ขออนุญาตสอบถามพี่ๆและเพื่อนๆนักปฏิบัติทุกท่านครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย rattanasak, 26 ธันวาคม 2017.

  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    2.png 3.png 1.png
    ระบบโฆษณา มันจะเอาพวกเว็บที่เราเคยเข้าบ่อยๆ มาโชว์ครับ 55+ ที่มันประมวลผลแล้วตรงตามที่มันคิดว่าเราชอบ

    ดูของผมสิครับ

    ลองลงโปรแกรม Malwarebytes แล้ว สแกนเครื่องดูครับ ล้างพวกโปรแกรมที่แอบๆในเครื่องให้หมด

    แล้วใช้ ccleaner ล้างแคชไฟล์ กับ ล้าง รีจีสวินโดว์ แล้วลองดูใหม่ครบเพื่อจะดีขึ้น
     
  2. ขาจอน

    ขาจอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +470
    ฟังธรรมต้องตั้งจิตให้ตรงตั้งแต่แรก
    อย่าไปตั้งธงว่าอย่างนี้ใช่อย่างอื่นเปล่า
    พุทธดำรัสไม่เมกเซ้น ต้องแบบกู
    เหล่านี้ ทิ้งไปเลย


    อานาปานสติ เป็นกรรมฐานกองสัญญา ย้ำ สัญญา
    ถ้ายังไหวไม่กระเดิดไป เห้ย สัญญา มันไม่ใช่ปัญญานะ … ต้องแบบครูกุสิวะ พระทาดนะโว้ย
    ก็ฟังต่อ
    อานาปานสติ เป็นกรรมฐาน เพื่อให้เข้าไปเห็นสัญญา
    ไม่เที่ยง ไม่ใช่เรา ไม่มีตัวมีตน
    ปรับขั้นต้น ตรงนี้ให้ตรงก่อน
    ไม่ใช่ดูลมแล้วไปรวมใหญ่ รวมเล็ก พิเศษ ถูกเขาหลอก บริกรบาทห้าสิบ
     
  3. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ไม่มีอาไรน่า งง นะครับเพราะทุกอย่างชัดเจน พระพุทธเจ้าสอนทุกอย่างโดยละเอียดสอดคล้องและชัดเจน การที่คนอ่านคำสอนพระพุทธเจ้าแล้วเกิดอาการงงหรือไม่เข้าใจ เป็นเพราะตัวเราเองครับที่ยังไม่สามารถเข้าถึงธรรมได้ แต่เป็นปกติธรรมดาครับที่เราจะค่อยๆเข้าถึงธรรมของพระพุทธเจ้าได้เมื่อนำมาปติบัติเพราะผลจะออกมาเป็นส่วนที่แสดงชัดในใจเราได้ครับ

    อย่างแรกนะครับที่กล่าวว่า

    ลมเข้าก็รู้ว่าเข้า ลมออกก็รู้ว่าออก
    ลมสั้นก็รู้ว่าสั้น ลมยาวก็รู้ว่ายาว...ประมาณเนี้ยหมายความว่าอย่างไร..

    การฝึกสติ ทำได้ตั้งแต่เบื้อต้นเลยนะครับคือการกำหนดรู้ สิ่งที่ไม่ได้ถูกกำหนดรู้เรียกว่าเราไม่ได้กำหนดสติลงในสิ่งนั้น เมื่อเรากำหนดรู้ลงในกองลม เราก้เรียกว่ารู้ลม หรือรู้ปานา หรืออานาปานสติ แปลตรงๆเลยก้คือการกำหนดรู้ลงในกองลมครับ ท่ากำหนดสติลงในที่อื่นเป็นฐานเพื่อพิจารณาเราจะเรียกว่า อย่างอื่นเช่น กำหนดสติลงใน เวทนา จิต หรือธรรม นะครับ ก้เป็นการกำหนดรู้ในสิ่งๆนั้น ดังนั้นเวลาพระท่านสอนท่านจะไม่ข้ามขั้น ท่านจะเริ่มที่ให้กำหนดรู้ในกองลมก่อนอันเป็นพื้นฐาน อันเป็นเครื่องมือที่หาได้โดยง่ายไม่ต้องตระเตรียม และพระพุทธเจ้าท่านก้ยกให้อานาปานสติเป็นเลิศ

