ขันธ์ห้าเป็นภาระอันหนัก พระธรรมเทศนาหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 24 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    29 ธันวาคม 2496
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)





    <TABLE style="WIDTH: 259px" cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD style="VERTICAL-ALIGN: top">ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา

    ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก​

    นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ​

    สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห​









    </TD><TD style="VERTICAL-ALIGN: top">ภารหาโร จ ปุคฺคโล

    ภารนิกฺเขปนํ สุขํ​


    อญฺญํ ภารํ อนาทิย

    นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ.​














    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ 5 นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ 5 น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ ... แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยขันธ์เป็นภาระอันหนัก ตามวาระพระบาลีและคลี่ความเป็นสยามภาษา

    เพราะว่าเราท่านทั้งหลายเกิดมาหญิงชายทุกถ้วนหน้า ล้วนแต่แบกภาระขันธ์ 5 ด้วยกันทั้งนั้น ขันธ์ 5 เป็นของหนัก ไม่ใช่ของเบา
    หนักอย่างไร
    หนักตั้งแต่อุบัติตั้งแต่อยู่ในท้อง ตั้งแต่เกิดในท้องมารดา หนักเรื่อยมา นั่นบังคับให้มารดาผู้ทรงครรภ์นั้นหนักแล้ว ตัวเองก็หนักไปไหนไม่ค่อยไหว ติดอยู่ในอู่มดลูกนั่นเอง
    เจริญวัยวัฒนา เป็นลำดับๆ ไป เมื่อคลอดก็หนักถึงกับตายได้
    ถ้าว่าขันธ์ที่เกิดนั้นไม่ตาย ขันธ์ของมารดาที่ให้เกิดนั้นถึงกับตายลำบากยากแค้นนัก หนักด้วย ลำบากด้วย ฝืดเคืองด้วย คับแค้นด้วย คับแคบด้วย ลำบากทั้งนั้น
    ขันธ์ 5 เป็นของหนักจริงๆ ไม่ใช่ของเบา ไปไหนก็ไปเร็วไม่ได้ อุ้ยอ้าย
    เมื่อเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับแล้วก็ไปได้ด้วยตนของตนเอง แต่ว่าเป็นกายหนัก เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ ไปเร็วไม่ได้ ต้องไปตามกาลสมัยตามกาลของขันธ์นั้น ไม่ใช่หนัก พอดีพอร้าย หนักกาย ต้องบริหารมากมาย


    ผู้เกิดมานั้นต้องบริหารขันธ์ 5 นั้นด้วย ต้องดูแลรักษา ครั้นเจริญวัยวัฒนาตัวของตัว
    เมื่อหลุดจากมารดาบิดาบริหารรักษาแล้ว ตัวของตัวต้องรักษาตัวเองอีก ตัวของตัวเองรักษาตัวเองก็ไม่ค่อยไหว
    บางคนถึงกับให้คนอื่นเขารักษาให้ ต้องให้เขาใช้สอยไปต่างๆ นานา รักษาขันธ์ 5 ของตัวไม่ได้ ต้องบากบั่นตรากตรำมากมาย

    ในการเล่าเรียนศึกษา กว่าจะรักษาขันธ์ 5 ของตนเองได้ จนกระทั่งรักษาขันธ์ 5 ของตนได้ พอรักษาขันธ์ของตัวได้ ขันธ์ 5 ก็เก่าคร่ำคร่า หนักเข้าขันธ์ 5 ของตัวเองก็พยุงตัวเองไม่ไหว พยุงตัวไม่ไหวต้องอยู่กับที่ ขยับได้บ้าง ไปโน่นมานี่ได้บ้าง แต่หนักเข้าก็ลุกไม่ขึ้น หนักเข้าก็หมดลมอัสสาสะปัสสาสะเข้าโลงไป 4 คนนั่นแหละต้องหาม 4 คนก็เต็มอึดเชียวหนา มันหนักขนาดนี้ หนักอย่างโลกๆ ไม่ใช่หนักอย่างธรรมๆ
    หนักอย่างทางธรรมน่ะนั่นลึกซึ้ง

    แบกขันธ์ทั้ง 5 นำขันธ์ทั้ง 5 ไปมากมายนัก ในมนุษย์โลกนี้แบกขันธ์ทั้ง 5 ไปมากมายนัก ภาระคือ ขันธ์ 5 นี้หนัก ไม่ใช่หนักแต่ในมนุษย์โลกนี้ ไปเกิดเป็นเทวดาก็หนักอีก ไปเกิดเป็นพรหมก็หนักอีก ไปเกิดเป็นอรูปพรหมก็หนักอีก หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เบา

    ถ้าไปเกิดเป็นสัตว์นรก หนักขึ้นไปกว่านั้นอีก ในสัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาตะ โรรุวนะ มหาโรรุวนะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจี หนักขึ้นไปกว่านั้น หรือไปเกิดในบริวารนรก รวมนรก 456 ขุม ขุมใดขุมหนึ่ง หรือไปเกิดเป็นเปรตก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดเป็นอสุรกายก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็หนักอีกเหมือนกัน เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย ก็หนักทั้งนั้น ขันธ์ 5 นี่เป็นของหนัก
    ท่านจึงได้ยืนยันตามพระบาลีว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา
    ขันธ์ทั้ง 5 เป็นของหนัก

    ภารหาโร จ ปุคฺคโล
    บุคคลผู้นำขันธ์ 5 ที่หนักนั้นไป
    ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก
    การถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง 5 นั้นหนัก เป็นทุกข์ในโลก
    ภารนิกฺเขปนํ สุขํ
    สละขันธ์ 5 ปล่อยขันธ์ 5 วางขันธ์ 5 ทิ้งขันธ์ 5 เสียได้เป็นสุข
    นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ
    การทิ้งภาระที่หนักอันนั้นเสียได้แล้ว
    อญฺญํ ภารํ อนาทิย
    ไม่ถือเอาของหนักอื่นอีกต่อไป
    สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห
    ชื่อว่าเป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้
    นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต
    หมดกระหาย ไปนิพพานได้ หมดกระหาย หมดร้อน หมดกระวนกระวาย ไปนิพพานได้ ให้ทิ้งขันธ์ 5 เสีย ทิ้งขันธ์ 5 เสียได้แล้ว ได้ชื่อว่าถอนตัณหาทั้งรากได้ นี้เป็นตัวสำคัญ ให้รู้จักดังนี้

    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ 5 นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ 5 น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ หมดทั้งสากลโลก ขันธ์ 5 ของตัวเอาไปไม่ได้ ขันธ์ 5 ของสามีภรรยากันล่ะ เอาไปไม่ได้ แต่ของตัวเอาไปไม่ได้แล้ว นี่จะเอาของคนอื่นไปอย่างไรล่ะ เอาของลูกไปบ้างไม่ได้หรือ ไม่ได้ แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด

    เมื่อรู้ชัดดังนี้

    วิธีจะละขันธ์ 5 ถอดขันธ์ 5 ทิ้ง วิธีจะถอดสละขันธ์ 5 วางขันธ์ 5 นั้น ต้องเป็นผู้ตั้งอยู่ในสังวรกถา ที่จะตั้งอยู่ในสังวรกถาได้ ต้องอาศัยมีความรู้ความเห็นแยบคาย เห็นแยบคายอย่างไร ? รู้เห็นแยบคาย ความยินดีในรูปในอารมณ์นั้นๆ ต้องปล่อยวาง ต้องละต้องทิ้งความยินดีในอารมณ์นั้นๆ ถ้ายังยึดความยินดีในอารมณ์อยู่ ปล่อยขันธ์ 5 ไม่ได้ การยึดอารมณ์ยินดีในอารมณ์ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้เป็นเนติแบบแผน เป็นภาษามคธว่า




    <TABLE style="WIDTH: 259px" cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD style="VERTICAL-ALIGN: top">สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ



    โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุํ


    ตํ เว ปสหตี มาโร​









    </TD><TD>อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ

    กุสีตํ หีนวีริยํ
    วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ​














    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    แปลเป็นสยามภาษาว่า สุภานุปสฺสึ ผู้ที่เห็นอารมณ์งาม รูปารมณ์ก็ดี สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ผู้เห็นอารมณ์งาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั่นแหละเรียกว่า สุภานุปสฺสึ ผู้เห็นอารมณ์งามอยู่ ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเกียจคร้าน กุสีตํ จมอยู่ในอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด หีนวิริยํ มีความเพียรเลวทราม ตํ เว ปสหตี มาโร มาร ย่อมประหารบุคคลผู้นั้นได้ วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ เหมือนลมประหารต้นไม้ อันมีกำลังทุพพลภาพได้ฉันนั้น นี้พระคาถาต้น คาถาสองรองลงไป




    <TABLE style="WIDTH: 259px" cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD style="VERTICAL-ALIGN: top">อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ

    โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุํ​

    ตํ เว นปฺปสหตี มาโร​







    </TD><TD>อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ

    สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
    วาโต เสลํ ว ปพฺพตํ​














    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ผู้ที่เห็นอารมณ์อันไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารหรือโภชนาหาร มีความเชื่อ ปรารภความเพียรอยู่ มารย่อมประหารบุคคลผู้นั้นไม่ได้ เหมือนอย่างลมประหารภูเขาอันล้วนแล้วด้วยศิลาเขยื้อนไม่ได้ ฉันนั้น




    <TABLE style="WIDTH: 259px" cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD style="VERTICAL-ALIGN: top">จกฺขุนา สํวโร สาธุ

    ฆาเนน สํวโร สาธุ​

    กาเยน สํวโร สาธุ​

    มนสา สํวโร สาธุ

    สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ​











    </TD><TD>สาธุ โสเตน สํวโร

    สาธุ ชิวฺหาย สํวโร​


    สาธุ วาจาย สํวโร

    สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
    สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ​




















    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    แปลเนื้อความว่า สำรวมตาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมจมูกได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมกายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมวาจาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมใจได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมในที่ทั้งหมดปรากฏว่า ยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ผู้ศึกษาธรรมวินัยเป็นผู้สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายในอินทรีย์ทั้งสิ้น เมื่อสำรวมได้เช่นนี้ตัดสินว่า สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปด้วยประการดังนี้ นี่สังวรกถา แสดงการสำรวม
    แต่ว่าที่กล่าวมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ถ้าจะอรรถาธิบายขยายความในการที่ปล่อยขันธ์ 5 เป็นลำดับไป ขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราแบ่งเป็นภาระหนักอยู่ในบัดนี้ แล้วอวดดีด้วยนะ ภาระของตัวหนักพออยู่แล้ว ยังอวดดีไปแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าอีกด้วย เอากันละตรงนี้

    อวดดีแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าด้วย ไม่ใช่แบกน้อยด้วย
    บางคนแบกหลายๆ ขันธ์ แอบไปแบกเข้า 5 ขันธ์อีกแล้ว หญิงก็ดีชายก็ดีแอบไปแบกเข้าอีก 5 ขันธ์ แล้วรวมของตัวเข้าเป็น 10 ขันธ์ แล้วหนักเข้า ก็หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์ เป็น 15 ขันธ์ แล้วแบกเอาไป แบกเข้าไปเฮอะ เอ้าหนักเข้าๆ หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์แล้ว เป็น 20 ขันธ์แล้ว นานๆ หลายๆ ปีเข้า หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์ แล้วเป็น 25 ขันธ์ นานๆ หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์แล้ว เอ้าเป็น 30 ขันธ์ ดังนี้แหละ

    บางคนแบก ถึง 40-50-60-70-80-90 บางคนถึง 100 ขันธ์ สมภารแบกตั้ง 1,000 ขันธ์เชียวนา ไม่ใช่น้อยๆ นั่นอวดดีล่ะ ถ้าอวดดีอย่างนี้ต้องหนักมาก เขาจึงได้ชื่อว่าสมภาร สัมภาระ แปลว่าหนักพร้อม หนักรอบตัว พ่อบ้านแม่บ้าน พ่อครัวแม่ครัว ก็เหมือนกัน หนักใหญ่อีกเหมือนกัน หนักรอบอีกเหมือนกัน เพราะแบกขันธ์ทั้งนั้น ที่ทุกข์ยากลำบากกันหนักหนา ทีเดียว เพราะแบกขันธ์เหล่านี้แหละต้องปลูกบ้านเป็นหย่อมๆ เป็นหลังเป็นพืดไป นั่นเพราะอะไร บริหารขันธ์แบกขันธ์ทั้งนั้น แบกภาระที่หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เล็กน้อย ไม่ใช่พอดีพอร้าย เพราะเหตุดังนั้น การแบกภาระของหนักนี่แหละ ถ้าปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ละก้อ เป็นทุกข์หนักทีเดียว บุคคลผู้แบกของหนักไป
    บุคคลผู้แบกขันธ์ 5 ที่หนักไป ถ้าว่าปล่อยวางขันธ์ 5 ไม่ได้ ก็เป็นทุกข์แท้ๆ ถ้าปล่อยวางขันธ์ 5 เสียได้ก็เป็นสุขแท้ๆ เหมือนกัน ตรงกันข้ามอย่างนี้


