การอยู่ปาริวาสกรรม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย silentbooza, 5 ตุลาคม 2012.

  1. silentbooza

    silentbooza สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +7
    คือผมบวชแล้วได้ทำผิดศีลข้อ สังฆาทิเสส ครับ. แล้วก้ไม่ได้สนใจอะไร แต่พอศึกมาแล้ว ลองหาข้อมูลดู. มีผมกรรมมาก. อย่างที่ผมเห็นชัดๆเลยก้คือ ขายของไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน ซึ่งเมื่อก่อนผมขายของได้เดือนๆละเกือบ4-5บาท ทั้งที่ยังเรียนอยู่ครับ เคยสูงสุดเกือบหมื่น แต่ตอนนี้ตรงข้าม ของค้างสต๊อกขายไม่ได้เลย. เลยอยากจะถามผู้รู้ครับ ว่า การเข้าอยู่ปาริวาสกรรมต้องมีช่วงอยู่หรือเปล่าครับ. เพราะผมปิดเทมอได้2-3อาทิตย์ถ้าได้จะได้ ไปบวช แล้วก้ไปอยู่ปาริวาสกรรมช่วงปิดเทมอเล็กครับ. กล้วถ้าไม่ได้มีวิธีไหนช่วยลดผมกรรมนี้ ให้เบาบางลงก่อนที่จะเข้าไปอยู่ปาริวาสไหมครับ ขอบคุณครับ
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ใจเย็นๆ ครับ

    เล่า รายละเอียดก่อนดีกว่าครับ

    บวชนี่ บวชอะไรครับ

    พระ หรือ เณร


    แล้วบวชกี่วัน ตอนบวชทำผิดไปกี่ครั้ง แล้วตอนที่บวช ทำผิดศีลแล้วได้บอกคนอื่นไหม หรือว่าเก็บไว้ไม่ได้บอกพระรูปอื่น

    รายละเอียดอื่นๆ ถ้ามีก็เล่ามาด้วยนะครับ นอกจากข้อนี้แล้ว ข้ออื่น คิดว่า ผิดด้วยหรือไม่ครับ เพราะบางที มันทำให้ ลามไป ผิดข้ออื่นๆ ได้


    ส่วนเรื่องอื่นๆ ขอฟังรายละเอียดเพิ่มก่อน ถึงจะมาตอบได้ครับ ว่าต้องทำอย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2012
  3. silentbooza

    silentbooza สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +7
    ผมบวชพระครับผม บวชประมาณ เดือนกว่าๆ ทำผิดเรื่องทำน้ำอสุจิเคลื่อนที่ครับ ทำหลายครั้งครับ แล้วไม่ได้ บอกใครเลย จนเปิดเทอมมาบอกแฟนเพราะรู้สึกอึดอัดในใจมากครับ นอกจากข้อนี้แล้ว ก้ น่าจะข้อว่าส่อเสียดพระรูปอื่นครับ เลยอยากจะถามว่า อยู่ปริวาสกรรมนี่ต้องอยู่แบบเป็นช่วงที่จัดงานหรือว่า ผมจะไปบวชอีกครั้ง แล้วไปอยู่ปาริวาสได้เลยครับ ขอบคุณครับ
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ปริวาส นั้น จะแก้ได้ ก็ต่อเมื่อ ทำให้ถูกต้อง

    บวช 1 เดือน ถ้าทำผิด ตั้งแต่ วัน ที่ 1 แล้วปกปิดไว้ จนถึงปัจจุบัน คือวันนี้

    นับดูครับ ว่า กี่วัน กี่เดือน

    ตั้งแต่วันที่ผิด จนถึงปัจจุบัน ปิดไว้ 3 ปี ก็ต้อง อยู่ ปริวาส 3 ปี ถึงจะแก้หลุดครับ


    การแก้ ปริวาส นั้น ต้องดูด้วย ว่าแก้ ถูกต้องตามหลัก หรือป่าว

    ถ้าเป็นพวก งาน จัดงานแก้กรรม ปริวาส งานพวกนี้ แก้ไม่ได้หรอก


    ต้องไปหา พระของจริง ที่เป็น พระจริงๆ ถึงจะแก้ได้


    ถ้าเป็นพวก วัดจัดงานอยู่ ปริวาสกรรม แล้วมีการทำบุญ ใส่บาตร เพราะ ที่อยู่ ปริวาส พูดตรงๆ แก้ไม่หลุดหรอก
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    คำว่า ปริวาส นี้มีมาแต่สมัยพุทธกาล เป็นชื่อของสังฆกรรม ประเภทหนึ่ง ที่สงฆ์จะพึงกระทำเพื่อการอยู่ชดใช้ เรียกสามัญว่า “การอยู่กรรม” เรียกรวมกันว่า “ปริวาสกรรม” เป็นระเบียบปฏิบัติสำหรับภิกษุที่ต้องอาบัติ ”สังฆาทิเสส” แล้วปกปิดไว้ ทั้งที่เกิดโดยความตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ และอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม จึงต้องประพฤติเพื่อเป็นการลงโทษตัวเองให้ครบเท่ากับจำนวนวันที่ปกปิดอาบัติไว้ เพื่อให้พ้นมลทินและเพื่อความบริสุทธิ์ในการบำเพ็ญเพียรในทางจิตของพระภิกษุสงฆ์ต่อไป

    ปริวาส มี ๓ ประเภท คือ
    ๑. ปฏิจฉันนปริวาส (สำหรับผู้ที่ต้องครุกาบัติแล้วปิดไว้)
    ๒. สโมธานปริวาส (สำหรับผู้ที่ต้องอาบัติแล้วปิดไว้ ต่างวันที่ปิดบ้าง ต่างวัตถุที่ต้องบ้าง)
    ๓. สุทธันตปริวาส (สำหรับผู้ต้องอาบัติแล้วปิดไว้ มีส่วนเท่ากันบ้างไม่เท่ากันบ้าง) แต่ยังมีปริวาสอีกแบบหนึ่ง
    ซึ่งเป็นปริวาสสำหรับนักบวชนอกศาสนาที่ต้องประพฤติก่อนที่จะบวชเข้ามาอยู่ในพระธรรมวินัย เรียกว่า “ติตถิยปริวาส” ซึ่งจัดเป็น “อปฏิจฉันนปริวาส” (สำหรับผู้ที่ต้องครุกาบัติแล้วไม่ปิดไว้)
    การอยู่ปริวาสกรรมนั้น เจาะจงไว้บุคคล ๒ จำพวก คือ
    • สำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่บวชอยู่แล้ว แต่ต้องครุกาบัติ
    • สำหรับคฤหัสถ์ หรือพวกเดียรถีย์



    เจ้าของกระทู้ผิดข้อ


    ๑. ปฏิจฉันนปริวาส (สำหรับผู้ที่ต้องครุกาบัติแล้วปิดไว้)
    ๒. สโมธานปริวาส (สำหรับผู้ที่ต้องอาบัติแล้วปิดไว้ ต่างวันที่ปิดบ้าง ต่างวัตถุที่ต้องบ้าง)
    ๓. สุทธันตปริวาส (สำหรับผู้ต้องอาบัติแล้วปิดไว้ มีส่วนเท่ากันบ้างไม่เท่ากันบ้าง) แต่ยังมีปริวาสอีกแบบหนึ่ง


