ข่าวสาร วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี โดยเพจมูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ, 19 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  2. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  3. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  4. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันนี้วันพระตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๑๒ ปีระกา

    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม

    เรื่อง..พระสยามเทวาธิราช
    ยกทรง ถามเรื่อง “พระสยามเทวาธิราช” ว่า

    “หลวงพ่อครับ อยากเรียนถามว่า พระสยามเทวาธิราช ท่านให้คุณให้โทษทางไหนแก่ผู้บูชาและจะพูดหรือถวายสักการะแบบไหน ท่านจึงจะชอบใจและถูกใจขอรับ…?”
    พระสยามเทวาธิราช นี่นะ เริ่มมีเมื่อสมัยก่อน ร.๔ มีนะ แต่ก่อนพระเจ้าแผ่นดินสมัยนั้นก็บูชาเทวาชื่อนั้นชื่อนี้ ที่เป็นญาติผู้ใหญ่เป็นคนสำคัญ ขออย่างนั้นอย่างนี้
    ต่อมาสมัย ร.๔ ท่านเป็นนักปราชญ์ เป็นนักบาลี ก็มาตั้งชื่อใหม่ว่า “พระสยามเทวาธิราช” หมายถึงว่า เทวดาทั้งหมดที่รักษาประเทศสยาม ทีนี้ที่ถามว่าให้คุณให้โทษทางไหน ให้โทษนี้ก็ไม่ทราบ ให้คุณนี่ก็ไม่รู้ แต่ท่านเป็นเทวดาเอาอย่างนี้ก็แล้วกันนะ เมื่อปี ๒๕๑๘ ปีนั้นพระเจ้าอยู่หัวนิมนต์เข้าไป ที่ไป พระที่นั่งไพศาลทักษิณ
    พอเข้าไปทำบุญ วันจักรี พอเข้าไปนั่งปั๊บ! ไม่ต้องคุยกับใครล่ะ บรรดา พระสยามเทวาธิราช มากันเยอะแยะเลย โอ้โฮ! ไม่ใช่องค์เดียว ๒ องค์นะ ไม่ทราบว่าจะนับเท่าใด ในบริเวณเต็มไปหมด ไม่ใช่เฉพาะในวังนะ เราก็ชักสงสัยว่า องค์ไหนชื่อ พระสยามเทวาธิราช
    พอถามว่าองค์ไหนชื่อ พระสยามเทวาธิราช ให้บอก ชี้องค์นั้นก็ไม่ใช่ ชี้องค์นี้ก็ไม่ใช่ ต่างคนต่างบอกชื่อของตัวหมด ก็เลยนึกขึ้นมาว่า เออ..ยังไงเทวดานี่ เลยบอกว่าถ้าไม่ใช่ พระสยามเทวาธิราช แล้วมาทำไมล่ะ พระเจ้าอยู่หัวก็ดี พระราชินีก็ดี ท่านทำบุญเพื่อ พระสยามเทวาธิราช
    ท่านก็บอกว่า “เขาอยากเรียกผมอย่างนั้นทำไมล่ะ ผมไม่ได้ชื่อนั้นนี่!”
    ก็รวมความว่า “พระสยามเทวาธิราช” ที่จริงก็เป็นเทวดาที่รักษาประเทศไทยทั้งหมด สมัยก่อนเรียกประเทศสยาม ใช่ไหม…
    ถ้าถามว่าให้คุณแบบไหน ก็ต้องถือว่าเทวดามีความดีอะไรบ้าง แต่ละคนมีความสามารถไม่เสมอกัน อันนี้ตอบไม่ได้เกินวิสัย
    “แล้วในหลวงท่านทรงทราบหรือเปล่าครับ ที่เทวดามากันเยอะ…?”
    ทำไมท่านจะไม่ทราบ พอตอนเลิกแล้ว ขอเล่าลัดๆ นะ พอพระท่านเดินออกมาหมด ฉันก็รั้งท้าย ถือหางเสือ
    “หลวงพ่อมียศเป็นองค์สุดท้ายหรือครับ?”
    องค์แรกนะ!
    “อ้าว! องค์แรกไม่ใช่สมเด็จพระสังฆราชหรือครับ?”
    ไม่ใช่หรอก..ถ้าเดินไปด้านท้าย องค์แรกคือฉัน (หัวเราะ) ไม่ถามให้หมดนี่!
    “โอ้โฮ! ไม่ยอมแพ้ใครเลยนะ..”
    ตอนนั้นเข้าไปมีอะไรรู้ไหม มีพัดกันเข้าไป เราก็ทิ้งพัดทิ้งทวน ไปมือเปล่า พอไปถึงพระราชวัง
    เขาถามว่า “หลวงพ่อไม่มีพัดมาหรือครับ?”
    บอกมี ทำไมไม่เอามาล่ะ ขี้เกียจถือ บอกเอาอย่างนี้ได้ไหมครับ ยืมได้ไหมครับ บอกยืมลำบากเปล่าๆ ใช้ประเดี๋ยวเดียว เอายังงี้ก็แล้วกัน เอาพัดใบตาล
    เขาบอก “ตายล่ะ! อย่างนี้พระเจ้าอยู่หัวเล่นงานผมแย่”
    บอก “เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ฉันจะรายงานท่านเอง ถ้าท่านมาถาม”
    พอท่านมาถึงปั๊บเข้ามากราบๆ มองไปข้างหลังเห็นพัดใบตาล เสร็จ!..เลยบอกพัดนี้อาตมาต้องการ อาตมาลืมพัด เจ้าหน้าที่เขาจะขอยืมให้ บอกว่าไม่ต้องหรอก ต้องการพัดประเภทนี้มันเบาดี พัดยศมันหนัก ถือลำบาก ถือเข้าถือออก พัดประเภทนี้ไม่ต้องถือหรอก เขาไปตั้งให้เวลาลุกมาก็ไม่ต้องถือมา ท่านก็เลยไม่สนใจ คุยเรื่องอื่นต่อไป
    พอตอนท้าย พอเดินออกมา ท่านก็เดินคุกเข่าพนมมือมา บอก “หลวงพ่อครับ เทปที่ให้ผมเมื่อกี้นี้ผมสงสัย” (หลวงพ่อถวายเทปบันทึกเสียงธรรม ๑ โหล) ถามท่านว่าสงสัยหลายข้อไหม ถ้านิดหน่อยก็จะถวายให้ฟังไปเลย แต่ความจริงเทปยังไม่ได้ฟัง ก็เลยถอยหลังไปนั่ง ก็เลยคุยอยู่ชั่วโมงครึ่ง พอถึงชั่วโมงครึ่งก็ใกล้เวลาที่เขาเจริญพระกรรมฐาน บ้านสายลม มีคนนับเป็นพัน ท่านก็ตรัสว่า “คนที่นั่นมี ๓ ประเภทครับ คนตั้งใจจริงก็มี แนวที่ ๕ ก็มี คนมาดูก็มี” วันนั้นถูกสะกดรอยตลอดเวลา
    ตอนที่ท่านไปนั่งปั๊บ! ท่านถามว่า “หลวงพ่อครับ เวลาที่หลวงพ่อบันทึกเสียงทะเลาะกับใครบ้างหรือเปล่า แล้วพวกที่ทะเลาะกับหลวงพ่ออยู่แถวนี้ใช่ไหม?”
    ท่านชี้ขึ้นไปในอากาศ พระสยามเทวาธิราช อยู่พอดี ท่านจะไม่รู้ยังไง ท่านเก่งกว่า ยกทรง อีก อย่าลืมว่าท่านเป็นฆราวาสสามารถทำได้อย่างนั้น พระอย่าไปเทียบนะ เพราะเรามีเวลาว่างมากกว่า ถ้าเรามีงานหนักอย่างนั้นเราทำได้หรือเปล่า คิดอย่างนี้นะ ท่านเก่งนะ!
    เห็นไหมว่าพระเจ้าอยู่หัวของเราเก่งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทิพพจักขุญาณ มีความแจ่มใสมาก ไม่เช่นนั้นพระองค์คงไม่ทราบว่าหลวงพ่อทะเลาะกับเทวดาเป็นแน่!…สวัสดี*

