ข่าวสาร วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี โดยเพจมูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ, 19 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  2. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  3. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  4. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันนี้วันพระตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๒ ปีระกา

    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม

    คำว่า “ไม่ติดในร่างกาย” ก็หมายถึงว่า ไม่ติดอยู่ในร่างกายของเราด้วย และก็ไม่ติดอยู่ในร่างกายของบุคคลอื่นด้วย อารมณ์ไม่ติดอยู่ในวัตถุธาตุใดๆ ด้วย โดยยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ที่เราเรียกกันว่าวิปัสสนาญาณตัวสุดท้าย การยอมรับนับถือนี้ก็หมายถึงว่าอารมณ์มันเฉย
    คำว่า “อารมณ์เฉย” ไม่ได้หมายความว่าอารมณ์ไม่คิด ตามที่เขาบอกว่าอารมณ์ว่าง ว่างโดยไม่คิดอะไรเลยนั้น ไม่มีในชีวิตของคน และอารมณ์เฉยในที่นี้เป็นอารมณ์คิดไม่เร่าร้อน คิดถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเหตุปกติ ในเมื่อความทุกข์ใดๆ เกิดขึ้นจากร่างกาย ก็ถือว่านี่มันเป็นเรื่องธรรมดาของร่างกายหรือขันธ์ ๕
    ขันธ์ ๕ เป็น “โรคนิทธัง” จัดว่าเป็นรังของโรค ในเมื่อมีขันธ์ ๕ ขึ้นมาแล้ว โรคมันก็รบกวน โรคอันดับต้นที่เรียกว่า “ชิฆัจฉา ปรมา โรคา” ขึ้นชื่อว่าความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง หรือว่าโรคปวดนั่นเจ็บนี่ โรคไม่สบายนั่นโรคไม่สบายนี่ อาการอย่างนี้ถือว่าเป็นโรค
    “โรคะ” แปลว่า อาการเสียดแทง
    นี่ร่างกายเป็นที่ฝังของโรค ในเมื่อโรคเกิดขึ้น คืออาการเสียดแทงเกิดขึ้น มันก็มีอารมณ์เป็นทุกข์ ถ้าเราเอาจิตไปจับเกาะอยู่ในร่างกายมันก็เป็นทุกข์
    ร่างกายนอกจากเป็นโรคก็เป็น “อนิจจัง” หาความเที่ยงหาความทรงตัวไม่ได้ วันนี้ผ่องใส พรุ่งนี้เศร้าหมอง วันนี้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า พรุ่งนี้เปลี้ยเพลีย วันนี้หนุ่ม รุ่งขึ้นอีกวันก็แก่ แก่ไปทุกวินาที
    และในที่สุดร่างกายก็เป็น “อนัตตา” คือพัง มองดูร่างกายอย่างเดียวพอ ถ้าเราปลดร่างกายของเราได้แล้ว เราก็ปลดทุกสิ่งทุกอย่างได้ในโลก
    คราวนี้มาว่ากันถึงการปลดร่างกาย จะมานั่งปลดกันเฉยๆ จะมองทุกข์กันเฉยๆ มันก็มองไม่เห็น มองเห็นเหมือนกันแต่ไม่ชัด องค์สมเด็จพระสวัสดิโสภาคย์ได้แสดงกฎของการปลดทุกข์ คือปลดอารมณ์แห่งความทุกข์ สร้างอารมณ์ความสุขให้เกิดขึ้นกับใจ มีอยู่ ๑๐ อย่างด้วยกันคือ:-
    (๑) ทานบารมี
    (๒) ศีลบารมี
    (๓) เนกขัมมบารมี
    (๔) ปัญญาบารมี
    (๕) วิริยบารมี
    (๖) ขันติบารมี
    (๗) สัจจบารมี
    (๘) อธิษฐานบารมี
    (๙) เมตตาบารมี
    (๑๐) อุเบกขาบารมี
    คำว่า “บารมี” นี่แปลว่า เต็ม เมื่อเต็มแล้วก็ต้องเต็มจริงๆ เป็นอันว่าถ้าบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์ ที่เรียกว่า “ปรมัตถบารมี” สำหรับพระสาวกนะ ไม่ใช่อันดับขั้นพระพุทธเจ้า สำหรับขั้นพระสาวกนี้ใช้อารมณ์ตํ่า อารมณ์ไม่สูงนักไม่ใช่ขั้นพระพุทธเจ้า
    ถ้าหากว่าบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้เป็น “ปรมัตถบารมี” คำว่า “ปรมัตถบารมี” หมายความว่า มีอารมณ์ทรงสูงอย่างยิ่ง คำว่าอย่างยิ่งก็หมายความว่าไม่เคลื่อนไป อารมณ์ที่มีอาการตรงกันข้ามไม่เกิดขึ้นกับจิตใจของเรา
    ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างนี้ครบถ้วนบริบูรณ์ ทุกท่านก็เป็นพระอริยเจ้าขั้นอรหัตตผล

    นี่เดิมทีเดียวเราก็สอนกันมา แนะนำกันมาในหลักการทั่วๆ ไป แต่จะเห็นว่ากว้างเกินไปในการปฏิบัติ และเวลานี้บรรดาท่านพุทธบริษัทมีทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่มีกำลังใจคือบารมีแก่กล้านี้มีอยู่ หรือว่าบางท่านที่ยังอ่อนยังย่อหย่อน ก็จะได้มีความเข้าใจในการปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติจริงๆ เพื่อมรรคเพื่อผล ถ้าขาดบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้แล้ว ทำอย่างไรมันก็ไม่มีผล ถ้าผลที่จะมีกับกำลังใจก็ได้แค่ผลหลอกๆ คือ อุปาทาน คำว่าหลอกลวงนี้ไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาไปโกหกมดเท็จใคร แต่ว่ากำลังใจมันไม่จริง