    เอาเรื่องการรู้ลมก่อนเลยนะครับ แล้วการรู้ลมเป็นอย่างไร เมื่อลมหายใจเข้าเราก้รู้ว่าเราหายใจเข้า ครับง่ายๆอย่างนี้เลย เมื่อเราหายใจออกครับเราก้รู้ว่าเราหายใจออก เมื่อเรากำหนดสติลงที่ลมเกิดอะไรบ้างครับ ยกตัวอย่างเช่นคุณก้กำลังปรุงแต่งสิ่งอื่นอยู่ กำลังคิดอยู่กำลังทำอยู่ หรือกำลังเพลิดเพลิยใดๆอยู่ กำลังตกใจอยู่ยินดีอยู่ ยินร้ายอยู่ เมื่อคุณ ตั้งสติแล้วกำหนดลงที่ลมหายใจ ก้ได้ชื่อว่าคุณตั้งสติลงที่ลมหายใจ คุณก้มารู้ลมหายใจว่าเข้าอยู่ ออกอยู่ ความรู้สึกอื่นความปรุงแต่งอื่นก้จงหยุดลง ท่าสติของคุฯมีความบริบูรณ์ในอานาปานสติ หรือในกองลมขณะนั้นๆได้เช่นกัน เรียกว่าท่าหากคุณมีสติจับลงในลมอย่างแนบแน่นสิ่งอื่นๆก้ไม่เป็นที่สนใจไม่เป็นที่รู้ละลึกก้ระงับลง นิวรณ์ต่างๆกิเลศต่างๆก้ระงับลงได้เช่นกัน

    ทีนี้ การที่คุณจะรู้ลมหายใจนั้น เข้าอยู่ ออกอยู่ หรือลมเข้ายาว ลมเข้าสั้น ออกยาว ออกสั้นนั้น ก้คือเข้าไปจับที่กองลมแล้ว ก้เป็นการสลัดเอาการไปจับสิ่งอื่นไห้ดับลงไป ส่วนเรื่องว่าคุณจะรู้อยู่กับลงได้แนบแน่นแค่ไหนก้อยู่ที่กำลังสติของคุณครับ เมื่อสติบริบูรณ์แล้วสมาธิก้จะบริบูรณ์

    จากที่ถามว่า
    แล้วที่ว่า ลมเข้ารู้ว่าเข้า ลมออกรู้ว่าออก ลมสั้นรู้ว่าสั้น ลมยาวรู้ว่ายาว นี่มันอะไรครับ... สัญญา+สังขาร หรือเปล่า... ถ้าใช่...มันก็คือความคิด.. ถ้ามีความคิด ก็แปลว่า สติยังไม่จับที่ลมหายใจอย่างเต็มที่ เพราะยังมีการปรุงแต่งว่าอ่อนี่นะลมสั้น...นี่นะลมยาว....รู้ได้ไงว่ายาว รู้ได้ไงว่าสั้น...เมื่อสั้นยาวของคนเรานั้นไม่เหมือนกัน หรือตามแต่ความรู้สึกเลย แล้วถ้าตามแต่ความรู้สึกจะเรียกว่าเป็นการปรุงแต่งได้ไหม.... อ้าวงงอีก...


