การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 10 เมษายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอันเป็นผลจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนองค์ประกอบของบรรยากาศโลกโดยตรงหรือโดยอ้อมและที่เพิ่มเติมจากความแปรปรวนของสภาวะอากาศตามธรรมชาติที่สังเกตได้ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ฤดูกาล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศในบริเวณที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่

    เราเริ่มได้ยินการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบ่อยขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากสภาพภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล (fossil fuel) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา เป็นสาเหตุสำคัญที่ให้ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gas) ในบรรยากาศเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปราฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) หรือภาวะโลกร้อน (global warming)

    ภาวะโลกร้อนนี้มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากอุณหภูมิโดยรวมสูงขึ้น ทำให้ฤดูกาลต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ ก็จะค่อยๆ ตายลงและอาจสูญพันธุ์ไปในที่สุด สำหรับผลกระทบต่อมนุษย์นั้น อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้บางพื้นที่กลายเป็นทะเลทราย ประชาชนขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม บางพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักเนื่องจากฝนตกรุนแรงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกและบนยอดเขาสูงละลาย ทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้รับผลกระทบโดยตรง อาจทำให้บางพื้นที่จมหายไปอย่างถาวร ดังนั้น ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงเป็นปัญหาสำคัญที่มวลมนุษยชาติจะต้องร่วมมือกันป้องกัน และเสริมสร้างความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

    มารู้จักกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากผลการศึกษาต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะพิสูจน์ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นจริงหรือไม่ สถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะนี้ โลกเราเป็นอย่างไรแล้ว ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตและมวลมนุษยชาติทั้งในระดับโลก และผลกระทบที่สำคัญในประเทศไทย และปิดท้ายด้วยผลการศึกษาสิ่งที่ประเทศไทยควรเร่งดำเนินการเพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

    ความรู้พื้นฐาน

    ภูมิอากาศของโลกเกิดจากการไหลวนของพลังงานจากดวงอาทิตย์ พลังงานนี้ส่วนใหญ่เข้ามาสู่โลกในรูปแสงแดด ประมาณร้อยละ 30 ของพลังงานที่เดินทางมาสู่โลกได้ สะท้อนกลับไปสู่ห้วงอวกาศ แต่อีกร้อยละ 70 ได้ถูกดูดซับโดยผ่านชั้นบรรยากาศลงมาให้ความอบอุ่นกับพื้นผิวโลก

    โลกต้องส่งพลังงานเหล่านี้กลับสู่อวกาศในรูปของแสงอินฟราเรด เนื่องจากโลกมีบรรยากาศที่เย็นกว่าดวงอาทิตย์มาก จึงไม่สามารถส่งพลังงานในรูปแสงได้เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ แต่จะส่งกลับพลังงานในรูปของอินฟราเรดหรือรังสีความร้อน การที่โลกได้สะท้อนเอาความร้อนออกไปบ้างช่วยทำให้โลกไม่ร้อนจนเกินไปซึ่งคล้าย ๆ กับการที่เราดึงเอาถ่านร้อน ๆ ออกจากเตาก่อนที่เหล็กที่วางอยู่บนเตาจะร้อนจนแดงนั่นเอง


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    "ก๊าซเรือนกระจก" ในบรรยากาศเป็นสิ่งขวางกั้นแสงอินฟราเรดที่โลกสะท้อนกลับจากพื้นผิวสู่บรรยากาศได้เหมือนกับแสงสว่าง ดังนั้น พลังงานที่ส่งออกจากพื้นผิวของโลกจึงเป็นการส่งออกโดยกระแสลมและเมฆที่อยู่บนชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นไปด้วยก๊าซเรือนกระจก

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 width=560> <TBODY><TR> <TD>ปรากฏการณ์ที่ความร้อนถูกกักเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศนี้ เป็นที่รู้จักกันว่า "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (Greenhouse Effect) เนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาพที่เกิดขึ้นภายในเรือนกระจกที่ใช้สำหรับปลูกพืชในประเทศเขตหนาว โดยแสงแดดสามารถส่องผ่านให้ความอบอุ่นภายในเรือนกระจกได้ แต่กระจกสามารถสะท้อนไม่ให้ความร้อนออกไปจากเรือนกระจกได้ จึงสามารถคงอุณหภูมิภายในเรือนกระจกไม่ให้หนาวเย็นเหมือนภายนอกได้</TD> <TD width=10></TD> <TD vAlign=top>[​IMG] </TD> </TR> </TBODY></TABLE>
    หลังจากที่ได้รู้จักกับก๊าซเรือนกระจกกันแล้ว ลองมาดูหลักฐานทางวิทยาศาสตร์กันว่าก๊าซเรือนกระจกนี้เพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ และการเพิ่มขึ้นนี้ ทำให้การเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างไร เราแน่ใจเพียงใดว่าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงแล้วจริงๆ

    ก๊าซเรือนกระจกคืออะไร

    ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้คงที่ ซึ่งหากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ดังเช่นดาวเคราาะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะแล้ว จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด เนื่องจากก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

    มีก๊าซจำนวนมากที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน และถูกจัดอยู่ในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีทั้งก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือ ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน มีเทนและไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซี เป็นต้น แต่ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 6 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (anthropogenic greenhouse gas emission) เท่านั้น ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ สารซีเอฟซี (CFC หรือ Chlorofluorocarbon) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้ว

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 width=560> <TBODY><TR> <TD vAlign=top>[​IMG] </TD> <TD width=10></TD> <TD>กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ กำลังเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ (อาจยกเว้นไอน้ำ) การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติรวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การทำการเกษตรและการปศุสัตว์ปล่อยก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ปล่อยก๊าซโอโซน นอกจากนี้ กระบวนการแปรรูปอุตสาหกรรมปล่อยสารฮาโลคาร์บอน (CFCs, HFCs, PFCs) </TD> </TR> </TBODY></TABLE>
    การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกนั้น ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศมีความสามารถในการกักเก็บรังสีความร้อนได้มากขึ้น ผลที่ตามมาคือ อุณหภูมิเฉลี่ยของชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นด้วย แต่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกนั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดยังมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก (Global Warming Potential: GWP) ที่แตกต่างกัน ค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนนี้ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการแผ่รังสีความร้อนของโมเลกุล และขึ้นอยู่กับอายุของก๊าซนั้นๆ ในบรรยากาศ และจะคิดเทียบกับการแผ่รังสีความร้อนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น 20 ปี 50 ปี หรือ 100 ปี โดยค่า GWP ของก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ในช่วงเวลา 100 ปี ของก๊าซเรือนกระจกต่างๆ เป็นดังนี้

    <TABLE width=590><TBODY><TR> <TD bgColor=#ff9933 width=180>
    ก๊าซเรือนกระจก


    </TD> <TD bgColor=#ffcc33 height=50 width=130>
    อายุในชั้นบรรยากาศ (ปี)


    </TD> <TD bgColor=#5cd8c6 width=280>
    ศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

    (เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์)

    </TD> </TR> <TR> <TD bgColor=#ffb89f>คาร์บอนไดออกไซด์</TD><TD bgColor=#ffe89f align=middle>200-450</TD><TD bgColor=#aeece2 align=middle>1</TD> </TR> <TR> <TD bgColor=#ffb89f>มีเทน</TD><TD bgColor=#ffe89f align=middle>9-15</TD><TD bgColor=#aeece2 align=middle>23</TD> </TR> <TR> <TD bgColor=#ffb89f>ไนตรัสออกไซด์</TD><TD bgColor=#ffe89f align=middle>120</TD><TD bgColor=#aeece2 align=middle>296</TD> </TR> <TR> <TD bgColor=#ffb89f>CFC-12</TD><TD bgColor=#ffe89f align=middle>100</TD><TD bgColor=#aeece2 align=middle>10,600</TD> </TR> <TR> <TD bgColor=#ffb89f>เตตระฟลูออโรมีเทน</TD><TD bgColor=#ffe89f align=middle>50,000</TD><TD bgColor=#aeece2 align=middle>5,700</TD> </TR> <TR> <TD bgColor=#ffb89f>ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์</TD><TD bgColor=#ffe89f align=middle>3,200</TD><TD bgColor=#aeece2 align=middle>22,000</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE border=0 width=350 background=../pics/banner350.gif align=center height=70><TBODY><TR><TD>
    บทเพลงแผ่เมตตา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=290 bgColor=#ffffff align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=1 width=280 bgColor=#dddddd align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#cccccc align=center height=22><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=center background=../pics/_top3.gif>
    บทเพลงแผ่เมตตา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><EMBED language=-1 height=69 type=audio/x-ms-wma width=280 src=http://www.dhammathai.org/radio/sound/Illimitable.wma bgcolor="CCCCCC" autoplay="true" cache="true" enablejavascript="true" controller="true" filename="" showcontrols="true" showstatusbar="true" rate="1" balance="0" currentposition="0" playcount="1" currentmarker="0" invokeurls="true" volume="0" mute="0" enabled="true" enablecontextmenu="0" audiostream="true" autosize="0" animationatstart="true" allowscan="true" allowchangedisplaysize="true" autorewind="1" baseurl="" bufferingtime="5" clicktoplay="false" cursortype="0" displaybackcolor="50" displayforecolor="16777215" displaymode="0" displaysize="4" enablepositioncontrols="-1" enablefullscreencontrols="0" enabletracker="-1" selectionstart="-1" selectionend="-1" sendopenstatechangeevents="-1" sendwarningevents="-1" senderrorevents="-1" sendplaystatechangeevents="-1" showaudiocontrols="-1" showpositioncontrols="-1" showtracker="-1" autostart="true" border="0"> </EMBED></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2008
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ก๊าซเรือนกระจกเปลี่ยนแปลงเพียงใด

    ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าร้อยละ 60 ในปี พ.ศ. 2534 มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดถึง 26.4 พันล้านตัน การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่าการเปลี่ยนแปลงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วง 10,000 ปีก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีไม่ถึงร้อยละ 10 และธรรมชาติสามารถปรับปรุงให้สมดุลกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ แต่ช่วงระยะเวลาเพียง 200 ปีที่ผ่านมาระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 และถึงแม้บางส่วนถูกดูดซับไปโดยมหาสมุทรและพืช ปริมาณก๊าซคาร์บอ นไดออกไซด์ก็ยังเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ในทุก ๆ 20 ปี

    การทำการเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข้าวในนาที่มีน้ำขังและการปศุสัตว์เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ปริมาณก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า นอกจากนี้ การฝังกลบขยะ การทำเหมืองถ่านหินและการผลิตก๊าซธรรมชาติก็ปล่อยก๊าซมีเทนเช่นกัน คาดกันว่าประมาณร้อยละ 15-20 ของก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นเกิดจากก๊าซมีเทน

    ในปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นนั้น ประมาณร้อยละ 20 เกิดจากการเพิ่มขึ้นของไนตรัสออกไซด์ CFCs และโอโซน ปริมาณก๊าซไนตรัสออกไซด์เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15 เนื่องจากการทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ส่วนสาร CFCs นั้นก็ได้เพิ่มขึ้นจนกระทั่งถูกควบคุมโดยพิธีสารมอนทรีออล

    <center>[​IMG]
    ที่มา: IPCC Third Assessment Report 2001</center>

    จากการศึกษาขององค์กรระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ได้ชี้ให้เห็นว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญในบรรยากาศ ทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) ได้เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาเพียง 200 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มปริมาณขึ้นจาก 280 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ในปีค.ศ. 1800 เพิ่มขึ้นเป็น 360 ppm ในปีค.ศ. 2000 เช่นเดียวกับก๊าซมีเทน ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวนับตั้งแต่ปีค.ศ. 1800 จาก 750 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb) เป็น 1,750 ppb ในปีค.ศ.2000 ส่วนก๊าซไนตรัสออกไซด์นั้นเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่มีการปฏิวัติการทำเกษตรกรรม แต่อัตราการเพิ่มขึ้นนั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับช่วงหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ความเข้มข้นของก๊าซไนตรัสออกไซด์เพิ่มขึ้นจาก 270 ppm ในราวปีค.ศ.1800 เป็น 310 ppm ในปีค.ศ.2000

    กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ได้ส่งผลให้ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกจะเพิ่มขึ้นต่อไป โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อาจเพิ่มขึ้นจากระดับ 300 ppm ในปัจจุบัน เป็น 600 ppm หรืออาจสูงถึง 900 ppm ภายใน 100 ปีข้างหน้า ในขณะที่ความเข้มข้นของก๊าซมีเทน อาจเพิ่มขึ้นจากระดับ 1,750 ppb ในปัจจุบัน เป็น 3,500 ppb ภายในปีค.ศ.2100

    <center>[​IMG] [​IMG]
    ที่มา: UNEP, Vital Climate Change Grphics, February 2005


    </center>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างไร

    ก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นทำให้ระบบภูมิอากาศของโลกต้องปรับตัวเพื่อรักษาความสมดุลของ "งบพลังงาน" ของโลก ในระยะยาว โลกต้องเพิ่มขีดความสามารถในการกำจัดพลังงานดวงอาทิตย์ เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกที่หนาแน่นขึ้นลดอัตราการส่งกลับพลังงานไปสู่อวกาศ ภูมิอากาศของโลกจึงปรับตัวเพื่อรักษาระดับความสมดุลระหว่างพลังงานที่เข้าและออกจากโลก

    การปรับตัวดังกล่าวรวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับ "สภาวะโลกร้อน" ของพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศล่างของโลก การเพิ่มความร้อนเป็นทางออกที่ง่ายที่สุดสำหรับสภาพภูมิอากาศในการปลดปล่อยพลังงานส่วนเกิน แต่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเพียงน้อยนิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นตามมาด้วย เช่น การปกคลุมของเมฆ กระแสทิศทางลม เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้บางอย่างเป็นการกระตุ้นให้มีผลกระทบต่อเนื่องและทำให้ร้อนมากขึ้น ในขณะที่อีกบางส่วนมีผลให้ร้อนน้อยลง

    ข้อมูลสถิติได้ชี้ให้เห็นว่าอุณหภูมิของโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2403 สูงขึ้น 0.3-0.6 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกบผลจากแบบจำลองที่คาดการณ์อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2453 ถึง พ.ศ. 2493 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนที่จะมีการปล่อยก๊าซเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกันระดับน้ำทะเลเฉลี่ยได้สูงขึ้นประมาณ 10-25 เซนติเมตร ระดับที่สูงขึ้นนี้สอดคล้องกับแบบจำลองที่พบว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้น 0.3-0.6 องศาเซลเซียสจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นระหว่าง 10-25 เซนติเมตร อย่างไรก็ดี เป็นที่ทราบดีว่าแบบจำลองไม่ได้ครอบคลุมปัจจัยทั้งหลายที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น ผลที่ใกล้เคียงกัน ก็ยังไม่ได้ยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น