    1.ต้องอาบัติ แล้วปกปิดไว้

    2.สำหรับผู้ที่ต้องอาบัติแล้วปิดไว้ ต่างวันที่ปิดบ้าง ต่างวัตถุที่ต้องบ้าง

    3.สำหรับผู้ต้องอาบัติแล้วปิดไว้ มีส่วนเท่ากันบ้างไม่เท่ากันบ้าง


    ปิดข้อเดิม ซ้ำๆ กัน หลายวาระ หลายกระทง ปกปิดเอาไว้ ต่างวันต่างเวลา บ้าง

     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ครุกาบัติ อาบัติหนัก

    หนักเท่า ปราชิก

    แต่แก้ไขได้

    กรรมหนัก เท่า ปราชิ นั้นเอง ผิด สังฆาทิเสสเข้า
     
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สุทธันตปริวาส [​IMG]
    สุทธันตปริวาส เป็นปริวาสที่นิยมจัดอยู่ในปัจจุบัน เป็นปริวาสที่ไม่มีกำหนดแน่นอน นับราตรีไม่ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะสงฆ์ที่จะให้อยู่ประพฤติเป็นเวลาเท่าใด จะมีความเห็นว่าให้อยู่เพียงราตรีหนึ่งหรืออยู่ถึง ๒-๓ ปี ก็ต้องยอมปฏิบัติตามโดยไม่มีทางเลือก ทั้งนี้ก็เพราะสุทธันตปริวาสมีเงื่อนไขน้อยที่สุดแต่ผู้ปฏิบัติเกิดความมั่นใจมากที่สุด ภิกษุที่จะขอปริวาสเพียงกล่าวกับคณะสงฆ์ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่รู้ที่สุดแห่งอาบัติ ๑ ไม่รู้ที่สุดแห่งราตรี ๑ ระลึกที่สุดแห่งอาบัติไม่ได้ ๑ ระลึกที่สุดแห่งราตรีไม่ได้ ๑ สงสัยในที่สุดแห่งอาบัติ ๑ สงสัยในที่สุดแห่งราตรี ๑, ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอปริวาสจนกว่าจะบริสุทธิ์เพื่ออาบัติเหล่านั้น” (วิ.จุล.๖/๑๕๖/๑๘๒)
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ปัญหาการจัดปริวาสกรรม ที่ไม่ถูกต้องตามพระวินัยพุทธบัญญัติ