    แต่ว่า วิธีปล่อยขันธ์ 5 ไม่ใช่ของเล็กน้อย ไม่ใช่เป็นของปล่อยง่าย
    ถ้าปล่อยไม่ได้ ก็เป็นทุกข์ ปล่อยได้ก็เป็นสุขแต่ขันธ์ 5 จริงๆ เราก็ไม่รู้จักมันเสียแล้วนะ ปล่อยมันอย่างไร

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณน่ะ เอาเถอะ แก่เฒ่าอยู่วัดอยู่วาไปตามกัน บวชแล้วก็ตาม ไม่บวชก็ตาม ถามจริงๆ เถอะว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จริงๆ น่ะคืออะไร เอาละอึกอักกันทีเดียว ไม่เข้าใจตัวของตัวแท้แท้ไม่เข้าใจ



    รูปน่ะคือร่างกาย ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกันอยู่นี้ ถ้าว่าแยกออกไปก็เป็น 28 มหาภูตรูป 4 อุปาทายรูป 24 เป็นรูป 28 ประการดังนี้ นี่แหละมีรูปเท่านี้ เป็นเบญจขันธ์นี้ รูป 28

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นามขันธ์ 4 โดยย่อ
    สังขาร 3 วิญญาณ 6 เวทนา ความรู้สึก สัญญา ความจำ สังขาร ความคิด วิญญาณ ความรู้ เป็นดวงสีต่างๆ กัน
    ส่วนเวทนาก็เป็นดวง ถ้าสุขเวทนาก็ใส ถ้าทุกขเวทนาก็ขุ่น ดังนี้ เป็นดวงๆ ดังนี้

    สัญญา ความจำก็เป็นดวงเหมือนกัน เป็นดวงต่างกัน ดีชั่วหยาบละเอียดเลวประณีต สังขาร ความคิดดีคิดชั่ว คิดไม่ดีไม่ชั่ว นี่ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน

    วิญญาณ ความรู้ ความรู้ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน ต้องรู้จักพวกนี้ ให้เห็น พวกนี้เสียก่อน ให้เห็นขันธ์ทั้ง 5 เสียก่อน ให้เป็นปฏิบัติ

    ที่แสดงแล้วนั่นเป็นปริยัติ ถ้าปฏิบัติ ต้องเห็น
    เห็นขันธ์ทั้ง 5 นั่น รูปเป็นดังนั้นโตเล็กเท่านั้น สัณฐานอย่างนั้น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเห็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 แล้ว ก็ดูความจริงของมัน ขันธ์ 5 เหล่านี้น่ะ ถ้าแม้ว่า ขืนไปยึดถือมันเข้าไว้ละก้อ เป็นทุกข์ ท่านถึงได้วางตำราเอาไว้ว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ยึดถือมั่นในเบญจขันธ์ 5 นั่นเป็นทุกข์ ถ้าหากว่าปล่อยเบญจขันธ์ 5 เสียได้ก็เป็นสุข แต่ว่าปล่อยไม่ใช่ได้ง่าย ปล่อยไม่ได้ง่ายเหมือนอะไร ปล่อยไม่เป็น ถ้าปล่อยเป็นปล่อยได้ง่าย ปล่อยไม่เป็นปล่อยได้ยาก ปล่อยไม่เป็นเหมือนอะไร เหมือนเด็กๆ กำไฟเข้าไว้ ยิ่งร้อนหนักเข้า ยิ่งกำหนักแน่นหนักเข้า ร้องใจหายใจคว่ำก็ร้องไป ปล่อยไม่เป็น คลายมือไม่เป็น ถ่านก้อนที่กำเข้าไว้น่ะ เมื่อเด็กกำเอาเข้าไว้แล้ว กำเสียดับเลยทีเดียว กำเสียมิดทีเดียว มือก็ไหม้ เข้าไปรูหนึ่งแล้ว

    นั่นเพราะอะไร

    เด็กมันปล่อยถ่านไฟไม่เป็น ปล่อยไม่เป็นหรือมันไม่ปล่อย ปล่อยไม่เป็นจริงๆ ถ้าปล่อยเป็นมันก็ปล่อยเหมือนกัน
    เหมือนพวกเรานี่แหละยึดมั่นเอาเบญจขันธ์ทั้ง 5 เข้าไว้ ปล่อยไม่เป็น ไม่รู้จะปล่อยท่าไหน วางท่าไหนก็ไม่รู้ วางไม่ออก ปล่อยไม่ออก
    ปล่อยไม่เป็น วางไม่เป็น หรือปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้

    ไอ้ที่ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ อีกพวกหนึ่ง
    ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง

    ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้น่ะ รู้แล้วว่าปล่อยเท่านั้นวางเท่านั้น ไม่ยอมปล่อย ไม่อยากปล่อย เพราะอะไร เสียดายมัน นั่นอีกพวกหนึ่ง ไม่อยากปล่อยขันธ์ 5 อยากจะได้ขันธ์ 5 ให้มากขึ้น นั่นพวกหนึ่ง
    ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง ไม่ได้เล่าเรียนศึกษา ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของพระพุทธเจ้า ไอ้พวกนั้นปล่อยไม่เป็น

    ไอ้พวกที่ได้ฟังแล้วจะปล่อยก็เป็น แต่ว่าเสียดาย...ไม่ยอมปล่อย...

    อีกพวกหนึ่งตั้งใจปล่อยจริงๆ แต่ปล่อยไม่ได้

    ไอ้ที่ไม่อยากปล่อยน่ะ เหมือนอะไรล่ะ

    เหมือนพรานวางเบ็ด เมื่อปลาติดเบ็ดแล้ว ถ้าปลาตัวเล็กๆ พอจะปลดปล่อยได้ ถ้าปลาถึงขนาดเข้าปล่อยไม่ได้ เสียดาย ต้องใส่เรือของตัวไป ไอ้อยากปล่อยแต่ปล่อยไม่ได้น่ะเหมือนอะไร เหมือนนกติดแร้ว อยากปล่อย แต่เครื่องติดมันมี มันมีเหมือนอะไรล่ะ นี่แหละเหมือนอย่างเราครองเรือน อย่างนี้แหละ อยากจะปล่อยมัน แต่ว่าเครื่องติดมันมีเลยปล่อยไม่ได้ เสียดาย มันปล่อยไม่ได้ มันติดอยู่ดังนั้นแหละ ปล่อยไม่ถนัด เพราะเหตุฉะนี้แหละเบญจขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ต้องถอดกัน ไม่ถอด ปล่อยไม่ได้




