การแผ่เมตตา และการอุทิศส่วนกุศล เหมือนกันหรือต่างกันหรือไม่ อย่างไร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย yaring, 9 กันยายน 2006.

  1. yaring

    yaring เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2006
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +155
    ช่วยอธิบายทีครับ
     
  2. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,093
    ค่าพลัง:
    +62,396
    การแผ่เมตตา - ออกจากหัวใจ

    คือการตั้งจิตแผ่พลังงานความรัก ปรารถนาสันติสุขออกไป เป็นวงกว้าง ทุกทิศทุกทาง ออกจากศูนย์กลางจิตใจของเรา ไม่เลือกที่รักมักที่ชังออกไปกว้างที่สุดเท่าที่เราคิดคำนึงถึง เหมือนกับดวงอาทิตย์เปล่งแสงสว่าง

    การอุทิศส่วนกุศล - เพ่งจากตาที่สาม

    อันนี้จะเฉพาะเจาะจงลงไปถึงภพภูมิหรือดวงจิต อาจต้องระบุเอ่ยนาม เอ่ยถึงบุคคลนั้นๆที่เราต้องการให้ไปถึง กุศลจะถึงตรงไม่ผิดตัวครับ (พระท่านว่าแบบนั้น) แล้วฝากฟ้าดินเป็นพยานรับรู้ ด้วยการ "กรวดน้ำ"ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2006
  3. kung

    kung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +770
    ขอเสริมคุณ mead นิดนะครับ

    การแผ่เมตตา คือการตั้งจิตแผ่พลังงานความรัก ปรารถนาสันติสุขออกไป เป็นวงกว้าง ทุกทิศทุกทาง ใช่ครับ ทำความรู้สึกว่ารักทุกสรรพสิ่ง ปราถนาให้ทุกชีวิตมีความสุข โดยไม่มีประมาณให้โดยไม่มีข้อแม้คนนี้ข้าไม่รักข้าไม่ให้อย่างนี้ไม่ได้ การแผ่เมตตานี้ หลวงปู่เกษมท่านกล่าวว่า เทวดาและพรหมรับได้ดีมากเพราะมีพื้นฐานของพรหมวิหาร4 อยู่แล้ว ส่วนสัตว์ชั้นรองลงมาจะรับได้ยากครับ ต้องใช้การอุทิศส่วนกุศล

    การอุทิศส่วนกุศล คือส่งบุญที่เราได้รับจากการทำความดีใดๆก็ตามให้กับผู้ที่อยู่ในโลกทิพย์ ซึ่งจะรับได้ดีในระดับ ผี,ปีศาจ,เปรตฯลฯ ถึงเทวดาที่ยังอยู่ภูมิต่ำๆ

    หวลงปู่ท่านอธิบายยกตัวอย่างว่า การแผ่เมตตา หมายถึงการที่เราบอกกับใครต่อใครว่าขอให้ท่านเป็นสุขน้า ขอให้ท่านเจริญยิ่งๆขึ้นไปน้า คนที่ได้ฟังถ้าเขาไม่เดือดร้อนอะไรเขาได้ยินก็ชื่นใจมีความสุข แต่ถ้าคนหิวอยู่บอกว่าจงเป็นสุขเป็นสุขน้า จงอิ่มน้า เขาไม่มีทางอิ่มขึ้นมาได้ ต้องเอาข้าวให้เขากินซึ่งก็คือทำบุญแล้วอุทิศให้

    สรุปง่ายๆว่า
    การแผ่เมตตา เป็นกระแสพลังงานเพียวๆ เป็นกระแสความรักความปราถนาดีให้แก่สรรพสัตว์ ส่วนการอุทิศส่วนกุศล เป็นการอาศัยพลังบุญให้กับสรรพสัตว์จะเจาะจงให้เป็นภพภูมิหรือดวงวิญญาณใดก็ได้ หรือจะไม่เจาะจงก็ได้ ดังที่คนโบราณกล่าวไว้ว่า "เอาของให้คน เอาบุญให้ผี" คือของให้คนเราก็จะได้บุญแล้วเราเอาบุญนั้นให้ผีอีกที่ คำว่าผีนี้เป็นการกล่าวรวมๆนะครับ จริงๆแล้วมีความหมายกว้างมากครับ
     
  4. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,306
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    ถ้ามีโอกาส ผมอยากทําบุญตักบาตรเเน่ครับ เเต่เมื่อยังไม่มี ก็นั่งสมาธิ เเผ่เมตตาเอา อ้อ จริงๆ ผมก็ทําอยู่ทุกวันเป็นประจําอยู่เเล้วครับ การนั่งสมาธิ เเละการกรวดนํ้า ยิ่งทํายิ่งทําให้เรามีจิตใจที่เมตตามากขึ้นกว่าเดิมครับ เห็นได้เลย
     
