การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง : สมเด็จพระญาณสังวร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 19 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    สมเด็จพระญาณสังวร<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>


    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>


    โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวดบันเทิงธรรม กระทู้ 18231 โดย: ออสติน 04 ม.ค. 49<O:p></O:p>


    พระคติธรรม<O:p></O:p>

    หน้าที่ของคนเราที่จะพึงปฏิบัติต่อชีวิตร่างกาย คือ การบริหารรักษาร่างกายให้ปราศจากโรค ให้มีสมรรถภาพ และประกอบประโยชน์เพื่อให้เป็นชีวิตดี ชีวิตที่อุดม ไม่ให้เป็นชีวิตชั่ว ชีวิตเปล่าประโยชน์ และในขณะเดียวกัน ก็ให้กำหนดรู้คติธรรมดาของชีวิต เพื่อความไม่ประมาท<O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้ทำลายชีวิตร่างกาย ถ้าจะเกิดความอยาก ความโกรธ ความเกลียด ในอันที่จะทำลายชีวิตร่างกายก็ให้ทำลายความอยาก ทำลายความโกรธ ทำลายความเกลียดนั้นแหละเสีย<O:p></O:p>
    อีกอย่างหนึ่ง ธรรมคือคุณงามความดี ตรงกันข้ามกับอธรรม คือ ความชั่ว ซึ่งโดยมากก็รู้กันอยู่ ฉะนั้น เมื่อเคารพในความรู้หมายความว่า เมื่อรู้ว่าไม่ดี ก็ตั้งใจเว้นไว้ เมื่อรู้ว่าดี ก็ตั้งใจทำ ดังนี้เรียกว่า เคารพในธรรมที่รู้โดยตรง ซึ่งทำคนให้เป็นคน กล่าวคือเป็นมนุษย์โดยธรรม<O:p></O:p>
    สมเด็จพระญาณสังวร<O:p></O:p>
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>

    คำนำ<O:p></O:p>

    พุทธศาสนาสุภาษิตบทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่คุ้นหูคุ้นใจคนจำนวนมาก<O:p></O:p>
    คือบทที่ว่า...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    1. การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง
    <?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:
    การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    พุทธศาสนาสุภาษิตบทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่คุ้นหูคุ้นใจคนจำนวนมาก<O:p></O:p>
    คือบทที่ว่า...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การทำตนที่ชั่ว ให้เป็นตนที่ดีได้ เป็นกุศลที่สูงที่สุด<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    ผู้ให้ธรรมทั้งด้วยการให้หนังสือธรรม และทั้งการปฏิบัติด้วยตนเองให้ปรากฏเป็นแบบอย่างที่ดีงาม เป็นแบบอย่างของสัตบุรุษ กล่าวว่าเป็นผู้ให้เหนือการให้ทั้งปวง เพราะการพยายามช่วยให้คนเป็นผู้มีธรรมของสัตบุรุษ ละธรรมของอสัตบุรุษนั้น ก็เท่ากับพยายามช่วยให้คนบนดินคือต่ำเตี้ยได้เข้าใกล้ฟ้าคือสูงส่ง หรือช่วยให้คนชั่วเป็นคนดีนั่นเอง
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    การช่วยให้คนชั่วเป็นคนดีนั้น ผู้ใดทำได้จักได้กุศลสูงยิ่ง การช่วยตนเองที่ประพฤติไม่ดีให้เป็นประพฤติดีนั้น ก็เป็นการช่วยคนชั่วให้เป็นคนดีเช่นกัน และจะเป็นกุศลที่สูงที่สุดเสียด้วยซ้ำ เพราะนอกจากตนเองจะช่วยตนเองแล้ว คนอื่นยากจักช่วยได้
    <O:p></O:p>
    นี่หมายความว่า อย่างน้อยตนเองต้องยอมรับฟังการแนะนำช่วยเหลือของผู้อื่น ยอมปฏิบัติตามผู้อื่นที่ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้ปรากฏอยู่ คือทำตนเองให้เป็นผู้ประพฤติธรรมของสัตบุรุษ ละการประพฤติปฏิบัติธรรมของอสัตบุรุษให้หมดสิ้น<O:p></O:p>

    พึงอบรมปัญญา เพื่อเป็นแสงสว่างขับไล่โมหะ<O:p></O:p>
    ผู้มาบริหารจิตทั้งนั้น พึงดูจิตตนเองให้เห็นชัดเจนว่า มีความปรารถนาต้องการจะก่อทุกข์โทษภัยให้แก่ตนเองหรือไม่
    <O:p></O:p>
    ถ้าไม่มีความปรารถนานั้น ก็ถึงรู้ว่าจำเป็นต้องอบรมปัญญาเพื่อให้ปัญญาเป็นแสงสว่างขับไล่ความมืดมิดของโมหะ ให้บรรเทาเบาบางถึงหมดสิ้นไป
    <O:p></O:p>
    ปัญญาจะช่วยให้เห็นถูกเห็นผิดตามความเป็นจริง และเมื่อเห็นตรงตามความเป็นจริงแล้ว การปฏิบัติย่อมไม่เป็นเหตุแห่งทุกข์โทษภัยของตนเอง และของผู้ใดทั้งสิ้น ทุกข์โทษภัยย่อมไม่มีแก่ตน อาจมีปัญหาว่าแม้ตนเองไม่ก่อทุกข์โทษภัยแก่ตนเองด้วยกระทำที่ไม่ถูกไม่ชอบทั้งหลาย แต่เมื่อยังมีผู้อื่นอีกเป็นอันมากที่ก่อทุกข์โทษภัยอยู่ แล้วเราจะพ้นจากทุกข์โทษภัยนั้นได้อย่างไร
    <O:p></O:p>
    ปัญหานี้แม้พิจารณาเพียงผิวเผิน ก็น่าจะเป็นปัญหาที่ต้องยอมจำนน คือต้องรับว่าถูกต้อง แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้ง อย่าประกอบด้วยปัญญาแท้จริง ย่อมจะได้รับคำตอบแก้ปัญหาให้ตนไปได้อย่างสิ้นเชิง เพราะผู้มีความเห็นชอบ ปราศจากโมหะ ย่อมเห็นได้ว่าไม่มีทุกข์โทษภัยใดจะเกิดแก่ตน ถ้าตนสามารถวางความคิดไว้ได้ชอบ เพราะความทุกข์ทั้งปวงเกิดจากความคิด
    <O:p></O:p>
    ผู้มุ่งปฏิบัติธรรม ต้องรู้จักพิจารณาเลือกเฟ้นธรรม
    <O:p></O:p>
    ผู้มุ่งมาบริหารจิต มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นจากกิเลส ต้องพิจารณาใจตนในขณะอ่านหนังสือหรือฟัง เรียกว่าเป็นการเลือกเฟ้นธรรม ธรรมใดกระทบใจว่า ตรงกับที่ตนเป็นอยู่ พึงปฏิบัติน้อมนำธรรมนั้นเข้าสู่ใจตน เพื่อแก้ไขให้เรียกร้อย ที่ท่านกล่าวว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    2. ทุกชีวิตมีความตายเป็นเบื้องหน้า<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    ทุกชีวิตมีความตายเป็นเบื้องหน้า<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    มีพระพุทธศาสนาสุภาษิตว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทุกชีวิต...จะถูกมฤตยูรุกรานเมื่อไร ไม่มีใครรู้ได<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    ความตายเกิดขึ้นได้แก่ทุกคน ทุกแห่ง ทุกเวลา พุทธศาสนสุภาษิตกล่าวว่า เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน จะอยู่ในอากาศ อยู่กลางสมุทร เข้าไปสู่หลืบเขา ก็ไม่พ้นจากมฤตยูได้ ประเทศคือ ดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่..ไม่มี<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    เราจะถูกมฤตยูรุกรานเมื่อไร ที่ไหน...เราไม่รู้ หายใจออกครั้งนี้แล้ว อาจจะไม่หายใจเข้าอีก เมื่อถึงเวลาจะต้องตายไม่มี ผู้ใดผัดเพี้ยนได้ ไม่มีผู้ใดจะช่วยได้ เพราะเมื่อสัตว์จะตายไม่มีผู้ป้องกัน และความผัดเพี้ยงกับมฤตยูอันมีกองทัพใหญ่นั้นไม่ได้เลย<O:p></O:p>

    ทุกย่างก้าวของทุกคน นำไปถึงมือมฤตยูได้<O:p></O:p>
    ทุกย่างก้าวของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่แห่งหนตำบลใด นำไปถึงมือมฤตยูได้<O:p></O:p>
    ผู้ร้ายก็เคยตกอยู่ในมือมฤตยู ทั้งที่ถึงใส่เงินแสนเงินล้านที่ไปปล้นจี้เขามายังอยู่ในมือ ไม่ทันได้ใช้ ไม่ทันได้เก็บเข้าบัญชีสะสมเพื่อความสมปรารถนาของตน<O:p></O:p>
    นักการเมืองไม่ว่าเล็กไม่ว่าใหญ่ ก็เคยตกอยู่ในมืองมฤตยู ในขณะกำลังเหนื่อยกายเหนื่อยใจ ใช้หัวคิดทุ่มเทเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดของตน<O:p></O:p>

    ผู้ที่กำลังยิ้มแย้มแจ่มใสมีความสุขกับครอบครัว เคี้ยวข้าวอยู่ในปากแท้ ๆ ก็เคยตกอยู่ในมือมฤตยูโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว<O:p></O:p>

    ผู้เหินฟ้าอยู่บนเครื่องบินใหญ่โตมโหฬารราวกับตึก ก็เคยอยู่ในมือมฤตยูโดยไม่คาดคิด<O:p></O:p>

    ผู้โดยสารเรือเดินสมุทรใหญ่ ก็เคยตกอยู่ในมือมฤตยูพร้อมกันมากมายหลายร้อยชีวิต<O:p></O:p>

    นักไต่เขาผู้สามารถ ก็เคยหายสาบสูญในขณะกำลังไต่เขา โดยตกเข้าไปอยู่ในมือมฤตยู<O:p></O:p>

