การเผยแพร่พุทธศาสนาในเยอรมัน

ในห้อง 'ทวีป ยุโรป' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 3 กรกฎาคม 2008.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [​IMG]

    ศาสนาพุทธบูม !! ในเยอรมัน

    หากมองย้อนหลังไปในอดีต ศาสนาพุทธเป็นที่รู้จักในประเทศเยอรมันเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1903 (พ.ศ.2446) หรือเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากนักปราชญชาวเยอรมัน
     
  2. nplnpl

    nplnpl สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +2
    ดีใจด้วยครับ ศิษย์อาจารย์เดียวกัน แต่ผมไม่ทัน ปู่ นะ

    นารินทร์
     
  3. fullmoonsun

    fullmoonsun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    735
    ค่าพลัง:
    +2,321
    anumothana sathu ka
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,358
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    ศาสนาพุทธ เยอรมันนี 1 Germany

    (HD) Buddha Story Jataka Dhamma and Peace Meditation
    Published on May 28, 2008
    http://www.dmc.tv
    สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมัน: Bundesrepublik Deutschland; อังกฤษ: Federal Republic of Germany) เป็นประเทศหนึ่งในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ตั้งอยู่ท่ามกลางบรรดาประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ เมืองหลวงคือเบอร์ลิน

    ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเยอรมนีได้แบ่งเป็นสองส่วน เป็นประเทศเยอรมนีตะวันตกและประเทศเยอรมนีตะวันออก ก่อนจะกลับมารวมประเทศกันอีกครั้งในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533

     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,358
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    ศาสนาพุทธ เยอรมันนี 2 Germany

    (HD) Buddha Story Jataka Dhamma and Peace Meditation :-
    Published on May 28, 2008
    http://www.dmc.tv
    สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมัน: Bundesrepublik Deutschland; อังกฤษ: Federal Republic of Germany) เป็นประเทศหนึ่งในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ตั้งอยู่ท่ามกลางบรรดาประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ เมืองหลวงคือเบอร์ลิน

    ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเยอรมนีได้แบ่งเป็นสองส่วน เป็นประเทศเยอรมนีตะวันตกและประเทศเยอรมนีตะวันออก ก่อนจะกลับมารวมประเทศกันอีกครั้งในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533

     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,358
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,358
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,358
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมัน
    พระพุทธศาสนาได้มีการเผยแผ่ในเยอรมัน และได้ปรากฎเป็นรูปร่างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ โดยชาวพุทธกลุ่มแรกในเยอรมัน ได้ร่วมกันก่อตั้ง “สมาคมเพื่อการเผยแผ่พุทธศาสนาในเยอรมัน” (Society For Buddhist Mission in Germany) ขึ้นในเมืองเลปซิก ( Leip- Zig ) โดย คาร์ล โซเดนสตือเกอร์ (Karl Seidenstuecker)
    พระภิกษุชาวเยอรมันรูปแรกที่อุปสมบทในพระพุทธศาสนาชื่อ อันตอน
    วอลเตอร์ กือเอธ ( Anton Walter Florus Gueth ) มีฉายาว่า ญาณดิลก ได้อุปสมบทที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นศิษย์ของท่านอานันทะ เมตเตยยะ ชาวอังกฤษ ต่อมาได้มีผู้บรรพชาอุปสมบทอีก ๒ ท่าน คือ ท่านฟริตส์ สเตนจ์ ( Fritze Stange ) เป็นพระภิกษุมีฉายาว่า สุมโน และวอลเตอร์ มาร์คกราฟ (Walter Markgraf ) เป็นสามเณรชื่อ ธัมมนุสารี

    ปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ท่านธัมมนุสารี ได้ตั้งสำนักพิมพ์ขึ้นที่เบรสเลา ( Breslau) เพื่อพิมพ์วารสารเผยแผ่ ในปีเดียวกันนั้น ได้ตั้งสมาคมบาลีเยอรมันขึ้น (German Pali Society ) มีภารกิจสำคัญคือการสร้างวัดพุทธศาสนาในตะวันตกต่อไป จนถึงประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๕ สมาคมบาลีเยอรมันได้เลิกกิจการไป เกิดมีสมาคมใหม่ชื่อ (League For Buddhist Life ) ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ทำหน้าที่เผยแผ่พุทธศาสนา เป็นสมาคมที่เผยแผ่พุทธศาสนาแบบเถรวาท

    สมัยที่เกิดสงครามโลก เยอรมันเป็นฝ่ายแพ้ สภาวการณ์อันเสื่อมทรามทางจิตใจทำให้เยอรมันหันเข้าหาพระพุทธศาสนา เมื่อสงครามโลกสงบลง วัดวาอารามได้มีการบูรณะซ่อมแซม ความสนใจในพุทธศาสนาก็มีมากขึ้น เมื่อมีพระสงฆ์จากเอเซียรูปหนึ่ง คือท่านถุนันทะ ( Thunanda) จากพม่า เดินทางไปประเทศเยอรมัน ชาวเยอรมันได้สนใจฟังธรรมเทศนามากมาย

    ปัจจุบันชาวพุทธเยอรมันส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ประมาณการว่ามีจำนวนในระหว่าง ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ คน และนับถือนิกายโยโดชินชูของญี่ปุ่นประมาณ ๒๕ คน ส่วนที่อุปสมบทในนิกายเซ็น (Zen) ไม่ปรากฎว่ามี แม้ว่าจะมีผู้สนใจศึกษาพุทธศาสนาแบบเซ็นจากหนังสือเป็นจำนวนมากก็ตาม

    ด้านการเผยแผ่พุทธศาสนาในเยอรมันของคณะสงฆ์ไทยนั้น ทางรัฐบาลไทยได้รับหนังสือโดยผ่านจากกระทรวงการต่างประเทศ จากประธานสหพันธ์พุทธศาสนาในเยอรมัน เนื่องด้วยขณะนั้นคณะสงฆ์มีพระธรรมทูตไม่เพียงพอ เพราะได้ส่งไปประเทศต่าง ๆ แล้ว และก็ยังฝึกพระธรรมทูตรุ่นใหม่อยู่ จึงได้ให้พระธรรมทูตจากวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษไปช่วยก่อน

