กำเนิดและความสำคัญของ...วันพระ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 11 กันยายน 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    กำเนิดและความสำคัญของ...วันพระ


    [​IMG]

    เมื่อพูดถึงวันพระ ย่อมหมายถึงวันสำคัญที่สุดใน ทางศาสนาทุกศาสนา ซึ่งต้องมีวันสำคัญประจำศาสนาของตน ไม่ว่าจะเป็น ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม และอื่นๆ อีกมากมายหลายศาสนา ล้วนแล้วแต่ม ีวันที่ถูกกำหนดขึ้นให้เป็นวันที่ ศาสนิกชน ทุกคนจะต้องปฏิบัติศาสนกิจ เป็นการสักการบูชาพระ ซึ่งเป็นที่เคารพและถือปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อย้ำให้เกิดศรัทธาต่อองค์พระ ที่ตนเคารพนับถือตลอดมา

    วันพระในพระพุทธศาสนา เดิมเรียกว่า วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันที่ถูกกำหนดให้เข้าอยู่ประจำเพื่อรักษาศีลปฏิบัติธรรม หรือเรียกว่า อุโบสถศีล คือ ศีลที่ต้องสมาทานรักษาในวันอุโบสถ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการจำศีล ซึ่งถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่พุทธศาสนิกชน จะได้ถือโอกาสเข้าวัดฝึกหัดกายวาจา ฟังธรรม ตลอดจนฝึกหัดขัดเกลากิเลสในใจให้บรรเทาเบาบางลง และถือโอกาสทำบุญบำเพ็ญกุศลไปด้วย ในวันขึ้นหรือแรม ๘ ค่ำ และวันขึ้น หรือแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ ของทุกเดือน

    [​IMG]

    ในมหาชนกชาดก ได้กล่าวถึงเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า คือ เมื่อครั้งที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนกโพธิสัตว์ เดินทางไปค้าขายทางทะเล เกิดพายุ คลื่นในทะเลจัด พัดพาเรือสินค้าอับปางลงกลางมหาสมุทร บรรดาลูกเรือจมลงสู่ก้นทะเลเสียชีวิตทั้งสิ้น หลังจากพายุและคลื่นในทะเลสงบแล้ว พระองค์ต้องว่ายน้ำและลอยคอไปตามแรงซัดของคลื่นทะเลตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง ๗ วัน พอถึงวันอุโบสถพระองค์ก็ทรงบ้วนปากด้วยน้ำทะเลนั่นเอง แล้วอธิษฐานสมาทานศีล ๘ (ศีลอุโบสถ) รักษาอย่างเคร่งครัดตลอดหนึ่งคืนหนึ่งวัน

    นอกจากนี้ยังมีหลักฐานปรากฏใน พระวินัยปิฎก อุโบสถขันธกะ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๐๖ ข้อ ๑๓๒ เป็นหลักฐานยืนยันว่า พระพุทธเจ้าได้เคยทรงอนุญาตให้ภิกษุประชุมกันในวัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ มีเรื่องเล่า ดังนี้
    ระหว่างพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เป็นขณะเดียวกันกับพวกปริพาชกอัญเดียรถีย์ (นักบวชต่างศาสนา) มีการรวมตัวกันประชุมกล่าวแสดงหลักคำสอนตามความเชื่อในลัทธิของตน ทำให้ประชาชนต่างพากันแตกตื่นความแปลกใหม่ ให้ความสนใจแนวทางการสอนดังกล่าว และเข้ามามอบตัวเป็นศิษย์มากมาย ส่งผลให้พระเจ้าพิมพิสาร เจ้าครองนครมคธ ครั้นทรงทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น จึงทรงดำริว่า :

    "ระยะนี้ พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์ ต่างก็พร้อมใจกันชุมนุม กล่าวแสดงหลักคำสอนของตน แก่ประชาชนในวัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ ทำให้ประชาชนที่ไปร่วมรับฟังต่างก็เกิดศรัทธา ไปเข้าพวกเดียรถีย์เป็นอันมาก ถ้าพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า มีการประชุมอย่างนั้นบ้าง ก็คงจักบังเกิดผลดีแก่พระพุทธศาสนาแน่นอน"

    จึงเสด็จเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและกราบทูลเรื่องนั้นให้พระพุทธองค์ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุให้มาประชุมพร้อมกันแล้วมีรับสั่งว่า
    ?ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เธอทั้งหลายประชุมพร้อมกันใน (ทุก) วัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์?