    3.ความดีเปรียบประดุจแสงสว่าง<O:p></O:p>

    กิเลสมีมากเพียงใด ทุกข์มีมากเพียงนั้น<O:p></O:p>
    ความทุกข์จะต้องมีอยู่ ตราบที่กิเลสทั้งสามกองคือ โลภ โกรธ หลง ยังมีอยู่ กิเลสมีมากเพียงใด ทุกข์มีมากเพียงนั้น เมื่อใดกิเลสสามกองหมดไปจากจิตใจอย่างสิ้นเชิงแล้วนั่นแหละ ความทุกข์จึงจะหมดไปจากจิตใจอย่างสิ้นเชิงได้ จึงควรพยายามทำกิเลสให้หมดสิ้นให้จงได้ มีมานะพากเพียรใช้สติใช้ปัญญาให้รอบคอบเต็มความสามารถให้ทุกเวลานาทีที่ทำได้ แล้วจะเป็นผู้ชนะได้มีความสุขอย่างยิ่ง<O:p></O:p>

    ความทุกข์ทั้งสิ้น เกิดจากกิเลสในใจเป็นสำคัญ<O:p></O:p>
    เราทุกคนต้องการเป็นสุข ต้องการพ้นทุกข์ แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อความเป็นสุข เพื่อความสิ้นทุกข์ แล้วผลจะเกิดได้อย่างไร ความคิดเร่าร้อนต่าง ๆ อันเป็นเหตุให้เป็นทุกข์กันอยู่ในทุกวันนี้ ล้วนเกิดจากกิเลสในใจเป็นเหตุสำคัญทั้งสิ้น กิเลสนั่นแหละเป็นเครื่องบัญชาให้ความคิดเป็นไปในทางก่อทุกข์ทุกประการ ถ้าไม่มีกิเลสพาให้เป็นไปแล้ว ความคิดจะไม่เป็นไปในทางก่อทุกข์เลย ความคิดจะเป็นไปเพื่อความสงบสุขของตนเอง ของส่วนรวม ตลอดจนถึงของชาติ ของโลก<O:p></O:p>

    ทำความเชื่อมั่นว่ากิเลสทำให้เกิดทุกข์จริง<O:p></O:p>
    จักสามารถแก้ปัญหาทุกข์ที่เกิดขึ้นทั้งปวงได้<O:p></O:p>
    ความสำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า ต้องพยายามทำความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นเสียก่อน ว่ากิเลสทำให้เกิดทุกข์จริง คือ กิเลสนี้แหละทำให้คิดไปในทางเป็นทุกข์ต่าง ๆ เมื่อยังกำจัดกิเลสไม่ได้จริง ๆ ก็ต้องฝืนใจหยุดความคิดอันเต็มไปด้วยกิเลสเร่าร้อนเสียก่อน การหยุดความคิดที่เป็นโทษ เป็นความร้อนนั้น ทำได้ง่ายกว่า ตัดรากถอนโคนกิเลส ฉะนั้นในขั้นแรกก่อนที่จะสามารถทำกิเลสให้สิ้นไปได้ ก็ให้ฝืนใจไม่คิดไปในทางเป็นทุกข์เป็นโทษให้ได้เป็นครั้งคราวก่อนก็ยังดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หยุดความคิดที่เกิดด้วยอำนาจของกิเลส<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    อย่าเข้าข้างตัวเองผิด ๆ ดูตัวเองให้เข้าใจ เมื่อโลภเกิดขึ้นให้รู้ว่ากำลังคิดโลภแล้ว และหยุดความคิดนั้นเสีย เมื่อโกรธเกิดขึ้นให้รู้ว่ากำลังคิดโกรธแล้ว และหยุดความคิดนั้นเสีย เมื่อหลงให้รู้ว่ากำลังคิดหลงแล้ว และหยุดความคิดนั้นเสีย หัดหยุดความคิดที่เป็นกิเลสเสียก่อนตั้งแต่บัดนี้เถิด จะเป็นการเริ่มฐานต่อต้านกำราบปราบทุกข์ให้สิ้นไป ที่จะให้ผลแท้แน่นอน
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ความคิดของคนทุกคนแยกออกได้เป็นสอง อย่างหนึ่งคือความคิดที่เกิดด้วยอำนาจของกิเลสมีโลภ โกรธ หลง อีกอย่างหนึ่งคือ ความคิดที่พ้นจากอำนาจของความโลภ โกรธ หลง ความคิดอย่างแรกเป็นเหตุให้ทุกข์ให้ร้อน ความคิดอย่างหลังไม่เป็นเหตุให้ทุกข์ให้ร้อน
    <O:p></O:p>
    นับถือผู้สั่งสอนความถูกต้องดีงามเป็นครู<O:p></O:p>
    จะถือผู้ใดสิ่งใดเป็นครูได้ ก็ต้องเมื่อผู้นั้นสอนความถูกต้องดีงามให้เท่านั้น ต้องไม่ถือผู้ที่สอนความไม่ถูกไม่งามเป็นครูโดยเด็ดขาด และที่ว่าต้องไม่ถือเป็นครูหมายความว่าต้องไม่ปฏิบัติตาม ที่ว่าให้ถือเป็นครูก็คือให้ปฏิบัติตาม ทุกคนมีหน้าที่เป็นศิษย์ หน้าที่ของศิษย์ก็คือปฏิบัติตามครูอย่างให้ความเคารพ กล่าวได้ว่าให้เคารพและปฏิบัติตามคนดีแบบอย่างที่ดี รำลึกถึงคนดีและแบบอย่างที่ดีไว้เสมอ อย่างมีกตัญญูกตเวทีคือ รู้พระคุณท่านและตอบแทนพระคุณท่าน การตอบแทนก็คือทำตนเองให้ได้เหมือนครู นั่นเป็นการถูกต้องสมควรที่สุด จะได้รับความสุขสวัสดีตลอดไป
    <O:p></O:p>
    ความดีหรือบุญกุศลเปรียบเหมือนแสงไฟ<O:p></O:p>
    ความดีหรือบุญกุศลเปรียบเหมือนแสงไฟ ผู้ที่ทำบุญทำกุศลอยู่สม่ำเสมอเพียงพอ แม้จะเหมือนไม่ได้รับผลของความดี และบางครั้งก็เหมือนทำดีไม่ได้ดี ทำดีได้ชั่วเสียด้วยซ้ำ เช่นนี้ก็เหมือนจุดไฟในท่ามกลางแสงสว่างยามกลางวัน ย่อมไม่ได้ประโยชน์จากแสงสว่างนั้น แต่ถ้าตกต่ำมีความมืดมาบดบัง แสงสว่างนั้นย่อมปรากฏขจัดความมืดให้สิ้นไป สามารถแลเห็นอะไร ๆ ได้ เห็นอันตรายที่อาจมีอยู่ได้ จึงย่อมสามารถหลีกพ้นอันตรายเสียได้ ส่วนผู้ไม่มีแสงสว่างอยู่กับตน เช่นไม่มีเทียนจุดอยู่ เมื่อถึงยามกลางคืนมีความมืดมิด ย่อมไม่อาจขจัดความมืดได้ ไม่อาจเห็นอันตรายได้ ไม่อาจหลีกพ้นอันตรายได้
    <O:p></O:p>
    ผู้มีแสงสว่างอยู่กับตัว สามารถดำรงตนอยู่ได้ด้วยความดีที่ทำอยู่<O:p></O:p>
    ผู้ทำความดีเหมือนผู้มีแสงสว่างอยู่กับตัว ไปถึงที่มืดคือที่คับขัน ย่อมสามารถดำรงตนอยู่ได้ด้วยดีพอสมควรกับความดีที่ทำอยู่ตรงกันข้ามกับผู้ไม่ได้ทำความดี ซึ่งเหมือนกับผู้ไม่มีแสงสว่างอยู่กับตัว ขณะยังอยู่ในที่สว่างอยู่ในความสว่าง ก็ไม่ได้รับความเดือนร้อน แต่เมื่อใดตกไปอยู่ในที่มืดคือที่คับขัน ย่อมไม่สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างสวัสดี ภัยอันตรายมาถึงก็ไม่รู้ไม่เห็น ไม่อาจหลีกพ้น คนทำดีไว้เสมอกับคนไม่ทำดี แตกต่างกันเช่นนี้ประการหนึ่ง
    <O:p></O:p>
    การทำความดี ต้องทำให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
    การทำดีต้องไม่มีพอ ต้องทำให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ เพราะไม่มีใครอาจประมาณได้ว่าเมื่อใดจะตกไปในที่มืดมิดขนาดไหน ต้องการแสงสว่างจัดเพียงใด ถ้าไม่ตกเข้าไปในที่มืดมิดมากมายนัก มีแสงสว่างมากไว้ก่อน ก็ไม่ขาดทุน ไม่เสียหาย แต่ถ้าตกเข้าไปในที่มืดมิดมากมาย แสงสว่างน้อย ก็จะไม่เพียงพอจะเห็นอะไร ๆ ได้ถนัดชัดเจน การมีแสงสว่างมากจะช่วยให้รอดพ้นจากการสะดุดหกล้มลงเหวลงคู หรือตกเป็นเหยื่อของสัตว์ร้ายจนถึงตายถึงเป็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อานุภาพของความดีหรือบุญกุศล<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    อานุภาพของความดีหรือบุญกุศลนั้น เป็นอัศจรรย์จริง เชื่อไว้ดีกว่าไม่เชื่อ และเมื่อเชื่อแล้วก็ให้พากันแสวงหาอานุภาพของความดีหรือของบุญกุศลให้เห็นความอัศจรรย์ด้วยตนเองเถิด
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    นำกิเลสออกจากใจหมดสิ้นเชิง<O:p></O:p>
    ใจก็บริสุทธิ์สิ้นเชิง เป็นสภาพที่แท้จริงของใจ<O:p></O:p>
    ที่จริงนั้นใจบริสุทธิ์ผ่องใส กิเลสเข้าจับทำให้สกปรกไปตามกิเลส ปล่อยให้กิเลสจับมากเพียงไรใจก็สกปรกมากขึ้นเพียงนั้น<O:p></O:p>
    นำกิเลสออกเสียบ้าง...ใจก็จะลดความสกปรกลงบ้าง<O:p></O:p>
    นำกิเลสออกมาก...ใจก็ลดความสกปรกลงมาก<O:p></O:p>
    นำกิเลสออกหมดสิ้นเชิง...ใจก็บริสุทธิ์สิ้นเชิง เป็นสภาพที่แท้จริง มีความผ่องใส
    <O:p></O:p>
    เมื่อใจกับความสกปรกหรือกิเลสเป็นคนละอย่าง ไม่ใช่อย่างเดียว อันเดียวกัน ทุกคนจึงสามารถจะแยกใจของตนให้พ้นจากกิเลสได้ คือสามารถจะนำกิเลสออกจากใจได้
    <O:p></O:p>
    การทำใจให้เป็นสุข ต้องทำด้วยตัวเอง<O:p></O:p>
    การทำใจให้เป็นสุขผ่องใสนั้น ไม่มีใครจะทำให้ใครได้ เจ้าตัวต้องทำของตัวเอง วิธีทำก็คือ เมื่อเกิดโลภ โกรธ หลง ขึ้นเมื่อใด ให้พยายามมีสติรู้ให้เร็วที่สุด และใช้ปัญญายับยั้งเสียให้ทันท่วงที อย่าปล่อยให้ช้า เพราะจะเหมือนไฟไหม้บ้าน ยิ่งดับช้าก็ยิ่งดับยาก และเสียหายมากโดยไม่จำเป็น
    <O:p></O:p>
    พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า<O:p></O:p>
    ชี้ชัดได้ว่า สิ่งใดคือดี สิ่งใดคือชั่ว อย่างถูกต้อง<O:p></O:p>
    ถ้าไม่รู้จริง ๆ ว่า อะไรคือดี อะไรคือชั่ว ก็ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วเชื่อตามที่ทรงสอน ก็จะรู้ว่าอะไรคือดี อะไรคือชั่ว ที่จริงแล้วทุกคนรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว แต่ไม่พยายามรับรู้ความจริงนั้นว่า เป็นความจริงสำหรับตนเองด้วย มักจะให้เป็นความจริงสำหรับผู้อื่นเท่านั้น ดังที่ปรากฏอยู่เสมอ ผู้ที่ว่าคนนั้นไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ และตัวเองก็เป็นเช่นนั้นด้วย โดยตัวเองก็หาได้ตำหนิตัวเองเช่นที่ตำหนิผู้อื่นไม่ ถ้าจะให้ดีจริง ๆ ถูกต้องสมควรจริง ๆ แล้ว ก็ต้องเชื่อพระพุทธเจ้า ท่านทรงสอนให้เตือนตน แก้ไขตน ก่อนจะเตือนผู้อื่นแก้ไขผู้อื่น<O:p></O:p>