    <center>[​IMG]
    ที่มา:IPCC Third Assessment Report 2001</center>

    จากการรวบรวมข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในช่วงศตวรรษที่ 20 เพิ่มสูงขึ้นกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วง 1,000 ปีที่ผ่านมา ประมาณ 1 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจดูเหมือนการเพิ่มขึ้นที่ไม่มากนัก แต่การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเพียงเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างมาก ซึ่งหากมองย้อนกลับไป 400,000 ปีก่อน จะพบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่หลายครั้ง โดยแต่ละครั้งอาจเปลี่ยนแปลงมากถึง 10-12 องศาเซลเซียส

    [​IMG]
    ที่มา:UNEP, Vital Climate Change Graphics, February 2005

    จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกนั้น มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ โดยความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น และความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิที่ลดลง แต่เป็นที่น่าสนใจว่าทุกครั้งที่อุณหภูมิสูงขึ้น สภาพอากาศอาจไร้เสถียรภาพของช่วงก่อนยุคน้ำแข็งและทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงอย่างมาก ซึ่งนักวิทยาศาตร์กำลังพิสูจน์ทฤษฎีนี้อยู่และยังไม่รู้ว่าอุณหภูมิดังกล่าวอยู่ระดับใด

    [​IMG]
    ที่มา:UNEP, Vital Climate Change Graphics, February 2005

    แบบจำลองสภาพภูมิอากาศมีการคาดการณ์กันว่าหากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังเป็นเช่นปัจจุบัน อุณหภูมิโลกเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 องศาเซลเซียส (3.6 องศาฟาเรนไฮด์) ในปีพ.ศ. 2643 (เนื่องจากผลจากแบบจำลองยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง ค่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นจึงคาดว่าอยู่ในระหว่าง 1 ถึง 3.5 องศาเซลเซียส) การคาดการณ์นี้คำนึงถึงผลของก๊าซแอโรโซลและผลของความเฉื่อยของมหาสมุทรเอาไว้แล้ว ผลของความเฉื่อยจากมหาสมุทรหมายความว่าพื้นผิวโลกและบรรยากาศระดับล่างจะยังคงร้อนต่อไปประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส ถึงแม้ว่าปริมาณการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกจะหยุดลงในปี พ.ศ. 2643 ดังนั้น ถึงแม้จะมีการบดการปล่อยก๊าซลงและระดับก๊าซในบรรยากาศจะไม่เพิ่มขึ้นก็ตาม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยังคงเกิดขึ้นต่อไปอีกระยะหนึ่ง ดังนั้น ผลกระทบที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น อาจเกิดขึ้นนานกว่าที่เราคาดเดาได้

    ความจริงแล้ว ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีตโดยเฉพาะที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อร้อยกว่าปีก่อนก็ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันแล้ว ถึงแม้ว่าการชี้ถึงผลกระทบที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกจะเป็นไปได้อย่างยากยิ่งก็ตาม แนวโน้มของอุณหภูมิในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมาก็แสดงความสอดคล้องกับแนวโน้มของการเกิดสภาวะโลกร้อนที่คาดการณ์โดยแบบจำลองแนวโน้มเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียว นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า "จากปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยรวมแสดงให้เห็นว่าการกระทำของมนุษย์มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศโลก"

    <table border="0" cellspacing="0" width="560"> <tbody><tr> <td> สภาพภูมิอากาศของโลกได้ปรับตัวตามการเพิ่มของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาแล้ว และคงจะปรับตัวต่อไปตามปริมาณการเพิ่มของก๊าซเรือนกระจกในอนาคต แต่ประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก็คือการปรับตัวเป็นอย่างไร ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีมากเพียงไร ประชาคมโลกจะปรับตัวอย่างไร

    </td> <td width="10"> </td> <td valign="top">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    ถึงแม้นักวิทยาศาสตร์จะเชื่อว่าสภาพภูมิอากาศได้เริ่มเปลี่ยนแปลงตามปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่สมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรม การวิเคราะห์ขนาดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวยังไม่ชัดเจน ส่วนหนึ่งเนื่องจากข้อมูลในอดีตมีไม่เพียงพอและอีกส่วนหนึ่งก็เนื่องจากขีดความสามารถของแบบจำลองเอง นอกจากนี้ การจะกำหนดภาพจำลอง (Scenarios) ของสภาพภูมิอากาศที่มีการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกตามธรรมชาติก็ไม่อาจทำได้ (นอกจากจะสมมุติให้ปริมาณก๊าซคงที่) ดังนั้นการคาดการณ์ผลของก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นต่อขนาดและอัตราการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ผ่านมาจึงยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก

    เราแน่ใจเพียงใดว่าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

    รายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change) ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมีปรากฏการณ์หลายประการแสดงให้เห็นว่าในระยะหลังนี้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคุกคามต่อการดำรงชีพของมนุษย์ แต่ไม่มีใครแน่ใจว่าผลกระทบในอนาคตจะเป็นอย่างไร มีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน คาดว่าการตอบสนองต่อการคุกคามนี้จะมีความซับซ้อนและยุ่งยากเป็นอย่างยิ่ง

    อย่างไรก็ดี ในขณะที่ประชาคมโลกส่วนใหญ่หวั่นวิตกว่าผลกระทบจะมีความรุนแรงมหาศาล แต่บางคนยังถกเถียงว่านักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่บุคคลเหล่านั้นกังวลว่าจะเกิดขึ้นนั้นจะมีจริง นอกจากนั้น ยังไม่มีความชัดเจนว่าภูมิภาคใดของโลกจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ถึงแม้การคาดการณ์ต่าง ๆ ยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่หากมวลมนุษย์ในโลกยังรอให้ผลกระทบเกิดขึ้นอย่างชัดเจนแล้ว อาจจะสายเกินไปในการดำเนินการตอบสนอง เราควรจะทำอย่างไรดีกับกรณีเช่นนี้

    ในวงการนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่นั้น ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นปัญหาสำคัญหรือไม่ แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร ผลกระทบจะเป็นอย่างไร และจะติดตามผลกระทบเหล่านั้นได้ดีที่สุดอย่างไร แบบจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออื่น ๆ ที่สามารถจำลองความซับซ้อนของระบบภูมิอากาศของโลกยังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนปราศจากความคลุมเครือได้ อย่างไรก็ดี ในขณะที่คำถามว่า เมื่อไร ที่ไหน และอย่างไรยังมีความไม่แน่นอน ภาพรวมที่ได้จากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศทั้งหลายชี้ให้เห็นสิ่งที่มนุษยชาติต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เช่น

    • คาดการณ์ว่าสภาพฝนในภูมิภาคจะเปลี่ยนแปลง วงจรการระเหยของน้ำในระดับโลกจะเร็วขึ้น หมายความว่าจะมีฝนตกมากขึ้น แต่ฝนก็จะระเหยเร็วขึ้น ทำให้ดินแห้งแล้งมากขึ้นในช่วงสำคัญของฤดูปลูกพืช สภาวะแห้งแล้งใหม่หรือที่แห้งแล้งเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในประเทศยากจน จะทำให้ปริมาณน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคน้อยลงส่งผลเสียต่อสุขอนามัยประชาชน เนื่องจากภาพจำลองระดับภูมิภาคยังมีความไม่แน่นอนสูง นักวิทยาศาสตร์จึงยังไม่สามารถประเมินความเสี่ยงต่อปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นหรือน้อยลงในระดับภูมิภาคได้ อย่างไรก็ดี ในระดับโลกการขยายตัวของประชากรและเศรษฐกิจสังคมได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำอยู่แล้ว อันตรายของปัญหาทรัพยากรน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
    • สภาพภูมิอากาศและเขตพื้นที่ทำการเกษตรอาจเคลื่อนย้ายไปยังขั้วโลก หากโลกร้อนขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส ความแห้งแล้งในฤดูแล้งที่เพิ่มขึ้นจะลดผลผลิตต่อไรของพืชในแถบอบอุ่น โอกาสที่พื้นที่การเกษตรที่สำคัญบางพื้นที่ (เช่น พื้นที่ราบลุ่มในอเมริกา) จะได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งมากขึ้น เขตภูมิอากาศและเขตเกษตรในภูมิภาคที่เป็นเขตอบอุ่นจะเคลื่อนย้ายไปในทิศทางสู่ขั้วโลกเป็นระยะทางระหว่าง 150-550 กิโลเมตร ดังนั้น พื้นที่เกษตรที่อยู่ระหว่างรอยต่อของเขตอบอุ่นกับขั้วโลก ภาคเหนือของแคนนาดา สแกนดิเนเวีย รัสเซีย ญี่ปุ่นในเขตซีกโลกเหนือ และชิลีตอนใต้แลอาเจนตินาในเขตซีกโลกใต้ อาจได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ภูเขาน้ำแข็งละลายและการขยายตัวของน้ำทะเลอาจทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเป็นอันตรายต่อพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง <table border="0" cellspacing="0" width="550"> <tbody><tr> <td> โลกร้อนขึ้นจะทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีกระหว่าง 15-95 เซนติเมตร ภายในปี พ.ศ. 2643 (ระดับคาดการณ์ที่ดีที่สุดอยู่ที่ 50 เซนติเมตร) พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือพื้นที่ที่ไม่มีการป้องกัน พื้นที่ในบริเวณชายฝั่งของประเทศยากจนที่มีประชากรหนาแน่น เช่น บังคลาเทศ ซึ่งเป็นประเทศที่พื้นที่ชายฝั่งอยู่ในเขตอุทกภัยมีโอกาสจะได้รับผลกระทบดังกล่าวมาก ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นเกาะเล็กเกาะน้อย เช่น มัลดีฟ ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบดังกล่าวมากเช่นกัน </td> <td width="10"> </td> <td valign="top">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    ภาพจำลองเหล่านี้น่ากลัวพอที่จะเรียกร้องความสนใจและความห่วงใยจากมนุษยชาติ แต่ความไม่แน่นอนของภาพจำลองที่มีอยู่มากก็ทำให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ตัดสินใจได้ลำบากเช่นกัน ภาพที่ออกมาจากภาพจำลองนั้นวุ่นวายสับสนและบางครั้งไม่น่าเชื่อถือรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ มีปัญหาเฉพาะหน้าด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้แก้ไขมากมายอยู่แล้ว การตัดสินใจเชิงนโยบายในปัญหาระยะยาวนานกว่าปกติ ห่างไกลจากชีวิตประจำวันของประชาชนและท่ามกลางความไม่แน่นอนที่สูง จึงยากลำบากอย่างยิ่งรัฐบาลบางประเทศจึงไม่ได้ใส่ใจในปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังนัก
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สถานการณ์ปัจจุบัน

    สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเป็นปรากฏการณ์ที่ตรวจวัดได้จริงทั้งส่งผลชัดขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน แบบจำลองภูมิอากาศโลก (General Circulation Model) ที่ใช้ในการสร้างภาพเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสถาบันวิจัยนานาชาติหลายสถาบัน บ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ความแปรปรวนของหยาดน้ำฟ้า (precipitation) และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อันทำให้อุณหภูมิเฉลี่ย อุณหภูมิสูงสุด และต่ำสุดเพิ่มขึ้น จำนวนวันที่ร้อนจัด และคลื่นความร้อนเพิ่มขึ้น

    กว่าร้อยละ 98 ของนักวิทยาศาสตร์เห็นตรงกันว่า โลกของเราร้อนขึ้น เนื่องมาจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ สถานการณ์โลกร้อนนี้จะยิ่งแย่ลง หากไม่มีมาตรการที่จะควบคุมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    <table> <tbody><tr> <td width="200">[​IMG]</td> <td width="430">ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันนี้อุณหภูมิโลกสูงกว่าที่เคยเป็นเมื่อ 2000 ปีที่ผ่านมา ภูเขาน้ำแข็งทั่วโลกละลาย อัตราการละลายของภูเขาน้ำแข็งในแถบกรีนแลนด์สูงขึ้น เป็นผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ยังผลให้เกาะหลายๆ เกาะที่ตั้งอยู่ต่ำจมอยู่ใต้ทะเล แม้แต่ชายฝั่งตะวันออกของอังกฤษ และอเมริกาก็กำลังเผชิญกับผลกระทบนี้ </td> </tr> </tbody></table>
    คลื่นความร้อนที่หนักที่สุดในช่วงหน้าร้อนปี 2546 ได้คร่าชีวิตกว่า 20,000 ชีวิตในทวีปยุโรป ภัยแล้งและน้ำท่วม กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากภาวะที่โลกร้อนขึ้นมีผลต่อความสมดุลและวัฏจักรของน้ำของโลก ข้อมูลจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติ ชี้ว่าในศตวรรษที่ 21 นี้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 1.4 – 5.8 องศาเซลเซียส และระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 0.09 เมตร และอาจสูงถึง 0.88 เมตร การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลนี้ แม้ว่าจะอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดของการคาดการณ์ ก็มีส่วนทำให้เกิดน้ำท่วมเกาะต่างๆ สามารถทำลายแนวปะการัง และมีผลให้เกิดการละลายของภูเขาน้ำแข็งในแถบขั้วโลกเหนือและใต้ได้ ส่วนการเพิ่มของอุณหภูมิ และระดับน้ำทะเลในระดับที่สูงขึ้นนั้น จะนำมาซึ่งหายนะทั้งต่ออารยธรรมมนุษย์ และความหลากหลายทางชีววิทยาตามธรรมชาติ เมื่อไม่นานมานี้ งานศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าภาวะโลกร้อน สามารถทำให้เศษหนึ่งส่วนสี่ของสายพันธุ์สัตว์และพืชเกือบสูญพันธุ์ได้ก่อนปี 2050

    เขตที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอย่างมาก อยู่ในแถบป่าชื้นอเมซอน คอมพิวเตอร์จำลองสภาพของ UK-based Center แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน และฝนที่ตกน้อยลง ทำให้ป่าอเมซอนซึ่งเป็นเคยป่าชื้น เปลี่ยนสภาพเป็นป่าสวันนา และทะเลทราย

    เห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนี้ มีผลต่อสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแง่ต่างๆ เราควรตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาอันเกิดจากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบอย่างต่อเนื่อง หากชาติขาดความตระหนักและเตรียมการวางแผนรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ

    ผลกระทบระดับสากล

    ภัยแล้ง พายุฝนรุนแรง น้ำท่วม คลื่นความร้อน พืชผลการเกษตรเสียหาย การระบาดของโรคภัยต่างๆ ที่รุนแรงขึ้น เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของความเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งคาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้น และสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์ทุกชาติ

    บรรยากาศโลกและสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการร่วมกันมายาวนาน กระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ได้ แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมตั้งแต่ ค.ศ. 1750 เป็นต้นมา ทำให้มีการนำพลังงานฟอสซิล (fossil fuel) เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอนมาใช้ การใช้พลังงานเหล่านี้ทำให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ปริมาณก๊าซนี้เพิ่มขึ้นจาก 270 ppm (ส่วนในล้านส่วน) ในช่วงก่อน ค.ศ. 1750 เป็น 356 ppm ในปัจจุบัน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 2 เท่า (700 ppm) ภายใน ค.ศ. 2100

    ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ เช่นมีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีอยู่ในบรรยากาศโลกในปริมาณน้อย มีคุณสมบัติในการดูดกลืนพลังงานความร้อน จึงเรียกว่าก๊าซเรือนกระจก เมื่อก๊าซเหล่านี้มีปริมาณมากขึ้น บรรยากาศโลกจึงดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้เพิ่มขึ้น จากปกติที่ควรแผ่รังสีพลังงานความร้อนคืนกลับออกไปนอกบรรยากาศโลก ส่งผลให้สมดุลของพลังงานโลกเปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิโลกสูงขึ้น เกิดผลกระทบต่อเนื่องนานัปการ เช่น ฤดูกาลและปริมาณน้ำฝนเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเนื่องจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำทะเลขยายตัวเนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดพายุและภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น เป็นต้น

    <center> <table width="550"> <tbody><tr> <td colspan="2" height="19">
    ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ( IPCC, 2001 )
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#ff9933" height="33" width="270">
    ความเปลี่ยนแปลงช่วงศตวรรษที่ 21
    </td> <td bgcolor="#ffff33" width="280">
    ตัวอย่างของผลกระทบ
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#ffcc99" width="270">
    วันอากาศร้อนเพิ่มมากขึ้น กระแสคลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น ​
    </td> <td bgcolor="#ffff99" width="280">
    - ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงขึ้น
    - สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงเกิดความเครียดจากอากาศร้อน
    - พืชผลเสียหาย ​
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#ffcc99" width="270">
    เกิดเหตุการณ์รุนแรงด้านภูมิอากาศมากขึ้น ​
    </td> <td bgcolor="#ffff99" width="280">
    - น้ำท่วม ดินถล่ม
    - การกัดเซาะหน้าดิน
    - พืชผลเสียหาย​
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#ffcc99" width="270">
    พายุเขตร้อนทวีความรุนแรงขึ้น ​
    </td> <td bgcolor="#ffff99" width="280">
    - เพิ่มความเสี่ยงต่อคุณภาพชีวิต
    - เกิดโรคระบาด
    - พืชผลเสียหาย​
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#ffcc99" width="270">
    ภัยแล้งและน้ำท่วมรุนแรงขึ้น ​
    </td> <td bgcolor="#ffff99" width="280">
    - ผลิตผลการเกษตรลดลง
    - ศักยภาพด้านการผลิตไฟฟ้าและพลังงานลดลง​
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#ffcc99" width="270">
    ภูมิอากาศในฤดูมรสุมหน้าร้อนเขตเอเชียแปรปรวนมากขึ้น​
    </td> <td bgcolor="#ffff99" width="280">
    - เกิดอุทกภัยและภัยแล้งที่รุนแรงขึ้นในเขตเอเชียและเขตอบอุ่น​
    </td> </tr> </tbody></table> </center>
    การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการสืบเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศตามธรรมชาติ การเกษตรเพื่อผลิตอาหารของมนุษย์ สุขภาพอนามัย ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ความรุนแรงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แต่ละประเทศได้รับจะแตกต่างกันตามสภาพทางภูมิศาสตร์ และปัจจัยเกื้อหนุนอื่นๆ

    เนื่องจากภูมิอากาศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานของการคงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศย่อมส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรชีวภาพและการดำรงชีพของมนุษย์อย่างกว้างขวาง ตัวแปรของภูมิอากาศที่สำคัญคือ ปริมาณฝน อุณหภูมิ และปริมาณแสงแดด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือการเปลี่ยนแปลงปริมาณและความถี่ของตัวแปรดังกล่าว สาขาใดที่ผูกพันกับตัวแปรเหล่านี้มากก็ยิ่งมีโอกาสได้รับผลกระทบมาก ซึ่งได้แก่ <table><tbody><tr><td width="380"> พื้นที่ชายฝั่งทะเล
    สาขาเกษตร ซึ่งรวมทั้งกสิกรรมและปศุสัตว์
    ทรัพยากรน้ำ
    ทรัพยากรขีวภาพ และระบบนิเวศ
    สุขภาพของมนุษย์
    โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมและการย้ายถิ่นฐานของมนุษย์
    </td> <td width="250"> [​IMG]</td></tr></tbody></table>
     
  5. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    คุณ vanco<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_547406", true); </SCRIPT> มีข้อมูลที่ละเอียดมากเลย
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ

    ความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม จะถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็ว อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นระหว่าง 1.0-3.5 องศาเซลเซียสในอีก 100 ปีข้างหน้า จะทำให้เขตภูมิอากาศปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะพื้นที่ในเขตอบอุ่น องค์ประกอบและการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตตามพื้นที่ของระบบนิเวศธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขใหม่ ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การทำลายป่าและแรงกดดันต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ จะส่งผลกระทบต่อชนิดและการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ต่างๆ พันธุ์พืชและสัตว์ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันท่วงทีก็อาจสูญพันธุ์ ซึ่งเป็นการสูญเสียที่ไม่อาจกลับคืนมาได้ แนวโน้มของผลกระทบที่สำคัญ รวมถึง

    <table> <tbody><tr> <td width="425"> ป่าไม้ปรับตัวอย่างเชื่องช้าตามเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลง การสังเกตการณ์ การทดลองและแบบจำลองได้แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างถาวรเพียง 1.0 องศาเซลเซียสในศตวรรษที่ 21 จะมีผลต่อบทบาทและองค์ประกอบของป่าไม้ ภาพจำลองของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากแบบจำลองหนึ่ง ชี้ให้เห็นว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอาจมีผลกระทบที่สำคัญต่อองค์ประกอบของพันธู์ไม้ในป่าถึงหนึ่งในสามของโลก ป่าบางชนิดอาจสูญสลายในขณะที่พันธุ์ใหม่อาจเกิดขึ้น ทำให้มีระบบนิเวศใหม่ได้ แต่จะมีการคุกคามของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอาจรวมถึงศัตรูพืช และไฟป่าที่เพิ่มขึ้น

    </td> <td width="175">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table> ฤดูกาลเพาะปลูกของทุ่งหญ้าซึ่งเป็นแหล่งอาหารของปศุสัตว์และสัตว์ป่ามากกว่าร้อยละ 50 ของโลกอาจจะเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิและปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้นจะเปลี่ยนแปลงขอบเขตระหว่างทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ ป่าไม้และระบบนิเวศอื่น ในเขตร้อนชื้น การเปลี่ยนแปลงของการระเหยของน้ำอาจมีผลต่อผลผลิตพืชและจำนวนสัตว์ รวมทั้งสัดส่วนของพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์เป็นอย่างมาก

    <table><tbody><tr><td width="130">[​IMG] </td> <td width="470"> พื้นที่ชุ่มน้ำอาจลดลง พื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านี้เป็นแหล่งอาศัยและขยายพันธุ์ของพืชและสัตว์มากมาย นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งปรับปรุงคุณภาพน้ำ ควบคุมน้ำท่วมและสภาวะแห้งแล้ง การศึกษาในหลายประเทศชี้แนะว่าโลกร้อนขึ้นจะมีผลทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำลดน้อยลง เนื่องจากอัตราการระเหยที่เร็วขึ้น
    </td></tr></tbody></table>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พื้นที่ชายฝั่งทะเล

    ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยของโลกในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาได้เพิ่มสูงขึ้นระหว่าง 10-25 เซนติเมตร หลายฝ่ายเชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลนี้ มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในบรรยากาศชั้นล่างของโลกที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.3-0.6 องศาเซลเซียส มีการคาดการณ์ว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกอาจทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตรในปี พ.ศ.2643 นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในมหาสมุทรอาจส่งผลให้ระดับน้ำทะเลในท้องถิ่นหรือภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าหรือน้อยกว่าระดับเฉลี่ยของโลกได้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น คือ การขยายตัวของผิวน้ำทะเลเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น โดยมีการละลายของภูเขาน้ำแข็งในขั้วโลกเป็นตัวสนับสนุนด้วย

    <table> <tbody><tr> <td width="450">การเพิ่มขึ้นที่คาดการณ์นี้ มีอัตราสูงกว่าการเพิ่มขึ้นในร้อยปีที่ผ่านมา 2 ถึง 5 เท่า อัตรา ขนาดและทิศทางของการเปลี่ยนแปลงของน้ำทะเลจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการตอบสนองของลักษณะชายฝั่ง การเปลี่ยนแปลงของการไหลของน้ำทะเล ความแตกต่างของแนวคลื่นและความหนาแน่นของน้ำทะเลและการเคลื่อนย้ายตามแนวดิ่งของดิน ซึ่งลักษณะเหล่านี้ แตกต่างกันตามพื้นที่และภูมิภาค ความร้อนที่เพิ่มขึ้นนี้ จะพุ่งลึกลงไปในมหาสมุทร ทำให้ภูเขาน้ำแข็งละลายเรื่อยๆ ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นต่อไปอีกนานถึงแม้ว่าระดับอุณหภูมบนพื้นผิวจะไม่เปลี่ยนแปลง

    </td> <td align="center" width="150">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table> ผลกระทบต่อชายฝั่ง ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลกระทบในวงกว้าง อย่างไรก็ดี พื้นที่แต่ละแห่งมีโอกาสได้รับผลกระทบมากน้อยต่างกันออกไป ผลกระทบที่สำคัญ คือ

    <table border="0" cellspacing="20" width="640"><tbody><tr><td width="640">พื้นที่ในบริเวณชายฝั่งจะถูกน้ำท่วมและถูกกัดเซาะมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบบริเวณชายฝั่งของประเทศกำลังพัฒนาที่มีขีดความสามารถในการปรับตัวต่ำ แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว หากระดับการป้องกันยังเป็นอยู่เช่นในปัจจุบัน ก็อาจได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับบริเวณดังกล่าวคือ การสูญเสียที่ดินอันเนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีก 1 เมตร พื้นที่ชายฝั่งของประเทศต่างๆ จะสูญหายไป เช่น ประเทศอุรุกวัยจะหายไปร้อยละ 0.05 ประเทศอียิปต์ร้อยละ 1.0 ประเทศเนเธอร์แลนด์ร้อยละ 6.0 ประเทศบังคลาเทศร้อยละ 17.5 และบางประเทศในหมู่เกาะมาร์แชลอาจสูญเสียถึงร้อยละ 80

    สร้างความเสียหายต่อสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะสาขาเกษตรกรรม การประมงชายฝั่ง การท่องเที่ยว การประกันภัยพื้นที่ชายฝั่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้สาขาเหล่านี้ ปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปให้ได้มากที่สุด

    <table> <tbody><tr> <td width="450"> เกิดปัญหาด้านสุขภาพอนามัยและสุขภาพจิต โดยเฉพาะชุมชนที่ยากจนในประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องมีการโยกย้ายถิ่นฐาน

    ระบบนิเวศชายฝั่งที่มีคุณค่าจะมีความเสี่ยงสูง ป่าชายเลน หมู่ปะการังและหญ้าทะเล พื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ มีความล่อแหลมต่อการเปลี่ยนแปลงของความถี่และความรุนแรงของปริมาณฝนและพายุ ถึงแม้ปะการังซึ่งโดยทั่วไปเจริญเติบโตเร็วพอกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลก็อาจได้รับความเสียหายจากระดับอุณหภูมิของน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น

    ระบบนิเวศของมหาสมุทร อาจได้รับผลกระทบ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนอกจากจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้พื้นที่น้ำแข็งลดลง เกิดการรวมตัวแนวดิ่งของน้ำและคลื่น เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการหมุนเวียนของน้ำทะเลซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผลิตภาพของทรัพยากรชีวภาพ ธาตุอาหารและโครงสร้างของระบบนิเวศ บทบาทของสมุทรนิเวศ (Marine ecosystems) และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินี้ยังสามารถทำให้ทรัพยากรชีวภาพเคลื่อนย้ายระหว่างพื้นที่อีกด้วย
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผลกระทบต่อการเกษตร

    <table> <tbody><tr> <td width="400">ผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรมีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบางภูมิภาคจะป็นผลเสีย ในขณะที่บางภูมิภาคได้ประโยชน์ สภาวะความร้อนที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงของมรสุม ดินที่แห้งแล้งอาจทำให้ผลผลิตต่อไร่ในเขตร้อนชื้นตกต่ำ ในขณะที่ระยะเวลาการเพาะปลูกที่ยาวนานขึ้นในประเทศแคนาดาและยุโรปอาจทำให้ผลิตผลต่อไร่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี การคาดประมาณผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง การศึกษในระดับโลกชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มดังนี้

    </td> <td width="200">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellspacing="20" width="640"><tbody><tr><td width="640">เขตภูมิอากาศและเขตเกษตรมีแนวโน้มจะเคลื่อนย้ายไปในทิศทางสู่ขั้วโลก เนื่องจากระดับอุณหภูมิเฉลี่ยคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในแถบขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มากกว่าแถบศูนย์สูตร เขตภูมิอากาศปัจจุบันของพื้นที่ในเขตอบอุ่นจะเคลื่อนไปได้ไกล 150-550 กิโลเมตร การเคลื่อนย้ายของเขตภูมิอากาศจะมีผลต่อการผลิตพืชและสัตว์เป็นอย่างมาก

    การเปลี่ยนแปลงของสภาพฝนจะมีผลต่อความชุ่มชื้นในดิน ภายใต้ข้อสมมุติว่าอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มสูงขึ้น 1.0-3.5 องศาใน 100 ปีข้างหน้า แบบจำลองสภาพภูมิอากาศคาดการณ์ว่าปริมาณ ความถี่ และความเข้มข้นของการระเหยของน้ำและน้ำฝนจะเพิ่มสูงขึ้น ในบางภูมิภาคจะชุ่มชื้นมากขึ้นในขณะที่บางภูมิภาคจะแห้งแล้งมากขึ้น พื้นที่เสี่ยงต่อความแห้งแล้งอยู่แล้วจะได้รับผลกระทบที่ยาวนานมากขึ้น

    อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอาจเป็นประโยขน์ต่อการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของพืชบางชนิด และในขณะเดียวกันก็อาจส่งผลเสียต่อพืชบางชนิด โดยเฉพาะเมื่อประกอบกับการขาดแคลนน้ำ วัชพืชอาจแพร่กระจายจากเขตร้อนชื้นไปยังเขตอบอุ่น

    ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้น อาจช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของพืชได้ เนื่องจากโดยหลักการแล้ว การเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะกระตุ้นการสังเคราะห์แสงของพืชบางชนิด โดยเฉพาะในกลุ่มพืชที่เรียกว่า C3 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซทำให้การส่องทะลุของแสงแดดลดลง การใช้น้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น พืชกลุ่ม C3 เป็นพืชส่วนใหญ่ของโลกโดยเฉพาะในแถบที่หนาวเย็นและชุ่มชื้น และรวมถึงพืชที่เป็นข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ มันสำปะหลัง และมันฝรั่ง การตอบสนองของพืชกลุ่ม C4 จะมีไม่มากเหมือนกลุ่ม C3 กลุ่ม C4 คือพืชในเขตร้อนชื้น เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง ซึ่งมีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ การทดลองโดยสมมุติว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าชี้ให้เห็นว่า "ปุ๋ยคาร์บอนไดออกไซด์" สามารถเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยของพืช C3 อีกร้อยละ 30 ผลกระทบอาจเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ศัตรูพืช และความอุดมสมบูรณ์

    ผลผลิตต่อไร่ของหญ้าในทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์อาจได้รับผลกระทบด้วย ผลกระทบต่อทุ่งหญ้าอาจทำให้ต้นทุนในการทำปศุสัตว์เพิ่มสูงขึ้น

    ผลผลิตประมงของโลกอาจไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากโลกร้อนขึ้น ผลกระทบส่วนใหญ่จะเกิดในระดับประเทศหรือท้องถิ่นอาจมีแรงกดดันต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศที่ปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ

    <table> <tbody><tr> <td width="420"> ความเสี่ยงของความมั่นคงทางอาหารส่วนใหญ่เป็นระดับท้องถิ่นและประเทศ การศึกษาที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าการผลิตทางการเกษตรระดับโลกอาจอยู่ในระดับใกล้เคียงกับระดับปีฐาน (ปีพ.ศ.2533) ในอีก 100 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ดี ผลกระทบต่อภูมิภาคแตกต่างกันเป็นอย่างมาก บางภูมิภาคอาจได้รับผลผลิตที่ลดลงถึงแม้ว่าจะมีการปรับตัวแล้วก็ตาม

    กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ กลุ่มไร้ที่ทำกิน กลุ่มยากจนและกลุ่มที่โดดเดี่ยว การขาดความได้เปรียบทางการค้า โครงสร้างพื้นฐานที่อ่อนแอ การขาดการเข้าถึงเทคโนโลยีและข่าวสารและข้อขัดแยังทางการเมือง จะทำให้การปรับตัวของประชาชนต่อผลกระทบด้านการเกษตรที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นไปได้ยากลำบากมากขึ้น ประชาชนที่อยู่ภายใต้ความเสี่ยงนี้อาศัยอยู่ในแถบอัฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขตร้อนชื้นในอเมริกากลางและประเทศบางประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก

    </td> <td width="180">[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำ

    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ปริมาณและความถี่ของฝนเปลี่ยนแปลง จากการใช้แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศวิเคราะห์ภาพจำลองกรณีที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจากระดับปี พ.ศ. 2533 เป็นสองเท่า พบว่าปริมาณน้ำฝนของโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 แต่ปริมาณน้ำฝนจะแตกต่างกันตามภูมิภาค นอกจากนี้ ผลจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้ปริมาณน้ำท่าลดน้อยลงกว่าเดิม ประเด็นสำคัญในผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำอาจสรุปได้ดังนี้

    <table> <tbody><tr> <td width="360"> ถึงแม้จะมีฝนตกมากขึ้น แต่ก็จะมีการระเหยมากขึ้นเช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว การเร่งตัวของวงจรน้ำนี้จะทำให้มีน้ำฝนมากขึ้น แต่คำถามคือ น้ำฝนที่มากขึ้นนี้จะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ต้องการหรือไม่

    ปริมาณฝนตกจะมากขึ้นในบางพื้นที่และลดลงในบางพื้นที่ แบบจำลองสภาพภูมิอากาศยังไม่สามารถที่จะคาดการณ์ระดับภูมิภาคได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ วงจรของน้ำยังมีความซับซ้อนมาก เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝนอาจมีผลต่อปริมาณน้ำบนพื้นผิว การสะท้อนแสงและพืชพรรณธรรมชาติ ซึ่งมีผลต่อการระเหยของน้ำและการก่อตัวของเมฆและจะส่งผลกลับมายังปริมาณน้ำฝนอีก

    </td> <td align="right" valign="top" width="240">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellspacing="20" width="640"><tbody><tr><td width="640">ภูมิภาคใกล้ขั้วโลกเหนืออาจมีน้ำท่ามากขึ้นเนื่องจากฝนตกมากขึ้น แบบจำลองสภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่แสดงว่าในหน้าหนาวพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรมากจะมีน้ำมากขึ้น ในขณะที่พื้นที่อื่นจะลดลง แบบจำลองส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าความชื้นของดินและพื้นที่ปลูกธัญญพืชที่สำคัญบางแห่งในเขตอบอุ่นจะลดลง

    การคาดการณ์ผลกระทบในเขตร้อนชื้นกระทำได้ลำบาก แบบจำลองสภาพภูมิอากาศให้ผลต่างกันในเรื่องของความเข้มข้นและการกระจายของน้ำฝนในเขตร้อนชื้น ความซับซ้อนของระบบภูมิอากาศในเขตร้อนชื้นทำให้การคาดการณ์มีความไม่แน่นอนสูง การศึกษาเบื้องต้นในประเทศไทยพบว่า ผลไที่ได้ระหว่างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศมีความแตกต่างกันสูง จำเป็นต้องมีการปรับปรุงแบบจำลองในการคาดการณ์การเปลี่นแปลงสภาพภูมิอากาศให้เหมาะสมกับเขตร้อนชื้น เช่นประเทศไทย

    การเปลี่ยนแปลงของฝนจะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำที่จะนำมาใช้ได้ แบบจำลองหลายแบบจำลองชี้ให้เห็นว่าจะมีปริมาณขอฝนที่ตกมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำท่วมและมีปริมาณน้ำท่ามากขึ้น ในขณะที่การดูดซับของดินจะน้อยลง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอาจส่งผลกระทบต่อการกระจายของน้ำใต้ดินและน้ำผิวดินในภูมิภาคต่างๆ ด้วย

    <table> <tbody><tr> <td width="460"> สภาพภูมิอากาศมีความแห้งแล้งมากขึ้น ความอ่อนไหวของระบบอุทกวิทยาท้องถิ่นก็ยิ่งสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและปริมาณฝนเพียงไม่มากนักก็สามารถส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำท่าได้สูง พื้นที่แห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้งอาจมีความอ่อนไหวมากขึ้น อันเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนที่ลดลง รวมทั้งการระเหยของน้ำและการคายน้ำของพืชที่มากขึ้น

    ปริมาณน้ำฝนที่เปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบต่อการกักเก็บน้ำในอ่างเก็บน้ำและบ่อน้ำ การเปลี่นแปลงของพื้นผิวจะมีอิทธิพลต่อปริมาณน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลในระยะยาว เช่น การศึกษาเบื้องต้นของประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจทำให้ปริมาณน้ำท่าไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำลดน้อยลง และเมื่อคำนึงถึงความต้องการใช้น้ำเหนืออ่างที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแล้ว ปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

    </td> <td align="right" width="140">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table> การเปลี่นแปลงของน้ำท่าและการระเหยของน้ำจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังระบบนิเวศของธรรมชาติ ในระบบนิเวศน้ำจืดนั้น การเปลี่ยนแปลงในระดับของน้ำ อุณหภูมิของน้ำและความร้อนของน้ำมีผลต่อการอยู่รอดและการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด ส่วนการเปลี่ยนแปลงลักษณะการไหลของน้ำและปริมาณน้ำฝนจะส่งผลต่อคุณภาพของน้ำ (ธาตุอาหารและการละลายของออกซิเจน) และปริมาณน้ำในทะเลสาบและลำน้ำ

    แรงกดดันของปัญหาในด้านทรัพยากรน้ำที่มีมากขึ้น จะนำไปสู่ปัญหาความขัดแยังที่รุนแรงขึ้น เพราะสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงมีผลเชื่อมโยงไปถึงปริมาณน้ำ การจัดสรรน้ำและความสามารถในการผลิตอาหาร ปัญหาที่รุนแรงขึ้นจะเป็นสาเหตุสำคัญให้ความตึงเครียดทางเศรษฐกิจและการเมืองมีมากขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคที่มีทรัพยากรน้ำจำกัด

    ทางเลือกในการปรับตัวต่อความเสี่ยงในเรื่องทรัพยากรน้ำมีไม่มากนัก แต่แนวทางที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยลดปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในระยะยาว คือ

    การปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรน้ำ
    การพัฒนาแหล่งน้ำใหม่และการจัดการแหล่งน้ำมี่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
    การใช้กฎระเบียบและเทคโนโลยีในการควบคุมที่ดินและน้ำโดยตรง
    การสร้างแรงจูงใจและการเก็บภาษีที่มีผลต่ออุปนิสัยการใช้น้ำโดยตรง
    การก่อสร้งแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำเพื่อเพิ่มอุปทานน้ำ
    การปรับปรุงระบบการจัดการน้ำ
    การดำเนินงานด้านสถาบัน
    มาตรการปรับตัวอื่นๆ อาจรวมถึงการปกป้องพืชพรรณธรรมชาติ
    การฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองให้เป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติและการลดมลพิษทางน้ำ
    การปรับปรุงระบบการเกษตรที่อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
    อื่นๆ
    </td></tr></tbody></table>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์

    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างกว้างขวางเนื่องจากสุขภาพขึ้นอยู่กับอาหารที่เพียงพอ น้ำดื่มที่สะอาด ที่อยู่อาศัย สภาพสังคมที่ดีและสิ่งแวดล้อมกับเงื่อนไขของสังคมที่เหมาะสมในการควบคุมเชื้อโรคติดต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถส่งผลกระทบต่อปัจจัยเหล่านี้ได้

    <table> <tbody><tr> <td width="400"> การเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศที่รุนแรงหรือบ่อยขึ้น เช่น คลื่นความร้อนอุทกภัย พายุ สภาวะแห้งแล้งจะเป็นภัยคุกคามและอาจก่อให้เกิดภัยถึงชีวิตและบาดเจ็บสภาวะขาดอาหาร การโยกย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ การระบาดของโรคและปัญหาสุขภาพจิต ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะยังไม่แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อความถี่ของพายุอย่างไร พวกเขาก็ได้คาดการณ์ว่าภูมิภาคบางแห่งจะเกิดอุทกภัยหรือสภาวะแห้งแล้งมากขึ้น นอกจากนั้น น้ำท่วมชายฝั่งก็อาจเลวร้ายลงเนื่องจากระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น

    </td> <td width="200">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellspacing="20" width="640"><tbody><tr><td width="640">คลื่นความร้อนเกี่ยวโยงกับโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ ความเจ็บป่วยและการสูญเสียชีวิตจากสาเหตุเหล่านี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูงอายุ สภาพอากาศที่ร้อนขึ้นและผันผวนมากขึ้นจะทำให้คุณภาพอากาศในเมืองหลายเมืองแย่ลง ในขณะเดียวกัน อากาศหนาวที่น้อยลงในพื้นที่เขตอบอุ่นอาจลดการสูญเสียชีวิตเนื่องจากความหนาวเย็นได้เช่นกัน

    เกิดผลกระทบต่อการกระจายของเชื้อโรค เมื่อโลกร้อนขึ้น พาหะนำเชื้อโรค เช่น ยุง หนู สามารถแพร่ขยายไปยังพื้นที่แถบเหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีการคาดประมาณว่าประมาณร้อยละ 45 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะต่อการแพร่กระจายของมาลาเรีย แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศชี้ให้เห็นว่าการแพร่ขยายของพื้นที่เสี่ยงต่อมาลาเรียเป็นไปได้สูง ทั้งตามแนวเส้นรุ้งและเส้นแวงการศึกษาโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อมาลาเรียในประเทศไทยก็แสดงแนวโน้มเช่นเดียวกัน

    ปริมาณน้ำจืดที่ลดลงอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การลดลงของปริมาณน้ำจืดทำให้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคลดน้อยลง ทำให้ประชาชนต้องใช้น้ำที่ไม่สะอาด เช่น จากแม่น้ำโดยตรง ซึ่งบ่อยครั้งพบว่ามีมลพิษมาก ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้เกิดการปัญหาการระบาดของโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารได้มากขึ้น

    ปัญหาความมั่งคงทางอาหารในพื้นที่ล่อแหลมจะมากขึ้น ปริมาณอาหารในท้องถิ่นที่ลดลงอาจส่งผลต่อทุพภิกขภัยและปัญหาการขาดสารอาหารซึ่งส่งกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก

    ประชาชนต้องปรับตัวเพื่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพน้อยที่สุด มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพหลายมาตรการ เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพในประเทศที่ปัญหาสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การกำหนดกลยุทธ์ในการปรับต้วรวมถึงการสอดส่องดูแลโรคระบาด โปรแกรมสุขอนามัย การเตรียมพร้อมด้านอุบัติภัย การปรับปรุงการควบคุมคุณภาพน้ำและมลพิษต่างๆ การศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนอุปนิสัยของมนุษย์ การฝึกอบรมบุคลากรด้านสาธารณสุขและการนำเอาเทคโนโลยีด้านการป้องกันมาใช้ เช่น การปรับปรุงที่อยู่อาศัย ระบบปรับอากาศ การทำน้ำให้สะอาดและการฉีดวัคซีน เป็นต้น

    อย่างไรก็ดี การคาดการณ์ผลกระทบเหล่านี้ ก็ยังคงใช้แบบจำลองสภาพภูมิอากาศและการประเมินผลกระทบก็มีความไม่แน่นอนหลายประการ นักวิจัยจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น แนวโน้มสภาวะด้านเศรษฐกิจและสังคมซึ่งจะมีผลกระทบต่อความล่อแหลมของประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมถึงสภาพทางธรรมชาติอื่นๆ ด้วย</td></tr></tbody></table>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์

    โครงสร้างพื้นฐานที่ล่อแหลมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม เครื่องจักร ระบบส่งพลังงาน ถนน ท่าเรือและสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งอื่นๆ ทรัพย์สินบ้านเรือนและธุรกิจ และเขื่อนตามชายฝั่ง