    การนับถือพุทธศาสนาของชาวเยอรมันในปัจจุบัน ชาวเยอรมันได้นับถือพุทธศาสนาในส่วนของเนื้อหา โดยเฉพาะด้านปรัชญาพุทธศาสนา ไม่ค่อยสนใจในด้านรูปแบบและพิธีกรรมทางพุทธศาสนาเท่าใดนัก เขาเข้าถึงพุทธศาสนาด้วยสติปัญญาของเขาเอง แม้จะไม่ปรากฎวัดวาอารามทางพุทธศาสนามากมายก็ตาม แต่ก็มีชาวเยอรมันไม่น้อยที่นับถือพุทธศาสนาจากหลักธรรมคำสั่งสอน
    :- http://watmai.atspace.com/western.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2017
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,358
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    ศาสนาพุทธ!! ในเยอรมัน [​IMG]
    [​IMG]
    หากมองย้อนหลังไปในอดีต ศาสนาพุทธเป็นที่รู้จักในประเทศเยอรมันเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1903 (พ.ศ.2446) หรือเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากนักปราชญชาวเยอรมัน “อาเธอร์ โชเปนฮอยเออร์ (Arthur Schopenhauer)” ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่นำพระพุทธศาสนาไปประกาศแก่ชาวตะวันตก และอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นพุทธศาสนิกชนเยอรมันคนแรกของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีนายแอนทัน กูเอ็ธ (ชาวเยอรมันคนแรกที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา ชื่อว่าพระญาณติโลก มหาเถร) และนายยูเจน ชาวออสเตรีย ผู้รวบรวมคำสอนหลักและนำพระไตรปิฎกมาแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาเยอรมัน จนกลายเป็นพระไตรปิฎก ฉบับมาตรฐานสำหรับชาวพุทธในเยอรมัน
    ศาสนาพุทธที่เข้ามาในช่วงแรกเริ่มนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากนิกายเถรวาทของพระสงฆ์ที่ธุดงค์มาจากประเทศศรีลังกา อย่างไรก็ดี การเผยแผ่พุทธศาสนาในช่วงนี้ดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากประเทศเยอรมันในสมัยนั้นมีรากฐานความเชื่อมาจากศาสนาคริสต์และลัทธิมาร์ก ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่กล้าเปิดรับความคิดใหม่ๆที่เข้ามา จึงทำให้ฆราวาสที่สนับสนุนพระสงฆ์มีจำนวนไม่มากพอที่จะส่งเสริมให้พุทธศาสนาเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปได้ แต่ในที่สุดปี ค.ศ.1924 นายแพทย์พอล ดาห์เก้ (Paul Dahlke) ก็ได้เป็นผู้นำสถาปนาศูนย์ปฏิบัติ ธรรมพุทธศาสนาขึ้นแห่งแรกบนเนินเขาทางตอนเหนือของเมืองเบอร์ลิน ทำให้พุทธศาสนาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักปราชญ์และนักศึกษาที่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายบนเทือกเขา
    ในบรรดาปราชญ์ทางพุทธศาสนาชาวเยอรมันมากมายซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี อาทิ แฮร์มัน โอล-เดนบวร์ก (Hermann Oldenburg),ยอร์จ กริมม์ (George Grimm),คาร์ล นูมานน์(Karl- Nueumann),คาร์ล ไซเดนสตุ๊กเกอร์(Karl Seidenstucker),ไฟรดริช ซิมเมอร์มานน์ (Friedrich Zimmermann),ฮันส์ มุช(Hans Much)ฯลฯนั้น ได้มีนักเขียนชาวเยอรมันผู้โด่งดังอีกคนหนึ่ง คือเเฮร์มัน เฮสเส(Hermann Hesse) ผู้ซึ่งได้ถ่ายทอดพุทธปรัชญาออกมาในงานเขียนหลายเรื่อง เช่น นาร์ซิสซัสกับโกลด์มุนท์(Narziss and Goldmund) สเตปเปนวูล์ฟ(Steppenwolf) เกมลูกแก้ว (The Glass Bead Game) และสิทธารถะ (Siddhartha) แต่ที่ชาวไทยรู้จักกันดีก็คือเรื่องสิทธารถะ ซึ่งเขียนขึ้นในปีค.ศ.1922 และในปี1946 เฮสเสก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
    ต่อมาในปีค.ศ.1960-70 นิกายมหายานจากประเทศญี่ปุ่นและทิเบตเริ่มเข้ามามีบทบาท และเผยแพร่ไปสู่ชาวเยอรมันอย่างกว้างขวาง ประกอบกับการคมนาคมที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้ชาวเยอรมันได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ และศึกษาพุทธศาสนามาจากอาจารย์ในแถบประเทศเมืองพุทธ จนเข้าใจถึงแก่นของสัจธรรม โดยไม่มีกรอบของวัฒนธรรมมาปิดกั้น พวกเขาจึงนำความ รู้และประสบการณ์ที่ได้กลับมา พร้อมกับร่วมส่งเสริมศูนย์พุทธศาสนาให้เติบโตขึ้นตามลำดับ จนในปัจจุบันกว่าร้อยละ 90 ของชาวพุทธในเยอรมันได้เรียนรู้หลักพุทธศาสนามาจากนิกาย มหายานและวัชรยาน