    โดย admin เมื่อ อ, 18 มกราคม 2011Tags:
    ข้าพเจ้าได้เห็นพฤติกรรมการจัดปริวาสกรรม เพื่อระงับครุกาบัติที่ออกด้วยวุฏฐานวิธีสำหรับพระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ที่ไม่ถูกต้องตามพระวินัยพุทธบัญญัติ คือเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า “การอยู่กรรม” หรือ “อยู่ปริวาสกรรม” นั้น ตามพระวินัยพุทธบัญญัติ เป็นกิจเฉพาะพระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสเท่านั้น ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อออกจากครุกาบัตินี้ด้วยวุฏฐานวิธี คือการอยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาสกรรมนี้ และ การต้องอาบัติสังฆาทิเสสทั้งหมด (ยกเว้นสิกขาบทที่ 5-6-7) เป็นสจิตตกะ คือต้องด้วยเจตนา กล่าวคือจงใจ
    ดังตัวอย่างพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติและพระปฐมบัญญัติ ที่แสดงไว้แล้วข้างต้น
    สำหรับ 9 สิกขาบทแรกต้องอาบัติเมื่อแรกทำ 4 สิกขาบทหลังให้ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสครบ 3 จบ ผู้ต้องครุกาบัติดังกล่าวจึงเป็นผู้ต้องอยู่ปริวาสกรรม พระปกตัตตภิกษุ ผู้มีศีล หาต้องอยู่กรรมไม่ ดังปรากฏในบทสรุปว่า
    “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมคือสังฆาทิเสส 13 สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว 9 สิกขาบทให้ต้องอาบัติเมื่อแรกทำ 4 สิกขาบทให้ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสครบ 3 จบ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งแล้ว รู้อยู่ แต่ปกปิดไว้สิ้นวันเท่าใด ภิกษุนั้นต้องอยู่ปริวาสด้วยความไม่ปรารถนา สิ้นวันเท่านั้น ภิกษุอยู่ปริวาสแล้ว ต้องประพฤติวัตรเพื่อมานัต สำหรับภิกษุเพิ่มขึ้นอีก 6 ราตรี ภิกษุประพฤติมานัตแล้ว ภิกษุสงฆ์ 20 รูป อยู่ในสีมาใด พึงเรียกภิกษุนั้น ถ้าภิกษุสงฆ์ 20 รูปเข้าหมู่ในสีมานั้นหย่อนแม้รูปหนึ่ง พึงเรียกภิกษุนั้นเข้าหมู่ ภิกษุนั้นก็ไม่เป็นอันสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว และภิกษุเหล่านั้นควรถูกตำหนิ นี้เป็นสามีจิในกรรมนั้น”2
    หลักพระธรรมพระวินัยมีอย่างนี้ แต่ปรากฏพฤติกรรมเป็นเจตนากรรมที่ไม่ถูกต้อง ของทั้งผู้จัดปริวาสกรรมบ้าง ของผู้ไปอยู่ปริวาสกรรมเองบ้าง ของผู้ชักนำเพื่อนสหธรรมิกให้ไปอยู่กรรมบ้าง และผู้ชักนำให้สาธุชนมาร่วมทำบุญและมาร่วมปฏิบัติธรรมบ้าง ซึ่งมีค่อนข้างจะมากรายที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง จนกลายเป็นเรื่องปกติไป เสมือนหนึ่งว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องไปแล้วหลายประการ
    ความที่ไม่ถูกต้องนั้น มีดังเช่น
    มีการชักชวนพระภิกษุผู้บวชใหม่กันมากว่า ก่อนลาสิกขาควรต้องไปอยู่ปริวาสกรรมเพื่อให้เป็นผู้บริสุทธิ์ (โดยไม่คำนึงถึงว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือไม่) บ้าง บางรายก็อ้างว่าเผื่อว่าตนเองจะเผลอต้องอาบัติสังฆาทิเสสโดยไม่รู้ตัวบ้าง ทั้งๆ ที่การต้องอาบัตินี้ทุกสิกขาบท (ยกเว้นสิกขาบทที่ 5-6-7) เป็นสจิตตกะ คือต้องโดยเจตนาหรือจงใจกระทำ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น
    ผู้จัดปริวาสกรรม มักมีเจตนาที่จะให้มีผู้มาร่วมกิจกรรมนี้มากๆ โดยขาดหลักการตามพระธรรมวินัย คือเพียงแต่ต้องการให้มีประชาชนมาร่วมทำบุญด้วยมากๆ โดยอ้างว่าประชาชนมีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมน้อย จึงควรมีเมตตาอนุเคราะห์ให้เขาได้มีโอกาสมาร่วมปฏิบัติธรรมด้วยมากๆ จึงพากันโฆษณาเพื่อให้ทั้งพระภิกษุมาอยู่ปริวาสกรรม ณ อาวาสนั้นมากๆ และทั้งให้ประชาชนมาร่วมปฏิบัติธรรมและมาร่วมบำเพ็ญกุศลด้วยมากๆ
    มีทั้งการติดตั้งป้ายบอกการจัดปริวาสกรรม และมีทั้งการโฆษณาให้ญาติโยมมาร่วมบำเพ็ญกุศลด้วยมากๆ อ้างว่าการได้มาอยู่ปริวาสกรรมนั้นเป็นความบริสุทธิ์มากเป็นพิเศษ 1 การได้มาบำเพ็ญกุศลกับผู้อยู่ปริวาสกรรมนั้นจึงเป็นมหานิสงส์ คือได้บุญมากเป็นพิเศษ 1 โฆษณาเรื่องบุญกุศลนี้อย่างเลอเลิศ และอย่างโจ่งแจ้ง กว้างขวาง จึงมีผลให้
    ก. มีพระภิกษุบางรูปทั้งที่ไม่ได้ต้องครุกาบัตินี้ก็พลอยหลงเชื่อไปตามเขา แทนที่จะเป็นความบริสุทธิ์ กลับไปได้การต้องอาบัติปาจิตตีย์เพิ่ม เพราะล่วงสิกขาบทที่ 1 พูดปด แห่งมุสาวาท-วรรคที่ 1 และแถมยังเป็นสีลัพพตปรามาส คือหลงถือศีลพรตโดยสักว่า ไปตามเขาด้วยความงมงายอีกด้วย ส่วนบางราย (พระภิกษุเก่า) ก็ไปเข้าปริวาสกรรมกับเขาได้ทุกปี ปีละหลายๆ แห่ง ที่เป็นพระผู้เฒ่าก็ยังเห็นมีไม่น้อย ไม่รู้ว่าต้องอาบัติอะไรกันหนักหนา ถ้าต้องครุกาบัติเป็นอาจิณเช่นนั้น แสดงว่าแทบจะไม่เคยมีความสังวรระวังในศีล อินทรีย์ และสติสัมปชัญญะเลย จนพระภิกษุบางรูปได้ชื่อว่า “นักล่าปริวาส” ก็มี
    ข. คฤหัสถ์ชายบางคนหลงเชื่อว่า การอยู่ปริวาสกรรมนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมอันเป็นการขัดเกลา ให้ถึงความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง จึงพากันมาบวชเตรียมรออยู่ 1 วันบ้าง 2 วันบ้าง หรือแม้บวชในวันที่เขาจะมีพิธีเข้าปริวาสกรรมนั้นเองบ้าง ด้วยความตั้งใจที่จะมาอยู่ปริวาสกรรมกับเขา เพื่อทำตนให้เป็นผู้บริสุทธิ์ ทั้งที่ตนเองยังมิได้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสนั้นเลย และ/หรือยังไม่ได้เรียนรู้เลยว่าอาบัติสังฆาทิเสสนั้นคืออย่างไร ตนเองเป็นผู้ต้องครุกาบัตินี้ด้วยหรือไม่ ก็มาตามที่เขาโฆษณาว่า มาเข้าปริวาสกรรมแล้วจะเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างยิ่ง ยิ่งกว่าการบรรพชาอุปสมบทตามปกติเสียอีก เมื่ออยู่กรรมกับเขาแล้ว ก็ลาสิกขาด้วยความกระหยิ่มใจว่าตนเองเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ทั้งๆ ที่กลับพกเอาความหลงผิดเป็น สีลัพพตปรามาส คือ หลงถือศีลพรตด้วยความงมงายติดตัวไป
    ค. แม้ชาย-หญิง อื่นก็หลงมาอยู่ปฏิบัติธรรมร่วมกับเขา โดยเข้าใจว่า นั้นก็เป็นการมาอยู่กรรม ซึ่งจะได้มีความบริสุทธิ์มากกว่าการปฏิบัติธรรมคือการรักษาศีลและเจริญภาวนาโดยธรรมดามากมายนัก จึงเป็นสีลัพพตปรามาสติดตัวเองไปกับเขาอีกด้วย
    ง. ญาติโยมผู้มาทำบุญ ก็มาทำบุญด้วยความเข้าใจว่า มาทำบุญกับพระภิกษุ ผู้อยู่กรรมนี้จะได้ผลบุญมากมาย ยิ่งกว่าการทำบุญกับพระภิกษุผู้มีศีลเป็นปกติเสียอีก เพราะผู้อยู่กรรมเป็นผู้มีความขัดเกลาเพื่อความบริสุทธิ์มากที่สุด
    ทั้งๆ ที่ผู้ที่จะต้องอยู่ปริวาสนั้น คือพระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เท่านั้น และการอยู่ปริวาสกรรมนี้ก็เป็นเพียงวุฏฐานวิธีเพื่อให้พระภิกษุผู้ต้องครุกาบัติออกจากอาบัติได้ เป็นปกตัตตภิกษุ คือเป็นพระภิกษุผู้มีศีลโดยปกติ ตามพระวินัยเท่านั้น หาใช่ว่าผู้อยู่ปริวาสกรรมแล้วจะเป็นผู้บริสุทธิ์ที่เลิศเลอกว่าปกตัตตภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมหรือผู้ทรงศีลทรงธรรมตามพระธรรมวินัยโดยปกติไม่ และแถมยังจะมีมลทินมัวหมอง คือ ความหลงผิด เป็นสีลัพพตปรามาส การถือศีลวัตรด้วยความงมงาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระภิกษุผู้ที่มีได้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสจริงๆ แต่ไปขออยู่ปริวาสกรรมกับเขา และปฏิญาณตนต่อสงฆ์ว่า “อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ...” (ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว (หรือตัวเดียว) แล้ว...) ดังนี้ เป็นต้น ย่อมกลับต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะล่วงสิกขาบทที่ 1 เพราะพูดปด ตามมุสาวาทวรรคที่ 1 อีกด้วย
    จ. การประกาศข่าวโจ่งแจ้งว่าที่อาวาสนี้มีการจัดปริวาสกรรม ให้อนุปสัมบันคือประชาชนทั่วไปทราบเช่นนี้ พระภิกษุผู้ทำการประกาศเองเช่นนั้นก็ดี หรือสั่งให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้นก็ดี ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์1 เพราะล่วงสิกขาบทที่ 9 บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่นแก่อนุปสัมบัน ตามมุสาวาทวรรคที่ 1 นี้อีกด้วยเช่นกัน และยังเป็นอาบัติที่จัดเป็นอาจิณได้ เพราะต้องอาบัติตลอดเวลาที่มีการโฆษณาการอยู่ปริวาสกรรมเช่นนั้นให้อนุปสัมบันทราบ แม้จะปลงอาบัติกันทุกๆ วัน จะพ้นจากอาทีนพคือโทษจากอกุศลเจตนาที่ได้กระทำอยู่บ่อยๆ เช่นนั้นได้หรือ ?