    วิธีถอดเบญจขันธ์เบื้องต้นต้องสำรวม ที่จะสำรวมน่ะ ต้องพิจารณาเบญจขันธ์ทั้ง 5 เสียก่อนว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม เป็นของไม่ดีไม่งามนะ เป็นของหนักจริงๆ นะ รู้ว่าเป็นของหนักแล้ว เริ่มต้นทีเดียว เมื่อเห็นว่าหนักละก็เริ่มต้นสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลยทีเดียว สำรวมระวังไว้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มากระทบ คอยระวังไว้สำรวมไว้ให้ดี เมื่อระวังให้ดีแล้วสละความยินดียินร้ายไม่ให้มากระทบ ไม่ให้ความชอบความไม่ชอบซึ่งเป็นกิเลสหยาบเข้ามากระทบได้ สละเสีย

    เมื่อสละเช่นนั้น ถ้าว่าเกียจคร้านไม่ได้นะ ต้องหมั่นขยันทีเดียว ต้องมีความเชื่อมั่นว่าปล่อยได้จริง แล้วขยันหมั่นเพียรจริงๆ นั่นแหละจึงจะปล่อยได้ ถ้าไม่สำรวมระวังปล่อยพลั้งเผลอละก้อ เหมือนดังคนเกียจคร้านมีปัญญาเลวทราม ก็ต้องรัดรึงตรึงตราอยู่ในเบญจขันธ์ทั้ง 5 ก็บุคคลมีศรัทธา มีความเพียรดี มีความเพียรหมั่นขยัน กลั่นกล้านั้นแหละอาจปล่อยขันธ์ 5 ได้ล่ะ แต่ว่าวิธีจะปล่อย ท่านชี้แจงแสดงย่อยออกไปเป็นตำรับตำราออกไปเป็นส่วนๆ ให้เป็นตำรับตำราออกไปว่า
    จกฺขุนา สํวโร สาธุ
    สำรวมตาได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ อย่างไร ความติดมั่นในรูปารมณ์ก็ไม่มี สำรวมหูได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำเร็จอย่างไร ความติดมั่นในสัททารมณ์ก็ไม่มี หยุดไปได้ สำรวมจมูกได้ ความติดมั่นถือมั่นในกลิ่นก็ไม่มี หลุดไปได้ สำรวมในลิ้นได้ ก็ไม่ติดในรส สำรวมในกายได้ ความสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ก็หลุดไป ยังประโยชน์ให้สำเร็จดังนี้ เมื่อสำรวมกายได้ สัมผัสก็หลุดไป สำรวมวาจาได้ ที่จะมีโทษทางวาจาก็ไม่มี หลุดไป สำรวมใจได้ โทษทางใจก็ไม่มี ยังประโยชน์ให้สำเร็จเป็นชั้นๆ ไป ดังนี้ ความสำรวมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นแหละ ทั้ง 6 อย่างสำรวมได้แล้ว ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ทั้งหมด ปรากฏว่าผู้ศึกษาพระธรรมวินัยต้องเป็นผู้มีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้ เมื่อมีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้แล้ว ได้ชื่อว่าสำรวมดีในสิ่งทั้ง 6 ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำรวมใจดีแล้วหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้จริงๆ นะ


    เขาทำกันอย่างไร



    ต้องทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ที่เคยแสดงอยู่เสมอๆ เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ดี ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของกลางๆๆๆๆๆ เป็นลำดับไป เมื่อเข้ากลางของกลางเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์หยาบหลุด หยุดอยู่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เข้ากลางของกลาง หยุดเรื่อยไป ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด กายทิพย์หยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายรูปพรหม กายทิพย์ละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมหยาบหลุดไป
    • เข้าถึงกายอรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดหลุดไป
    • เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบหลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรม กายอรูปพรหมละเอียดหลุดไป
    นี่หลุดไป 8 กายแล้ว
    • เข้าถึงกายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรมโคตรภูหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระโสดาบันหยาบ กายธรรมโคตรภูละเอียดหลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด กายพระโสดาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาหยาบ กายพระโสดาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด กายพระสกทาคาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาหยาบ กายพระสกทาคาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด กายพระอนาคาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายพระอรหัตหยาบหรือพระอรหัตตมรรค กายพระอนาคาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายพระอรหัตละเอียดหรืออรหัตตผล กายพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคก็หลุดไป
    • พอเข้าถึงอรหัตตผล เรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เรียกว่าเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดจากธรรมที่ปะปนด้วยกิเลส สราคธาตุสราคธรรม หลุดหมด เบญจขันธ์ทั้ง 5
    • ขันธ์ 5 ของมนุษย์ ขันธ์ 5 ของกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดแล้ว ก็หลุด
    • ขันธ์ 5 ของกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด ก็หลุด,
    • ขันธ์ 5 กายของรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด เข้าถึงอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็หลุด, หลุดหมด หลุดเป็นชั้นๆ ไป
    ขันธ์ 5 ของกายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรมเสียแล้ว ก็หลุด, ถึง กายธรรมพระโสดา ขันธ์ 5 ของกายธรรมโคตรภูหยาบ-โคตรภูละเอียด หลุด, เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาแล้ว กายธรรมของโสดา-โสดาละเอียดหลุด, เข้าถึงกายธรรมของ พระอนาคาหยาบ-อนาคาละเอียดแล้ว กายธรรมของพระสกทาคาหยาบ-สกทาคาละเอียด หลุดออกไปเช่นนี้ เป็นชั้นๆ เช่นนี้เรียกว่ารู้จักสำรวมถูกส่วนเข้าแล้วหลุดเป็นชั้นๆ ไปดังนี้ เมื่อหลุดออกไปได้แล้วเห็นว่าหลุดจริงๆ ไม่ใช่หลุดเล่นๆ ถ้าว่าโดยย่อแล้วละก็ พอถึง กายธรรมหยาบละเอียดเท่านั้นไปนิพพานได้แล้ว แต่ว่าหลุดดังนี้เป็นตทังควิมุตติ ประเดี๋ยวก็ กลับมาอีก