    โพสต์โดย achaya

    1509105905_886_วันนี้วันพระตรงกับวันศ.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  5. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  6. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  7. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  8. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันนี้วันพระตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา

    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม

    ถ้าเราเจริญธัมมานุสสติกรรมฐานใคร่ครวญพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างนั้นมีผลแค่อุปจารสมาธิ แต่ว่าถ้าพิจารณาเป็นจริงก็บวกวิปัสสนาญาณเข้าไปด้วย แล้วนานๆ เข้ากำลังก็จะรวมเข้าถึงปฐมฌาน ก็สามารถตัดกิเลสได้เหมือนกัน นี่เรามาพูดกันถึงว่า ทำอย่างไรถึงจะเป็นฌาน ๔ หรือฌาน ๘ ได้ แล้วก็ทำได้
    อันดับแรก เรื่องตอนต้นเห็นจะไม่ต้องพูดกัน เราตั้งใจจับรูปพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง คือ พระพุทธรูป ไว้เป็นนิมิตจากพุทธานุสสติกรรมฐาน การเจริญพุทธานุสสติกรรมฐานเป็นฌาน เรายึดถือพระพุทธรูปเป็นนิมิตอยู่แล้ว คราวนี้เราก็ถือพระพุทธรูปองค์นั้นเป็นพุทธานุสสติตั้งขึ้นไว้เป็นกสิณเดิม
    เวลาที่จะพิจารณาถึงธัมมานุสสติ ท่านให้ตั้งจิตเพ่งไปคิดให้เห็นว่า มีดอกมะลิแก้วหล่นออกมาจากพระโอษฐ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระพุทธรูปองค์นั้น
    นี่ สร้างภาพเป็นภาพกสิณขึ้นมาว่าเป็นดอกมะลิแก้ว พระพุทธรูปนั้นเผยพระโอษฐ์ อ้าพระโอษฐ์ขึ้นมา
    ดอกมะลิแก้วหล่นลงมาเป็นสีใส แล้วก็สวยเป็นแก้วสวยแก้วใส แล้วแก้วนี้ถือว่าเป็น ธัมมานุสสติ คือ พระธรรมที่ไหลออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า
    นี่ เขาจับนิมิตแบบนี้ แล้วขอบอกไว้เสียเลยว่า การที่เห็นเป็นดอกมะลิแก้วไหลออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้านั้น คำว่า แก้ว นี่ใส ใสก็เป็นได้ ๒ อย่าง คือ โอทาตกสิณ หรือว่า อาโลกกสิณ ถ้าเราถือภาพเป็นสี ใส ก็เป็นอาโลกกสิณ ถ้าเราถือว่าดอกมะลิแก้วนี่ขาวใส ใสแล้วก็ขาว ก็เป็นโอทาตกสิณ
    แล้วเราก็จับภาพนั้น นึกถึงลมหายใจเข้าหายใจออก หายใจเข้าก็นึกว่า ธัม หายใจออกนึกว่า โม ภาวนาว่า ธัมโม แล้วจับภาพดอกมะลิแก้วนั้นให้ติดตาติดใจเป็นปกติ
    ถ้าหากว่าจิตของเราเป็นอุปจารสมาธิเบื้องต้น ก็จะเห็นดอกมะลิแก้วตามที่อารมณ์นึก เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง มันก็ย้อนกันไปย้อนกันมา พอจิตเลื่อนลงไปนิดหนึ่งจิตไม่เป็นสมาธิ อารมณ์ที่จะรู้สึกว่าเห็นดอกมะลิแก้วมันก็หายไป นี่เป็นเครื่องวัด
    ถ้าอารมณ์ใจเป็นสมาธิขึ้นมา อารมณ์ที่เราต้องการเห็นดอกมะลิแก้วมันก็ปรากฏ ถ้าหากว่าเราชำนาญมาจากพุทธานุสสติกรรมฐานได้ฌาน ๔ หรือฌาน ๘ แล้ว เรื่องนี้ก็เป็นของไม่ยาก เราก็สามารถจะผลิตธัมมานุสสติกรรมฐานให้ได้ถึงฌาน ๘ ภายใน ๗ วัน ไม่ใช่ของยากเลย ๗ วันนี่ ภายใน ๗ วันนะ ไม่ใช่ครบ ๗ วัน
    เมื่อพิจารณาแบบนั้นแล้ว จิตเป็นอุปสมาธิทรงตัว ดอกมะลิแก้วจะหยุดอยู่ เรียกว่ากองลงมาหรือลอยอยู่ข้างหน้า หยุดอยู่โดยเฉพาะ เมื่อหยุดอยู่อย่างนั้นเราสามารถจะบังคับให้ทรงอยู่ได้นานแสนนาน ตามกำลังที่เราต้องการ นี่ยังเป็นสมาธิเบื้องต้น เขาเรียกว่า อุคคหนิมิต
    อุคคหนิมิต ตัวนี้ต่อไปจะขยายไปมองเห็นแล้วปรากฏว่า เรานึกว่าดอกมะลิแก้วใหญ่ไป หรือว่าเล็กลงมา สูงขึ้น ต่ำลง แล้วมีความสดใสสวยกว่าเรียกว่าอุปจารนิมิต เห็นเท่าภาพเดิมที่เรานึกอยู่ว่าจะเห็น อย่างนี้เรียกว่าเป็นอุคคหนิมิต
    ถ้าบังคับให้ภาพนั้นเคลื่อนไปได้ ใหญ่ได้ เล็กได้ ใสกว่า เป็นอุปจารนิมิต อุปจารนิมิตนี่มีความสดใสมากขึ้น จิตทรงตัวมากขึ้น ดอกมะลิแก้วจะใส ขยายใหญ่โต ตัวเป็นประการพรึก
    เมื่อดอกมะลิแก้วเป็นประกายพรึกแล้ว นี่เรากำลังปฏิบัติธัมมานุสสตินะ ภาวนาว่า ธัมโม แล้วก็สังเกตอารมณ์ใจ อารมณ์ใจ ใจเราสามารถได้ยินเสียงภายนอกได้ชัดเจนแจ่มใส แต่ว่าเราไม่รำคาญในเสียง นี่แสดงว่านิมิตนั้นเป็นปฏิภาคนิมิต จิตเข้าถึงปฐมฌาน องค์ภาวนาคงภาวนาอยู่ ภาพดอกมะลิแก้วสดใสสวยกว่าปกติขึ้นมา แล้วทรงตัวได้นาน
