียวเท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยี่งนัก.
    อวัยวะน้อยใหญ่ของเรา เปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากและข้อดำ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่งเอง. กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่ม ๆ เหมือนเถาสะบ้า เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลงเห็นปรากฏเหมือนกลอนแห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดวงตาของเราลึกเข้าไปในเบ้าตาเหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. หนัง




    ศีรษะของเราอันลมถูกต้องแล้ว ก็เหี่ยวแห้งเปรียบเหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้วแต่ยังอ่อน อันลมแดดสัมผัสแล้ว ย่อมเป็นของที่เหี่ยวแห้งไปฉะนั้น เพราะ
    ความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคิดว่าจะลูบคลำผิว
    หนังท้องก็คลำถูกกระดูกสันหลังทีเดียว คิดว่าจะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำถูกผิวหนังท้องทีเดียว. ดูก่อนสารีบุตร ผิวหนังท้องของเราติดกระดูกสันหลังเพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะก็ซวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่วก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.


    ดูก่อนสารีบุตร ด้วยการปฏิบัติอย่างไม่มีใครสู้แม้นั้น ด้วยปฏิปทาแม้
    นั้น ด้วยความเพียรที่กระทำได้แสนยากนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะมิใช่ปฏิปทาที่เป็นเหตุบรรลุปัญญาอันประเสริฐ ปัญญานี้แลที่ซึ่งเราได้บรรลุแล้วเป็นของประเสริฐ
    นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้กระทำอยู่ตามนั้น.


    นึกถึงความเหน็ดเหนื่อยลำบากพระวรกายของพระมหาโพธิสัตว์แล้ว เราเจ็บปวดใจและซาบซึ้งน้ำพระทัยของพระองค์ยิ่งนัก


    เหนื่อยเพื่อใคร?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3333 184.jpg
      3333 184.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.4 KB
      เปิดดู:
      86
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2017
  19. เตรียมตัว

    เตรียมตัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +156
    ท่านกำลังจะบอกว่า ผู้ที่ทรงปฏิสัมภิทาญาณ กับ ปาฏิหาริย์3 จะมากู้พระศาสนาผมนี่เข้าใจถูกใช่ไหมคับ แต่ผมว่านะ พอท่านที่ว่านั้นปรากฏตัว จะมีเหล่าชนมากมาย สาธุการ กันถ้วนหน้า แล้วพวกเขาเหล่านั้นก็ใช้ชีวิตแบบเดิม สาธุแล้ว ก็ไปละเมิดศีลตามเคย เหมือน คนกดไลค์ในเฟสบุคหาคุณค่าราคาได้น้อยมาก คำสาธุของเขาเองนั้นแทบจะไม่มีค่าในหัวใจของเจ้าของที่ไม่สนใจธรรมอย่างจริงจัง ท่านว่ามันจะคุ้มค่าตัว ของบุคคลที่ท่านเฝ้ารอคอยหรือไม่ประการใด
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ความห่วงของพระมหาเถระ

    เถรคาถา ติงสนิบาต
    ๑. ปุสสเถรคาถา
    คาถาสุภาษิตของพระปุสสเถระ
    ฤาษีมีชื่อตามโคตรว่า ปัณฑรสะ ได้เห็นภิกษุเป็นอันมาก ที่น่าเลื่อมใสมีตนอันอบรมแล้ว สำรวมด้วยดี จึงได้ถามพระปุสสเถระว่า ในอนาคตภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จักมีความพอใจอย่างไร มีความประสงค์อย่างไรกระผมถามแล้วขอจงบอกความข้อนั้นแก่กระผมเถิด?

    พระปุสสเถระจึงกล่าวตอบด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า
    ดูกรปัณฑรสฤาษี ขอเชิญฟังคำของอาตมา จงจำคำของอาตมาให้ดีอาตมาจะบอกซึ่งข้อความที่ท่านถามถึงอนาคต คือในกาลข้างหน้า ภิกษุ เป็นอันมากจักเป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อโอ้อวด ริษยา มีวาทะต่างๆ กัน จักเป็นผู้มีมานะในธรรมที่ยังไม่รู้ทั่วถึงคิดว่าตื้นในธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นคนเบา ไม่เคารพธรรม ไม่มีความเคารพกันและกัน ในกาลข้างหน้า โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก

    ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา จักทำธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้ให้เศร้าหมอง ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว โวหารจัด แกล้วกล้า มีกำลังมาก ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑลภิกษุทั้งหลายในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี มีโวหารโดยสมควรแก่เนื้อความ มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไรๆ ก็จักมีกำลังน้อย

    ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นาที่ดิน แพะ แกะ และคนใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษผู้อื่น ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแก่การทะเลาะวิวาท จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียวแดง เป็นคนลวงโลกกระด้าง เป็นผู้แส่หาแต่ลาภผล เที่ยวชูเขา คือมานะ ทำตนดั่งพระอริยเจ้าท่องเที่ยวไปอยู่ เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้นละเอียดเหลาะแหละ ให้ยาหยอดและทาตา มีร่างกายคลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วยสีงา สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่ จักพากันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำฝาดเป็นของไม่น่าเกลียด

    พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วยินดียิ่งนักเป็นธงชัยของพระอรหันต์ พอใจแต่ในผ้าขาวๆ จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผลเป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็นความลำบาก จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉาชีพ จักได้ลาภเสมอๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น (เที่ยวคบหาราชสกุลเป็นต้นเพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่สำรวมอินทรีย์ เที่ยวไป

    อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย จักไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์มีศีลเป็นที่รัก จักทรงผ้าสีแดง ที่ชนชาวมิลักขะชอบย้อมใช้ พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัยของตนเสีย บางพวกก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวกเดียรถีย์ อนึ่ง ในอนาคตกาล

    ภิกษุเหล่านั้นจักไม่เคารพในผ้ากาสาวะ จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคายบริโภคผ้ากาสาวะ เมื่อทุกข์ครอบงำ ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่พิจารณาโดยแยบคาย แสดงอาการยุ่งยากในใจออกมา มีแต่เสียงโอดครวญอย่างใหญ่หลวง เปรียบเหมือนช้างฉัททันต์ ได้เห็นผ้ากาสาวะอันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ที่นายโสณุตระพราน นุ่งห่มไปในคราวนั้น ก็ไม่กล้าทำร้าย ได้กล่าวคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์มากมายว่า ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งผ้ากาสาวะผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ

    ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาดออกแล้วตั้งมั่นอยู่ในศีลอย่างมั่นคง ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นจึงสมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดมีศีลวิบัติ มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์กระทำตามความใคร่อย่างเดียว มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ขวนขวายในทางที่ควรผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ มีใจตั้งมั่น มีความดำริในใจผ่องใส ผู้นั้นสมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดไม่มีศีล ผู้นั้นเป็นคนพาล มีจิตใจฟุ้งซ่าน มีมานะฟูขึ้นเหมือนไม้อ้อ ย่อมสมควรจะนุ่งห่มแต่ผ้าขาวเท่านั้น จักควรนุ่งผ้าห่มผ้ากาสาวะอย่างไร

    อนึ่ง ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักเป็นผู้มีจิตใจชั่วร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ จักข่มขี่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่ มีเมตตาจิต แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำตามความใคร่ ถึงพระเถระให้ศึกษาการใช้สอยผ้าจีวร ก็จักไม่เชื่อฟังพวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น อันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือนอย่างนั้น จักไม่เคารพกันและกัน ไม่เอื้อเฟื้อในพระอุปัชฌายาจารย์จักเป็นเหมือนม้าพิการไม่เอื้อเฟื้อนายสารถี ฉะนั้น

    ในกาลภายหลังแต่ตติยสังคายนา ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้.ครั้นพระปุสสเถระแสดงมหาภัยอันจะบังเกิดขึ้น ในกาลภายหลังอย่างนี้แล้ว เมื่อจะให้โอวาทภิกษุที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นอีก จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้ก่อน ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวยมีความเคารพกันและกัน มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน จงสำรวมในศีลปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์ ขอท่านทั้งหลายจงเห็นความประมาท โดยความเป็นภัย และจงเห็นความไม่ประมาทโดยความเป็นของปลอดภัย แล้วจงอบรมอัฏฐังคิกมรรค เมื่อทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะบรรลุนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย
     

แชร์หน้านี้

Loading...