    ตรงนี้ครับอยู่ที่กำลังของสติครับว่ามีมากน้อยแค่ไหนท่ามีมากสมาธิเกิดทันทีมีวสีในสมาธิสิ่งอื่นๆก้ไม่เป็นสื่งที่รบกวน รวมสติลงเป็นฐานที่ตั้งของสติครับ ทีนี่ต้องรู้ประโยชของมันว่าคืออะไรครับเพื่อเข้าไปแช่นิ่งอย่างนั้นหรือเพื่อเรียกสติขึ้นเพื่อสลัดอารมสลัดอุปทาน ต้องรู้ก่อนว่าประโยชของการรู้ลมนั้นคืออะไร

    ส่วนแรกนี้ที่พระพุทธเจ้าท่านไห้เริ่มก่อนตั้งขึ้นก่อนคือ รู้ลงในกองลม เพื่อกำหนดให้สติมารวมลงในสมาธิ เพื่อพิจารณาในลำดับถัดๆไปครับ ส่วนการฝึกรู้กองลมนี้ บางท่านก้เริ่มที่นั่งหลับตาก่อนกันสิ่งที่ตามองเห็นจะรบกวน หรือ อยู่นที่สงบวิเวกเพื่อง่ายแก่การเริ่มต้น ส่วนผู้ที่มีความชำนาญหรือมีวสีในสมาธิแล้ว จะเมื่อไหร่ตอนไหนอย่างไรก้ได้ครับ

    ทีนี้เรื่องที่คุณรู้ลมแล้วกลับไปคิดต่อ ก้คือกลับไปปรุงแต่งต่อก้ต้องเข้าใจครับว่าสติไม่ได้อยู่ที่กองลมแล้วก้ให้ดึงกลับมาไหม่ครับ หรือสติเกิดขึ้นแล้วมีสมาธิแล้วก้พร้อมโน้มนำไปพิจารณาธรรมอื่นๆได้ต่อไปครับ รู้ลมนี้เป็นฐานเริ่มต้นครับยังไม่ใช่จบกิจที่ควรทำ ขอตอบเช่นนี้ท่านเห็นอย่างไรก้ชี้แจงได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2018
  4. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +164

    เข้าใจที่อธิบาย แต่ผมยังเข้าไม่ถึงครับ... สงสัยจะโง่เกิน 55
     
  5. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    ของผมเป็นโทรศัพย์มือถือครับ สงสัยจะเข้าพวก อ่านนิยายกับการ์ตูนบ่อย เวปพวกนี้มีแต่โฆษณา แบบนี้ทั้งหมด ตอบเหมือนร้อนตัวเลยผม 55555
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    เอาตรงๆนะครับ ปฏิบัติ แบบโง่ๆ นี้ ละ ไปไกลกว่าพวก ฟุ้งซ่านครับ
    จะรู้อะไรมา อ่านอะไรมา ทฤษฎี อะไรก็แล้วแต่ วางให้หมดทุกอย่างก่อน แล้ว

    แค่หลับตา แล้ว หยุดฟุ้งซ่านในทุกๆเรื่อง ก็พอครับ หยุดความคิดที่ผุดออกมาให้ได้

    เมื่อเราหยุดความคิดได้ สติเราจะสงบในระดับนึง เราก็ ระลึกรู้ลมหายใจ เข้า เราก็รู้ ลมหายใจออก เราก็รู้ แค่นี้ ครับ อย่าให้มีความฟุ้งซ่านเรื่องอื่นๆเกิด แล้วหัดไปเรื่อยๆ ช่วงแรกๆ เราอาจจะหยุดความคิดได้แค่ 5 - 10 วินาที แล้วก็เผลอฟุ้งซ่านออกไปเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ถ้าเรารู้ตัว สติมีกำลัง ทันเมื่อไหร่ ให้ตัด ระงับความฟุ้งซ่านนั้นทิ้ง แล้วกลับมามีสติอยู่กับลมหายใจ หัดไปเรื่อยๆ เราจะเริ่มหยุดความคิดได้ นานขึ้น กลายเป็น นาที 10 นาทีขึ้นไป ครับ

    แล้วในการปฏิบัติ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ถ้าจิตสงบลงไปเรื่อยๆ มีแค่อารมณ์หนึ่ง อยู่กับลมหายใจไปเรือยๆ จิตจะลงสมาธิ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2018
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก
    แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า


    เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว


    หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว

    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น


    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น


    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง

    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง


    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร

    หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร



    หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ
    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข
    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร
    หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต
    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต
    หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง
    หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น
    หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น
    หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต
    หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง
    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส
    หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส
    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ



    อานาปานสติ

    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า


    เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว

    หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว


    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น

    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น


    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง

    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง


    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร

    หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร


    ผมเรียงให้ใหม่ครับ จะได้อ่านเข้าใจได้ไม่ยาก ลองพิจารณาดูครับ
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก
    แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
     
  9. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๑๒๙
    เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗
    โดยพระครูวิลาศกาญจนธรรม
    วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

    b6w2g1415055333.jpg

    อานาปานสติ ถ้าเริ่มมั่นคง จิตกับกายแยกเป็นคนละส่วนกัน ไม่รับรู้อาการทางกายเสียด้วยซ้ำไป


    http://palungjit.org/threads/กระโถนข้างธรรมาสน์-ฉบับที่-129-เดือนพฤศจิกายน-2557-a.541109/
     
  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    จิตคิดมากเหนื่อยมากไม่มีพลัง

    จิตคิดมากเหนื่อยมากไม่มีพลัง จิตยิ่งสงบ สติปัญญาก็จะยิ่งแหลมคมมากยิ่งขึ้น คนจะรู้ว่าตัวเองไม่มีสมาธิต่อเมื่อเริ่มปิดตาสวดมนต์หรือทำสามาธิ จึงจะเห็นความคิดผุดๆ โผล่ๆ จนเราตามไม่ทันและไม่สามารถควบคุมความคิดได้
     
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ หากเป็นตัวสำคัญ ช่วยบอกด้วย จะเป็นประโยชน์มากครับ
     
  12. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ คงเคยได้ยินเรื่อง "มีคนถาม หลวงปู่มั่น ว่า ท่านถือศีลกี่ข้อ" มาก่อนบ้างหรือไม่
    +++ แล้วหลวงปู่มั่นท่านตอบว่า "ท่านถือศีลข้อเดียว" เป็นลักษณะของ "สติรักษาใจ" ตรงนี้ คุณ ลองตรวจสอบดูนะ

    +++ ศีลข้อนี้ของหลวงปู่มั่น คือ "สติวินะโย" คุณลองตรวจสอบดูอีกทีนะ มีลิ้งค์ของหลวงพ่อพุทธ อธิบายอยู่เหมือนกัน ลองอ่านดูนะ

    http://palungjit.org/threads/วิธีฝึกปฏิบัติ-แบบผู้มีจิตเป็นพุทธ-โดย-หลวงปู่-พุธ-ฐานิโย.287958/page-2

    +++ ลองพิจารณาถึง สมมุติของ "ความเป็นเพศ" ประกอบไปด้วยกัน ก็จะเข้าใจมากขึ้น

    +++ "เพศ" คฤหัส ในพระพุทธศาสนา = ศีล 5
    +++ "เพศ" พรหมจรรย์ นักบวช = ศีล 8
    +++ "เพศ" บรรพชิต เณร = ศีล 10
    +++ "เพศ" บรรพชิต ภิกษุ = ศีล 227
    +++ "เพศ" บรรพชิต ภิกษุณี = ศีล 311

    +++ ทุกเพศ (สมมุติ) มีความเป็นมนุษย์ เช่นเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่ ถือ สิกขาบทต่างกัน ตามเพศ (สัจจะ) และ วัยวุฒิ รวมถึง "ความสะดวก" แห่งการถือ เพศสมมุตินั้น ๆ ด้วย หวังว่าคงพอเห็นภาพตามสมควร นะครับ

    +++ ตัวอย่างเช่น "เพศ" บรรพชิต ภิกษุ = ศีล 227 ตรงนี้เป็น "เพศสมมุติ" จึงยังชื่อว่า "สมมุติสงฆ์" เป็นต้น