    <table> <tbody><tr> <td width="390"> การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง โดยเฉพาะพายุตามชายฝั่ง อุทกภัยและแผ่นดินถล่มที่เกิดจากฝนตกหนัก หิมะถล่ม พายุไซโคลนและเฮอริเคน หรือสภาวะแห้งแล้งที่เกิดจากไฟป่าสามารถทำลายโครงสร้างพื้นฐานหรือส่งผลเสียหายต่อการผลิต

    การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล พายุและน้ำท่วมทำให้ประชาชนต้องอพยพและส่งผลต่อเนื่องไปยังโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ที่ลึกเข้าไป ประเทศที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรตามชายฝั่งสูงและขาดระบบการป้องกันชายฝั่งที่ดี จะมีความล่อแหลมมากที่สุด

    </td> <td width="210">[​IMG] </td> </tr><tr> </tr></tbody></table> แนวทางในการปรับตัวอาจมีอยู่หลายแนวทาง เช่น การเลือกใช้กลยุทธ์ทางนโยบายที่ดีในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันผลกระทบ การคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการวางแผนหรือลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอานคต ทั้งนี รัฐบาลอาจจำเป็นต้องกำหนดกรอบนโยบายและกฎระเบียบเพื่อกระตุ้นการดำเนินการของเอกขนหรืออาจต้องแทรกแซงโดยตรงในการป้องกันโครงสร้างพื้นฐานที่มีความล่อแหลม
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผลกระทบในประเทศไทย

    ประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Non-Annex I คือไม่มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากเมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรม และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ แล้วประเทศไทยปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนที่น้อยมาก คิดเป็นร้อยละ 0.6 ของการปลดปล่อยก๊าซชนิดนี้จากทั่วทุกประเทศ อีกทั้งการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายหัวของไทย (per capita emission) มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก

    เป็นเรื่องน่ายินดีที่ประเทศไทยมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่น้อยมาก แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบที่ประเทศไทยได้รับจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้น้อยอย่างปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ไทยปลดปล่อย ทั้งนี้ก็เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นปรากฏการณ์ที่สร้างผลกระทบอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีสภาวะแวดล้อมและภูมิประเทศเป็นตัวกำหนดความรุนแรงของผลกระทบ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อประเทศไทย สามารถจำแนกเป็นหัวข้อหลักๆ ได้ดังนี้ ได้แก่ ระดับน้ำทะเล อุณหภูมิ สุขอนามัย ความหลากหลายทางชีวภาพ ความแห้งแล้ง น้ำท่วม


    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="800"><tbody><tr valign="top"><td colspan="5" bgcolor="#ffffff" valign="top" width="640"><table border="0" cellspacing="20" width="640"><tbody><tr><td width="640">ระดับน้ำทะเล

    การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกทำให้ระดับน้ำเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.09 – 0.88 เมตร มีผลต่อสภาวะคลื่นและการกัดเซาะชายฝั่ง ส่งผลต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นทั้งทรัพยากรชีวภาพที่สำคัญ และแหล่งประกอบอาชีพของชุมชนชายฝั่ง ผลผลิตทางการประมง และเกษตรกรรมบริเวณชายฝั่ง รวมไปถึงธุรกิจการท่องเที่ยวซึ่งมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และเศรษฐกิจของประเทศ

    <table> <tbody><tr> <td width="180">[​IMG]</td> <td width="420">การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในประเทศไทยมีการดำเนินการ และเผยแพร่เป็นเอกสารอ้างอิงได้ตั้งแต่ปี 2536 งานวิจัยเหล่านี้เป็นประเมินผลกระทบจากการเพิ่มของระ ดับน้ำทะเลโดยสมมติให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 0.5 – 1 เมตร </td> </tr> </tbody></table>
    จากการวิจัยพบว่าชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลมากกว่า ชายฝั่งอันดามัน บริเวณชายฝั่งที่ประสบปัญหารุนแรง คือ กรุงเทพมหานคร และบริเวณใกล้เคียงรวมถึงชายฝั่งจังหวัดระยอง จังหวัดเพชรบุรี ลงไปถึงนราธิวาส ชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง อยู่ในบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก และชายหาดหัวหิน ถูกกัดเซาะเข้าไปเป็นระยะทางหลายร้อยเมตร ชายฝั่งที่เป็นหน้าผาหินแข็งอย่าง บริเวณอ่าวพังงา จะถูกกัดเซาะได้ช้ากว่า ชายฝั่งที่เป็นหน้าผาหินเนื้ออ่อน เช่น บริเวณอ่าวระยอง ซึ่งถูกกัดเซาะจนร่นถอย และเสียพื้นที่อย่างรวดเร็ว

    บริเวณชะวากทะเล (Estuary) ที่อยู่ในเขตพื้นที่ต่ำ จะจมลงและถูกกัดเซาะมาขึ้น บริเวณปากแม่น้ำทั่วประเทศจะเกิดการผันแปรของน้ำขึ้นน้ำลง และมีการลุกล้ำของน้ำเค็มเข้าสู้ลำน้ำ เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ โดยเฉพาะประชากรปลา

    ในทะเลสาบน้ำเค็ม เช่น ทะเลสาบสงขลา หากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจากเดิม 0.5 เมตร จะส่งผลกระทบต่อระบบน้ำในทะเลสาบทั้งหมด โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำของทะเลสาบมีโอกาสเสี่ยงต่อน้ำท่วมรุนแรง และหากน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 1 เมตร น้ำเค็มจะรุกล้ำท่วมพื้นที่รอบทะเลสาบ ผลคือ พื้นที่ทะเลสาบจะเพิ่มขึ้น ลึกขึ้น และน้ำกร่อยจะรุกเข้าในระบบน้ำจืดของทะเลสาบ

    ระดับน้ำทะเล ที่สูงขึ้นในปัจจุบันเข้าท่วมบริเวณที่ลุ่มน้ำเค็มและป่าชายเลน ปกติแล้วพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลเหล่านี้จะสามารถเคลื่อนตัวเข้าหาแผ่นดินได้หากน้ำท่วมพื้นที่มากขึ้น แต่ปัจจุบันกลไกธรรมชาติดังกล่าวถูกจำกัดลงด้วยสิ่งก่อสร้างต่างๆ ของมนุษย์ที่ปิดกั้นแนวถอยร่นของป่า ส่งผลให้บริเวณที่ติดอยู่กับชายฝั่งทะเลของพื้นที่ดังกล่าวถูกน้ำทะเลท่วมขัง และกัดเซาะอย่างต่อเนื่อง กระทั่งสูญเสียสภาพทางนิเวศและกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม บริเวณที่ต้องให้ความสนใจและแก้ไขได้แก่ ป่าชายเลนของจังหวัดสมุทรสงคราม เพชรบุรี สุราษฏร์ธานี นครศรธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต จันทบุรี และตราด

    หมู่เกาะปะการังและเกาะสันดอนตามแนวชายฝั่งทะเล เป็นบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลค่อนข้างสูง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดของปะการังค่อนข้างซับซ้อน ปะการังในบางพื้นที่อาจได้รับประโยชน์จากระดับน้ำที่สูงขึ้น เนื่องจากความสูงของน้ำทำให้แสงส่องถึงท้องน้ำลดลง ปะการังจึงปรับตัวเข้าหาฝั่งมากขึ้นและต้องเร่งการเจริญเติบโตในแนวตั้ง เพื่อให้ได้รับแสงและเจริญเติบโตในต่อไป แต่ในบางพื้นที่อาจเกิดภาวะมลพิษจากการที่น้ำจืดพัดพาตะกอนชายฝั่งที่เกิดจากการกัดเซาะมารวมตัวกัน ซึ่งขัดขวางการเติบโตของปะการัง

    การเพิ่มของระดับน้ำทะเลเป็นสาเหตุนำไปสู่การเคลื่อนตัวของน้ำเค็มสู่แผ่นดิน ทำให้เกิดปัญหาน้ำจืดใต้ดินเค็ม ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ต้องพึ่งพาแหล่งน้ำจืดใต้ดิน เช่น กรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ พบว่าการสูบน้ำขึ้นมาใช้ของกรุงเทพมหานครยังทำให้ระดับน้ำทะเลสัมพัทธ์เพิ่มขึ้น อัตราการเพิ่มนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี

    นอกจากนี้ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นยังทำให้ ชุมชนชายฝั่งทะเลระบายน้ำเสียลงสู่ทะเลได้ยากขึ้นระบบบำบัดน้ำเสียอาจได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะและจมตัวของแผ่นดิน ในการผลิตเกลือสมุทรอาจพบปัญหาในระบบดันน้ำออกจากแปลงนาเกลือที่อยู่ต่ำกว่า ในขณะแปลงนาเกลือที่อยู่สูง ก็จะพบปัญหาการกัดเซาะและชายฝั่งจมตัว </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td background="images/bg_menu.jpg"> </td> <td colspan="5" align="center" bgcolor="#ffffff">
    </td></tr></tbody></table>อุณหภูมิ

    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยและอุณหภูมิสูงสุดในที่ต่างๆสูงขึ้น เป็นผลให้มีจำนวนวันที่อากาศร้อนเพิ่มขึ้น คลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น เกิดภัยพิบัติสืบเนื่องจากภูมิอากาศ เช่น พายุ น้ำท่วมอย่างรุนแรง มีผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์

    <table width="556"> <tbody><tr valign="top"> <td width="359"> นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังเป็นปัจจัยเสริมให้เกิด โดมความร้อน (Urban heat island) ที่รุนแรงขึ้นในเขตเมืองซึ่งมีสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อ การกักเก็บความร้อนอยู่แล้วอีกด้วย ปรากฏการณ์โดมความร้อนนี้ เป็นภาวะที่อุณหภูมิในเขตเมืองสูงกว่าเขตรอบนอก ในทุกช่วงเวลาทั้งกลางวัน กลางคืนและทุกฤดูกาล สามารถเกิดได้ในเมืองใหญ่ หรือเมืองที่มีประชากรเพียงประมาณ 10,000 คน</td> <td valign="top" width="185">[​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table>
    ปรากฏการณ์นี้เป็นที่รู้จักมากว่าร้อยปี และคาดว่าจำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบอาจมากถึงครึ่งหนึ่งของประชากรโลกภายในปลายศตวรรษนี้ การเพิ่มสูงของอุณหภูมิเฉลี่ยยังส่งผลให้เกิดความต้องการพลังงาน พลังงานไฟฟ้าเพื่อทำความเย็นสูงขึ้น ทำให้เกิดการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง ที่จะใช้ผลิตไฟฟ้า และอุปโภคบริโภค เพราะประเทศไทยอาศัยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำเป็นหลัก


    สุขอนามัย

    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยและอุณหภูมิสูงสุดในที่ต่างๆ สูงขึ้น เป็นผลให้มีจำนวนวันที่อากาศร้อนเพิ่มขึ้น คลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น เกิดภัยพิบัติสืบเนื่องจากภูมิอากาศ เช่น พายุ น้ำท่วมอย่างรุนแรง มีผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์

    <table width="580"> <tbody><tr> <td width="190">[​IMG]</td> <td width="10"> </td> <td width="380"> ในประเทศไทยปัญหาสาธารณสุข จะกลายเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเมื่อผนวกกับปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม การเกิดของโรคและอัตราชุกของโรคจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีปัจจัยทั้งสองดังกล่าวเป็นตัวสนับสนุน ซึ่งมีโอกาสทำให้ประชากรจำนวนมากมีปัญหาสุขภาพ
    </td> </tr> </tbody></table>
    ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสุขอนามัย แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

    ผลกระทบทางตรง

    1. อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปเป็นผลต่อความกดของอุณหภูมิ และความถี่ของการเกิดคลื่นความร้อน อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากมีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดความเจ็บป่วยและการตาย ในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ เด็กทารก และประชากรที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ และหลอดเลือดหัวใจ

    2. ความถี่ของการเกิดภาวะที่อากาศเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วมีความสัมพันธ์ต่อสถิติด้านสุขภาพ เช่น อัตราการเจ็บป่วย อัตราการตาย การบาดเจ็บ ทั้งยังทำให้เกิดภาวะเครียดจากการต้องย้ายถิ่นฐาน

    ผลกระทบทางอ้อม

    3. เกิดโรคติดเชื้อ เนื่องจากปัจจัยด้านสุขอนามัยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น สูญเสียประสิทธิภาพด้านการสุขาภิบาล ขาดแคลนน้ำสะอาด ขาดการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา เพราะรูปแบบและพื้นที่ในการระบาดเปลี่ยนแปลง โครงสร้างพื้นฐานของการบริการด้านสุขภาพในท้องถิ่นมีจำกัด คุณภาพชีวิตต่ำลงจากสภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรง เป็นต้น

    4. โรคที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะ เช่น โรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก หรือไข้เหลือง เปลี่ยนแปลงรูปแบบ และการแพร่กระจาย เนื่องจากพาหะของเชื้อมีความไวต่อการผันแปรของอุณหภูมิ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเร่งวงจรชีวิตของแมลงที่เป็นพาหะนำโรค ทำให้ระยะฟักตัวของเชื้อลดลง และการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้อุณหภูมิยังส่งผลต่อพฤติกรรมมนุษย์ในการสัมผัสเชื้อ ประเทศไทย ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการระบาดของโรคสองชนิดนี้

    5. ปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดการกระจายของน้ำผิวดิน และภาวะน้ำท่วม เพิ่มความเสี่ยงในการที่อาหารและน้ำจะปนเปื้อนเชื้อที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง โรคซัลโมเนลโลซิส (Salmonellosis) เป็นต้น ในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทยยังขาดการบริหารจัดการด้านสุขาภิบาลที่ดี

    6. เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณ คุณภาพ และรูปแบบผลิตภัณฑ์การเกษตร ปศุสัตว์ และการประมงอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ทำให้ผลผลิตตกต่ำ ดินเค็ม สารอาหารลดลง ส่งผลในระยะยาวต่อสุขภาพ ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารและความอดอยาก โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กของประเทศด้อยพัฒนา

    7. ภาวะจิตของประชากรที่ได้รับความกระทบกระเทือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ การต้องย้ายถิ่นฐาน และการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำสะอาด ส่งผลกระทบต่ออัตราการเกิดปัญหาสังคม ปัญหาทางโครงสร้างประชากร และความมั่นคงทางจิตใจของประชาชน

    8. เกิดโรคหอบหืด ภูมิแพ้ และโรคทางเดินหายใจจากสารพิษทางอากาศประเทศปฐมภูมิ เช่น สารคาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน และฝุ่นละอองที่เพิ่มมากขึ้นในเขตเมือง นอกจากนี้โรคทางเดินหายใจเหล่านี้ยังเกิดจากการก่อรูปของสารพิษทางอากาศประเภททุติยภูมิจำพวก photochemical oxidants ที่เพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิ และส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศโดยทำปฏิกิริยาทางเคมีกับชั้นบรรยากาศ