    เมื่อภาวนาไปภาวนาไป อารมณ์แห่งการภาวนาหยุดเฉยๆ ดอกมะลิแก้วใสกว่าเดิม ผิดปกติขึ้นมาอีกเป็นประกายพรึกสวยกว่าเก่า อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ ๒ คำภาวนาหายไป มีความชุ่มชื่นปรากฏ
    ต่อไป ความชุ่มชื่นหายไป ลมหายใจน้อยลง รู้สึกว่าลมหายใจมันเบามากเกินปกติ หูได้ยินเสียงภายนอกเบาๆ แผ่วเบามาก แล้วก็มีอาการเครียด ตัวตึง มีความรู้สึกเหมือนกับตัวตึง นั่งตรง
    ถ้านอนก็เหมือนกับนอนตรงตึงตัวเข้าไว้ แต่เราไม่ได้เกร็ง ความรู้สึกเป็นยังงั้น สีของดอกมะลิแก้วสดใสเป็นกรณีพิเศษ ใสแพรวพราว บอกไม่ถูก มันจับใจ ใหญ่ได้ เล็กได้ เคลื่อนไปข้างหน้าได้ เคลื่อนไปข้างหลังได้ เราจะให้อยู่สูงได้ อยู่ต่ำได้ รู้สึกว่ามีการคล่องตัวมากขึ้น อาการอย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ ๓ ตอนนี้ภาวนาหายไปหมดแล้ว
    แล้วต่อมาดอกมะลิแก้วเป็นประกายพรึกหนาทึบ เป็นประการแพรวพราว จับใจ ไม่ปรากฏลมหายใจ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ ๔
    นี่ ว่ากันถึงว่าเราทำธัมมานุสสติให้เข้าถึงฌานที่ ๔ ได้ จำอาการไว้ด้วยนะ ตอนหัวค่ำนี่ต่อๆ ไป ก็จะถือว่าให้เป็นการศึกษาพระกรรมฐานครบ ๔๐ กอง แต่ว่าเวลาปฏิบัติจริงๆ ภาวนาจริงๆ พิจารณาจริงๆ เราก็เลือกเอาตามอัธยาศัย ศึกษาไว้เพื่อเป็นความรู้ เพราะอะไรมันเกิดขึ้น ก็จะได้รู้ว่านี่เป็นอะไรแน่
    ต่อไป เมื่อจิตจับภาพเป็นประการพรึกของธัมมานุสสติ คือ ดอกมะลิแก้วสดใสเป็นกรณีพิเศษทรงอยู่ได้นานแสนนาน เพราะว่าเราได้ฌานมาจากพุทธานุสสติกรรมฐานแล้วเป็นของไม่ยาก โดยมากเขาทำกันวันเดียว หนเดียวเขาได้ฌาน ๘ เพราะว่าฌานเดิมมันเป็นฌาน๘ มาแล้ว อารมณ์มันเป็นแบบเดียวกัน อย่างมากมันก็จะขลุกขลักอยู่ในวันแรก พอวันที่ ๒ ก็ตรงทางโผงถึงฌาน ๘ ไป
    ที่กล่าวมาแล้วนี้เรียกว่า รูปฌาน เต็มฌาน ๔ แล้ว รูปฌานเต็ม ๔ ต่อไปเราก็จะทำธัมมานุสสติกรรมฐานให้เป็นฌาน ๘ ก็จับอรูปตั้งภาพนิมิต คือ ดอกมะลิแก้วที่เราคิดว่า เป็นพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ให้ทรงอยู่มีอารมณ์จังนิ่ง
    เมื่อนิ่งพอจิตสบายเป็นอุเบกขารมณ์ จิตขยับนึกว่าภาพนี้จงหายไป ขออากาศจงปรากฏ อากาสานัญจายตนะ พิจารณาว่าเวลานี้ไม่มีอะไร ภาพหมดไปแล้ว มีแต่สภาพว่างเหลือแต่อากาศ ขึ้นชื่อว่าอากาศนี้หาที่สุดมิได้ ไม่มีอะไทรงตัว ชีวิตของเราก็เหมือนกัน ถ้ายังหลงอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสอยู่ มันก็จะมีแต่ความทุกข์หาที่สุดมิได้
    นี่ มันใกล้วิปัสสนาญาณเข้าไปเต็มที แต่มันยังไม่ถึง ถ้าหากว่าเรายังมีตัวอยู่อย่างนี้ เราก็พบความทุกข์หาที่สุดมิได้ ความร้อน ความหนาว ความกระหาย ทุกข์ภัยต่างๆ ที่เกิดมาก็เพราะอาศัยร่างกายเป็นสำคัญ
    นับตั้งแต่นี้ไป เราไม่ต้องการร่างกาย เราไม่ต้องการอะไรทั้งหมด ขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ เป็นที่รับแห่งทุกข์ทั้งปวง เราไม่ต้องการ ต้องการอย่างเดียว ความหมดไปจากขันธ์ ๕ มีสภาพเหมือนอากาศ จิตใจมันก็จะทรงตัวมีความปกติ จิตนิ่งเป็นอารมณ์ของฌาน ๔ จิตทรงความสบายเป็นฌาน ๔ ได้ตามอัธยาศัย อย่างนี้เรียกว่าได้อากาสานัญจายตนะฌาน
    เมื่อได้ อากาสานัญจายตนะฌาน พิจารณาอากาศแล้ว ต่อไปก็ขยับขวึ้นอีกนิดหนึ่งขึ้นไปวิญญาณัญจายตนฌาน พิจารณาว่า ขึ้นชื่อว่าวิญญาณถ้ายังทรงสภาพอยู่ มันก็ยังรับรู้สภาวะของความสุขหรือความทุกข์ เราไม่ต้องการให้วิญญาณทรงสภาพ จับเป็นกลุ่มเป็นก้อน ต้องการให้วิญญาณนี้สลายไปเหมือนอากาศ มันจะได้ไม่มีความรับสัมผัสใดๆ ทั้งหมด
    แล้วอารมณ์จิตก็ตั้งเพ่งไปเฉพาะข้างหน้า เห็นภาพของวิญญาณโดยนิมิตจัดขึ้น แล้วกระจายวิญญาณให้สลายตัวไป ไม่มีอะไรเหลือ ถ้าอารมณ์อย่างนี้มันทรงอยู่ จิตได้ถึงฌาน ๔ ก็ชื่อว่าเราได้วิญญาณัญจายตนฌาน
    ตอนนี้ อากิญจัญญายตนฌาน ฌานที่ ๓ จับภาพกสิณตั้งขึ้น ภาพกสิณนี่มีสภาพเหมือนกับสภาพของจิตขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ ก็ดี เราว่ายังงั้น วิญญาณก็ดี ถ้ามันยังมีอยู่ตราบใด มันก็ใช้ไม่ได้ มันก็จะประสบกับความทุกข์
