เรื่องเด่น 'ขยะอวกาศ' ล้นรอบโลก!! ร่วงลงมาแล้วสวย..แต่ 'เสี่ยง'

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 20 สิงหาคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    ขยะอวกาศ-พลังจิต1.jpg


    เมื่อเร็ว ๆ นี้ญี่ปุ่นออกมายอมรับถึงความล้มเหลวในการส่งยานอวกาศเพื่อที่จะเก็บขยะเหนือชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งที่ผ่านมามีความพยายามอยู่หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเป็นเรื่องเป็นราว เลยทำให้ “ขยะอวกาศ” เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และก็อาจจะ “ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์บนโลก” ได้...
    เรื่องของ “ขยะอวกาศ” นี้ ทาง ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) แจกแจงว่า ขยะอวกาศตอนนี้มีความหลากหลายอย่างมาก แต่ ส่วนใหญ่เป็นขยะที่มนุษย์สร้างขึ้น มีทั้งที่อยู่ในวงโคจรระดับต่ำและระดับสูงจากพื้นโลก มีทั้งขยะที่มีขนาดใหญ่จนถึงนอตตัวเดียวที่หลุดจากซากดาวเทียม ตอนนี้ขยะที่อยู่ในอวกาศ คาดว่าจะมีอยู่หลายล้านชิ้น!! และมีทั้งในส่วนที่กำลังโคจรอยู่ด้วยความเร็วหลายหมื่นกิโลเมตรต่อชั่วโมง!!...


    4_1208282880_3.jpg


    จากการติดตามของหน่วยงานอวกาศของสหรัฐสามารถติดตาม “ขยะอวกาศ” ได้แค่หมื่นกว่าชิ้น เพราะขยะเหล่านี้ติดตามและจัดเก็บได้ยากมาก แม้จะมีความพยายามอยู่หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

    อย่างล่าสุด ดาวเทียมของสหรัฐชนกับดาวเทียมของรัสเซีย ทำให้เกิดขยะเพิ่มขึ้นในอวกาศกว่า 4,000–5,000 ชิ้น ซึ่งขยะอวกาศเหล่านี้เมื่ออยู่ในวงโคจรจะ “สร้างปัญหา” ให้กับดาวเทียมต่าง ๆ ที่ใช้งานกันอยู่!!

    news_xPjrBWRNdx095847_533.jpg

    โดยเฉพาะดาวเทียมยุคเก่าที่ใช้งานไม่ได้แล้ว อยู่ในวงโคจรต่ำที่มีดาวเทียมที่ใช้งานได้อยู่ด้วย ซึ่งวงโคจรนี้จะหมุนไปพร้อมกับโลก ทำให้เวลาเราเห็นดาวเทียมจากพื้นโลกจะเหมือนหยุดนิ่ง แต่จริง ๆ กำลังโคจรไปพร้อมกับโลก ซึ่งดาวเทียมที่ใช้งานไม่ได้แล้วเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ เพราะอาจควบคุมไม่ได้และชนกับดาวเทียมอื่น ๆ...

    และจะยิ่งทำให้มีชิ้นส่วนขยะในอวกาศเพิ่มขึ้น

    สำหรับยุคใหม่ดาวเทียมที่ใกล้หมดอายุ จะยังมีเชื้อเพลิงเหลือในช่วงสุดท้าย เพื่อจะส่งให้ดาวเทียมนั้น ๆ ไปอยู่ในวงโคจรค้างฟ้า ที่อยู่สูงขึ้นกว่าวงโคจรเดิม โดยหลายคนเรียกวงโคจรดังกล่าวนี้ว่า “สุสานดาวเทียม” ซึ่งก็ช่วยทำให้ปริมาณของดาวเทียมที่ไม่ใช้งาน ซึ่งอยู่ในวงโคจรเดิมมีน้อยลง

