ขอคำแนะนำในการทำทาน ถวายกฐินแบบละเอียดครับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ศึกษาธรรม2551, 1 ตุลาคม 2008.

  1. ศึกษาธรรม2551

    ศึกษาธรรม2551 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +234
    ในวาระออกพรรษาที่จะมาถึง ผมมีความปราถนาว่าอยากจะทำทาน โดยถวายกฐิน ครับ เพราะที่เคยผ่านมาได้แต่ร่วมทำบุญกับเจ้าภาพและร่วมอนุโมทนาครับ อยากทำเองบ้างครับ และได้อ่านของหลวงพ่อฤาษีฯ คร่าวๆในหัวข้ออานิวงค์กฐิน1ปีมีครั้งเดียวแล้วครับ อ่านแล้วก็อยากทำบุญกฐินขึ้นมาเลยครับ ขอถามครับ

    1.อยากทราบขั้นตอน ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง หากไปถวายคนเดียวหรือ2คนได้หรือไม่ ต้องมีอะไรไปถวายครับหรืออย่างน้อยต้องถวายอะไร

    2.ถวายแค่ไตรจีวรอย่างเดียวใช่หรือไม่ มีการถวายแบบประหยัดหรือไม่แต่ได้อานิสงค์มาก

    3.หากวัดนั้นๆมีผู้มาถวายแล้ว เราสามารถเข้าไปถวายได้อีกหรือไม่ครับ

    4.ขั้นตอนที่ถูกต้องในช่วงถวาย ต้องกล่าวบาลีหรือไม่ หรือเราถวายโดยบอกกล่าวเป็นภาษาไทยได้หรือไม่ ต้องกล่าวอย่างไรบ้างครับ

    ขอบคุณครับ
     
  2. junior phumivat

    junior phumivat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,346
    ค่าพลัง:
    +1,688
    ผู้ถาม : เมื่อทำบุญแล้ว ถ้าจะอุทิศส่วนกุศลภายหลังจะได้ไหมคะ...........?
    หลวงพ่อ : การทำบุญไปแล้วครั้งหนึ่งสักกี่ปี ๆ บุญก็ยังมีอยู่ถ้าทำไปแล้วสัก ๓๐ ปี ก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญมันไม่หาย ไม่ใช่เราทำบุญแล้ว เดี๋ยวเดียวมันหายไปไม่ใช่อย่างนั้นนะ
    ผู้ถาม :แล้วถ้าเผื่อทำบุญแล้ว ไม่ได้อุทิศส่วนกุศลจะได้บุญเต็มที่ไหมคะ...?
    หลวงพ่อ : ก็ได้เต็มที่อยู่แล้ว เราเป็นผู้ได้สมบูรณ์แบบ แต่อยู่ที่ว่าเราจะให้เขาหรือไม่ให้ การอุทิศส่วนกุศล นี่นะ ถ้าเราไม่ให้ เราก็กินคนเดียวใช่ไหม..... ทีนี้ถ้าเราให้เขาของเราก็ไม่หมดอีก ส่วนที่เราให้ไปไม่ได้ยุบไปจากของเดิม อย่างเรื่องของ พระอนุรุทธ สมัยที่ท่านเกิดเป็นคนเกี่ยวหญ้าช้างของมหาเศรษฐี เวลาที่ท่านทำบุญแล้ว เจ้านายขอแบ่งบุญ ท่านก็สงสัยว่าการแบ่งบุญน่ะจะแบ่งได้ไหม จึงไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ท่านรับบาตรนะ ท่านก็เปรียบเทียบให้ฟังว่า

    "สมมุติว่าโยมมีคบ แล้วก็มีไฟด้วย คนอื่นเขามีแต่คบ ไม่มีไฟ ทุกคนต้องการแสงสว่าง ก็มาขอต่อไฟที่คบของโยมแล้วคบทุกคนสว่างไสวหมด อยากทราบว่าไฟของคุณโยมจะยุบไปไหม....?
    ท่านอนุรุทธก็บอกว่า ไม่ยุบ
    แล้วท่านก็บอกว่า "การอุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน ให้เขา เขาโมทนา แต่บุญของเราเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์"



    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ




    ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพบแล้ว ขอธรรมนั้น จงสำเร็จแก่ท่านทั้งหลายโดยเร็วด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท้าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอเธอเมื่อใด ขอให้เธอได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

    <!-- / message -->
     
  3. ศึกษาธรรม2551

    ศึกษาธรรม2551 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +234
    รู้สึกว่าจะตอบไม่ตรงประเด็นนะครับ
    ขอความกรุณาช่วยหน่อยครับ อยากทราบจริงๆครับ เรื่องกฐิน
     
  4. methad

    methad สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +7
    การทำบุญกฐิน หรือการเป็นเจ้าภาพถวายผ้ากฐิน

    อันดับแรกต้องไปจองเป็นเจ้าภาพ วัดที่คุณต้องการไปถวาย

    โดยวัดหนึ่งๆ จะรับกฐิน ได้ครั้งเดียวใน 1 ปี คือหลังออกพรรษาไป 1 เดือน

    วัดนั้นต้องมีพระจำพรรษา 5 รูปขึ้นไป ถึงจะกรานกฐินได้

    เมื่อได้วัดแล้ว ก็กำหนดวัน ที่จะไปทอดถวาย อาจคุยกับเจ้าอาวาสกำหนดวันที่ไปจองนั้นเลยว่าจะไปถวายวันไหน

    เมื่อได้วันแล้วคุณก็เตรียม จัดซื้อผ้าไตรจีวร และเครื่อง บริวารต่างๆ หรือบอก ญาติพี่น้อง มิตรสหาย มาร่วมกันจัดงาน เตรียมงาน

    ถ้าไม่บอกบุญกับใคร ท่านก็ได้อานิสงส์ คนเดียว แต่ไม่มีบริวาร

    คร่าว ๆ ครับ ส่วนรายละเอียด ท่านต้องถามผู้รู้ ที่ท่านใกล้ชิด จะเข้าใจ
     
  5. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    บุญกฐิน

    คำว่า กฐิน แปลตามศัพท์ว่ากรอบไม้สำหรับขึงผ้าเย็บจีวรของพระภิกษุ กรอบไม้ชนิดนี้ไทยเราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สะดึง การเย็บจีวรต้องตัดผ้าออกเป็นชิ้น ๆ แล้วเอามาเย็บประสานกันเข้า ให้มีรูปเหมือนเนื้อที่ในนาปลูกข้าว ในการเย็บประสานเช่นนั้น ในครั้งกระโน้นเมื่อช่างเย็บยังไม่ชำนาญพอ และไม่มีเครื่องจักรจะใช้ได้อย่างเวลานี้ ก็ต้องขึงผ้าลงบนกรอบไม้ก่อนแล้วจึงเย็บ กรอบไม้หรือสะดึงนี้ คำบาลีเรียกว่า กฐิน

    การที่ผู้มีศรัทธาเอาผ้าไปถวายพระภิกษุในภายหลังวันออกพรรษา ซึ่งเรียกกันว่า ทอดกฐินนั้น ตามหลักการ พระภิกษุจะต้องเอาผ้านั้นมาตัดเย็บย้อมให้เสร็จภายในวันเดียวกัน การที่ต้องเย็บย้อมจีวรผืนใหญ่ให้เสร็จในวันเดียวนั้น เป็นงานหนักมาก และในครั้งกระโน้นเป็นการจำเป็นที่สุด ที่ต้องใช้ไม้สะดึงขึงผ้าในเวลาเย็บ ฉะนั้นพิธีการถวายผ้าอย่างนี้จึงเรียกว่า กฐิน