    4.ปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้น้อยนัก<O:p></O:p>

    ชีวิตในชาติปัจจุบันนี้น้อยนัก สั้นนัก<O:p></O:p>
    พุทธศาสนาสุภาษิตบทหนึ่ง กล่าวว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทุกชีวิตล้วนผ่านกรรมดีกรรมชั่วมามายมาย<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    ทุกชีวิตก่อนแต่จะได้มาเป็นคนเป็นสัตว์อยู่ในปัจจุบันชาติ ต่างเป็นอะไรต่อมิอะไรมาแล้วมากมาย แยกออกไม่ได้ ว่ามีกรรมดี กรรมชั่วอะไรบ้าง ทำกรรมใดก่อน ทำกรรมใดหลัง ทั้งกรรมดีกรรมชั่วที่ทำไว้ในชาติอดีตทั้งหลาย ย่อมมากมายเกินกว่าที่ได้มากระทำในชาตินี้ ในชีวิตนี้อย่างประมาณมิได้ และกรรมดีกรรมชั่วทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมให้ผลตรงตามเหตุทุกประการ แม้ว่าผลจะไม่อาจเกิดขึ้นพร้อมกันทุกสิ่งทุกอย่าง และไม่อาจเรียบเรียงลำดับตามเหตุที่ได้กระทำแล้วก็ตาม แต่ผลทั้งหลายย่อมเกิดแน่ แม้เหตุได้กระทำแล้ว<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    ผู้ใดทำเหตุ ย่อมได้รับผลตรงตามเหตุแน่นอน<O:p></O:p>
    เมื่อมีเหตุย่อมมีผล เมื่อทำเหตุย่อมได้รับผล และผลย่อมตรงตามเหตุเสมอ ผู้ใดทำผู้นั้นจักเป็นผู้ได้รับผล เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อใดกำลังมีความสุข ไม่ว่าผู้กำลังมีความสุขนั้น จะเป็นเราหรือเป็นเขา เมื่อนั้นพึงรู้ความจริงว่า เหตุดีที่ได้ทำไว้แน่ กำลังให้ผล ผู้ทำเหตุดีนั้นกำลังเสวยผลแห่งเหตุนั้นอยู่<O:p></O:p>

    แม้ปุถุชนจะไม่สามารถหยั่งรู้ให้เห็นแจ้งได้ ว่าทำเหตุดีหรือกรรมดีใดไว้ แต่ก็พึงรู้พึงมั่นใจว่า เหตุแห่งความสุขที่กำลังได้เสวยอยู่เป็นเหตุดีแน่ เป็นกรรมดีแน่ ผลดีเกิดแต่เหตุดีเท่านั้น ผลดีไม่เกิดแต่เหตุไม่ดีได้เลย<O:p></O:p>

    เมื่อใด กำลังมีความทุกข์ความเดือนร้อน ไม่ว่าผู้กำลังมีความทุกข์ความเดือนร้อนนั้นจะเป็นเราหรือเป็นเขา เมื่อนั้นพึงรู้ความจริงว่า เหตุไม่ดีที่ได้ทำไว้แน่กำลังให้ผล ผู้ทำเหตุไม่ดีนั้นกำลังเสวยผลแห่งเหตุนั้นอยู่<O:p></O:p>

    แม้ปุถุชนจะไม่สามารถหยั่งรู้ให้เห็นแจ้งได้ว่า ทำเหตุไม่ดีหรือกรรมไม่ดีไว้ แต่ก็พึงรู้พึงมั่นใจว่า เหตุแห่งความทุกข์ความเดือนร้อนที่กำลังได้เสวยอยู่ เป็นเหตุไม่ดีแน่ เป็นกรรมไม่ดีแน่ ผลไม่ดีเกิดแต่เหตุไม่ดีเท่านั้น ผลไม่ดีไม่มีเกิดแก่เหตุดีได้เลย<O:p></O:p>

    ทำดีต้องได้ดีเสมอ ไม่มียกเว้นด้วยเหตุผลใดทั้งสิ้น<O:p></O:p>
    เมื่อใด มีความคิดว่าเราทำดีไม่ได้ดี หรือเขาทำดีไม่ได้ดี ก็พึงรู้ว่า เมื่อนั้นกำลังหลงคิดผิดจากความจริง กำลังเข้าใจผิดจากความจริง ทำดีต้องได้ดีเสมอ ไม่มียกเว้นด้วยเหตุผลใดทั้งสิ้น<O:p></O:p>

    เมื่อใดมีความคิดว่าเราทำไม่ดี แต่กลับได้ดี หรือเขาทำไม่ดีแต่กลับได้ดี ก็พึงรู้ว่าเมื่อนั้นกำลังหลงคิดผิดจากความจริง กำลังเข้าใจผิดจากความจริง ทำไม่ดีต้องได้ไม่ดีเสมอ ไม่มียกเว้นด้วยเหตุผลใดทั้งสิ้น<O:p></O:p>

    ชีวิตในชาตินี้ชาติเดียวย่อมน้อยนัก เมื่อเปรียบกับชีวิตในอดีตชาติ ซึ่งนับจำนวนชาติหาถ้วนไม่ ดังนั้น กรรมคือการกระทำที่ทำในชีวิตนี้ ในชาตินี้ชาติเดียว จึงน้อยนัก เมื่อเปรียบกับกรรมหรือการกระทำที่ทำไว้แล้วในอดีตชาติ อันนับจำนวนชาติไม่ถ้วน<O:p></O:p>

    ความซับซ้อนของกรรม<O:p></O:p>
    การเขียนหนังสือด้วยปากกาหรือดินสอ ลงบนกระดาษแผ่นเดียวนั้น เขียนลงครั้งแรกก็ย่อมอ่านออกง่าย อ่านเข้าใจได้ง่าย แต่ยิ่งเขียนทับเขียนซ้ำลงไปบนกระดาษแผ่นเดียวนั้น ตัวหนังสือย่อมจะทับกันยิ่งขึ้นทุกที การอ่านก็จะยิ่งยากขึ้นทุกที จนถึงอ่านไม่ออกเลย ไม่เห็นเลยว่าเป็นตัวหนังสือ จะเห็นแต่รอยหมึกหรือรอยดินสอทับกันไปทับกันมาเป็นสีสันเท่านั้น ให้เพียงรู้เท่านั้นว่าได้มีการเขียนลงบนกระดาษแผ่นนั้น หาอ่านรู้เรื่องไม่และหาอาจรู้ได้ไม่ว่า เขียนอะไรก่อนเขียนอะไรหลัง นี้ฉันใด การทำกรรมหรือการทำดีทำชั่วก็ฉันนั้น ต่างได้ทำกันมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ทับถมกันมายิ่งกว่าตัวหนังสือที่อ่านไม่ออก รู้ไม่ได้ว่าเขียนอะไรก่อนเขียนอะไรหลัง ทำกรรมใดไว้ก็ไม่รู้ ไม่เห็น แยกไม่ออก ว่าทำกรรมใดก่อนทำกรรมใดหลัง ทำดีอะไรไว้บ้าง ทำไม่ดีอะไรไว้บ้าง มากน้อยหนักเบากว่ากันอย่างไร มาถึงชาตินี้ไม่รู้ด้วยกันทั้งสิ้น เป็นความซับซ้อนของกรรมที่แยกไม่ออก เช่นเดียวกับความซับซ้อนของตัวหนังสือที่เขียนทับกันไปทับกันมา<O:p></O:p>

    ผลแห่งกรรมเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงการกระทำ<O:p></O:p>
    ความซับซ้อนของกรรม แตกต่างกับความซับซ้อนของตัวหนังสือตรงที่ตัวหนังสือนั้นเมื่อเขียนทับกันมาก ๆ ย่อมไม่มีทางรู้ว่าเขียนเรื่องดีหรือเรื่องไม่ดีอย่างไร แต่กรรมนั้น แม้ทำซ้ำซ้อนมากเพียงไร ก็มีทางรู้ว่าทำกรรมดีไว้มากน้อยเพียงไร หรือทำกรรมไม่ดีไว้มากน้อยเพียงไร โดยมีผลที่ปรากฏขึ้นของกรรมนั้นเอง เป็นเครื่องช่วยแสดงให้เห็น<O:p></O:p>