    อย่างไรก็ตาม หลายคนมองขยะอวกาศเป็นเรื่องไกลตัว จริง ๆ แล้วใกล้ตัวกว่าที่คิด เพราะสัญญาณการสื่อสารหลายอย่างเราต้องใช้สัญญาณจากดาวเทียม เมื่อใดที่ดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ได้รับผลกระทบจากขยะอวกาศ ย่อมมีผลเสียตามมา เช่นทำให้ทีวีหรือสัญญาณอินเทอร์เน็ตบางอย่างใช้งานไม่ได้ และเกิดผลเสียต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ตามมา

    ด้วยความที่ “ขยะอวกาศ” มีมาก ก็มีบริษัทของสหรัฐรับทำหน้าที่ช่วยเหลือดาวเทียมที่อาจถูกขยะอวกาศชน โดยมีการติดตามเพื่อเบี่ยงองศาไม่ให้ส่งผลกระทบต่อดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ แต่ก็มีราคาในการให้บริการที่แพงมาก

    แต่ยุคนี้ก็มีเทคโนโลยีในการกำจัดดาวเทียมที่ไม่ใช้แล้ว ซึ่งอยู่ในชั้นบรรยากาศที่ต่ำ ด้วยการยิงเลเซอร์ และบังคับให้ชิ้นส่วนตกลงมาในทะเล ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการตกลงบริเวณชุมชน จึงไม่ต้องตื่นตระหนก ยิ่งดาวเทียมยุคใหม่ ๆ ยิ่งสามารถบังคับได้ว่าจะให้ตกตรงที่ใดหากมีการยิงด้วยเลเซอร์ โดยส่วนใหญ่บังคับให้ตกในที่ไม่มีคนได้ ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อโลกน้อย

    news_qbfbIoDjDK095848_533.jpg

    เช่น... เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลายพื้นที่ของไทยอย่างเชียงใหม่ แพร่ น่าน ลำปาง เห็นสิ่งแปลกปลอมบนท้องฟ้า ที่มีลักษณะเป็นลำฝุ่นสีขาวหางยาวเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ มีประชาชนสามารถบันทึกภาพได้ ซึ่งคาดว่าไม่ใช่ดาวตก เนื่องจากเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ และไม่ใช่เครื่องบินเนื่องจากสามารถเห็นได้ในบริเวณกว้างมาก ๆ แสดงว่าอยู่สูงจากพื้นโลกค่อนข้างมาก จึง มีความเป็นไปได้มากที่จะเป็น “ขยะอวกาศ” ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์

    ขยะอวกาศ” กับกรณี “ปัญหา” นอกจากอาจส่งผลกระทบต่อการสื่อสารบนโลกแล้วยัง อาจส่งผลต่อมนุษย์อวกาศด้วย เพราะอาจถูกชนจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ขณะที่มนุษย์บนพื้นโลกรู้สึกว่าไกลตัวเพราะยังไม่มีปัญหาจากเศษชิ้นส่วน แต่ก็จะมีปัญหาต่อคนที่ต้องใช้จีพีเอสในการติดตามสิ่งต่าง ๆ เพราะอยู่ในชั้นบรรยากาศที่ต่ำ เมื่อมีการรบกวนจากชิ้นส่วนขยะอวกาศ หรือฝุ่นควันของขยะอวกาศ ก็จะมีผลต่อการใช้งาน

    ปัญหาขยะอวกาศ แม้ตอนนี้ยังไม่มีการแก้ไขที่ได้ผลจากเทคโนโลยีทั่วโลก แต่สิ่งที่รัฐบาลไทยต้องใส่ใจให้มากขึ้นก่อนคือ “กฎหมายอวกาศ” ที่ต้องมีการศึกษาและวิจัยมากขึ้น เพื่อให้เท่าทันต่างชาติ เพราะเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีไปเร็วอย่างมาก หากไทยเราไม่มีการศึกษาวิจัยที่จริงจัง “อาจส่งผลเสียต่อประเทศในเชิงการเสียเปรียบ” ได้!!