    พิธีการของกฐินมี ๒ ขั้น
    ขั้นที่ ๑ ผู้มีศรัทธานำเอาผ้าไปถวายพระภิกษุ ในระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ คือภายหลังวันออกพรรษา จนถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ เรียกว่า ทอดกฐิน

    ขั้นที่ ๒ ในวันเดียวกันนั้น พระภิกษุนำเอาผ้า ซึ่งมีผู้ถวายนั้นไปตัดเป็นจีวร หรือเครื่องนุ่งห่มอย่างใดอย่างหนึ่ง เย็บย้อมให้เสร็จภายในวันเดียว แล้วทำพิธีอนุโมทนาเรียกว่า กรานกฐิน

    ในการทอด กฐินนั้น ผู้หนึ่งผู้ใดจะทอดในวัดใด ตามธรรมดาต้องบอกกล่าวให้พระภิกษุในวัดนั้นทราบล่วงหน้าเพื่อมิให้คนอื่นมาทอดซ้ำ พิธีบอกล่วงหน้าเช่นนี้ เรียกว่า จองกฐิน ถ้าไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า ไปทอดเฉยๆ เรียก กฐินจรหรือ กฐินโจร

    การทอดกฐินมี ๒ อย่าง คือ
    ๑. การทำอย่างง่าย คือเอาผ้าที่สำเร็จแล้วไปถวายพระ อย่างที่ทำกันอยู่ในบัดนี้ เรียกว่า มหากฐิน

    ๒. การทำอย่างยาก คือเก็บฝ้ายมา ปั่น กรอ สาง ทำเป็นเส้นด้าย ทอเป็นผ้า ตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จภายในวันเดียว เรียกว่า จุลกฐิน

    พิธีทอดกฐิน ตามหลักการให้ถวายผ้าแก่ภิกษุรูปเดียว ฉะนั้นเมื่อเวลาเอาไปถวายภิกษุรูปหนึ่งต้องเสนอนามภิกษุผู้ใหญ่ ที่คณะสงฆ์จะเลือกให้เป็นผู้รับผ้านั้นเพื่อทำพิธีกรานกฐินต่อไป การเสนอนามเช่นนี้เรียกว่า อปโลกนกรรม

    เมื่อเสนอนามแล้ว และไม่มีผู้คัดค้าน พระภิกษุสงฆ์ ๒ รูป ต้องมาสวดประกาศออกนามภิกษุที่จะให้เป็นผู้รับ เพื่อเสนอขออนุมัติที่ประชุมสงฆ์ให้เป็นผู้รับ และกรานกฐิน พิธีสวดประกาศเช่นนี้เรียกว่า ญัตติกรรม คือการเสนอญัตติให้พิจารณาเป็นวาระที่ ๑

    เมื่อได้เสนอญัตติให้พิจารณาเป็นวาระที่ ๑ แล้ว ไม่มีผู้คัดค้าน พระภิกษุ ๒ รูป ก็สวดประกาศซ้ำ มีข้อความคล้ายคลึงกันกับที่สวดในวาระแรก การสวดประกาศซ้ำนี้เรียกว่า ญัตติทุติยกรรมคือ เสนอญัตติให้พิจารณาเป็นวาระที่ ๒ และเมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านก็เป็นอันให้พระภิกษุรูปที่ได้รับเสนอนามนั้นเป็นผู้รับผ้าไป และพิธีทอดกฐินก็หมดลงเพียงนั้น ต่อไปเป็นพิธีกรานกฐิน

    พิธีกรานกฐิน เป็น สังฆกรรม คือเป็นกิจของสงฆ์โดยเฉพาะ คฤหัสถ์ไม่เกี่ยวข้อง พิธีกรานกฐินต้องทำอย่างไร จะกล่าวโดยพิสดารต่อไปข้างหน้า

    เมื่อได้ทำพิธีกรานกฐินโดยถูกต้องแล้ว ก็ถือว่าเป็นความดีความชอบอันหนึ่งในทางศาสนา และเป็นความดีความชอบของพระสงฆ์เอง (เหตุไรจึงถือเป็นความดีความชอบจะได้อธิบายภายหลัง) เพื่อตอบแทนความดีความชอบอันนี้ พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงบัญญัติว่า พระสงฆ์หมู่ใดได้กรานกฐินแล้ว ทำผิดวินัยบางข้อไม่มีโทษ การที่พระภิกษุสงฆ์ได้รับความยกเว้นพิเศษในทางวินัย เพราะเหตุที่ได้กรานกฐินแล้วเช่นนี้ เรียกว่า อานิสงส์กฐิน

    อานิสงส์กฐิน คือการที่ได้รับยกเว้นความผิดวินัยบางข้อดังกล่าวมาข้างต้นนั้น มีกำหนดให้เพียง ๔ เดือน พัน ๔ เดือนไปแล้วก็หมดเขตอานิสงส์ คือไม่ได้รับความยกเว้นต่อไปอีก

    แต่ภายในเวลา ๔ เดือนนั้นอาจมีเหตุบางอย่าง (ซึ่งจะกล่าวโดยพิศดารในภายหลัง) มาทำให้หมดเขตอานิสงส์ คือ หมดเขตที่จะได้รับความยกเว้นในความผิดวินัยก่อนครบกำหนด ๔ เดือนได้ การที่มีเหตุใดเหตุหนึ่งมากระทำให้เขตอานิสงส์หมดอายุลงเช่นนี้ เรียกว่า กฐินเดาะ

    ๒. ประวัติของกฐิน
    ประวัติของกฐินนั้นมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป มีความประสงค์จะไปเฝ้าพระพุทะเจ้า ณ เมืองสาวัตถี จึงพากันเดินทางจากเมืองปาฐาไปสาวัตถี แต่พอไปถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ในระยะทางอีก ๖ โยชน์จะถึงสาวัตถี ก็เผอิญถึงวันเข้าพรรษาภิกษุเหล่านั้นจะเดินทางต่อไปไม่ได้ จึงจำพรรษาอยู่ในเมืองสาเกต ในระหว่างจำพรรษามีความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยเร็ว พอออกพรรษาก็ออกเดินทางจากเมืองสาเกต ในเวลานั้นฝนยังตกมากอยู่ ทางเดินก็เป็นโคลนตมเปรอะเปื้อน เมื่อมาถึงเมืองสาวัตถีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบความลำบากของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำพิธีกรานกฐิน ในระยะเวลาภายหลังวันออกพรรษาแล้วไป ๑ เดือน ภิกษุที่ได้ทำพิธีกรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ คือความยกเว้นในการผิดวินัย ๕ ประการ เป็นเวลา ๔ เดือน (หมดเขตในวันเพ็ญเดือนสี่) อานิสงส์หรือความยกเว้นทั้ง ๕ ประการนั้น คือ

    ๑. เข้าบ้านได้โดยไม่ต้องลาภิกษุด้วยกัน
    ๒. เดินทางโดยไม่ต้องเอาไตรจีวรไปด้วย
    ๓. ฉันอาหารโดยล้อมวงกันได้
    ๔. เก็บอาหารที่ยังไม่ต้องการใช้ ไว้ได้
    ๕. ลาภที่เกิดขึ้น ให้เป็นของภิกษุผู้จำพรรษาในวัดนั้น ซึ่งได้กรานกฐินแล้ว

    ที่กล่าวนี้เป็นประวัติของกฐิน ซึ่งเก็บความจากพระบาลี แต่ข้อความที่กล่าวข้างต้นนี้ยังเข้าใจยาก และไม่แลเห็นว่าเหตุผลเนื่องถึงกันอย่างไร ฉะนั้นจึงต้องอธิบายขยายความสักเล็กน้อย