    ชีวิตหรือชาตินี้ของทุกคน มีชาติกำเนิดไม่เหมือนกัน เป็นไทยก็มี จีนก็มี แขกก็มี ฝรั่งก็มี มีชาติตระกูบไม่เสมอกัน ตระกูลสูงก็มี ตระกูลต่ำก็มี มีสติปัญญาไม่ทัดเทียมกัน ฉลาดหลักแหลมก็มี โง่เขลาเบาปัญญาก็มี มีฐานต่างระดับกัน ว่ารวยก็มี ยากจนก็มี ความแตกต่างห่างกันนานาประการเหล่านี้ ล้วนเป็นเครื่องชี้ให้ผู้เชื่อในกรรมและผลของกรรม เห็นความมีภพชาติในอดีตของแต่ละชีวิตในชาติปัจจุบัน เกิดมาต่างกันในชาตินี้ เพราะทำกรรมไว้ต่างกันในชาติอดีต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อำนาจที่ยิ่งใหญ่ของกรรม นำให้เกิดความแตกต่างของชีวิต<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:
    ความแตกต่างของชีวิตที่สำคัญที่สุด ที่แสดงให้เห็นอำนาจที่ใหญ่ยิ่งที่สุดของกรรม คือความได้ภพชาติของมนุษย์ กับความได้ภพชาติของสัตว์ เทวดาอาจมาเป็นมนุษย์ได้ เป็นสัตว์ได้ มนุษย์อาจไปเป็นเทวดาได้ เป็นสัตว์ได้ และสัตว์ก็อาจไปเป็นเทวดาได้ เป็นมนุษย์ได้ ด้วยอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของกรรมอันนำให้เกิดนี้เป็นความจริงเสมอไป ไม่มีอะไรจะเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจาความจริงได้ เชื่อหรือไม่เชื่อ ก็ควรกลัวอย่างหนึ่ง คือกลัวการไม่ได้กลับมาเกิดเป็นคน ไม่ได้ไปเกิดเป็นเทวดา<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    เทวดาถือภพชาติเป็นมนุษย์ เป็นที่ยอมรับเชื่อถือกันมากกว่าเทวดาจะไปเป็นอะไรอื่น จึงมีคำบอกเล่าหรือสันนิษฐานกันอยู่เสมอว่า ผู้นั้นผู้นี้เป็นเทวดามาเกิด<O:p></O:p>

    กรรม...ทำให้เทวดามาเกิดเป็นมนุษย์ได้<O:p></O:p>
    ทั้งนี้ก็โดยสันนิษฐานจากความประณีตงดงามสูงส่งของผู้นั้น ผู้นี้ บางรายก็มีพร้อมทุกประการ ทั้งชาติตระกูลที่สูง ฐานะที่ดี ผิวพรรณวรรณะที่งาม กิริยาวาจามารยาทที่สุภาพอ่อนโยน ไพเราะ เรียบร้อย เฉลียวฉลาด บางผู้แม้ไม่งามพร้อมทุกประการดังกล่าว ก็ยังได้รับคำพรรณนาว่าเป็นเทวดานางฟ้ามาเกิด เพราะผิวพรรณมารยาทงดงาม อ่อนโยน นุ่มนวล นี้ก็คือการยอมรับอยู่ลึก ๆ ในใจของคนส่วนมากว่า เทวดามาเกิดเป็นมนุษย์ได้<O:p></O:p>

    เทวดามาเกิดเป็นมนุษย์ มีตัวอย่างสำคัญยิ่งที่พึงกล่าวถึงได้ เป็นที่ยอมรับทั่วไป โดยเฉพาะในหมู่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย นั่นคือสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จากสวรรค์ชั้นดุสิต เสด็จลงโลกมนุษย์ ประสูติเป็นพระสิทธัตถะราชกุมาร พระราชโอรสพระเจ้าสุทโทธนะกับพระนางสิริมหามายา เรื่องหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่รู้จักกันกว้างขวางคือ เรื่องของเทพธิดาเมขลา เทพธิดาองค์นี้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้พิทักษ์ รักษามหาสมุทร มีหน้าที่คุ้มครองช่วยเหลือมนุษย์ที่ถือไตรสรณาคมณ์ มีศีลสมบูรณ์ ปฏิบัติชอบต่อบิดามารดา พราหมณ์โพธิสัตว์เดินทางไปเรือแตกกลางมหาสมุทร พยายามว่ายเข้าฝั่งอยู่ถึง 7 วัน เทพธิดาเมขลาจึงแลเห็น ได้ไปแสงตนต่อพระมหาสัตว์ทันที รับรองจะให้ทุกอย่างที่พระมหาสัตว์ปรารถนา และได้เนรมิตสิ่งที่พระมหาสัตว์ขอทุกอย่าง คือ เรือทิพย์และแก้วแหวนเงินทอง พระมหาสัตว์พ้นจากมหาสมุทรได้บำเพ็ญทานรักษาศีลจนตลอดชีวิต<O:p></O:p>

    ครั้งสิ้นชีวิตแล้วได้ไปบังเกิดในเมืองสวรรค์ พระมหาสัตว์ครั้งนั้นต่อมาคือพระพุทธเจ้า เทพธิดาเมขลาต่อมาคือพระอุบลวัณณาเถรี และผู้ดูแลช่วยเหลือพระมหาสัตว์ต่อมาคือพระอานนท์ นี้คือเทวดามาถือภพชาติเป็นมนุษย์ได้ อย่างน้อยก็ตามความเชื่อจึงมีการเล่าเรื่องเทพธิดาเมขลาดังกล่าว<O:p></O:p>

    มนุษย์ก็เกิดเป็นเทวดาได้เพราะกรรมที่กระทำ<O:p></O:p>
    เทวดามาเกิดเป็นมนุษย์ได้ และมนุษย์ก็เกิดเป็นเทวดาได้ ดังที่สมเด็จพระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ได้ทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธกว่า เมื่อทรงเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์หัวหน้าพ่อค้าเกวียน ได้ทรงซื้อสินค้าในนครพาราณสี บรรทุกเกวียนนำพ่อค้าจำนวนมากเดินทางไปในการกันดาร เมื่อพบบ่อน้ำก็พากันขุดเพื่อให้มีน้ำดื่ม ได้พบรัตนะมากมายในบ่อนั้น พระโพธิสัตว์ทรงเตือนว่า ความโลภเป็นเหตุแห่งความพินาศ แต่ไม่มีผู้เชื่อฟัง พวกพ่อค้ายังขุดบ่อต่อไปไม่หยุด หวังจะได้รัตนะมากขึ้น บ่อนั้นเป็นบ่อที่อยู่ของพญานาค เมื่อถูกทำลาย พญานาคก็โกรธ ใช้ลมจมูกเป่าพิษถูกพ่อค้าเสียชีวิตหมดทุกคน เหลือแต่พระโพธิสัตว์ที่มิได้ร่วมการขุดบ่อด้วย จึงได้รัตนะมากมายถึง 7 เล่มเกวียน ท่านนำออกเป็นทานและได้สมาทานศีล รักษาอุโบสถศีลจนสิ้นชีวิต ได้ไปเกิดในสวรรค์ เป็นมนุษย์หนึ่งที่เกิดเป็นเทวดาได้<O:p></O:p>

    มนุษย์มีบุญกุศลและความดีพร้อมทั้งกาย วาจา ใจ มากเพียงไร ก็จะเกิดเป็นเทวดาชั้นสูงได้เพียงนั้น คือ สามารถขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ชั้นสูงได้เมื่อละโลกนี้แล้ว<O:p></O:p>

    กรรมทำให้มนุษย์เกิดเป็นสัตว์ก็ได้<O:p></O:p>
    มนุษย์เกิดเป็นเทวดาได้ และเกิดเป็นสัตว์ก็ได้ ในสมัยพุทธกาล ชายผู้หนึ่งโกรธแค้นรำคาญสุนัขตัวหนึ่ง ติดตามอยู่ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าทรงทราบก็ได้ตรัสแสดงให้รู้ว่า บิดาที่สิ้นไปแล้วนั้นมาเกิดเป็นสุนัขนั้น และได้ทรงให้พิสูจน์ โดยบอกให้สุนัขนำไปหาที่ซ่อนทรัพย์ ซึ่งไม่มีผู้ใด นากจากผู้เป็นบิดาของชายผู้นั้น และสุนับก็พาไปขุดพบสมบัติที่ฝังไว้ก่อนสิ้นชีวิตได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อานุภาพของการให้ความเคารพในพระธรรม<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:
    ก็นำสัตว์ให้เกิดมาเป็นเทวดาและมนุษย์ได้<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    สัตว์ไปเกิดเป็นเทวดาได้คงจะมีเป็นอันมาก มีเรื่องต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาที่เล่าสืบมา คือ ในสมัยพุทธกาล มีสัตว์ได้ยินเสียงพระท่านสวดมนต์ ก็ตั้งใจฟังโดยเคารพ ตายไปก็ได้ไปบังเกิดเป็นเทพในสวรรค์ ด้วยอานุภาพของการให้ความเคารพในพระธรรมของพระพุทธเจ้า<O:p></O:p>

    สัตว์มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ นี้ต้องเป็นที่เชื่อถืออยู่ลึก ๆ ในจิตสำนึก จึงแม้เมื่อพบมนุษย์บางคนบางพวก ก็ได้มีการแสดงความรู้สึกจริงใจออกมาต่าง ๆ กัน เช่น ลิงมาเกิดแท้ ๆ สัตว์นรกมาเกิดแน่ ๆ ทั้งนี้ก็ด้วยเห็นจากหน้าตาท่าทางบ้าง กิริยามารยาทนิสัยใจคอ ความประพฤติบ้าง ซึ่งโดยมากผู้ที่พบเห็นด้วยกัน ก็จะมีความรู้สึกตรงกันดังกล่าว เป็นความรู้สึกที่เกิดจากความเชื่อนั่นเอง ว่าสัตว์มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ หรือมนุษย์เกิดมาจากสัตว์ได้<O:p></O:p>