    ปัจจุบัน ในสังคมวัตถุนิยมที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขัน ชาวเยอรมันในยุคไอทีเริ่มไม่พึงพอใจกับชีวิตที่วุ่นวาย และเริ่มมองหาความหมายของชีวิตที่ลึกซึ้งกว่าการคลั่งไคล้ในพระผู้เป็นเจ้าที่มองไม่เห็นมากขึ้น ศาสนาพุทธจึงกลายเป็นทางเลือกใหม่สำหรับชาวเยอรมัน โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นกลางซึ่งเป็น กลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาระดับสูงจากหลากหลายอาชีพ เช่น แพทย์ วิศวกร ครูอาจารย์ พวกเขาเริ่มหันกลับมาถามตัวเองและพบกับคำตอบว่าการหาเงินมากๆ และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ไม่สามารถทำให้พวกเขาพบกับความสุขที่แท้จริงได้ และแม้แต่ผู้ที่มีชื่อเสียงของประเทศในปัจจุบันก็หันมาศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง เช่น ราล์ฟ บอยเออร์(Ralf Bauer) นักแสดงหนุ่ม, เมเม็ต โชว์(Mehmet Scholl) นักฟุตบอล รวมถึงนักร้องสาวนีนา ฮาเกน (Nina Hagen) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีศรัทธา และช่วยทำให้พุทธศาสนาเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้น นีน่ากล่าวพร้อมอารมณ์ขันว่า
    “อย่างน้อยพุทธศาสนาสามารถสร้างความสงบในจิตใจให้แก่ประชาชน ในขณะที่ประเทศ ยังมีระดับอัตราการว่างงานที่สูง รวมทั้งระบบบำเหน็จบำนาญสำหรับผู้เกษียณอายุที่ยังคลุมเครืออยู่”
    ดังนั้น ช่วงค่ำของทุกวัน บรรยากาศของศูนย์ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาประจำเมืองฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมัน จึงเต็มไปด้วยผู้คนนับร้อย คนที่สนใจร่วมคอร์สอบรมภาวนาสมาธิตามแบบฉบับ ของทิเบต ภาพของชาวเยอรมันผู้เคร่งเครียดกับการแข่งขันในโลกอุตสาหกรรม หันมาสวดมนต์และปฏิบัติสมาธิหลังเลิกงาน กลายเป็นภาพที่มีให้เห็นมากขึ้นในศูนย์ปฏิบัติธรรม ประจำเมืองต่างๆ
    ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลเยอรมันจะไม่ได้เก็บข้อมูลจำนวนพุทธศาสนิกชนในประเทศไว้อย่างแน่ชัด แต่ทางกลุ่มพุทธศาสนิกชนแห่งประเทศเยอรมัน(German Buddhist Union) คาดการณ์ไว้ว่า ชาวเยอรมันที่นับถือศาสนาพุทธในปัจจุบัน มีประมาณ 100,000 คน โดยไม่รวมชาวต่างชาติกว่า 120,000 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธไทยและเวียดนาม
    จากสถิติปีพ.ศ.2547 พบว่าจำนวนศูนย์ปฏิบัติธรรมที่จดทะเบียนกับทางการ เยอรมันมีกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2513 ซึ่งมีจำนวนศูนย์ปฏิบัติธรรมเพียง 15 แห่ง แสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธกำลังกลายเป็นปรากฏการณ์ ใหม่ของประเทศเยอรมันที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง
    ปัจจุบัน ทางกลุ่มพุทธศาสนิกชนแห่งประเทศเยอรมัน (German Buddhist Union) ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติธรรมในเครือรวม 52 แห่ง ได้มีนโยบายส่งเสริมพุทธศาสนา โดยเฉพาะนิกายเถรวาท อย่างเป็นรูปธรรม โดยมิได้มีรูปแบบของประเพณีและพิธีกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาอื่น เช่น ฮินดู ชินโต เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ทางกลุ่มได้พยายามผลักดันจนทำให้พุทธศาสนาเป็นวิชาเลือกหนึ่ง ในโรงเรียนมัธยมศึกษาบางแห่ง และยังได้พิมพ์ตำราและเอกสารทางพุทธศาสนาที่จำเป็นแจกจ่าย โดยได้รับแรงสนับสนุนจากเงินบริจาคของกลุ่มสมาชิกทั่วประเทศ ส่วนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ เช่น สาธารณรัฐเชค สวิตเซอร์แลนด์ ศรีลังกา ไทย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดในระดับสากล นับว่าเป็นก้าวใหม่ของพุทธศาสนาที่กำลังเบ่งบานในประเทศเยอรมัน
    อนึ่ง เยอรมันมีประชากรราว 82,424,609 ล้านคน นับถือศาสนาโปรเตสแตนท์ 34%, โรมันคาธอลิก 34%, มุสลิม 3.7% และอื่นๆ 28.3%