    ที่เรียกว่าหยุดได้จากความโลภ ความโกรธ ความหลง อาจจะหยุดไปเพราะอารมณ์สบายชั่วคราว แต่ทว่าข้างหน้าต่อไปคลายไปก็มีทุกข์ มีความโลภ ความโกรธ ความหลง หรืออาจจะหยุดได้ด้วยกำลังของฌาน เช่น ฌานโลกีย์ กำลังใจยังดีไม่พอ ก็เอากำลังเข้าไปกดความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่ถ้าหากว่าจะตัดกันตรงๆ ก็ต้องมาพิจารณาขันธ์ ๕ ว่ามันเป็นทุกข์

    นี่ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เพราะอะไร เพราะว่าเราขาด ทานบารมี ขาด ศีลบารมี ขาด เนกขัมมบารมี ขาด ปัญญาบารมี ขาด วิริยบารมี ขาด ขันติบารมี ขาด สัจจบารมี ขาด อธิษฐานบารมี ขาด เมตตาบารมี ขาด อุเบกขาบารมี
    และที่พูดวันนี้อาจจะมีหลายท่านจะตอบว่า บารมีทั้งหลายเหล่านี้มีครบถ้วนแล้ว แต่ก็อย่าลืมว่าบารมีนี้จัดเป็น ๓ ชั้น คือ “บารมีต้น” เรามีทานเรามีศีลเหมือนกัน แต่ว่าทาน ศีลมันบกพร่อง มันไม่ครบถ้วนบริบูรณ์
    ถ้าหากว่าบารมีอันดับที่ ๒ ที่เรียกว่า “อุปบารมี” ทาน ศีล ของเราดีครบถ้วนแต่จิตใจยังไม่สะอาดพอ ยังไม่รักพระนิพพาน

    ถ้าหากว่าเป็น “ปรมัตถบารมี” แล้ว ไม่มีการหวังผลใดๆ ในโลกีย์วิสัย จะเป็นชาตินี้หรือว่าชาติหน้าก็ตามที กำลังใจของเราไม่มีการเกาะ การกระทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพระนิพพานโดยเฉพาะ ทำด้วยจิตบริสุทธิ์ ทำเพื่อหวังความสุข เรื่องความทุกข์ที่จะต้องหํ้าหั่นกับสิ่งที่ตรงกันข้ามคือ กิเลส เราจะไม่ท้อถอย…

    โพสต์โดย achaya

    1514167099_143_วันนี้วันพระตรงกับวันจ.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  5. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  6. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  7. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันเสาร์ที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐ พระสงฆ์วัดท่าซุง ช่วยกันทำความสะอาด ล้างพื้น รอบพระอุโบสถ ด้านในจัดปูอาสนะ บางส่วนกางเต็นต์ ยกโต๊ะ เพื่อเตรียมงานสวดมนต์ข้ามปีซึ่งจะมีในคืนวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๒๒:๓๐ พระสงฆ์ และญาติโยม พร้อมเพียงกัน หน้าพระอุโบสถ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    -๓๐-ธันวาคม-พ.jpg
    1514640785_311_วันเสาร์ที่-๓๐-ธันวาคม-พ.jpg
    1514640785_871_วันเสาร์ที่-๓๐-ธันวาคม-พ.jpg
    1514640786_439_วันเสาร์ที่-๓๐-ธันวาคม-พ.jpg
    1514640786_50_วันเสาร์ที่-๓๐-ธันวาคม-พ.jpg
    1514640787_997_วันเสาร์ที่-๓๐-ธันวาคม-พ.jpg
    1514640787_457_วันเสาร์ที่-๓๐-ธันวาคม-พ.jpg
    1514640787_845_วันเสาร์ที่-๓๐-ธันวาคม-พ.jpg
    1514640788_230_วันเสาร์ที่-๓๐-ธันวาคม-พ.jpg
    1514640788_535_วันเสาร์ที่-๓๐-ธันวาคม-พ.jpg
    1514640788_295_วันเสาร์ที่-๓๐-ธันวาคม-พ.jpg
    1514640789_104_วันเสาร์ที่-๓๐-ธันวาคม-พ.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  8. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  9. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันเสาร์ที่ ๓๐และวันอาทิตย์ที่ ๓๑ ธ.ค.๖๐ สอนกรรมฐานที่บ้านซอยสายลม
    ท่านพระครูภาวนาธรรมนิเทศก์นำคณะสงฆ์จากวัดท่าซุงเดินทางมาสอนกรรมฐานที่บ้านซอยสายลม โดยช่วงเช้า ท่านพระครูฯได้ลงเจริญศรัทธาญาติโยม ที่มาทำบุญและทำสังฆทานกันทั้งวัน เวลา ๑๒.๓๐น เป็นการฝีกมโนมยิทธิ
    วันเสาร์มีผู้รับการฝึกเบื้องต้น ๖๕ คน ไปนิพพานได้๕๙คน ไม่ได้ ๖ คน ฝึกญานแปด ๑๑๘ คน และสอนสรุปโดยท่านพระครูภาวนาธรรมนิเทศก์ ๘๔ คน ส่วนในวันอาทิตย์มีผู้รับการฝึกเบื้องต้น ๓๔ คนไปนิพพานได้ ๒๗ คนไม่ได้ ๗คน ฝึกญานแปด ๑๒๓ คน และสอนสรุปโดยท่านพระครูภาวนาธรรมนิเทศก์ ๙๑ คน ช่วงบ่าย พระละอองลงรับสังฆทานจากญาติโยมจนถึงเวลาจึงขึ้นพัก
    เนื่องจากวันอาทิตย์เป็นวันสิ้นปี ๓๑ ธค. ทางบ้านสายลมจัดให้มีการสวดมต์ข้ามปี พระปลัดสมนึกจึงได้นำเจ้าหน้าที่และญาติโยมช่วยกันเตรียมงานจัดสถานที่ภายในบ้านสายลม ซึ่งจะเริ่มพิธีการประมาณ ๒๓.๐๐น

