อันตรายเปิดเผย กับ อันตรายซ่อนเร้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 29 พฤษภาคม 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    “ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? ได้แก่ กุศลมูล ๓ คือ อโภละ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่ประกอบด้วยกุศลมูลนั้น กายกรรม วิจีกรรม มโนกรรม ที่มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน เหล่านี้ คือ ธรรมเป็นกุศล”

    GraphicFlower21.gif
    “ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน? ได้แก่ อกุศลมูล ๓ คือ โภละ โทสะ โมหะ และกิเลสทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่ประกอบด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม วิจีกรรม มโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน เหล่านี้ คือ ธรรมเป็นอกุศล” (อภิ.สํ.34/663/259)
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    "อันตรายมี ๒ อย่าง คือ อันตรายที่เปิดเผย และอันตรายที่ซ่อนอยู่"

    "อันตรายที่ปิดเผย เป็นไฉน? ได้แก่ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสื่อดาว หมาป่า ฯลฯ โจร ฯลฯ โรคตา โรคหู โรคจมูก ฯลฯ หนาว ร้อน หิว กระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ สัมผัสเหลือบยุง ลมแดด และสัตว์เสือกคลาน เหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่เปิดเผย"

    "อันตรายที่ซ่อนอยู่ เป็นไฉน? ได้แก่ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ (ลบล้าง ปิดซ่อนความดีของผู้อื่น) ความยกตัวกดเขาไว้ ความริษยา ความตระหนี่ มารยา ความโอ้อวด ความดื้อกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความมัวเมา ความประมาท ปวงกิเลส ปวงความทุจริต ปวงความกระวนกระวาย ปวงความร่านรน ปวงความเดือดร้อน ปวงความปรุงแต่งที่เป็นอกุศล เหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ซ่อนอยู่
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่ากระไร จึงชื่อว่าอันตราย ? เพราะอรรถว่าครอบงำ... เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม...เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัย...”

    ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่าครอบงำ เป็นอย่างไร ? คือ อันตรายเหล่านั้น ย่อมข่ม ย่อมกดขี่ ครอบงำ ท่วมทับ บันรอน ย่ำยี บุคคลนั้น...”

    ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็นอย่างไร ? คือ อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ”


    ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัย เป็นอย่างไร ? คือ อกุศลธรรมชั่วร้ายเหล่านั้น เกิดขึ้นที่ภายในนั้น อาศัยอัตภาพอยู่ เหมือนกับสัตว์อาศัยรู ก็อยู่ในรู สัตว์อาศัยน้ำ ก็อยู่ในน้ำ สัตว์อาศัยป่า ก็อยู่ในป่า สัตว์อาศัยต้นไม้ ก็อยู่ที่ต้นไม้ ฯลฯ ”

    “สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังมีศิษย์อยู่ร่วมด้วย ยังมีอาจารย์คอยสอดส่อง* (*ถ้าแปลตามศัพท์ว่า อยู่มีอันเตวาสิก มีอาจารย์) ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่ผาสุกสบาย

    ภิกษุมีศิษย์อยู่ร่วมด้วย มีอาจารย์คอยสอดส่อง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่ผาสุกสบาย เป็นอย่างไร ? กล่าว คือ พอจักษุเห็นรูป...พอโสตสดับเสียง....พอจมูกดมกลิ่น...พอลิ้นลิ้มรส...พอกายต้องสิ่งกระทบ...พอใจรู้ธรรมารมณ์ อกุศลธรรมชั่วร้าย ความดำริร่าน อันก่อกิเลสผูกรัดทั้งหลาย ก็เกิดขึ้นแก่ภิกษุ อกุศลธรรมชั่วร้ายทั้งหลาย ย่อมอยู่อาศัย เที่ยววิ่งซ่านไปข้างในของเธอ เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอจึงถูกเรียกว่า มีลูกศิษย์อยู่ร่วมด้วย อกุศลธรรมชั่วร้ายเหล่านั้น ย่อมคอยเรียกเร้าเธอ เพราะเหตุดังนั้น เธอจึงถูกเรียกว่า มีอาจารย์คอยสอดส่อง...”
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ


    “สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ เป็นมลทินภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นข้าศึกภายใน เป็นเพชฌฆาตภายใน เป็นผู้จองล้างภายใน สามประการนี้ คือ อะไร ? ได้แก่ โลภะ โทสะ...โมหะ ฯลฯ”

    “โลภะก่อความเสียหาย โลภะทำใจให้กำเริบ คนไม่รู้เท่าทันว่ามันเป็นภัยที่เกิดขึ้นข้างใน โลภเข้าแล้ว ไม่รู้อรรถ โลภเข้าแล้วไม่เห็นธรรม พอความโลภเข้าครอบงำ เวลานั้นมีแต่ความมืดตื้อ โทสะ ก่อความเสียหาย ฯลฯ โมหะ ก่อความเสียหาย ฯลฯ (เหมือนกัน)”

    “สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูกรมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการเกิดขึ้นภายในตัวของคน ย่อมเกิดขึ้น เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เพื่อความเป็นอยู่ไม่ผาสุก สามประการ คือ อะไร ? ได้แก่ โลภะ...โทสะ...โมหะ ฯลฯ”

    “โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นข้างในตนเอง ย่อมบั่นรอนคนใจบาป เหมือนขุยไผ่บั่นรอนต้นไผ่ ฉะนั้น..” (ขุ.ม.29/22/14-18....)

    “ดูกรมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการ เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เพื่อความเป็นอยู่ไม่ผาสุก สามประการคืออะไร ? ได้แก่ โลภะ...โทสะ...โมหะ ฯลฯ” (สํ.ส.15/403142)


    ภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูลมี ๓ อย่างดังนี้ สามอย่าง คือ อะไร ? ได้แก่ อกุศลมูลคือโลภะ อกุศลมูลคือ โทสะ อกุศลมูลคือโมหะ


    “แม้ตัวโลภะเองก็เป็นอกุศล คนโลภแล้ว ปรุงแต่งกรรมใด ด้วยกาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้นก็เป็นอกุศล คนโลภแล้ว ถูกความโลภครอบงำ มีจิตถูกโลภะบ่อนเสียแล้ว ย่อมหาเรื่องก่อความทุกข์แก่ผู้อื่น โดยฆ่าเขาบ้าง จองจำบ้าง ทำให้สูญเสียบ้าง ตำหนิโทษเอาบ้าง ขับไล่บ้าง ด้วยถือว่า ข้าฯเป็นคนมีกำลัง ข้าฯเป็นผู้ทรงกำลัง แม้ข้อนั้นก็เป็นอกุศล อกุศลธรรมชั่วร้ายเป็นอเนก ซึ่งเกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นต้นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด มีโลภะเป็นปัจจัยเหล่านี้ ย่อมประดังมีแก่เขา ด้วยประการฉะนี้”



    “แม้ตัวโทสะเองก็เป็นอกุศล คนมีโทสะแล้ว...ย่อมหาเรื่องก่อทุกข์แก่ผู้อื่น...แม้ข้อนั้นก็เป็นอกุศล อกุศลธรรมชั่วร้ายเป็นอเนก... ย่อมประดังมีแก่เขาด้วยประการฉะนี้ ฯลฯ ”



    “แม้ตัวโมหะเอง ก็เป็นอกุศล คนโมหะแล้ว ปรุงแต่งกรรมใด ด้วยกาย วาจา ใจ แม้กรรมนั้น ก็เป็นอกุศล คนมีโมหะแล้ว...ย่อมหาเรื่องก่อทุกข์แก่ผู้อื่น...แม้ข้อนั้นก็เป็นอกุศล อกุศลธรรมชั่วร้ายเป็นอเนก...ย่อมประดังมีแก่เขาด้วยประการฉะนี้ ฯลฯ ”