    ต่อไปนี้ แม้แต่วิญญาณนิดหนึ่ง ก็จะไม่ปรากฏสำหรับเรา อากิญจัญญายตนะ แปลว่า ไม่มีอะไรเลย เราเป็นผู้ไม่มีอะไรเหลือแม้แต่นิดเดียว แม้แต่ความรู้สึกนิดหนึ่งมันก็จะไม่ปรากฏ
    จิตทำลายภาพกสิณให้หายไป คือ ภาพดอกมะลิแก้วให้หายไป มีแต่อากาศว่างเปล่า จิตมีความสุข เพ่งอยู่เสมอว่า เราต้องการไม่มีรูป ไม่มีสภาพแบบนี้ เราจะไม่มีทุกข์ นี่ถ้าจิตทรงถึงฌาน ๔ แล้วก็ชื่อว่าเราได้ฌาน ๗แล้ว อรูปฌานที่ ๓ เป็นฌาน ๗
    อรูปฌานที่ ๔ ว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ หวนกลับมาจับกาย จับวิญญาณ จับจิต จับร่างกายของเรา ว่าเวลานี้เรายังมีร่างกายอยู่ มันรับทุกข์ เรามีอายตนะมันรับทุกข์ เรามีวิญญาณ เรายังมีอาการรับสัมผัสมันรับทุกข์ ไม่ใช่รับสุข ชีวิตของเรามันไม่มีการรับสุข มันรับแต่ทุกข์
    ต่อไปนี้ ถึงแม้ว่าเรายังจะอยู่ในร่างกายนี้ก็ตามที เราจะทำความรู้สึกเหมือนว่าเป็นคนไม่มีสัญญา
    เนวสัญญานาสัญญายตนะ ท่านบอกว่า มีสัญญาและมีอายตนะ แต่ทำเหมือนคนไม่มีสัญญา ทำเป็นเหมือนคนไม่มีอายตนะ
    อายตนะ ก็ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    สัญญา ก็ได้แก่ ความจำ จำว่านี่หนาว นี่ร้อน นี่เปรี้ยว นี่เค็ม นี่เผ็ด นี่อุ่น อะไรก็ตาม มันจำได้
    สัญญา แปลว่า ความจำ ตอนนี้ไม่อยากจะจำ ปล่อย มันจะร้อนมา มันจะหนาวมา มันจะยังไงก็ช่างหัวมัน ทำเหมือนกับคนตายแล้ว ทำเหมือนคนไม่รู้สึก แล้วจิตมันก็ทรงได้ มันจะหนาว มันจะร้อน มันจะหิว มันจะกระหายก็ตาม ฉันไม่หิวด้วย แกอยากหิวก็หิว ฉันไม่หิว จิตมันอยู่ในความสงบ อันความหิวมันก็ไม่เกิด
    เมื่อหนาวมาจริงๆ เอ้า…มันจะยังไงก็ช่าง ฉันไม่หนาว เอาจิตเข้าไปตั้งฌาน ๔ มันก็ไม่หนาว เรียกว่ามีสัญญาเหมือนกะไม่มีสัญญา มีวิญญาณเหมือนกะไม่มีวิญญาณ มีอายตนะ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง รูปสวยเสียงเพราะฉันไม่สนใจ รูปไม่สวยเสียงไม่เพราะฉันไม่สนใจ รสอาหารมันจะเป็นยังไงฉันไม่ในใจ มีอายตนะแล้วทำเหมือนไม่มีอายตนะ ตาเห็นรูปเหมือนไม่เห็น เห็นแล้วก็ไม่มีความสนใจ ว่าไอ้พวกนี้มันสลายตัวหมด ต่อไปมันก็ไม่มี นี่มันใกล้วิปัสสนาญาณมาก
    ฉะนั้น พวกที่ได้สมาบัติ ๘ จึงเจริญวิปัสสนาญาณไม่เกิน ๑ อาทิตย์ ได้อรหัตผล และเป็นปฏิสัมภิทาญาณ
    นี่ พิจารณาตามนี้จนจิตชิน ก็ชื่อว่าเราได้เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่มันก็ไม่ยากนะ ยากไหม มันไม่ยากนี่ เราพูดกันมาถึงพุทธานุสสติมาแล้ว
    ไอ้การระงับนิวรณ์ การทรงเมตตา การทรงพรหมวิหาร ๔ การทรงศีล เราพูดกันมาแล้ว แล้วเราก็ได้พุทธา
    นุสสติกรรมฐานเป็นสมาบัติ ๘ มาแล้ว แล้วก็เรื่องอะไรล่ะ จะต้องมานั่งคลำธัมมานุสสติกรรมฐานกันถึง ๗ วัน ๘ วัน
    เขาคลำกันไม่เกิน ๓ วันเป็นอย่างช้า คือวันแรกขลุกขลักนิดหนึ่ง วันที่ ๒ เอาไปกินเสียหมดแล้ว วันที่ ๓ ซ้อมให้มีการทรงตัว แล้วหลังจากนั้นเขาจับสังฆานุสสติ
    ต่อไปถึงฌาน ๘ อีก
    นี่ เป็นวิธีการที่จะพึงรู้ เป็นหลักวิชา แต่ว่าหลักวิชาจริงๆ น่ะ อนุสสติท่านบอกว่า ให้ใช้ได้แต่เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น นี่ตามแบบอนุสสติเดิม
    ตอนนี้ เราก็มาดัดแปลงแก้ไขให้เกิดเป็นฌานได้ มันจะเป็นไรไป ไม่ผิด ก็เอาอนุสสติมาเป็นกสิณเสียมันก็หมดเรื่องกันไป
    นี่ เขาทำกันได้แล้วจิตมันก็ทรงตัวดี ถ้าจิตมีความมั่นคง แล้วได้ถึงสมาบัติ ๘ หรือถึงสมาบัติ ๔ แล้ว เวลาจะเจริญวิปัสสนาญาณมันก็เป็นของง่าย มันไม่มีอะไรจะยาก นี่จำไว้เป็นพื้นฐาน
    เพราะว่ามีคนเขาพูดกัน ไอ้พวกเกาะตำราว่าอนุสสติทั้งหมดจะเป็นฌานไม่ได้นอกจากอานาปานุสสติกรรมฐาน เราก็จะตอบเขาว่าเฉพาะอนุสสติจริงๆ ละก็เป็นเช่นนั้น
    แต่เราดัดแปลงอนุสสติเป็นกสิณได้ เป็นกสิณแล้วก็ถือเอาพระธรรม เอาพระพุทธ เอาพระสงฆ์ เอาเข้ามาเป็นกสิณนั่นเอง เมื่อเป็นกสิณแล้วเราก็ทำฌาน ๘ ให้เกิดขึ้นได้ อย่าว่าแต่ฌาน ๔ เลย นี่การทรงตัวมันดีอย่างนี้
    เอาละ ต่อแต่นี้ไปก็ขอทุกท่าน พยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้าภาวนาว่า พุท เวลาหายใจออกภาวนา โธ อย่างนี้ก็ได้นะ หรือว่าใครถนัดแบบไหนก็ได้ ให้พิจารณาหรือภาวนาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    โพสต์โดย achaya