    +++ ดังนั้น "เพศสมมุติ" ทั้งหมด จึงยังเป็น "คนธรรมดา" ทั้งสิ้น เพียงแต่ปวารณาตัวต่างกัน (ถือสิกขาบท และเครื่องแบบ) เพื่อความเหมาะสมในการ ปฏิบัติธรรม ที่ต่างวาระ ต่างความสะดวก ในการปฏิบัติที่ต่างกัน

    +++ ดังนั้น "เพศสมมุติ ทั้งหมด จึงยังเป็น คนธรรมดา ตามสัจจะธรรม" โดยไม่มีข้อยกเว้น หาก "ลบสมมุติ" ต่าง ๆ นี้ออกจากใจได้ ก็จะเห็นได้ชัดเจนเอง ว่า การบรรลุ เกี่ยวข้องต่อการถือ ศีล หรือไม่

    +++ ตัวอย่างเช่น หลวงปู่มั่น ถือศีล "สำรวมใจ" ข้อเดียว หลวงปู่ดูลย์ ถือศีล "อยู่กับรู้" อันเป็น "ศีลสัจจะ" เหมือนกัน ส่วน "ศีลตามเพศและวัยนั้น" ท่านก็ทรงไว้เพื่อเป็นแบบอย่างต่อทางโลกด้วย ไม่ได้ทิ้งไปไหน

    +++ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น "เพศสมมุติ" ยังควรมีอยู่ต่อไป เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ การปฏิบัติธรรมที่เนื่องด้วย มรรค ผล นิพพาน ประสพอุปสรรคมากกว่าเดิม

    +++ คงพอได้ประโยชน์ในการ "ทำศีลบริสุทธิ์" บ้างพอสมควร นะครับ

    +++ สติวินะโย เป็นของผู้ที่ "ฝึก มหาสติปัฏฐาน 4" จนผ่าน ธัมมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน มาแล้ว

    +++ การ "ฝึก มหาสติปัฏฐาน 4" จนได้ "สติบริสุทธิ์" (เป็นสภาวะรู้) นั้น "ฆราวาส" ทุกคนฝึกได้

    +++ หากตั้งใจจริง ย่อมไปถึงที่สุดได้ "พระพุทธเจ้า" ท่านระบุว่า มหาสติปัฏฐาน เป็น เอกายนมัคโค

    +++ และ "พระพุทธองค์" ไม่เคยทรงระบุว่า ฆราวาส ที่ฝึก "มหาสติ" จนจบสมบูรณ์ จะต้อง "ตายใน 7 วัน" อะไรแบบนั้น ไม่รู้สึกว่า "มันขัดกันอย่างยิ่ง" หรือเปล่า

    +++ ดังนั้น "ผู้ที่จบมหาสติปัฏฐาน 4 แล้ว ต้องตายใน 7 วัน" จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าผู้ที่พูด "รู้จักมหาสติ" จริง ๆ หรือเปล่า

    +++ เคยสงสัยเรื่อง "ทำไม พระไทย จึงต้องโกนคิ้ว" บ้างหรือเปล่า

    +++ คำตอบ คือ "เพราะ สงคราม" นั่นแหละ

    +++ เช่นเดียวกันกับ "พระนาคเสน VS พระเจ้าเมนันเดอร์"

    +++ คำตอบก็ คือ "เพราะ สงคราม" อีกนั่นเอง

    +++ ลองค้นคว้ากันดู ก็จะรู้ "ต้นตอสาเหตุ" ได้ จะได้ "ไม่ต้องกลัว คำขู่ ที่ห้าม มรรค ผล นิพพาน" นะครับ
     