    ฉ. ยิ่งถ้าโฆษณาด้วยเจตนาเพียงเพื่อที่จะให้ผู้คนมาร่วมกิจกรรมและมาทำบุญด้วยมากๆ อีกว่า ผู้ได้มาอยู่กรรมแล้วจะได้ความบริสุทธิ์ยิ่งนัก ยิ่งกว่าการปฏิบัติธรรมตามพระธรรมวินัยโดยปกติเสียอีก เช่นนั้น ก็คงไม่พ้นการล่วงละเมิดสิกขาบทที่ 1 เพราะพูดปด ตามมุสาวาทวรรคที่ 1 นี้บ่อยๆ อันเป็นการเพิ่มความหลงเข้าใจผิดแก่ทั้งพระภิกษุ และแม้อนุปสัมบันผู้ยังมิได้เรียนรู้พระธรรมวินัยดีพอไม่น้อยเลย แล้วอย่างนี้ จะพ้นอาทีนพได้ละหรือ ? จะคุ้มกันหรือ กับลาภสักการะที่ได้มา ?
    ช. ยังมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยอีกว่า มีการโฆษณาชักชวนพระภิกษุผู้มิได้เรียนรู้พระธรรมวินัยดีพอ ให้หลงเชื่อตามๆ กันว่า
    “การอยู่ปริวาสกรรมนี้ เป็นหนึ่งในกิจวัตร 10 อย่าง ที่พระภิกษุพึงปฏิบัติเป็นประจำ (ทุกปี) ”
    โดยมิได้อธิบายให้แจ้งชัดว่า ข้อนี้เป็นกิจวัตรเฉพาะพระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสเท่านั้น ทั้งนี้โดยอาศัยข้อความในหัวข้อ กิจวัตร 10 อย่าง ในหนังสือ “มนต์พิธี สำหรับพระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนทั่วไป” โดย พระครูวินัยธรเอี่ยม สิริวณฺโณ วัดอรุณราชวราราม ที่มีใช้กันอย่างดกดื่น กว้างขวาง ว่า
    “กิจวัตร 10 อย่าง
    1) ลงอุโบสถ
    2) บิณฑบาตเลี้ยงชีพ
    3) สวดมนต์ไหว้พระ
    4) กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
    5) รักษาผ้าครอง
    6) อยู่ปริวาสกรรม
    7) โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ
    8) ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์
    9) เทศนาบัติ
    10) พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง 4 เป็นต้น
    กิจวัตร 10 เหล่านี้เป็นกิจใหญ่ควรที่ภิกษุจะต้องศึกษาให้ทราบความชัดและจำไว้เพื่อปฏิบัติสมควรแก่สมณสารูปแห่งตน”1
    ซึ่งตามพระวินัยจริงๆ แล้ว คำว่า “กิจวัตร” หมายถึง กิจที่พึงกระทำ หน้าที่ หรือธรรมเนียมความประพฤติ ข้อปฏิบัติต่างๆ เช่น อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาคันตุกวัตร เป็นต้น2 ว่าพระภิกษุพึงปฏิบัติอย่างไรเป็นประจำ จึงไม่น่าจะหมายถึง “การอยู่ปริวาสกรรม” ซึ่งเป็นกิจที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสเท่านั้น จะพึงต้องปฏิบัติเพื่อออกจากครุกาบัตินี้ด้วยวุฏฐานวิธีนี้ หาใช่เป็นกิจที่ภิกษุผู้ปกตัตตะจะพึงปฏิบัติด้วยไม่ แม้จะมีคำอธิบายว่า
    “กิจวัตร 10 เหล่านี้ เป็นกิจใหญ่ควรที่ภิกษุจะต้องศึกษาให้ทราบความชัด และจำไว้เพื่อปฏิบัติสมควรแก่สมณสารูปแห่งตน”
    ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนแจ่มแจ้งดีพอแก่พระภิกษุผู้ยังมิได้ศึกษาพระวินัยมาดีแล้ว จึงมีพระภิกษุหลงชักจูงกันผิดๆ หลงเข้าใจผิด และปฏิบัติตามอย่างกันผิดๆ กันมากว่า “การอยู่ปริวาส เป็นกิจที่พระภิกษุ (ทั่วไป) พึงต้องปฏิบัติ” โดยไม่ได้คำนึงถึงว่า ผู้ที่จะต้องอยู่ปริวาสกรรมนี้ คือพระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เพื่อออกจากอาบัตินี้ด้วยวุฏฐานวิธี ตามพระวินัยพุทธบัญญัติเท่านั้น หาใช่เป็นกิจวัตรแก่พระภิกษุทั้งหลายทั่วไปผู้ปกตัตตะด้วยไม่ และหาใช่เป็นกิจวัตรของสามเณรและคฤหัสถ์ด้วยไม่ อันจะพลอยให้พระภิกษุผู้มิได้ศึกษาพระวินัยให้ดีนั้น ต้องอาบัติ “ปาจิตตีย์” เพราะพูดปด เมื่อกล่าวปฏิญาณตนต่อสงฆ์เพื่อขออยู่ปริวาสกรรม ว่าตนเองต้องอาบัตินี้ และยังเป็นสีลัพพตปรามาส คือการถือศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย ไม่เข้าใจความมุ่งหมายที่แท้จริงตามพระวินัยพุทธบัญญัติ อีกด้วย
    ซ. ส่วนการเมตตาสงเคราะห์ญาติโยมที่ไม่ค่อยจะมีโอกาสปฏิบัติธรรม ให้ได้มาร่วมปฏิบัติด้วย ในอาวาสเดียวกัน แม้แต่จะให้แยกกันอยู่ (พักผ่อนหลับนอน) คนละส่วน ก็จริง แต่ก็ไม่ได้แยกไกลกันออกไป คงอยู่ใกล้ๆ กันในบริเวณอาวาสเดียวกันนั้นเอง และมีการโฆษณากันอย่างเปิดเผยโจ่งแจ้งว่า มีการจัดพระภิกษุอยู่ปริวาสกรรมในอาวาสนี้ แก่อนุปสัมบัน ได้แก่ สามเณรและคฤหัสถ์ ให้ได้ยิน ได้รู้ ได้เห็น และยังจัดให้ปฏิบัติธรรมร่วมกันกับพระภิกษุ ผู้อยู่ปริวาสกรรมนั้นเองด้วย ก็เท่ากับเป็นการบอกอาบัติชั่วหยาบของเพื่อนพระภิกษุแก่อนุปสัมบันทราบตลอดเวลา เช่นนี้ พระภิกษุผู้จัด ผู้ร่วมจัด ผู้ทำการโฆษณา จะพ้นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะล่วงสิกขาบทที่ 9 แห่งมุสาวาทวรรคที่ 1 หรือ ?
    การอนุเคราะห์ญาติโยมด้วยธรรมปฏิบัตินี้เป็นการดีเลิศ แต่ถ้าประสงค์อนุเคราะห์ญาติโยมจริง ก็น่าจะจัดการอยู่ปริวาสกรรมเฉพาะพระภิกษุแยกไปต่างหาก ให้ห่างไกลออกไปคนละส่วน จัดให้การมาอยู่ปฏิบัติธรรมของปกตัตตภิกษุ สามเณร และคฤหัสถ์ อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ย่อมจะเป็นเจตนากรรมที่บริสุทธิ์จริงแท้แก่ทุกฝ่าย จะมิดีกว่าหรือ ?
    แม้จะอ้างว่า คำว่า “ปริวาส” ก็หมายถึงการอยู่ปฏิบัติธรรมด้วย ก็ไม่ตรงประเด็น เพราะในคำว่า “ปริวาสํ” ในเรื่องของการปฏิบัติวิปัสสนา เป็นคนละเรื่อง คนละความหมาย กับการอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุผู้ต้องครุกาบัติ ที่จะต้องออกจากอาบัติได้ด้วยวุฏฐานวิธี โดยสิ้นเชิง ดังมีปรากฏในอรรถกถาว่า
    “โยปิ รูปารูปํ ปริคฺคเหตฺวา นามรูปํ ววตฺถเปนฺโต ทุกฺเขน กสิเรน กิลมนฺโต ววตฺถเปติ, ววตฺถปิเต จ นามรูเป วิปสฺสนาปริวาสํ วสนฺโต จิเรน มคฺคํ อุปฺปาเทตุ ํ สกฺโกติ, ตสฺสปิ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา นาม โหติ.”1
    “ฝ่ายท่านผู้ใดกำหนดเอารูปและอรูปแล้ว เมี่อจะกำหนดนามและรูป ย่อมเป็นผู้เหน็ดเหนื่อย กำหนดเอาโดยยากโดยลำบาก และเมื่อกำหนดนามและรูปได้แล้ว เมื่อ อบรมบ่มวิปัสสนาอยู่ ย่อมอาจทำมรรคให้เกิดขึ้น ได้โดยเวลาเนิ่นนาน แม้สำหรับผู้นั้น ก็ย่อมชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า”
    คำว่า “ปริวาสํ” ในกรณีนี้หมายถึง “การอบรมวิปัสสนาอยู่” ซึ่งเป็นคนละเรื่อง คนละความหมายกับการอยู่ปริวาสกรรม เพื่อออกจากครุกาบัติด้วยวุฏฐานวิธี จึงมิใช่เป็นเรื่องที่สมควรจะจัดการอบรมธรรมปฏิบัติให้แก่อนุปสัมบันอันมีสามเณรและคฤหัสถ์ ให้ปฏิบัติธรรมร่วมกับพระภิกษุผู้กำลังประพฤติวุฏฐานวิธี ในอาวาสเดียวกัน อันเป็นการแสดงอาบัติชั่วหยาบของเพื่อนภิกษุแก่อนุปสัมบันทั้งทางตรงและทางอ้อม อยู่ตลอดเวลาของการจัดปริวาสกรรมนั้น
    การจัดให้ทั้งพระภิกษุ และอนุปสัมบัน ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรม โดยทั่วไปตามปกติ เป็นการดี เป็นการสมควร น่าอนุโมทนาอย่างยิ่ง แต่ไม่ควรจัดให้มาปฏิบัติร่วมกันกับพระภิกษุผู้อยู่ปริวาสกรรม เพื่อมิให้เป็นอาบัติเพราะล่วงสิกขาบทที่ 9 แห่งมุสาวาทวรรค ที่ 1 นี้ โดยไม่จำเป็นจะต้องเสี่ยงกับอาบัติเช่นนี้เป็นอาจิณ (ทุกวัน) ถึงจะเป็นอาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดง (เทสนาคามินี) ก็คงจะไม่ปลอดภัยจากอาทีนพคือโทษหรือผลฝ่ายชั่ว เพราะการแสดงอาบัติกับพระภิกษุหรือสงฆ์นั้น ต้องไม่ลืมว่า ผู้แสดงได้ปฏิญาณตนว่า
    “สาธุ สุฏฺฐุ ภนฺเต (อาวุโส) สํวริสฺสามิ.
    ทุติยมฺปิ... ตติยมฺปิ สาธุ สุฏฺฐุ ภนฺเต (อาวุโส) สํวริสฺสามิ. น ปุเนวํ กริสฺสามิ, น ปุเนวํ ภาสิสฺสามิ, น ปุเนวํ จินฺตยิสฺสามิ.”
    “ดีละ ท่านผู้เจริญ (อาวุโส) กระผมจักสำรวมระวังให้ดี.
    แม้ครั้งที่สอง... แม้ครั้งที่ 3 ดีละ ท่านผู้เจริญ (อาวุโส) กระผมจักสำรวมระวังให้ดี.
    กระผมจะไม่ทำอย่างนี้อีก. กระผมไม่กล่าวอย่างนี้อีก. กระผมจะไม่คิดอย่างนี้อีก.”
    เมื่อแสดงอาบัติแล้ว จะต้องสำรวมระวัง ไม่คิด ไม่พูด ไม่ทำอีก อย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลานานพอสมควร การแสดง (ปลง) อาบัตินั้น จึงจะได้ผลเป็นความบริสุทธิ์จริง ไม่ใช่ปลงอาบัติอยู่ทุกวันแต่ก็ต้องอาบัติวัตถุเดียวกันเช่นนั้นอยู่อีกทุกวันๆ ไม่น่าจะได้เป็นความบริสุทธิ์จริง เพราะเป็นสักแต่ว่ากิริยาเปล่งวาจา ปลงหรือแสดงอาบัติ แต่หาได้ปฏิบัติตนเพื่อให้เป็นความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ที่แท้จริงๆ ไม่ กลายเป็นการแสดงความไม่จริงใจ และพอกพูนอาทีนพ (โทษ) ให้ติดอยู่ในกมลสันดานหนาแน่นยิ่งขึ้นไปอีก
    เพราะฉะนั้น พระภิกษุพึงบริหารตนด้วยการสมาทาน การศึกษาและปฏิบัติศีลสิกขานี้ให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระสังฆาธิการ ผู้บริหารหมู่คณะสงฆ์และบริหารวัด จะได้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธบริษัทโดยทั่วไป เพื่อช่วยกันสืบบวรพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไป.