    -๓๐และวันอาท.jpg
    1514714229_757_วันเสาร์ที่-๓๐และวันอาท.jpg
    1514714229_204_วันเสาร์ที่-๓๐และวันอาท.jpg
    1514714230_906_วันเสาร์ที่-๓๐และวันอาท.jpg
    1514714230_641_วันเสาร์ที่-๓๐และวันอาท.jpg
    1514714231_743_วันเสาร์ที่-๓๐และวันอาท.jpg
    1514714231_83_วันเสาร์ที่-๓๐และวันอาท.jpg
    1514714231_314_วันเสาร์ที่-๓๐และวันอาท.jpg
    1514714232_421_วันเสาร์ที่-๓๐และวันอาท.jpg
    1514714232_917_วันเสาร์ที่-๓๐และวันอาท.jpg
    1514714232_864_วันเสาร์ที่-๓๐และวันอาท.jpg
    1514714233_495_วันเสาร์ที่-๓๐และวันอาท.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  10. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  11. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  12. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  13. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  14. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  15. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันนี้วันพระตรงกับวันจันทร์ที่ ๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดิอน ๒ ปีระกา

    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม

    “…ปีใหม่ก็จะคืบคลานเข้ามาถึง ก็เป็นอันว่าชีวิตของเราก็ล่วงเข้ามาอีก ๑ ปี ปีใหม่ที่เคลื่อนเข้ามาเราก็จะแก่เข้าไปอีก ชีวิตของเราก็จะเดินเข้าไปหาความดับ
    เพราะธรรมดาของชีวิตเมื่อมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และก็มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง และมีการตายแตกทำลายพันธุ์ไปในที่สุด…”

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า โลกมีอันจะต้องฉิบหายไปในที่สุด ไม่มีอะไรทรงตัว ทีนี้สำหรับเราเหล่าพุทธบริษัท ในฐานะที่ท่านทั้งหลายเป็น “พุทธมามกะ” คือ นับถือพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ พระบาลีกล่าวว่า บุคคลผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยย่อมจะไม่สลาย…คือจะต้องไม่พินาศไปด้วยอำนาจของโลกซึ่งเต็มไปด้วยความแปรปรวน ทั้งนี้ก็เพราะว่าองค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ว่าสิ้นเวลา ๒,๕๐๐ ปีเศษ สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสแก่พระอานนท์ว่า
    “อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไป ๒,๕๐๐ ปีเศษ คือหลังจากกึ่งพุทธกาล ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี คือ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา โลกจะเต็มไปด้วยความวิกฤต ไฟจะตกจากอากาศ ไฟจะลุกในอากาศ ฝนเหล็กจะตกจากอากาศ บรรดาคนจะมีความทุกข์ยากล้มตายเป็นอันมาก..”
    และองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงกล่าวต่อไปอีกว่า “อานันทะ ดูก่อนอานนท์ ความวิกฤต คือความร้ายแรงของโลกก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี จะมีความร้ายแรงก็จริงแหล่ แต่ทว่ายังไม่ร้ายแรงเท่าหลังกึ่งพุทธกาล”
    อันนี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนอานนท์ ยักษ์หินที่ถูกสาปจะลุกขึ้นอาละวาด ยักษ์นอกพุทธศาสนาจะรบราฆ่าฟันล้มตายกันฝ่ายละครึ่งจึงจะหยุดยั้ง สมณะ ชี พราหมณ์ จะล้มตาย แต่ว่าประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาจะมีภัยอันนี้เหมือนกัน แต่ทว่าไม่ร้ายแรงนัก ไม่ถึงกับพินาศ..”
    นี่เป็นคำพยากรณ์ขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้….
    เมื่อเราพิจารณาตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระชินวรท่านทรงพยากรณ์กับพระอานนท์แล้ว จะเห็นว่าประเทศไทยเราคงพระวินัย คือเคารพองค์สมเด็จพระจอมไตรไว้ตามพระพุทธพยากรณ์ จึงถือว่าประเทศไทยอยู่ในเขตคำพยากรณ์ ที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ คืออาจจะต้องไม่สลายไป
    ในการนับถือองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาที่มีพระบาลีว่า พุทโธ อัปปมาโณ คือว่า คุณของพระพุทธเจ้าหาประมาณมิได้
    การเคารพในพระธรรมว่า ธัมโม อัปปมาโณ คือว่า คุณของพระธรรมหาประมาณมิได้
    สังโฆ อัปปมาโณ คุณของพระอริยสงฆ์หาประมาณมิได้
    การเคารพในคุณพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สามารถจะยังชีวิตและความสุขของเราให้คงอยู่ได้ปลอดภัยจากอันตราย
    ดูตัวอย่าง เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงชีวิตอยู่ ในขณะนั้นองค์สมเด็จพระบรมครูเสด็จประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร ในขณะนั้นปรากฏว่า พระเจ้าพิมพิสาร บรมกษัตริย์ถูก พระยาชมภูบดี รุกราน เหาะขึ้นมาในอากาศ เห็นยอดปราสาทของพระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ มีความสวยสดงดงามยิ่งกว่า ความริษยาก็เกิดขึ้น จึงได้ลงมาจากอากาศมายืนอยู่บนยอดปราสาท ชักพระขรรค์อันประจำพระองค์ขึ้นฟันยอดปราสาท ความจริงพระขรรค์นี้แม้แต่เหล็กท่อนใหญ่ๆ กระทบแล้วไม่หนักนักก็จะขาดไปทันที
    แต่อาศัยที่พระเจ้าพิมพิสารมีความเคารพในองค์สมเด็จพระมหามุนี คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นไตรสรณคมน์ทั้ง ๓ ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์เป็น “พระโสดาบัน” ด้วยอำนาจของ พุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ จึงป้องกัน แทนที่ยอดปราสาทจะขาด พระขรรค์ของพระยาชมภูบดีก็บิ่นทำลายไป พระยาชมภูบดีมีความเจ็บใจ จึงได้ยกเท้าขึ้นกระทืบยอดปราสาท ก็เป็นเหตุให้เหล็กยอดปราสาททิ่มทะลุรองเท้าไปโดนเท้าบาดเจ็บ ถึงกับมีความโกรธมาก จึงเหาะกลับประเทศของพระองค์ แล้วก็ใช้ อวิตาศร ไปร้อยพระกรรณ คือร้อยหูของพระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ คือมีศรเป็นกรณีพิเศษ เมื่อศรเข้ามาประกาศว่า เราจะร้อยหูของพระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ พระเจ้าพิมพิสารได้ทราบแล้ว ได้ยินแล้ว เห็นแล้ว ก็มีความกลัว จึงเสด็จไปเฝ้าองค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ในที่สุดบารมีของพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุขก็ระงับอันตรายนั้นเสียได้ ในที่สุดบังคับให้พระยาชมภูบดีเข้าเฝ้าสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา ได้ฟังพระธรรมเทศนามีความเลื่อมใสอุปสมบทในพระพุทธศาสนา และก็ได้สำเร็จอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา แสดงว่าที่พระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์พระบาทท้าวเธอพ้นจากอันตายได้ เพราะอาศัยคุณพระรัตนตรัยเป็นสำคัญ ในฐานะที่พระองค์เข้าถึงความเป็น “พระโสดาบัน” มีความมั่นคงในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีศีล ๕ เป็นสมุจเฉท คือ รักษาศีล ๕ เป็นปกติ
    ฉะนั้น วันนี้เป็นวันที่สุดของปี ๒๕๑๘ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เข้ามาถึง ก็เป็นปีที่เต็มไปด้วยความวิกฤติของประเทศไทย
    ฉะนั้น บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จงอย่าประมาทในชีวิต จงทรงจิตของท่านให้มีความมั่นคงในคุณพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ คือ คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ปฏิบัติจิตให้ตรงต่อเฉพาะพระพุทธองค์ ว่าที่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงสั่งสอนไว้ เราทำอย่างไรที่ว่าทรงความดีตามที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทรงกล่าวให้พวกเราทุกคนเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ทุกสิกขาบท คือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภิกษุ และสามเณร มีความจำเป็นจะต้องทรงสิกขาบททั้งหมดให้ครบถ้วนบริบูรณ์ สำหรับฆราวาสก็มีความจำเป็นอยู่เหมือนกัน แต่ทว่าบางท่านก็ไม่สามารถรักษาสิกขาบทให้ครบถ้วนได้ เพราะความจำเป็นในชีวิต
    ฉะนั้น ขอให้ตั้งสัจธรรมไว้ว่า ถ้าศีลข้อใดก็ดีใน ๕ ข้อนี้ เราจะทรงไว้ได้ตลอดชีวิต จะไม่ละเมิด ให้ตั้งจิตถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ในชีวิตของเรานี่สิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่ง หรือ ๒ สิกขาบทก็ตามที ซึ่งไม่เกินวิสัยเราจะทรงไว้ให้ครบถ้วน ไม่ยอมให้มัวหมอง สำหรับท่านผู้ใดสามารถจะทรงสิกขาบททั้ง ๕ ประการได้ก็ยิ่งดี อย่างนี้ได้ชื่อว่ามีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ในการปฏิบัติกาย วาจา ใจ และสำหรับกำลังใจนั้นมีความสำคัญ บรรดาพุทธบริษัททุกท่านทรงความดี คือ นึกถึงบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีจิตยึดพระพุทธคุณไว้เป็นสำคัญ…