  5. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    ดีครับ ที่ขุดกระทู้ดีๆนี้ขึ้นมา เรื่องใกล้ตัว ธรรปฏิบัติพื้นๆ แต่ ยังไม่ค่อยเข้าใจตรงเปะ ทีเดียว



    ทีนี้ .......หลายคนคงคิดต่อว่า


    ตัวเราไม่ค่อยทำบุญ หรือ จะทำบุญบ่อยก็เงินน้อย ทรัพย์จาง


    ก็ วิธีหาบุญมีหลายวิธีนะครับ

    เช่น นั่งสมาธิ ภาวนา , อนุโมทนาบุญ


    ตรงอนุโมทนาบุญนี่ ผมใช้การอนุโมทนาบุญกุศล บารมีพระรัตนตรัย


    ซึ่ง ใช้ไม่มีวันหมด .ฯลฯ คงเข้าใจกันนะครับ ว่ากำลังบอกอะไร


    รู้แล้ว รีบทำ.........
     
  6. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    การแผ่เมตตา

    การแผ่เมตตา เป็นการกำหนดอารมณ์ให้เป็นเมตตาเจตสิก แล้วรวมกับสมาธิจิตที่
    ตั้งมั่นอยู่แล้วแผ่ออกไปโดยคำนึงถึงเขต บริเวณ หากทำไปโดยไม่จำกัดขอบเขต
    น้อมนึกขอบเขตที่กว้างสุดประมาณได้ ก็จะทำให้แผ่ได้กว้าง จิตจะเปิดกว้าง สัตว์
    น้อยใหญ่ที่รับได้จะร่มเย็น สงบ หากกำลังจุติก็จะได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี

    เมตตาเจตสิกแบบไหนถึงจะถูก และใกล้เคียง ก็ต้องเป็นความอาธรณ์ที่เหมือนแม่
    หรือพ่อมีต่อลูก คุณลองนึกในใจว่า พ่อแม่อาธรณ์ต่อลูกอย่างไร น้อมแล้วจดจำไว้
    พอจำได้ ลองคลายนึกอย่างอื่น เสร็จแล้วน้อมนึกอีกที จนกว่าจะจดจำสภาวะธรรม
    การอาธรณ์นั้นได้ ก็ค่อยๆน้อมทำสมาธิ เอาเป็นองค์สมาธิด้วยการน้อมระลึกเจตสิก
    เมตตานั้นเนืองๆ แล้วแผ่ไปยังบริเวณ

    ข้อดีของเมตตา คือ เวลาเดินทางไปไหน ไปเจอะเจอใคร เขาจะไม่นึกชังหน้าเสียแต่
    แรกเห็น หากทำผิดก็พอน้อมให้อภัยได้ ก็เปรียบเหมือนเขาอาธรณ์เราเป็นลูกของเขา

    ข้อเสียของเมตตา คือ ทำให้กลายเป็นคนมีเสน่ห์ กรณีไปแผ่เมตตาให้เพศตรงข้าม
    อีกกรณีคือ ไปไหน หากมีจิตที่ไวในการเห็นภพอื่น ก็จะเห็นสิ่งอื่นมารายล้อม และ
    อาจจะขัดขวางการภาวนาได้ในบางกรณี

    การอุทิศส่วนกุศล

    คือ การสละ จาคะ บุญที่เรามี ไม่หวงบุญที่มีอยู่ ที่ได้ทำมา ไม่สนใจว่าจะหมด
    และไม่ใช่จาคะไปเพื่อจะให้มีเพิ่มแบบโกงเอาแต่ได้ ทำน้อยหวังได้มาก โดยทั่ว
    ไปผู้รับการอุทิศจะมีการระบุเฉพาะเจาะจง บุญที่เขาได้รับก็อาจจะเป็นกุศลที่ส่ง
    ไปถึง แต่นั้นไม่ใช่เป้าหมายทางพุทธศาสนา พุทธศาสนาเน้นลงที่ผู้รับอุทิศส่วน
    กุศลจะกล่าวอนุโมทนาบุญที่เราอุทิศไปให้ ตรงนั้นจะทำให้เขามีสติระลึกในกุศล
    ทำให้เกิด สติ ตื่นขึ้นจากสิ่งเศร้าหมอง จะทำให้เกิดการเปลี่ยนภพทันที ต่างกับเมตตา
    กรรมฐานตรงจุดนี้ในเรื่องการเปลี่ยนภพของสรรพสัตว์

    ข้อดีก็กล่าวไปแล้ว แต่มีอีกข้อที่ขอเน้น ก็จากข้อเสียของเมตตากรรมฐาน หากเรา
    ทำเมตตากรรมฐานแล้วพบเจอแต่สิ่งแปลกๆ ถ้าหากตะบี้ตะบันแผ่เมตตาเข้าไปอีก รัง
    แต่จะทำให้ปรากฏเพิ่มมากกว่าลด ตรงนี้แหละที่ต้องผลิกมา อุทิศส่วนกุศลให้แทน