    รายชื่อวัดไทยในประเทศเยอรมัน
    เมืองบาเยิร์น (Bayern)
    - วัดไทยมิวนิค,วัดไทยเนิร์นแบร์ก,วัดพุทธเอาสบวร์กใหม่
    เมืองเบอร์ลิน (Berlin)
    - วัดพุทธวิหาร,วัดพุทธารามเบอร์ลิน
    เมืองฮัมบวร์ก (Hamburg)
    - วัดพุทธบารมี
    เมืองเฮสเสน (Hessen)
    - วัดพุทธปิยวราราม,วัดพุทธเบญจพล,วัดโพธิธรรม,วัดป่าภูริทัตตาราม
    เมืองไนเดอร์ซัสเชน (Niedersachsen)
    - วัดธรรมวิหาร
    เมืองนอร์ดรินเวสฟาแลง (Nordrhein-Westfalen)
    - วัดป่าอนาลโย,วัดธรรมบารมี,วัดธรรมนิวาส
    เมืองซาอาแลนด์ (Saarland)
    - วัดสมเด็จฯ เยอรมนี
    เมืองชูวิก โฮสไตน์ (Schleswig-Holstein)
    - วัดกตัญญุตาราม
    (ข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์) 30 สิงหาคม 2547
    **http://www.watgiessen.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=209588&Ntype=1
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,358
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    วัดไทยในเยอรมัน - Germany
    :วัดพุทธสมาคมเบญจพล - WAT PUTTABENJAPON
    นิกาย :ธรรมยุต
    เจ้าอาวาส :พระทิวา อาภากโร
    ที่อยู่ :
    FELGENSTRABE 36A D-63505 LANGENSELBOLD HANAU
    GERMANY
    TEL (49-06) 184-361