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 104

    ภัททชิเถรคาถา

    ... เขา (พระภัททชิ) ได้บำเพ็ญกุศลเป็นอันมากอย่างนี้แล้ว บังเกิดในเทวโลก
    ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นจนตลอดอายุ จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บังเกิดในมนุษย์ เมื่อโลก
    ว่างจากพระพุทธเจ้า ก็บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ประมาณ ๕๐๐ ด้วยปัจจัย ๔, จุติจาก
    มนุษยโลกแล้ว บังเกิดในราชตระกูล สืบราชสมบัติมาโดยลำดับ บำรุงพระปัจเจก-
    พุทธเจ้า (ของพระองค์) ผู้บรรลุปัจเจกโพธิญาณดำรงอยู่แล้ว เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า
    ปรินิพพานแล้ว นำพระธาตุมาก่อพระเจดีย์บูชา. เขากระทำบุญนั้น ๆ ไว้ในภพนั้น ๆ
    อย่างนี้แล้ว เกิดเป็นบุตรคนเดียวของภัททิยเศรษฐี ผู้มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในภัททิยนคร
    ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า ภัททชิ. ได้ยินมาว่า อิสริยสมบัติ โภคสมบัติ และ
    บริวารสมบัติเป็นต้น ของท่าน ได้มีเหมือนของพระโพธิสัตว์ในภพสุดท้าย.

    ในครั้งนั้น พระศาสดาทรงจำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี เสด็จไปภัททิยนคร
    พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เพื่อจะทรงสงเคราะห์ภัททชิกุมาร ทรงคอยความแก่กล้า
    แห่งญาณ ของภัททชิกุมาร จึงประทับอยู่ ณ ชาติยาวัน.

    แม้ภัททชิกุมาร นั่งอยู่บนปราสาทชั้นบน เปิดสีหบัญชรมองดู เห็นมหาชนเดินทาง
    ไปฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงถามว่า มหาชนกลุ่มนี้ ไปที่ไหน ?
    ทราบเหตุนั้นแล้ว จึงไปสู่สำนักของพระศาสดา (ด้วยตนเอง) พร้อมด้วยบริวารเป็น
    อันมาก ฟังธรรมะอยู่ ทั้ง ๆ ที่ประดับประดาไปด้วยอาภรณ์ทั้งปวง ยังกิเลสทั้งมวล
    ให้สิ้นไป บรรลุพระอรหัตต์แล้ว.

    ก็เมื่อภัททชิกุมารนั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว พระศาสดาตรัสเรียกภัททิยเศรษฐีผู้
    เป็นบิดามาว่า บุตรของท่าน ประดับตกแต่งแล้ว ฟังธรรมอยู่ ตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว
    ด้วยเหตุนั้น การบวชของภัททชิกุมารนั้น ในบัดนี้เท่านั้น สมควรแล้ว ถ้าไม่บวช
    จักต้องปรินิพพาน ดังนี้.
    ท่านเศรษฐี กราบทูลว่า เมื่อบุตรของข้าพระองค์ยังเล็กอยู่
    เช่นนี้ ยังไม่ควรปรินิพพาน ขอพระองค์จงทรงยังเขาให้บวชเถิด พระศาสดาทรงยัง
    ภัททชิกุมารให้บรรพชาแล้ว ให้อุปสมบท...
     
  14. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    เคยอ่านประวัติ ท่านหญิง วิภาวดี รังสิต ข้าราชบริพานในสมเด็จพระราชนีนาท ใน ร.9 ผมจำไม่ได้แล้วว่าเคยอ่านจากที่ไหน เป็นบันทึกของหลวงพ่อ?? จำไม่ได้อีกเหมือนกัน ท่านเขียนไว้ว่า ...

    ในระหว่างภาระกิจออกงานระหว่างชายแดนแทนสมเด็จพระราชินี ท่านหญิงวิภาวดีและหลวงพ่อได้เดินทางไปเยี่ยมทหารด้วยกันแทนสมเด็จพระราชินีนาท

    ความจริงก่อนหน้าท่านหญิงวิภาวดีได้สำเร็จ โสดาบัน ก่อนอยู่แล้ว ท่านมีนิสัยนึกถึงนิพานและกล่าวถึงนิพานอยู่เป็นนิจ ท่านว่าเนื่องเพราะเป็นนิสัยของพระโสดาบันจะคำนึงถึงพระนิพานเป็นปกติ