    นอกจากนี้อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังเร่งอันตรายจากมลภาวะทางอากาศในเมือง ซึ่งเป็นที่ที่เป็นโดมความร้อน (ความร้อนที่สะสมมากอยู่ในเขตเมือง) อยู่แล้วจากสิ่งก่อสร้างและการใช้พลังงาน ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัยในเมืองมากขึ้น ผลกระทบจากโดมความร้อนในเขตเมืองต่อสุขภาพแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

    <table width="580"> <tbody><tr> <td width="380"> 1. คลื่นความร้อน(Heat wave) อุณหภูมิอากาศที่สูงมากถือเป็นอันตรายที่สูงมากต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็ก และผู้สูงอายุ ในอดีตคลื่นความร้อนได้คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากในทวีปอเมริกา และยุโรป ส่วนในประเทศไทย อันตรายที่เกิดจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในหน้าร้อนจะเพิ่มขึ้นหากความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง เนื่องจากในสภาพบรรยากาศเช่นนี้ เหงื่อจะไม่สามารถระเหยและพาความร้อนออกจากร่างกายได้ ดังที่เรียกว่า “ ร้อนอบอ้าว ” ส่งผลให้ระบบเมตาบอลิซึมในร่างกายล้มเหลวเป็นอันตรายถึงชีวิต ในประเทศไทยคาดว่ามีผู้เสียชีวิตจากความร้อ นสูงเป็นจำนวนไม่น้อย แต่จากรายงานการเสียชีวิตจาก Heat Stroke ของไทยนั้นต่ำกว่าความเป็นจริงมาก เนื่องจากการเสียชีวิตด้วยเหตุนี้วินิจฉัยได้ยาก กอปรกับประชาชนขาดการตระหนักถึงภาวะดังกล่าว และในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการวิจัยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่ออัตราการตายด้วยความร้อน </td> <td width="10"> </td> <td width="190">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    2. มลพิษทางอากาศ ความร้อนที่สูงขึ้น สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างก๊าซพิษต่างๆ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ จะเพิ่มขึ้นตามระดับอุณหภูมิ ทำให้เกิดหมอกควันและโอโซน ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยตรง กล่าวคือทำให้เกิดอาการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจและเยื่อบุตา ในระยะยาวอาจก่อให้เกิดโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจและระบบหายใจล้มเหลวได้

    พายุอันเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอีกด้วย พายุในประเทศไทยส่วนใหญ่มักมาพร้อมกับน้ำท่วมอย่างฉับพลัน ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตของประชากรต่ำลงอย่างมาก ประชากรอาจเสียชีวิตจากการจมน้ำ ไฟฟ้าดูด หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับข้องกับน้ำท่วมขัง เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคฉี่หนู (Leptospirosis) โรคตาแดง การถูกสัตว์มีพิษต่อย การแพร่ระบาดของโรคอุจจาระร่วงซึ่งเป็นผลจากการที่แหล่งน้ำดื่มถูกปนเปื้อนเช่นเดียวกับพายุ ความแห้งแล้งก็ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเช่นกัน ภาวะขาดแคลนน้ำผนวกกับอากาศที่ร้อนจัดทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคที่นำโดยน้ำและอาหาร ได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง หรืออหิวาตกโรค อากาศที่แห้งแล้งยังมีผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เกิดสภาวะขาดแคลนอาหารอันนำไปสู่โรคขาดสารอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรเด็ก ประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาผลกระทบของภัยแล้งที่มีต่อสุขภาพ ทำให้บางครั้งไม่สามารถระบุได้ว่าปัญหาสุขภาพที่พบ เป็นผลจากความแห้งแล้งหรือไม่

    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับผลกระทบที่เกิดจากสาเหตุอื่น อาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพอนามัยเพิ่มขึ้น หากไม่มีมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ


    ความหลากหลายทางชีวภาพ

    ภูมิภาคอินโด-พม่า (Indo-Burma) ซึ่งรวมถึงประเทศไทยจัดอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง หรือพื้นที่วิกฤต (hot spot) ต่อการสูญเสียทรัพยากรชีวภาพ เนื่องจากมีความหลากหลายของทรัพยากรมาก แต่ได้รับการดูแลต่ำที่สุด ซึ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถานการณ์การสูญเสียทรัพยากรชีวภาพจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

    มีความเป็นไปได้สูงที่สัตว์และพืชหลายๆ สายพันธุ์ในประเทศไทยจะลดลง และสูญพันธุ์ไป เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการกระจายของแหล่งที่อยู่ เนื่องจากพืชและสัตว์จะรับสัญญาณจากภูมิอากาศในการเปลี่ยนแปลงวงจรชีวิตให้สมบูรณ์ สามารถสืบทอดขยายพันธุ์ต่อไปได้ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นและปริมาณน้ำฝนที่เปลี่ยนแปลงไป มีผลให้สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ รวมถึงป่าไม้ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในภาวะที่โลกร้อนขึ้น มีการปรากฏการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิดในบริเวณพื้นที่ยอดเขา 2-3 แห่ง ที่ไม่สามารถอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ในเขตที่สูงขึ้น หรือปรับตัวให้เข้ากับอากาศที่อุ่นขึ้นได้ ทำให้ผลผลิตจากป่าลดลง สูญเสียแหล่งพันธุกรรม ซึ่งเป็นทรัพยากรอันมีค่ายิ่งของประเทศ

    <table> <tbody><tr> <td width="198">[​IMG]</td> <td width="390">การเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อระดับน้ำในแหล่งน้ำ มีผลทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ในบริเวณที่ระดับน้ำลดต่ำ พื้นที่ชายฝั่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะในบริเวณที่เป็นแอ่งเก็บน้ำหรือทะเลสาบน้ำตื้น พืชน้ำและพืชชุ่มน้ำโดยรอบจะลดลง ส่งผลกระทบต่อการย้ายถิ่นที่อยู่ของสัตว์น้ำ และการลดลงหรือหายไปของพืช เกิดความเสื่อมถอยด้านการผลิตชีวมวล หรือแม้แต่การสูญพันธุ์ของปลา และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ต้องพึ่งพิงลักษณะเฉพาะทางนิเวศริมฝั่งน้ำ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำใต้ดินที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำ ( throughflow) </td> </tr> </tbody></table>
    อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็สามารถกระทบต่อการสูญเสียทรัพยากรชีวภาพได้เช่นกัน แม้ระดับน้ำจะคงเดิมก็ตามอุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มขึ้น และการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกซึ่งส่งผลกระทบให้องค์ประกอบทางเคมีของน้ำทะเลมีการเปลี่ยนแปลง เป็นผลให้สัตว์ทะเลบางชนิดไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพของน้ำที่เปลี่ยนไป มีการแพร่กระจาย และขยายพันธุ์ โรคของสัตว์น้ำบางชนิดให้รุนแรงขึ้นจนทำให้สัตว์ทะเลบางชนิดมีจำนวนลดลงหรือสูญพันธุ์ไป

    ปริมาณน้ำ และอาณาเขตของแหล่งน้ำที่ลดลง ส่งผลให้ความเข้มข้นของธาตุอาหารในน้ำ เช่น ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ทำให้แหล่งน้ำกลายเป็น Eutrophication หรือแหล่งสะสมธาตุที่กระตุ้นให้สาหร่ายและวัชพืชน้ำเจริญในปริมาณมาก มีผลทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำชนิดอื่นๆ ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง คุณภาพของแหล่งน้ำลดลง ก่อเกิดปัญหาสุขอนามัยต่อชุมชนที่ต้องพึ่งพาแหล่งน้ำนั้นๆ

    บริเวณที่ฝนตกหนัก สารมลภาวะที่เป็นกรดในอากาศจะถูกชะล้างลงแหล่งน้ำมากขึ้น ความเป็นกรดนี้ก็มีส่วนทำลายความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเช่นกัน

    การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพทำได้โดยวางแปลงถาวร (Permanent Mountain Line Transect) ตามแนวเทือกเขาผ่านความสูงจากระดับน้ำทะเลต่างๆ หรือวางแปลงถาวรแนวตามเหนือใต้ผ่านระบบนิเวศต่างๆ แล้วติดตามความหลากหลาย ประชากร การแพร่กระจาย พร้อมทั้งตรวจสภาพภูมิอากาศควบคู่กันไป โดยเน้นที่ป่าสนและป่าร้อนชื้น เพราะคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมาก โดยเฉพาะป่าร้อนชื้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการใช้ที่ดินผิดวิธี และการทำลายป่า รวมทั้งมีจำนวนประชากรที่หนาแน่น


    ความแห้งแล้ง

    ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ทรัพยากรน้ำจึงถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ปัญหาทรัพยากรน้ำอันดับต้นๆ ของไทยที่สำคัญคือ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ และสภาวะแห้งแล้ง ในประเทศไทย

    <table> <tbody><tr> <td valign="top" width="180">[​IMG]</td> <td width="420"> ภาวะแห้งแล้งขาดน้ำ จะเกิดขึ้นในหน้าแล้งและหน้าร้อน มีสาเหตุมาจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ทำให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้ง ไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน ซึ่งปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานนี้ก็เกิดเป็นผลต่อเนื่องมาจากสภาวะที่โลกร้อนขึ้น

    ปริมาณน้ำในโลกลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 21-31 ต่อปี สืบเนื่องจากความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกที่มีมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณรังสีดวงอาทิตย์ </td> </tr> </tbody></table> บริเวณผิวโลกสูงขึ้น ปริมาณน้ำในโลกลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 21-31 ต่อปี สืบเนื่องจากความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกที่มีมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณรังสีดวงอาทิตย์บริเวณผิวโลกสูงขึ้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิบริเวณผิวโลกนี้ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนและการระเหยของน้ำมีการเปลี่ยนแปลงไป ปริมาณน้ำในลำธารและน้ำใต้ดินลดลงเนื่องจากระเหยแห้งไปกับความร้อนที่สูงขึ้นหมด ทำให้ปริมาณฝนตกน้อยลงหรือทิ้งช่วงเป็นเวลานาน เกิดภาวะแห้งแล้งขึ้น

    สภาวะแห้งแล้งนี้มีผลกระทบต่อการทำเกษตรของไทยอย่างยิ่ง การปลูกพืชเศรษฐกิจของไทยที่มีปัญหาอยู่เสมอ เช่น พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดมีจำกัด ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ต่ำเนื่องจากความแปรปรวนของน้ำฝนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัญหาปริมาณน้ำฝนที่ไม่สม่ำเสมอก็ยังมีผลกระทบต่อการทำไร่อ้อยด้วย

    ในปี 2534 ประเทศไทยเกิดปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วง พร้อมกับอากาศร้อนและแห้งแล้งตามด้วยความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงติดต่อกันยาวนานในภาคเหนือ เกิดการระบาดของโรคไหม้ของต้นข้าวระยะคอรวง (neck blast) ในข้าวพันธุ์ กข 6 อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการระบาดของโรคดังกล่าว ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

    ล่าสุดในปี 2547 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและตอนล่าง ฤดูฝนสิ้นสุดเร็วมาก ตั้งแต่เดือนกันยายนทำให้ข้าวขาดน้ำในการสร้างเมล็ดจึงทำให้คุณภาพของข้าวสารและการสีลดลง

    นอกจากความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นปัญหาต่อการเกษตรแล้ว ยังมีผลต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนอีกด้วย รายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภาวะแห้งแล้ง ได้อธิบายอยู่ในหัวข้อสุขอนามัย


    น้ำท่วม

    แบบจำลองสภาพภูมิอากาศจากหลายๆประเทศ ชี้ว่าภายในปี 2100 เหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรง จะเกิดเพิ่มขึ้นหลายเท่าจากแต่ก่อน โดยมีโอกาสเกิด 3-6 ครั้ง ในช่วง 100 ปี ต่างจากสมัยก่อนที่เกิดเพียง 1 ครั้งต่อ 100 ปี เขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มที่จะเกิดฝนตกหนัก และน้ำท่วมบ่อยครั้งขึ้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกที่ร้อน ทำให้มีการละลายของภูเขาน้ำแข็งแถบขั้วโลกที่เพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำ และทะเลเพิ่มขึ้นตามลำดับ

    <table width="581"> <tbody><tr> <td width="190">[​IMG]</td> <td width="379">ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ชุมชนของไทยมักจะประสบกับปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเกิดในเขตชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย โดยเฉพาะแถบชายฝั่งด้านตะวันออก และทางใต้ของประเทศซึ่งตั้งอยู่ใกล้มหาสมุทร ในเขตเมืองใหญ่อย่าง กรุงเทพมหานคร หาดใหญ่ และเชียงใหม่ก็ประสบปัญหาน้ำท่วมเช่นกัน โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน ทั้งนี้ก็เนื่องจากปริมาณน้ำมีมากกว่าที่กักเก็บ และระบบระบายน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพพอ</td> </tr> </tbody></table>
    ผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วม นำความเสียหายอย่างมหาศาลมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินขึ้น น้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ได้ทำลายสิ่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทาง สิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นต้น ทำลายพืชผลทางการเกษตร ชะล้างหน้าดินทำให้ดินเสื่อมสภาพ เกิดการปนเปื้อนของน้ำ และคร่าชีวิตประชาชนจำนวนมาก

    นอกจากนี้ปัญหาน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ยังส่งผลต่อการแพร่ของโรคระบาดทั้งในมนุษย์ พืชและสัตว์ และมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในการเกษตร ประชาชนต้องสูญเสียที่ทำกิน ต้องอพยพย้ายถิ่น ผลผลิตระดับท้องถิ่นและระดับประเทศลดลง มีผลให้ประชาชนเกิดวิกฤตทางอารมณ์ซึ่งมีผลต่อการก่ออาชญากรรมที่สูงขึ้น

    ประเทศไทยยังมีความอ่อนไหวต่อสภาวะน้ำท่วมแ ละแผ่นดินถล่ม ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญต่อการตั้งถิ่นฐานในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำหรือชายฝั่งทะเล เพราะพื้นที่เหล่านี้ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยซึ่งอาจเกิดได้ในอนาคต โดยอาจมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือปัจจัยอื่นๆ ซึ่งหากเกิดภัยพิบัติโดยไม่เตรียมการป้องกันย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="800"><tbody><tr valign="top"><td colspan="5" bgcolor="#ffffff" valign="top" width="640"><table border="0" cellspacing="20" height="650" width="640"><tbody><tr><td valign="top" width="640">สิ่งที่ไทยควรเร่งดำเนินการ

