ข้ามเส้นแบ่งศาสนา สู่การมองโรฮิงญาเป็นมนุษย์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 27 กันยายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    การเรียกร้องความช่วยเหลือให้ชาวโรฮิงญา มักต้องเผชิญคำถามที่ว่า ทำไมต้องช่วยคนต่างชาติ ต่างศาสนา ก่อนช่วยคนชาติเดียวภาษาเดียวกับเรา แต่สำหรับชาวพุทธในบังกลาเทศ พวกเขายื่นมือเข้าช่วยชาวโรฮิงญา ที่ต่างทั้งเชื้อชาติ และศาสนา ด้วยคำเดียว นั่นก็คือความเป็นมนุษย์

    วัดเอกโชฟุต หรือวัดพระ 100 ฟุต เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวและที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิก ที่มีอยู่ไม่ถึง 2 ล้านคน จากประชากร 160 ล้านคนในบังกลาเทศ ในวันนี้ วัดเงียบสงบและร่มรื่น แต่ย้อนกลับไปเมื่อ 29 กันยายน 2012 หรือ 5 ปีที่แล้ว ที่นี่คือ 1 ใน 20 วัดในหมู่บ้านรามุ เมืองค็อกซ์บาซาร์ ที่ถูกเผาทำลายพร้อมบ้านเรือนประชาชนอีกกว่า 50 หลังคาเรือน ถือเป็นเหตุความรุนแรงต่อชาวพุทธที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่การก่อตั้งบังกลาเทศ แม้ในช่วงแรกจะมีการปล่อยข่าวว่าเหตุการณ์นี้เป็นฝีมือชาวโรฮิงญาที่ต้องการแก้แค้นชาวพุทธ แต่ก็มีการสอบสวนจนพบว่าทั้งหมดเป็นการปลุกปั่นจากองค์กรมุสลิมในท้องถิ่น
    0b989e0b899e0b981e0b89ae0b988e0b887e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b899e0b8b2-e0b8aae0b8b9e0b988e0b881e0b8b2.jpg
    ครุนัสรี มหาเถโร เจ้าอาวาสและผู้ก่อตั้งวัดเอกโชฟุต อยู่ที่วัดในวันที่วัดพระ 100 ฟุต ถูกชาวมุสลิมบุกเผาทำลาย ท่านยังจำได้ถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กันยายน 2012 เมื่อเวลาประมาณตี 2 ที่กลุ่มมุสลิมในพื้นที่ บุกเข้ามาเผาทำลายวัดจนราบเป็นหน้ากลอง

    อย่างไรก็ตาม 5 ปีผ่านไป คนพุทธในรามุก็ไม่ต่างจากชาวบังกลาเทศอื่นๆ พวกเขาเต็มใจช่วยชาวโรฮิงญาที่หนีตายจากการปราบปรามของทหารพม่า และชาวพุทธหัวรุนแรงในบ้านเกิด หลายคนพูดตรงกันว่าเงื่อนไขของการช่วยเหลือไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนา แต่เป็นเรื่องของมนุษยธรรม ที่มนุษย์ทุกคนพึงมีต่อกัน ชาวบังกลาเทศทุกศาสนา เต็มใจช่วยชาวโรฮิงญา รวมถึงชาวฮินดูที่บางส่วนหนีตายมาจากเมียนมาเช่นกัน

    วัดรังกุต เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในบังกลาเทศ สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชตั้งแต่เมื่อ 2300 กว่าปีที่แล้ว ที่นี่เป็นศูนย์กลางการช่วยเหลือชาวโรฮิงญาของชุมชนพุทธในบังกลาเทศ และเป็นกลุ่มแรกๆที่ไปให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย เนื่องจากศรี ชโยติเสน ภิกขุ เจ้าอาวาส เป็นคนจากหมู่บ้านกูตูปาลอง ที่ตั้งของค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดค่ายหนึ่งในค็อกซ์บาซาร์ พระสงฆ์และศาสนิกที่ศรัทธาในวัดเก่าแก่แห่งนี้จึงได้ร่วมกันช่วยเหลือชาวโรฮิงญา

    989e0b899e0b981e0b89ae0b988e0b887e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b899e0b8b2-e0b8aae0b8b9e0b988e0b881e0b8b2-1.jpg