    ตามหลักวินัย ภิกษุจะเข้าบ้านต้องบอกลากัน จะเดินทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบชุดเวลาฉันอาหารต้องนั่งเรียงกัน จะล้อมวงกันไม่ได้ จึงที่เหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน ลาภที่เกิดขึ้นต้องให้แก่ภิกษุผู้มีอาวุโส คือที่บวชนานที่สุด ข้อบังคับเหล่านี้ ย่อมเป็นความลำบากแก่ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก เช่นการเข้าบ้านต้องบอกลากันเสมอไปนั้น ถ้าเผอิญอยู่คนเดียว ไม่มีใครจะรับลา ก็เข้าบ้านไม่ได้ การเดินทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบ หมายความว่าต้องเอาผ้านุ่งห่มไปให้ครบชุด คือ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อนผ้าห่ม) ในครั้งก่อน ภิกษุไม่มีโอกาสได้ผ้าบางเนื้อละเอียดอย่างสมัยนี้เสมอไป ถ้าไปได้ผ้าเปลือกไม้หรือผ้าอะไรชนิดหนา การที่จะนำเอาไปด้วยนั้นไม่เป็นการง่าย ภิกษุ ๓๐ รูปที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ได้รับความลำบากในเรื่องนี้มาแล้ว การห้ามฉันอาหารล้อมวง และบังคับให้นั่งเรียงกันฉันอาหารนั้น ถ้ามีอาหารน้อยก็ทำความลำบาก เราทราบอยู่แล้วว่าการรับประทานแยกกันย่อมปลีกอาหารมากกว่าการรับประทานรวมกัน เรื่องนี้ภิกษุ ๓๐ รูป ที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็คงได้รับประสบความลำบากเรื่องนี้มา ในระหว่างทางเหมือนกัน เรื่องจีวรที่ไม่ต้องการใช้นั้น ในชั้นเดิมเป็นความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า ที่จะไม่ให้พระภิกษุเก็บสะสมทรัพย์สมบัติ ถ้ามีอะไรเหลือใช้ จะเก็บไว้ไม่ได้ ต้องให้คนอื่นเสีย โดยเฉพาะเรื่องจีวรนี้มีบัญญัติว่า ถ้ามีจีวรเหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน พัน ๑๐ วันไปแล้วต้องสละให้คนอื่นไป ถ้าจะไม่สละต้องทำพิธี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเรียกว่า วิกัป คือไปทำความตกลงกับภิกษุอีกรูปหนึ่งให้เป็นเจ้าของจีวรด้วยกัน แล้วมอบให้ตนเก็บไว้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า อธิษฐาน คือถ้าจีวรที่เหลือใช้นั้นใหม่กว่าของที่ใช้อยู่ ก็เอามาใช้เสีย แล้วสละของเก่าให้คนอื่นไป การห้ามกวดขันไม่ให้เก็บผ้าจีวรไว้เกินต้องการเช่นนี้ ในบางครั้งก็เกิดความลำบากเช่น ถูกขโมยลักจีวร ซึ่งเคยถูกกันมามากในครั้งพุทธกาล หรือมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้จีวรนั้นใช้ไม่ได้ ก็ไม่มีสำรองเสียเลย ในเรื่องลาภที่เกิดขึ้นในวัดนั้น มีข้อบังคับกวดขันว่าให้ได้แก่ภิกษุที่มีพรรษายุกาลมากที่สุด คือที่บวชก่อนคนอื่น ในเรื่องนี้ทำความเดือดร้อนหลายครั้ง เช่นภิกษุอยู่ในวัดเดียวกัน อดอยากมาด้วยกัน มีผู้เอาของมาถวาย และในวันที่มีผู้เอาของมาถวายนั้น เผอิญมีภิกษุจรมาพักอยู่ในวัดนั้นด้วย และภิกษุจรมีพรรษายุกาลมากกว่าภิกษุที่อยู่ในวัด ลาภนั้นก็ต้องตกเป็นของภิกษุที่จรมา ส่วนภิกษุที่อยู่ในวัดก็ไม่มีส่วนได้

    ความขัดข้องลำบากเกิดจากทางวินัยอย่างนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงเห็นมานานแล้ว แต่วินัยของพระพุทธเจ้าไม่เหมือนกฎหมาย คือกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว ถ้ารู้สึกว่าไม่ดีก็ประกาศเลิก และบัญญัติใหม่ ส่วนวินัยของพระพุทธเจ้าประกาศเลิกไม่ได้ ได้แต่งดชั่วคราว หรือมีข้อยกเว้นพิเศษให้ เมื่อได้ทรงเห็นความลำบากของภิกษุที่มาเฝ้า ทรงเห็นชัดว่าควรให้ความยกเว้นในเรื่องหอบหิ้วเอาไตรจีวรมา และทรงยกเว้นในข้อนี้ ก็เลยทรงประทานข้อยกเว้นอื่น ๆ ที่ทรงดำริมาแล้วแต่ก่อนด้วย จึงเกิดมีข้อยกเว้นขึ้น ๕ ข้อดังกล่าวมาข้างต้น

    แต่การที่งดใช้วินัยชั่วคราว หรือให้ความยกเว้นเป็นพิเศษนั้น จะให้กันเฉยๆ ไม่ได้ พระภิกษุต้องได้ทำความดีอันใดอันหนึ่ง จึงจะได้รับความยกเว้น ฉะนั้นการที่จะให้ภิกษุได้รับความยกเว้นในข้อนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้มีพิธีกรานกฐิน พิธีกรานกฐินต้องถือเป็นความดีความชอบอย่างหนึ่ง เพราะการทำจีวรในสมัยนั้นไม่ใช่ของง่าย ๆ ตามปกติเวลามีการทำจีวร ภิกษุย่อมได้รับความยกเว้นในวินัยหลายข้ออยู่แล้ว เมื่อต้องมาทำจีวรโดยรีบร้อนให้เสร็จในวันเดียว และตกเป็นสมบัติของคณะสงฆ์อีกเช่นนี้ ก็ควรเป็นความชอบที่พึงได้รับความยกเว้นในวินัย

    ประเพณีทอดกฐิน : ตำนาน ความหมาย และอานิสงส์
    หลังจากวันออกพรรษาเป็นเวลา ๑ เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ หรือจำง่ายๆ ว่า ตั้งแต่วันตักบาตรเทโวจนถึงวันลอยกระทง เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า "เทศกาลกฐิน" . . .

    ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ ๑๙ ตุลาคม -๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ เมื่อพูดถึง กฐิน คนส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกับซองทำบุญที่ได้รับในช่วงนี้ แต่เรื่องราวเกี่ยวกับ กฐิน ว่ามีตำนาน ความหมาย อย่างไร เชื่อว่าคงรู้กันไม่มากนัก ดังนั้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำมาเสนอให้ได้ทราบ ดังต่อไปนี้

    ตำนานความเป็นมา
    มีตำนานเล่าว่าในครั้งพุทธกาล ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป ถือธุงดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี จึงพากันเดินทางไป พอไปถึงเมืองสาเกตก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี จึงต้องจำพรรษาอยู่ที่นั่นตามพระวินัย ครั้นออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทางไปเฝ้า ระหว่างทางฝนตก หนทางเป็นโคลนตม ต้องบุกลุยไปจนถึงกรุงสาวัตถี ได้รับความลำบากมาก ครั้งได้เฝ้าฯ พระพุทธองค์ทรงมีปฏิสันถารถึงเรื่องจำพรรษาและการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นก็ได้ทูลถึงความตั้งใจที่จะมาเฝ้า และความยากลำบากในการเดินทางให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงทรงมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้วกรานกฐินได้ และจะได้รับอานิสงส์จากพระวินัยบางข้อ (กรานกฐิน เป็นพิธีฝ่ายภิกษุที่ได้รับมอบผ้ากฐิน แล้วนำผ้าที่ได้ไปตัดเย็บย้อมทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง)

    ความหมาย
    คำว่า "กฐิน" มีความหมายเกี่ยวเนื่องถึง ๔ ประการ คือ
    ๑. เป็นชื่อของกรอบไม้ อันเป็นแม่แบบสำหรับทำจีวร ที่อาจเรียกว่า "สะดึง" เนื่องจากสมัยพุทธกาล การทำจีวรให้มีลักษณะตามกำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ให้เป็นอุปกรณ์ในการทำผ้านุ่ง/ผ้าห่ม/ผ้าห่มซ้อนที่รวมเรียกว่า จีวร ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ (ผ้านุ่งพระ เรียกสบง /ผ้าห่ม เรียกจีวร /ผ้าห่มซ้อน เรียกสังฆาฎิ) โดยพระสงฆ์จะช่วยกันทำโดยอาศัยแม่แบบนี้ เมื่อทำเสร็จและพ้นกำหนดกาลแล้วก็จะรื้อไม้แม่แบบเก็บไว้ใช้ในปีต่อๆ ไป การรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้านี้เรียกว่า "เดาะ" หรือ "กฐินเดาะ" (เดาะกฐินก็เรียก)
    ๒. เป็นชื่อของผ้า ที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวรตามแบบหรือกรอบไม้นั้น และต้องถวายตามกำหนดเวลา ๑ เดือนดังกล่าว ซึ่งผ้านี้จะเป็นผ้าใหม่ ผ้าเก่าฟอกสะอาดหรือผ้าบังสุกุล (ผ้าที่เขาทิ้งแล้ว) ก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์หรือภิกษุ สามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วเป็นอันใช้ได้
    ๓. เป็นชื่อของบุญกิริยา คือ การทำบุญถวายผ้ากฐินเพื่อให้สงฆ์ทำเป็นจีวร ซึ่งต้องเป็นพระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน ทั้งนี้ เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าใหม่ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐินหรือที่เรียกกันติดปากว่า "ทอดกฐิน" ก็คือการทอดหรือวางผ้าลงไป แล้วกล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์ และต้องทำในเวลาที่กำหนด ๑ เดือนที่ว่า ถ้าทำก่อนหรือหลังไม่ถือว่าเป็นกฐิน
    ๔. เป็นชื่อของสังฆกรรม คือ กิจกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

    ประเภทของกฐิน
    แยกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ ๑. กฐินหลวง ๒. กฐินราษฎร์
    ๑. กฐินหลวง มีประวัติว่าเมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายมาประดิษฐานในประเทศไทย และประชาชนชาวไทยได้นับถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การทอดกฐินก็ได้กลายเป็นประเพณีของบ้านเมืองมาโดยลำดับ และพระเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองบ้านเมืองก็ได้ทรงรับเรื่องกฐินเป็นพระราชพิธี อย่างหนึ่ง การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธีดังกล่าว เป็นเหตุให้เรียกกันว่า กฐินหลวง ดังนั้น วัดใดก็ตามไม่ว่าวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินแล้ว ก็เรียกว่า กฐินหลวงทั้งสิ้น แต่สมัยต่อมากฐินหลวงได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะการณ์ของบ้านเมือง เช่น ประชาชนมีศรัทธา เจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดินและได้รับพระกรุณาให้ถวายผ้าพระกฐินตามควรแก่ฐานะ กฐินหลวงปัจจุบันจึงได้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    ๑.๑ กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ไปถวายเป็นประจำ ณ วัดสำคัญๆ ปัจจุบันมี ๑๖ วัด เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต้น
    ๑.๒ กฐินต้น หมายถึง กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวงและมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นพระราชพิธีแต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์
    ๑.๓ กฐินพระราชทาน เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้ที่กราบบังคมทูลขอพระราชทานไปถวายยังวัดหลวง ที่นอกเหนือไปจากวัดสำคัญ ๑๖ วัดที่กำหนดไว้ เหตุที่มีกฐินพระราชทาน ก็เพราะปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ตลอดจนคณะบุคคลต่างๆ ที่สมควรขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวายได้ ซึ่งกฐินดังกล่าวส่วนใหญ่ก็คือกฐินที่หน่วยงานราชการต่างๆ นำไปถวายนั่นเอง ทั้งนี้ ผู้ที่จะรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวาย ณ วัดหลวงวัดใดต้องติดต่อไปยังกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ตามระเบียบเพื่อเป็นการจองไว้ก่อนด้วย

    ๒. กฐินราษฎร์ หมายถึง กฐินที่ราษฎรหรือประชาชนผู้มีศรัทธานำผ้ากฐินของตนไปถวายตามวัดต่างๆ ยกเว้นวัดหลวง ๑๖ วัดที่กล่าวไว้แล้ว ซึ่งจะมีชื่อเรียกต่างๆ ตามลักษณะของการทอด คือ
    ๒.๑ กฐินหรือมหากฐิน เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งที่ตนศรัทธาเป็นการเฉพาะ ผ้าที่เป็นองค์กฐินจะเป็นผืนเดียวหรือหลายผืนก็ได้ จะเย็บแล้วหรือไม่ก็ได้ แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นผ้าสำเร็จรูปแล้ว และนิยมถวายของอื่นๆ ที่เรียกว่า บริวารกฐิน ไปพร้อมกับองค์กฐินด้วย เช่น เครื่องอุปโภค บริโภคของพระภิกษุสงฆ์ อย่างหมอน โอ่งน้ำ เตา ไม้กวาด จอบ เสียบ อาหาร ยาต่างๆ เป็นต้น
    ๒.๒ จุลกฐิน เป็นกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบเร่ง เดิมเรียกแบบไทยๆ ว่า กฐินแล่น เจ้าภาพที่จะทอดกฐินเช่นนี้ได้ต้องมีพวกและกำลังมาก เพราะต้องเริ่มตั้งแต่ปั่นฝ้ายเป็นด้าย ทอด้ายให้เป็นผ้า ตัดผ้าและเย็บผ้าเป็นจีวร ย้อมสี และต้องทอดภายในวันนั้น และพระสงฆ์ก็ต้องกรานและอนุโมทนาในวันนั้นๆ ด้วย เรียกว่าเป็นกฐินที่ต้องทำทุกอย่างให้เสร็จภายในวันเดียว
    ๒.๓ กฐินสามัคคี เป็นกฐินที่มีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน ไม่จำเป็นว่าใครบริจาคมากน้อย แต่มักตั้งเป็นคณะทำงานขึ้นมาดำเนินการและมีหนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่น เมื่อได้ปัจจัยมาเท่าไรก็จัดผ้าอันเป็นองค์กฐิน รวมทั้งบริวารไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งที่จองไว้ ซึ่งกฐินชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะนอกจากทำบุญกฐินแล้ว ยังนำปัจจัยที่เหลือไปช่วยทำนุบำรุงวัด เช่น ก่อสร้างศาสนสถาน บูรณะปฎิสังขรณ์โบสถ์ เจดีย์ เป็นต้น
    ๒.๔ กฐินตกค้าง หรือ กฐินโจร กล่าวคือในท้องถิ่นที่มีวัดมากๆ อาจจะมีวัดตกค้างไม่มีใครไปทอด จึงมีผู้มีจิตศรัทธาเสาะหาวัดอย่างนี้ แล้วนำกฐินไปทอด ซึ่งมักจะเป็นวันใกล้สิ้นเทศกาลกฐินหรือวันสุดท้าย จึงเรียกว่า กฐินตกค้าง หรืออาจเรียกว่า กฐินโจร เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆ ก็ไปทอด ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้วัดรู้เพื่อเตรียมตัวคล้ายโจรบุก ซึ่งกฐินแบบนี้ต่างกับกฐินอื่นคือ ไม่มีการจองล่วงหน้า และจะทอดเฉพาะวัดที่ยังไม่มีใครทอด จะทอดหลายวัดก็ได้ และสามารถเอาของไทยธรรมที่เหลือจากวัดที่ไม่ได้ทอด (กรณีไปหลายวัด) ไปจัดเป็นผ้าป่า เรียกว่า "ผ้าป่าแถมกฐิน" ก็ได้