    การนึกถึงพระพุทธคุณทำอย่างไร? ว่ากันมากไปก็ไม่ถนัด อิติปิ โส ภควาฯ จนจบก็ไม่ไหว ฉะนั้นโบราณาจารย์จึงกำหนดไว้ว่าบุคคลใดมีความนึกถึงบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ให้ภาวนาว่า “พุทโธ” ใช้คำว่า “พุทโธ” ให้เป็นปกติ ภาวนาไว้ทุกวันทุกคืนตลอดเวลา และการที่เราจะภาวนาไปได้ตลอดเวลา และการที่เราจะภาวนาไปได้ตลอดวันตลอดคืนก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะจิตย่อมมีภาระนึกคิดอย่างโน้นคิดอย่างนี้ บางทีก็ต้องสนทนาปราศรัย ในการที่จะนึกทุกวันทุกเวลาเป็นไปไม่ได้ แล้วทำอย่างไรจึงจะไม่ขาด
    พระโบราณาจารย์ที่มีความฉลาดได้สั่งสอนไว้ว่า ถึงเวลาก่อนจะหลับให้บรรดาพุทธบริษัทกำหนดใจนึกถึงคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ จะกำหนดการเข้าออกของลมหายใจว่า “พุทโธ” เวลาหายใจเข้านึกว่า “พุท” เวลาหายใจออกนึกว่า “โธ” อย่างนี้เป็นความดี หรือนึกถึงคุณความดีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็เป็นการป้องกันภัยอันตรายเวลาที่ท่านทั้งหลายภาวนาว่า “พุทโธ” อมนํ้าลายไว้ในปาก ภาวนาไว้จนขึ้นใจ ให้จิตมีความสุข ค่อยกลืนนํ้าลายลงไป อย่างนี้คุณพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น จะคุ้มครองสรรพอันตรายแก่พุทธบริษัทได้
    และเวลาตื่นขึ้นมาใหม่ๆ และก่อนหลับทุกวัน ทำแบบนี้เป็นปกติ เวลาที่ยังตื่นอยู่ ถ้าคิดขึ้นมาได้เมื่อไรก็ทำใจให้นึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาวนาว่า “พุทโธ” เป็นปกติ อย่างนี้จิตของบรรดาท่านพุทธบริษัท ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึง พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ทั้ง ๓ ประการ
    แล้วการนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระพิชิตมารก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงความดีทั้ง ๓ ประการครบถ้วน คือ พระพุทธเจ้าจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ก็ต้องอาศัยพระธรรม เมื่อทรงธรรมแล้วพระองค์ก็บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า ธรรมะของพระพุทธองค์ที่เราจะพบได้ก็อาศัยบรรดาพระอริยสงฆ์ทั้งหลายประชุมสังคายนากันร้อยกรองเอาไว้ จึงได้ตกทอดถึงพวกเรา
    ฉะนั้น การนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่าเข้าถึงความดีครบไตรสรณคมน์ ทั้ง ๓ ประการ
    การนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระพิชิตมาร ใช้คำว่า “พุทโธ” เป็นปกติ ถ้าหากว่ากล่าวโดยธรรม ถ้าเรามีอารมณ์อ่อน ที่ว่ามีอารมณ์จิตเข้าไม่ถึงฌาน เวลาตายแล้วก็ไปสู่สวรรค์เทวโลก มีชั้นดาวดึงส์ เป็นต้น

    ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย จงอย่าประมาทในชีวิต คิดว่านับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ปีเก่าจะหมดไป ปีใหม่จะเข้ามาถึง เราจงรักษาสัจธรรม ทรงความดีเข้าไว้ คือจะนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่หยุดยั้ง..

    โพสต์โดย achaya

    .jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  16. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  17. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  18. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  19. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันนี้วันพระตรงกับวันอังคาร แรม ๘ ค่ำ เดิอน ๒ ปีระกา

    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม

    บุรุษผู้เข็ญใจคนหนึ่ง ทำการรับจ้างของบรรดาประชาชนเหล่าอื่น เลี้ยงชีพ ภิกษุรูปหนึ่งเห็นเขานุ่งผ้าท่อนเก่าๆ มันขาดแล้วขาดอีก แบกไถ
    “นังคละ” นี่เขาแปลว่า ไถ
    นี่ผมบอกแล้วบอกว่าอยากจะเรียกว่าพระคันไถ แบกไถเดินไปอยู่ เดินไปเดินมา เช้าแบกออก เย็นแบกเข้า ก็แบกอยู่อย่างนั้นแหละ เป็นลูกจ้างเขานี่
    พระจึงกล่าวว่า
    “นี่พ่อคุณ! เธอน่ะจะบวชเสียไม่ดีหรือ? ถ้าบวชเธอคิดว่าจะดีกว่านี้ หรือว่าไม่บวชรับจ้างเขาอยู่อย่างนี้เป็นของดี”
    มนุษย์ผู้เข็ญใจคนนั้นฟังพระว่าก็ชื่นใจ จึงได้กล่าวว่า
    “พระคุณเจ้าขอรับ แล้วคนจนๆ อย่างผมนี่ ใครเขาจะให้ผมบวช ผมจะบวชได้หรือขอรับ?”
    พระองค์นั้นก็บอกว่า “ถ้าหากเธอจะบวช ฉันก็จะให้บวช จะจัดการให้”
    มนุษย์ผู้เข็ญใจจึงกล่าวว่า
    “ดีแล้วขอรับ ถ้าอย่างนั้นผมจะบวช ขอพระคุณเจ้าโปรดให้กระผมบวชเถิดขอรับ”
    ท่านกล่าวว่าลำดับนั้นท่านเถระนำเขาไปสู่ พระเชตวันมหาวิหาร ให้อาบนํ้าแล้วด้วยมือของตน พักไว้ที่โรงแล้วให้บวช
    เป็นอันว่าในสมัยนั้นเป็นพระที่ให้บวชด้วย ติสรณคมนูปสัมปทา คือกล่าวคำสมาทานถึงไตรสรณคมน์ทั้ง ๓ ประการใช้ได้ ให้เขาเก็บไถพร้อมกับผ้าท่อนเก่าที่เขานุ่ง ให้เก็บไว้ที่กิ่งไม้ใกล้เขตแดนแห่งโรงนั้น
    ในเวลาอุปสมบทเธอได้ปรากฏชื่อว่า “นังคลกูฏเถระ” ชื่อเพราะนะ เอาคันไถเข้าไปใส่ไว้ด้วย แปลว่า พระคันไถ แต่ผมให้นามว่า “พระอรหันต์ผ้าขี้ริ้ว” ฟังกันต่อไป
    พอ พระนังคลกูฏเถระ นั้นอาศัยลาภสักการะที่เกิดขึ้น หมายความว่าอาศัยลาภสักการะที่เกิดขึ้นเพื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลี้ยงชีพอยู่ หมายความว่าในที่นั้นน่ะลาภสักการะมันจะเข้ามาได้ก็เพราะอาศัยความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อย่างกับที่ที่เราอยู่นี่เหมือนกัน จะสร้างสักกี่หลังพร้อมๆ กัน ขึ้นคราวละ ๑๐ หลัง ๑๐ หลังเศษ เงินนับล้าน เราก็ทำกันได้ นี่ไม่ใช่ความดีของเรา เป็นความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พวกเรานำมาประพฤติปฏิบัติ อย่านึกว่าเป็นความดีของเรานะขอรับ ถ้านึกว่าเป็นความดีของเราเมื่อไร ท่านไปอยู่กับ พระเทวทัต เมื่อนั้น
    ที่เรามีที่กิน มีที่อาศัย มีผ้าใช้ มียารักษาโรค มีอาหารกิน มีเวลาประพฤติปฏิบัติ ได้ฟังสดับความดีขององค์สมเด็จพระชินศรีทรงสั่งสอน ก็เพราะว่าเป็นบุญบารมีของพระพุทธเจ้าที่เรากำลังนั่งกิน นอนกินอยู่เวลานี้ ถ้าใครทำตนเป็นคนน่าบัดสี อกตัญญู ไม่รู้คุณขององค์สมเด็จพระมหามุนีนั่นเลวเต็มที
    ท่านกล่าวว่าเมื่อเขาได้อาหารอยู่มาก มีลาภสักการะเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยความดีของพระพุทธเจ้า ต่อมาเมื่อไม่สามารถที่จะบรรเทาได้ ไอ้ความกระสันมันเกิดขึ้น ความกระสัน ความคึกมันเกิดขึ้น เพราะอาหารดี ลาภดี พอไม่สามารถจะทนความกระสันได้ ไม่สามารถจะบรรเทาได้ จึงตกลงใจว่าบัดนี้เราจักไม่นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ต่อไป แน่ะ! เพราะอะไร เพราะผ้ากาสาวพัสตร์นี่ได้มาจากศรัทธาของบุคคลอื่น เราจะไปล่ะ จะสึกดีกว่า เห็นไหม มันไม่แน่นักนี่ อยู่ดีกินดีเข้าจิตคิดจะกำเริบ ทะนงตนว่าเป็นผู้วิเศษ หลงระเริงตนนะพระองค์นี้นะ ตอนต้นนะ อย่าไปด่าท่านนะ ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่พวกเราก็จงจำไว้ ไอ้อยู่ดีกินดี อย่านึกว่าเป็นผู้วิเศษ
    “อัตตนา โจทยัตตานัง”
    เตือนตนด้วยตนเอง