    <table width="590"> <tbody><tr> <td valign="top">1. จัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรที่ทำหน้าที่บริหาร และประสานการศึกษาวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ที่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีโครงข่ายงานวิจัยอยู่ในสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่มีบทบาทในการวิจัย ดำเนินการศึกษาวิจัยผลกระทบที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อจะได้วางแผนรับมือต่อผลกระทบที่จะเกิดได้อย่างทันท่วงที </td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    2. กำหนดบทบาทหน้าที่ของการดำเนินงานด้านอนุสัญญาและการเจรจาทางการเมือง และการวิจัยให้ชัดเจน เนื่องจากการเจรจาและการวิจัยใช้ทักษะและมีวัตถุประสงค์ต่างกัน แต่ให้มีการประสานความร่วมมือและข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้เกิดความเข้มแข้งและผลประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

    3. มีแผนแม่บทการวิจัยแบบบูรณาการเชิงรุก เพื่อให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต

    4. พัฒนาบุคลากรด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแบบบูรณาการ

    5. ไทยควรเร่งทำวิจัยในเรื่องดังต่อไปนี้
    • จัดการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างแบบจำลองภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพ เหมาะกับประเทศ เพื่อที่จะได้คาดการณ์สภาพภูมิอากาศ และการเกิดภัยพิบัติต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ สามารถแจ้งให้ประชาชนทราบก่อนล่วงหน้า และตั้งรับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที
    • ในส่วนของภาคเกษตรกรรม ควรศึกษาวิจัยเพื่อหาและปรับปรุงพันธุ์พืชให้สามารถทนต่อความหลากหลายของสภาพอากาศได้ เช่น พันธุ์ข้าวที่ทนต่ออากาศที่มีอุณหภูมิสูง และทนต่อสภาพที่แห้งแล้งและน้ำท่วม
    • จดบันทึกผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อที่จะได้หามาตรการป้องและบรรเทาความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td background="images/bg_menu.jpg"> </td> <td colspan="5" align="center" bgcolor="#ffffff">
    ขอขอบคุณเครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดังนี้ครับ

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]</td></tr></tbody></table>
     
  14. Rattanaporn

    Rattanaporn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +13,348

    โอ้ว...!!!..ข้อมูลเพียบ...สุดยอดจริง ๆ ....อ่านแล้วเห็นภาพเลยอ่ะค่ะ...มันน่ากลัวจริง ๆ .....
    [​IMG]
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <table class="mxtable" align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td height="120" valign="top">
    โลกร้อน-ทะเลทรายแล้ง ยูเอ็นเตือน-อีก50ปีอยู่ไม่ได้

    ภูมิอากาศโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง ภาวะขาดแคลนน้ำที่รุนแรงมากขึ้นและแม้แต่การท่องเที่ยว ล้วนสร้างความกดดันให้กับระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

    แต่ทะเลทรายซึ่งปัจจุบันกินพื้นที่ 1 ใน 4 ของผิวหน้าโลกและถูกมองว่าเป็นที่ดินไร้ค่า จะกลายเป็นแหล่งตักตวงผลประโยชน์มหาศาลในอนาคตได้ หากมีการจัดการที่ดีพอ

    รายงาน "Global Deserts Outlook" ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายจะเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม

    ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ๆ ที่ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเน เจฟในอิสราเอล

    อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายที่มีอยู่ 12 แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว แต่เป็นความแห้งแล้งเนื่องจากโลกร้อน ธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังละลาย น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งหากไม่มีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้า

    ในอนาคตประชากร 500 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้ ซึ่งประเทศที่มีทะเลทรายอย่างสหรัฐอเมริกาและสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ที่จำนวนประชากรในรัฐทะเลทรายเพิ่มมากขึ้นก็เริ่มพบภาวะขาดแคลนแหล่งน้ำแล้ว

    ความฝันทันสมัยของนักคิดในศตวรรษที่ 20 ที่จะสร้างสีเขียวให้ทะเลทรายด้วยการเปลี่ยนทางน้ำและการทำทางน้ำใต้ดิน จะกลายเป็นเรื่องเพ้อฝัน

    แต่รายงานก็เสนอว่า ในศตวรรษหน้า ทะเลทรายซึ่งเป็นแหล่งรับพลังงานแสงอาทิตย์จะกลายเป็นโรงไฟฟ้าขนาดยักษ์ เช่น ทะเลทรายสะฮารา แค่เพียง 496 ตารางกิโลเมตรของเนื้อที่ทั้งหมด 640,000 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งรับพลังงานสุริยะที่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าป้อนคนทั้งโลก

    ส่วนภาวะน้ำใต้ดินเค็มเกิดขึ้นแล้วในจีน อินเดีย ปากีสถานและออสเตรเลีย โดยในลุ่มแม่น้ำทาร์มของจีนสูญเสีญพื้นที่ทำนาเนื่องจากดินเค็มไปแล้วมากกว่า 8,000 ตารางกิโลเมตร ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

    รายงานแนะว่า ประเทศในตะวันออกกลางอย่างซาอุดีอาระเบียซึ่งใช้น้ำจากทะเลทรายอย่างไม่เหมาะสม โดยใช้น้ำไปกับการเพาะปลูกข้าวสาลีและมะเขือเทศ ซึ่งเป็นอาหาารหลักของประชาชน ควรจะใช้น้ำเฉพาะกับสิ่งที่ให้มูลค่าสูงอย่างการปลูกอินทผลัมและการทำบ่อปลาเท่านั้น

    แต่ปัญหาใหญ่ที่คุกคามคนและสัตว์ที่อาศัยอยู่ใกล้ทะเลทรายคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีผลกระทบใหญ่หลวงต่อพื้นที่ทะเลทรายมากกว่าภูมิประเทศอื่นๆ

    โดยทะเลทรายดาชติ คบีร์ ในอิหร่านมีปริมาณฝนลดลง 16% ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ทะเลทรายคาลาฮารี ลดลง 12% ทะเลทรายอัตตาคามาในชิลีลดลง 8%

    ทะเลทรายส่วนใหญ่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 5-7 องศาเซลเซียส ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ขณะที่ปริมาณน้ำฝนจะลดลง 10-20% ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเพิ่มปริมาณการระเหยและพายุทรายมากขึ้นและจะส่งผลให้ทะเลทรายเคลื่อนเข้าใกล้ชุมชนที่คนอาศัยอยู่มากขึ้นด้วย

    (คอลัมน์:ต่างประเทศ)


    [​IMG]

    <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="5" cellspacing="2" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#ff0000"><td align="left" width="100%">โลกร้อน"น้ำทะเลอันดามันสูงผิดปกติ</td> </tr> <tr> <td>นักวิทย์ส่งสัญญาณเตือนระวังภัยพิบัติ

    เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.มณทิพย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวในเวทีสาธารณะเรื่อง ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : วิกฤตหรือโอกาส ซึ่งจัดโดยกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่า จากการคาดประมาณอุณหภูมิผิวโลกในอีก 100 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2643 พบว่า อุณหภูมิจะสูงขึ้นจากปัจจุบันราว 4.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากคาดการณ์ว่า จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงร้อยละ 63 และก๊าซมีเทนร้อยละ 27 ของก๊าซเรือนกระจก สำหรับประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส ในช่วง 40 ปี อย่างไรก็ตาม หากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส จะทำให้พายุไต้ฝุ่นเปลี่ยนทิศทาง เกิดความรุนแรงและมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 ในอนาคต นอกจากนี้ ฤดูร้อนจะขยายเวลายาวนานขึ้น ในขณะที่ฤดูหนาวจะสั้นลง

    ดร.มณทิพย์กล่าวอีกว่า ทส.ได้ร่างยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีเป้าหมายเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศในการรับมือต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในภาวะปัจจุบันและอนาคต และหาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจก โดยแบ่งเป็น 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1.รับมือและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2.สร้างความพร้อมของประเทศเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3.การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกสาขา 4.เพิ่มขีดความสามารถขององค์กรและบุคลากร โดยให้การศึกษาและเสริมสร้างการมีส่วนร่วม 5.ผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ

    ผศ.ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า จากข้อมูลของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC ได้ประเมินความเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 คืออุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวโลกเพิ่มขึ้น 1.4-5.8 องศาเซลเซียส ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 0.09-0.88 เมตร ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำให้ช่วงวันที่ร้อนเพิ่มขึ้น ขณะที่วันที่หนาวลดลง ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ร้อยละ 90-95 นอกจากนี้ ในเอเชียยังมีโอกาสร้อยละ 66-90 ที่อาจเกิดฝนกระหน่ำและมรสุมอย่างรุนแรง รวมถึงเกิดความแห้งแล้งในฤดูร้อนที่ยาวนาน ทั้งนี้ ในปี 2532-2545 ประเทศไทยเกิดความเสียหายจากอุทกภัย พายุ และภัยแล้ง คิดเป็นมูลค่าเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 70,000 ล้านบาท

    ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่า ล่าสุดระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยเพิ่มขึ้น 1-2 มิลลิเมตรต่อปี ยังอยู่ในระดับปกติ แต่ที่น่าสนใจ คือ ระดับน้ำทะเลในฝั่งอันดามันสูงขึ้นถึง 8-12 มิลลิเมตรต่อปี มีผลอย่างมากต่อการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากที่ผ่านมาปริมาณของระดับน้ำทะเลที่สูงเพียง 50 เซนติเมตร สามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในแต่ละภาคส่วน อาทิ ต้องมีระบบพยากรณ์ระยะกลาง แม้ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยาจะมีข้อมูลที่ไม่จำเพาะแต่สามารถพัฒนาได้ เพื่อช่วยให้ประชาชนเตรียมรับมือได้ทัน นอกจากนี้ ต้องมีระบบการประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ และระบบการกระจายความเสี่ยง

    ด้านดร.ลีออนชิโอ อะมาโดเร นักวิทยาศาสตร์ด้านบรรยากาศ ประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้เกิดพายุฝน และความแห้งแล้งในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะความแห้งแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งก่อให้เกิดพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรง โดยเฉพาะในปี 2518-2545 มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 593 รายต่อปี และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน คิดเป็นมูลค่า 83 ล้านเหรียญสหรัฐ เสียหายต่อภาคเกษตร 55 ล้านเหรียญสหรัฐ และน่าวิตกว่าประเทศในภูมิภาคนี้ยังไม่มีความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ





    โดย : มติชน วันที่ 21/07/2006
    </td></tr></tbody></table>​

    </td><td rowspan="3" width="18"> </td></tr><tr><td align="right">ข่าวสด [​IMG] </td></tr><tr><td align="right">7 มิ.ย. 2549</td></tr></tbody></table>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นักธรณีวิทยาพบหลักฐานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากชั้นโคลนในเขตอาร์คติก

    ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร. Jason P. Briner ภาควิชาธรณีวิทยา แห่งวิทยาลัยศิลปะและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งเมืองบัฟฟาโล (The University at Buffalo, the State University of New York) และทีมงานของเขากำลังเก็บข้อมูลอุณหภูมิ ระยะเวลาหนึ่งพันปีที่ผ่านมา จากชั้นโคลนทะเลสาบที่อยู่ลึกกว่า 4 เมตร บนเกาะบัฟฟินทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอาร์คติกประเทศแคนาดา (ดูรูป)
    ทั้งนี้ในฤดูใบไม้ผลิของทุกปี พวกเขาจะเดินทางมาพื้นที่นี้เพื่อเก็บข้อมูลจากตะกอนในทะเลสาบเขตอาร์คติกและธารน้ำแข็ง และทำการวิเคราะห์เพื่อสร้างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโบราณ
    นักวิจัยกลุ่มนี้ทำการศึกษาความคล้ายคลึงของลักษณะทางภูมิอากาศ ที่เกิดขึ้นในอดีตกับปัจจุบัน เพื่อใช้ทำนายว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ซึ่งเบาะแสหรือหลักฐานได้ถูกฝังอยู่ในทะเลสาบเขตอาร์คติก ซึ่งพวกเขากล่าวว่ามีความชัดเจนกว่าพื้นที่อื่นใดในโลก เนื่องจากในเขตอาร์คติกแสดงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลได้ชัดเจน ซึ่งทำให้การเทียบสัมพันธ์ชั้นตะกอนละเอียดกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำได้ง่าย ในทะเลสาบบางแห่ง ชั้นตะกอนชั้นหนึ่งอาจแสดงถึงหนึ่งปี ซึ่งโดยทั่วไปชั้นตะกอนหนาจะบ่งถึงฤดูร้อน
    Briner กล่าวว่าจากหลักฐานที่พบ บ่งชี้ว่าสภาพอากาศร้อนในปัจจุบันสูงกว่าเมื่อหนึ่งหมื่นปีที่แล้ว สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกและสูงกว่าค่าเฉลี่ยในเขตอาร์คติกในขณะนั้น เช่น ช่วงที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดในสมัยโฮโลซีน (Holocene thermal maximum) ซึ่งร้อนที่สุดในช่วงหนึ่งหมื่นปีที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยของเขตอาร์คติกสูงกว่าในปัจจุบันประมาณ 2-3 องศา ในขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงกว่าเพียงหนึ่งองศาหรือร้อนเท่ากัน ซึ่ง Briner และผู้ร่วมงานได้เผยแพร่ผลการศึกษานี้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่แล้วในวารสาร Quaternary Research (Vol. 65, pp. 431-442)
    ในขณะที่มีการศึกษาสภาพภูมิอากาศโบราณทั่วโลก นักวิจัยพบว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นเริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 20 และชัดเจนในเขตอาร์กติกมากกว่าที่ใดในโลก ทั้งนี้ความร้อนที่เกิดในคาบร้อยปีที่ผ่านมา เป็นความผิดปกติของคาบหนึ่งหมื่นปีการตรวจวัดอุณหภูมิทั่วโลกในคาบหนึ่งร้อยปี พบว่าค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นเพียงครึ่งองศา แต่ในเขตอาร์กติกสูงขึ้นถึง 2-3 องศา การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้จัดเป็นความผิดปกติด้วยเช่นกัน Briner กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อมองดูแผนภูมิอุณหภูมิโบราณ คาบหนึ่งพันปี ที่สร้างขึ้นสำหรับพื้นที่นี้ อุณหภูมิมีการแกว่งเพิ่มและลด แสดงว่ามีการผันผวนเล็กน้อย อย่างไรก็ตามในช่วงหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา อุณหภูมิและอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิสูงกว่าการผันผวนในรอบหนึ่งพันปีที่ผ่านมา
    ในการทำงานวิจัย ทีมงานต้องเดินทางไปเกาะบัฟฟินและพื้นที่อื่นในเขตตะวันออกเฉียงเหนือของแคนาดาในเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งที่นั่นยังคงเป็นฤดูหนาวอยู่ พวกเขาต้องเดินทางไปหมู่บ้านเอสกิโมก่อน จากนั้นจึงใช้สโนว์โมบิลและเลื่อนลากผ่านเขตทุนดราไปยังทะเลสาบน้ำแข็ง และเมื่อถึงตำแหน่งที่จะเก็บตัวอย่าง พวกเขาจึงตั้งแคมป์และเริ่มทำงาน โดยการเจาะผ่านชั้นน้ำแข็งและน้ำจนถึงชั้นตะกอนด้านล่าง ซึ่งกำลังสะสมตัวทับถมกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ได้หลักฐาน ที่สามารถนำไปซ้อนทับกับข้อมูลสภาพอากาศที่ตรวจวัดจากสถานีตรวจวัดอากาศ
    ตัวอย่างตะกอนที่เจาะจะถูกส่งกลับไปมหาวิทยาลัยเพื่อวิเคราะห์หาหลักฐานทาง ไอโซโทป ฟอสซิล และปริมาณการเพิ่มของสารอินทรีย์ที่ได้จากการะสมตัวของซากสิ่งมีชีวิตและสาหร่าย ที่โดยทั่วไปแล้วจะมีอินทรียสารเพิ่มขึ้นหากอากาศอบอุ่น
    ทั้งนี้วัตถุประสงค์หลักของการวิจัย คือเพื่ออธิบายมูลเหตุของความไม่คงที่ทางพื้นที่ในการจำลองสภาพภูมิอากาศโบราณ ซึ่งทุกคนทราบดีว่าสภาพอากาศนั้นผันผวนในแต่ละพื้นที่ เมื่อนักวิจัยสร้างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโบราณขึ้นมา ก็มีความผันผวนทางพื้นที่เช่นกัน ดังนั้นจึงต้องอาศัยรูปแบบความไม่คงที่ทางพื้นที่นี้ในการทดสอบแบบจำลอง และเมื่อแบบจำลองสามารถทำนายสภาพอากาศโบราณและรูปแบบทางพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมแล้ว เมื่อนั้นนักวิจัยจึงจะมั่นใจว่าแบบจำลองจะสามารถใช้ในการทำนายอนาคตได้
    การวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก National Science Foundation สหรัฐอเมริกา