    อานิสงส์หรือผลดีของการทอดกฐิน
    การทอดกฐิน ถือเป็นการทำบุญพิเศษที่ทำได้เพียงปีละครั้ง และต้องอยู่ภายในกำหนดเวลาหนึ่งเดือนตามพุทธบัญญัติ ดังนั้น อานิสงส์หรือผลดีจึงมีหลายประการ กล่าวคือ ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ผู้จำพรรษาให้ได้ผ้านุ่งห่มใหม่ ได้ชื่อว่าทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างกุศลจิตแก่ผู้ทำบุญเพราะทำด้วยความเลื่อมใสศรัทธา อีกทั้งการทอดกฐินยังก่อให้เกิดความสามัคคี เป็นการร่วมมือกันทำคุณงามความดี และหากการถวายกฐินนั้น มีส่วนในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ก็จะได้ชื่อว่ามีส่วนช่วยรักษาศาสนสถานและศาสนวัตถุให้ยั่งยืนต่อไป


    ความหมายของกฐินที่เกี่ยวข้องกันดังนี้


    -กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง, ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ

    -กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าที่มีผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้

    -กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบไตรมาส เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก

    -กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็จะได้เป็นโอกาสให้ ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน ๑๐ วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้วอนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บไว้ทำ เป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4

    - ที่มาของประเพณีทอดกฐิน :-


    ในสมัยพุทธกาล ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐจำนวน ๓๐ รูป เดินทางมาเฝ้าพระศาสดา แต่ไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาฝนยังตกชุกอยู่ ภิกษุเหล่านั้นก็เดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความลำบาก
    ระยะนั้นมีฝนตกชุก หนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถี พระศาสดาตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลให้ทรงทราบ จากนั้นพระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาตให้มีการถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส โดยกำหนดระยะเวลา คือ นับจากวันออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นระยะเวลา 1 ดือน กฐิน จึงได้ชื่อว่าเป็น กาลทาน



    -ความพิเศษของกฐินทาน :-

    บุญกฐินนี้เป็นบุญพิเศษ มีอานิสงส์มาก เพราะว่าเป็นบุญที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้และมีมาแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งมีความพิเศษดังนี้


    1. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
    2. จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป
    3. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
    4. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้
    5. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป
    6. จำกัดคราว คือ วัดๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
    7. เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่นมหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระพุทธประสงค์โดยตรง



    - อานิสงส์จากการทำบุญทอดกฐิน :-

    1. ทำให้เกิดมาในตระกูลที่ดี มีสัมมาทิฐิ
    2. ทำให้ได้ลักษณะที่งดงามสมส่วน
    3. ทำให้มีผิวพรรณงดงาม
    4. ทำให้มีทรัพย์สมบัติมาก ไม่ลำบากในการแสวงหาทรัพย์
    5. เมื่อละโลกแล้วย่อมไปบังเกิดในสวรรค์


    อานิสงส์ที่ชัดที่สุด

    ก็คือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา พระพุทธเจ้าสมัยที่ท่านเกิดเป็นมหาทุกขตะ คือคนที่จนมาก ท่านเป็นคนรับใช้คนอื่นเขา ในสมัยนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีนามว่าปทุมมุตตระ ท่านเป็นคนใช้เขา
    เจ้านายจะจัดกฐินก็สั่งให้มหาทุกขตะจัดการให้ทุึกอย่าง มหาทุกขตะก็บอกว่า ข้าแต่นายขอร่วมมีส่วนในกฐินนี้ได้หรือไม่ นายก็บอกว่าได้ซิเรามีอะไรล่ะ บอกว่าเดี๋ยวขอเสาะหาก่อน คราวนี้เขามีแต่ผ้านุ่งอยู่ผืนเดียว แขกเขาจะมีผ้านุ่งอยู่ผืนหนึ่งแล้วผ้าห่มผืนหนึ่ง แต่มหาทุกขตะจนมากมีผ้านุ่งผืนเดียวก็ไม่ทราบจะทำอย่างไรดี เลยเข้าไปในป่าเอาใบไม้มาเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่มแทน แล้วเอาผ้าผืนนั้นไปที่ตลาดไปถามกับพ่อค้าว่าผ้าผืนนี้สามารถแลกของอะไรได้ บ้าง เขาถามว่าเธอจะเอาไปทำอะไรผ้าก็เก่าเต็มทีจะแลกของอะไรได้นักหนาเชียว เขาก็บอกว่านายของเรานี่จัดกฐินขึ้นมาเพื่อทอดถวายพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธ ศาสนา เราก็อยากทำบุญด้วยก็บอกว่าถ้าอย่างนั้นก็ให้เข็มไปเล่มหนึ่งแล้วก็ด้ายไป กลุ่มหนึ่ง เพราะว่าผ้าเก่ามากแล้วมีค่าน้อยมาก ท่านก็เอาเข็มกับด้ายนั้นเข้าไปร่วมในกองกฐินแล้วตั้งใจอธิษฐานว่าขอให้ผล บุญที่ได้ทำบุญกฐินครั้งนี้ขอให้ท่านบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณดังที่ปรารถนา ด้วยเถิด เสร็จแล้วปรากฏว่าพอถึงชาติปัจจุบันนี้ท่านบรรลุมรรผลได้จริง ๆ

    หลวงพ่อท่านเคยเทศน์ถึงอานิสงส์กฐินท่านบอกว่าบุคคลที่ ตั้งใจทำบุญกฐินพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าแม้แต่ทิพจักษุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าซึ่งถือว่าเลิศแล้วที่สุด ยังมองไม่เห็นเลยว่าอานิสงส์นั้นจะไปสิ้นสุดตรงไหน ส่วนใหญ่ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จะเป็นพระมหากษัตริย์ หรือเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี เกิดแล้วเกิดอีกอยู่ในระดับของความดีนี้ตลอดจนกระทั่งไม่สิ้นสุดของอานิสงส์ กฐินก็จะเข้านิพพานเสียก่อน ฟังดูแล้วน่าทำไหม ร่วมกับเขาบ่อย ๆ