    ฟังเรื่องราวท่านต่อไป ท่านบอกว่าคิดอย่างนี้แล้วก็ไปที่โคนต้นไม้ ไปดูผ้าผืนนั้นที่มันขาดรุ่งริ่งๆ เก่าแสนเก่า ดูผ้าสบงจีวรที่นุ่งน่ะมันเก๋กว่าตั้งเยอะ
    จึงให้โอวาทแก่ตนเองว่า
    “เจ้าผู้ไม่มี หิริ คือความละอาย เจ้าหมดความละอายเสียแล้วหรือ เจ้าอยากจะนุ่งผ้าขี้ริ้วผืนนี้หรือ สึกไปทำการช่างเลี้ยงชีพอย่างนั้นหรือ เจ้าลืมความชั่วที่ตัวสะสมมาแล้ว ทำไมเจ้าจึงทำอย่างนี้?”
    เมื่อท่านให้โอวาทแก่ตนเองอยู่อย่างนี้นั่นแหละ จึงคิดถึงความเป็นธรรมชาติเบา ในบาลีบอกคิดถึงความเป็นธรรมชาติเบา ธรรมชาติเบาก็หมายถึงความกระสัน แล้วท่านก็กลับมา โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน ก็กระสันขึ้นมาอีก กระสันหมายถึงอยากจะสึก มันมีแรงนี่ กินดีอยู่ดี จึงได้สอนตนเองเหมือนอย่างนั้น ตอนเย็นๆ ก็ย่องไปที่โคนต้นไม้ ดูผ้าขาดผืนนั้นก็สอนตนว่า
    “ไอ้เอ็งนี่จะมานุ่งผ้าขาดเป็นขี้ข้าเขาต่อไปอย่างนั้นหรือ?”
    สอนพอใจของท่านสบาย ท่านกลับใจของท่านได้อีก ก็เลิก! ไม่สึกแล้ว กลับมาใหม่ ในเวลากระสันขึ้นมาเมื่อไรท่านก็ไปที่นั่นเมื่อนั้น ให้โอวาทแก่ตัวเองทำนองนั้นเสมอ
    แต่ความจริงก่อนที่ท่านจะให้โอวาท จะดูผ้า จะพิจารณาดูไอ้ผ้าผืนเก่าผืนนี้นี่ที่เราทรงชีพอยู่ อาศัยผ้าผืนนี้นุ่งทั้งปี ทั้งเดือน ทั้งวัน จะผลัดอาบนํ้ามันก็ไม่มี เวลานี้มาบวชในพระพุทธศาสนา มีศักดิ์ศรีดี ใครเขามาใครเขาไปก็ลามาก็ไหว้เคารพนบนอบ เมื่อสมัยที่ตนเป็นฆราวาส มีแต่คนเขาโขกเขาสับเพราะความจน นี่อาศัยความจนของตนเอง ทำให้เขาดูถูกดูแคลน เวลานี้เป็นคนใหญ่คนโตเป็นพระแล้ว ไม่ว่าใครเขามาเขาก็ไหว้กัน เขาเคารพนับถือ เอ็งจะทะนงตนไปทำไม ถ้าจะสึกไปก็กลายเป็นขี้ข้าชาวบ้านต่อไป เอ้า! อย่าสึกเลยไอ้หนู ว่าแล้วท่านก็กลับมา
    ท่านกล่าวว่าครั้งนั้นบรรดาภิกษุทั้งหลายเห็นท่านไปอยู่ที่นั่นเนืองๆ จึงได้ถามว่า
    “ท่านนังคลกูฏเถระ เหตุไรท่านจึงไปที่นั่นบ่อยๆ?”
    ท่านตอบว่า “ผมไปยังสำนักของอาจารย์ขอรับ”
    ท่านกล่าวดังนี้แล้ว ต่อมาอีก ๒-๓ วันเท่านั้น ท่านก็บรรลุอรหัตผล
    เห็นไหมท่าน นี่เขาฟังอะไรกันนี่ แค่ไปดูผ้าเท่านั้นนะ ก็ได้บรรลุอรหัตผล
    บรรดาภิกษุทั้งหลายเมื่อจะทำการล้อเล่นกับท่านจึงกล่าวว่า
    “ท่านนังคลกูฏเถระ ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ทางที่เที่ยวไปของท่านเป็นประหนึ่งหารอยมิได้ ชะรอยท่านจะยังไม่ได้ไปสำนักอาจารย์ท่านกระมัง”
    นี่พระล้อนะ ว่าทางที่เดินไปบ่อยๆ เวลานี้มันไม่มีรอยเดิน น่ากลัวจะลืมอาจารย์เสียแล้ว ฝ่ายพระเถระจึงกล่าวว่า
    “ใช่ขอรับ เมื่อกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องยังมีอยู่ ผมได้ไปแล้ว แต่บัดนี้กิเลสเครื่องเกี่ยวข้องไม่มี ผมตัดเสียแล้ว เพราะฉะนั้นผมจึงไม่ต้องไปหาอาจารย์”
    เอาล่ะซิ! อีตอนนี้ถ้าเป็นเวลานี้เป็นอย่างไร ก็โจษกันน่ะซิว่าพระองค์นี้อวด อุตตริมนุสสธรรม ว่าเป็นพระอรหันต์ บรรดาภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นฟังคำนั้นแล้วก็เข้าใจว่า ภิกษุองค์นี้พูดไม่จริง พยากรณ์ตนเป็นพระอรหันต์ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลเนื้อความนั้นแก่องค์สมเด็จพระประทีปแก้ว โดนฟ้อง
    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นังคลกูฏ บุตรของเราเตือนตนด้วยตนเองนั่นแหละ แล้วจึงถึงที่สุดแห่งกิจของบรรพชิต”
    ดังนี้แล้วเมื่อจะทรงแสดงพระธรรม ได้ทรงภาษิตนี้ว่า
    “เธอจงเตือนตนด้วยตนเอง พิจารณาดูตนของตนด้วยตน ภิกษุเธอนั้นมีสติปกครองตนได้แล้ว จักอยู่สบาย ตนแหละย่อมเป็นที่พึ่งของตน ตนนั่นแหละเป็นคติของตน เพราะฉะนั้นเธอจงสงวนตนให้เหมือนอย่างพ่อค้าม้าสงวนม้าตัวประเสริฐฉะนั้น”
    แหม..ฟังแล้วรู้สึกว่าหนักใจ ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ฟังเรื่องของพระอรหันต์คันไถ ซึ่งมีอาจารย์เป็นผ้าขี้ริ้ว ท่านทั้งหลายมีความรู้สึกเป็นอย่างไร
    เป็นอันว่าพระองค์นี้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรา ว่าท่านเมื่อความเมาเกิดขึ้น ก็เตือนตนด้วยตนเอง ไม่เหมือนพวกเรานะ พวกเรานี่ฟังคำเตือนกันอยู่วันละ ๔ เวลา แล้วไอ้คำเตือนนี่มันซึมเข้าไปในใจบ้างหรือเปล่า หรือว่ามันผ่านหูแล้วก็หายไป นี่คำเตือนของท่านองค์นั้นเป็นอย่างไร ท่านไปเจอะผ้าขี้ริ้วก่อน