    :วัดพุทธาราม - WAT BUDDHARAM BERLIN
    นิกาย :มหานิกาย
    เจ้่าอาวาส :พระมหาจิตติ ญาณธโช
    ที่อยู่ :
    SCHOENAAGEL STR. 24
    12685 BERLIN
    GERMANY
    TEL (49-030) 933-9460 FAX (49-030) 933-3072

    :สมาคมไทยฮัมบวร์ก - THAI BUDDHISTISCHER VEREIN HAMBURG E.V.
    นิกาย :
    -
    เจ้าอาวาส :
    -
    ที่อยู่ :
    BEISSER STR. 25, 22337
    HAMBURG
    GERMANY
    TEL&FAX (01) 548-8078
    :วัดพุทธวิหาร - WAT BUDDHAVIHARA
    นิกาย :มหานิกาย
    เจ้าอาวาส :พระมหาพยอม สุพิศ
    ที่อยู่ :
    STEINKIRCHENER STR. 17
    13435 BERLIN-WITTENAU
    GERMANY
    TEL&FAX (49-030) 416-9844

    :วัดไทยมิวนิค - WAT THAI MUNICH
    นิกาย :มหานิกาย
    เจ้าอาวาส :พระไพบูลย์กิจ
    ที่อยู่ :
    BAD-DUERKHEIMER STR.
    14 D-81539 MUENCHEN
    GERMANY
    TEL (49-089)812-4641 FAX (49-089)680-1928
    :วัดพุทธปิยวราราม - THAILANDISCHE BUDDHISTEN E.V.
    นิกาย :มหานิกาย
    เจ้าอาวาส :พระเทพสิทธาจารย์ (ทอง สิริมงฺคโล)
    หัวหน้าคณะสงฆ์ :พระครูสังฆรักษ์ชเนศร์
    ที่อยู่ :
    DIETZENBACHER STRA BE 6
    63303 DREIEICH GOTZENHAIN
    GERMANY

    อีเมล :
    buddhapiya@msn.com
    เว็บไซต์ :
    www.buddhapiya.org
    :วัดศรีสุทธาราม - WAT SRISUTTARAM
    นิกาย :มหานิกาย
    เจ้าอาวาส :
    -
    ที่อยู่ :
    BUDDHISTISCHES MEDITATIONSZENTRNU-BER SLRA Be
    AMTSGERICHT BENSHEIM, REGISTER NO. 802
    64686 LAUTERLAL-REICHENBACH
    NIBELUNGENSTR 210
    GERMANY
    :วัดพุทธบารมี - WAT BUDDHABHARAMI
    นิกาย :ธรรมยุต
    เจ้าอาวาส :พระครูคุณสารโสภณ
    ที่อยู่ :
    RAHISTEDTER STR. 112a
    22143 HAMBURG
    GERMANY
    TEL (49-040) 67582929 FAX (49-040) 67590657
    วัดป่าอนาลโย - WAT PAH-ANALAYO
    นิกาย :ธรรมยุต
    เจ้าอาวาส :พระชัชวาลย์ สุภทฺโท
    ที่อยู่ :
    SEMERTEICH STR.26A
    44141 DORTMUND
    GERMANY
    TEL/FAX (49-231) 1890339
    ขณะนี้ วัดป่าอนาลโย เมือง Dortmund ได้เบอร์โทรศัพท์ใหม่แล้ว ท่านใดที่จะติดต่อทางวัดสามารถ โทรมาติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0231 20698868 หรือเข้าไปดูที่หน้า เกี่ยวกับวัด
    http://watpah-analayo.org/site/

    ๑๐ :วัดพุทธสโมธานิวาส - WAT PHUTSAMOTANIWAT
    นิกาย :ธรรมยุต
    เจ้าอาวาส :พระไพรวรรณ ทัพธานี
    ที่อยู่ :
    34 WURZBURG CITY
    ALBCLSLEITENWEG RD.
    GERMANY 97080
    ๑๑ :วัดธรรมนิวาส - WAT DHAMMANIVASA
    นิกาย :ธรรมยุต
    เจ้าอาวาส :พระชัชวาลย์ สุภทฺโท
    ที่อยู่

    FREUNDER-EWG 69
    52068 AACHEN
    GERMANY
    TEL (49-0241) 9979070 FAX (49-0241) 379195

    ๑๒ :วัดป่าภูริทัตตาราม - WAT PAH PURITATTARAM
    นิกาย :ธรรมยุต
    เจ้าอาวาส :พระสำรอง ภทฺโย
    ที่อยู่ :
    SCHUTZEN STR. 63
    35398 GIESSEN
    GERMANY
    TEL/FAX (49-0641) 8773000
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2017
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,358
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    Buddhistischer Verein NRW e.V.

    วัดป่าอนาลโย (Windeck)

    Im Boden 13

    51570 Windeck

    Germany

    Tel. 0049 2292 922 650


    วัดป่าอนาลโย (Dortmund)

    Wittener str.177

    44141 Dortmund

    Germany

    Tel. 0231 20698868

    ประวัติ :- http://watpah-analayo.org/site/?page_id=4
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...