    5.ทางแห่งความตาย<O:p></O:p>

    ความประมาทปัญญา เป็นทางแห่งความตาย<O:p></O:p>
    ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย นี้เป็นพุทธศาสนสุภาษิต และความประมาททั้งหลายรวมลงในความประมาทปัญญา ปัญญาคือเหตุผล ผู้ไม่เห็นความสำคัญของเหตุผล ประมาทเหตุผล จึงไม่ใช้เหตุผล ความไม่ใช้เหตุผลนี้แหละ คือความประมาทปัญญา ผู้ประมาทปัญญา หรือผู้ไม่ใช้เหตุผล คือผู้เดินอยู่บนทางแห่งความตาย<O:p></O:p>

    ความประมาท : ทางแห่งความตาย<O:p></O:p>
    ความตายนั้น มีทั้งตายด้วยสิ้นชีวิต และตายด้วยสิ้นชื่อเสียง เกียรติยศ ทั้งสองอย่างนี้เกิดได้แก่ผู้ประมาทปัญญา<O:p></O:p>

    ความประมาททางกาย<O:p></O:p>
    ความประมาทในการกระทำ ที่เรียกว่าประมาททางกาย เช่น ความประมาทเกี่ยวกับอาวุธร้าย มีปืนและระเบิด เป็นต้น ไม่คำนึงถึงเหตุผลว่าอาวุธเช่นนั้นมีโทษร้ายแรง ความประมาทเช่นนี้ที่ทำให้เกิดความตายด้วยสิ้นชีวิตแล้วเป็นจำนวนมาก นี้คือความประมาทเป็นทางแห่งความตายประการหนึ่ง<O:p></O:p>

    ความประมาททางวาจา<O:p></O:p>
    ความประมาทในการพูด คือ พูดโดยไม่ระวังถ้อยคำ เรียกว่าประมาททางวาจา ไม่คำนึงให้รอบคอบว่าจะเกิดผลอย่างไรในการพูด พูดไปตามอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความโกรธ ความประมาทเช่นนี้ทำให้เกิดความตายด้วยสิ้นชีวิตแล้วเป็นอันมาก ด้วยสิ้นชื่อเสียงเกียรติยศก็เป็นอันมาก นี้คือความประมาทเป็นทางแห่งความตายประการหนึ่ง<O:p></O:p>

    ความประมาททางใจ<O:p></O:p>
    ความประมาทในความคิด คือ คิดฟุ้งซ่านไปโดยไม่ระมัดระวัง เรียกว่าประมาททางใจ การฆ่าตัวตายก็เกิดจากความประมาทนี้ ความเสียสติก็เกิดจากความประมาทนี้ ความทำลายผู้อื่นก็เกิดจากความประมาทนี้ นี้คือความประมาทเป็นทางแห่งความตายประการหนึ่ง<O:p></O:p>

    ความตายด้วยสิ้นชีวิต<O:p></O:p>
    ความตายด้วยสิ้นชีวิต แม้จะเกิดจากความประมาท ก็ยังดีกว่าความตายด้วยสิ้นชื่อเสียงเกียรติยศ ที่เรียกกันว่าตายทั้งเป็น<O:p></O:p>

    ความตายทั้งเป็น<O:p></O:p>
    ความตายด้วยสิ้นชื่อเสียงเกียรติยศ เกิดจากความประมาทปัญญาในเรื่องต่าง ๆ เป็นความประมาททางกาย ทางวาจา ทางใจ ไม่อบรมปัญญาในเรื่องความโลภ ความโกรธ ความหลง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผลที่เกิดจากความประมาทปัญญา<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:
    ผลที่เกิดจากความประมาทปัญญา คือ ความตาย ไม่ว่าจะตายด้วยสิ้นชีวิต หรือตายด้วยสิ้นชื่อเสียง เกียรติยศ เป็นความไม่ดีทั้งสิ้น ความประมาทปัญญา หรือความประมาท จะให้ผลดีไม่มีเลย จึงไม่ควรประมาทปัญญา<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    ความไม่ประมาทปัญญา คือ ความเห็นความสำคัญของปัญญา ทั้งปัญญาตนและปัญญาผู้อื่น จะเห็นความสำคัญแต่ปัญญาตนไม่เห็นความสำคัญปัญญาผู้อื่นด้วย ก็ไม่ได้<O:p></O:p>

    ประมาทปัญญาตนและผู้อื่น ให้ผลเหมือนกัน<O:p></O:p>
    ความไม่เห็นความสำคัญปัญญาตนมีโทษอย่างไร ความไม่เห็นความสำคัญปัญญาผู้อื่นก็มีโทษอย่างนั้น ผู้ไม่ประมาทปัญญา จึงหมายถึงผู้ไม่ประมาททั้งปัญญาตนและปัญญาผู้อื่น ประมาทปัญญาตนเป็นหนทางแห่งความตาย ประมาทปัญญาผู้อื่นก็เป็นทางแห่งความตาย ผู้พ่ายแพ้แก่ผู้อื่น ต้องเสื่อมเสียสูญสิ้นเป็นอันมาก ต้องเศร้าโศกเสียใจถึงเสียสติก็มี ก็เพราะประมาทปัญญาผู้อื่น<O:p></O:p>

    ผู้ไม่อบรมปัญญาตนเท่านั้น จะเป็นผู้ที่ประมาทปัญญาผู้อื่น<O:p></O:p>
    ความประมาทปัญญาผู้อื่น ก็คือความประมาทปัญญาตนนั่นเอง ผู้ไม่อบรมปัญญาตนเท่านั้น ที่จะประมาทปัญญาผู้อื่น ผู้อบรมปัญญาตน จะไม่ประมาทปัญญาผู้อื่นเลย<O:p></O:p>

    นั่นก็คือผู้เห็นความสำคัญของปัญญาตน จะแลเห็นความสำคัญของปัญญาผู้อื่นด้วย ประมาทปัญญาผู้อื่น คือ เห็นผู้อื่นไม่มีปัญญา ไม่สามารถ เห็นตนเองมีปัญญามีความสามารถยิ่งกว่าผู้อื่น จะคิดจะพูดจะทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น จึงไม่รอบคอบ ไม่ใช้ปัญญาให้เต็มที่ เป็นการประมาทปัญญา เป็นการเดินอยู่บนทางแห่งความตายได้ทั้งสองอย่าง คือ ทั้งอย่างสิ้นชีวิต และอย่างสิ้นชื่อเสียงเกียรติยศ<O:p></O:p>

    การดำรงชีวิตจะสวัสดีเพียงไร สำคัญอยู่ที่...<O:p></O:p>
    การประมาทปัญญาตนและผู้อื่นมากน้อยเพียงไร<O:p></O:p>
    ความประมาทปัญญา หมายถึง ทั้งความประมาทปัญญาตน ความประมาทปัญญาผู้อื่น และความประมาทปัญญาที่เป็นกลาง มิใช่ปัญญาตนหรือปัญญาผู้ใด ความประมาทปัญญาที่เป็นกลาง คือ ความไม่เชื่อว่าปัญญาเป็นความสำคัญ ปัญญาเป็นความจำเป็นสำหรับประคับประคองชีวิตให้สวัสดี ทั้งที่ปัญญาเป็นสิ่งควรอบรมให้มีเป็นอันมากในตน ก็ไม่เห็นค่าของปัญญา ไม่พยายามทำปัญญาให้เป็นปัญญาตน เปรียบเช่นเห็นสิ่งมีค่าเป็นสิ่งไม่มีค่า ก็ไม่พยายามแสวงหาไว้เป็นสมบัติตน เรียกว่าประมาทสิ่งนั้น ผู้ประมาทปัญญา ย่อมไม่อบรมปัญญา<O:p></O:p>
    การดำรงชีวิตจะสวัสดีเพียงไร สำคัญที่ประมาทปัญญาตน และปัญญาผู้อื่นมากน้อยเพียงไร ประมาทปัญญาตนและปัญญาผู้อื่นมาก ชีวิตจะสวัสดีน้อย<O:p></O:p>
    ประมาทปัญญาตนและปัญญาผู้อื่นน้อย ชีวิตจะสวัสดีมาก<O:p></O:p>

    ผู้ไม่ประมาทปัญญา<O:p></O:p>
    ย่อมไม่พบกับความตายด้วยสิ้นชื่อเสียงเกียรติยศ<O:p></O:p>
    ผู้ไม่ประมาทปัญญา แม้จะต้องพบความตายด้วยความสิ้นชีวิตอันเป็นธรรมที่ไม่มีผู้หลีกเลี่ยงพ้น แต่ก็ย่อมไม่พบความตายด้วยสิ้นชื่อเสียงเกียรติยศ ประมาทปัญญาผู้อื่น คือ ไม่รอบคอบในการคิดพูดทำเกี่ยวกับผู้ผื่น ด้วยเห็นว่าไม่จำเป็นต้องรอบคอบระมัดระวัง อยากคิด อยากพูด อยากทำ เกี่ยวกับผู้อื่นอย่างไร ก็คิด ก็พูด ก็ทำ มีความไว้วางใจเป็นเหตุสำคัญบ้าง มีความระแวงสงสัยเป็นเหตุสำคัญบ้าง ผลที่ตามมาจากความประมาทปัญญา อาจเป็นความตายด้วยสิ้นชีวิต หรือตายด้วยสิ้นชื่อเสียงเกียรติยศ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    6. ปล่อยใจจากสิ่งทั้งหลาย ก่อนถูกความตายบังคับ<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา คือ ผู้มีปัญญา สอนให้เร่งอบรมมรณสติ นึกถึงความตาย หัดตายก่อนตายจริง จุดมุ่งหมายสำคัญของการหัดตายก็คือ เพื่อให้ปล่อยใจจากสิ่งทั้งหลาย ก่อนที่จะถูกความตายบังคับให้ปล่อย<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    กิเลสเครื่องเศร้าหมอง ตัณหาความดิ้นรนและทะยานอย่าง อุปทาทานความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลายทั้งปวง หัดใจให้ปล่อยเสียพร้อมกับหัดตาย สิ่งอันเป็นเหตุให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง ให้เกิดตัณหา อุปาทาน หัดละเสีย ปล่อยเสียพร้อมกับหัดตาย ซึ่งจะมาถึงเราทุกคนเข้าจริงได้ทุกวินาที<O:p></O:p>