    <HR>พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล*, การบริหารวัด, โรงพิมพ์ เอชทีพีเพรส, พ.ศ.2539, หน้า 44-50.
    * ปัจจุบัน คือ พระราชญาณวิสิฐ วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล) ป.ธ.6 ประธานศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย
     
  9. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ควรจะปฏิบัติดังนี้....


    .

     
  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท

     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระพุทธได้ตรัสไว้ว่า “ สาปัตติกัสสะ ภิกขะเว นิรยัง วทามิ ติรัจฉานโยนิง วา “
    แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอาบัติ (ติดตัว) จำต้องไปนรกบ้าง กำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง . นอกจากนี้แล้ว ท่านทั้งหลายคงจะเคยได้ยินคำว่า ปฏิบัติธรรมไม่ขึ้นกันมาบ้าง
    ครุกาบัติ หรือ อาบัติหนัก เป็นโทษข้อหนึ่งสำหรับภิกษุผู้ล่วงละเมิดเข้าแล้ว ซึ่งจะเป็นอุปสรรคทำให้มิอาจจะบรรลุมรรคผลได้
    มีอุปสรรคอยู่ ๔ ประการที่ขัดขวางการบรรลุมรรคผลนิพพานของผู้ที่แม้มีบารมีพอที่จะบรรลุธรรมแล้ว นั่นก็คือ
    ๑. อนันตริยกรรม ๕ ประการ
    ๒. อริยุปวาท (ด่าว่า ให้ร้าย พระอริยะเจ้า)
    ๓. ต้องครุกาบัติ
     
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ...ข้อวัตรของภิกษุผู้อยู่ปริวาส

    พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๐๗

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจักบัญญัติวัตรแก่
    ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส โดยประการที่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ต้องประพฤติทุกรูป.


    ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ

    หมวดที่ ๑


    [๓๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงประพฤติชอบ
    วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-

    อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงให้อุปสมบท

    ไม่พึงให้นิสัย

    ไม่พึงไห้สามเณรอุปัฏฐาก

    ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

    แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

    สงฆ์ให้ปริวาสเพื่ออาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น

    ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

    ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

    ไม่พึงติกรรม

    ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

    ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

    ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

    ไม่พึงทำการไต่สวน

    ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์

    ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

    ไม่พึงโจทภิกษุอื่น

    ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ

    ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.

    หมวดที่ ๒

    [๓๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส

    ไม่พึงไปข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ

    ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ

    พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์

    ที่สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ

    ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุ เป็นสมณะนำหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล

    ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์

    ไม่พึงสมาทานบิณฑปาติกธุดงค์ และ

    ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้งหลายอย่ารู้เรา.

    หมวดที่ ๓

    [๓๒๔]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปาริวาสเป็นอาคันตุกะ

    ไปพึงบอกมีอาคันตุกะมา ก็พึงบอก พึงบอกในอุโบสถ

    พึงบอกในปวารณา ถ้าอาพาธพึงสั่งทูตให้บอก.

    หมวดที่ ๔

    [๓๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส

    ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

    ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

    ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

    ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

    ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

    ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

    ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

    ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

    ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่

    อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย .

    หมวดที่ ๕

    [๓๒๖]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส

    ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

    ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

    ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

    ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

    ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

    ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

    ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

    ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส

    ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น

    มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะ

    ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.

    หมวดที่ ๖

    [๓๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส

    พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

    พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

    พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาทที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

    พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

    พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

    พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

    พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

    พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

    พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่น

    มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้เทียว.

    หมวดที่ ๗

    [๓๒๘]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส

    ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับปกตัตตะภิกษุ

    ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส

    ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี

    เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว พึงลุกออกจากอาสนะ พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง

    ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

    เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง

    เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ

    ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมอันเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ

    เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง

    เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.

    [๓๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส

    ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า

    ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส

    ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี

    ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า

    ...กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม

    ...กับภิกษุผู้ควรมานัต

    ...กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต

    ...กับภิกษุผู้ควรอัพภาน

    เมื่อเธอนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง

    เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ

    ในพึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน

    เมื่อเธอจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง

    เมื่อเธอจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.

    [๓๓๐]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุอยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ พึง

    ให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูป ทั้งภิกษุผู้

    อยู่ปริวาสนั้นพึงอัพภาน การกระทำดังนั้นใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.

    ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ จบ
     
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๖
    จุลวรรค ภาค ๑</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๖
    จุลวรรค ภาค ๑

    </CENTER><CENTER>มานัตหนึ่งร้อย
    สึกอุปสมบทใหม่
    [๕๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก เธออุปสมบทใหม่ ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้น
    พึงให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก เธออุปสมบทใหม่ ปิดบังอาบัติเหล่านั้น
    พึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้แล้วสึก เธออุปสมบทใหม่ ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้น
    พึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้แล้วสึก เธออุปสมบทใหม่ ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงให้
    ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่
    อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติ
    เหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาส
    ในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่
    อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติ
    เหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาส
    ในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่
    อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใด
    ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกอง
    อาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่
    อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใด
    ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกอง
    อาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ อาบัติบางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติที่รู้
    ไม่ได้ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดเธอรู้แล้วได้ปิดบัง
    ไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วไม่ปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดเธอไม่รู้ไม่ได้
    ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วไม่ปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกอง
    อาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ อาบัติบางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติที่รู้
    ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดเธอรู้แล้วได้ปิดบัง
    ไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วไม่ปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้
    ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังไว้ในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกอง
    อาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ อาบัติบางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติที่รู้ ไม่
    ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้
    เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบัง
    ไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วไม่ปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ
    ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ อาบัติบางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติที่รู้
    ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้
    เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบัง
    ไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังไว้ในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ
    ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ปิดบัง
    อาบัติที่ระลึกได้ ไม่ได้ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติ
    เหล่าใดระลึกได้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ไม่ปิดบังไว้ใน
    ภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้น
    ได้แล้วไม่ปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
    แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ปิดบังอาบัติ
    ที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใด
    ระลึกได้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วไม่ปิดบังในภายหลัง
    อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ปิดบังใน
    ภายหลังพึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัต
    แก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ปิดบังอาบัติ
    ที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใด
    ระลึกได้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ปิดบังไว้ในภายหลัง
    อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ไม่ปิดบัง
    ในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้
    มานัตแต่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ปิดบัง
    อาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติ
    เหล่าใดระลึกได้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ปิดบังไว้ใน
    ภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้น
    ได้ปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง
    แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง ปิดบังอาบัติ
    ที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดไม่
    สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติ
    เหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง
    พึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
    *ทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง ปิดบังอาบัติ
    ที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใด
    ไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติ
    เหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง
    พึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุ
    นั้น ฯ
    [๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
    สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง ปิดบัง
    อาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติ
    เหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง
    อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นใน
    ภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัต
    แก่ภิกษุนั้น ฯ
    [๕๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
    สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง ปิดบัง
    อาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ ไม่สงสัย
    ในอาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง
    อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง
    พึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุ
    นั้น ฯ</CENTER>
    </PRE>
     
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สรุปให้สั้นๆ นะครับ

    ข้อที่1 คุณบวชเป็นพระธรรมยุติ หรือพระมหานิกาย
    คุณบวชสายธรรมยุติ ต้องไปอยู่ปริวาสกรรมสายธรรมยุติ
    ถ้าคุณบวชสายมหานิกาย ต้องไปอยู่ปริวาสกรรมสายมหานิกาย

    หากคุณบวชสายธรรมยุติ ไปอยู่ปริวาสกรรมสายมหานิกาย
    หรือคุณบวชสายมหานิกาย ไปอยู่ปริวาสกรรมสายธรรมยุติ

    มิฉะนั้นการปริวาสกรรมไม่บริสุทธิ์ เพราะถือว่าอยู่คนละอาวาส


    2.หาวัด สาย ปฏิบัติ วัดสายพระป่า

    ทำไมต้องสายพระป่า ก็เพราะ มั่นใจไปได้ว่า จะไม่มีพระที่ผิดศีล แล้วปกปิดไว้นั้นเอง


    เพราะ ขั้นตอน อัพภาน ต้องใช้พระสงฆ์ ๒๐ รูป สวด รับรองขึ้นมาเป็นพระตามเดิม ถ้าในพระ 20 รูปนั้น มีพระที่มี ศีลไม่บริสุทธิ แม้รูปเดียว