    ท่านหญิงและหลวงพ่อมาถึงที่พักยามบ่ายมากแล้วจึงเข้าที่พักคืนในที่จัดไว้ให้ก่อน

    รุ่งเช้าขึ้น เฮริคอบเตอร์ไปลงสถานที่ออกเยี่ยมทหารชายแดน

    หลวงพ่อท่านได้ทราบว่า ท่านหญิงได้บรรลุเป็นอรหัตผล เมื่อคืนนี้ในที่พักที่จัดให้ท่าน เนื่องจากได้เกิดเหตุขึ้น มีกระสุนไม่ทราบที่มายิงมาถูกท่านหญิงใน เฮริคอบเตอร์นั้น และยังห่างจากสนามรบอยู่มากไม่มีใครคาดคิดว่าระยะห่างเช่นนี้จะมีกระสุนมาถึงได้

    เหตุที่ทราบเพราะท่านหญิงวิภาวดี ก่อนจะตายท่านกราบลาหลวงพ่ออย่างนี้ คือท่านขอฝากหลวงพ่อให้ทูลลาสมเด็จพระราชินีนาทให้ ว่าท่านต้องไปนิพาทก่อน เนื่องจากได้สำเร็จเป็นพระอรหันแล้วไม่สามารถอยู่ได้ในเพศฆารวาส ขอทูลลาไปนิพานเดี๋ยวนี้แล้ว ท่านก็จากไปอย่างสงบบนเฮริคอบเตอร์นั้นเอง

    ผมจำเรื่องมาได้เท่านี้เพราะได้อ่านมานานมากแล้วเป็น 10 ปีข้อมูลอาจไม่ครบตามความจริงเนื่องจากลืม ไม่ทราบท่านใดได้เคบอ่านผ่านตามาบาง ครับ รบกวนท่านตรวจสอบให้ทีครับ
     
  15. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2018
  16. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +164
    วิจารณ์คงไม่กล้าหรอกครับ เพราะผมก็ยังไม่เข้าใจอย่างท่องแท้... แต่ผมก็ขอออกความคิดเห็นตามที่ตัวเองเข้าใจ...

    คหสต.. ก็อย่างที่คุณว่า ถ้าตามรู้เฉยๆนี่ ไม่ใช่สัญญา+สังขารครับ แต่รู้ว่า สั้นหรือยาว เนี่ยแหละที่ผมสงสัยว่านี่คือ สัญญา+สังขาร... เพราะสั้น ยาว นี่มันเป็นสมมุติ... (ต่างจากเข้า ออกนะ)
    เมื่อคุณรู้ว่าสมมุตินี้คือสั้น สมมุตินี้คือยาว แล้วมันจะไม่ใช่สัญญาเหรอครับ..

    ยิ่งพูดยิ่งงง ยิ่งอ่านก็ยิ่งงง 55
     
  17. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    น่าเห็นใจเจ้าของเวปนะครับ

    ค่าเช่าserver มันแพง
     
  18. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    ไม่ใช่คิดครับแค่ตามรู้มันว่าเป็นอย่างไร เหมือนเรากระพริบตา รู้ว่ากระพริบตา มันกระพริบตาเอง ไม่ได้ไปบังคับมัน ลมมาแรงๆ ท่านเคยคิดรึเปล่าว่าต้องกระพริบตา หรือว่ามันเป็นไปโดยธรรมชาติของร่างกาย แค่ตามรู้

    ความหมายของ ลมสั้น ลมยาว ก็รู้ คือ ให้มีสติรู้ในลมหายใจ จะยาวก็ช่างจะสั้นก็ช่าง แค่รู้ว่าลมเข้า ลมออก ไม่ใช่ส่งความคิดออกไปคิดมัน ไม่ได้ให้ตามลมเข้าไปในจมูก แค่ให้รู้ถึงการหายใจ เข้า ออก ท่านกล่าวว่า รู้สั้นรู้ยาว เพื่อให้เท่าทันสติ รู้ลมหายใจ