    .jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  9. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  10. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันศุกร์ที่ ๓ พฤศจิกายน
    เวลา ๐๘.๐๐ พระครูสังฆรักษ์สุรจิต สุรจิตโต พร้อมด้วยพระสงฆ์ ๓ รูป ฉันภัตตาหารเช้าแล้ว เดินทางไปบ้าน
    พล.อ.อ.อาทร – สิริรัตน์ (ตุ๋ย) โรจนวิภาต ที่ดอนเมือง (กม.๘) เพื่อรับสังฆทานและฉันภัตตาหารเพล หลังจากฉันเพลเสร็จแล้ว เดินทางเข้าบ้านสายลม
    เวลา ๑๙.๐๐ น. – ๒๑.๓๐ น. ลงรับรับสังฆทาน

    วันเสาร์ที่ ๔ พฤศจิกายน – วันอาทิตย์ที่ ๕ พฤศจิกายน
    เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง ๑๕.๓๐ น. ลงรับสังฆทาน
    เวลา ๑๒.๓๐ น. ถึง ๑๕.๐๐ น. ฝึกมโนมยิทธิ
    เวลา ๑๙.๐๐ น. ถึง ๒๐.๐๐ น. เจริญพระกรรมฐาน โดยเปิดเทปคำสอนของพระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน และนั่งสมาธิจบแล้วรับสังฆทานต่อ จนถึง
    เวลา ๒๑.๐๐ น. ถึง ๒๑.๓๐ น. สวดมนต์ อุทิศส่วนกุศล และรับพร

    วันจันทร์ที่ ๖ พฤศจิกายน
    เวลา ๑๐.๐๐ น. ถึง ๑๕.๓๐ น. รับสังฆทาน (วันนี้ไม่มีฝึกมโนมยิทธิ)
    เวลา ๑๙.๐๐ น. ถึง ๒๐.๐๐ น. เจริญพระกรรมฐาน โดยเปิดเทปคำสอนของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน และนั่งสมาธิจบแล้ว รับสังฆทานต่อ จนถึง
    เวลา ๒๑.๐๐ น. ถึง ๒๑.๓๐ น. สวดมนต์ อุทิศส่วนกุศล และรับพร (บางครั้งผู้รับสังฆทานอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างตามสมควร เพราะช่วงนี้เป็นระยะพักฟื้นหลังจากการผ่าตัดของท่านเจ้าอาวาส – แจ้งข่าวโดย “ทีมงานเว็บวัดท่าซุง”)