    พอหลุดแค่พระโสดา นั่นเป็นโลกุตตระ ข้ามขึ้นจากโลกได้แล้ว เป็นอริยบุคคลแล้ว แต่ว่าไม่พ้นจากไตรวัฏฏ์ ต้องอาศัยไตรวัฏฏ์ เพราะยังไปนิพพานไม่ได้ ต้องอาศัยกามภพ รูปภพอยู่ แต่ว่าอาศัยอยู่แต่เปลือกนอก ข้างในล่อนจากเปลือกนอกเสียแล้ว อย่างนั้นก็พอ ใช้ได้ แต่ว่ายังไม่ถึงที่สุด ต้องถึงที่สุดคือพระอรหัตตผลนั่นแหละจึงจะพ้นขาดเด็ดเป็น วิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดได้จริงๆ เช่นนี้ อย่างนี้เอาตัวรอดได้ อย่างนี้ เมื่อรู้จักหลัก ความหลุดพ้นเช่นนี้แล้วก็ตั้งใจให้แน่วแน่ ต้องมีความสำรวมเบื้องต้น ที่ท่านได้ชี้แจงแสดงไว้ใน อารมณ์ที่ไม่งาม แล้วสำรวมระวังให้ดี รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเพียร มีศรัทธา กล้าหาญไม่ย่อท้อ นั่นแหละคงจะไปถึงที่สุดได้ ทว่าย่อท้อเสียแล้วถึงที่สุดไม่ได้ง่าย ให้เข้าใจ หลักอันนี้ หลักที่แสดงแล้ว ที่แสดงในทางขันธ์ 5 เป็นของหนักแล้ว คิดสละขันธ์ 5 นั่นได้ ด้วยความสำรวมระวัง นี้เป็นทางปริยัติ เป็นลำดับไปจนเข้าถึงถอดกายเป็นชั้นๆ ออกไปแล้ว จนกระทั่งถึงพระอรหัต ถึงวิราคธาตุวิราคธรรม กายพระอรหัตหยาบ-พระอรหัตละเอียดนั้น ในแนวนั้นเป็นทางปฏิบัติ ปฏิเวธก็เป็นชั้นๆ เคยแสดงแล้ว



    กายมนุษย์เมื่อปฏิบัติถูกส่วนเข้าแล้วเห็นกายมนุษย์ละเอียด นั่นเป็นนิโรธ เป็น ปฏิเวธ รู้แจ้งแทงตลอดของกายมนุษย์ เมื่อกายมนุษย์ละเอียดเข้าถึงกายทิพย์ ก็เป็นปฏิเวธ ของกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์เมื่อเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายทิพย์ รู้จักกายทิพย์ละเอียดแล้ว เมื่อกายทิพย์ละเอียดเข้าถึงกายรูปพรหม ก็เป็นปฏิเวธของ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหมเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม, กายรูปพรหมละเอียดเข้าถึงกายอรูปพรหม ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหมหยาบเห็นกายอรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายอรูปพรหมหยาบ, กายอรูปพรหมละเอียดเห็นกายธรรม ก็เป็นปฏิเวธของกายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรมเห็นกาย ธรรมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมหยาบ, กายธรรมละเอียดเห็นกายธรรมพระโสดา ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมละเอียด, กายธรรมพระโสดาเห็นกายธรรมพระโสดาละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระโสดาหยาบ, เมื่อกายธรรมของพระโสดาละเอียดเห็นกายธรรม ของพระสกทาคา ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระโสดาละเอียด, กายธรรมพระสกทาคาเห็นกายธรรมละเอียดของพระสกทาคาเอง ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระสกทาคา, กายธรรมละเอียดของพระสกทาคาเห็นกายธรรมพระอนาคาหยาบ ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระสกทาคาละเอียด, กายธรรมพระอนาคาเห็นกายธรรมละเอียดของพระอนาคาเอง ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอนาคา, กายธรรมของพระอนาคาละเอียดเห็นกายธรรมของพระอรหัต ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอนาคาละเอียด, กายธรรมของพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคเข้าถึงกายธรรมของพระอรหัตละเอียดหรือพระอรหัตตผล ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอรหัต นี่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นมาลำดับอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักดังนี้ละก็ การเล่าเรียนในทางพุทธศาสนา การแสดงก็ดี การสดับตรับฟังก็ดี ให้รู้จักทางปริยัติ ทาง ปฏิบัติ ทางปฏิเวธ จึงจะเอาตัวรอดได้ ถ้ารู้จักแต่เพียงทางปริยัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิบัติ ต้องให้เข้าถึงทางปฏิบัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิเวธ ให้เข้าถึงทางปฏิเวธนั่นแหละจึงจะเอาตัว รอดได้ ด้วยประการดังนี้


    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดา มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติ ธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความด้วยเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.

    %E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2015
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    Quote Tipitaka:
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต



    สังขตสูตร
    [๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓
    ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑
    เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขต-
    *ธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๙๔๔ - ๓๙๔๘. หน้าที่ ๑๖๙ - ๑๗๐.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0<!-- m -->


    Quote Tipitaka:
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต



    อสังขตสูตร
    [๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓
    ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ
    ไม่ปรากฏความเกิด ๑
    ไม่ปรากฏความ
    เสื่อม ๑
    เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะ
    ของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๙๔๙ - ๓๙๕๓. หน้าที่ ๑๗๐.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0<!-- m -->