    ข้อเสียของการอุทิศส่วนกุศล ก็อยู่ตรงหัวใจของการอุทิศเพื่อให้เขาเกิดสติระลึกใน
    กุศลจิต หากเขาอยู่ในภาวะ หรือ ภพที่ไม่อาจจะน้อมใจ มีเวลานึกถึงกุศล ก็จะเสียเปล่า
    ไป เพราะกุศลที่ตกไปถึงตามวัตถุทาน บางครั้งเขาก็ไม่ได้รับในเวลานั้น หากรับจะร้อน
    เกินไป แทนที่จะให้กุศล เขาจะยิ่งปรุงอกุศลกลับมามากขึ้น ลองนึกถึง คนที่โกรธเราอยู่
    แล้วเราไปทำดี เขาจะตวาดเรากลับเป็นต้น

    การอนุโมทนากุศล

    ก็อย่างที่กล่าวไปแล้ว การกล่าวอนุโมทนานั้น จะเป็นการน้อมจิตระลึกถึงกุศลจิต
    หากเราเป็นคนที่ทำบุญกริยาวัตถุมาดี ก็เรียกว่า พอมีวาสนา บารมี แต่โดยส่วนใหญ่
    คนที่เป็นสาวกภูมิจะทำบุญกันมาไม่มาก ไม่ครบทั้ง 10 ทัศน์ มีพร่องไปในบางตัว
    บางข้อ ตรงนี้จะทำให้ไม่มีกำลังพอในการตัดอริยมรรคขั้นสูง การอนุโมทนาบุญจะ
    เอามาใช้ในเวลาแบบนี้ โดยการน้อมระลึกในกุศลกรรมบท 10 ที่พระพุทธเจ้าเป็น
    ผู้ได้ทำไว้ คนโบราณจึงเน้นนักเน้นหนาว่าให้ฟังชาดก 10 ชาติให้ขึ้นใจ คำว่าขึ้นใจ
    ไม่ใช่ท่องอาขยานได้ แต่หมายถึงน้อมใจระลึกสภาวะเจตสิกในกุศลทั้ง 10 อย่างนั้น
    จนจดจำสภาวะธรรมได้ ตรงนี้เองที่เอาไปช่วยในการบรรลุมรรคผลขั้นสูง การละอัตตา
    ในขั้นสุดละเอียดเกินกว่าสาวกภูมิจะหยั่งทำได้ด้วยตัวเอง

    หรือ ที่เรียกกันว่า ภาวนาเห็นองค์พระ ก็เพื่อน้อมระลึกเจตสิก ตามบารมี 10 ทัศน์ของ
    พระพุทธองค์เป็นหัวใจของกรรมฐาน ไม่ใช่ลำพังแค่จดจำรูปพระ ตรงนี้ขอให้สังเกต
    คำว่า บารมี10ทัศน์ ที่พระกรรมฐานท่านใช้เป็นอุบายต่อธรรมหลังจากการเห็นองค์พระ

    ทำไมต้องนึก หรืออนุโมทนา ถึงบารมีของพระพุทธองค์ ก็เพราะพระพุทธองค์มีความ
    บริสุทธิสูงสุดในเรื่องของการเจือมิจฉาทิฏฐิ หากเราอนุโมทนาในกุศลของสงฆ์ผุ้เคย
    ผ่านการมีชาติมิจฉาทิฏฐิมานับไม่ถ้วน มากกว่าพระพุทธองค์ จะทำให้พร่องแล้วให้ผล
    เสียมากกว่าผลดี ทางที่ปลอดภัยจึงควรระลึกถึงกองกุศลบารมีของพระพุทธองค์เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2008
  7. ประทีปแก้ว

    ประทีปแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    3,506
    ค่าพลัง:
    +8,328
    ทำทั้งสองอย่างบ่อยๆ...สบายใจและชื่นใจ..อนุโมทนาสาธุค่ะ
     
  8. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ทำให้ถึงสี่ซิครับ

    อันแรกนั้น เมตตา

    อันที่สอง ตรงุทิศส่วนกุศล คือ กรุณา

    อันที่สาม ตรงอนุโมทนา คือ มุทิตา

    อันที่สี่ ก็ไม่ยินดียินร้ายในกองกุศลทั้ง 3 ที่ทำมาก่อนหน้า วางใจเป็นกลาง
    เมตตาไปแล้วดีหรือไม่ดีก็เป็นกลาง อุทิศส่วนกุศลไปแล้วถึงไม่ถึงก็วางเป็น
    กลาง มุทิตาจิตไปแล้วมีปิติมากให้วางเป็นกลาง ก็จะเป็น อุเบกขา+เอกัคตา
     

แชร์หน้านี้

Loading...