    ศรี ชโยติเสน ภิกขุ เจ้าอาวาสวัดรังกุต กล่าวว่า ชาวพุทธี่นี่รู้ดีว่าโรฮิงญาเป็นมุสลิม แต่เหนือสิ่งอื่นใด พวกเขาคือมนุษย์ คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า “สัตว์ทั้งหลาย จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้จองเวรซึ่งกันและกันเลย” ทำให้ชาวพุทธสมควรช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทุกคน ในฐานะสัตว์โลกเหมือนกัน

    989e0b899e0b981e0b89ae0b988e0b887e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b899e0b8b2-e0b8aae0b8b9e0b988e0b881e0b8b2-2.jpg

    ประชุน บารัว เป็นหนึ่งในชาวพุทธคนแรกๆที่เข้าไปช่วยชาวโรฮิงญาในค่ายที่ชายแดนคอกซ์บาซาร์ เขายืนยันว่าสิ่งที่ชาวโรฮิงญาเผชิญในบ้านเกิดตัวเอง เป็นเรื่องเลวร้าย และเป็นบาปมหันต์สำหรับชาวพุทธ สำหรับเขา นี่จึงไม่ใช่เรื่องของศาสนา เพราะคนที่เข่นฆ่ามนุษย์ได้ ย่อมไม่มีศาสนา แต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้น เป็นผลจากการยุยงปลุกปั่นโดยหวังผลทางการเมืองภายในเมียนมาเอง

    แต่ในขณะที่ชุมชนพุทธ พร้อมใจกันช่วยเหลือชาวโรฮิงญา พวกเขาก็ต้องรับผลกระทบจากคลื่นผู้ลี้ภัยในมุมที่ไม่มีใครคาดคิด ในการคุยกันแรกๆ ทั้งพระและฆราวาสต่างพยายามยืนยันว่าพวกเขาได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมในบังกลาเทศ ไม่มีการแบ่งแยกทางศาสนา แต่เมื่อผ่านไปสักพัก พระที่นี่ก็ยอมรับว่าความตึงเครียดระหว่างชาวพุทธและมุสลิม ที่เจือจางลงไปหลังปี 2012 กำลังกลับมาปะทุอีกครั้ง

    989e0b899e0b981e0b89ae0b988e0b887e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b899e0b8b2-e0b8aae0b8b9e0b988e0b881e0b8b2-3.jpg

    ร้านขายของชำในหมู่บ้านรามุ

    989e0b899e0b981e0b89ae0b988e0b887e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b899e0b8b2-e0b8aae0b8b9e0b988e0b881e0b8b2-4.jpg

    ชาวมุสลิม ฮินดู และพุทธ อยู่ร่วมกันอย่างสันติในหมู่บ้านรามุ ซึ่งในปี 2012 เคยเกิดเหตุการณ์เผาวัดและบ้านชาวพุทธ เป็นเหตุรุนแรงต่อชาวพุทธที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบังกลาเทศ แต่ล่าสุด สันติภาพระหว่างศาสนากำลังเริ่มสั่นคลอน

    เดือนกันยายนเพียงเดือนเดียว มีพระสงฆ์ถูกทำร้ายถึง 5 รูป ตอนนี้พระเณรไม่กล้าออกนอกเขตวัด และชาวพุทธส่วนใหญ่ก็อยู่อย่างหวาดระแวง ผู้ก่อเหตุไม่ใช่ชาวโรฮิงญาที่ต้องการแก้แค้นชาวพุทธในบ้านเกิด แต่ชาวมุสลิมบางส่วนในบังกลาเทศต้องการแก้แค้นชาวพุทธเพื่อตอบโต้การกดขี่เพื่อนร่วมศาสนาชาวโรฮิงญา

    กลับกลายเป็นว่าในรามุ ประเด็นโรฮิงญาได้โหมเอาความขัดแย้งระหว่างชาวพุทธและมุสลิมในบังกลาเทศที่สุมขอนอยู่เงียบๆท่ามกลางบรรยากาศสมานฉันท์ในชุมชนขึ้นมาอีกครั้ง พวกเขาได้แต่หวังว่า ความเอื้อเฟื้อต่อชาวโรฮิงญาที่กำลังสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวในหมู่ชาวบังกลาเทศ จะเอาชนะความเกลียดชังที่ลุกลามมาจากประเทศเพื่อนบ้านได้ ไม่บานปลายจนกลายเป็นความรุนแรงซ้ำรอยเมื่อ 5 ปีที่แล้ว

    ขอขอบคุณที่มา
    https://news.voicetv.co.th/world/527206.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...