    คุณ สวด อัพภาน ไม่ขึ้น

    เมื่อสวดไม่ขึ้น ก็คือ ยังติดกรรม ครุกาบัติ อยู่นั้นเอง

    แม้ขั้นตอนจะถูกต้อง แต่ ผู้ประกอบพิธี ไม่ถูกต้อง ดังนั้นจึงเป็น โมฆะ ไปในตัวนั้นเอง


    ดังนั้น ต้องเลือกวัด ครับ

    ถ้าไม่เลือกวัด ระวังจะเจอ พระ 1 ใน 20 รูปนั้น ที่ปกปิดเหมือนคุณนั้นเองละ ที่เข้ามาร่วมในพิธี

    ผลก็คือ โมฆะ นั้นเอง

    ตัวคุณตอนแก้ อาจจะไม่รู้หรอก ว่าพระรูปไหนไม่บริสุทธิ

    แต่มันเป็นเรื่อง กฏแห่งกรรม โน้นๆ

    ถ้าแก้ไม่ถูกต้อง ก็ยังติดกรรมหนัก ครุกาบัติ<!-- google_ad_section_end --> อยู่นั้นเอง

    ดังนั้น เลือก วัดให้ดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2012
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    แล้วถ้า แก้ อยู่ ปริวาส แล้ว

    แก้แล้วจริง แต่ของจริง แก้ไม่ออก แก้ไม่ขึ้น เราจะรู้ได้อย่างไร

    ตอบ

    1.รู้ตอนตายไปเจอยมพบาล

    2.รู้เพราะมีคนที่ รู้จริง บอก



    เพื่อนผมคนนึง โชคดีไป

    เพื่อนคนนี้ ตอนบวชแล้วทำผิด ฆังฆาทิเสส แล้วไม่รู้ตัวว่าทำผิด

    บวชอยู่ๆไป แล้วก็ได้ย้ายวัด ไปวัดสายปฏิบัติลูกศิษย์หลวงตามหาบัว

    แล้วก็ปฏิบัติไป ที่วัดนั้น แล้ว เจ้าอาวาส รู้ว่าพระองค์นี้ ที่มานั้น ติด ฆังฆาฆิเสส

    เพื่อนผมคนนั้น ก็เลยรู้ตัวเองว่า ผิด ฆังฆาทิเสส จริง ก็เลยดวงดีไป ได้ อยู่ ปริวาส ก่อน สึกออกไป

    เพื่อนคนนั้น โดนอยู่ ปริวาส ไป 4 เดือน คับ

    ตามวัน เวลาที่ปกปิดเอาไว้

    แต่ถือว่า โชคดีจริง ที่มีพระที่รู้จริง บอก
     
  16. silentbooza

    silentbooza สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +7
    ขอบคุณครับผมที่แนะนำ. แล้วถ้าวัดสายป่า นั้นพระไม่ถึง20รูปละครับจะทำอย่างไร
     
  17. silentbooza

    silentbooza สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +7
    แล้ววัดที่เพื่อนพี่เจอหลวงพ่อแล้วเค้าทักว่าติดสังฑาทิเสสยุนั้น วัดไหนจังหวัดอะไรครับ
     
  18. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ตามปรกติ วัดป่าสายหลวงปู่มั่น นั้น

    เวลาลงอุโบศก อุโบสถ พระปาติโมกข์ นั้น พระจากวันอื่นๆ ที่เป็นวัด สาขา หรือ วัด ที่มีหลาย สาขา หรือ วัด ที่อยู่ใน สาย ครูบาอาจารย์เดียวกัน นั้น จะมารวมกันครับ


    พอเสร็จ ก็แยกย้ายกันไป ปฏิบัติ ตามวัด หรือ สถานที่ต่างๆครับ


    แต่ถ้าถามว่าจะรุ้ได้อย่างไร ว่ามีพระครบ 20 รูปไหม ลองติดต่อสอบถามวัดนั้นๆ ดูครับ



    ถ้าเป็นวัด ทั่วๆไปนั้น ถ้าพระไม่ครบ 20 รูป จะนิมนต์ เพราะจากวัดอื่นๆ แถวๆนั้นให้มาร่วมครับ

    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ยุ่งยากมากมาย แถม มีค่าใช้จ่ายต่างๆอีก

    แถมข้อสำคัญ เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า พระที่มาร่วมน้น ศีลบริสุทธิ ครบทุกรูปไหม



    ดังนั้น เพื่อให้หมดปัญหา

    ควรไปหา วัด พระป่า สายหลวงปู่มั่น หลวงตามหาบัว หรือ องค์อื่นๆ ที่มี พระในวัด 20 รูปขึ้นไป ครับ

    จะเป็นการดีสุดครับ
     
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    เรื่องแบบนี้ บอกไม่ได้นะครับ


    เพราะ การที่ มีพระ ทำ ผิด สังฆาทิเสส นั้น

    มันทำให้เสียหายได้

    ถ้าพวกคนที่ จ้องหาเรื่อง จับผิด เดี่ยวจะกลายเป็นข่าว

    พระวัดนั้น ลูกศิษย์ บลาๆๆๆๆๆๆๆๆ ดัน มีพระ ทำผิด สังฆาทิเสส อยู่ แล้วปกปิดไว้

    สร้างความเสียหายใหญ่หลวง แถม มีพระที่ผิด สังฆาทิเสส ร่วมทำ สังฆกรรม อยู่ด้วยนั้น

    ทุก สังฆกรรม ที่ทำ ถือว่า เป็น โมฆะหมด

    แต่กระทั้งบวชพระ แต่ถ้ามีพระที่ผิด ฆังฆาทิเสส อยู่ แล้วปกปิดไว้ แล้วไปร่วมพิธี บวชพระ


    พระรูปนั้น ที่บวชพระ แต่ไม่ได้เป็นพระ

    ซวยหลายต่อ ซับซ้อน


    บวชพระ แต่ไมได้เป็นพระ ก็คือ ฆาราวาส ดีๆ นี้เอง

    แล้วดันไปใช้ ชีวิต ร่วมกับ หมู่พระสงฆ์ องค์ อื่นๆ อีก

    กลายเป็น อาบัติ ซ้อน อาบัติ ยุ่งไปหมด กรรมหนักเข้าไอีก


    ถ้ามารู้ทีหลัง ก็ต้อง เข้าโบสถ์ บวชใหม่ สถานเดียว


    มีเยอะแยะ ครับ บวชพระ แต่ไม่ได้เป็นพระ

    พระบางรูปนี้ ภาวนาไม่ขึ้น บางรูป บวชไป 2 3 ปี ก็ต้องกลับไป ทำพิธีใหม่ บวชพระใหม่ ก็มี

    ถ้าอยู่ใน วงการพระ ในๆ เรื่องแบบนี้ มีหลายเคส มาก แต่จะรู้กันในหมู่พระปฏิบัติ กรรมฐาน กัน