    พวกเราก็นึกดูว่าก่อนที่เราจะเข้ามาบวชหรือบรรพชาในพระพุทธศาสนา ศักดิ์ศรีอย่างนี้เคยมีแก่เราบ้างหรือเปล่า คนเสมอกันก็ดี คนแก่คนเฒ่าก็ดี เจอะหน้าเราเขาก็ยกมือไหว้ เมื่อสมัยเป็นฆราวาสมีอย่างนี้บ้างไหม เวลานี้เรามีอย่างนี้เป็นปกติ เมื่อสมัยฆราวาสเป็นอย่างนี้บ้างหรือเปล่า หาไม่ได้สินะที่เขาไหว้เราน่ะ เขาไหว้ด้วยอะไร
    เขาไหว้เพราะเราทรงผ้ากาสาวพัสตร์ อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์
    แต่ว่าสำหรับเวลานี้เราบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นฆราวาสไม่มีใครเขาไหว้ ก็ต้องเตือนใจไว้เสมอว่า “อัตตนา โจทยัตตานัง” ว่านี่เราเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
    พระสงฆ์มีอะไรบ้างที่จะต้องปฏิบัติ
    (๑) อธิศีลสิกขา มีศีลบริสุทธิ์กว่าฆราวาส
    (๒) อธิจิตสิกขา มีฌานสมาบัติประจำใจ
    (๓) อธิปัญญาสิกขา มีปัญญารู้เท่าทันสภาวะความเป็นจริงของขันธ์ ๕ ว่า
    “รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา”
    ความจริงพูดไปก็เมื่อยปากนะ เรื่องอย่างนี้ฟังกันมาไม่รู้กี่ร้อยกี่พันครั้งแล้ว เรามีความรู้สึกว่าอย่างไร องค์นั้นท่านสอนตนเองด้วยผ้าขี้ริ้ว แต่ของเราเองมีเสียงสำหรับฟัง มีหนังสือสำหรับอ่าน รู้จักเตือนตัวเองบ้างหรือเปล่า หรือพอฟังคำเตือนแล้วก็นอนหลับ ก็ช่างมัน จะพูดอย่างไรก็ช่างมันปะไร ไอ้ดีหรือชั่วมันเป็นเรื่องของฉัน หลวงตาไม่เกี่ยว อย่างนี้มีบ้างไหม ดีไม่ดีก็หลวงตานี่แปลกนะ ทำดีก็ด่า ทำชั่วก็ว่า เอ๊ะ! แปลก นี่เคยได้ยินชาวบ้านเขามาเล่าให้ฟัง แต่เขาเล่าให้ฟัง ผมก็รับคำไว้ว่าใครไปพูดบ้างนะ ถ้าพูดจริง เออ..ก็ดีเหมือนกัน น่ายอมรับนับถือ ผมนี่ก็คงจะเลวเกินไป คนดีไปด่าเขาได้ ไปว่าเขาได้ แปลก!
    แต่ความจริงท่านอยู่ที่นี่ปีๆ หนึ่งท่านเคยฟังผมว่าใครบ้าง ปีหนึ่งผมว่ากี่ครั้ง นอกจากว่าเรื่องนั้นมันจะชนหน้าจริงๆ มันจะไม่ไหว จึงจะว่า เพราะถือว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องเตือนกัน ถ้าวาทะเช่นนั้นเกิดขึ้นจริงๆ นะ โปรดทราบว่าเตรียมตัวลงอเวจีมหานรกไว้ ไม่มีทางได้เกิดเป็นมนุษย์แน่ เพราะใจของท่านมันเลวเกินไป ลืมพุทธภาษิต ฟังธรรมะ ฟังวินัย ไม่มีใจเป็นนักธรรม นี่ไม่ได้โกรธ ไม่ได้เคือง สงสาร
    พระพุทธภาษิตอีกบทหนึ่ง ตอนที่ท่านว่า
    “จงเตือนตนด้วยตนเอง จงพิจารณาตนด้วยตนเอง ภิกษุเธอจงมีสติ จงปกครองตนเองได้แล้วจะอยู่สบาย”
    สตินึกว่าอย่างไรล่ะ สติระลึกได้ ระลึกอยู่เสมอว่าศีลเราบริสุทธิ์ไหม ฌานสมาบัติเราครบถ้วนไหม “สังโยชน์ ๑๐ ประการ” ทำลายได้หมดแล้วหรือยัง ถ้าหากว่าสามารถปกครองตนเองได้ ก็หมายความว่าศีลบริสุทธิ์แน่ ศีลไม่บกพร่อง ฌานสมาบัติทรงตัว “สังโยชน์ ๑๐ ประการ” ทำลายได้หมด เราก็อยู่สบาย
    ท่านกล่าวต่อไปว่า
    “ตนเองนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน”
    จริงข้อนี้ ไอ้เรื่องความดีความชั่ว นึกดีนึกชั่วนี่ ใครเขาช่วยไม่ได้หรอกนอกจากเราเอง ท่านกล่าวต่อไปว่า
    “ตนนั่นแหละเป็นคติของตน”
    คำว่า “คติ” แปลว่า ที่ไป จะไปไหนมันอยู่ที่ใจของตน คำว่าตนในที่นี้คือใจ
    “เพราะฉะนั้นจงสงวนตนไว้เหมือนพ่อค้าสงวนม้าตัวประเสริฐ”
    คำว่า “สงวนตน” หมายความว่า สงวนใจไว้ให้อยู่ในขอบเขตของความดีคือ
    (๑) มีศีลบริสุทธิ์
    (๒) มีสมาธิตั้งมั่น ทรงฌานสมาบัติ
    (๓) มีวิปัสสนาญาณ สามารถตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานก็คือทำลาย “สังโยชน์ ๑๐ ประการ” ให้พินาศไปจากจิต
    อย่างนี้ชื่อว่าท่านทั้งหลายเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระธรรมสามิสร เป็นลูกของพระพุทธเจ้าแน่
    เป็นอันว่า ผลอันใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตรกล่าวไว้ หรือเวลาที่ผมกล่าวไว้บ่อยๆ ว่า
    “นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตังกาสาวัง คเหตวา”
    ตอนนี้ก็ต้องเตือนไว้ว่า เรารับผ้ากาสาวพัสตร์มานี่เพื่อหวังจะทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
    เอาละ สำหรับวันนี้ การแนะนำก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านทั้งหลายพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น ตั้งใจไว้ในอิริยาบถ ๔ แล้วก็จงทรงความดีด้วยพุทธภาษิต
    “อัตตนา โจทยัตตานัง”
    เตือนตนก็คือเตือนใจไว้เสมอ
    จนกว่าเวลานั้นท่านจะเห็นว่าสมควรจะเลิกการปฏิบัติพระกรรมฐาน สวัสดี*