    “บุคคลเช่นนี้ ผู้ถูกอกุศลธรรมชั่วร้ายที่เกิดจากโลภะ...โทสะ...โมหะ ครอบงำแล้ว มีจิตถูกบ่อนแล้ว ในปัจจุบันนี่เอง ก็อยู่เป็นทุกข์ มีความดั่งเครียด คับแค้น เร่าร้อน เพราะกายแตกตายไป ก็เป็นอันหวังทุคติได้ เปรียบเหมือนต้นสาละ ต้นตะแบก หรือต้นสะคร้อก็ตาม ถูกเถาย่านทราย ๓ เถา ขึ้นคลุมยอด พ้นรอบต้นแล้ว ย่อมถึงความไม่เจริญ ย่อมถึงความพินาศ ย่อมถึงความเสื่อม ความวอดวาย...”
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ภิกษุทั้งหลาย กุศลมูล มี ๓ อย่างดังนี้ สามอย่าง คือ อะไร ? ได้แก่ กุศลมูลคืออโลภะ กุศลมูล คืออโทสะ กุศลมูล คืออโมหะ ฯลฯ” *

    (*องฺ.ติก.20/509/258-263 ท่านบรรยายเรื่องกุศลมูลไว้ด้วย แต่พึงทราบโดยนัยตรงข้ามจากที่กล่าวแล้ว)
     
  6. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,301
    ค่าพลัง:
    +12,628
    โดดจากแท่นเทศน์กลับกุฏิไปแล้วรึ
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เขาเรียกว่า มีทั้งลูกล่อลูกชน อิอิ พูดตามสำนวนจีนว่า มีทั้งบู๊ทั้งบุ๋น :D
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    “ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุเพื่อความก่อกำเนิดแห่งกรรมทั้งหลาย มี ๓ อย่างดังนี้ สามอย่าง คือ อะไร ? ได้แก่ โลภะ...โทสะ..โมหะ...”

    “กรรมใด กระทำด้วยโลภะ...โทสะ...โมหะ เกิดจากโลภะ...โทสะ..โมหะ...มีโลภะ...โทสะ...โมหะ เป็นต้นเหตุ เป็นตัวก่อกำเนิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล กรรมนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป (กรรมสมุทัย) ไม่เป็นไปเพื่อดับกรรม (กรรมนิโรธ)

    GraphicFlower37.gif

    “ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุเพื่อความไม่ก่อกำเนิดแห่งกรรมทั้งหลาย มี ๓ อย่างดังนี้ สามอย่าง คือ อะไร ? ได้แก่ อโลภะ...อโทสะ...อโมหะ...”

    “กรรมใด กระทำด้วยอโลภะ...อโทสะ...อโมหะ เกิดจากอโลภะ...อโทสะ..อโมหะ.. มีอโลภะ...อโทสะ...อโมหะ เป็นต้นเหตุ เป็นตัวก่อกำเนิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีสุขเป็นผล กรรมนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อดับกรรม (กรรมนิโรธ) ไม่เป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป (กรรมสมุทัย)(องฺติก.20/551/338)
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ


    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลาย พึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้วิญญูติเตียน ธรรมเหล่านี้ถือปฏิบัติถึงที่แล้ว จะเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายพึงละเสีย”

    “ดูกรกาลามชนทั้งหลาย พวกท่านสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? โลภะ...โทสะ...โมหะ เมื่อเกิดขึ้นภายในตัวของคน ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูล หรือเพื่อไม่เกื้อกูล”

    (ตอบ: เพื่อไม่เกื้อกูล พระเจ้าข้า)

    “คนที่โลภแล้ว...เคืองแค้นแล้ว ...หลงแล้ว ถูกโลภ...โทสะ...โมหะครอบงำ มีจิตอันถูกบ่อนแล้ว ย่อมสังหารชีวิตบ้าง ถือเอาของที่เขามิได้ให้บ้าง ล่วงภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นบ้าง ซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน

    (ทูลรับ: จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า)

    “ดูกรกาลามชนทั้งหลาย พวกท่านสำคัญความข้อนั้นว่า อย่างไร ? ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ?