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y9296500-37.jpg
      Y9296500-37.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37.7 KB
      เปิดดู:
      154
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2015
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <TABLE style="WIDTH: 48%" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY jQuery1432530633734="5"><TR><TD jQuery1432530633734="4">“เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว</TD><TD>พบแล้วไม่กำ</TD><TD>จะเกิดมาทำอะไร</TD></TR><TR><TD>สิ่งที่อยากก็หลอก</TD><TD>สิ่งที่หยอกเขาก็ลวง</TD><TD>ทำให้จิตเป็นห่วงใย</TD></TR><TR><TD>เลิกอยากลาหยอก</TD><TD>รีบออกจากกาม</TD><TD>เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป</TD></TR><TR><TD>เสร็จกิจสิบหก</TD><TD>ไม่ตกกันดาร</TD><TD>เรียกว่านิพพานก็ได้”</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    <TABLE style="WIDTH: 35%" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>“รักษ์ร่างพอสร่างร้าย</TD><TD>รอดตน</TD></TR><TR><TD>ยอดเยี่ยม ‘ธรรมกาย’ ผล</TD><TD>ผ่องแผ้ว</TD></TR><TR><TD>เลอเลิศล่วงกุศล</TD><TD>ใดอื่น</TD></TR><TR><TD>เชิญท่านถือเอาแก้ว</TD><TD>ก่องหล้าเรืองสกล”</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    “ไม่หยุด ไม่ถึงพระ ตัวหยุดนี่แหละเป็นตัวสำเร็จ”
    [​IMG]
    <TABLE style="WIDTH: 35%" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>“เห็น</TD><TD>ใด ฤๅ มาตรแม้น</TD><TD>ธรรมกาย</TD></TR><TR><TD>จำ</TD><TD>สนิทนิมิตหมาย</TD><TD>มั่นแท้</TD></TR><TR><TD>คิด</TD><TD>ทำเถิดหญิง-ชาย</TD><TD>ชูช่วย ตนแฮ</TD></TR><TR><TD>รู้</TD><TD>ยิ่งเบญจขันธ์แท้</TD><TD>แต่ล้วนอนิจจัง”</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    “ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก”
    [​IMG]
    <TABLE style="WIDTH: 30%" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>“เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์</TD><TD>เป็นเค้ามูลเนื่องกันมา</TD></TR><TR><TD>เที่ยงแท้แน่หนักหนา</TD><TD>ตั้งอนิจจาเป็นอาจิณ</TD></TR><TR><TD>จุติแล้วปฏิสนธิ</TD><TD>ย่อมเวียนวนอยู่ทั้งสิ้น</TD></TR><TR><TD>สังขาราไม่ยืนยิน</TD><TD>ราคีสิ้นเป็นตัวมา”</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    “ผลไม้ดก นกชุม น้ำเย็น ปลาชอบอาศัย”
    [​IMG]
    <TABLE style="WIDTH: 35%" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>“ด้วยความหมั่น</TD><TD>มั่นใจ</TD><TD>ไม่ประมาท</TD></TR><TR><TD>รักษาอาตม์</TD><TD>ข่มใจ</TD><TD>ไว้เป็นศรี</TD></TR><TR><TD>ผู้ฉลาด</TD><TD>อาจตั้งหลัก</TD><TD>พำนักดี</TD></TR><TR><TD>อันห้วงน้ำ</TD><TD>ไม่มี</TD><TD>มารังควาน”</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    <TABLE style="WIDTH: 52%" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>“ประกอบเหตุ</TD><TD>สังเกตผล</TD><TD>สนใจเถิด</TD><TD>ประเสริฐดีนัก</TD></TR><TR><TD>ประกอบในเหตุ</TD><TD>สังเกตในผล</TD><TD>สนใจเข้าเถิด</TD><TD>ประเสริฐดีนัก</TD></TR><TR><TD>ประกอบที่ในเหตุ</TD><TD>สังเกตดูในผล</TD><TD>สนใจหนักเข้าเถิด</TD><TD>ประเสริฐดียิ่งนัก”</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    <TABLE style="WIDTH: 25%" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>“ขุดบ่อล่อธารา</TD><TD>ให้อุตส่าห์ขุดร่ำไป</TD></TR><TR><TD>ขุดตื้นตื้นน้ำบ่มี</TD><TD>ขุดถึงที่น้ำจึงไหล”</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    <TABLE style="WIDTH: 35%" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>“พายเถอะนะเจ้าพาย</TD><TD>ตลาดจะวาย สายบัวเน่า</TD></TR><TR><TD>โซ่ก็ไม่แก้ กุญแจก็ไม่ไข</TD><TD>จะไปได้อย่างไรกันเล่า</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    อ้ายโลกก็เหลว อ้ายธรรมก็แหลก เป็นแบกบอน
    เหลือแต่กิน นอน เที่ยว สามอันเท่านั้นเอย
    [​IMG]

    คติพจน์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ | วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



    ๔. อนิจจสูตรที่ ๒
    ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕
    [๔๒] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง
    สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่
    เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

    ข้อนี้ อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง
    อย่างนี้
    เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่
    เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของ
    เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็น
    จริงอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
    อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    จบ สูตรที่ ๔.
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๔๘๙ - ๔๙๙. หน้าที่ ๒๑.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0<!-- m -->
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y5330282-4.jpg
      Y5330282-4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.1 KB
      เปิดดู:
      69
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา



    ๕. สรภังเถรคาถา
    คาถาสุภาษิตของพระสรภังคเถระ
    [๓๖๕] เราหักแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะฉะนั้น เราจึงมีชื่อ
    โดยสมมติว่า สรภังคะ วันนี้เราไม่ควรหักแขม ด้วยมือทั้ง
    สองอีก เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
    เราทั้งหลาย เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรคคือ
    อุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น
    โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระ
    ดำรัสของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
    พระวิปัสสี
    พระสิขี
    พระเวสสภู
    พระกกุสันโธ
    พระโกนาคม
    พระกัสสป ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม
    ก็ได้เสด็จไปแล้ว โดยทางนั้น
    พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้
    ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส
    เสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์
    สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์
    เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทาง
    ไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตก และ
    เพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็น
    ผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.
    -----------------------------------------------------
    พระเถระ ๕ องค์ ได้กล่าวคาถาองค์ละ ๗ คาถา รวมเป็น ๓๕ คาถาคือ
    ๑. พระสุนทรสมุททเถระ ๒. พระลกุณฏภัททิยเถระ
    ๓. พระภัททเถระ ๔. พระโสปากเถระ
    ๕. พระสรภังคเถระ.
    จบ สัตตกนิบาต.
    -----------------------------------------------------
    Quote Tipitaka:
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๖๗๘๐ - ๖๘๐๕. หน้าที่ ๒๙๐ - ๒๙๑.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0<!-- m -->
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • %205%2~1.JPG
      %205%2~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      87.7 KB
      เปิดดู:
      97
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ปุพฺเพนิวาสํ โย เวทิ
    สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ
    อโถ ชาติกฺขยํ ตโต อภิญฺญา โวสิโต มุนิ
    สพฺพโวสิตโวสานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.”



    “บุคคลใด รู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน ทั้งเห็นสวรรค์ [ทั้งเทวโลกและพรหมโลก] และอบาย, อนึ่ง บรรลุความสิ้นไปแห่งชาติ เสร็จกิจแล้ว
    เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี,เราเรียกบุคคลนั้น ซึ่งมีพรหมจรรย์อันอยู่เสร็จสรรพแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.”

    (ขุ.ธ.๒๕/๓๖/๗๑)
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2015
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ ๑๔</CENTER>[๒๔] กิเลสชาติอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว อันพระองค์ย่อมไม่กลับแพ้กิเลสชาติอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นทรงชนะแล้ว
    กิเลสบางอย่างย่อมไม่ไปตามใน โลก

    </PRE>


    </PRE>


    </PRE>


    </PRE>

    ที่มา...
    </PRE>



    </PRE>
     
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก</BIG> <CENTER class=D>สโมธานกถา</CENTER></CENTER>
    หน้าต่างที่ ๒ / ๗.







    อีกอย่างหนึ่ง
    บารมีย่อมผูกสัตว์อื่นไว้ในตนด้วยการประกอบคุณวิเศษ.
    หรือบารมีย่อมขัดเกลาสัตว์อื่นให้หมดจดจากมลทินคือกิเลส.
    หรือบารมีย่อมถึงนิพพานอันประเสริฐที่สุดด้วยคุณวิเศษ.
    หรือบารมีย่อมกำหนดรู้โลกอื่นดุจรู้โลกนี้ด้วยคุณวิเศษคือญาณอันเป็นการกำหนดแล้ว.
    หรือบารมีย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง.
    หรือบารมีย่อมทำลาปฏิปักษ์อื่นจากธรรมกาย อันเป็นอัตตา
    หรือหมู่โจรคือกิเลสอันทำความพินาศแก่ตนนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าปรมะ.