    วันอังคารที่ ๗ พฤศจิกายน ฉันเช้าแล้วเดินทางกลับวัด

    -๓-พฤศจิกายน.jpg
    1509694565_655_วันศุกร์ที่-๓-พฤศจิกายน.jpg
    1509694565_932_วันศุกร์ที่-๓-พฤศจิกายน.jpg
    1509694566_537_วันศุกร์ที่-๓-พฤศจิกายน.jpg
    1509694567_253_วันศุกร์ที่-๓-พฤศจิกายน.jpg
    1509694567_277_วันศุกร์ที่-๓-พฤศจิกายน.jpg
    1509694567_336_วันศุกร์ที่-๓-พฤศจิกายน.jpg
    1509694568_516_วันศุกร์ที่-๓-พฤศจิกายน.jpg
    1509694568_614_วันศุกร์ที่-๓-พฤศจิกายน.jpg
    1509694568_518_วันศุกร์ที่-๓-พฤศจิกายน.jpg
    1509694569_284_วันศุกร์ที่-๓-พฤศจิกายน.jpg
    1509694569_271_วันศุกร์ที่-๓-พฤศจิกายน.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  11. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันอาทิตย์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
    ช่วงเช้าวันนี้ เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. ทางวัดท่าซุงได้มีการแจกของให้แก่ชาวบ้านที่อยู่รอบวัดจำนวน ๔๐ ครอบครัว โดยมีท่านพระครูปลัดสมนึก พระวิเชียร พระชูชัย และพระสุรเชษฐ์ เป็นตัวแทนของคณะสงฆ์วัดท่าซุงในการแจกของให้แก่ชาวบ้านรอบวัดครั้งนี้ ณ ศาลา ๔ ไร่
    ซึ่งรายการของที่แจกให้แก่ชาวบ้านต่อ ๑ ครอบครัวนั้น มีดังนี้
    ๑.วุ้นเส้น ๕ ถุง
    ๒.น้ำตาล ๑ กิโล
    ๓.น้ำมันพืช ๑ ขวด
    ๔.น้ำปลา ๒ ขวด
    ๕.ซีอิ๊วขาว ๑ ขวด
    ๖.เห็ดน้างฟ้า ๑ กิโลกรัม
    ๗.ข้าวสาร ๑๕ กิโลกรัม
    ๘.ไข่ไก่ ๓๐ ฟอง

    -๕-พฤศจิกาย.jpg
    1509854285_585_วันอาทิตย์ที่-๕-พฤศจิกาย.jpg
    1509854286_726_วันอาทิตย์ที่-๕-พฤศจิกาย.jpg
    1509854286_507_วันอาทิตย์ที่-๕-พฤศจิกาย.jpg
    1509854287_721_วันอาทิตย์ที่-๕-พฤศจิกาย.jpg
    1509854287_645_วันอาทิตย์ที่-๕-พฤศจิกาย.jpg
    1509854287_3_วันอาทิตย์ที่-๕-พฤศจิกาย.jpg
    1509854288_333_วันอาทิตย์ที่-๕-พฤศจิกาย.jpg
    1509854288_744_วันอาทิตย์ที่-๕-พฤศจิกาย.jpg
    1509854288_533_วันอาทิตย์ที่-๕-พฤศจิกาย.jpg
    1509854289_648_วันอาทิตย์ที่-๕-พฤศจิกาย.jpg
    1509854289_366_วันอาทิตย์ที่-๕-พฤศจิกาย.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  12. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    สอนกรรมฐานที่บ้านสายลม เดือนพฤศจิ
    กายน ๒๕๖๐

    วันที่ ๕ พ.ย.๖๐ ช่วงเช้าท่านพระครูสังฆรักษ์สุรจิต สุรจิตโต ลงเจริญศรัทธาและรับสังฆทานจากญาติโยม จนถึงเวลา๑๒.๓๐
    น. เป็นการฝึกกรรมฐานมโนมยิทธิ วันนี้มีผู้รับการฝึกเบื้องต้น ๑๐๘ คนไปนิพพานได้
    ๙๖คนไม่ได้ ๑๒คน ฝึกญานแปด ๒๓๐คน
    เสร็จจากนั้นอุทิศส่วนกุศลพร้อมกัน ท่านพระครูฯรับสังฆทานจนถึงเวลาประมาณ
    ๑๕.๓๐น. จึงขึ้นพัก

    .jpg
    1509876366_431_สอนกรรมฐานที่บ้านสายลม.jpg
    1509876366_875_สอนกรรมฐานที่บ้านสายลม.jpg
    1509876366_203_สอนกรรมฐานที่บ้านสายลม.jpg
    1509876367_509_สอนกรรมฐานที่บ้านสายลม.jpg
    1509876367_70_สอนกรรมฐานที่บ้านสายลม.jpg
    1509876368_872_สอนกรรมฐานที่บ้านสายลม.jpg
    1509876368_585_สอนกรรมฐานที่บ้านสายลม.jpg
    1509876368_532_สอนกรรมฐานที่บ้านสายลม.jpg
    1509876369_872_สอนกรรมฐานที่บ้านสายลม.jpg
    1509876369_850_สอนกรรมฐานที่บ้านสายลม.jpg
    1509876370_38_สอนกรรมฐานที่บ้านสายลม.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  13. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  14. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  15. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันนี้วันพระตรงกับวันเสาร์แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา

    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม

    ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย วันนี้เรามาคุยกันในด้านที่ให้ทัศนะว่า “เรามาเป็นพระอริยเจ้ากันเถิด”
    คำว่า “พระอริยเจ้า” ก็หมายถึงว่าเป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ การที่จะเป็นพระอริยเจ้าได้นั้นเรามีอะไรบ้างที่จะต้องพึงปฏิบัติ นั่นก็คือ “ทานบารมี” มีการให้ทาน มีการรักษาศีล มีการเจริญภาวนา
    สำหรับ “บารมี ๑๐” จะมาพูดกันในวันหลัง และไอ้การที่จะเป็นพระอริยเจ้า ขอท่านรู้ตามนี้คือพระโสดาบันนั้นเราต้องละ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทั้ง ๓ ประการนี้เท่านั้น เป็นได้ทั้งพระโสดาบันและพระสกิทาคามี “สักกายทิฏฐิ” ก็คือว่าพิจารณาดูว่าอัตภาพร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา
    คำว่า “ร่างกาย” ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ ตั้งอยู่ชั่วคราว แล้วก็สลายไป เราคือจิตหรืออทิสสมานกายที่เข้ามาสิงอยู่ในกาย อาศัยกายเป็นเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น ในเมื่อร่างกายพังแล้วถ้าเรายังไม่หมดกิเลส เราก็ต้องแสวงหาชาติภพเป็นที่เกิด หาความทุกข์อีกต่อไป อันนี้เป็นของไม่ดีองค์สมเด็จพระชินสีห์เห็นโทษในเรื่องนี้ สมเด็จพระมหามุนีจึงได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสอนให้เรารู้จักพ้นจากโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ ไปสู่โลกที่เต็มไปด้วยความสุข คือความเป็นพระอริยเจ้ามีพระโสดาบันเป็นต้น
    และก็สำหรับพระอนาคามีนี่ก็เพิ่มอีก ๒ ตัว คือ “ตัดกามราคะ” คือความพอใจมีความกระสันในทางเพศให้หมดไปจากจิต คือกายก็ไม่ปรากฏ จิตก็ไม่ปรากฏ
    และก็ “ตัดโทสะ” หรือความพยาบาท ความโกรธ หรือการจองล้างจองผลาญให้หมดไปจากใจให้เหลือแต่ เมตตาบารมี อย่างนี้เราก็เป็นพระอนาคามี
    ถ้าจะเป็นพระอรหันต์เราก็ต้องปฏิบัติอีกหน่อยหนึ่ง คือไม่เมาใน “รูปฌาน” และ “อรูปฌาน” ไม่ถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขา เลวกว่าเขา หรือเสมอเขา ไม่มีอารมณ์อื่นใดมาสิงใจ นอกจากอารมณ์พระนิพพาน และก็ตัด “ฉันทะ” และ “ราคะ” ที่มีความพอใจในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก ต้องการอย่างเดียวคือพระนิพพาน เห็นทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเต็มไปด้วยความทุกข์ หาความเที่ยงไม่ได้ ไม่มีอะไรเป็นสาระแก่นสาร อารมณ์ของพระอริยเจ้าขั้นพระอรหันต์นั้นท่านมีอารมณ์เป็นแบบนี้
    การที่เราจะเป็นพระอริยเจ้านั้นเราเป็นกันยังไง?
    เมื่อวันวานนี้เราพูดกันถึงเรื่องทุกข์จากการเกิดพอออกจากครรภ์มารดา วันนี้เราก็มาพิจารณาทุกข์กันใหม่ต่อไปให้เห็นทุกข์ให้ได้ หาทุกข์ให้จบ แต่จะพึงหาทุกข์ให้จบ มันก็ต้องดูใจของเราเสียก่อนว่า วันนี้มีอะไรเข้ามาสิงใจของเราบ้างใน “จริต ๖” เมื่อวันวานนี้หรือวันก่อนนี้เราพูดกันถึงว่า ถ้ามี ราคะจริต เกิดขึ้นก็ให้ใช้ “กายคตานุสสติ” หรือ “อสุภกรรมฐาน” รวม ๑๑ อย่างด้วยกัน “อสุภ” มี ๑๐ อย่าง “กายคตานุสสติ” มีอย่างหนึ่ง รวมเป็น ๑๑ อย่างด้วยกัน เอาอย่างใดอย่างหนึ่งมาพิจารณาเป็นเครื่องตัด ตัดอารมณ์รักสวยรักงามให้หมดไปจากใจเสียก่อนจึงจะใคร่ครวญอารมณ์วิปัสสนาญาณคือ…”อริยสัจ”
    ถ้าอารมณ์นั้นยังขวางอยู่เราพิจารณา “อริยสัจ” ก็ไม่เกิดผล เพราะจิตมันสกปรก มันสกปรกก็เพราะอำนาจของความรักในสิ่งที่สวยสดงดงาม นี่มันสกปรก ของสวยที่เราเห็นด้วยสายตาหรืออำนาจของกิเลสที่มันติดอยู่ที่ตา เห็นคนแท้ๆ ที่เต็มไปด้วยความสกปรก ภายในเต็มไปด้วยอุจจาระ ปัสสาวะ และมีนํ้าเลือด นํ้าเหลือง น้ำหนอง อย่างนี้เราเห็นว่าเป็นของสวย เป็นของสะอาด อย่างนี้เขาเรียกตาโง่ไม่ใช่ฉลาด วันนี้เรื่องนั้นผ่านไป สมมติว่าวันนี้อาการโทสะหรืออาการคิดไม่ชอบใจใครสักคนหนึ่ง หรือว่าไม่ชอบสัตว์ตัวใดตัวหนึ่ง คิดว่าจะแก้แค้นมัน จะทำร้ายมัน จะลงโทษมัน นี่ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวอันนี้ไม่ดี ตัวนี้ก็เป็นตัวทำจิตให้มีโทษ เป็นปัจจัยของความเกิดเหมือนกัน และก็มันเป็นกำลังที่จะลิดรอนตัดรอนเราไม่ให้เข้าถึง “ความเป็นพระอริยเจ้า”
    ฉะนั้น ก่อนที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย จะพิจารณาอาการของความทุกข์ จงนั่งพิจารณาจิตหรือต้องมาปราบปรามจิตเสียก่อน สมมติว่าอาการจิตของเรามีความไม่ชอบใจใคร ไอ้นั่นคนนั้นเขาด่าเรานี่ คนนี้เขานินทาเรา คนนั้นเขากลั่นแกล้งเรา คนนี้เขาแข่งดีเรา คนนี้เขาคิดจะให้โทษเรา คิดจะปองร้ายเรา ถ้าคิดอย่างนี้อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของอกุศลวิตก คือตรึกตรองในขั้นอกุศลที่เรียกกันว่าไม่ฉลาด เป็นปัจจัยซึ่งนำมาสู่อบายภูมิ แทนที่เราจะเป็นพระอริยเจ้า ถ้าเราพอใจในเหตุนี้เราก็ต้องตกนรกไปไม่ดี
    ถ้าอารมณ์อย่างนี้เกิดขึ้น สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำว่าให้เจริญ “พรหมวิหาร ๔” แผ่เมตตาไปให้แก่คนและสัตว์พวกนั้นที่เราไม่ชอบใจ คิดว่าการที่เขาทำให้เราไม่ชอบใจนั้นเขาทำไปด้วยความโง่ เขาไม่ใช่คนฉลาดนี่เขาคือคนโง่ คนฉลาดนี่เขาไม่สร้างให้คนอื่นโกรธ เขาทำให้ชาวบ้านโกรธ เขาก็มีภัย มีโทษ มีทุกข์ มีอันตราย ระวังกันไม่ไหว
    ฉะนั้น พวกเราทั้งหลาย ท่านพระโยคาวจรที่เราปฏิบัติกันเพื่อพระโสดาปัตติมรรค พระสกิทาคามีมรรค พระอนาคามีมรรค หรือพระอรหัตมรรค เพราะท่านผู้ฟังอยู่เวลานี้ อาตมาเองก็ทราบไม่ได้ว่า อารมณ์ใจของท่านจะเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าขนาดไหน แล้วถ้าใครเป็นขนาดไหนแล้วถ้าบังเอิญไม่รู้ตัว เพราะว่าเป็นสายของ สุกขวิปัสสโก แล้วก็พิจารณาใจของตัวเองว่า “สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการ” ว่าเราละอะไรไปได้บ้างเด็ดขาดแล้ว คำว่าละในที่นี้ ต้องละกันประเภทเด็ดขาด ไม่ใช่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ไม่ใช่อย่างงั้น ถ้าละได้ก็ได้กันไปเลย
    เอาละ เรื่องละขนาดไหน จะละได้อย่างไรก็ช่าง เพราะเวลามันจำกัด พูดมากมันก็ไม่ดี เรามาว่ากันถึงว่าถ้าบังเอิญอารมณ์โทสะมันเกิดขึ้นก็ใช้ “พรหมวิหาร ๔” คือเมตตาความรัก เราคิดว่าคนนั้นที่เขาทำความผิดเพราะว่าการหลงผิด ทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม แนะนำให้เขาสร้างความชั่วทำความชั่ว เราก็ไม่ควรจะไปโกรธเขาเพราะเขาเป็นทาส นี่ที่เขาทำไม่ดีเพราะว่าเจ้านายเขาสั่ง เจ้านายเขาบังคับให้ทำแบบนี้ ถ้าไม่ทำตามเจ้านายเขาก็ลงโทษ คือทำให้เกิดความกลัดกลุ้มใจ เขาจึงได้มาด่าเราบ้าง นินทาเราบ้าง พูดเสียดสีเราบ้าง ลักขโมยของของเราบ้าง กลั่นแกล้งด้วยประการต่างๆ
    ในเมื่ออาการอย่างนี้มันเกิดขึ้น เราอย่าไปโทษเขาเลย เราโทษตัวเราเองดีกว่าที่โง่มาเกิดเป็นมนุษย์ คือถ้าเราไม่เกิดเสียอย่างเดียว อาการอย่างนี้มันก็ไม่ปรากฏ เรายกโทษให้เขา อภัยให้เขาเป็น “อภัยทาน” ไป จัดว่าเป็นเมตตาเรามีความเมตตา เรามีความสงสารเขาในฐานะที่เขามีความโง่ ไม่รู้ตัวเลยว่าการที่เขาประกาศตนเป็นศัตรูกับเรา และบุคคลอื่นนั้นมีโทษอย่างไร แทนที่จะเป็นคุณ ตัวเขาก็จะกินไม่ได้นอนไม่หลับ ต้องระวังภัยอยู่ตลอดเวลา เป็นบุคคลผู้น่าสงสาร หากว่าเราจะไม่ใช้พรหมวิหาร เราจะใช้กสิณ ๔ อย่าง คือ
    “โลหิตกสิณ” คือ กสิณสีแดง
    “ปีตกสิณ” คือ กสิณสีเหลือง
    “นีลกสิณ” คือ กสิณสีเขียว
    “โอทาตกสิณ” คือ กสิณสีขาว
    อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เพ่งให้เป็นสมาธิ จับอารมณ์ให้อยู่ในองค์กสิณนั้นเป็น “ปฏิภาคนิมิต” อาการของความโกรธความพยาบาทมันก็จะตกไป มันจะสิ้นกำลังเหมือนกับเสือที่เราจับมัดเข้าไว้ มันจะทำอะไรเราได้ เราจับมัดทั้งแขนทั้งขาทั้งปากทั้งหัวทั้งหางมัดไว้หมด ดิ้นไม่ไหว ปล่อยวางไว้ แต่ยังไม่ได้ฆ่าเพราะว่าอำนาจของสมถภาวนายังไม่ได้ฆ่าเสือ เป็นแต่เพียงว่ามัดเสือเข้าไว้ เมื่อเรามัดเสือคือความโกรธเสียได้แล้ว ต่อจากนั้นไปเราก็สบายใจ เรามานั่งแสวงหาความทุกข์เป็นเครื่องตัดกิเลส คือฆ่าเสือกันดีกว่า เจ้าเสือร้ายตัวนี้มันมีมาเพราะอะไรหนอ เราก็มานั่งใคร่ครวญกัน ก็เพราะเราขาดความฉลาด ที่ขาดความฉลาดก็เพราะเราย่องมาเกิดเข้า ถ้าเราไม่เกิดเสียอย่างเดียว เราท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย เสือไม่มีทางทำอันตรายเราได้เลย ทางที่ปลอดภัยจากเสือคือ ราคะ โทสะนี้ มันก็มีอยู่จุดหนึ่งนั่นก็คือ “พระนิพพาน” เป็นดินแดนที่ไม่มีใครหวงไม่มีใครห้าม ถ้าใครมีสมรรถภาพพอดีพอควรแก่สถานที่นั้นแล้ว สถานที่นั้นยอมรับตลอดเวลา