    ไม่เอามาพูดนอกๆ ให้ พวก โยมๆ ได้รู้กัน

    บางวัด นี่ หนักขนาด ไม่ได้เป็นพระ ทั้งวัด เลยก็มี ในวงกรรมฐาน จะรุ้ๆ กัน ว่าวัดไหนเป็นอย่างไร

    แต่ชาวบ้านไม่รู้กัน เห็นเป็นวัดไกล้บ้าน ก็ส่งลูกหลานไปบวช

    แต่หารู้ไม่ ทั้งวัด ไม่มีพระจริงๆ ที่บวชถูกต้องตามหลัก ศาสนา ของพระพุทธเจ้า เลย


    ดังนั้น จะบอกว่า เรื่อง ศาสนาพุทธ นี้ แรง กรรมหนัก ละครับ อย่าทำเป็น เล่นๆ ไป นะ
     
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    ถ้าคุณบวชสายมหานิกาย


    แล้วอยากเจอ พระของจริง ที่รู้จริง

    ผมขอแนะนำว่า ให้ไปวัด

    วัดท่าขนุน

    ต. ท่าขนุน อ. ทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรี


    ครับ


    (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ)




    ของจริง รู้จริงครับ





    แต่ วัดท่าขนุน ไม่มีแก้ ปริวาส ครับ



    แต่ถ้าจะไปแก้ ปริวาสนั้น ให้ไปที่นี่ครับ

    วัดชากสมอ จังหวัดชลบุรี


    ปริวาสกรรม


    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #998049; COLOR: #998049" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->ถาม : ที่วัดท่าขนุนเข้าปริวาสอีกเมื่อไร ?
    ตอบ : ไม่เคยจัดปริวาส เพราะว่าผู้ที่เข้าปริวาสจะต้องเป็นพระที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ขาดความเป็นพระไปแล้ว ไปรับโทษตามวันเวลาที่ปกปิดไว้และบวกอีก ๖ วัน หลังจากนั้นต้องให้พระอย่างน้อยอีก ๒๐ รูปขึ้นไป สวดคืนความเป็นสงฆ์ให้ ในแต่ละวันจะต้องไปสารภาพกับคนอื่นเขาว่า ตัวเองต้องอาบัติอะไรมา ขณะนี้เก็บไปได้แล้วกี่วัน กี่เดือน กี่ปี ถ้าไม่ได้เป็นก็เท่ากับว่าเราโกหกเขาอยู่ทุกวัน

    ถาม : อย่างนี้ถ้าใครไปทำกำหนัด ทำน้ำกามให้เคลื่อนนี่
    ตอบ : ไม่ต้องมาท่าขนุน..ไม่มี วัดท่าขนุนส่งไปที่ชากสมอหมด เพราะว่าเขี้ยวดี

    ถาม : ที่ไหนครับ ?
    ตอบ : วัดชากสมอ จังหวัดชลบุรี ที่นั่นเขาจัดเป็นการกุศล จัดทั้งปีทั้งชาติ ถ้าคุณไป..ก็ไปบอกเขาว่าตัวเองโดนมาเท่าไร แล้วก็นับวัน ถึงเวลาเขาก็นัดอาจารย์กรรมมาให้ แต่ว่าระยะหลังนี่เขาจัดเป็นชุด ๆ อาจจะ ๑๐ วัน หรือ ๑๕ วัน แล้วแต่วาระ ของเราถ้าหากยังไม่ครบ ก็อย่าเพิ่งเก็บมานัตต์ แล้วก็เข้าต่อเลย เพราะว่าถ้าเราไปเก็บมานัตต์ก่อน เขาเรียกว่า ไม่ใช่ มานัตตารหบุคคล คือ บุคคลที่สมควรแก่มานัตต์ ก็กลายเป็นผิดอีก กลายเป็นว่าที่ทำมานั้นศูนย์ ต้องมาเริ่มต้นนับใหม่

    คราวนี้มีพระที่วัดรูปหนึ่ง เขาบวชมาจากที่อื่นแล้วสึกไป เขาบอกว่าตอนที่เขาบวช เขาเคยโดนสังฆาทิเสส ก็เลยถามว่า "คุณโดนอยู่กี่วัน?" เขาบอกว่า "จำไม่ได้" "แล้วคุณบวชนานเท่าไหร่?" เขาบอกว่า "๗ เดือน" ซวยเลย..! เพราะถ้าหากไม่สามารถจำได้ เขาปรับเท่าระยะเวลาที่บวช

    จริง ๆ สุธันตปริวาส ท่านให้อำนาจคณะสงฆ์ในการกำหนดวัน ว่าจะลงโทษเท่าไร แต่ว่าคณะสงฆ์ปัจจุบันมักจะกำหนดว่า ๙ วัน ก็คือ ให้คลุมตัวมานัตต์ ๖ วันนั้นไป แต่จริง ๆ แล้วใช้ไม่ได้ เพราะว่าพระพุทธเจ้ากำหนดไว้ว่า ให้มากกว่าที่โดนไว้เสมอ อย่างเช่นว่าถ้าเราโดน ๓ เดือน ก็ให้กำหนดอย่างน้อย ๓ เดือนกับ ๑ วัน แต่นี่ประเภทโดนมากี่ปีก็ ๙ วัน แค่ฟังดูก็รู้ว่าไม่ยุติธรรม

    ระยะหลังมีความผิดเพี้ยนในเรื่องปริวาสมาก เพราะว่าพระที่ท่านจัด ถ้าหากญาติโยมไปทำบุญที่วัดเยอะ ก็เป็นรายได้ไป จึงมีการโฆษณาว่า ถ้าทำบุญกับพระที่เข้าปริวาสจะได้บุญมากเป็นพิเศษ ศีลไม่เท่าเขา...แล้วจะได้บุญมากพิเศษได้อย่างไร ? นี่ยังดี มีอยู่วัดหนึ่ง อย่าเอ่ยชื่อเลยนะ วัดนั้นโดนห้ามจัดปริวาสตลอดชีวิตเลย เพราะว่าเวลาจัดปริวาสแล้วเขามีเจ้าภาพจองซุ้ม บรรดาเจ้าภาพก็คือบรรดาสาวแก่แม่หม้าย ถ้าหากว่าชอบใจกัน ถึงเวลาก็สึกผูกข้อมือ เพื่อนพระก็สวดชยันโตให้ ลักษณะอย่างนั้นแสดงว่าต้องพูดจาตกลงกันก่อน ก็กลายเป็นเกี้ยวหญิง โดนอาบัติซ้ำซ้อน โดนแล้วโดนอีก ก็แปลว่านอกจากแก้ไม่ตกแล้ว ยังซ้ำหนักเข้าไปอีก คราวนี้เขาทำกันแบบโจ๋งครึ่มถึงขนาดมีการแย่งตัวกัน ท่านอาจจะหล่อถูกใจก็ได้ เรื่องก็เลยดัง มหาเถรสมาคมสั่งห้ามวัดนั้นจัดปริวาสตลอดชีวิต


    พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ถาม-ตอบ ช่วงเย็น ณ บ้านอนุสาวรีย์
    วันเสาร์ที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๓ <!-- / message --><!-- sig -->__________________
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...