    ประวัติหลวงพ่อปาน
    หลวงพ่อปานทอดกฐิน

    หลวงพ่อปานก็ไปทอดกฐิน๗-๘วัดแต่การทอดกฐินคราวนั้นท่านประกาศกับบรรดาพุทธบริษัทของท่านว่าจะต้องการเอาอาหารไปช่วยเขาเขาอดข้าวอดอาหารนี่ท่านเป็นนักสังคมสงเคราะห์แต่ไม่มีใครเขาช่วยท่านหรอกรัฐบาลไม่ได้ร่วมมือแต่ว่าชาวบ้านช่วยท่านไปคราวนั้นปรากฏว่านำข้าวเปลือกบ้างข้าวสารบ้างไป๗ลำเรือเรือลำหนึ่งจุประมาณ๑๐เกวียนบ้างจุประมาณ๒๐เกวียนบ้างเอาไป๗ลำที่ท่านได้มายังงั้นเพราะอะไรเพราะใครมาหาท่านก็บอกท่านจะไปทอดกฐินแล้วว่าการทอดกฐินคราวนี้ต้องเอาข้าวเอาอาหารไปสงเคราะห์คนที่อดข้าวคนนั้นก็ให้คนนี้ก็ให้บางคนก็ให้เงินบางคนก็ให้ข้าวบางคนก็ให้กับพวกกรุงเทพฯก็ให้ทั้งเงินให้ทั้งของทะเลผ้าผ่อนท่อนสไบพวกจังหวัดสมุทรสาครโยมพ่วงอยู่ที่นั่นก็เอาของทะเลมาเป็นลำๆเรือน้ำปลาอย่างดีของทะเลต่างๆแล้วก็เงินทองด้วยผลที่สุดนำไป๗ลำเรือแจกกันขนาดหนักบรรดาประชาชนสาธุไปทั่วกันว่ากันถึงเรื่องการทอดกฐิน

    จะพูดถึงอานิสงส์กฐินให้ฟังหลวงพ่อปานทอดกฐินคราวไรละก็ท่านก็เทศน์แบบนี้เทศน์แบบนี้ฉันจะนำใจความมาเล่าให้ฟังว่าการทอดกฐินอานิสงส์ของกฐินนี่น่ะให้ผลทั้งชาติปัจจุบันและสัมปรายภพชาติปัจจุบันและสัมปรายภพหมายความว่าชาตินี้และชาติหน้าชาติต่อๆไปคนทอดกฐินสังเกตตัวดู ถ้าทอดแล้วถึง๒-๓ครั้งความเป็นอยู่จะคล่องตัวขึ้นถึงแม้ว่าจะไม่ร่ำรวยก็ตามแต่ความเป็นอยู่จะคล่องตัวขึ้นรู้สึกว่าเป็นคนโชคดีมากขึ้นหาลาภสักการคล่องตัวขึ้นท่านบอกว่านี่ยังเป็นเศษของความดี อานิสงส์ของการทอดกฐินสามารถจะบันดาลให้คนปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็สำเร็จผล

    ดูตัวอย่างองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ปัจจุบันสมัยนั้นเป็นมหาทุกขตะสมัยที่พระปทุมมุตตะทรงอุบัติขึ้นในโลกแกไม่มีอะไรเป็นคนจนไปชวนนายเขาทอดกฐินตัวเองก็เอาผ้าไปขายแลกกับด้ายหลอดเขามาด้วยด้าย๒หลอดเข็ม๑เล่มเอามาผสมกับกฐินเขาแล้วก็ปรารถนาพระโพธิญาณพระปทุมมุตตะก็ทรงพยากรณ์ว่าบุคคลๆนี้ต่อไปจะได้ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระสมณโคดมนี่เป็นสมุฏฐานของการปรารถนาพระโพธิญาณของท่านมีกฐินเป็นปัจจัยแล้วหลวงพ่อก็เทศน์ต่อไปว่าบุคคลใดก็ตามทอดกฐินแล้วถวายผ้าไตรจีวรไว้ในพระพุทธศาสนาต่อไปถ้าหากว่าไปได้บรรลุพระอรหัตผลก็จะมีผ้าสำเร็จไปด้วยฤทธิ์มาสวมตัวพระพุทธเจ้าทรงเรียกว่าเอหิภิกขุแปลว่าเจ้าจงเป็นภิกษุมาเถิดเพียงเท่านี้ผ้าไตรจีวรก็จะลอยมาจากอากาศสวมตัวเองด้วยอำนาจของอานิสงส์กฐิน

    สำหรับผู้หญิงถ้าเป็นเจ้าภาพหรือจัดการในงานกฐินก็จะได้เครื่องมหาลดาปราสาทเครื่องประดับกายอย่างนางวิสาขามีราคาตั้ง๑๖โกฏิสวยงามมากนี่อย่างหนึ่งแล้วอีกอย่างหนึ่งคนที่ทอดกฐินแล้วถ้าตายจากความเป็นมนุษย์จะเกิดเป็นเทวดา๕๐๐ชาติหมายความว่าเกิดแล้ว๑ชาติของเทวดาก็คือพันปีทิพย์หมดกำลังของพันปีทิพย์ก็จะเกิดเป็นเทวดาใหม่ต่อไปอย่างนี้๕๐๐วาระ ความจริงก็ได้เปรียบมากถ้าอย่างลูกหลานได้เป็นอย่างนั้นนะไปนิพพานกันหมดเพราะพวกเรามีศรัทธาอยู่แล้วเป็นเทวดาก็เป็นเทวดาที่ไม่ประมาทยังงี้ไปนิพพานกันหมดดีได้กำไร๕๐๐ชาติ เมื่อพ้นจากความเป็นเทวดาแล้วก็มาเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิถ้าเป็นผู้ชายนะถ้าเป็นผู้หญิงก็เป็นคู่บารมีของพระเจ้าจักรพรรดิ๕๐๐ชาติ พระเจ้าจักรพรรดินี่ไม่ใช่พระเจ้าจักรพรรดิอย่างเบาได๋นะจักรพรรดิส่งเดชอย่างนั้นไม่ใช่คำว่าจักรพรรดินี่มีอำนาจปกครองไปทั้งโลก
    มีเกือกแก้วแล้วก็มีพระขรรค์แก้วแล้วก็มีแก้วมณีโชติมีกำลังมากเหาะได้ไม่มีใครมีอำนาจเท่าแล้วก็มีธนูศิลป์ศรจะใช้ยังไงก็ได้เหมือนศรพระรามมีอำนาจปกครองโลกปกครองโลกได้จริงๆไม่มีใครสู้ถ้าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิก็มีขุนพลแก้วรบเก่งขุนคลังแก้วหาเงินเข้าคลังเก่งช้างแก้วม้าแก้วนี่ใช้สงรามได้ดีนางแก้วคือเมียดีเวลาฤดูหนาวร่างกายของเมียก็อบอุ่นมากขึ้นแล้วเวลาฤดูร้อนร่างกายของเมียก็เย็นทำความสุขให้แก่พระเจ้าจักรพรรดินี่เป็นยังงี้นี่ท่านว่ายังงั้นถ้าพ้นจากสวรรค์ก็มาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ๕๐๐ชาติแล้วพ้นจากนั้นก็เป็นกษัตริย์ธรรมดาไป๕๐๐ชาติจากนั้นก็มาเป็นมหาเศรษฐี๕๐๐ชาติแล้วก็เป็นคหบดี๕๐๐ชาตินี่ท่านบอกว่า