    สัตว์ใดประกอบด้วยปรมะดังกล่าวมานี้ สัตว์นั้นชื่อว่ามหาสัตว์.



    คำเป็นต้นว่า ปรมสฺส อยํ ดังนี้ก็พึงประกอบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว.
    หรือบารมีย่อมขัดเกลาคือย่อมบริสุทธิ์ ในฝั่งคือพระนิพพาน และยังสัตว์ทั้งหลายให้หมดจด.
    หรือบารมีย่อมผูกย่อมประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น.
    หรือบารมีย่อมไปย่อมถึงย่อมบรรลุถึงพระนิพพานนั้น.
    หรือบารมีย่อมกำหนดรู้ซึ่งพระนิพพานนั้นตามความเป็นจริง.
    หรือบารมีย่อมตักตวงซัดสัตว์ไว้ในพระนิพพานนั้น.
    หรือบารมีย่อมกำจัดข้าศึกคือกิเลสของสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น. ฉะนั้นจึงชื่อว่าบารมี.


    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=244
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2015
  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค </BIG><CENTER class=D>มหาปรินิพพานสูตร</CENTER></CENTER>
    หน้าต่างที่ ๓ / ๕.

    <CENTER>มารยาจนกถาวณฺณนา </CENTER>


    อีกนัยหนึ่ง บทว่า ตุลํ ได้แก่ ชั่ง คือพิจารณา.
    บทว่า อตุลญฺจ สมฺภวํ ได้แก่ พระนิพพานและภพ.
    บทว่า ภวสงฺขารํ ได้แก่ กรรมที่ไปสู่ภพ.
    บทว่า อวสฺสชฺชิ มุนี ความว่า พระมุนี คือ<WBR>พระ<WBR>พุทธ<WBR>เจ้า<WBR>ทรงพิจารณาโดยนัยเป็นอาทิว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง ความดับปัญจขันธ์ คือนิพพานเป็นของเที่ยง<SUP>๑-</SUP> แล้วทรงเห็นโทษในภพ และอานิสงส์ในนิพพานแล้ว ทรงปลดปล่อยด้วยอริยมรรค อันกระทำความสิ้นกรรมที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า กรรมเครื่องปรุงแต่งภพ อันเป็นมูลแห่งขันธ์ทั้งหลายนั้น เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมดังนี้.<SUP>๒-</SUP>

    พระองค์ทรงยินดีในภายใน ตั่งมั่นแล้ว ทรงทำลายกิเลสที่เกิดในตน เหมือนเกราะได้อย่างไร.
    ความจริง พระมุนีนั้นทรงยินดีในภายในด้วยอำนาจวิปัสสนา ทรงตั้งมั่นด้วยอำนาจสมถะ
    รวมความว่า พระองค์ทรงทำลายข่าย คือกิเลสทั้งหมดที่ตั้งรึงรัดอัตภาพดุจเกราะ ที่ได้ชื่อว่าอัตตสัมภวะ เพราะเกิดในตน ด้วยกำลังสมถะและวิปัสสนาตั้งแต่เบื้องต้น และละกรรมด้วยการละกิเลสอย่างนี้ว่า กรรมที่ทำโดยไม่มีกิเลส ชื่อว่ายังเหลืออยู่ เพราะไม่มีปฏิสนธิ. พึงทราบว่า ชื่อว่าความกลัวของผู้ละกิเลสได้แล้วไม่มี เพราะฉะนั้น พระมุนีไม่ทรงกลัวแล้ว จึงทรงปลงอายุสังขาร เพราะเหตุนั้น จึงทรงเปล่งอุทาน เพื่อให้รู้ว่าไม่ทรงกลัว.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๗๓๕
    <SUP>๒-</SUP> ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๘๘ องฺ. จตุกฺก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๒๓๒
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=3
     
  11. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER>
    </PRE>

    <CENTER>กัณหมรรคสูตร</CENTER>
    </PRE>

    [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นมรรคาดำและธรรมที่เป็นมรรคาขาวแก่เธอทั้งหลาย
    </PRE>
    เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นมรรคาดำเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่เป็นมรรคาดำ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่เป็นมรรคาขาวเป็นไฉน สัมมาทิฐิฯลฯ สัมมาวิมุตินี้เรียกว่าธรรมที่เป็นมรรคาขาว ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๒</CENTER>
     
  12. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร</CENTER><CENTER>อุปมาอริยสัจกับรอยเท้าช้าง<CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER></CENTER><CENTER>๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร</CENTER><CENTER>อุปมาอริยสัจกับรอยเท้าช้าง</CENTER> [๓๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่าดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ. ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว. พระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รอยเท้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนแผ่นดิน รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงการประชุมลงในรอยเท้าช้างรอยเท้าช้างชาวโลกย่อมกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นของใหญ่แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมดย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าในอริยสัจสี่ ฉันนั้นเห็นเหมือนกันแล. ในอริยสัจสี่เหล่าไหน? คือ ในทุกขอริยสัจ ในทุกขสมุทัยอริยสัจ ในทุกขนิโรธอริยสัจ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. [๓๔๑] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน? คือ แม้ความเกิดเป็นทุกข์แม้ความแก่เป็นทุกข์ แม้ความตายเป็นทุกข์ แม้ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ แม้ความที่ไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้ ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ห้าเป็นไฉน? คืออุปาทานขันธ์คือ รูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์คือรูปเป็นไฉน? คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มหาภูตรูป ๔ เป็นไฉน? คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุเตโชธาตุ วาโยธาตุ.
    </PRE>
    </CENTER></PRE>
     