    กิเลสทั้งหลาย ล้วนเป็นโทษแก่ผู้ตาย<O:p></O:p>
    อ้างความโลภ ความโกรธ ความหลง ตัณหา อุปาทานนั้น บางครั้งบางคราวก็ทำให้ผู้ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหลาย ได้รับวัตถุตอบสนองสมปรารถนา เช่น ผู้มีความโลภอย่างได้ข้าวของทรัพย์สินเงินทองของเขาผู้อื่น บางครั้งบางคราวก็อาจขอเขา โกงเขา ลักขโมยเขา ได้สิ่งที่โลภอยากเป็นของตนสมปรารถนา หรือผู้มีความโกรธ อยากว่าร้ายเขา อยากทำร้ายร่างกายเขา บางครั้งบางคราวก็อาจทำให้สำเร็จสมใจ แต่ถ้าตกอยู่ในมือมฤตยูแล้ว เป็นคนตายแล้ว แม้ยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง ตัณหา อุปาทาน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจิตใจ จะไม่สามารถใช้กิเลสกองใดกองหนึ่ง ให้ผลสนองความปรารถนาต้องการได้เลย<O:p></O:p>
    ผู้มีความโลภที่ตายแล้วไม่อาจลักขโมยของของเขาได้ หรือผู้มีความโกรธที่ตายแล้ว ก็ไม่อาจว่าร้ายเขาทำร้ายเขาได้ กล่าวได้ว่า แม้ใจของผู้ตายจะยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง ตัณหา อุปาทาน อยู่มากมายเพียงไร ก็จะไม่สามารถก่อให้เกิดผลดีอันเป็นคุณแก่ตน หรือแก่ผู้ใดได้เลย มีแต่ผลร้ายเป็นโทษสถานเดียวจริง กิเลสเป็นคุณแก่ผู้ตายไม่ได้ แต่เป็นโทษแก่ผู้ตายได้<O:p></O:p>

    ผู้ละโลกนี้ไปในขณะที่จิตเศร้าหมอง ทุคติสำหรับผู้นั้น เป็นอันหวังได้<O:p></O:p>
    เมื่อลมหายใจออกจากร่างไม่กลับเข้าอีกแล้ว สิ่งที่เป็นนามแลไม่เห็นด้วยสายตาเช่นเดียวกับลมหายใจคือจิต ก็จะออกจาร่างโดยคงสภาพเดิม คือ พร้อมด้วยกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง ที่มีขณะจิตยังอยู่ในร่าง คือยังเป็นจิตของคนเป็น คนยังไม่ตาย พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กิเลสกองหลง เป็นเหตุแห่งราคะ โลภะ และโทสะ<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:
    อันกิเลสกองหลงหรือโมหะนั้น เป็นกองใหญ่ กองสำคัญ เป็นเหตุแห่งราคะหรือโลภะและโทสะ<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    ความหลงหรือโมหะคือ ความรู้สึกที่ไม่ถูก ความรู้สึกที่ไม่ชอบ ความรู้สึกที่ไม่ควร คนมีโมหะคือคนหลง<O:p></O:p>

    ผู้มีความรู้สึกไม่ถูก ไม่ชอบ ไม่ควรทั้ง คือ คนมีโมหะ คือ คนหลง เช่น หลงตน หลงคน หลงอำนาจ เป็นต้น<O:p></O:p>

    ผู้มีโมหะมาก คือมีความหลงมาก<O:p></O:p>
    มีความรู้สึกที่ไม่ถูก ไม่ชอบ ไม่ควร ในตน, คน, อำนาจ<O:p></O:p>
    คนหลงตนเป็นคนมีโมหะ มีความรู้สึกที่ไม่ถูกไม่ชอบ ไม่ควร ในตนเอง คนหลงตนจะมีความรู้สึกว่าตนเป็นผู้มีความดี ความสามารถ ความพิเศษเหนือใครทั้งหลายเกินความจริง เป็นความรู้สึกในตนที่ไม่ถูกไม่ชอบไม่ควร<O:p></O:p>

    เมื่อมีความรู้สึกอันเป็นโมหะความหลง ราคะหรือโลภะและ โทสะก็จะเกิดตามมาได้โดยไม่ยาก เมื่อหลงตนว่าดีวิเศษเหนือคนทั้งหลาย ความโลภให้ได้มาซึ่งสิ้นอันสมควรแก่ความดีความวิเศษของตน ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ความโกรธด้วยไม่ต้องการให้ความดีความวิเศษนั้น ถูกเปรียบหรือถูกลบล้างย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา<O:p></O:p>

    ผู้หลงคนจะมีความรู้สึกว่าคนนั้นคนนี้ที่ตนหลง มีความสำคัญ มีความดีวิเศษเหนือคนอื่น เกิดความมุ่งหวังเกี่ยวกับความสำคัญความดีความวิเศษของคนนั้นคนนี้ ความมุ่งหวังนั้นเป็นโลภะ และเมื่อมีความหวังก็ย่อมมีได้ทั้งความสมหวังและความผิดหวังเป็นธรรมดา ความผิดหวังนั้นเป็นโทสะ ผู้หลงอำนาจเป็นผู้มีโมหะ มีความรู้สึกที่ไม่ถูกไม่ชอบไม่ควรในอำนาจที่ตนมี ผู้หลงอำนาจจะมีความรู้สึกว่าอำนาจที่ตนมีอยู่นั้นยิ่งใหญ่ เหนืออำนาจทั้งหลายเกินความจริง เป็นความรู้สึกที่ไม่ถูก ไม่ชอบ ไม่ควร ผู้หลงอำนาจของตนว่ายิ่งใหญ่เหนืออำนาจทั้งหลาย ย่อมเกิดความเห่อเหิมทะเยอทะยานในการใช้อำนาจนั้น ให้เกิดผลเสริมอำนาจของตนให้ยิ่งขึ้น ความรู้สึกนี้จัดเป็นโลภะ และแม้ไม่เป็นไปดังความเหิมเห่อทะเยอทะยาน ความผิดหวังนั้นจักเป็นโทสะ<O:p></O:p>

    บุคคลผู้มีโมหะมาก หลงตนมาก จัดเป็นพวกมีกิเลสมาก มีจิตเศร้าหมองมาก<O:p></O:p>
    ผู้มีโมหะมาก คือ มีความหลงมาก มีความรู้สึกที่ไม่ถูกไม่ชอบ ไม่ควรในตนในคน ในอำนาจ ย่อมปฏิบัติผิดได้มาก ก่อทุกข์โทษภัยให้เกิดได้มาก ทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น ทั้งแก่ส่วนน้อย และแก่ส่วนใหญ่ รวมถึงแก่ประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์<O:p></O:p>

    บุคคลผู้มีโมหะมาก หลงตนมาก จัดเป็นพวกมีกิเลสมาก จิตเศร้าหมองมาก จะเป็นผู้ขาดความอ่อนน้อม แม้แต่ต่อผู้ควรอย่างยิ่งที่จะได้รับความอ่อนน้อม บุคคลเหล่านี้เมื่อละโลกนี้ไปขณะที่ยังไม่ได้ละกิเลส คือ โมหะให้น้อย จิตย่อมเศร้าหมอง ย่อมไปสู่ทุกคติ<O:p></O:p>

    ผลของกรรมที่เที่ยงแท้ หลังความตาย<O:p></O:p>
    ทุคติของผู้หลงตนจนไม่มีความอ่อนน้อมต่อผู้ควรได้รับความอ่อนน้อยอย่างยิ่ง คือ จะเกิดในตระกูลต่ำ ตรงกันข้ามกับผู้รู้จักอ่อนน้อมต่อผู้ควรได้ความอ่อนน้อม ที่จะไปสู่สุคติ คือ จะเกิดในตระกูลสูง เป็นเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมที่เที่ยงแท้ ผู้ใดทำกรรมใดไว้ จักได้รับผลของกรรมนั้น ทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว ทำเช่นใดจักได้เช่นนั้น<O:p></O:p>

    การไม่อ่อนน้อมต่อผู้ควรได้รับการอ่อนน้อม เป็นกรรมไม่ดี การเกิดในตระกูลต่ำเป็นผลของกรรมไม่ดี เป็นผลที่ตรงตามเหตุแท้จริง ผู้ที่เกิดในตระกูลต่ำ ปกติย่อมไม่ได้รับความอ่อนน้อมจากคนทั้งหลาย ส่วนผู้ที่เกิดในตระกูลสูง ย่อมได้รับความอ่อนน้อมที่ผู้เกิดในตระกูลสูงมีปกติได้รับ นั้นเป็นผลที่เกิดจากเหตุอันเป็นกรรมดี คือ ความอ่อนน้อม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    7. ทุกชีวิตมีเวลาอันจำกัด<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    อานุภาพแห่งพระพุทธศาสนา<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    เราต่างเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา...เพราะพระพุทธศาสนาจริง ๆ<O:p></O:p>
    ดีได้เพียงนี้ ไม่ดีน้อยกว่านี้...เพราะพระพุทธศาสนา<O:p></O:p>

    ร้ายเพียงเท่านี้ ไม่ร้อยไปกว่านี้...เพราะพระพุทธศาสนา เราจะไม่เป็นเช่นนี้<O:p></O:p>
    พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่ง กล่าวไว้มีความว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อย่ายอมให้ความชั่วมีอำนาจแบ่งเวลาในการทำดี<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:
    ความดีก็ตาม ความชั่วก็ตาม เป็นสิ่งที่ทำได้ทุกเวลา แต่จะทำสองอย่างพร้อมกันไม่ได้ ต้องทำทีละอย่าง จึงต้องตัดสินใจเลือกว่าจะทำอย่างไหน จะทำความดีหรือจะทำความชั่ว อย่างมีใจอ่อนแอโลเลเพราะจะทำให้พ่ายแพ้ต่ออำนาจของความชั่ว ยอมให้ความชั่วมีอำนาจแย่งเวลาที่ควรทำความดีไปเสีย ซึ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง จะเป็นการแสวงหาทุกข์โทษภัยใส่ตัว อย่างไม่น่าทำ<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    ตนนั่นแหละ เป็นผู้นำพาชีวิตของตน<O:p></O:p>
    พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่ง กล่าวไว้แปลความว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทุกชีวิต ล้วนตกเป็นเครื่องมือของกรรม<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:
    ความรังเกียจหรือความนิยมยกย่องคนที่ชั่วและคนดี ได้รับเป็นผลแห่งกรรมของตน ไม่ใช่เป็นอะไรอื่น ความรังเกียจที่คนชั่วได้รับ เป็นผลแห่งกรรมชั่ว ความนิยมยกย่องที่คนดีได้รับ เป็นผลแห่งกรรมดี คนทั้งหลายรวมทั้งตัวเราทุกคน เป็นเครื่องมือของกรรมที่จะเป็นเหตุให้ผลของกรรมชั่วและผลของกรรมดีปรากฎชัดเจนขึ้นเท่านั้น ผู้มีปัญญาไม่นิยมคำว่า ชั่วช่างซีดีช่างสงฆ์ เพราะเป็นความไม่ถูกต้อง ความเสื่อมทั้งหลายเกิดจากความนิยมนี้ได้มากมาย<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    ผู้ยินดีในความถูกต้อง พึงอบรมตนให้มีสัมมาทิฐิ<O:p></O:p>
    แม้ทำความเข้าใจที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นในจิตใจตนได้แล้ว การปฏิบัติที่ถูกต้องก็ย่อมจะต้องตามมาอย่างแน่นอน เพราะใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ คือ ทุกสิ่งเป็นไปตามอำนาจความเห็นถูกเห็นผิดของใจ<O:p></O:p>