    อานิสงส์ของกฐินคราวเดียวก็สามารถให้ผลถึงเพียงนี้ทุกคนควรจะทอดกฐินกันแล้วเวลาทอดกฐินก็นึกว่าตนจะสงเคราะห์พระพุทธศาสนาหรือสงเคราะห์พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานั่นเอง แต่ว่าเนื้อนาบุญนี่สำคัญนะเวลาจะหว่านข้าวลงไปดูเนื้อนาเสียด้วยนี่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เองเนื้อนาบุญนี่สำคัญ ถ้านาดอนหว่านข้าวไม่ขึ้นม้านหมดถ้านาลุ่มข้าวก็น้ำท่วมนี่สำคัญมาก (แล้วว่ากันไปก็แล้วกัน) ใครจะทำที่ไหนจะทอดที่ไหนก็ไม่ว่านี่แนะนำให้ฟังหลวงพ่อปานท่านเทศน์อย่างนี้
    1.ได้ทำบุญทอดกฐินเพื่อสงเคราะห์พระพุทธศาสนา มีอานิสงส์ 80 กัลป์

    ในภพนี้ได้อานิสงส์การทอดกฐินคือ ดังนี้คือ

    ๑. ได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาไว้ ให้ดำรงค์เสถียรภาพอยู่ตลอดกาลนาน
    ๒. ได้เพิ่มกำลังกายใจให้แก่พระสงฆ์ผู้เป็นศาสนทายาท สืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป
    ๓. ได้ถวายอุปการะ อุปถัมภ์บำรุงแก่พระภิกษุสามเณรเป็นมหากุศลอันสำคัญยิ่ง
    ๔. ได้สร้างต้นเหตุของความสุขไว้
    ๕. ได้สร้างรากเหง้าแห่งสมบัติทั้งหลายไว้
    ๖. ได้สร้างเสบียงสำหรับเดินทางอันกันดาลในวัฏฏสงสารไว้
    ๗. ได้สร้างเกาะสร้างที่พึ่งที่อาศัยอันเกษมแก่ตัวเอง
    ๘. ได้สร้างเครื่องยึดเหนี่ยวแห่งใจไว้
    ๙. ได้สร้างเครื่องช่วยให้พ้นจากความทุกข์นานาประการ
    ๑๐. ได้สร้างกำลังใจอันยิ่งใหญ่ไว้ เพื่อเตรียมตัวก่อนตาย
    ๑๑. ได้จำกัดมลทินคือ มัจฉริยะออกไปจากขันธสันดาน
    ๑๒. ได้บำเพ็ญสิริมงคลให้แก่ตน
    ๑๓. ได้สร้างสมบัติทิพย์ไว้ให้แก่ตน
    ๑๔. เป็นที่รักใคร่ชอบใจของคนทั้งหลาย
    ๑๕. มีจิตใจผ่องใสเบิกบาน
    ๑๖. ได้บริจาคทานทั้งสองอย่างควบกันไปคือ อามิสทาน และธรรมทาน และวิหารทาน
    ๑๗. ให้ได้อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ เป็นทาน
    ๑๘. ได้ฝังทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนา คือทำทรัพย์ภายนอกให้เป็นทรัพย์ภายใน ซึ่งเรียกว่าอริยทรัพย์ คือทรัพย์อันประเสริฐ ๗ ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล หิริ โอตัปปะ เสตะ จาคะ ปัญญา
    ๑๙. ชื่อว่ายึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ ๑ ประโยชน์ภพหน้า ๑


    เป็นอานิสงส์ในภพปัจจุบัน บวกกับอานิสงส์ในภพหน้าบ้าง
    อานิสงส์ในภพหน้านั้นคือ
    ๑. อทฺโฒ มหทฺธโน มหาโภโค เป็นคนมั่งคั่งสมบูรณ์มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
    ๒. อภิรูโป ทสฺสนีโย ปาสาทิโก เป็นคนสวยน่าดู น่าเลื่อมใส
    ๓. สสฺสุสา มีบุตรภรรยา บ่าวไพร่ เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย
    ๔. อตฺถ ปริปุรา มีประโยชน์เต็มเปี่ยมในเวลาจะตายและตายไปแล้ว
    ๕.ได้ประสบพบเห็นแต่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ล้วนแต่ดีๆ
    ๖. โภคาภโย ไม่มีภัยแก่โภคทรัพย์
    ๗. กิตฺติสทฺโท มีชื่อเสียงดี
    ๘. สุคติปรายโน มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
    ๙. เป็นพลวปัจจัยให้ได้สมบัติ ๓ ประการคือ มนุษย์สมบัติ ๑ สวรรค์สมบัติ ๑ นิพพานสมบั



    การเป็นเจ้าภาพนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องมีเงินเป็นหมื่น แสน ล้าน ถึงจะได้ทำกัน ถ้าคิดอย่างนี้กัน คิดผิด ลองพิจารณาให้ดี ถ้ามัวแต่ไปกำหนดกฏเกณฑ์ว่าการเป็นเจ้าภาพจะต้องมีเงินเป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้าน อย่างนั้นเมื่อใหร่หล่ะเราจะมีโอกาศได้เป็นเจ้าภาพกับเขาสักที่ ใช่ใหม? เพราะฉะนั้นให้เอากำลังใจเป็นสำคัญที่สละออก พระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญก็คือ ทำแล้วตัวเองและคนรอบข้างไม่เดือดร้อน หากแม้นมีความศรัธาจริงทำน้อย ทำมากก็มี อานิสงส์ย่อมไม่แตกกันเลย หรือถ้าไม่มีทรัพย์จริงๆ ก็เอาใจนี่หล่ะ น้อมจิตว่าขอร่วมอนุโมทนาบุญ ก็ย่อมจะได้บุญเช่นเดียวกัน



    หรือถ้าถ้ามีความประสงค์จะร่วมเป็นเจ้าภาพบุญกฐินหลายๆวัดซึ่งอานิสงส์นั้นประมาณมิได้เลยครับ ก็เชิญได้เลยครับตามลิงค์ด้านล่างนี้

    เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพมหากฐินสามัคคีวัดท่าซุง ในนามเว็บพลังจิต ปีที่ ๕

    เชิญร่วมโครงการกฐินแสนกอง ปี ๒๕๕๓ ปีที่ ๕ ...ปิดรับบริจาค ๓ พฤศจิกายน

    สุดท้ายก็ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับท่านด้วยทุกประการทั้งปวง ทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบันนะครับ

    ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญนั้นทุกๆประการทั้งปวง จงเป็นผู้สำเร็จในมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติในชาตินี้ด้วยเถิด สาธุ


     
  6. sikko

    sikko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +802
    สาธุค่ะ ขอบคุณค่ะดิฉันกำลังหาข้อมูลกฐินพอดี ความรู้ที่ได้รับ ทำให้ดิฉันมีกำลังใจจะดำเนินการต่อได้ ขอนำข้อความบางตอนเช่นอานิสงส์กฐินไปเผยแพร่ในเฟชบุคนะคะ ความรู้เรื่องบุญช่วยให้การทำบุญหวังผลทเป็นอานิสงส์ของบุญ ก็เหมือนรู้เป้าหมายชีวิต รู้ที่มาที่ไปของจิตที่มีบุญเป็นเหตุ เข้าใจผิดประการใดขอได้โปรดแก้ไขให้ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
     
  7. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2012
  8. ศิษย์ธรรมเทพ

    ศิษย์ธรรมเทพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +786
    วิสัจชนาให้ดังนี้ครับ
    1.อยากทราบขั้นตอน ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง หากไปถวายคนเดียวหรือ2คนได้หรือไม่ ต้องมีอะไรไปถวายครับหรืออย่างน้อยต้องถวายอะไร
    วิ สัจชนา ต้องมีผ้ากฐิน อาจเป็นผ้าไตรจีวรสำเร็จรูป หรือ ผ้าขาวที่จะไปตัดเย็บย้อม ก็แล้วแต่ธรรมเนียมปฏิบัติของวัดแต่ละวัด เมื่อได้ผ้ากฐินแล้วก็กล่าวคำถวาย