    [​IMG]

    เมื่อพระสงฆ์มาประชุมพร้อมกัน แล้วแต่ไม่ได้กล่าวไม่ได้แสดงธรรมแต่อย่างใด ต่างพากันนั่งนิ่ง ชาวบ้านก็ตำหนิและเที่ยวประจานให้เกิดความเสียหายว่า พระสงฆ์ประชุมกันแล้วนั่งนิ่งเหมือนสุกรใบ้ถูกขุนไร้คุณค่า เพราะไม่กล่าวธรรมไม่สอนธรรม เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบ จึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย (แต่นี้ไป) เราอนุญาตให้เธอ ทั้งหลายประชุมกัน กล่าวธรรม แสดงธรรม ใน (ทุก) วัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์"

    ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ภิกษุทั้งหลายจึงได้ถือปฏิบัติตามพระพุทธานุญาตตลอดมา และวันที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตนี้เรียกว่า วันอุโบสถ พร้อมทั้งทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์สวดปาติโมกข์ และแสดงธรรมเทศนาเพื่อให้ประชาชนผู้สนใจใคร่เรียนรู้ เข้าร่วมรับฟังอย่างพร้อมเพรียง

    อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้เป็นเรื่องน่าเสียดาย สำหรับวัฒนธรรมของชาวพุทธ ที่เกี่ยวข้องกับวันพระได้เปลี่ยนแปลงจากอดีตมาก พระราชวิจิตรปฏิภาณ (พระพิพิธธรรมสุนทร)

    ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม บอกว่า เหตุปัจจัยที่คนไม่เข้าวัดทำบุญ ในช่วงวันพระนั้นเกิดจากผู้นำไม่ทำเป็นแบบอย่างให้ผู้ตาม กล่าวคือ
    ประการแรกเกิดจากผู้นำประเทศไม่ได้ทำตัวเป็นผู้นำทางด้านศีลธรรมที่ดี เมื่อผู้นำไม่รู้จักศีลธรรมจึงไม่รู้จักวันพระ บางคนถึงกับไม่มีวัดสำหรับไปทำบุญ ในที่สุดก็ไม่ให้สำคัญกับวันพระและก็ไม่นำคนเข้าวัดปฏิบัติธรรม

    เมื่อเป็นเช่นนี้ระเบียบของสังคมก็ถูกเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะเห็นการเข้าวัดของผู้นำประเทศ เป็นเหตุผลทางการเมือง บางคนเข้าวัดเพื่อเป็นข่าวปรากฏตามสื่อเท่านั้น

    ประการที่สองต้องโทษเจ้าอาวาสหรือสมภารวัด ละเลยประเพณีของตนเอง อย่าไปอ้างหรือโทษสังคมว่าวันพระคนไม่เข้าวัดพระจึงต้องออกบิณฑบาต โดยในปัจจุบันนี้วัดใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ เช่น วัดโพธิ์ วัดชนะสงคราม วัดสุทัศนฯ วัดประยุรฯ ก็ยังคงจัดกิจกรรมทางศาสนาเพื่อให้คนเข้าวัด ที่สำคัญ คือ เจ้าอาวาสจะไม่มีการรับกิจนิมนต์ในวันพระ

    [​IMG]

    ส่วนข้ออ้างสำหรับผู้ไม่เข้าวัด โดยอ้างว่าไม่ตรงกับวันหยุดเสาร์-อาทิตย์นั้น เป็นข้ออ้างของคนบาป เป็นข้ออ้างของคนไม่อยากเข้าวัด วันหยุดเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุดของสากล แต่วันพระเป็นวันวัฒนธรรมของชาวพุทธ ซึ่งผู้ใหญ่ต้องทำให้เป็นตัวอย่างกับเด็กให้มี ความเคร่งครัดเรื่องศีลธรรม โดยให้เริ่มในวันสำคัญทางศาสนาก่อน เช่น วิสาขบูชา มาฆบูชา และ อาสาฬหบูชา จากนั้นก็เพิ่มการรักษาศีลในวันพระขึ้น(แรม) ๘ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ

    พระราชวิจิตรปฏิภาณ (พระพิพิธธรรมสุนทร) บอกด้วยว่า ในอดีตนั้นชาวพุทธจะเคร่งในเรื่องไม่ฆ่าสัตว์ในช่วงวันโกนกับวันพระ ร่วมทั้งไม่ฆ่าสัตว์ที่ตั้งท้องเป็นอาหารอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นบาปมาก แต่ปัจจุบันนี้กลับกลายเป็นว่า วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น ถือว่าเป็นของอร่อย การห้ามฆ่าสัตว์ในวันพระ โดยเฉพาะการฆ่าสัตว์ที่มีไข่ เช่น ปลาไข่ ปูไข่ เป็นบาปมหันต์ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งของคนโบราณ



    เรื่องและภาพ ธรรมจักร สิงห์ทอง
    คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

    [​IMG] วิถีบุญ-วิถีธรรม :
     
  2. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,236
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +114,964
    แล้วคนดีก็จะกลับมา เชื่อผมเถอะครับ
     
  3. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG]ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...
     
  4. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    ถ้าจำไม่ผิดสมัยก่อนวันหยุดราชการใช้วันพระเป็นวันหยุด
    ถ้าปัจจุบันนี้ใช้ก็คงจะดีนะ แต่คงเป็นไปได้ยาก เพราะเราก็ต้องอ้างอิงกับสากลเขา
    พยายามหาวันที่ว่างจากการงานไปทำบุญแล้วกัน
    ถ้าไม่ติดธุระอะไร ผมจะไปวัดทุกวันเสาร์ครับ
    ขออนุโมทนา
     
  5. naraiyana

    naraiyana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +628
    ดีครับ มีข้อมูลที่น่าสนใจและน่าติดตามครับ
    ขออนุโมทนาบุญครับ
     
  6. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,185
    ขออนุโมทนาค่ะ ไม่ได้ปฏิบัติธรรมในวันพระ
    แต่ตั้งจิตอธิษฐานไว้คือไม่ทานเนื้อสัตว์ในวันนี้
     
  7. - เงาะป่า -

    - เงาะป่า - เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    521
    ค่าพลัง:
    +565
    อนุโมทนาสาธุครับ
    -------------------------------------------------------------------------------------------------------
    "จงจำไว้นะ เมื่อยังไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้ ครั้นถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดินเมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครไหนมาช่วยเจ้า"
    -------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ขอความเมตตา สร้างชีวิตใหม่ ช่วยน้องผ่าตัดใบหน้า ให้สดใสเหมือนเดิม
    --> http://palungjit.org/showthread.php?p=1440317#post1440317
    ร่วมสร้าง " อุโบสถเงิน" วิหารทานที่ในครั้งนึงในชีวิตไม่ควรพลาดครับ
    --> http://palungjit.org/showthread.php?t=140433
    มาลองทำสังฆทานอย่างง่ายๆ ด้วยตนเองกันครับ
    --> http://palungjit.org/showthread.php?p=1435870#post1435870
    มาเที่ยวศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน จ.ตากกันครับ
    --> http://palungjit.org//showthread.php?t=144889
    มาเที่ยว วัดเกตการาม จ.เชียงใหม่ วัดประจำปีจอกัน
    --> http://palungjit.org/showthread.php?t=136821
     
  8. สุธรรมพจน์

    สุธรรมพจน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +157
    พวกเราชาวพุทธ โชคดีนักหนาแล้วที่ได้เกิดมาแล้วพบเจอกับพระพุทธศาสนา

    เมื่อถึงวันพระ ควรไปวัดนะครับ

    ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ไม่มีการบังคับในการไปวัด เหมือนศาสนาอื่น

    ดังนั้น....ของแบบนี้ผู้ใดทำ ผู้นั้นย่อมได้รับ ด้วยตัวเอง

    อย่างน้อย ก็ทำให้ท่านอิ่มใจ เพราะได้ทำบุญ






    "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต

    ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรมตถาคต"




    ตามความเข้าใจของผม

    ไม่ใช่แค่เราเจอวัด เจอพระ แล้วดีใจว่าเห็นธรรมกันแล้ว

    แต่เราต้องปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนด้วยครับ
    เราจึงจะได้เห็นธรรม เห็นตถาคต

    จึงเห็นได้ว่า การปฎิบัติธรรม นั้นแหละครับคือเส้นทางธรรมที่แท้จริงครับ


    ขอร่วมอนุโมทนาบุญ กับทุกๆ ท่านด้วยนะครับ

    สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...