    (ตอบ: เป็นอกุศล พระเจ้าข้า)

    “ประกอบด้วยโทษ หรือไม่มีโทษ?

    (ตอบ: ประกอบด้วยโทษ พระเจ้าข้า)

    “ผู้รู้ติเตียน หรือผู้รู้สรรเสริญ ?

    (ตอบ: ผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า)

    “ธรรมเหล่านี้ ถือปฏิบัติถึงที่แล้ว เป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ หรือหาไม่ หรือว่าพวกท่าน มีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร ?

    (ตอบ: เมื่อปฏิบัติถึงที่แล้ว เป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ พวกข้าพระองค์มีความเห็นในเรื่องนี้ว่า อย่างนี้)

    “โดยนัยดังนี้แล กาลามชนทั้งหลาย ข้อที่เราได้กล่าวไว้ว่า มาเถิด กาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อย่าถือโดยฟังตามกันมา ฯลฯ อย่าถือโดยนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล ฯลฯ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย พึงละเสีย ดังนี้นั้น เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลดังว่ามานี้” (องฺ.ติก.20/505/243/)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2017
  10. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,301
    ค่าพลัง:
    +12,628
    ไม่ได้หรอก ไม่ปลอดภัยแน่ถ้าจะใช้ลูกพลิ้ว
    ครองตน
    ในสังคมที่กำลังรุดไปข้างหน้า
    ด้วยนวัตกรรมใหม่ที่ตั้งอยู่บนฐานข้อมูล
    ที่มาจากการวิเคราะห์คิดตามพฤติกรรม
    แบบGPRS
    ใช้มุขเก่าๆ ไปแฝงตัวในองค์กรที่ล้าหลัง
    พอได้อยู่
    แต่ในบางที่เช่นจุฬาฯ มีการลงทุน
    เรียกใช้
    นวัตกรรมการพัฒนาจากแหล่ง outsource
    มืออาชีพบุคคลากรหลายหัวจะถูกมองเป็นขยะ
    ขององค์กรที่ต้องคัดแยกหรือเก็บทำลาย
    เพราะมีความล้าหลังมาก

    คุณต้องเลือกอยู่กับความจริงใหม่ และหลีกเร้น
    ความจริงเก่าๆ เพราะมันจริงแต่ล้าหลังมาก
    เอามาประวานกับความจริงใหม่ไม่ลงตัว
    และเป็นการถ่วงการเดินไปข้างหน้าอย่าง
    รุนแรง
    อย่าหลงยุคเลย คนรุ่นใหม่อย่างลุงแมว
    ไม่มีใครรับได้ สุดท้ายก็จะเป็นวีรชนเอกชน
    แบบบุคคลากรหลายๆ คนในจุฬาที่มีกลุ่มมีก้อน
    เล็กๆ น้อยๆ แสดงกันอยู่
    จุฬาเองก็ให้พื้นที่นะ แต่บางทีก็พยายามไปแซงชั่น
    สังคมให้คนนอกกลุ่มเขารำคาญ....แต่หลงภูมิใจ
    ว่าสร้างผลสะเทือนให้แก่สังคมและเคลิ้มกันว่า
    จะเปลี่ยนสังคมให้กลับไปล้าหลัง
    เช่นเดิมได้อย่างกรณีหมุดหน้าหมองเป็นต้น
    สร้างความเจ็บปวดหัว
    ใจให้ตระกูลทรยศแผ่นดิน
    เท่าไหร่ที่คุณไม่มีโอกาสรู้หรอก
    เพราะคุณไม่ใช่พวกเขา.คุณแค่คนหลงยุค
    อ่านหนังสือข้ามบรรทัด จะบอกให้
     
