ขอสอบถามเรื่องการภาวนาสัมปะจิตฉามิครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย perawatza, 31 กรกฎาคม 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ผู้จะเจริญสมถะ (สมาธิล้วน) โดยใช้กสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรศึกษาความหมาย นิมิต กับ ภาวนา ดังนี้


    นิมิตหรือนิมิตต์ คือ เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดหรือภาพที่เห็นในใจ ซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน แบ่งเป็น ๓ อย่าง ตามลำดับความเจริญ

    ๑. บริกรรมนิมิต แปลว่า นิมิตขั้นเตรียม หรือเริ่มต้น ได้แก่ สิ่งใดก็ตามที่นึกเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู ลมหายใจที่กำหนด หรือพุทธคุณที่นึกเป็นอารมณ์ว่าอยู่ในใจ

    ๒. อุคคหนิมิต แปลว่า นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตา ได้แก่ บริกรรมนิมิตนั่นเอง ที่เพ่งหรือนึกจนเห็นแม่นยำ กลายเป็นภาพติดตาติดใจ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งจนติดตา หลับตามองเห็น เป็นต้น

    ๓. ปฏิภาคนิมิต แปลว่า นิมิตเสมือน นิมิตคู่เปรียบ หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ นิมิตที่เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิตนั่นเอง แต่ติดลึกเข้าไปอีก จนเป็นภาพที่เกิดจากสัญญาของผู้ที่ได้สมาธิ จึงบริสุทธิ์จนปราศจากสี เป็นต้น และไม่มีมลทินใดๆ ทั้งสามารถนึกขยาย หรือย่อส่วนได้ตามปรารถนา

    นิมิต ๒ อย่างแรก คือ บริกรรมนิมิต และอุคคหนิมิต ได้ทั่วไปในกัมมัฏฐานทุกอย่าง แต่ปฏิภาคนิมิต ได้เฉพาะในกรรมฐาน ๒๒ อย่าง ที่มีวัตถุสำหรับเพ่ง คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ กายคตาสติ และอานาปานสติ


    ภาวนา คือ การเจริญ หมายถึง การเจริญกรรมฐาน หรือฝึกสมาธิ ที่ก้าวหน้าในขั้นต่างๆ มี ๓ ขั้น ดังนี้

    ๑. บริกรรมภาวนา การเจริญสมาธิขั้นเริ่มต้น ได้แก่ การกำหนดถือเอานิมิตในสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น เพ่งดวงกสิณ กำหนดลมหายใจเข้าออกทีกระทบปลายจมูก หรือนึกถึงพุทธคุณเป็นอารมณ์ ว่าอยู่ในใจ เป็นต้น พูดง่ายๆว่ากำหนดบริกรรมนิมิตนั่นเอง

    เมื่อกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (คือ บริกรรมนิมิต) นั้นไป จนมองเห็นภาพสิ่งนั้นติดตาติดใจแม่นยำ ก็เกิดเป็นอุคคหนิมิต จิตก็เป็นสมาธิขั้นต้น ที่เรียกว่า บริกรรมสมาธิ (คือ ขณิกสมาธิ นั่นเอง)

    ๒. อุปจารภาวนา การเจริญสมาธิขั้นอุปจาร ได้แก่ อาศัยบริกรรมสมาธิ เอาจิตกำหนดอุคคหนิมิตต่อไป จนกระทั่งแน่วแน่แนบสนิทในใจ เกิดเป็นปฏิภาคนิมิตขึ้น นิวรณ์ก็สงบระงับ (ในกรรมฐานที่ไม่มีวัตถุเพ่งเพียงแต่นึกถึงอารมณ์อยู่ในใจ ไม่มีปฏิภาคนิมิต กำหนดด้วยจิตแน่วแน่จนนิวรณ์ระงับไปอย่างเดียว) จิตก็ตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ เป็นขั้นสูงสุดของกามาวจรสมาธิ

    ๓. อัปปนาภาวนา การเจริญสมาธิขั้นอัปปนา ได้แก่ เสพปฏิภาคนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วนั้นสม่ำเสมอด้วยอุปจารสมาธิ พยายามรักษาไว้ ไม่ให้เสื่อมหายไปเสีย โดยหลีกเว้นสถานที่ บุคคล อาหาร เป็นต้น ที่เป็นอสัปปายะ เสพแต่สิ่งที่เป็นสัปปายะ และรู้จักปฏิบัติตามวิธีที่จะช่วยให้เกิดอัปปนา เช่น ประคับประคองจิตให้พอดี เป็นต้น จนในที่สุด ก็เกิดเป็นอัปปนาสมาธิ บรรลุปฐมฌาน เป็นขั้นเริ่มแรกของรูปาวจรสมาธิ
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ตกลงว่า # 21 ได้ปฐมฌาน (รูปาวจรสมาธิ) แล้วท่านให้เข้าออกๆๆๆ ปฐมฌานนั่นจนชำนิชำนาญคล่องแคล่ว เรียกตามหลักว่า วสี

    วสี ความชำนาญ มี ๕ อย่าง
    คือ
    ๑. อาวัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการนึกตรวจองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้ว

    ๒. สมาปัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะเข้าฌานได้รวดเร็วทันที

    ๓. อธิฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะรักษาไว้มิให้ฌานจิตต์นั้นตกภวังค์

    ๔. วุฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการจะออกจากฌานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ

    ๕. ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน
     
  3. perawatza

    perawatza Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +209
    ขอบคุณทุกท่านมากเลยครับผม
     

แชร์หน้านี้

Loading...