    การอบรมความเห็นให้ถูก ให้เป็นสัมมาทิฐิ...ความเห็นชอบ ไม่ให้เป็นมิจฉาทิฐิ...ความเห็นผิด จึงเป็นความสำคัญที่สุดของผู้ยินดีในความถูกต้อง ใจของเราทุกคนนี้สำคัญนัก สติก็สำคัญนัก ปัญญาก็สำคัญนัก เมตตากรุณาก็สำคัญนัก ทั้งหมดนี้ไม่ควรแยกจากกัน มีใจก็ต้องให้มีสติ ต้องให้มีปัญญา ต้องให้มีกรุณา ประคับประคองกันไปให้เสมอ อย่าให้มีสิ่งอื่นนอกจากสติปัญญาและเมตตากรุณาเข้ากำกับใจ<O:p></O:p>

    สติและปัญญาพร้อมเมตตากรุณานั้น เมื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับใจ จะทำให้ใจมีสัมมาทิฐิ...ความเห็นชอบได้ ตรงกันข้าม แม้ใจขาดสติปัญญา และเมตตากรุณา ก็จะทำให้มีมิจฉาทิฐิ...ความเห็นผิดได้ง่าย<O:p></O:p>

    สติปัญญา เมตตากรุณา สำคัญยิ่งแก่ทุกชีวิต<O:p></O:p>
    สติ ปัญญา และเมตตา กรุณา เป็นความสำคัญอย่างยิ่งของทุกคน เป็นสิ่งช่วยให้คนเป็นคนอย่างสมบูรณ์ขึ้น งามพร้อมขึ้นจึงพึงเพิ่มพูนทั้งสติ ปัญญา และเมตตา กรุณา ซึ่งสามารถอบรมได้พร้อมกัน ให้เกิดผลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ก่อนจะพูดจะทำอะไร พึงมีสติรู้ว่าแม้พูดแม้ทำลงไป จะเกิดผลอะไรตามมา เป็นความเสียหายแก่ผู้ใดหรือไม่ ต้องใช้ปัญญาในตอนนี้ให้พอเหมาะพอควร พร้อมทั้งใช้เมตตากรุณาให้ถูกต้อง เว้นการพูดการทำที่จะเป็นเหตุแห่งความกระทบกระเทือนใจผู้ฟังโดยไม่จำเป็น<O:p></O:p>

    พระพุทธเจ้าทรงยิ่งด้วยพระมหากรุณา ทรงตั้งพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาเพื่อจิตใจ ผู้เป็นพุทธศาสนิกพึงคำนึงถึงความจริงนี้ให้อย่างยิ่ง จะคิด จะพูด จะทำอะไร มีสตินึกถึงจิตใจผู้เกี่ยวข้อทั้งหลาย อย่าให้ได้รับความชอกช้ำโดยไม่จำเป็น<O:p></O:p>

    ที่พึ่งของชีวิต อันไม่มีที่พึ่งใดเปรียบได้<O:p></O:p>
    พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาเพื่อจิตใจโดยแท้ เป็นศาสนาที่ทะนุถนอมจิตใจเป็นอย่างยิ่ง มุ่งพิทักษ์รักษาจิตใจเป็นอย่างยิ่ง มุ่งพิทักษ์รักษาจิตใจให้ห่างไกลจากความเศร้าหมองทั้งปวง อันจักเกิดแต่ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศึกษาพระพุทธศาสนาให้รู้จริง ก็จะเห็นพระพุทธเจ้าว่า ทรงมีพระหฤทัยละเอียดอ่อนและสูงส่งเหนือผู้อื่นทั้งปวง ความอ่อนโยนประณีตแห่งพระหฤทัย ทำให้ทรงเอื้ออาทรถึงจิตใจสัตว์โลกทั้งหลาย ทรงแสดงความทะนุถนอมห่วงใยสัตว์น้อยใหญ่ไว้แจ้งชัด สารพัดที่ทรงตรัสรู้อันจักเป็นวิธีป้องกันจิตใจของสัตว์โลก สมเด็จพระบรมศาสดาทรงพระมหากรุณาพร่ำชี้แจงแสดงสอนตลอดพระชนมชีพที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เช่นนี้แล้วไม่ความหรือที่พุทธศาสนิกทุกถ้วนหน้า จะตั้งใจสนองพระมหากรุณาเต็มสติปัญญาความสามารถปฏิบัติตามที่ทรงสอน เอื้ออาทรต่อเพื่อนร่วมทุกข์ทั้งหลาย ด้วยการแนะนำบอกเล่าให้รู้จัก ให้เข้าใจว่า สมเด็จพระพุทธศาสดานี้ทรงยิ่งด้วยพระมหากรุณาจึงทรงอบรมพระปัญญา จนถึงสามารถทรงยังให้เกิดพระพุทธศาสนาขึ้นได้ เป็นที่พึ่งยิ่งใหญ่ของสัตว์โลกทั้งหลายได้จนถึงทุกวันนี้ ไม่มีที่พึ่งอื่นใดเปรียบได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทุกชีวิตมีเวลาอันจำกัด<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:
    พึงรำลึกในพระคุณและน้ำใจของพระพุทธองค์<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    ทุกคนที่เคยประสบความขัดข้องในชีวิต ปรารถนาจะได้รับความช่วยเหลืออย่างที่สุด เมื่อมีผู้ใดมาให้ความช่วยเหลือแก้ไขความขัดข้องนั้นให้คลี่คลาย...ช่วยให้ร้ายกลายเป็นดี แม้มีจิตใจที่กตัญญูรู้คุณ ผู้ได้รับความช่วยเหลือด้วยเมตตา ให้ผ่านพ้นความมืดมัวขัดข้อง ย่อมสำนึกในพระคุณและน้ำใจ ย่อมไม่ละเลยที่จะตอบแทน พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่เหนือความกรุณาทั้งหลายที่ทุกคนเคยได้รับมาในชีวิต แม้ไม่พิจารณาให้ประณีตก็ย่อมไม่เข้าใจ แต่แม้พิจารณาให้ประณีตด้วยดี ย่อมไม่อาจที่จะละเลยพระคุณได้ ย่อมจับใจในพระคุณพ้นพรรณนา<O:p></O:p>

    8.พุทธวิธีเพื่อการหัดตาย<O:p></O:p>

    พุทธวิธีเพื่อการหัดตาย<O:p></O:p>
    การหัดตายที่ปราชญ์ในพระพุทธศาสนาท่านแนะนำ คือ การหัดอบรมความคิด สมมติว่าตนเองในขณะนั้นปราศจากชีวิตแล้วตายแล้ว เช่นเดียวกับผู้ที่ตายแล้วจริงทั้งหลาย<O:p></O:p>

    ฝึกอบรมความคิดว่าเมื่อปราศจากชีวิตแล้ว<O:p></O:p>
    สภาพร่างกายของตนที่เคยเคลื่อนไหว จักทอดนิ่ง<O:p></O:p>
    คิดให้เห็นชัดว่าเมื่อตายแล้ว ตนจะมีสภาพอย่างไร ร่างที่เคยเคลื่อนไหวได้ก็จะทอดนิ่ง อย่าว่าแต่เพียงจะลุกขึ้นไปเก็บรวบรวมเงินทองข้าวของที่อุตส่าห์สะสมไว้เพื่อนำไปด้วย จะเขยิบไปพ้นแดดพ้นมดสักนิ้วสักคืบก็ทำไม่ได้ เมื่อมีผู้มายกไปนำไป ยังที่ซึ่งเขากำหนดกันว่าเหมาะว่าควร ก็ไม่อาจขัดขืนโต้แย้งได้ แม้บ้านอันเป็นที่รักที่หวงแหน เขาก็จะไม่ให้อยู่...จะยกไปวัด เคยนอนฟูกบนเตียงในห้องกว้าง ประตูหน้าต่างเปิดโปร่ง เขาก็จะจับลงไปในโลงศพแคบทึบ ไม่มีประตู ไม่มีหน้าต่าง ตีตาปูปิดสนิทแน่น ไม่ให้มีแม้แต่ช่องลมและอากาศ จะร้องก็ไม่ดัง จะประท้วงหรืออ้นวอนก็ไม่สำเร็จ ไม่มีใครสนใจ<O:p></O:p>

    ถูกทอดทิ้งอ้างว้างตามลำพัง หลังปราศจากชีวิต<O:p></O:p>
    สามี ภริยา มารดา บิดา บุตร ธิดา ญาติสนิทมิตรทั้งหลาย ที่เคยรักห่วงใยกันนักหนา ก็ไม่มีใครมาอยู่ด้วยแม้สักคน อย่าว่าแต่จะเข้าไปนั่งไปนอนในโลงศพด้วยเลย แม้แต่จะนั่งเฝ้านอนเฝ้าอยู่ข้างโลงทั้งวันทั้งคืน ก็ยังไม่มีใครยอม บ้านเรือนใครก็จะพากันกลับคืนหมด ทิ้งไว้แต่ลำพังในวัดที่อ้างว้าง มีศาลาตั้งศพ มีเมรุเผาศพ มีเชิงตะกอน มีศพที่เผาเป็นเถ้าถ่านแล้วบ้าง ยังไม่ได้เผาบ้างมากมายหลายศพ<O:p></O:p>