    หมดมุกจะอธิบายแล้วครับ สอนคนไม่เก่ง อธิบายไม่เก่ง เร่งแต่เข้าตีอย่างเดียว ขอให้ท่านพินิจ ก้าวหน้าจริญในธรรม ขอให้รู้ในเร็ววันครับ วันนี้ดึกแล้ว ได้เวลากรรมฐานผมแล้ว
     
  19. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    ตัวสั่งการ หดขยายสลายคลายหยุดอะไรพวกนั้นแหละครับ มันคือตัวอะไร ท่านเห็นมันไหม เวลาทำตามคำสั่งสำเร็จ ไอ้ตัวนี้มันได้ใจใหญ่เลย เสริมพลังให้มันไปเรื่อย เพราะไม่มีใครเห็นมัน ไม่มีใครใส่ใจกับมัน อาจจะเห็นก็ได้นะ แต่รำไรๆ แล้วมองข้ามไปสนิทใจเลย ทั้งๆ ที่ทุกข์มาจากหลงตัวนี้ เหตุแห่งทุกข์มาจากความอยากทั้งปวง ท่านเห็นทุกข์และเหตุแห่งทุกข์ผิดที่ไปหรือเปล่าครับ

    แล้วที่ท่านกำลังช่วยเขาหาวิธีพิสูจน์ความเป็นอัตตาอนัตตาอยู่นั้น มันไม่ใช่วิธีการนะครับ มันไปพิสูจน์แบบนั้นไม่ถูก พิสูจน์แบบนั้นแล้วจะได้อะไรครับ ทำอย่างกับที่เขาวิเคราะห์กันเรื่องแสงกับฉากอะไรนั่นเลย อันนี้ก็เหมือนกันเหมือนกับจะพิสูจน์ว่าผีมีจริงไหม นรกสวรรค์มีจริงไหมอะไรทำนองนั้น ซึ่งยังไม่ใช่ทางให้ถึงความพ้นทุกข์โดยตรงอย่างแท้จริง แล้วอันนี้ก็ยังไม่ใกล้ขนาดนั้นด้วยซ้ำ อันนี้พิสูจน์อัตตาอนัตตาแบบคาดการณ์เอาเอง คือถ้ายังไม่เห็นทุกข์ที่แท้จริงคาดเดายังไงก็ไม่มีทางถูกหรอกครับ ขออภัยนะครับที่ต้องกล่าวอย่างตรงไปตรงมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2018
  20. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +164
    คุณชั่งเถอะบอกว่า "ความหมายของ ลมสั้น ลมยาว ก็รู้ คือ ให้มีสติรู้ในลมหายใจ จะยาวก็ช่างจะสั้นก็ช่าง แค่รู้ว่าลมเข้า ลมออก ไม่ใช่ส่งความคิดออกไปคิดมัน ไม่ได้ให้ตามลมเข้าไปในจมูก แค่ให้รู้ถึงการหายใจ เข้า ออก ท่านกล่าวว่า รู้สั้นรู้ยาว เพื่อให้เท่าทันสติ รู้ลมหายใจ "

    ก็เนี่ยแหละที่ผมเข้าใจว่ามันเป็นแบบที่คุณชั่งเถอะว่า.....แต่เท่าที่อ่านมาตามที่หลายท่านเอ่ยถึงว่า รู้ลมสั้น รู้ลมยาว... ผมกลับรู้สึกว่าท่านเหล่านั้นไม่ได้เข้าใจแบบผม (แบบที่คุณชั่งเถอะกล่าว)... ผมก็เลยถามเพื่อถกกันว่า แล้วมันเป็นอย่างไรกันแน่ที่ว่า รู้ลมสั้น รู้ลมยาว..

    สรุปยังไม่ได้คำตอบนะ เพราะนี่แค่เป็นสิ่งที่คุณและผมเข้าใจ

    ท่านอื่นว่าอย่างไร
     

แชร์หน้านี้

Loading...