    โพสต์โดย achaya

    .jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  20. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันที่ ๙ ม.ค.๖๑ พิธีบวงสรวงก่อนออกเดินทาง
    เวลาประมาณ ๑๗.๐๐น ท่านพระครู
    ภาวนาธรรมนิเทศก์ได้ทำพิธีบวงสรวงเพื่อเป็นศิริมงคลแก่คณะที่จะเดินทางไปเตรียมงานล่วงหน้า ณ พระธาตุจอม
    กิติและพระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย อันมี
    พระครูปลัดสมนึก เป็นหัวหน้าคณะนำ
    พระสงฆ์และญาติโยมช่วยงานไปในปีนี้ โดยได้เปิดเสียงบวงสรวงพระเดช
    พระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานจบแล้ว กราบพระและสวดบทอิติปิโสหนึ่งจบ จากนั้นนั่งสมาธิเสร็จแล้วอุทิศส่วนกุศลพร้อมกัน ต่อจากนั้นท่านพระครูฯได้ประพรมน้ำมนต์ให้แก่พระและฆราวาสที่ร่วมเดินทางรวมทั้งรถที่เข้าร่วมขบวนทุกคันเป็นอันเสร็จพิธี ซึ่งทั้งหมดจะออกเดิน
    ทางในวันพรุ่งนี้เวลา ๐๕.๐๐น

    กำหนดการ
    เดินทางไปนมัสการพระธาตุจอมกิตติ – พระธาตุดอยตุง

    วันเสาร์ที่ ๑๓ มกราคม เดินทางไปนมัสการ พระธาตุจอมกิตติ ที่ จ.เชียงราย
    เวลา ๐๙.๓๐ น. ทำพิธีบวงสรวง

    วันอาทิตย์ที่ ๑๔ มกราคม เดินทางไปนมัสการพระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย
    เวลา ๐๙.๓๐ น. ทำพิธีบวงสรวง

    -๙-ม-ค-๖๑-พิธีบวงสรว.jpg
    1515513666_304_วันที่-๙-ม-ค-๖๑-พิธีบวงสรว.jpg
    1515513666_66_วันที่-๙-ม-ค-๖๑-พิธีบวงสรว.jpg
    1515513666_943_วันที่-๙-ม-ค-๖๑-พิธีบวงสรว.jpg
    1515513666_930_วันที่-๙-ม-ค-๖๑-พิธีบวงสรว.jpg
    1515513667_372_วันที่-๙-ม-ค-๖๑-พิธีบวงสรว.jpg
    1515513668_707_วันที่-๙-ม-ค-๖๑-พิธีบวงสรว.jpg
    1515513668_745_วันที่-๙-ม-ค-๖๑-พิธีบวงสรว.jpg
    1515513668_864_วันที่-๙-ม-ค-๖๑-พิธีบวงสรว.jpg
    1515513669_904_วันที่-๙-ม-ค-๖๑-พิธีบวงสรว.jpg
    1515513670_306_วันที่-๙-ม-ค-๖๑-พิธีบวงสรว.jpg
    1515513670_376_วันที่-๙-ม-ค-๖๑-พิธีบวงสรว.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...