  11. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,301
    ค่าพลัง:
    +12,628
    มจด.ทำตัวไม่เหมาะกับยุคสมัยเอาคำภีร์พุทธธรรม
    มาห่อหุ้มตัว ขาดความเคารพเกรงใจ ผู้ประพันธ์
    ท่านยินยอมหรือเปล่า..ที่เอามาเผยแพร่แนวนี้
    นำเสนอกระพร่องกระแพร่ง ตัดต่อใส่ความเห็นสอดไส้โน่นนี่
    ทำไปได้ยังงัย คนดีเขาจะกล้าทำไหม!!??
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ตัดต่อใส่ความเห็นสอดไส้โน่นนี่


    นี่ๆ มุสาแล้ว อิอิ ตรงไหนตัดต่อใส่ความเห็นสอดไส้สอดตับ เอาที่ว่าตรงนั้นมาสิ
    บอกหน้าทุกครั้งว่านำมาจากไหน
    ลุงแมวดิ้นแล้วและจะดิ้นดังขึ้นเรื่อยๆ คิกๆๆ บอกไม่เชื่อ

     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    ต่อไปนี้ เป็นคำสนทนาระหว่างพระเจ้าปเสนทิโกศล กับ พระอานนท์ ถามตอบปัญหาเกี่ยวกับความหมายของความดี ความชั่ว ซึ่งจะเห็นว่า ท่านเอาหลักเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น เข้าสัมพันธ์กันทั้งหมด

    ราชา: พระคุณเจ้าผู้เจริญ ชนเหล่าใดเป็นพาล ไม่ฉลาด ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาแล้ว กล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่าอื่น เราไม่ยึดถือการกล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่านั้น โดยความเป็นแก่นสาร

    ส่วนชนเหล่าใด เป็นบัณฑิต ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา ใคร่ครวญ พิจารณาแล้ว กล่าวคุณหรือโทษ ของชนเหล่าอื่น เราย่อมยึดถือการกล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่านั้น โดยความเป็นแก่นสาร พระคุณเจ้าอานนท์ผู้เจริญ ความประพฤติทางกาย... ความประพฤติทางวาจา...ความประพฤติทางใจ ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู จะพึงกล่าวโทษได้ คือ อย่างไหน ?

    อานนท์: คือความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่เป็นอกุศล มหาบพิตร

    ราชา: ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่เป็นอกุศล คือ อย่างไหน ?

    อานนท์: คือ ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่มีโทษ

    ราชา: ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่มีโทษ คือ อย่างไหน ?

    อานนท์: คือ ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่มีความบีบคั้น

    ราชา : ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่มีความบีบคั้น คือ อย่างไหน ?

    อานนท์: คือ ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่มีทุกข์เป็นผล

    ราชา: ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่มีทุกข์เป็นผล คือ อย่างไหน ?

    อานนท์: คือ ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ ที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนก็ดี เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นก็ดี เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายก็ดี ที่อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งแก่เขา กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมถอยไป มหาบพิตร ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ อย่างนี้แล ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญู จะพึงกล่าวโทษได้”
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อจากนั้น ท่านได้ตอบคำถาม ในฝ่ายกุศลโดยทำนองเดียวกัน ลงท้ายสรุปว่า

    “ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา ...ทางใจ ที่มีสุขเป็นผล คือ ความประพฤติ...ที่ไม่เป็นไปทั้งเพื่อเบียดเบียนตน ทั้งเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ทั้งเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย ที่อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเสื่อมถอย และกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งแก่เขา มหาบพิตร ความประพฤติทางกาย...ทางวาจา...ทางใจ อย่างนี้แล ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญู ไม่พึงกล่าวโทษได้” (ม.ม.13/553-4/500-3)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2017
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ลุงแมว บ้าเรื่องอะไร ถ้าจะเพ้อเจ้อไปเพ้อที่กระทู้อื่นนะไปนะ นี่กระทู้ธรรมะ บอกทางสวรรค์ให้ แต่ไพล่จะลงนรก คนไร้สาระ
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ


    “คนอยากได้ใคร่ติดแล้ว...แค้นเคืองแล้ว...ลุ่มหลงแล้ว...ถูกราคะ...โทสะ...โมหะ ครอบงำแล้ว มีจิตอันถูกบ่อนแล้ว ย่อมคิดการเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมคิดการเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดการเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมเสวยโทมนัสเป็นทุกข์ทางจิตใจบ้าง ครั้นละราคะ...โทสะ...โมหะ เสียได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดการเพื่อเบียดเบียนตน ไม่คิดการเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดการเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องเสวยโทมนัสเป็นทุกข์ทางจิตใจ”

    “คนอยากใคร่ติดแล้ว ...แค้นเคืองแล้ว...ลุ่มหลงแล้ว...ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย...ทางวาจา...ทาง ใจ ครั้นละราคะ..โทสะ ...โมหะเสียได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติทุจริตทางกาย...ทางวาจา..ทางใจ"

    “คนอยากใคร่ติดแล้ว ...แค้นเคืองแล้ว...ลุ่มหลงแล้ว...มีจิตถูกบ่อนแล้ว...ย่อมไม่รู้ตามเป็น จริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน...แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น...แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ครั้นละราคะ..โทสะ ...โมหะเสียได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน...แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น...แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ฯลฯ” (องฺ.ติก.20/511/278-9)

    “บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้ เสวยผล กรรมที่ทำนั้น ไม่ดี บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง มีจิตเอิบอิ่มดีใจ เสวยผล กรรมที่ทำนั้นแลดี” (ขุ.ธ.25/15/23)

    “คนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นในตนเอง” (ขุ.ชา. 27/294/84)

    “กรรมชั่ว ก็เหมือนน้ำนมรีดใหม่ๆ ย่อมไม่แปรเป็นผลในทันที แต่กรรมชั่ว ย่อมตามเผาลนคนพาลเหมือนไฟที่เถ้าปิดไว้” (ขุ.ธ.25/15/24)

    “บุคคลใดเคยทำกรรมชั่วไว้แล้ว (กลับตัวได้) หันมาทำดีปิดกั้น บุคคลนั้นย่อมทำโลกให้แจ่มใส เหมือนดังดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆหมอก” (ขุ.ธ.25/23/38)

    “ความดีที่ทำไว้เอง เป็นมิตรติดตามตัวสืบต่อไป” (สํ.ส.15/163/51)

    “อานนท์ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่เรากล่าวว่า ไม่ควรทำโดยส่วนเดียวนี้ เมื่อผู้ใดทำ ก็พึงหวังโทษต่อไปนี้ได้ คือ คนเองก็กล่าวโทษตนเองได้ วิญญูทั้งหลายใคร่ครวญแล้ว ย่อมติเตียน กิตติศัพท์อันชั่วร้ายย่อมขจรไป ตายก็หลงฟั่นเฟือน เมื่อกายแตกทำลายภายหลังมรณะ ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”

    “อานนท์ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่า ควรทำโดยส่วนเดียวนี้ เมื่อผู้ใดทำ ก็พึงหวังอานิสงส์ต่อไปนี้ได้ คือ คนเองก็กล่าวโทษตนไม่ได้ วิญญูทั้งหลายใคร่ครวญแล้ว ย่อมสรรเสริญ กิตติศัพท์ดีงาม ย่อมขจรไป ตายก็ไม่หลงฟั่นเฟือน เมื่อกายแตกทำลายภายหลังมรณะ ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์” (องฺ.ทุก.20/26473)
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ภิกษุทั้งหลาย จงละอกุศลเสียเถิด อกุศลเป็นสิ่งที่อาจละได้ หากอกุศลเป็นสิ่งที่ไม่อาจละได้แล้วไซร้ เราคงไม่กล่าวอย่างนั้น...แต่เพราะอกุศลเป็นสิ่งที่อาจละได้ เราจึงกล่าวอย่างนั้น... อนึ่ง หากอกุศล คนละเสียแล้ว จะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แล้วไซร้ เราคงไม่กล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย จงละอกุศลเสียเถิด แต่เพราะอกุศลนี้ คนละได้แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย จงละอกุศลเสียเถิด”