    ยิ่งในยุคนี้มี ดาวเทียมสปาย ที่ถูกแอบส่งขึ้นไปโดยไม่มีข้อมูล หรือแม้จะมีข้อมูลที่สามารถลักลอบเข้าสู่พื้นที่ดาวเทียมของประเทศต่าง ๆ เพื่อ ล้วงความลับ ต่าง ๆ อย่างเช่นสิงคโปร์ โดนดาวเทียมสปายเข้าสู่พื้นที่ และสามารถทำให้รู้เวลาเดินเรือหรือการบินภายในประเทศ สามารถสืบความเคลื่อนไหวภายในประเทศ สิ่งเหล่านี้ประเทศไทยควรมีการเร่งศึกษาเพื่อป้องกัน

    และต้องมีการศึกษาวิจัยตามนโยบายของสหภาพโทร คมนาคมระหว่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อสิทธิของประเทศไทย และไม่ควรมีการแทรกแซงทางการเมืองเกี่ยวกับดาวเทียมเหมือนยุคที่ผ่าน ๆ มา เพราะดาวเทียมของประเทศไทยต้องเป็นสมบัติของประชาชนคนไทย และหากมีการแทรกแซงของชาติอื่น ๆ อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ได้

    news_jNWpqSuELU095848_533.jpg

    ทั้งนี้ กลับมาที่ “ขยะอวกาศ” ก็มีบทความของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ระบุถึงขยะอวกาศ เช่น ดาวเทียมที่หมดอายุการใช้งาน หรือชิ้นส่วนจรวดที่หลุดออกจากจรวดส่วนหลัก หรืออาจจะเป็นเศษหิน เศษทรายเล็ก ๆ ที่โคจรรอบโลก แต่ภายในวงโคจรใกล้โลกนั้น วัตถุที่เกิดจากมนุษย์มีจำนวนมากกว่าเศษหินเศษทรายจากนอกโลก มาก

    เศษขยะที่มีขนาดเล็กว่า 1 เซนติเมตร ฝุ่นเล็ก ๆ ที่หลุดออกมาจากจรวด รวมทั้งสิ่งที่หลุดออกมาจากผิวของอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ผงสีเล็ก ๆ แม้จะเล็กแต่ก็อาจพุ่งเข้าชนดาวเทียม หรือสถานีอวกาศ ทำให้เกิดการกร่อนได้ เหมือนถูกกระดาษทรายขัดสี เนื่องจากมันมีความเร็วสูงมาก ราว 2–11 กิโลเมตร/วินาที และถ้ามีขนาดใหญ่กว่านี้ก็อาจเกิดการกระแทกจนอุปกรณ์เสียหายได้

    หากขยะอวกาศมีความหนาแน่นมาก อาจพุ่งชนอุปกรณ์ในอวกาศจนเกิดการแตกกระจาย แล้วเศษอุปกรณ์ก็จะพุ่งชนกับตัวอุปกรณ์จนแตกเพิ่มขึ้น จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อย ๆ ...นี่ก็เป็นข้อมูล “ปัญหาขยะอวกาศ” อีกส่วน

    ...แม้ความพยายามในการจัดเก็บ “ขยะอวกาศ” อย่างมีประสิทธิภาพจะยังล้มเหลว แต่อย่างน้อยในยุคนี้ “ขยะนอกโลก” ก็เริ่มได้รับความสนใจ มีการตระหนักถึง “ภัยที่อาจจะเกิดกับมนุษย์” มากขึ้น ซึ่งก็ต้องช่วยกันลุ้น...

    ให้การ “เก็บขยะอวกาศ” ทำได้ดีในเร็ววัน.

    --------------------
    ขอบคุณที่มา ::: เดลินิวส์
    https://www.dailynews.co.th/article/556757
     
  2. น้องนกลาบ ชื่อนี้สีชมพู

    น้องนกลาบ ชื่อนี้สีชมพู ค ว า ม ต า ย คื อ ก า ร เ ริ่ ม ต้ น ข อ งชี วิ ต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2017
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +156
    ตั้งเวลาได้ไหมอ่ะ พอใกล้จะหมดอายุ เราก็เปิดโหมดออโต้ให้มันบินกลับลงมาบนโลก
    ผ่านชั้นบรรยากาศ ให้มันลุกไหม้เอง
     
  3. บุญมงคล

    บุญมงคล “นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,750
    เจอนกพิราบอีกแล้วอ้วนดำไม่มาด้วยหรือครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...