  13. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER>กัสสกสูตรที่ ๙</CENTER> [๔๗๐] สาวัตถีนิทาน ฯ ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน และภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่ ฯ ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปใกล้พระสมณโคดมถึงที่ประทับเพื่อการกำบังตาเถิด ฯ [๔๗๑] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปจึงนิรมิตเพศเป็นชาวนาแบกไถใหญ่ถือปะฏักมีด้ามยาว มีผมยาวรุงรังปกหน้าปกหลัง นุ่งผ้าเนื้อหยาบ มีเท้าทั้งสองเปื้อนโคลน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่สมณะท่านได้เห็นโคทั้งหลายบ้างไหม ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า แน่ะมารผู้มีบาป ท่านจะต้องการอะไรด้วยโคทั้งหลายเล่า ฯ มารกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ จักษุเป็นของเราแท้ รูปก็เป็นของเราอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแก่จักษุสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้นข้าแต่สมณะ โสตเป็นของเรา เสียงเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ จมูกเป็นของเรากลิ่นเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ ลิ้นเป็นของเรา รสเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ กายเป็นของเรา โผฏฐัพพะเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่กายสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ ใจเป็นของเราธรรมารมณ์เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัสก็เป็นของเราท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ฯ [๔๗๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมารผู้มีบาป จักษุเป็นของท่านรูปเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่จักษุสัมผัสก็เป็นของท่านแท้ ดูกรมารผู้มีบาป แต่ในที่ใด ไม่มีจักษุ ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่จักษุสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน โสตเป็นของท่าน เสียงเป็นของท่านอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัสก็เป็นของท่าน แต่ในที่ใด ไม่มีโสต ไม่มีเสียง ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน จมูกเป็นของท่าน กลิ่นเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ฆานสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ ลิ้นเป็นของท่าน รสเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ กายเป็นของท่าน โผฏฐัพพะเป็นของท่านอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่กายสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ ใจเป็นของท่านธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัสก็เป็นของท่าน แต่ในที่ใด ไม่มีใจ ไม่มีธรรมารมณ์ ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน ฯ [๔๗๓] มารกราบทูลว่า ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า นี้ของเรา และกล่าวว่า นี้เป็นเรา ถ้าใจของท่านมีอยู่ในสิ่งนั้น ข้าแต่สมณะ ท่านก็จะไม่พ้น เราไปได้ ฯ [๔๗๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา ดูกรมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเราพระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ<CENTER></CENTER>
    </PRE>
     
  14. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    ๑๒. ทิฏฐิสูตร
    [๒๒๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
    พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
    มาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอันทิฐิ ๒ อย่างพัวพัน
    แล้ว บางพวกย่อมติดอยู่ บางพวกย่อมแล่นเลยไป ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมติดอยู่อย่างไรเล่า ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายมีภพเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภพ
    เพลิดเพลินด้วยดีในภพ เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับภพ จิตของ
    เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ดำรงอยู่
    ด้วยดี ย่อมไม่น้อมไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมติดอยู่
    อย่างนี้ ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมแล่นเลยไปอย่างไรเล่า
    ก็เทวดาและมนุษย์บางพวกอึดอัด ระอา เกลียดชังอยู่ด้วยภพนั่นแล ย่อม
    เพลิดเพลินความขาดสูญว่า แน่ะท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อใด ตนนี้
    เมื่อตายไป ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องแต่ตายย่อมไม่เกิดอีก นี้ละเอียด
    นี้ประณีต นี้ถ่องแท้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมแล่นเลย
    ไปอย่างนี้แล ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างไรเล่า ภิกษุในธรรม
    วินัยนี้ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็น (ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว) จริง

    ครั้นเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
    เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุ
    ย่อมเห็นอย่างนี้แล ฯ


    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
    ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
    อริยสาวกใดเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว และธรรมเป็นเครื่อง
    ก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมน้อมไป
    ในนิพพานตามความเป็นจริง
    เพราะภวตัณหาหมดสิ้นไป
    ถ้าว่าอริยสาวกนั้นกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว ปราศจากตัณหา
    ในภพน้อยและภพใหญ่แล้วไซร้ ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่มาสู่
    ภพใหม่ เพราะความไม่เกิดแห่งอัตภาพที่เกิดแล้ว ฯ
    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
    มาแล้ว ฉะนี้แล ฯ


    จบสูตรที่ ๑๒
    จบวรรคที่ ๒
    รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
    ๑. วิตักกสูตร ๒. เทศนาสูตร ๓. วิชชาสูตร ๔. ปัญญาสูตร
    ๕. ธรรมสูตร ๖. อชาตสูตร ๗. ธาตุสูตร ๘. สัลลานสูตร ๙. สิกขาสูตร
    ๑๐. ชาคริยสูตร ๑๑. อปายสูตร ๑๒. ทิฏฐิสูตร
    จบทุกนิบาต ฯ
    -----------------------------------------------------
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๕๓๖๓ - ๕๔๐๒. หน้าที่ ๒๓๖ - ๒๓๗.
    http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=5363&Z=5402&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2015
  15. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    ๑๒. ทิฏฐิสูตร
    [๒๒๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
    พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
    มาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอันทิฐิ ๒ อย่างพัวพัน
    แล้ว บางพวกย่อมติดอยู่ บางพวกย่อมแล่นเลยไป ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมติดอยู่อย่างไรเล่า ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายมีภพเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภพ
    เพลิดเพลินด้วยดีในภพ เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับภพ จิตของ
    เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ดำรงอยู่
    ด้วยดี ย่อมไม่น้อมไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมติดอยู่
    อย่างนี้ ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมแล่นเลยไปอย่างไรเล่า
    ก็เทวดาและมนุษย์บางพวกอึดอัด ระอา เกลียดชังอยู่ด้วยภพนั่นแล ย่อม
    เพลิดเพลินความขาดสูญว่า แน่ะท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อใด ตนนี้
    เมื่อตายไป ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องแต่ตายย่อมไม่เกิดอีก นี้ละเอียด
    นี้ประณีต นี้ถ่องแท้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมแล่นเลย
    ไปอย่างนี้แล ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างไรเล่า ภิกษุในธรรม
    วินัยนี้ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็น (ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว) จริง

    ครั้นเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
    เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุ
    ย่อมเห็นอย่างนี้แล ฯ


    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
    ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
    อริยสาวกใดเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว และธรรมเป็นเครื่อง
    ก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมน้อมไป
    ในนิพพานตามความเป็นจริง
    เพราะภวตัณหาหมดสิ้นไป
    ถ้าว่าอริยสาวกนั้นกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว ปราศจากตัณหา
    ในภพน้อยและภพใหญ่แล้วไซร้ ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่มาสู่
    ภพใหม่ เพราะความไม่เกิดแห่งอัตภาพที่เกิดแล้ว ฯ
    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
    มาแล้ว ฉะนี้แล ฯ


    จบสูตรที่ ๑๒
    จบวรรคที่ ๒
    รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
    ๑. วิตักกสูตร ๒. เทศนาสูตร ๓. วิชชาสูตร ๔. ปัญญาสูตร
    ๕. ธรรมสูตร ๖. อชาตสูตร ๗. ธาตุสูตร ๘. สัลลานสูตร ๙. สิกขาสูตร
    ๑๐. ชาคริยสูตร ๑๑. อปายสูตร ๑๒. ทิฏฐิสูตร
    จบทุกนิบาต ฯ
    -----------------------------------------------------
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๕๓๖๓ - ๕๔๐๒. หน้าที่ ๒๓๖ - ๒๓๗.
    http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=5363&Z=5402&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0.jpg
      0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.1 KB
      เปิดดู:
      79

แชร์หน้านี้

Loading...