    ----------------------------------------------------------------------------------------

    http://www.buffalo.edu/news/fast-execute.cgi/article-page.html?article=83650009
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ปริมาณอาหารในมหาสมุทรลดลงและคุกคามระบบนิเวศในทะเล
    นักวิทยาศาสตร์ของนาซ่า (NASA) สรุปผลการศึกษาว่า เมื่อโลกร้อนขึ้น ปริมาณอาหารขั้นปฐมภูมิในมหาสมุทรได้ลดลง ซึ่งอาจคุกคามการประมงและระบบนิเวศ
    สืบเนื่องจากการศึกษาอย่างต่อเนื่องเกือบสิบปี ที่นักวิทยาศาสตร์ได้เปรียบเทียบข้อมูลจากดาวเทียมของพื้นมหาสมุทรทั่วโลกกับข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งพบว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจำนวนพืชและแพลงตอนพืชในมหาสมุทรจะลดลง แต่เมื่ออุณหภูมิลดลงผลผลิตของพืชทะเลก็กลับเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้คาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตหากโลกยังร้อนขึ้นเรื่อย ๆ อันเป็นผลมาจากปริมาณแก๊สกรีนเฮาส์ในชั้นบรรยากาศ
    แพลงตอนพืชเป็นผู้ผลิตแรกและเป็นจุดเริ่มของห่วงโซ่อาหารในทะเล ดังนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและการเจริญเติบโตของแพลงตอนพืช ก็จะกระทบต่อผลผลิตด้านการประมง ประชากรนกทะเล และลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะถูกดึงมาจากชั้นบรรยากาศ ซึ่งนั่นจะทำให้สภาพภูมิอากาศค่อย ๆ ร้อนขึ้น เนื่องจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
    ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้อย่างต่อเนื่องได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นและลดลงของกิจกรรมทางชีวภาพ (biological activity) หรือผลผลิตทางชีวภาพ (productivity) ทั้งรายเดือนและรายปี ทั้งนี้ได้เริ่มการบันทึกหลังจากปรากฏการณ์ เอล นิโญ (El Nino) ครั้งใหญ่ที่พบการเปลี่ยนแปลงผลผลิตทางชีวภาพอย่างชัดเจนเมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว
    เอล นิโญ (El Nino) และ ลา นิน่า (La Nina) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากโลกมีสภาพอากาศร้อนและเย็นตามลำดับ ซึ่งเกิดขึ้นทุก ๆ 3-7 ปี ในฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก และได้ทำให้รูปแบบของสภาพอากาศทั่วโลกเปลี่ยนแปลง
    นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการเปรียบเทียบข้อมูลการเพิ่มและลดของพืชในมหาสมุทรกับการปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ที่มีผลต่อสภาพของมหาสมุทร เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ผิวน้ำและลม ผลการศึกษาที่ได้สนับสนุนการทำนายของแบบจำลองคอมพิวเตอร์ซึ่งแสดงว่าสภาพภูมิอากาศจะร้อนยาวนานขึ้น ทั้งนี้มีการเจริญเติบโตของพืชในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1977-1999 ซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศเย็น ซึ่งเป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างปรากฏการณ์ เอล นิโญ และ ลา นิน่า แต่นับตั้งแต่ ค.ศ. 1999 เป็นต้นมา สภาพภูมิอากาศกลับร้อนขึ้นซึ่งเห็นได้จากการลดลงของพืชในทะเล
    ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสภาพภูมิอากาศกับความหนาแน่นของน้ำในมหาสมุทร ก็สามารถอธิบายได้ว่าสาเหตุที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อพืชในมหาสมุทรนั้น เนื่องมาจากเมื่ออากาศร้อนขึ้น อุณหภูมิของผิวด้านบนของมหาสมุทรก็เพิ่มขึ้นด้วย ทำให้มวลน้ำที่เย็นกว่าจมอยู่ด้านล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้น้ำในมหาสมุทรเกิดการแยกชั้น (stratification) สารอาหารที่อยู่ด้านล่างไม่สามารถหมุนเวียนขึ้นมาด้านบนได้ และทำให้แพลงตอนพืชขาดอาหาร

    อ้างอิง http://www.terranature.org/oceanFoodReduction.htm
    http://www.nasa.gov/home/hqnews/2006/dec/HQ_06364_Ocean_Food_Chain.html
    http://www.sflorg.com/earthnews/en120706_01.html
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปี 2007 อาจเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์โลก..
    วิกฤตความแห้งแล้งในออสเตรเลีย พายุใต้ฝุ่นในเอเชีย ภาวะน้ำท่วมที่ลาตินอเมริกา เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสัญญาณบอกเหตุของปรากฏการณ์เอลนีโญ่ (El Nino) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้สภาวะที่อากาศและสภาพแวดล้อมทางทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนแปรปรวน โดยมีสาเหตุเกิดจากการอ่อนตัวของลมสินค้า (Trade wind) ที่มักจะเกิดขึ้นทุกๆ 2-7 ปี

    นักอุตุนิยมวิทยาชาวอังกฤษได้พยากรณ์ผลกระทบที่จะเกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่ที่มีแนวโน้มว่ากำลังจะเกิดขึ้นควบคู่กับสภาวะบรรยากาศที่มีระดับก๊าซเรือนกระจกสูงไว้ว่าจะก่อให้เกิดหายนะครั้งใหญ่กับระบบนิเวศน์ และยังทำให้ปี 2007 นี้กลายเป็นปีมีร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์อีกด้วย

    “แค่ปรากฏการณ์เอลนีโญ่เพียงอย่างเดียวก็ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นไปเหนือกว่าในอดีตแล้ว” Phil Jones, นักวิจัยด้านอุตุนิยมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย East Anglia กล่าว

    ในอดีตที่ผ่านมา ปี 1998 เป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดในรายงาน ซึ่งในอุณหภูมิโลกเฉลี่ยปีนั้นมีค่าสูงกว่า ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยระยะยาวที่ 57 องศาฟาเรนไฮต์ไป 0.52 องศา ซึ่งอาจดูเหมือนว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอันเล็กน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนี้จะยิ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ความรุนแรงของลมพายุจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการรวมตัวของพายุกับไอน้ำที่ระเหยจากผิวน้ำทะเล จะทำให้พายุมีกำลังเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดความเสียหายที่มากขึ้นตามมา

    ซึ่งในปี 2007 นี้ นักอุตุนิยมวิทยาได้ทำนายว่าการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปีนี้จะสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาว่า มีโอกาสสูงถึง 60% ที่จะเกิดสภาวะนี้ขึ้นได้ โดยผลกระทบที่ทั่วโลกที่จะตามมาก็คือ อุณหภูมิบรรยากาศที่สูงขึ้นนั่นเอง

    สำหรับปรากฏการณ์เอลนีโญ่ที่เกิดขึ้นอย่างไม่แน่นอน และกำลังเกิดขึ้นในเขตมหาสุทรแปซิฟิกในขณะนี้ น่าจะสิ้นสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งจะทำให้มีอุณหภูมิสูงในช่วงฤดูหนาวที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาวะแห้งแล้งในช่วงฤดูร้อนที่ออสเตรเลีย และลมพายุจากมหาสมุทรแปซิฟิกจะมีกำลังลมแรงขึ้น ซึ่งทาง U.N.’s Food Aid Organization ออกมาประกาศเตือนเรื่องผลกระทบจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นว่าอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงทางเกษตรกรรมได้

    ในขณะที่ประเทศออสเตรเลียกำลังตกอยู่ในสภาวะแห้งแล้งที่สุดเท่าที่เคยมีมา ผลกระทบหลักๆจากสภาวะแห้งแล้งนี้ก็คือ ความเสียหายของผลผลิตทางเกษตรกรรม ซึ่งมีผลทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น รวมไปถึงการคลาดแคลนน้ำในบางพื้นที่จนทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหายไปจนเสี่ยงกับสภาวะล้มละลายได้

    ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่นั้นค่อนข้างไม่แน่นอน เช่นในปี 1998 ฝนที่เกิดจากปรากฏการณ์นี้ทำให้ผลิตผลทางการเกษตรของประเทศอาร์เจนติน่าเจริญเติบโตและมีความอุดมสมบูรณ์ แต่ในทางตรงกันข้าม กลับทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมในเขตละตินอเมริกาบางส่วน ซึ่งจริงๆแล้วปรากฏการณ์เอลนีโญ่ก็ยังก่อให้เกิดผลดีเช่นกัน คือ การก่อตัวของลมในทิศทางสวนกับลมพายุเฮอร์ริเคนจากทวีปแอตแลนติก มันจะสามารถลดระดับความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนได้
    ผลกระทบต่อผลิตผลทางการเกษตรในระยะสั้นนั้นคาดเดาได้ยาก แต่ผลกระทบที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่และปรากฏการณ์สภาวะเรือนกระจกคือ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก แต่ปรากฏการณ์เอลนีโญ่ไม่ใช่ตัวการสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น กลับเป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศที่จะทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นแทน

    ที่มา : http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=81530

    ข้อมูลเพิ่มเติม: http://thestar.com.my/news/story.asp?file=/2007/1/4/apworld/20070104213453&sec=apworld
    [​IMG]
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปลูกต้นไม้ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้จริงหรือ..?
    จริงหรือไม่ที่การปลูกต้นไม้สามารถลดระดับความสูงของน้ำทะเล การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก และการลดระดับความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนได้

    จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ กล่าวว่า ข้อความดังกล่าวจะเป็นจริงหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ปลูกต้นไม้ ซึ่งการปลูกป่าไม้ในบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรและบริเวณขั้วโลกนั้นมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้น แต่การปลูกต้นไม้ในเขตป่าร้อนชื้นนั้นจะสามารถชะลอการเกิดภาวะโลกร้อนได้

    ทีมนักวิจัยจาก Lawrence Livermore National Laboratory ได้ทำการวิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบของสภาวะของโลกและวัฏจักรของคาร์บอนจากการตัดไม้ทำลายป่าเป็นบริเวณกว้างจากแบบจำลองสามมิติในการศึกษาช่วงแรก พบว่าบริเวณที่เป็นป่ามีผลต่อการเพิ่มอุณหภูมิสะสมของโลก

    ป่าไม้มีผลกระทบต่อสภาวะของโลกใน 3 ทาง คือ อย่างแรก การดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ ช่วยรักษาอุณหภูมิของโลกให้คงที่ อย่างที่สอง การปล่อยไอน้ำสู่บรรยากาศและการเพิ่มความชื้น และอย่างสุดท้าย คือ การปกคลุมพื้นดินจากแสงแดด ซึ่งก็เป็นการช่วยลดความร้อนของโลกได้เช่นกัน แต่ผลกระทบอย่างแรกเท่านั้นที่นับว่าเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนที่ได้มาจากการปลูกป่าปลูกต้นไม้

    ผลการศึกษาชี้ว่า ป่าในเขตร้อนชื้นนั้นมีประโยชน์ต่อสาภวะโลกร้อนนี้มาก เนื่องมาจากการดูดซึมคาร์บอนจากบรรยากาศและเพิ่มปริมาณเมฆ หรือความชื้น ซึ่งช่วยในการลดอุณหภูมิของโลกได้เป็นอย่างดี

    แต่ในทางตรงกันข้าม ผลการทำนายในปีค.ศ. 2100 เขตป่าไม้ในบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรและบริเวณขั้วโลกจะทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 10 องศาฟาเรนไฮต์ เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีที่ไม่มีป่าไม้บริเวณนี้ ทีมนักวิจัยได้ให้เหตุผลว่าการปกคลุมพื้นดินของป่าไม้ในบริเวณขั้วโลกมีผลต่อการดูดซับแสงแดดจากท้องฟ้าได้มากขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงการเพิ่มอุณหภูมิของผิวโลก และก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนได้เร็วขึ้นนั่นเอง

    จากผลการศึกษาดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การอนุรักษ์ รักษาป่าไม้ ทั่วโลกอาจจะไม่ได้มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการชะลอการเกิดสภาวะโลกร้อน แต่วิธีการที่ดีที่สุดในการรับมือและหลีกเลี่ยงกับสภาวะนี้ก็คือ การเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการด้านพลังงาน จากพลังงานถ่านหินและเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษอื่นๆจากการเผาไหม้ มาเป็นพลังงานทดแทนหรือพลังงานประเภทใหม่ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ อย่างเช่น ป่าไม้ ให้คงอยู่เพื่อสร้างความสมดุลให้กับสภาพแวดล้อมบนโลกนี้

    ที่มาของข้อมูล : http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=67130

    ข้อมูลเพิ่มเติม: Lawrence Livermore National Laboratory
     
  20. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ช่วยเอาข้อมูลของคุณVanco ไปแปะไว้ในระบบวิกี้ด้วยครับ

    และน้องนาคามูระ ช่วยอัพเดทใน ซีดีรอมด้วยนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...