    ทรัพย์สมบัติที่สะสมไว้ ในขณะที่มีชีวิต<O:p></O:p>
    สิ้นสุดลงแล้วพร้อมกับลมหายใจและชีวิตที่สิ้นสุด<O:p></O:p>
    ทีนี้เมื่อยังไม่ตาย เราเคยกลัว เคยรังเกียจ แต่เมื่อตายเราก็หนีไม่พ้น เรามีอะไรหรือในขณะนั้น เราไม่มีอะไรเลย มือเปล่าเกลี้ยงเกลาไปทั้งเนื้อทั้งตัว เงินสักบาททองสักเท่าหนวดกุ้งก็ไม่มีติด มีแต่ตัวแท้ ๆ เขาไม่ได้แต่งเครื่องเพชรเครื่องทองมีค่าหรือมอบกระเป๋าใส่เงินใส่ทองให้เลย อย่างดีก็มีเพียงเสื้อผ้าที่เขาเลือกสวมใส่แต่งศพให้ไปเท่านั้น ซึ่งไม่กี่วันก็จะชุ่มน้ำเหลืองที่ไหลจากตัว มีใครเล่าจะมาเปลี่ยนชุดใหม่ ๆ ให้ ทั้ง ๆ ที่สะสมไว้มากมายหลายสิบชุด ล้วนเป็นชอบอกชอบใจว่าสวยว่างาม โอกาสที่จะได้ใช้เงินใช้เสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องเพชรเครื่องทองเหล่านั้นสิ้นสุดลงแล้ว... พร้อมกับลมหายใจ พร้อมทั้งชีวิตที่สิ้นสุดนั้นเอง ไม่คุ้มกันเลยกับความเหนื่อยยากแสวงหามา สะสมโดยไม่ถูกไม่ชอบด้วยประการทั้งปวง ที่เป็นบาป เป็นอกุศล เป็นการเบียดเบียนก่อทุกข์ภัยให้ผู้อื่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มองให้เห็นสภาพร่างกายที่ตายแล้ว<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:
    หัดมองให้เห็นร่างกายของตนเอง ที่ตายแล้วอืดอยู่ในโลง เริ่มปริแตก มีน้ำเหลือง น้ำหนองไหลออกจากขุมขน เส้นผมเปียกแฉะด้วยเลือดด้วยหนอง ลิ้นที่เคยอยู่ในปากเรียบร้อยก็หลุดออกมาจุก นัยน์ตาถลนเหลือกลาน<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    รูปร่างหน้าตาของตนเองขณะนั้น อย่าว่าแต่จะให้ใครอื่นจำได้เลย แม้ตัวเองก็จำไม่ได้ อย่าว่าแต่จะให้ใครอื่นไม่รับเกียจ สะดุ้งกลัวเลย แม้แต่ตัวเองก็ยากจะห้ามความรู้สึกนั้น ผิวพรรณที่อุตสาหะพยายามถนอมรักษาให้งดงามเจริญตา เจริญใจ ใส่หยูกใส่ยา เครื่องอบเครื่องลูบไล้ เครื่องประทินอันมีกลิ่นมีคุณค่าราคาแพงทั้งหลาย มีลักษณะตรงกันข้ามกับความปรารถนาอย่างสิ้นเชิง เมื่อความตายมาถึง<O:p></O:p>

    ทรัพย์สมบัติสักนิด เมื่อตายไปก็นำไปไม่ได้<O:p></O:p>
    เมื่อความตายมาถึง ไม่มีผู้ใดจะสามารถถนอมรักษาทะนุบำรุงรักษาร่างกายของเขาไว้ได้ แม้สมบัติพัสถานที่แสวงหาไว้ระหว่างมีชีวิตจนเต็มสติปัญญาความสามารถแม้ด้วยเล่ห์กล เพื่อใช้ทะนุถนอมรักษาเชิดชูบำรุงตัวของเรา ก็ติดร่างไปไม่ได้เลย<O:p></O:p>

    แม้ร่างกายของเรา ก็ต้องทิ้งไว้ในโลก<O:p></O:p>
    เป็นจริงดังพุทธศาสนสุภาษิตว่า... ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้ ให้ความสุข ความสมบูรณ์ ความสะดวกสบาย ความปกป้องคุ้มกันร่างของคนตายไม่ได้ ต้องปล่อยให้ร่างนั้นผุพัง เน่าเปื่อยคืนสู่สภาพเดิม เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ประจำโลกต่อไป ต้องตามพุทธศาสนสุภาษิตว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เมื่อชีวิตดับสลาย...<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:
    ทุกสิ่งที่เคยครอง ก็ต้องสูบสลายพลัดพราก<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ชีวิตใคร...ใครก็รัก<O:p></O:p>
    ชีวิตเรา...เราก็รัก ชีวิตเขา...เขาก็รัก<O:p></O:p>
    ความตาย...เรากลัว ความตาย...เขาก็กลัว<O:p></O:p>
    ของของใคร...ใครหวง ของของเรา...เราหวง<O:p></O:p>
    ของของเขา...เขาก็หวง<O:p></O:p>

    จะลักจะโกงจะฆ่าทำร้ายใครสักคน ขอให้นึกกลับกันเสีย ให้เห็นเขาเป็นเรา เราเป็นเขา คือ เขาเป็นผู้ที่จะลักจะโกงจะฆ่าจะทำร้ายเรา เราเป็นเขาผู้ที่จะถูกลักถูกโกงถูกฆ่าถูกทำร้าย ลองนึกเช่นนี้ให้เห็นชัดเจน แล้วดูความรู้สึกของเรา จะเห็นว่าที่เต็มไปด้วยโมหะนั้น จะเปลี่ยนเป็นเมตตากรุณา<O:p></O:p>

    ข่าวผู้พยายามป้องกันสมบัติของตนจนเสียชีวิตนั้น น่าสลดสังเวชยิ่งนัก หรือข่าวแม้ผู้กำลังจะสิ้นชีวิตแล้ว แต่ก็ยังพยายามกระเสือกกระสนรักษาสมบัติมีค่าของตนที่ติดตัวอยู่ ก็น่าสงสารที่สุด พบข่าวเหล่านี้เมื่อไร ขอให้นึกถึงใจคนเหล่านั้น อย่าคิดทำร้าย อย่าคิดเบียดเบียนกันเลย<O:p></O:p>

    ทุกชีวิตต้องตาย...และจะตายในเวลาไม่นาน<O:p></O:p>
    ชีวิตของมนุษย์นี้ จะยืนนานเกิน 100 ปี ก็ไม่มาก ทั้งยังเหลืออยู่ไม่ถึง 100 ปี อีกด้วย คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์ จะทำทุกวิถีทางแม้ที่ชั่วช้าโหดร้ายเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์ทำไมเล่า ในเมื่อชีวิตดับสลายแล้ว ทุกสิ่งที่ชีวิตเคยครอง ก็ต้องสูญสลายพลัดพรากจากไป ทรัพย์สมบัติติดตามคนตายไปไม่ได้ แต่เหตุแห่งการแสวงหาทรัพย์โดยมิชอบ ซึ่งเป็นกรรมไม่ดี ติดตามคนตายไปได้ ให้ผลเป็นความทุกข์ความเดือนร้อนแก่คนที่ตายไปแล้วได้ ทรัพย์จึงไม่ใช่สิ่งที่พึงแสวงหา โดยไม่คำนึงให้รอบคอบถึงความถูก ความผิด ความควร ความไม่ควร<O:p></O:p>

    ความโลภไม่มีขอบเขตนั้น เป็นทุกข์หนักนัก<O:p></O:p>
    ทรัพย์ที่แสวงหาด้วยความโลภเป็นใหญ่ ได้ทำลายชีวิตและทำลายชื่อเสียงเกียรติยศของใครต่อใครมาแล้วอย่างประมาณมิได้ ปรากฏให้เห็นอยู่ในชีวิตนี้ ความโลภโดยไม่มีขอบเขตนั้นเป็นทุกข์หนักนัก ทั้งโลภในทรัพย์ ในยศ ในชื่อ ล้วนเป็นทุกข์หนักนักทั้งสิ้น ตนเองก็เป็นทุกข์ ทั้งยังแผ่ความทุกข์ไปถึงผู้อื่นอีกด้วย จึงเป็นกรรมไม่ดี<O:p></O:p>

    ผู้มีปัญญา มีความฉลาด มีสัมมาทิฐิ<O:p></O:p>
    จักมุ่งเพียรละกิเลสก่อนความตายมาถึง<O:p></O:p>
    ถ้าทุกข์ร้อนเพราะความอยากได้ไม่สิ้นสุดในลาภ ในยศ ในชื่อ จะดับทุกข์ร้อนนั้นได้ด้วยการทำกิเลสให้หมดจด ชีวิตในภพชาติข้างหน้าอันยาวนานนักหนา จะเป็นชีวิตดีมีสุขเพียงไร ขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำไว้แล้วทั้งในอดีตชาติและในชาตินี้เป็นสำคัญ จะฉลาดนักถ้าจะไม่ลืมความจริงนี้ จะฉลาดที่สุดถ้าจะไม่คำนึงถึงแต่ความสุขเฉพาะในชีวิตนี้ หรือชีวิตหน้า แต่จะมุ่งคำนึงว่าจะพึงปฏิบัติอย่างไรให้เต็มสติปัญญาความสามารถ เพื่อไม่ต้องมีภพชาติข้างหน้าอีกต่อไป เพราะความเกิดเป็นความทุกข์แท้ ผู้ฉลาดมีสัมมาทิฐิความเห็นชอบ จักมุ่งมั่นเพียรอบรมสติปัญญาให้สามารถทำลายกิเลสคือราคะ หรือโลภะ โทสะ และโมหะ ให้หมดจด เพื่อพาตนให้พ้นได้จากความเกิดอันเป็นทุกข์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    9. ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    บัณฑิต คือคนดี คนที่มีปัญญา คนที่ไม่ใช่พาล<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    บัณฑิต ตามพจนานุกรม แปลว่า ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ แต่ความหมายแท้จริงที่ท่านใช้กัน บัณฑิตหมายถึงคนดี คนที่ไม่ใช่พาล และเมื่อพิจารณากันแล้ว คนดีหรือผู้มีปัญญาก็เป็นคนเดียวกันนั่นเอง คนมีปัญญาจะเป็นคนไม่ดีไปไม่ได้ ถ้าเป็นคนไม่ดีก็เพราะไม่มีปัญญา<O:p></O:p>

    บัณฑิตย่อมรู้ถูก รู้จริง ว่าความดีคืออะไร ความชั่วคืออะไร<O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...