    2.ถวายแค่ไตรจีวรอย่างเดียวใช่หรือไม่ มีการถวายแบบประหยัดหรือไม่แต่ได้อานิสงค์มาก
    วิสัจชนา อันที่จริงนั้น ตามพระธรรมวินัยก็ใช้เพียงผ้าผืนเดียว แต่ปัจจุบันนั้นมีเครื่องประกอบอันเป็นบริวารกฐินที่สำคัญ ก็มีไตรอาศัยเป็นบริวาร ๑ คู่ เทียนปาฏิโมข์ บาตร ๑ ใบ อาจมีสิ่งอื่นๆ ร่วมบริวารเพราะ ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเคยเป็นคนจนเข็ญใจมีศรัทธาในบุญกฐินขอร่วมด้วยเข็ม ด้าย กับเศรษฐีผู้เป็นเจ้าภาพทำให้อธิษฐานเพื่อปราถนาเป็นถึงพระพุทธเจ้าได้ จึงควรที่เปิดโอกาสให้มีผู้ร่วมบุญกฐินมากๆ เป็นบริวารกฐินก็ได้ จากคตินี้

    3.หากวัดนั้นๆมีผู้มาถวายแล้ว เราสามารถเข้าไปถวายได้อีกหรือไม่ครับ

    วิ สัจชนา ถ้าวัดใดจะรับกฐินได้ต้องมีองค์ประกอบคือ มีพระสงฆ์ (อย่างน้อย๕รูป) จำพรรษาถ้วนไตรมาษในอาวาสเดียวกัน ในพรรษานั้นเมื่อได้เจ้าภาพกฐินแล้วจะรับอีกมิได้

    4.ขั้นตอนที่ถูกต้องในช่วงถวาย ต้องกล่าวบาลีหรือไม่ หรือเราถวายโดยบอกกล่าวเป็นภาษาไทยได้หรือไม่ ต้องกล่าวอย่างไรบ้างครับ

    วิสัจชนา การจะกล่าวบาลีด้วยหรือไม่นั้น มิใช่สาระสำคัญแต่ก็เอาให้ถูกประเพณีของแต่ละวัดแต่ละท้องถิ่น อย่าให้ผิดพระธรรวินัยเป็นพอครับ จะกล่าวบาลีหรือไม่กล่าวก็เป็นอันเข้าใจได้ว่าถวายผ้ากฐิน แต่กล่าวบาลีด้วยก็คงมิได้เสียเวลาสักเท่าไหร่เพราะไม่ได้ยาวนัก ครับ
     
  9. เด็กอนุบาล

    เด็กอนุบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +4,156
    ขอแนะนำเพิ่มเติมเรื่องการตั้งเจตนาในการทำบุญกฐินให้บริสุทธิ์นะครับ
    เพราะหลายคนก็คงไม่ยากที่จะได้ทำบุญกฐิน
    แต่จะมีสักกี่คนที่ทำบุญนี้ด้วยศรัทธาแท้
    ถ้าทำด้วยศรัทธาแท้และด้วยเจตนาบริสุทธิ์ อานิสงค์ก็จึงจะได้ตามที่หลวงพ่อท่านเทศน์
    การจะทำด้วยศรัทธาแท้ควรรู้ที่มาที่ไปดังนี้ครับ

    - กฐินเป็นสังฆทานพิเศษ เป็นสังฆทานที่พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติขึ้นด้วยพระองค์เอง ด้วยเล็งเห็นประโยชน์มหาศาล คนที่เป็นเจ้าภาพกฐินจึงเท่ากับได้ทำบุญตรงกับพระพุทธเจ้า ได้สนองเจตนารมณ์ของพระพุทธเจ้าให้ได้สำเร็จสมดังพุทธประสงค์ บุญนี้จึงมีกำลังสูงเลิศ ช่วยให้ความปรารถนาของตน ไม่ว่าจะปรารถนาสิ่งสูงค่าเพียงใด ก็ต้องสำเร็จดังประสงค์ได้เช่นกัน กระทั่งความเป็นพระพุทธเจ้า บุญกฐินก็สามารถหนุนส่งให้ได้ตามความปรารถนา

    - ประโยชน์มหาศาลนั้นคือ กฐินทานจะช่วยสืบอายุพระพุทธศาสนาให้ยืนนานได้ตามพุทธประสงค์ เมื่อพระศาสนามีอายุยืนนาน ย่อมยังประโยชน์ทางใจมหาศาลให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วจักรวาลทั้ง 4 ให้ได้มีที่พึ่งในการดับทุกข์ร้อนและมีมรรคผลพระนิพพานเป็นที่ไป คนที่เป็นเจ้าภาพกฐิน จึงเท่ากับมีส่วนช่วยดับทุกข์ร้อนให้สรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วจักรวาลทั้ง 4 เป็นการสร้างเมตตาบารมีอย่างเป็นอัปปมัญญา

    -เหตุที่กฐินทานสามารถช่วยสืบอายุพระศาสนาได้ เพราะการได้ผ้ากฐินและการได้อานิสงค์กฐินของพระที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ จะเป็นเหตุจูงใจให้พระสงฆ์ปารารถนาอยู่รวมกันตั้งแต่ 5 องค์ขึ้นไปตลอดช่วงเข้าพรรษา ทำให้พระมีโอกาสถ่ายทอดความเคร่งครัดในพระวินัยและอบรมบ่มธรรมะซึ่งกันและกัน ทำให้ความดีของหมุ่สงฆ์มีความเข้มแข็ง ความสามัคคีของหมู่สงฆ์มีความเข้มแข็ง หมู่สงฆ์ก็ย่อมมีโอกาสเข้าถึงมรรคผลนิพพานยิ่งขึ้น สรรพสัตว์ทั้งหลายที่พึ่งความดีของหมู่สงฆ์ก็มีโอกาสเข้าถึงความดียิ่งๆขึ้นไป อันเป็นปัจจัยสำคัญที่นำพาให้พระศาสนาตั้งมั่นและมีอายุยาวนาน
     
  10. vaddee

    vaddee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +443
    ง่ายๆ และสั้นๆที่ดิฉันทำอยู่ ผ้าไตรจีวร พระต้องจำพรรษาห้ารูปขึ้นไป จะทำกี่คนก็ได้ กับ ญาติพีน้อง เพือนฝูง หรือคนเดียวก็ได้ จากนั้นก็กล่าวคำบาลี

    คำกล่าวถวายผ้ากฐิน

    อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง สังฆัสสะ
    โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง
    กะฐินะ ทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ ปะฏิคคะเหตะวา จะ
    อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง
    หิตายะ สุขายะ

    (อารธนาศีลห้า)
    ทุติยัมปิ ...
    ตะติยัมปิ ...

    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และเมื่อรับแล้ว ขอจงกรานใช้กฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้า ทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ

    เสร็จแล้วก็ถวายเลย..........>>>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2012
  11. chaythoung

    chaythoung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2008
    โพสต์:
    601
    ค่าพลัง:
    +2,665
    วัดเล็กๆ มีพระจำพรรษาอยู่รูปเดียวจะทอดกฐินได้หรือเปล่าครับ..
     
  12. vaddee

    vaddee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +443
    พระสงฆ์จะต้องห้ารูปขึ้นไปถึงจะเรียกกฐิน
     
  13. ixoxikr

    ixoxikr Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +45
    อนุโมนาคะ ขออนุญาตนำไปเผยแพร่บนเฟชบุคนะคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...