    โพสต์โดย achaya

    .jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  16. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    เตรียมงานธุดงควัตร วัดท่าซุง ธค.๒๕๖๐

    เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับงานธุดงควัตรปีนี้ พระสงฆ์พร้อมทั้งคณะครูและนักเรียนร.ร.พระสุธรรมยานเถระวิทยาทั้งชายและหญิง ได้ช่วยกันเคลียร์พื้นที่ในป่าธุดงค์หลังวัด โดยช่วยกันเก็บกิ่งไม้ เก็บกวาดลานป่า จากนั้นทำความสะอาดห้องน้ำในป่าธุดงค์แต่ละจุดจนเสร็จเรียบร้อย

    -วัดท.jpg
    1510380871_837_เตรียมงานธุดงควัตร-วัดท.jpg
    1510380871_844_เตรียมงานธุดงควัตร-วัดท.jpg
    1510380871_8_เตรียมงานธุดงควัตร-วัดท.jpg
    1510380871_738_เตรียมงานธุดงควัตร-วัดท.jpg
    1510380871_770_เตรียมงานธุดงควัตร-วัดท.jpg
    1510380872_643_เตรียมงานธุดงควัตร-วัดท.jpg
    1510380872_577_เตรียมงานธุดงควัตร-วัดท.jpg
    1510380872_230_เตรียมงานธุดงควัตร-วัดท.jpg
    1510380872_988_เตรียมงานธุดงควัตร-วัดท.jpg
    1510380872_503_เตรียมงานธุดงควัตร-วัดท.jpg
    1510380872_330_เตรียมงานธุดงควัตร-วัดท.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  17. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  18. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  19. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  20. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    เมื่อวันที่ ๑๒ พ.ย. ๒๕๖๐ คณะครู นักเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา และญาติโยมพุทธบริษัท ได้เข้ามาทำความสะอาดบ่อเก็บน้ำสำหรับอาบน้ำ และห้องน้ำตามจุดต่างๆ ภายในป่าธุดงค์ ขออนุโมทนาบุญเป็นอย่างสูง

    -๑๒-พ-ย-๒๕๖๐-คณ.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...