    ภิกษุทั้งหลาย จงฝึกอบรมเจริญกุศลเถิด กุศลเป็นสิ่งที่อาจฝึกอบรมได้ หากกุศลเป็นสิ่งที่ไม่อาจฝึกอบรมได้แล้วไซร้ เราคงไม่กล่าวอย่างนั้น...แต่เพราะกุศลเป็นสิ่งที่อาจฝึกอบรมได้ เราจึงกล่าวอย่างนั้น... อนึ่ง หากกุศล คนฝึกอบรมแล้ว จะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แล้วไซร้ เราคงไม่กล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย จงฝึกอบรมกุศลเถิด แต่เพราะกุศลนี้ คนฝึกอบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย จงฝึกอบรมเจริญกุศลเถิด” (องฺ.ทุก.20/265/74)
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่พึงละด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ก็มี ธรรมที่พึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกาย ก็มี ธรรมที่พึงละมิใช่ด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้ ก็มี

    ธรรมที่พึงละด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา เป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยกาย เพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยกาย จะเป็นการดีแท้ ที่ท่านผู้มีอายุได้โปรดละกายทุจริต จงบำเพ็ญกายสุจริตเถิด เธอถูกเพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ว่ากล่าวอยู่ จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต นี่เรียกว่า ธรรมที่พึงละด้วยกาย มิใช่ละด้วยวาจา”

    ธรรมที่พึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกายเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยวาจา เพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยวาจา จะเป็นการดีแท้ ที่ท่านผู้มีอายุได้โปรดละวจีทุจริต จงบำเพ็ญวจีสุจริตเถิด เธอถูกเพื่อนพรหมจารี ผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ว่ากล่าวอยู่ จึงละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต นี่เรียกว่า ธรรมที่พึงละด้วยวาจา มิใช่ละด้วยกาย”

    ธรรมที่พึงละมิใช่ด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้ เป็นไฉน? คือโลภะ...โทสะ...โมหะ...ความโกรธ...ความผูกโกรธ...ความหลบหลู่...ความยกตัวกดเขาไว้...ความตระหนี่....พึงละมิใช่ด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ต้องเห็นชัดด้วยปัญญา จึงละได้...” (อง.ทสก. 24/23/41)

    (พุทธธรรมหน้า 263)
     
  19. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,301
    ค่าพลัง:
    +12,628
    ยังมีหน้ามาทั้งหลาย ทั้งหลายอีกนะพ่อนกหลายหัว
     
  20. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,301
    ค่าพลัง:
    +12,628
    มันไม่ง่ายแบบเก่าแล้ว....คนในนี้รู้ว่าใครนกหลายหัว
    เดนนรกชัดชัด
    สอนธรรมะต้ดปะอยู่ดีดี
    พออวดเก่งโชว์ความโง่
    เอาพระอริยะสงฆ์ไปเปรียบกับพระพุทธเจ้า
    ใครน่าเชื่อกว่ากัน ความหมายคือใครเก่งกว่า
    กัน ยังกะเปรียบมวย คนสอนธรรมะ
    อย่างนี้จะบอกว่า นรกส่งมา มันผิดตรงไหน
    เจ้านกหลายหัวเอ๊ย
     

แชร์หน้านี้

Loading...